ในปี 2564 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 64 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2021 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้
ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย IMD
ประเทศ | สวิตเซอร์แลนด์ | สวีเดน | เดนมาร์ก | เนเธอร์แลนด์ | สิงคโปร์ | ไทย | ||||||
ปี | 2564 | 2563 | 2564 | 2563 | 2564 | 2563 | 2564 | 2563 | 2564 | 2563 | 2564 | 2563 |
อันดับรวม | 1 | 3 | 2 | 6 | 3 | 2 | 4 | 4 | 5 | 1 | 28 | 29 |
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ | 7 | 18 | 16 | 22 | 17 | 21 | 2 | 1 | 1 | 3 | 21 | 14 |
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ | 4 | 4 | 10 | 20 | 12 | 15 | 16 | 12 | 15 | 7 | 41 | 38 |
1.2 การค้าระหว่างประเทศ | 15 | 13 | 17 | 15 | 10 | 24 | 3 | 2 | 1 | 1 | 21 | 5 |
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ | 12 | 18 | 17 | 16 | 24 | 23 | 4 | 5 | 3 | 3 | 32 | 29 |
1.4 การจ้างงาน | 15 | 30 | 30 | 39 | 22 | 27 | 4 | 3 | 18 | 7 | 3 | 10 |
1.5 ระดับราคา | 58 | 57 | 41 | 40 | 42 | 41 | 48 | 46 | 57 | 58 | 37 | 28 |
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ | 2 | 2 | 9 | 14 | 7 | 4 | 12 | 11 | 5 | 5 | 20 | 23 |
2.1 ฐานะการคลัง | 1 | 2 | 7 | 12 | 5 | 4 | 10 | 8 | 12 | 6 | 14 | 17 |
2.2 นโยบายภาษี | 12 | 8 | 58 | 56 | 56 | 40 | 60 | 50 | 8 | 10 | 4 | 5 |
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน | 1 | 2 | 3 | 5 | 5 | 1 | 4 | 4 | 7 | 7 | 36 | 40 |
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ | 10 | 12 | 4 | 7 | 2 | 2 | 7 | 4 | 3 | 3 | 30 | 33 |
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม | 5 | 5 | 4 | 3 | 3 | 4 | 6 | 8 | 17 | 18 | 43 | 40 |
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ | 5 | 9 | 2 | 3 | 1 | 1 | 4 | 4 | 9 | 6 | 21 | 23 |
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ | 4 | 8 | 3 | 4 | 1 | 1 | 8 | 7 | 14 | 9 | 40 | 41 |
3.2 ตลาดแรงงาน | 6 | 13 | 5 | 16 | 14 | 8 | 2 | 2 | 4 | 3 | 10 | 15 |
3.3 การเงิน | 1 | 1 | 6 | 7 | 7 | 8 | 4 | 4 | 13 | 10 | 24 | 24 |
3.4 การบริหารจัดการ | 9 | 16 | 3 | 4 | 1 | 1 | 15 | 15 | 14 | 14 | 22 | 21 |
3.5 ทัศนคติและค่านิยม | 13 | 17 | 4 | 4 | 6 | 3 | 2 | 9 | 9 | 6 | 20 | 20 |
4. โครงสร้างพื้นฐาน | 1 | 3 | 2 | 1 | 3 | 2 | 7 | 9 | 11 | 7 | 43 | 44 |
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน | 5 | 6 | 10 | 7 | 3 | 4 | 6 | 9 | 20 | 18 | 24 | 26 |
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี | 8 | 9 | 3 | 2 | 6 | 5 | 2 | 3 | 1 | 1 | 37 | 34 |
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ | 3 | 2 | 7 | 6 | 11 | 9 | 13 | 13 | 17 | 15 | 38 | 39 |
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม | 3 | 5 | 1 | 1 | 4 | 2 | 16 | 15 | 25 | 23 | 49 | 49 |
4.5 การศึกษา | 1 | 3 | 4 | 8 | 3 | 1 | 12 | 14 | 7 | 2 | 56 | 55 |
สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ รองลงมาคือ สวีเดน ซึ่งปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 4 อันดับ ถัดมาเป็นเดนมาร์ก ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เนเธอร์แลนด์ยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว อันดับ 5 คือ สิงคโปร์ ตกลงมาจากปีที่แล้วถึง 4 อันดับ เคยได้อันดับ 1 ส่วนไทยได้อันดับ 28 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 29 ในปีที่แล้ว
สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับ มีอันดับ 7 ในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ มีอันดับ 5 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ได้อันดับ 2 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับดีขึ้นอย่างมากของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยการจ้างงานและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย โดยเฉพาะปัจจัยย่อยการจ้างงาน มีอันดับดีขึ้นถึง 15 อันดับ จากอันดับ 30 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 15 ในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ มีอันดับดีขึ้น 6 อันดับ ได้อันดับ 12 ในปีนี้ จากอันดับ 18 ในปีที่แล้ว ส่วนปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยเดียวกันมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับ 57 ในปีที่แล้วและอันดับ 58 ในปีนี้ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยตลาดแรงงานและปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ มีอันดับดีขึ้นถึง 7 อันดับ เหมือนกัน เป็นอันดับ 6 และ 9 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย (มีทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย) เล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา
สวีเดน ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 4 อันดับ มีอันดับ 2 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ เป็นอันดับ 16 ในปีนี้ ซึ่งยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับดีขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 14 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 9 ในปีนี้ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมามีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากอันดับ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่มีการเลื่อนอันดับขึ้นถึง 10 และ 9 อันดับ จากอันดับ 20 และ 39 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 10 และ 30 ในปีนี้ ตามลำดับ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับในระดับต่ำ ปีที่แล้วได้อันดับ 40 ในขณะที่ปีนี้ได้อันดับ 41 การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ ที่เลื่อนอันดับขึ้น 5, 2 และ 3 อันดับ เป็นอันดับ 7, 3 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยเดียวกันมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับ 56 ในปีที่แล้วและอันดับ 58 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับ เป็นอันดับ 5 ในปีนี้
เดนมาร์ก ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 3 ในปีนี้ เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 3 และ 1 อันดับ จากอันดับ 4 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ เป็นอันดับ 17 ในปีนี้ เป็นปัจจัยที่มีอันดับอยู่ในระดับปานกลางนานหลายปี ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ครองอันดับ 1 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีผลอย่างมากทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับเลื่อนลง คือ ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ที่เลื่อนอันดับลงถึง 16 อันดับ จากอันดับ 40 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 56 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา
เนเธอร์แลนด์ยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการยังครองอันดับ 4 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และอีก 3 ปัจจัยที่เหลือ ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 12 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังสามารถครองอันดับไว้เท่าเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการเงิน และปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ ที่ยังครองอันดับ 2, 4 และ 15 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 46 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 48 และมีอันดับ 50 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 60 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว
สิงคโปร์ ตกลงมาจากปีที่แล้วถึง 4 อันดับ เคยได้อันดับ 1 ในปีที่แล้ว เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 3 และ 4 อันดับ จากอันดับ 6 และ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 9 และ 11 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ครองอันดับ 5 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว มี 4 ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ได้แก่ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการเงิน และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ มีอันดับลดลง 5 อันดับ จากอันดับ 9 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนลง เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา โดยเฉพาะปัจจัยย่อยการศึกษา มีอันดับลดลง 5 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยระดับราคาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว โดยในปีนี้ได้อันดับ 57 ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 58
สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 28 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 29 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ มีอันดับ 20 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ มีอันดับ 21 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 43 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลงถึง 7 อันดับ จากอันดับ 14 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ ทำให้ในปีนี้เป็นปีแรกที่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง แต่ที่ผ่านมาหลายปีมีอันดับค่อนไปทางที่ดี ในขณะที่ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือนที่ผ่านมาหลายปี ส่วนปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีไว้ในปีนี้เหมือนหลายปีที่ผ่านมา การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ โดยเฉพาะปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 40 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 36 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 5 อันดับ เป็นอันดับ 10 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัยย่อยเล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานและปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลงมากที่สุดถึง 16 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีและไม่ดีทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 40 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 43 2. ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับ 41 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 40 3. ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับ 49 ทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ 4. ปัจจัยย่อยการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับ 55 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 56 ทำให้ปัจจัยย่อยการศึกษามีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากในปีนี้ ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการจ้างงาน มีอันดับ 3 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นจากปีก่อนถึง 7 อันดับ 2. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี มีอันดับ 4 ในปีนี้ ในขณะที่ปีที่แล้วได้อันดับ 5
คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้านเนื่องจากในปีนี้ได้อันดับ 28 ซึ่งเป็นอันดับระดับปานกลาง เพื่อในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นกว่านี้มาก โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ซึ่งทั้งสองด้านมีอันดับที่ต่ำมากและต่ำที่สุด ตามลำดับ ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด