หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ สรุปการบรรยายหัวข้อ งานวิจัยด้านวัคซีนสัตว์: จากองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง ในงาน R&D Sharing 2017
สรุปการบรรยายหัวข้อ งานวิจัยด้านวัคซีนสัตว์: จากองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง ในงาน R&D Sharing 2017
28 ส.ค. 2560
0
นานาสาระน่ารู้

สรุปการบรรยายหัวข้อ งานวิจัยด้านวัคซีนสัตว์: จากองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง โดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีแอนติบอดี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในงาน R&D Sharing 2017 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ดังนี้

ทางหน่วยได้พัฒนาวัคซีนต่อ PEDV ซึ่งจัดเป็น corona virus ชนิดหนึ่ง เป็นไวรัสที่ติดต่อรุนแรงมากในสุกร ติดต่อเข้าไปในลูกสุกรแรกคลอด 100% ตาย ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างรุนแรงมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทย โดยเริ่มทดลอง ศึกษา จนกระทั่งปี 2015 เป็นกลุ่มแรกที่สร้าง infectious clone ของ PEDV เป็นผลสำเร็จ และได้แสดงให้เห็นว่าตัว molecular clone ที่สร้างขึ้นเมื่อใส่ไปในเซลล์เจ้าบ้านไวรัสที่สร้างออกมามีหน้าตาเหมือนไวรัสในธรรมชาติทุกอย่าง ถือว่าเป็นก้าวแรกที่ทำให้งานวิจัยวัคซีน PEDV เกิดขึ้นได้ในประเทศไทย ต่อมาได้ลองใส่ยีนเรืองแสงสีแดงเข้าไป หมายความว่าเมื่อไวรัสตัวนี้เข้าไปในเซลล์เจ้าบ้านจะสร้างโปรตีนเรืองแสงสีแดงขึ้นมาได้ ได้นำองค์ความรู้นี้มาประยุกต์โดยแทรกยีนที่เป็นแอนติเจนของ PEDV ที่อยู่ในฟาร์มทั่วประเทศเข้าไปแทนตัวสารสีแดง ก็พบว่าพอให้หมูกินจะสร้างแอนติเจนที่จำเพาะเจาะจงกับ PEDV ที่ระบาดอยู่ในฟาร์มได้ นอกจากนี้ทางหน่วยยังพัฒนาวัคซีนต่อ PRSV เป็นไวรัสอีกตัวที่ก่อโรคในสุกร วัคซีนต่อ influenza virus และวัคซีนต่อ newcastle disease virus ซึ่งก่อโรคในไก่  ทางหน่วยได้ร่วมกับหลายๆ ภาคส่วน ไม่ว่าเป็นภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร กรมปศุสัตว์ มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อผลักดันให้วัคซีนต้นแบบที่ทำใน Lab เล็กๆ ของตึกออกไปสู่การใช้จริงและการขึ้นทะเบียนโดยองค์การอาหารและยา ทางหน่วยมีความหวังเล็กๆ ว่า สิ่งที่ทำขึ้นมาวันนี้จะออกไปใช้จริงและน่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรไทย

ติดตามการบรรยายฉบับเต็มได้ที่ http://ffwtube.nstda.or.th/category/seminar/rd-sharing/rd-sharing-2017/page/3/  

28 ส.ค. 2560
0
แชร์หน้านี้: