วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2563
สหภาพยุโรปเพิ่มการอัดฉีดงบสนับสนุนการวิจัยในการพัฒนาวัคซีน วิธีการรักษาและการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19
คณะกรรมาธิการยุโรปได้เพิ่มงบสนับสนุนโครงการวิจัยผ่านโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม
ของสหภาพยุโรป หรือ โครงการ Horizon 2020 โดยเปิดรับสมัครให้ทุนวิจัยเพื่อจัดการกับโรคโควิด-19 ใน
สาขาการศึกษากระบวนการเกิดโรค การตรวจวินิจฉัย การพัฒนาวัคซีน การพัฒนาวิธีการรักษา และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการระบาดของ
โรคโควิด-19
โครงการวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19
ในระหว่าง 2 สัปดาห์ ที่เปิดรับสมัครให้ทุนวิจัย มีการส่งข้อเสนอโครงการจำนวน 91 โครงการ และประกาศรายชื่อโครงการวิจัย 17 โครงการ
ที่ได้รับเลือกเพื่อสนับสนุนทุนวิจัย ในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
– การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว : การวิจัยมุ่งเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุขในการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19
ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
– การพัฒนาวิธีการรักษา : การวิจัยมุ่งเน้นไปที่การรักษาแบบคู่ขนาน โดยแบบแรกเป็นการพัฒนาวิธีการรักษาชนิดใหม่ๆ ที่กำลังมีการศึกษาอยู่ใน
ปัจจุบัน เช่น Theapeutic peptides monoclonal antibodies และ Broad-spectrum antivirals สำหรับแบบที่สอง เป็นการใช้เทคนิคการสร้าง
แบบจำลองและวิทยาการการคำนวณมา วิจัยเพื่อคัดกรองและระบุหาโมเลกุลที่สามารถต้านเชื้อไวรันโคโรนา 2019 ได้
– การพัฒนาวัคซีน : การวิจัยเน้นด้านการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคและวัคซีนเพื่อรักษาโรคโควิด-19
– ระบาดวิทยาและสาธารณสุข : การวิจัยเน้นการเตรียมความพร้อมและการตั้งรับต่อการระบาดของโรคโควิด-19 โดยโครงการวิจัยจะพัฒนาระบบ
การติดตามการแพร่ระบาด
ของโรคเพื่อให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขและภาครัฐสามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของเชื้อโรคได้ดีขึ้น
– นอกจากนี้ยังมีการให้เงินสนับสนุนอีก 90 ล้านยูโรผ่านโครงการ Innovative Medicines Initiative ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพ
ยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม
สหภาพยุโรปออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือการวิจัยในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์โควิด-19
คณะกรรมาธิการยุโรปได้เพิ่มมาตรการเพื่อปรับตัวในการจัดการกับวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 และช่วยจัดหางบสนับสนุนสำหรับการพัฒนาวิธีการรักษา
และวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 สถานการณ์ปัจจุบัน นักวิจัยต้องทำงานในสภาวะกดดัน จากมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในการเดินทาง หรือ
การชะลอการทำงานที่ไม่มีความเร่งด่วนในห้องปฏิบัติการซึ่งล้วนแล้วมีสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่แพร่กระจายกว้างในเชิง
ภูมิศาสตร์ทั้งในยุโรปและทั่วโลก
มาตรการเพิ่มเติมจากสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศขยายเวลารับสมัครเพื่อขอรับทุนโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรป หรือ โครงการ
Horizon 2000 นอกจากนี้ยังให้งบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิธีการรักษาและวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 อีกด้วย
สภาวิจัยแห่งยุโรป
สภาวิจัยแห่งยุโรป (European Research Council, ERC) ได้สืบค้นทะเบียนผู้เคยได้รับทุนเพื่อค้นหางานวิจัยและนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
วิทยาศาสตร์กายภาพ และสังคมศาสตร์ เพื่อมาเข้าร่วมในคณะทำงานของโครงการ Horizon 2020 เพื่อช่วยในการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรค
โควิด-19 และศึกษาด้านระบาดวิทยา ซึ่งคาดว่าจะช่วยถ่ายทอดความเชี่ยวชาญเพื่อต่อสู้กับวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 ได้ นักวิจัยที่ชื่อ
Vittoria Colizza ได้รับทุนวิจัยในการศึกษาการระบาดและโมเดลการทำนายการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในช่วงปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ. 2013
ขณะที่นักวิจัยที่ชื่อ Marcin Nowotny ได้รับทุนวิจัยการศึกษาโครงสร้างโปรตีนของไวรัสชนิดนี้ ซึ่งงานของนักวิจัยทั้งสองจะมีส่วนสำคัญในการ
พัฒนาวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 ได้
กานสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่บริษัท CureVac
บริษัท CureVac บริษัทสัญชาติเยอรมัน กำลังทำวิจัย พัฒนา และคิดค้นวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 โดยวัคซีนถูกคิดค้นใกล้สำเร็จแล้ว จากนั้นจะขอ
อนุญาตรัฐบาลเพื่อทดลองกับมนุษย์ต่อไป หากประสบความสำเร็จก็จะสามารถผลิตปริมาณมากได้จากสถานที่ที่บริษัทมีอยู่ ซึ่งทำงานร่วมกับสถาบันวิจัย
Paul Ehrlich ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนี
ข้อมูลบริษัท CureVac
บริษัท CureVac เป็นบริษัทผลิตและค้นคว้าวิจัยด้านชีวเวชภัณฑ์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศเยอรมนี มีความเชียวชาญพิเศษสำหรับ
องค์ความรู้เรื่องการถอดรหัสพันธุกรรม DNA และการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัส มีการพัฒนาบนพื้นฐานของ messenger RNA หรือ (mRNA)
บริษัทได้ทำการพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคติดเชื้อ ยารักษาโรคมะเร็ง และยาสำหรับโรคที่หายาก
– ตุลาคม 2556 บริษัท ได้เปิดตัวความร่วมมือเพื่อพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
– ในปี 2556 บริษัท ร่วมมือกับสถาบันวิจัยมะเร็ง เพื่อทดสอบทางคลินิกในการหาทางเลือกใหม่ๆ ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน
– ในปี 2557 บริษัท ได้รับรางวัล 2 ล้านยูโร จากสหภาพยุโรปเพื่อกระตุ้นเทคโนโลยีวัคซีนใหม่ที่อาจช่วยประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากการวิจัย
ของบริษัท สามารถนำไปสู่วัคซีนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องแช่แข็ง และได้รับใบอนุญาตสำหรับการทดลองวัคซีน mRNA เพื่อศึกษาการกลายพันธ์ของมะเร็งปอด
– ในปี 2558 บริษัท ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาวัคซีนเอดส์โดยใช้ภูมิคุ้มกันผ่านเทคโนโลยี mRNA ของ CureVac
สรุปโครงการมอบทุนวิจัยจากสหภาพยุโรปเพื่อจัดการโรคโควิด-19
– เมื่อต้นเดือนมกราคมคณะกรรมาธิการยุโรปได้สนับสนุนงบวิจัยภายใต้โครงการ Horizon 2000 เป็นจำนวน 47.5 ล้านยูโร สำหรับการพัฒนาวัคซีนและ
ยารักษาโรคโควิด-19
– คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศสนับสนุนงบวิจัยและพัฒนาวัคซีนให้แก่บริษัท CureVac โดยอยู่ในรูปแบบเงินกู้จำนวน 80 ล้านยูโร ผ่านธนาคารเพื่อ
การลงทุนแห่งยุโรป
– นอกจากนี้ยังมีการให้เงินสนับสนุนอีก 90 ล้านยูโร ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม โดยสนับสนุน
45 ล้านยูโร จุดประสงค์หลักคือ การช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้งในระดับสหภาพยุโรปและระดับโลก
– คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้งบจำนวน 164 ล้านยูโร สำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (start-ups) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ทำหน้าที่พัฒนา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการตรวจทดสอบและติดตามการระบาดของโรคโควิด-19
สหภาพยุโรปพิจารณาปรับและจำแนกค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร 3-MCPD ในน้ำมัน
คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโภคกำลังพิจารณาปรับและแบ่งค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร 3-MCPD ในน้ำมันและไขมันพืช และน้ำมันปลา
ที่ใช้บริโภคหรือนำไปประกอบอาหาร 3-MCPD นั้นเป็นสารปนเปื้อนในกระบวนการแปรรูปอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพผู้บริโภคในเชิงการทำงานของไต
และการเจริญพันธ์ของเพศชาย โดยทั่วไปถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่ แต่มีความกังวลว่าผู้บริโภคกลุ่มอายุน้อยที่บริโภคสาร 3-MCPD
ในระดับสูงจะประสบปัญหาด้านสุขภาพ และกรณีที่แย่ที่สุดคือความเสี่ยงที่เด็กทารกจะได้รับสาร 3-MCPD ที่ปนเปื้อนในนมผง ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย
สาร 3-MCPD
สารเคมี 3-monochloropropane diol หรือ 3-MCPD เป็นสารปนเปื้อนในกระบวนการแปรรูปอาหารซึ่งสามารถพบได้ในอาหารแปรรูปและน้ำมันพืช
บางชนิด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม โดยสาร 3-MCPD และสารประกอบเอสเทอร์ของ 3-MCPD จะถูกผลิตขึ้นในกระบวนการแปรรูปอาหารโดยเฉพาะ
ระหว่างกระบวนการการน้ำมัน หรือการนำน้ำมันไปผ่านกรรมวิธีการผลิต ที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส
ข้อเสนอเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบควบคุมสาร 3-MCPD ในน้ำมันสำหรับการบริโภค
คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโคภกำลังพิจารณาปรับและแบ่งค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร 3-MCPD ในน้ำมันและไขมันพืช และน้ำมันปลา
ที่ใช้บริโภคโดยตรงหรือนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารอื่นๆ ออกเป็น 2 ระดับดังนี้
– 1,250 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อทำให้บริสุทธิ์ที่ผลิตจากมะพร้าว ข้าวโพด มะกอก ถั่วเหลือง ปาล์ม
และน้ำมันที่เกิดจาการผสมน้ำมันชนิดต่างๆ
– 2,500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อทำให้บริสุทธิ์รวมไปถึงน้ำมันปลา และน้ำมันที่ได้จากสัตว์ทะเล
และน้ำมันที่เกิดจากการผสมน้ำมันชนิดต่างๆ
องค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งสหภาพยุโรป พบว่าน้ำมันและไขมันปาล์มมีระดับการปนเปื้อนของสาร 3-MCPD และสาร GE สูงที่สุดเมื่อเทียบ
กับน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ปัจจุบันคณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโภคได้กำหนดค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร GE ในอาหารประเภทต่างๆ ไว้ดังนี้
– 1,000 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันและไขมันพืช
– 500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันและไขมันพืชใช้ในการผลิตอาหารสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
– 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันและไขมันพืชที่ใช้ในการผลิตอาหารแบบผงที่มีวัตถุประสงค์ของการใช้ในการแพทย์สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
อันตรายของสาร 3-MCPD และสารปนเปื้อนอื่น ๆ
องค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งสหภาพยุโรป ได้ประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคสาร 3-MCPD ในปี 2559 รวมไปถึงสารปนเปื้อนอื่นๆ
ในกระบวนการผลิตอาหารเช่น glycidyl fatty acid ester (GE) โดย EFSA ให้ข้อสรุปว่า สาร GE เป็นอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากสามารถทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปกำลังร่างกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีจุดประสงค์ในการลดและควบคุมปริมาณ
สาร GE ในน้ำมันพืชและอาหารให้อยู่ระดับที่ปลอดภัยสารนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อไตและระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย นอกจากนี้ EFSA รายงานว่ากลุ่มที่
มีความเสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มเด็กทารก มีโอกาสได้รับสารในปริมาณที่สูงสาเหตุเพราะการใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตนมผงสำหรับเด็กทารก
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200713-newsletter-brussels-no03-mar63.pdf