หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2562
รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2562
14 พ.ย. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2562

การจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพด้วยเทคโนโลยี Whole genome sequencing (WGS)          

การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance, AMR)

การค้นพบยาปฏิชีวนะถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สำหรับมวลมนุษยชาติ เพราะสามารถช่วยชีวิตคนนับล้านที่ป่วยจากการติดเชื้อแบคทีเรียให้หายได้ แต่ปัจจุบันประสิทธิภาพของยาได้ลดลงเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคมีการปรับตัวให้ดื้อต่อยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาลดลงและอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอีกต่อไปในอนาคต จึงเป็นที่มาของคำว่า “การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance, AMR)” ซึ่งถูกนิยามไว้ว่า “ความสามารถของจุลินทรีย์ (เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และรา) โดยจุลินทรีย์ที่พบว่ามีอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพสูง คือ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลานขนาน ส่งผลให้ตลาดยาปฏิชีวนะมีอายุสั้น จึงเป็นการลงทุนที่ไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ที่สามารถขายและขยายตลาดได้เรื่อยๆ          

สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในยุโรป

ผลการศึกษาจากหน่วยงานความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ได้เน้นว่าภาวะการดื้อยาต้านจุลชีพสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ กรรมาธิการยุโรปด้านสาธารณสุขและความปลอดภัยอาหาร ได้กล่าวว่า ในทุกๆ ปี การติดเชื้อในยุโรปที่เกิดจากภาวะการดื้อยาต้านจุลชีพส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 25,000 ราย ถือว่าเป็นปัญหาระดับโลก          

การจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพ

ในปัจจุบัน มีการเรียกร้องให้จัดการกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรีย การดำเนินงานนี้จำเป็นต้องมีรายละเอียดและได้รับความสนใจจากภาคส่วนต่างๆ โดยที่ผ่านมามีแนวคิดทึ่จะนำระบบการติดตามและประเมินผลการรักษามาใช้จัดการกับปัญหานี้ การป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียนั้นกระทำได้หลายช่องทาง ได้แก่ ใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีข้อบ่งใช้ที่เหมาะสม ให้พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์แคบ (Narrow-spectrum antibiotics) จะมีความจำเพาะต่อเชื้อสาเหตุและมีประสิทธิภาพมากกว่า จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการดื้อยาต้านจุลชีพได้ นอกจากนี้วารสารทางการแพทย์ เช่น Lancet ได้นำเสนอกลยุทธ์สำคัญ 5 ประการที่จำเป็นสำหรับการลดอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้

– การเฝ้าระวังการใช้ยาปฏิชีวนะ

– มีการกำหนดกรอบเวลาที่จำเป็นต้องมีการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพและเจาะจงกับเชื้อ

– พัฒนาและรับรองยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ให้ได้ 10 ชนิดภายในปี ค.ศ. 2020

– พัฒนาวิธีการศึกษาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลเพื่อตรวจหายีนของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ          

การลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมด (Whole genome sequencing, WGS)

สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) และกองทุนเวลคัมแห่งกรุงลอนดอนได้ร่วมมือกันค้นหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมในมนุษย์ทั้ง 3 พันล้านเบส เมื่อปี ค.ศ.2003 ต่อมาได้ศึกษาหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น

– หนู มีจีโนมขนาดเล็กกว่ามนุษย์เล็กน้อย ขนาดจีโนมประมาณ 3 พันล้านคู่เบส บรรจุอยู่ในโครโมโซม 20 คู่

– แมลงหวี่ Drosophila มีจีโนมขนาดประมาณ 160 ล้านคู่เบส และมีโครโมโซม 4 คู่

– หนอนตัวกลม C.elegans มีจีโนมขนาดประมาณ 100 ล้านคู่เบส

– ยีสต์ S.cerevisiae มีจีโนมขนาดประมาณ 12,5 ล้านคู่เบส

– แบคทีเรีย E. coli มีโครโมโซมเดี่ยว และมีจีโนมขนาดเล็กเพียง 5 ล้านคู่

กรรมวิธีในการถอดลำดับเบสของสารพันธุกรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ

1. หาการเรียงตัวของคู่เบส (sequencing) ทำโดยตัดเส้น DNA เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วป้อนเข้าไปให้เครื่องอ่านอัตโนมัติอ่านเหมือนการแกะตัวอักษรทีละตัว เพื่อให้ได้ลำดับเบสของ DNA ชิ้นนั้น ๆ

2. จากนั้นนำตัวลำดับเบสที่ถอดแล้วในแต่ละชิ้นของเส้น DNA มาประกอบเรียงกันใหม่จนกระทั่งได้ลำดับคู่เบสของ DNA ทั้งหมด

3. เมื่อทราบการเรียงลำดับของ DNA ทั้งหมดแล้ว จึงค้นหาตำแหน่งของยีน ซึ่งมีอยู่เพียงประมาณร้อยละ ในข้อมูลจีโนมทั้งหมด ทั้งนี้อาจทำโดยการค้นหา รหัสบ่งชี้การเริ่มต้นและสิ้นสุดของยีน หรือโดยการเปรียบเทียบกับยีนที่รู้จักแล้ว          

การใช้เทคนิคการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมด (Whole genome sequencing, WGS) ในการตรวจสอบการดื้อยาต้านจุลชีพ

หน่วยงานความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้ระบุว่าเทคนิคนี้ดีกว่าวิธีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากจะระบุหาการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ยังสามารถสร้างข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งนำไปต่อยอดในการศึกษาและการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาอื่น ๆได้อีกด้วย

การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม (STS Forum 2019)          

ความเป็นมา Science and Technology in Society (STS) Forum ก่อตั้งขึ้นโดย นาย Koji Omi ในปีพ.ศ.2547 ซึ่งมีการจัดประชุมประจำปี หรือ STS Forum Annual Meeting ในเดือนตุลาคมของทุกปี ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นเวทีในการพบปะระหว่างผู้กำหนดนโยบายนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้นำในวงการธุรกิจจากทั่วโลก เพื่อหารือเรื่องการนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาจัดการกับความท้าทายทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษยชาติ          

แถลงการณ์ของผู้เข้าร่วมประชุม การประชุม STS Forum มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวบรวมผู้คนจากหลากหลายสาขาและภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บริษัทเอกชน ภาคอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักกำหนดนโยบาย จากประเทศทั่วโลก มาทำงานร่วมกันเพื่อจัดการความท้าทายทางสังคม นำไปสู่การจัดทำนโยบายและข้อเสนอแนะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ในอนาคตของมนุษยชาติ ผ่านการร่วมมือระหว่างองค์กรทั่วโลก และบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ จากผู้เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

– หลักสำคัญของการดำเนินงานของ STS Forum คือ ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บริษัทเอกชน ภาคอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักกำหนดนโยบาย ควรเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาของมนุษยชาติ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย

– ในการจัดประชุมประจำปีของ STS Forum นอกจากประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม ควรมีหัวข้อหารือในประเด็นด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจด้วย เช่น ผลกระทบทางสังคมต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

– สมาชิกให้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ และนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยรุ่นเยาว์ให้มากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องผลักดันให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเอามาใช้จัดการกับความท้าทายทางสังคม

– ควรมีปรับรูปแบบของการประชุม โดยให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ฟังให้มากยิ่งขึ้น โดยปรับให้อยู่ในรูปแบบการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่าง ผู้บรรยาย ผู้ร่วมอภิปราย ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมได้ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

– ประเด็นที่ท้าทายระดับโลก คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดประชุมระดับนานาชาติเพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน และมีข้อเสนอแนะให้มีการนำข้อเสนอแนะจากการประชุม G7 ด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก

– การจัดการข้อมูลบนโลกออนไลน์ เทคโนโลยีที่อาศัยข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และการเรียนรู้เชิงลึก ว่ามีผลต่อการพัฒนาและการดำเนินงานในภาคการผลิตสาธารณสุข เศรษฐกิจ และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยข้อมูลขนาดใหญ่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคส่วนเหล่านี้แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความเสี่ยงต่างๆ ตามมา

– ประชาชนส่วนใหญ่ทั่วโลกยังได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ไม่มากเท่าที่ควร เหตุนี้การพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำเป็นต้องกระจายให้อย่างเท่าเทียมกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศทั่วโลก เพื่อลดช่องว่างของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          

การประชุม STS Forum Council Meeting

การประชุม STS Forum Annul Meeting 2019 มีการประชุมเต็มคณะทั้งหมดจำนวน 8 การประชุม หัวข้อ

Science and Technology for the Future of Humankind

Sustainable Society

Lights and Shadows of Energy and Environment

Science and Technology Education for Society

Science and Technology in Business

AI and Society

Delivering Healthcare to the World

Basic Science Innovation and Policy           

การประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ

STS Forum

การประชุม Regional Action on Climate Change (RACC11) :

เพื่อหามาตรการจัดการกับปัญหาและความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ จัดโดยองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191112-newsletter-brussels-no5-may62.pdf

14 พ.ย. 2562
0
แชร์หน้านี้: