หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2563
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2563
15 ต.ค. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2563

สหภาพยุโรปริเริ่มโครงการ Coronavirus Global Response เพื่อระดมทุนสำหรับการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด – 19
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 สหภาพยุโรป ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เป็นประธานในการยัดการประชุมนานาชาติ “Coronavirus
Response Pledging Conference” ในรูปแบบออนไลน์ โดยการประชุมมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมด้วยประมาณ 40 ประเทศ
จากข้อสรุปในที่ประชุมได้มีการกำหนดเป้าหมายของการระดมทุนภายใต้โครงการ Corona virus Global Response ไว้ที่ 7,500 ล้านยูโร
จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงการวินิจฉัย การค้นหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาวัคซีน
ป้องกันโรคโควิด – 19 โดยให้ทุกประเทศทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ในราคาย่อมเยา ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่เร่งด่วนที่สุด 3 ประการ
โดยจะร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกและองค์การด้านสาธารณสุขระดับโลก

การเข้าร่วมบริจาคของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ด้านผู้นำชาติต่างๆ ทั่วโลก ให้ความสนใจและยินดีสนับสนุนโครงการนี้ สหภาพยุโรปได้ประกาศที่จะบริจาคเงิน 1,000 ล้านยูโร เพื่อเป็น
กองทุนแรกเริ่มสำหรับโครงการ Coronavirus Global Response ฝรั่งเศสสนับสนุน 500 ล้านยูโร เยอรมนีสนับสนุนจำนวน 525 ล้านยูโร
อิตาลีสนับสนุนจำนวน 70 ล้านยูโร สเปนสนับสนุนเงินทุน 125 ล้านยูโร ระบุว่า 50 ล้านยูโร มอบให้การผลิตวัคซีน ส่วนอีก 75 ล้านยูโร
มอบให้กับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด – 19  นอกจากนี้ยังมีประเทศนอกสมาชิกสหภาพยุโรป อาทิ นอร์เวย์
ระบุว่าประเทศแถบสแกนดิเนเวีย จะสมทบทุนจำนวน 1,000 ล้านยูโร ซึ่งขณะที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมทบทุนจำนวน 450 ล้านยูโร
สหราชอาณาจักรมอบเงินจำนวน 440 ล้านยูโร สำหรับประเทศในฝั่งทวีปเอเชีย แม้ผู้นำของจีนจะไม่ได้เข้าร่วมประชุม แต่จีนประกาศให้
งบสนับสนุนจำนวน 45 ล้านยูโร ญี่ปุ่นสนับสนุนจำนวน 760 ล้านยูโร และเกาหลีใต้จำนวน 45 ล้านยูโร

เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำระดับโลกและได้รับผลกระทบในระดับรุนแรงจาการ
แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ไม่มีการประกาศจะสนับสนุนงบวิจัยให้แก่โครงการ Coronavirus Global Response

การใช้ประโยชน์จากโครงการ Coronavirus Global Response

สหภาพยุโรปแถลงว่าจำนวนเงินทั้งหมด 7,500 ล้านยูโร จะนำไปใช้พัฒนาวัคซีนจำนวน 4,000 ล้านยูโร อีก 2,000 ล้านยูโร ใช้ในการวิจัย
เพื่อการรักษาโรค และ 1,500 ล้านยูโร นำไปใช้ในการผลิตเครื่องมือตรวจเชื้อ โดยเงินบริจาคจะส่งให้กับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน เพี่อมุ่ง
ช่วยเหลือประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนที่สุด 73 ประเทศ เช่น องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations
Children’s Fund, UNICEF) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO)

 สถานะล่าสุด

ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2563 ระบุว่าโครงการ Coronavirus Global Response สามารถระดมทุนได้จำนวน 9,800 ล้านยูโร ซึ่งสูงกว่า
เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7,500 ล้านยูโร การที่จะต่อสู้กับโรคโควิด – 19 ได้ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีงบประมาณสนับสนุนมหาศาล โดยการระดมทุน
เงินสนับสนุนจะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนระหว่างนักวิทยาศาสตร์ หน่วยงานบังคับใช้กฎระเบียบภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล
องค์การระหว่างประเทศ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด – 19 จึงเป็นเรื่องน่ายินดี โดยวันที่ 4 มิถุนายน 2563 อังกฤษ
จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมออนไลน์ครั้งต่อไป

สหภาพยุโรปประกาศใช้แผนปฏิบัติการ ERAvsCorona เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกันในการจัดการกับโรคโควิด – 19

เหล่าผู้นำประเทศในสหภาพยุโรปต่างออกมาสนับสนุนการสร้างความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน
วิทยาศาสตร์และการวิจัยในยุโรป เพื่อหาทางออกสำหรับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเน้นถึงความสำคัญในการแบ่งปันข้อมูลและ
การทำงานร่วมกันทั้งในสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก และพร้อมที่จะสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทีมนักวิจัยและบริษัทต่างๆ
ในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาแผนการปฏิบัติการ ERAvsCorona โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์และเครื่องมือที่มีอยู่ของเขตการวิจัยยุโรป
(European Reserch Area, ERA) เพื่อมารับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19

กลยุทธ์สำคัญ 10 ประการ

แผนปฏิบัติการประกอบด้วยกลยุทธ์สำคัญ 10 ประการ ซึ่งไดรับความเห็นชอบจากผู้นำประเทศของ 27 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป

  • ความร่วมมือในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการจัดการกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
  • การขยายการให้การสนับสนุนการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ในยุโรป
  • การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและการรับมือของระบบสาธารณสุขในยุโรป
  • การสนับสนุนบริษัทต่างๆ ในยุโรปในการวิจัย
  • การเปิดโอกาสให้มีการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากหน่วยงานอื่นๆ
  • การจัดตั้งแพลต์ฟอร์มเพื่อให้ข้อมูลแบบครบวงจรด้านทุนวิจัยสำหรับประเด็นโรคโควิด-19
  • การจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจระดับสูงด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19
  • การพัฒนาการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานการริจัย
  • การจัดตั้งแพตฟอร์มเพื่อแบ่งปันและเผยแพร่ข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19

 8 โครงการวิจัยใหม่เพื่อต่อสู้โรคโควิด – 19 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรมในยุโรป

เมื่อเดือนมีนาคม 2563 สหภาพยุโรปประกาศให้ทุนวิจัยสำหรับการพัฒนาวิธีการรักษาและการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 จำนวน 117 ล้านยูโร
ผ่านโครงการ Innovative Medicines Initiative ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม โดยเงินสนับสนุน
45 ล้านยูโร และอีก 72 ล้านยูโร จุดประสงค์หลัก คือ การช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้งในระดับสหภาพยุโรปและระดับโลก

สรุปรายละเอียดโครงการวิจัยที่ได้รับทุน

  1. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิฉัย จำนวน 5 โครงการ
  2. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการรักษา จำนวน 3 โครงการ

สหภาพยุโรประดมงบ 350 ล้านยูโรเพื่อช่วยประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อสู้กับโรคโควิด – 19

สหภาพยุโรปได้ประกาศให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศอาเซียนผ่านงบประมาณจำนวน 350 ล้านยูโร เพื่อรับมือและจัดการกับการแพร่
ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และบรรเทาผลกระทบจากการระบาดดังกล่าวในภูมิภาคอาเซียน โดยให้ความช่วยเหลือในระดับ
ประเทศและระดับภูมิภาค คือ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตด้านสุขภาพ เสริมสร้างระบบสาธารณสุข และบรรเทาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

โครงการความช่วยเหลือสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน

สหภาพยุโรปได้ปรับเปลี่ยนโครงการความร่วมมือกับอาเซียน เพื่อสามารถเข้าร่วมเพื่อรับความช่วยเหลือ ดังนี้ โครงการ Safe & Fair มีวัตถุ
ประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพการย้ายถิ่นฐานแรงงานให้มีความปลอดภัยและยุติธรรมสำหรับผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการ The EU-UN Spotlight Initiative เพื่อขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก

โครงการ BIOSEC – Enhanced Biosecurity in South-East Asia เป็นโครงการความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อช่วยให้ประเทศพันธมิตร
ในเอเชียตะวันออกเฉียงให้ เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือกับโรคติดต่อ

โครงการความช่วยเหลือสำหรับประเทศไทย 

สำหรับประเทศไทย สหภาพยุโรปและ Oxfam ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาในระดับสากลได้จัดทำโปสเตอร์ภาษาไทยและภาษายาวี
เพื่ออธิบายวิธีป้องกันตนเอง เพื่อช่วยประเทศไทยในการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในชุมชนห่างไกลในสามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองจากโควิด-19 เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคมและมาตรการป้องกันตนเองอื่นๆ
ข้อมูลที่มีอยู่แล้วบางส่วนมีเฉพาะภาษาไทยและไม่ได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมของผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ในเรื่องการละหมาด เพื่อรับมือ
ปัญหาดังกล่าวได้จัดทำโปสเตอร์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโควิด-19 เป็นภาษาไทยและภาษายาวี จำนวน 1,000 ชุด แจกจ่ายไปยังชุมชน
400 แห่งในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี นอกจากนี้ ยังมีการส่งโปสเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลตามช่องทางสื่อสังคม และกลุ่มนักสาธารณะสุขเพื่อ
สังคม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200713-newsletter-brussels-no05-may63.pdf

 

15 ต.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: