หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2563
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2563
21 ธ.ค. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2563

การประชุมวิชาการประจำปีของนักเรียนไทยในทวีปยุโรปครั้งที่ 9 (TSAC 2020)

เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2563 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ตัวแทนนักเรียนไทยในทวีปยุโรป
ได้จัดงานประชุมวิชาการออนไลน์ของนักเรียนไทย Virtual TSAC 2020 (the 9th Thai Student Academic Conference) ภายใต้หัวข้อ
“Living in the Digital Transformation Era” เป้าหมายเพื่อการแบ่งปันองค์ความรู้และสร้างความร่วมมือเชิงนวัตกรรมระหว่างนักเรียนไทย
หน่วยงานในประเทศไทย และหน่วยงานในทวีปยุโรป เพื่อไปสู่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในอนาคต ทั้งนี้การจัดประชุม
วิชาการประจำปีของนักเรียนในทวีปยุโรป ในรูปแบบ Virtual Conference บรรยายโดยวิทยากรรับเชิญพิเศษ อาทิ ผู้บริหารจากกระทรวงอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการนำเสนอผลของนักเรียนไทยในยุโรป ซึ่งครอบคลุมนำเสนอผลของนักเรียนไทยในวิทยาศาสตร์ การแพทย์
วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์  

การบรรยายพิเศษ

การบรรยายโดยวิทยากรพิเศษประกอบด้วย
ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หัวข้อ
“Empowering the Next Gen for the Future”
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หัวข้อ
“การปรับตัวต่อเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก”
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หัวข้อ “นวัตกรรมกับบทบาทใหม่ เมื่อโลกกำลังทำให้มนุษยชาติเปลี่ยนแปลง”

การนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนไทย

กิจกรรมการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนไทย จำนวน 13 คน แบ่งออกเป็น 3 ห้อง ประกอบด้วย
1. สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
2. สาขาชีววิทยาและการแพทย์
3. สาขากฎหมายและเศรษฐศาสตร์

รายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ประจำปี ค.ศ. 2020 (European Innovation Scoreboard 2020)

ในทุกๆ ปี คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำ Innovation Scoreboard เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรม (Innovation Performance)
ได้มาจากการวิแคราะห์เชิงเปรียบเทียบของสมาชิกในสหภาพยุโรป โดยมีการประเมินถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของระบบนวัตกรรมในแต่ละประเทศพร้อมทั้ง
ระบุถึงประเด็นที่แต่ละประเทศควรให้ความสนใจและพัฒนา

การจัดลำดับ 4 กลุ่มประเทศนวัตกรรม

  1. ผู้นำนวัตกรรม (Inovoftion Leaadrs) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมสูงกว่า ประเทศที่ถูกจัดลำดับอยู่ในกลุ่มผู้นำนวัตกรรม ได้แก่
    สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และสวัสเซอร์แลนด์
  2. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมใกล้เคียง ประเทศที่ถูกจัดลำดับอยู่ในกลุ่ม
    ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เอสโตเนีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์และโปรตุเกส
  3. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประเทศที่ถูกจัดลำดับ
    อยู่ในกลุ่มผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง ได้แก่ โครเอเชีย ไซปรัส เช็กเกีย กรีซ ฮังการี อิตาลี ลัตเย ลิทัวเนีย มอลตา โปแสนด์ สโลวะเกีย,
    สโลวีเนีย และสเปน
  4. ผู้สร้างสรรนวัตกรรมพอประมาณ (modest innovators) ซึ่ง่มีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประเทศที่ถูกจัดอยุ่ในกลุ่ม
    นวัตกรรมระดับกลาง ได้แก่ บัลกาเรีย และโรย่เนีย

ภาพรวมของการพัฒนานวัตกรรมของยุโรป

การจัดลำดับประเทศนวัตกรรมของสหภาพยุโรปในปี ค.ศ.2020 ในปีนี้ประเทศสวีเดนยังเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในสหภาพยุโรป ตามด้วยฟินแลนด์
เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่มีการเปลียนสถานะของหมวดประเทศนวัตกรรม ได้แก่ ประเทศลักเซมเบิร์ก ที่พัฒนาจากผู้สร้างสรรค์
นวัตกรรมระดับสูงเป็นผู้นำนวัตกรรม ขณะที่ประเทศโปรตุเกสได้พัฒนาจากผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลางเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง
ผลของการจัด Innovation Scoeboard ในปี ค.ศ. 2020 ชี้ให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปพัฒนาขึ้นร้อยละ 8.9
โดยเพิ่มขึ้นใน 24 ประเทศและลดลง 3ประเทศ ประเทศที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ได้แก่ ลิธัวเนีย มอลตา ลัตเวีย โปรตุเกส และกรีซ
ในขณะที่โรมาเนีย และสโลวาเนีย มีความสามารถลดลงมากที่สุด เนื่องมาจากการพัฒนาปัจจัยดังนี้คือ สถาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
โดยเฉพาะในด้านเครือข่ายสื่อสารไร้สาย (broadband penetration) รวมไปถึงเงินร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้
ภาคเอกชนลงทุนด้ายวิจัยและพัฒนา

การเปรียบเทียบการพัฒนานวัตกรรมของยุโรปกับประเทศอื่นทั่วโลก

สหภาพยุโรปมีประสิทธิผลทางนวัตกรรมเป็นอันดับ 5 รองจากประเทศเกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยนำหน้าสหรัฐฯ (เป็นปีที่ 2)
และจีน ตลอดจนประเทศอื่นๆ ใน 10 อันดับแรกของโลก เช่น ประเทศรัสเซีย บราซิล แอฟริกาใต้ และอินเดีย ประเทศจีนถือเป็นประเทศคู่แข่งที่
น่ากลัวสำหรับสหภาพยุโรปเนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิผลทางนวัตกรรมสูงสุดซึ่งปัจจุบันจีนมีอัตราขยายตัวสูงกว่าสหภาพยุโรปถึง 5 เท่า

จุดแข็งเชิงนวัตกรรมของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป

กลุ่มประเทศที่ถูกจัดให้เป็นผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ซึ่งมีจุดแข็งเชิง
นวัตกรรมแตกต่างกัน ดังนี้

ระบบการวิจัยที่น่าดึงดูด: ประเทศลักเซมเบิร์ก เป็นประเทศที่มีระบบการวิจัยที่มากที่สุด ตามด้วยเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ประเทศ
เหล่านี้เปิดกว้างสำหรับการสร้างความร่วมมือทางด้านการวิจัยกับประเทศที่สามนักวิจัยมีการติดต่อกับเครือข่ายระดับนานาชาติ และคุณภาพ
ผลงานวิจัยอยู่ในระดับสูง

การพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: ประเทศลักเซมเบิร์กเป็นประเทศผู้นำที่มีความโดดเด่น ตามด้วยฟินแลนด์
ออสเตรีย และเบลเยียม ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการทางธุรกิจในระดับสูง

ความร่วมมือและการเชื่อมโยงทางนวัตกรรม: ประเทศออสเตรียเป็นประเทศผู้นำที่มีความโดดเด่นด้านนี้ ตามด้วยเบลเยียม ฟินด์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์
โดยประเทศเหล่านี้มีความสามารถทางนวัตกรรมที่หลากหลายเนื่องจากเข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมกับบริษัทเอกชน หรือ องค์กรภาครัฐต่างๆ ระบบการวิจัย
ยังตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทเอกชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
สำหรับด้านอื่นๆ สวีเดนเป็นผู้นำด้านทรัพยากรมนุษย์ เดนมาร์กเป็นผู้นำด้านการเงิน เยอรมนีเป็นผู้นำด้านการลงทุนของภาคเอกชน ลักเซมเบิร์กเป็น
ประเทศผู้นำด้านทรัพย์สินทางปัญญา

การประชุมของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศว่าด้วยแผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์
ครั้งที่ 5 โดยมีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้

ปัจจุบันพบว่าประสิทธิภาพทางพลังงานไม่ได้ถูกพัฒนาเร็วเท่าที่ควรเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ทางพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานได้มากเท่าที่ควร นอกจากนี้ในปี 2563 การระบาดของโรคโควิด-19 ได้แปรสภาพ
ภูมิทัศน์พลังงาน

แผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานโลก

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมธิการว่าด้วยภาวะเร่งด่วนในการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานโลกสามารถสรุปได้เป็น 10 ข้อ ดังนี้

1 จัดลำดับความสำคัญของแผนงานว่าด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานและประโยชน์ที่จะได้รับต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลควร
จัดทำแผนนโยบายและมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การลดคาร์บอนในประเทศ

2 การพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานจะช่วยสร้างโอกาสและพัฒนาประสิทธิภาพของการสร้างงานให้สูงขึ้น

3 การสร้างและกระตุ้นอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการที่ใช้พลังงานสูง จะช่วยให้การพัฒนาส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานได้รวดเร็วและช่วยกระตุ้นให้เกิด
กิจกรรมในตลาดพลังงาน

4 การระดมเงินเพื่อสนับสนุน

5 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้จะช่วยให้กำหนดนโยบาย ควบคุม จัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงาน

6 ภาครัฐควรจัดสรรงบลงทุนในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของภาครัฐ กระตุ้นการสร้างนวัตกรรม และพัฒนามาตรฐาน

7 แผนงานพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานต้องถูกดำเนินในทุกระดับของสังคม ซึ่งทั้งภาคสังคม ธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น ต้องเข้ามามีส่วนร่วม

8 การศึกษาวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมของประชาชนจำทำให้ได้ข้อมูลที่ช่วยในการออกแบบนโยบายเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจหลักการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงาน

9 การสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศ จะช่วยให้เรียนรู้ซึ่งกันและกันใช้
แนวทางปฏิบัติและมาตรฐานที่เหมาะสม

10 รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แนวโน้มของตลาดพลังงาน

ตลาดพลังงานหมุนเวียนกำลังพัฒนาและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เหตุนี้ระบบการจัดการและซื้อขายต้องปรับเปลี่ยนตาม นำไปสู่แนวโน้มของตลาด
พลังงานหมุนเวียนแบบเรียลไทม์ มองว่าเป็นทิศทางหลักในอนาคต ความไม่แน่นอนของการผลิตพลังงาน คือ จุดอ่อนที่สำคัญของพลังงานหมุนเวียน
เพราะสภาวะธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ เช่น วันที่มีแสงแดดน้อย ตลาดพลังงานก้าวไปสู่ระบบตลาดเรียลไทม์ คือ ข้อมูลและการใช้ระบบอัลกอริทึม
นักวิจัยพยายามคิดค้นว่าทำอย่างไรให้แบตเตอรี่มีขนาดเล็ก แต่สามารถเก็บบรรจุพลังงานได้จำนวนมาก โดยที่ราคาไม่สูงเกินไป ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี
ของแบตเตอรี่สามารถสำรองไฟฟ้าให้ระบบกริดขนาดเล็กระดับไมโคร โดยเป็นแหล่งไฟฟ้สำรองในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและเป็นแหล่งเก็บพลังงาน
ส่วนเกินในช่วงที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่ำ

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200921-newsletter-brussels-no07-jul63.pdf

21 ธ.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: