วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม 2562
การประกาศยกเลิกการใช้พลาสติก 8 ชนิดในสหราชอาณาจักร
รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรได้ประกาศเลิกใช้พลาสติก 8 ชนิดภายในปี ค.ศ. 2020 ได้แก่
1.ชุดช้อน ส้อม และมีดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง
2.บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยวัสดุพอลิสไตรีน
3.สำลีก้านพลาสติก (cotton buds)
4. แท่งคนกาแฟ
5.หลอดดื่มน้ำที่ทำจากพลาสติก (มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้ในทางการแพทย์)
6.พลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ (Oxo-degradable Plastics)
7.พลาสติก PVC หรือ พอลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinylchloride, PVC)
8.ชามและถ้วยพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง
โครงการ UK Plastics Pact
โครงการ UK Plastics Pact ได้ถูกจัดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2018 โดยมีสมาชิก 127 เข้าร่วม โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้ง 8 ชนิด และหาวัสดุทดแทน เช่น กระดาษ เส้นใย โลหะ และ อื่นๆ รวมไปถึงร่วมมือกันในการบรรลุเป้าหมายการกำจัดพลาสติกที่เป็นปัญหาทั้งหมดและลดการใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็นให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2025
การยกเลิกใช้พลาสติกบางประเภทในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พิจารณากำหนดการลด และเลิกใช้ ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ที่พบมากในขยะซึ่งถูกทิ้งในทะเลของประเทศไทยและก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนการยกเลิกพลาสติก 7 ประเภทดังนี้
1.พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม
2.พลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ
3.ไมโครบีดจากพลาสติก เลิกใช้ปี 2562
4.ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน
5.กล่องโฟมบรรจุอาหาร เลิกใช้ปี 2565
6.แก้วน้ำพลาสติก (ชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง)
7.หลอดพลาสติก เลิกใช้ปี 2568 โดยมีเป้าหมายรวมในการลด
การประชุมประจำปีของสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรป ATPER 2019
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรป ATPER 2019 ณ เมือง Dusseldorf สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2562 การจัดประชุมครั้งนี้ มีผู้แทนของหน่วยงานในประเทศไทย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ร่วมกันพัฒนารูปแบบและแนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ที่มาของการประชุม
การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมในประเทศควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup) อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเพื่อรองรับการเติบโต ของอุตสาหกรรมใหม่ หัวข้อการประชุมสมาคมนักวิชาชีไทยในภูมิภาคยุโรปมุ่งเน้นไปที่ประเด็นดังนี้
1.นวัตกรรม
2.เทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3.อุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกสมัยใหม่
การประชุมหารือ สร้างความร่วมมือการวิจัย พัฒนา และการทดสอบพลาสติกชีวภาพ การรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติก และวัสดุสัมผัสอาหาร
ในการประชุมครั้งนี้ได้พบปะกับองค์กรเชี่ยวชาญระดับโลกที่มีประสบการณ์สูงในด้านพลาสติกชีวภาพของราชอาณาจักรเบลเยียมและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ รวม 4 หน่วยงาน คือ
1.Wageningen University & Research
2.Rodenburg Biopolymers
3.Public Waste Agency of Flanders (OVAM)
4.Organic Waste Systems (OWS)
โดยมีประเด็นการหารือด้านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การพัฒนามาตรฐานวิธีทดสอบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการขยะ และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี รวมถึงการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบ
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191119-newsletter-brussels-no8-aug62.pdf