หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 เดือน กันยายน 2562
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 เดือน กันยายน 2562
24 ก.พ. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 เดือน กันยายน 2562

นโยบายการพัฒนาประเทศจากเยอรมนีสู่ไทย โดย สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเบอร์ลิน
ดร.ธิรวัฒน์ ภูมิจิตร เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน กล่าวว่า หากประเทศไทยเติบโตด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนที่จะช่วยให้ประเทศสามารถจัดการกับความท้าทายทางสังคมได้ หากพิจารณาถึงประเทศเยอรมนี จะพบว่ามี 4 จุดเด่นสำคัญด้าน วทน. ที่ประเทศไทยสามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้
1.การสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
2.การพัฒนาทักษะแรงงานและทรัพยากรมนุษย์
3.นวัตกรรมสังคม
4.การสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์


ความก้าวหน้าด้าน วทน. ในยุโรปและโอกาสการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงบรัสเซลส์
ภารกิจส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี
คือการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปเพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคมวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งจะนำประเทศไปสู่สังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้โดยเฉพาะการถ่ายองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนนโยบาย
Thailand 4.0

การจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การปรับบทบาทของอุดมศึกษาเพื่อขับเคลื่อนประเทศภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แนวคิดในการจัดตั้งมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่รัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาและการวิจัยของไทย เช่น ปัญหาธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย การวิจัย นวัตกรรม ไม่มีทิศทาง โจทย์วิจัย ไม่ตอบสนองสังคม เศรษฐกิจ งบประมาณวิจัยไม่เพียงพอ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทาง วทน. ขาดทิศทาง ไม่ต่อเนื่อง อัตราการสร้างนวัตกรรมต่ำ และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยหัวใจหลักของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือการดำเนิน 2 ภารกิจหลัก ได้แก่ 1.เตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และ 2. นำองค์ความรู้และนวัตกรรม ไปพัฒนาประเทศ

การพัฒนาการศึกษาไทย โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สสวท. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในและนอกสถานศึกษาให้นักเรียนพัฒนาตามศักยภาพเป็นประชากรที่มีความรู้ นักวิชาชีพฐานดี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่อไป
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน วทน.
1. วิทยาการคำนวณ : สสวท. ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่หลักสูตรวิทยาการคำนวณ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ โดยกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาวิทยาการคำนวณไว้3องค์ความรู้  ดังนี้ การคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และ พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy)
2. หนังสือเรียนแนวคิดใหม่ : สสวท. ได้ปรับปรุงแบบเรียนในทุกระดับชั้นโดยพิมพ์สีทั้งหมด พร้อม QR Code และ Short url เชื่อมโยงแหล่งความรู้ออนไลน์ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ  นอกจากนี้ยังได้พัฒนาสื่อวิทยาศาสตร์แบบสื่อดิจิทัลแสดงผลเสมือนจริง หรือสื่อ AR 3 มิติ (Augmented Reality) เพื่อเป็นสื่อประกอบหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์อีกด้วย
3. สะเต็มศึกษา : เป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง โดยเน้นจากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวแล้วค่อยอธิบายเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยทฤษฎีและนำไปสู่การเรียนรู้คำนิยามต่างๆ
4. แผนการจัดตั้งสถาบัน Kosen : สสวท.จะนำระบบ Kosen จากประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้กับระบบอาชีวะในประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักสูตรเชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมศาสตร์ เที่ยบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายโดยตลอดหลักสูตร 5 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันโคเซ็น ควบอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์


การสร้างความเป็นสากลให้แก่ระบบอุดมศึกษาของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
การสร้างความเป็นสากลให้แก่ระบบอุดมศึกษาของไทย โดยที่ผ่านมามีการสร้างความเป็นสากลผ่านการสร้างความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศ การลงนามบันทึกความเข้าใจ
(MoU) การจัดอันดับมหาวิทยาลัย การรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน การเกิดหลักสูตรนานาชาติเพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ ในขณะที่ปัจจุบันเป็นโลกแห่งยุคดิจิทัล ดังนั้นมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายร่วมกัน เชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของโลกสมัยใหม่ที่มีการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงสูงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้อาจจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการสร้างการแลกเปลี่ยนเสมือน (virtual mobility) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมผ่านระบบดิจิทัลเสมือนจริง


เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
นาโนเทค

นาโนเทคเป็นองค์กรที่ดำเนินงานวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต โดยปัจจุบันนาโนเทคมีหน่วยวิจัย
5 หน่วย การวิจัยด้านการพัฒนาวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ซึ่งมุ่งพัฒนาและแบบ วัสดุ โครงสร้างและระบบในระดับนาโนด้วยวิธีการคำนวณทางเคมีคอมพิวเตอร์ ผ่านการสร้างแบบจำลองและการประเมินเชิงวิศวกรรมผ่านการสร้างต้นแบบและระบบนำร่องสำหรับการประยุกต์ใช้งานในด้านพลังงาน การวิจัยด้านนาโนเพื่อชีวิตและสุขภาพ มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัย โดยใช้โมเลกุลเป้าหมาย การพัฒนาเทคโนโลยีระบบนำส่งยาชนิดใหม่และเวชสำอางจาการใช้ประโยชน์ด้วยสารจากธรรมชาติและสมุนไพร


เอ็มเทค
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือเอ็มเทค เป็นหน่วยงานที่พัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีวัสดุให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนโดยดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ตัวอย่างผลงานของเอ็มเทค
: วัสดุชนิดแข็งพิเศษจากยางธรรมชาติสำหรับงานปูพื้นเพื่อการตกแต่งบ้านและสวน เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ น้ำยาง ParaFIT เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนและที่นอน แอพพลิเคชั่นบนมือถือที่มุ่งเน้นตรวจสอบปริมาณของขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารจากการบริโภคในชีวิตประจำ และวัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิกส์


เนคเทค
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทคเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เปรียบเสมือนเครื่องจักรสำคัญในการสร้างฐานรากทางเทคโนโลยีให้ประเทศรวมถึงเตรียมความพร้อมงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยร่วมกับพันธมิตรผลักดันให้เกิดระบบนิเวศน์ของการใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ที่ให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เสมือนกับการเป็นสาธารณูปโภคที่ส่งให้ประชาชนทุกคนในบ้าน  ตัวอย่างผลงานของเนคเทค
: โปรแกรมวัดขนาดอาหารเม็ดสัตว์น้ำ แพลตฟอร์มระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยินและคนพิการทางการพูด เครื่องอ่านปริมาณสารเคมีในแบบอัจฉริยะ ระบบถอดความเสียงพูดเป็นตัวอักษรแบบทันเวลา และระบบอัจฉริยะเพื่อเฝ้าระวังและติดตามการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น


ไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ สร้างองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
(excellence) และส่งเสริมต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ตอบโจทย์ของสังคมและนโยบายประเทศเพื่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20191119-newsletter-brussels-no9-sep62.pdf

24 ก.พ. 2563
0
แชร์หน้านี้: