เมื่อเดือนธันวาคม 2016 สำนักพิมพ์ Elsevier โดยฐานข้อมูล Scopus ได้ประกาศบริการหน่วยวัดค่าใหม่ ชื่อ CiteScore เพื่อวัดคุณภาพของวารสาร โดยคำนวณจากจำนวนการได้รับการอ้างอิง หาร ด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ใน 3 ปีย้อนหลัง ของวารสารชื่อหนึ่งๆ ถือว่าเป็นสูตรที่เลียนแบบผลงาน Journal Impact Factor (JIF) ที่ชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลก รู้จักและคุ้นเคยกันมาช้านาน
รูปภาพ 1 หน้าจอหลักของฐานข้อมูล Scopus ที่แสดงหน้าเมนู Sources
ปัจจุบัน Scopus ครอบคลุมวารสารที่ตีพิมพ์ทั่วโลก จำนวน 22,256 ชื่อ (ณ ธันวาคม 2016) แบ่งเป็น 330 สาขาวิชาหลัก Scopus แสดงค่า CiteScore พร้อมด้วยหน่วยวัดอื่นๆ รวม 8 ค่าของชุดครอบครัวดัชนีชี้วัด เพื่อเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของวารสารวิชาการในแต่ละชื่อวารสาร ดังภาพแสดง โดยมีเมนูให้สามารถสืบค้นหาค่า CiteScore ของวารสารตาม Title / Subject areas / Publishers / Source type / Quartile
รูปภาพ 2 ฐานข้อมูล Scopus แสดงหน่วยวัด CiteScore พร้อมด้วยหน่วยวัดอื่นๆ รวมเป็น 8 ค่า
ภาพแสดงค่า CiteScore ของวารสาร ชื่อ Ca-A Cancer Journal for Clinicians ปี 2016 โดยแสดงข้อมูลต่างๆ ประกอบ และวิธีคำนวณหาค่า CiteScore 2015 = Citation Count 2015 / Document 2012-2014 ซึ่งมีค่า = 66.45
รูปภาพ 3 แสดงค่า CiteScore ของวารสาร ชื่อ Ca-A Cancer Journal for Clinicians ปี 2016 หน่วยวัดชุดใหม่นี้ มีความคล้ายคลึงกับค่า Journal Impact Factor, JIF ที่ทรงอิทธิพลมาช้านาน ในหลายๆ ด้าน คือ ทั้ง JIF และ CiteScore เป็นหน่วยวัดคุณภาพในระดับวารสารทั้งคู่ ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณ จากสัดส่วนของ จำนวนการอ้างอิง (citations) กับจำนวนบทความ (documents)
ในวารสารชื่อหนึ่งๆ
ข้อแตกต่างของวิธีการหาหน่วยวัดทั้งสองค่านี้ คือ
- Observation Window – CiteScore นับค่า citations ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารชื่อหนึ่งๆ ในเวลา 3 ปีย้อนหลัง ส่วนค่า JIF นับแค่ 2 ปีย้อนหลัง
- Sources – CiteScore ใช้ชุดชื่อวารสารราว 22,000 ชื่อวารสาร ส่วน JIF ใช้ชุดวารสารที่มีการคัดเลือกมาเท่านั้น ในจำนวนราว 11,00 ชื่อวารสาร
- Document Types – CiteScore รวบรวมจากบทความทุกประเภท ส่วน JIF จำกัดเฉพาะบทความประเภท articles กับ reviews เท่านั้น
- Updates – CiteScore จะทำการคำณวนหาค่า ในทุกเดือน ขณะที่ ค่า JIF ทำการคำนวณแสดงค่าแบบรายปี
สรุปได้ว่า CiteScore ของ Elsevier ใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่และมีข้อแตกต่างอื่นๆ จึงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันสำหรับคุณภาพของวารสารชุดเดิม JIF และที่สำคัญ ทั้ง 2 หน่วยวัดนี้กลายเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของกันและกันอีกด้วย
หลังจาก Scopus เปิดตัวให้บริการ ได้ไม่นานนัก ก็มีเสียงวิจารณ์ถึง CiteScore ในประเด็นต่างๆ คือ
- วารสารชื่อดังเช่น Nature, Science ที่ผ่านมามีค่า JIF สูงมาตลอด แต่กลับมีค่า CiteScore ต่ำมาก รวมภึงวารสารด้านการแพทย์ชื่อดัง เช่น The New England Journal of Medicine และ The Lancet ด้วย
- ประเภทของบทความ ที่นำมาคิดค่าหน่วยวัดหรือ ดัชนีนั้นหน่วยวัด JIF คิดเฉพาะบทความประเภทงานเขียนแบบวิจัยและ แบบรีวิว เท่านั้น ไม่นับรวมบทความประเภทอื่นๆ เช่น editorials, letters to the editor, corrections และ news ส่วน CiteScore คิดคำนวณจากบทความทุกประเภท ซึ่งประเด็นนี้อาจมีผลทำให้พฤติกรรมการตีพิมพ์ของบรรณาธิการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- การจัดหมวดหมู่สาขาวิชาของ Scopus มีความสับสน ยังไม่มีความชัดเจนในข้อกำหนดขอบเขต ซึ่งเมื่อเรียกดูค่าหน่วยวัด CiteScore ทำให้มีผลต่อการจัดอันดับของวารสารชื่อหนึ่ง ในสาขาหนึ่ง
- การที่สำนักพิมพ์ Elsevier เข้าสู่ธุรกิจเมตริก ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือผลประโยชน์ทับซ้อน โดยที่วารสารที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Elsevier จะได้รับ ประโยชน์โดยทั่วไปจาก CiteScore มากกว่าวารสารจากสำนักพิมพ์คู่แข่ง โดยที่ธุรกิจใหม่นี้ Elsevier มุ่งเน้นทำการตลาดกับกลุ่มบรรณาธิการของวารสารเป็นหลัก (แตกต่างกับ ผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล Scopus ที่เน้นการตลาดกับบรรณารักษ์และนักวิทยาศาสตร์มากกว่า) อย่างไรก็ตาม ข้อวิจารณ์ เหล่านี้อาจนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนาหน่วยวัดค่าใหม่นี้ต่อไป ที่อาจทำให้ให้เกิดการยอมรับในกลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง :
- Elsevier : Research Metrics – Available at – https://www.elsevier.com/solutions/scopus/features/metrics
- CiteScore–Flawed But Still A Game Changer- Available at : https://scholarlykitchen.sspnet.org/2016/12/12/citescore-flawed-but-still-a-game-changer/