หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ การศึกษาเพื่อสร้างเกณฑ์สำหรับตำราเรียนดิจิทัลและประเมินตำราเรียนดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การศึกษาเพื่อสร้างเกณฑ์สำหรับตำราเรียนดิจิทัลและประเมินตำราเรียนดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3 ส.ค. 2565
0
นานาสาระน่ารู้

ระหว่างฤดูร้อนของปี 2008 The Student PIRGs (The Student Public Interest Research Groups) ได้ทำการศึกษากับ 504 นักศึกษา ใน Oregon และ Illinois และวิเคราะห์ราคา e-textbook ของ 50 ตำราเรียนที่ถูกมอบหมายทั่วไป เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่พบหลัก คือ

1. ตำราเรียนดิจิทัลต้องมี 3 เกณฑ์ ได้แก่ สามารถจ่ายได้ (affordable), สามารถพิมพ์ได้ (printable) และสามารถเข้าถึงได้ (acessible)

อย่างแรก ตำราเรียนดิจิทัลต้องสามารถจ่ายได้มากกว่าหนังสือแบบดั้งเดิม
เพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูง ตำราเรียนดิจิทัลต้องเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหนังสือแบบดั้งเดิม หมายความว่าตำราเรียนดิจิทัลต้องมีราคาต่ำกว่าราคาสุทธิของการซื้อตำราเรียน

อย่างที่สอง ตำราเรียนดิจิทัลต้องง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่ายมากสำหรับการสั่งพิมพ์ออกมา
การสั่งพิมพ์ออกมาทำให้ตำราเรียนดิจิทัลมีประโยชน์สำหรับนักศึกษาที่มีสไตล์การอ่านและการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน นักศึกษาเหมือนมีความชอบทั่วไปสำหรับหนังสือที่ถูกสั่งพิมพ์ออกมามากกว่าคอมพิวเตอร์

อย่างที่สาม ตำราเรียนดิจิทัลต้องสามารถเข้าถึงได้
เมื่อนักศึกษาซื้อตำราเรียนดิจิทัล ควรสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์, เก็บสำหรับใช้ offline และเก็บสำเนาสำหรับใช้ในอนาคต ถ้าน้อยกว่าเป็นไปตามนี้จะทำให้หนังสือดิจิทัลไม่มีประโยชน์สำหรับนักศึกษาจำนวนมาก
– 45% ของนักศึกษาที่ถูกสำรวจบอกว่าการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่ถูกจำกัดจะทำให้อย่างน้อยค่อนข้างยากที่จะใช้ตำราเรียนดิจิทัล
– 71% บอกว่าเก็บอย่างน้อยหนึ่งตำราเรียนเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต

2. e-textbooks ไม่สามารถตอบเกณฑ์

E-textbooks มีราคาแพงเกินไป

การสั่งพิมพ์ออกมามีราคาแพงและยุ่งยาก
– การสั่งพิมพ์ออกมาถูกจำกัดไปที่ 10 หน้าต่อ session สำหรับแต่ละ e-textbooks ที่ถูกสำรวจ
– การซื้อและการสั่งพิมพ์ออกมาครึ่งหนึ่งของ e-textbook เป็นสามเท่าค่าใช้จ่ายในการซื้อ hard copy ที่ใช้แล้วและการขายกลับให้ร้านหนังสือ สำหรับหนังสือที่ถูกสำรวจ

E-textbooks ยากที่จะเข้าถึง
– นักศึกษาต้องเลือกระหว่างการใช้หนังสือออนไลน์หรือการใช้ offline ไม่สามารถทำทั้งสองได้
– ส่วนใหญ่ (75%) ของ e-textbooks ที่ถูกสำราจหมดอายุหลัง 180 วัน ดังนั้นนักศึกษาไม่สามารถเข้าถึงหนังสือในอนาคต

3. ตำราเรียนแบบเปิด (open textbooks) ตอบเกณฑ์ทุกข้อ
ตำราเรียนแบบเปิดเป็นตำราเรียนที่มีให้ใช้ฟรีอย่างดิจิทัลภายใต้การอนุญาตแบบเปิด ลักษณะหลักของการอนุญาตแบบเปิดคือยอมให้ผู้ใช้ทำสำเนาของตำราเรียนและแปลงเป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นตำราเรียนแบบเปิดเป็นดิจิทัลแต่สามารถเป็นหลายรูปแบบ ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าตำราเรียนแบบเปิดประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ e-textbooks ทำไม่ได้ โดยตำราเรียนแบบเปิดมีราคาไม่แพง, ง่ายที่จะสั่งพิมพ์ออกมา และสามารถเข้าถึงได้

ตำราเรียนแบบเปิดมีราคาไม่แพง
ตำราเรียนแบบเปิดมีให้ฟรีอย่างดิจิทัล และนักศึกษาสามารถซื้อรูปแบบอื่น ๆ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย

ตำราเรียนแบบเปิดง่ายที่จะสั่งพิมพ์ออกมา
นักศึกษาสามารถสั่งพิมพ์ตำราเรียนดิจิทัลเวลาไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้และในรูปแบบที่หลากหลาย

ตำราเรียนแบบเปิดสามารถเข้าถึงได้
นักศึกษาสามารถเข้าถึงตำราเรียนแบบเปิดเวลาไหนก็ได้จากคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้โดยไม่มีการหมดอายุของหนังสือ

สรุปจากการศึกษา
ตำราเรียนดิจิทัลเป็นวิธีแก้ปัญหาที่สำคัญเพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ต้องทำในหนทางที่ถูกต้อง การศึกษาครั้งนี้พบว่าตำราเรียนดิจิทัลต้องตอบ 3 เกณฑ์หลัก เพื่อมีศักยภาพสูงสุด ได้แก่ สามารถจ่ายได้ สามารถสั่งพิมพ์ได้ และสามารถเข้าถึงได้ มี 2 ชนิดหลักของตำราเรียนดิจิทัลขณะนี้ ได้แก่ e-textbooks และตำราเรียนแบบเปิด ซึ่งเป็นตัวอย่างของตำราเรียนดิจิทัลทำในหนทางที่ผิดและที่ถูกตามลำดับ

ที่มา: Nicole Allen (August 2008). Course correction how digital textbooks are off track and how to set them straight. The Student PIRGs. Retrieved July 18, 2022, from https://studentpirgs.org/2008/08/01/course-correction/

แชร์หน้านี้: