สรุปการบรรยายหัวข้อ ยุทธศาสตร์งานออกแบบ และวิศวกรรม จากวิทยาการ สู่การนำไปประยุกต์ใช้ โดย ดร.นิรุตต์ นาคสุข ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในงาน R&D Sharing 2017 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ดังนี้
งานของหน่วยวิจัยออกแบบและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ มุ่งไปที่ 3 business sectors คือ
1. transportation and auto part มีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัย ชีวิต และทรัพย์สิน เพราะพวกเราต้องเดินทางตลอด ใช้รถตลอด งานของหน่วยวิจัยออกแบบและวิศวกรรมหนึ่งในนั้นคือ การพัฒนารถพยาบาลร่วมกับบริษัท สุพรีร่า อินโนเวชั่น ออกมาเป็นรถพยาบาลที่มีมาตรฐาน โดยอาศัยองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบและวิศวกรรม ได้มีการสร้างแบบจำลองของห้องผู้โดยสารที่ได้ออกแบบมาทำการทดลองความสามารถในการรับแรงกด ทำการจำลองการพลิกคว่ำ ทดสอบการพลิกคว่ำของต้นแบบของห้องโดยสารที่ออกแบบขึ้นมา อีกจุดหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าความแข็งแรงของโครงสร้างของรถพยาบาลก็คือ การจับยึดการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ ภายในห้องโดยสารของรถพยาบาล ซึ่งได้พัฒนาตรงจุดนี้เหมือนกัน ได้ทำการออกแบบอุปกรณ์ในการจับยึดสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในห้องโดยสารของรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยโครงการรถพยาบาลโครงการนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ ปัจจุบันเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการออกแบบและการแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรม งานวิจัยอื่นใน business sector นี้ คือ รถบัสไฟฟ้าขนาด 20 ที่นั่ง รถบรรทุกอเนกประสงค์ทางการเกษตร การวิเคราะห์ความแข็งแรงของล้อแม็กซ์ การพัฒนาขบวนการการปั้มขึ้นรูปของชิ้นส่วน ในที่นี้คือ ชิ้นส่วนคานด้านหน้าของรถยนต์
2. power generator มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ตัวอย่างงานวิจัยใน business sector นี้คือ การใช้ CAE ในการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างในระบบของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อีกงานหนึ่งคือ การใช้ CAE ในการวิเคราะห์ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อีกอันหนึ่ง ก็คือ ความปลอดภัยในส่วนของ stability หรือว่าเสถียรภาพของโรงไฟฟ้า ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ความสามารถของโรงไฟฟ้าในการที่จะซ่อมบำรุงชิ้นส่วนต่างๆ หรืออะไหล่ต่างๆ ของโรงไฟฟ้าเอง สิ่งที่ทำคือ การพัฒนาระบบเชื่อมอัตโนมัติที่จะช่วยในการเชื่อมซ่อมชิ้นส่วนต่างๆ ของโรงไฟฟ้า แล้วก็ช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในการที่จะซ่อมชิ้นส่วนต่างๆ ของโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบและซอฟต์แวร์ในการที่จะช่วยในการพ่นเคลือบของโรงไฟฟ้าที่เป็นระบบ gas turbine
3. machinery and automation มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่างงานคือ งานที่ทำร่วมกับบริษัทในเครือ SCG ซึ่งเป็นขบวนการหนึ่งในการผลิตข้อต่อ PVC ปกติแล้วข้อต่อ PVC จะใส่กล่องมา ระบบที่พัฒนาและ sign off ทางบริษัทในเครือ SCG sign off ไปเรียบร้อยแล้ว ก็คือระบบแบบนี้ ข้างในจะประกอบด้วยกล้องที่เป็น machine mission ซึ่งเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ run อยู่ ซึ่งซอฟต์แวร์เชื่อมต่อกับ database การผลิตของโรงงาน กล้องจะดูสินค้าภายในกล่อง ข้อต่อภายในกล่องว่าเป็น model อะไร แล้วก็จะใช้ printer ภายใน print ข้างกล่องโดยอัตโนมัติ เครื่องนี้ยังปิดปากกล่องโดยอัตโนมัติ แล้วส่งกล่องนี้ออกมาข้างนอก เนื่องจากว่าบริษัทในเครือ SCG จะมีโรงงานหลายโรงงานทำข้อต่อเหมือนๆ กันสามารถที่จะ copy ระบบที่ทำนี้ไปตั้งในโรงงานอื่นๆ ในเครือ SCG ที่จะต้องใช้ระบบนี้ได้ อีกส่วนที่คุยกับคนที่ติดต่อในบริษัท SCG ก็คือว่าตรงนี้เป็นการสร้างช่องทางทางธุรกิจใหม่ของบริษัท SCG เหมือนกัน นอกจากที่จะแค่ผลิตตัวข้อต่อขายแล้วยังสามารถขาย solution ให้โรงงานอื่นๆ ที่มีความต้องการคล้ายกันได้
Global trend ในปัจจุบันคือ Light weight รถก็คือ รถ Light weight เป็นรถที่มีน้ำหนักเบา ตัวอย่างเช่น รถ BMW i3 มีโครงสร้างที่ขึ้นรูปจากคาร์บอนไฟเบอร์คอมโพสิท ซึ่งมีน้ำหนักเบามากๆ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์หรือว่าโครงสร้างของรถจะสามารถ Light weight ด้วยกระบวนการผลิตใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การใช้ Laser ในการเชื่อมชิ้นส่วนที่เป็นโลหะเข้าด้วยกัน แต่ถ้าจะสรุปขบวนการผลิตสมัยใหม่ในอนาคตอันแรกคือ Light weight structure ส่วนที่สองก็คือ คาร์บอนไฟเบอร์คอมโพสิท ส่วนที่สามคือ Laser processing and joining ส่วนสุดท้ายคือ non contract non destructive หรือคือ NDT หรือ non destructive testing NDT คือการทดสอบคุณสมบัติโดยไม่ทำลาย sample นั้น เป็นการประหยัดทั้งเงินและเวลา ในการที่ต้องเสียชิ้นส่วนนั้นไป แต่ NDT มีปัญหาที่ไม่สามารถที่จะทำ realtime หรือ online ได้
ติดตามการบรรยายฉบับเต็มได้ที่ http://ffwtube.nstda.or.th/category/seminar/rd-sharing/rd-sharing-2017/page/2/