หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วงจรยืดหยุ่นได้
วงจรยืดหยุ่นได้
21 ส.ค. 2561
0
นานาสาระน่ารู้

คณะนักวิจัยจากจีนพัฒนาวัสดุนำไฟฟ้าผสม ส่วนหนึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้ อีกส่วนเป็นโลหะเหลว ซึ่งสามารถโค้งและยืดออกได้ วงจรที่ประกอบขึ้นด้วยวัสดุนี้สามารถมีรูปร่าง 2 มิติได้หลากหลายและนอกจากนี้ยังไม่เป็นพิษ การศึกษาครั้งนี้เผยแพร่ในวารสาร iScience

วัสดุมีชื่อเรียกว่า metal-polymer conductor หรือ MPC โลหะในวัสดุนี้ไม่ใช่เป็นของแข็งนำไฟฟ้าเช่น ทองแดง เงิน หรือทอง แต่เป็น gallium และ indium ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำเชื่อมเหนียว ซึ่งยังคงยอมให้กระแสไฟฟ้าไหล คณะนักวิจัยค้นพบว่าฝังหยดของส่วนผสมโลหะเหลวนี้ภายในเครือข่ายพยุงของพอลิเมอร์ที่เป็นซิลิโคนทำให้ได้วัสดุที่ยืดหยุ่นได้เชิงกลด้วยความสามารถนำไฟฟ้าพอที่จะทำให้เกิดวงจรที่มีประสิทธิภาพ

โครงสร้างของ MPC เหมือนกับเกาะโลหะเหลวกลมลอยอยู่ในทะเลของพอลิเมอร์ โดยมีโลหะเหลวชนิดหนึ่งห่อหุ้มอยู่ข้างใต้เพื่อทำให้เกิดความสามารถนำไฟฟ้าที่สมบูรณ์ คณะนักวิจัยประสบผลสำเร็จในการทดลองหลายสูตรของ MPC เพื่อการประยุกต์ที่หลากหลาย ได้แก่ เป็นเซ็นเซอร์สำหรับถุงมือ keyboard ที่สวมใส่ได้ และเป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับกระตุ้นการส่งผ่านดีเอ็นเอผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

Lixue Tang หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวว่า การประยุกต์ใช้ MPC ขึ้นอยู่กับส่วนพอลิเมอร์ ใช้พอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นมากเพื่อให้ได้ MPC สำหรับวงจรยืดหยุ่นได้ ใช้พอลิเมอร์ชีวภาพและย่อยสลายในทางชีวภาพสำหรับ MPC เพื่ออุปกรณ์ฝังได้ ในอนาคตสามารถแม้แต่สร้างหุ่นยนต์นิ่มโดยใช้พอลิเมอร์ electroactive

ที่มา: Cell Press (2018, June 14). This is what a stretchy circuit looks like. ScienceDaily. Retrieved August 10, 2018, from https://www.sciencedaily.com/releases/2018/06/180614213840.htm

21 ส.ค. 2561
0
แชร์หน้านี้: