ยุทธศาสตร์งานวิจัยของประเทศไทย การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ (พ.ศ. 2555-2559) และโปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์สร้างความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยตั้งอยู่ใน hotspot ที่เรียกว่า "Indo-Burma" ที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก และเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพต่อหน่วยพื้นที่สูงเป็นอันดับรองจากประเทศเอกวาดอร์ ประมาณว่าประเทศไทยมีหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวติราวร้อยและ 10 ของโลก
ประเทศไทยมีการสั่งสมภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพมายาวนาน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากสมุมไพรทั้งในรูปของอาหารและยารักษาโรคหลายรูปแบบรวมถึงการใช้จุลินทรีย์ในอาหารหมักดอง อย่างไรก็ดี ยังเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพโดยตรงและมีมูลค่าไม่สูง
ในขณะเดียวกัน พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ภัยแล้งและภัยธรรมชาติบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลงการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องใช้ความรู้และบุคลากรหลายด้าน จึงมีการจัดตั้งแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพขนาดใหญ่ของประเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2539 คือ โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ทำให้เกิดการขยายตัวของความรู้ มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เข้าไปเพิ่มและทดแทนบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
ดาวน์โหลดเอกสาร : PDF format [5.35 MB]