หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วัคซีนเอชไอวีทำให้เกิดแอนติบอดีในสัตว์หลายชนิดซึ่งทำลายเอชไอวีหลายสายพันธุ์
วัคซีนเอชไอวีทำให้เกิดแอนติบอดีในสัตว์หลายชนิดซึ่งทำลายเอชไอวีหลายสายพันธุ์
20 ส.ค. 2561
0
นานาสาระน่ารู้

วัคซีนได้รับการพัฒนาจากโครงสร้างของเอชไอวีทำให้เกิดแอนติบอดีในหนู หนูตะเภา และลิง ซึ่งทำลายเอชไอวีหลายสายพันธุ์จากทั่วโลก การค้นพบครั้งนี้ถูกรายงานในวารสาร Nature Medicine โดยคณะนักวิจัยจาก National Institute of Allergy and Infectious Diseases อยู่ภายใต้ National Institutes of Health (NIH)

วัคซีนถูกพัฒนาโดยใช้ fusion peptide ของเอชไอวี (เป็นกรดอะมิโนสายสั้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนที่ยื่นออกจากผิวของไวรัสซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยให้ไวรัสเข้าเซลล์คนได้) fusion peptide epitope เหมาะสำหรับใช้เป็นวัคซีนเพราะโครงสร้างเหมือนกันในสายพันธุ์ส่วนใหญ่ของเอชไอวีและเพราะระบบภูมิคุ้มกันเห็น fusion peptide epitope ได้อย่างชัดเจนและมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างมาก นอกจากนี้ fusion peptide ไม่มีน้ำตาลซึ่งบังการมองเห็นของระบบภูมิคุ้มกันต่อ epitope อื่นของเอชไอวี

เพื่อสร้างวัคซีน คณะนักวิจัยได้ออกแบบหลาย immunogen (โปรตีนที่ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน) จากโครงสร้างที่รู้ของ fusion peptide ต่อมาประเมิน immunogen โดยใช้หลายแอนติบอดีซึ่งมีเป้าหมายเป็น fusion peptide epitope  และต่อมาทดสอบในหนูว่า immunogen ไหนทำให้เกิดแอนติบอดีต่อ fusion peptide ที่สามารถทำลายเอชไอวีได้มีประสิทธิภาพดีที่สุด พบว่า immunogen ที่ดีที่สุดประกอบด้วย 8 กรดอะมิโนของ fusion peptide เกิดพันธะกับตัวพาตัวหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างมาก เพื่อทำให้ผลการศึกษาดีขึ้น คณะนักวิจัยจับคู่ immunogen นี้กับรูปจำลองส่วนที่ยื่นจากผิวของเอชไอวี

ต่อมาคณะนักวิจัยทดสอบหลายส่วนผสมการให้ของสิ่งที่ได้นี้กับหนูและวิเคราะห์แอนติบอดีที่วัคซีนนี้สร้าง พบว่าแอนติบอดีจับกับ fusion peptide ของเอชไอวี และทำลายถึง 31 เปอร์เซ็นต์ของไวรัสจากตัวแทนทั่วโลกของ 208 เอชไอวีสายพันธุ์

คณะนักวิจัยได้ปรับวัคซีนและทดสอบกับหนูตะเภาและลิง ผลก็คือได้แอนติบอดีซึ่งสามารถทำลายเอชไอวีหลายสายพันธุ์ แสดงว่าวัคซีนอาจใช้ได้กับสัตว์หลายชนิด

ที่มา: NIH/National Institute of Allergy and infectious Diseases (2018, June 4). HIV vaccine elicits antibodies in animals that neutralize dozens of HIV strains. ScienceDaily. Retrieved June 5, 2018, from https://www.sciencedaily.com/releases/2018/06/180604125008.htm

20 ส.ค. 2561
0
แชร์หน้านี้: