หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ ดัชนีวรรณกรรม รายงานงานวิจัยโลก สาขาวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
รายงานงานวิจัยโลก สาขาวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
23 ต.ค. 2563
0
ดัชนีวรรณกรรม
สารสนเทศวิเคราะห์

รายงานงานวิจัยโลก สาขาวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรายงานของ Thomson Reuters Global Research Report ที่ให้ความสำคัญในหัวเรื่องมากขึ้นกว่ารายงานฉบับก่อนๆ ที่เคยจัดทำที่เน้นรายงานเฉพาะรายชื่อผู้นำประเทศต่างๆ เท่านั้น  บทความนี้เป็นการวิเคราะห์บทความวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์เป็นหลัก ด้วยงานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์มีความสนิทแน่นแฟ้นกับระบบเศรษฐกิจอย่างยิ่ง   เหตุผลเพราะว่ามีศัยกภาพที่สามารถส่งต่อให้แก่กระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมการผลิตและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต่างๆ

ปี 2011 เป็นปีสากลแห่งเคมีขององค์การยูเนสโก (UNESCO International Year of Chemistry) ซึ่งวัสดุศาสตร์มีความเชื่อมต่อประสานอย่างใกล้ชิดและเมื่อกลางปี 2011 นี้มีการจัดประชุมนานาชาติในเรื่องวัสดุศาสตร์ครั้งที่ 6  ที่ประเทศสิงคโปร์  มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเป็นผู้บรรยาย  ยิ่งยืนยันถึงอิทธิพลในความสำคัญและการเติบโตของสาขานี้มากยิ่งขึ้น  สถานที่จัดงานประชุมก็มีความสำคัญด้วย  โดยในรายงานนี้ได้สรุปว่าผลงานวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์ในขณะนี้มีกำเนิดมาจากทวีปเอเชียมากที่สุดของโลก  โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนเรื่องนี้มาจาก World Science Map

การค้นพบในเรื่องรากฐานของฟิสิกส์  โดดเด่นในช่วงปีแรกๆ ของศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ต่อมามีการค้นพบในสาขาชีววิทยาโมเลกุลเช่นโครงสร้างดีเอ็นเอในช่วงศตวรรษที่ 21 ส่วนยุคใหม่ที่ 4 นี้อาจเป็นการปฏิวัติในการค้นพบงานวิจัยด้านวัสดุ สิ่งของ สสารต่างๆ ก็เป็นได้

รายงานชุด Global Research Report ในฉบับนี้ต้องการรายงานแจ้งให้ผู้จัดทำนโยบายทราบถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของงานวิจัยโลก  โดยทำการตรวจสอบถึงการเติบโตในระดับโลกและระบุถึงผู้ที่มีบทบาทสำคัญเป็นผู้นำและนำเสนอหัวข้อที่ร้อนแรง 3 เรื่องคือ  กราฟีน (Graphene) / Metal-Organic Frameworks, MOFs  /  Electrospun Nanofibrous Scaffolds  used  for Tissue Engineering, ENS

งานวิจัยวัสดุศาสตร์  คืออะไร

สาขาเดิมของวัสดุศาสตร์  คือ  โลหะ  เซรามิก  วิศวกรรม  ซึ่งอยู่ในภาควิชาต่างๆ ของ มหาวิทยาลัย เช่น สาขาฟิสิกส์  เคมี  ชีวเคมี  เป็นต้น ฐานข้อมูล Web of Science, WOS ของบริษัท Thomson Reuters รวบรวมวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11,500 ชื่อ  แบ่งสาขาวิชาออกเป็น 250 หมวดหมู่และแสดงข้อมูลการอ้างอิงที่สัมพันธ์กันไปมา  เนื้อหางานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์จัดอยู่ใน 8-12  หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเชื่อมโยงกัน

ภูมิภาคประเทศที่มีการผลิตงานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์

พบว่าผลงานวิจัยมีการเติบโตเป็นที่น่าตื่นเต้นในทวีปเอเชียมากที่สุด  จีนเป็นผู้นำจากที่ในปี 1981 มีบทความวิจัยสาขานี้น้อยกว่า 50 บทความ  กลายมาเป็นประเทศที่มีผลงานบทความตีพิมพ์สาขานี้จำนวนมากที่สุด  ไล่แซงไม่เพียงญี่ปุ่น  ยังรวมถึงสหรัฐอเมริกา ด้วย  สหรัฐอเมริกาเคยเป็นผู้นำในสาขานี้เมื่อปี 1980 จนถึงกลางปี 1990 จากนั้นลดจำนวนลง  ส่วนกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเคยมีส่วนแบ่งในสัดส่วนของโลกสูง  ในช่วงปี 1990 แต่จากนั้นก็ลดจำนวนลง ปัจจุบันกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก  มีการผลิตจำนวนบทความวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์นี้  เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งโลก  โดยจีนเป็นประเทศเดียวที่มีถึงครึ่งหนึ่งในกลุ่มเอเชีย

ตารางที่ 1 แสดงรายชื่อประเทศผู้นำที่มีผลผลิตบทความวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์  (นับจากประเทศที่มีจำนวนบทความวิจัยมากกว่า 1, 000 เรื่อง ในช่วง 5 ปีล่าสุด)

Country Papers Country Papers Country Papers
China 55,003 Italy 5,990 Portugal  2,503
USA 38,189 Poland 5,168 Belgium  2,299
Japan 25,473 Australia 4,642 Czech Republic 2,217
Germany 16,832 Turkey  4,142 Austria 2,044
South Korea 15,261 Romania 3,958 Mexico 1,961
India 12,693 Brazil 3,891 Greece 1,663
France 12,344 Ukraine 3,714 Egypt 1,628
UK. 11,611 Sweden  3,176 Finland 1,408
Russia 7,927 Singapore 2,958 Israel 1,323
Taiwan 7,410 Iran  2,942 Slovenia  1,099
Canada 6,593 Switzerland 2,807 Malaysia  1,006
Spain 6,429 The Netherlands 2,785

ตารางที่ 2   แสดงการจัดอันดับประเทศผู้ผลิตงานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ตามค่าผลกระทบ  ( Impact ) ของการได้รับการอ้างอิง ในช่วงปี 2005-2009

Country Papers Citations  Impact
USA.  38,189 222,552 5.83
EU-15 53,283 216,712 4.07
Japan 25,473   85,866 3.37
Taiwan 7,410   23,303 3.14
South Korea 15,261   47,334 3.10
China 55,003 143,665 2.61
India 12,693   32,411 2.55

เมื่อวิเคราะห์ลงถึงรายชื่อสถาบัน  มหาวิทยาลัย  ที่เป็นผู้นำการวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์  โดยวิเคราะห์ในช่วง 10 ปี (2001-2010) แสดงรายชื่อสถาบัน 10 อันดับ  ที่มีผลผลิตจำนวนบทความแสดงการได้รับการอ้างอิงดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3   จัดลำดับชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัย 10 อันดับ ตามจำนวนบทความวิจัย การได้รับการอ้างอิง  ผลกระทบจากการอ้างอิง จากฐานข้อมูล Web of  Science, WOS ในช่วงปี 2001-2011

Institution Papers Rank Institution Citations Rank Institution Impact
Chinese Academy of Sciences 14,019   1 Chinese Academy of Sciences  104,104   1 University of Washington 30.41
Russian Academy of Science   6,769   2 Max Planck Society, Germany   56,720   2 University of California Santa Barbara 27.41
Tohoku University   5,511   3 Tohoku University   40,135   3 University of California Berkeley 26.58
Tsinghua University   5,129   4 NIMS, Japan   36,578   4 University of Groningen 25.07
Indian Institute of Technology   4,522   5 MIT, USA   35,329   5 Harvard University 24.46
Harbin Institute of Technology   4,059   6 AIST, Japan    33,868   6 MIT 21.61
AIST, Japan   4,052   7 University of California Berkeley   33,460   7 University of Southern California 21.11
NIMS, Japan   3,952   8 National University of Singapore   31,740   8 University of California Los Angeles 19.23
Osaka University   3,618   9 Tsinghua University   31,698   9 Stanford University 18.34
Central South University   3,464  10 University of Cambridge   27,909  10 University of Minnesota 17.35

งานวิจัยแนวหน้าในสาขาวัสดุศาสตร์

การวิเคราะห์บรรณานุกรม (Bibliometric analysis) สามารถอธิบายได้มากกว่าการแสดงเพียงศักยภาพด้านการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์  องค์กร  ประเทศ  ยังสามารถเปิดเผยแสดงถึงโครงสร้างและความสัมพันธ์ของสาขาวิจัยด้วย  ดังในรูปภาพ 1

ตารางที่ 4 แสดงงานวิจัยแนวหน้า 20 อันดับแรกในสาขาวัสดุศาสตร์  ในช่วงปี 2006 – 2010 เรียงลำดับตามจำนวนรวมการได้รับการอ้างอิงคัดเลือกมาจากงานวิจัยใน 438 หัวข้อ คิดเป็นร้อยละ 6.6 ของงานวิจัยแนวหน้าทั้งหมด 6,641 หัวเรื่อง

Rank Field description  within materials science Core  papers Citations Citation  impact  Average year of core
  1 Electronic properties of graphene   6 9,524 1587.3 2005
  2 Polymer solar cells  15 6,656 443.7 2007
  3 Multiferroic and magnetoelectric materials  31 6,509 210.0 2006
  4 Titanium dioxide nanotube arrays in dye-sensitized solar cells  47 5,645 120.1 2007
  5 ATRP and click chemistry in polymer synthesis  34 5,129 150.85 2006
  6 Graphene oxide sheets  16 4,815 300.9 2007
  7 Superhydrophobic surfaces  47 4,732 100.7 2007
  8 High-Tc ferromagnetism in zinc oxide diluted magnetic semiconductors  48 4,667 97.2 2006
  9 Highly selective fluorescent chemosensor  46 4,581 99.6 2007
 10 Electrospun nanofibrous scaffolds for tissue engineering  45 4,577 101.7 2006
 11 Ductile bulk metallic glasses  41 4,267 104.1 2006
 12  Single-molecule magnet  47 4,013 85.4 2007
 13 Self-assembling supramolecular nanostructured gel-phase materials  33 3,810 115.4 2007
 14 Mesoporous silica nanoparticles for drug delivery and biosensing  applications  34 3,693 108.6 2007
 15 Mechanical properties of nanocrystalline metals  45 3,682 81.8 2007
 16 Discotic liquid crystals for organic semiconductors  30 3,637 121.2 2006
 17 Gold nanorods for imaging and plasmonic photothermal therapy of tumor cells  21 3,506 166.9 2006
 18 Highly ordered mesoporous polymer and carbon frameworks  25 3,362 134.5 2006
 19 Upconversion fluorescent rare-earth nanocrystals  49 3,351 68.4 2007
 20 Molecular logic circuits  47 3,315 70.5 2008

หัวข้องานวิจัยที่พิเศษ (Special topics)

Thomson Reuters ได้วิเคราะห์มุ่งเน้นหา 3 สาขาย่อยภายใต้สาขาหลัก วัสดุศาสตร์ ที่มีพลังและสำคัญ พบว่าคือ Graphene, Metal Organic Frameworks, MOFs และ Electrospun Nonfibrous Scaffolds for Tissue Engineering, ENS เป็น  3 สาขานี้มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) การจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage) และวิศวกรรมที่เกี่ยวกับชีวการแพทย์ (Biomedical engineering) โดยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

หัวข้อที่ 1 วัสดุกราฟีน (Grapheme)

คือ วัสดุที่มีโครงสร้างจากการเรียงตัวของคาร์บอนอะตอมแบบหกเหลี่ยมในแนวระนาบ 2 มิติ  เรียงหลายๆ วงต่อกัน  คล้ายตาข่ายกรงไก่  มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า  ใช้ได้ดีกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  แผ่นเก็บข้อมูล  มีการค้นพบเมื่อปี 2004 โดยนักวิทยาศาสตร์ Andre K. Geim กับ Koustantin S. Novosalor แห่ง มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ ปี 2010

ตารางที่ 5  แสดงลำดับของจำนวนบทความวิจัยตามหมวดหมู่วิชาย่อยในสาขาวัสดุศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัสดุกราฟีน ตีพิมพ์ในช่วงปี 2004 – May 2011 (แบ่งหมวดหมู่บนพื้นฐานตามชื่อวารสาร)

Rank Fields Papers
  1 Physics, Condensed Matter 3,405
  2 Materials Science, Multidisciplinary 3,144
  3 Physics, Applied 2,577
  4 Chemistry, Physical 2,528
  5 Nanoscience & Nanotechnology 2,134
  6 Chemistry, Multidisciplinary 1,644
  7 Physics, Multidisciplinary 1,294
  8 Physics, Atomic, Molecular & Chemical 464
  9 Engineering, Electrical and Electronic 357
 10 Electrochemistry 268

จากฐานข้อมูล WOS พบคำว่า grapheme ครั้งแรกในปี 2004 ในจำนวน 164 บทความ  ต่อมาในปี 2010 พบมีบทความ 3,671 เรื่อง  และยอดรวมสะสมตั้งแต่ปี 2004-ปัจจุบัน  มีบทความรวม 10,527 เรื่อง  (โดยคาดว่าในปี 2011 มีจำนวน 4,800 เรื่อง โดยที่ 2 บทความของนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านที่ได้รับรางวัลโนเบลในเรื่องกราฟีนนี้และได้รับการอ้างอิงเป็นจำนวนมากกว่า 4,300 และ 3,000 ครั้งตามลำดับ

เนื่องจากวัสดุกราฟีนมีคุณสมบัติพิเศษใช้ประโยชน์ได้มาก  จึงมีนักวิทยาศาสตร์ในหลากหลายสาขาคิดค้น  มุ่งเน้นในวัสดุใหม่นี้  คือทั้งในสาขาฟิสิกส์  เคมี  วัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์นาโน  และอาจรวมถึงวิศวกรรมศาสตร์ด้วย

ในตารางที่ 5 แสดงผลผลิตบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกราฟีนหากวิเคราะห์ตามประเทศและสถาบันวิจัยพบว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำ  แต่ว่าผลผลิตบทความวิจัยกราฟีนจากประเทศแถบเอเชียเป็นเรื่องสำคัญมีความหมายนำโดยประเทศจีน (ลำดับที่ 2)  ญี่ปุ่น (ลำดับที่ 3) เกาหลีใต้ (ลำดับที่ 6) และสิงคโปร์ (เป็นลำดับที่ 9) สถาบันวิจัยผู้นำได้แก่ CAS จีน, CSIC สเปน, Russian Academy of Science และ CNRS ฝรั่งเศส ส่วนมหาวิทยาลัยพบว่าผู้นำได้แก่ Univ. California Berkeley, MIT, Univ. Texas Austin  ของอเมริกา ส่วนมหาวิทยาลัยในจีน  ได้แก่ Tsiughua Univ. และ สิงคโปร์ คือ NUS และ NTU   ยังไม่มีสัญญาณใดๆ บอกว่างานวิจัยเรื่องกราฟีนจะมีจำนวนลดลง  จำนวนรวมการอ้างอิงตั้งแต่ปี 2004 มาถึงขณะนี้มากกว่า 163,000 ครั้ง  และ  ยังมีการอ้างอิงต่อเนื่องอีกด้วย

หัวข้อที่ 2 สาร Metal – Organic Frameworks (MOFs)

งานวิจัยในเรื่อง MOFs นี้  แสดงถึงความเชื่อมโยงที่เข้มแข็งกับสาขาเคมีโดยเฉพาะเคมีระดับโมเลกุล  นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Sir Harry Kroto ได้อธิบายถึงสาร MOFs ว่าเป็นโมเลกุลที่มีความซับซ้อนที่มีการทำงานในระดับนาโนและเป็นความก้าวหน้าของเคมีในยุคศตวรรษที่ 21 ที่เรียบง่าย  MOFs เป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุน  ประกอบด้วยโลหะและสารประกอบอินทรีย์  มีการคิดค้นสังเคราะห์มาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 โดย Omar Yaghi นำไปใช้ประโยชน์สำหรับการดูดซับก๊าซต่างๆ  เช่น   ไฮโดรเจน  มีเทนและอื่นๆ

บทความวิจัยในเรื่อง MOFs เริ่มปรากฏในปี 2000 ในจำนวนเพียง 12 บทความ  ต่อมาในปี 2011 มีจำนวนบทความ 1,900 บทความ   คิดจำนวนการได้รับการอ้างอิงรวมมากกว่า 147,000 ครั้งเมื่อดูในสาขาย่อยของการวิจัย MOFs พบว่าเป็นเคมีทั่วไปเป็นสาขา หลักตามด้วย Inorganic & Nuclear chemistry, Crystallography และ Physical chemistry ประเทศผู้นำการวิจัยเรื่อง MOFs ได้แก่ จีน ดังในตารางที่ 6 ที่มีจำนวนบทความเป็น 2 เท่าของประเทศผู้นำที่ 2 คือสหรัฐอเมริกา ส่วนสถาบันวิจัยไม่เป็นที่น่าประหลาดใจ  สถาบันที่โดดเด่นในเรื่อง MOFs ได้แก่สถาบันวิจัย  มหาวิทยาลัยของจีน  ที่มีจำนวนมาก ถึง 5 แห่ง  ถือว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญเป็นหัวข้องานวิจัยนี้เป็นลำดับต้นๆ

ตารางที่ 6  จัดอันดับบทความวิจัยเรื่อง MOFs ตามรายชื่อประเทศและสถาบันวิจัย 10 อันดับแรกของโลก  ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี 1995 – May 2011

Papers Country Rank Institution Papers
2,584 China   1 Chinese Academy of Sciences 450
1,398 USA   2 Nanjing University 314
  477 Germany   3 Nankai University 189
  393 Japan   4 Northeast Normal University 156
  388 UK   5 Jilin University 130
  355 France   6 Sun Yat-sen University 120
  292 India   7 Kyoto University 118
  250 South Korea   8 University of Michigan 101
  240 Spain   9 Northwestern University  96
  160 Australia  10 Northwest University, Xian  86

หัวข้อที่ 3 Electrospun Nanofibrous Scaffolds, ENS (โครงแกนแผ่นเส้นใบนาโน อิเล็กโตรสปัน)

หัวข้อวิจัยชั้นนำเรื่อง ENs สำหรับงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue enginering) ถูกจัดอันดับเป็นลำดับที่ 10 ในการได้รับการอ้างอิงในหมวดสาขาวัสดุศาสตร์ทุกสาขาย่อย  ดังในตารางที่ 7 เทคนิคในการทำ electrospinning ไม่ใช่เทคนิคใหม่เมื่อถูกนำไปสร้าง เส้นใยนาโนเพื่อให้เกิด scaffolds ประโยชน์ในทางการแพทย์คือ release drugs ยาประเภท antibiotics หรือ anticancer และยังมีศักยภาพในการช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมเนื้อเยื่ออวัยวะอีกด้วย

จากฐานข้อมูล WOS สืบค้นด้วยคำว่า (electrospum or electrospin) and (scaffold or tissue) จำกัดให้ปรากฏเฉพาะ tittle, abstracts หรือ keyword พบ 1,899  เรื่องเป็นบทความที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2000 ถึง May 2011 โดยมีจำนวนการอ้างอิงมากกว่า 31,000 ครั้ง  การเติบโตของบทความวิจัยในหัวเรื่องนี้   เริ่มมีบทบาทเกิดขึ้นในปี 2000-2002 และในปี 2011 คาดว่าจะมีบทความเรื่องนี้ในปี 2011 นี้จำนวน 550 เรื่อง

กลุ่มประเทศผู้นำ  ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  แต่ 3 อันดับตามมาเป็น 3 ประเทศในเอเชีย  ได้แก่  จีน  เกาหลีใต้  สิงคโปร์  ซึ่งทั้ง 3 ประเทศมีจำนวนรวมของบทความเรื่องนี้มีมากกว่าของสหรัฐอเมริกา  โดยประเทศสิงคโปร์เป็นที่น่าจับตามอง  ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ดังรายละเอียดในตารางที่ 7

ตารางที่ 7  จัดลำดับบทความวิจัยเรื่อง ENs ตามรายชื่อประเทศและสถาบันวิจัย 10 อันดับแรกของโลก  ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี 1995 – May 2011

Papers Country Rank Institution Papers
  657 USA   1 National University of Singapore   144
  448 China   2 Songhua University   120
  438 South Korea   3 SUNY Stony Brook    58
  161 Singapore   4 Virginia Commonwealth University    56
   92 UK   5 Seoul National University    53
   80 Italy   6 Chinese Academy of Sciences    42
   70 Germany   7 Hungnam National University    35
   66 Japan   8 Chulalongkorn University    34
   49 Australia   9 Ohio State University    28
   39 Thailand  10 University of Pennsylvania    27

เอกสารอ้างอิง

Jonathan Adams ; David Pendlebury. (June 2011). Global Research Report Materials Science and Technology. Leeds : Thomson Reuters. Available at : http://researchanalytics.thomsonreuters.com/grr/grr-matscience/

แชร์หน้านี้: