ตามธรรมเนียมปฏิบัติในการตีพิมพ์บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทุกๆ บทความต้องมีการอ้างอิงบทความวิจัยก่อนหน้าเพื่อเป็นการแสดงถึงการยอมรับคุณค่า + การเชื่อมต่อของเนื้อหาเดิมที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานเพื่อให้เกิดงาน ใหม่/สิ่งค้นพบใหม่
บริการ Science Watch (sciencewatch.com) ของ Thomson Reuters ทำการศึกษาแนวโน้มของการวิจัยวิทยาศาสตร์โดยใช้หลักการการวิเคราะห์ข้อมูล การอ้างอิงเป็นหลัก (citation analysis) ด้วยการติดตามแกะรอย (tracked) อย่างรอบคอบ พิถีพิถัน เพื่อตรวจนับวัดถึงความสำเร็จ/สำคัญของงานวิจัยที่ได้รับความสนใจ มีการอ้างอิงถึง แม้ว่าขณะนี้ข้อมูลการอ้างอิงมิใช่ตัวชี้วัดถึงความสำคัญของบทความเพียงค่าเดียว
สรุปผลระบุหัวข้อวิจัยที่ร้อนแรงจากสาขาวิชาหลักทางวิทยาศาสตร์ 4 สาขา ดังนี้
สาขาชีววิทยา (Biology) พบว่าหัวข้อวิจัยเรื่อง Cellular Autophagy มีจำนวนบทความสูงขึ้นตลอดมาตั้งแต่ปี 2004 ที่มีจำนวนบทความสูงขึ้นตลอดมาตั้งแต่ปี 2004 ที่มี 200 บทความในปี 2008 มีบทความสูงถึง 1000 เรื่อง โดยนักวิจัยทำการศึกษาค้นหาข้อเท็จจริงในการป้องกันเชื้อโรค + ความเติบโตของเชื้อโรค
สาขาแพทยศาสตร์ (Medicine) พบว่ามีงานวิจัยในหัวข้อ Pluripotent Stem Cell มีความเข้มแข็งมาก เซลล์ประเภทนี้มีการค้นพบเมื่อปี 2006 ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญที่อาจช่วยให้นักวิจัยสามารถได้รับ Pluripotent Stem Cell ในการวิจัยโดยไม่ต้องใช้เซลล์ตัวอ่อน embryos
สาขาฟิสิกส์ (Physics) หัวข้อการวิจัยที่ร้อนแรงที่สุดคือเรื่องวัสดุที่บางที่สุด ( The thinnest material) ที่ชื่อว่า Graphene ซึ่งประกอบด้วยชั้นโมเลกุลเดี่ยวของอะตอมคาร์บอน (Single molecular layer of carbon atoms) โดยมีการถูกนำไปใช้โดยบริษัท IBM ในการประดิษฐ์ field-effect transistors (FETs)
สาขาเคมี (Chemistry) หัวข้อเรื่อง ตัวนำกระแสไฟฟ้ายิ่งยวดแบบแม่เหล็ก Iron based superconductors ได้เปิดเผย แสดงให้เห็นสมาชิก/สกุลใหม่ของสารประกอบตัวนำยิ่งยวดที่ในที่สุดในอนาคตอาจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งผ่าน (transferring) และการกักเก็บ (storing) กระแสไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้นได้
นอกจากนี้ David ยังได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการทำนายรางวัลโนเบล Thomson Reuters Nobel Prize Prediction ที่มีการนำเสนอทุกปี และบทความงานวิจัยในวารสารต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาแล้วมีการจัดลำดับจาก modern classic เหมาะสมเป็น most cited articles David ใช้ข้อมูลหลักในการวิเคราะห์จาก Esential Science Indicators, ESI ทั้งจาก 2 หัวข้อคือ Hot Paper + Research Fronts ในสาขา Medicine/Molecular Bioloty/Physics/Chemistry
เรียบเรียงโดย นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่ ศูนย์บริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี STKS สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.