ความนำ : มุมมองและประสบการณ์การออกแบบห้องสมุดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านและนักคิดรุ่นใหม่ โดย Michael Bierut
เนื้อความ : Michael Bierut เป็นนักออกแบบและนักวิจารณ์ โดยเป็นหุ้นส่วนใน Pentagram บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นผู้ก่อตั้ง Design Observer และยังเป็นอาจารย์ที่ Yale School of Art และ Yale School of Management
Michael Bierut ได้รับการติดต่อและว่าจ้างจากองค์กร ที่ชื่อว่า โรบิน ฮู้ด (Robin Hood) องค์การกุศลที่เอาเงินจากคนรวยไปแบ่งให้คนจน ซึ่งตั้งอยู่ในนิวยอร์ก โดยองค์กร โรบิน ฮู้ด ต้องการทำประโยชน์ให้กับระบบโรงเรียนของนิวยอร์ก โครงการขนาดใหญ่ที่ให้การศึกษากับนักเรียนมากกว่าล้านคนในแต่ละครั้ง รวมถึงการพัฒนาตึกเก่าที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมให้กลายเป็นตึกที่สวยงามและสามารถใช้งานได้ แต่การซ่อมตึกนั้นแพงเกินไป และไม่สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ ดังนั้น องค์กร โรบิน ฮู้ด จึงมองหาห้องสักห้องหนึ่งในตึกแต่ละตึกให้มากตึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ และดำเนินการซ่อมแซมห้องนั้น ให้เป็นห้องสมุดของโรงเรียน เพื่อพัฒนาชีวิตของเด็ก และ องค์กร โรบิน ฮู้ด มีแนวคิดที่เรียกว่า ห้องสมุดแห่งความคิดริเริ่ม ที่ๆ มีหนังสือ และที่ๆ นักเรียนทุกคนต้องผ่านห้องสมุดนั้น และนั่นคือหัวใจและจิตวิญญาณของโรงเรียน
ในช่วงแรกของการพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียน มีการนำสถาปนิกเข้าไปประมาณ 10 – 20 คน พร้อมกับการให้โจทย์ไไปคิดมาว่า ห้องสมุดคืออะไร องค์กร โรบิน ฮู้ด ยังจัดฝึกอบรมบรรณารักษ์ เพื่อปฎิรูปโรงเรียนรัฐ ด้วยการพัฒนาห้องสมุดเหล่านี้ หลังจากนั้น Michael Bierut จึงถูกชวนเข้าร่วมงานในฐานะกราฟฟิคดีไซเนอร์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทำทุกๆ อย่าง โดย Michael Bierut เริ่มจากการออกแบบโลโก้ห้องสมุด
Michael Bierut ออกแบบโลโก้ห้องสมุด 3 แบบ ภายใต้แนวคิดพื้นฐาน คือ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนในนิวยอร์ก และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อลบแนวคิดที่ว่า ห้องสมุดเก่าเหม็นอับ ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ทุกคนรู้สึกเบื่อหน่าย
โลโก้แบบที่ 1 ต้องการสื่อว่าห้องสมุด คือสถานที่ที่มักจะคิดว่าห้ามพูดคุยส่งเสียงดัง ห้องสมุดจะต้องเงียบเป็นเขตปลอดเสียง แต่ต่อไปนี้จะให้คิดถึงห้องสมุดว่าคือสถานที่ที่พูดคุยได้ ส่งเสียงดังได้ และเรียกว่าห้องอ่านหนังสือ
โลโก้แบบที่ 2 คือ “OWL” ซึ่งอาจย่อมาจาก One World Library (ห้องสมุดสากล) หรือ Open. Wonder. Learn (เปิดกว้าง มหัศจรรย์ เรียนรู้
โลโก้แบบที่ 3 แบบสุดท้าย ตัวเลือกที่สาม มาจากเรื่องของภาษา “Read: past tense and past participle of read.” “เรด” (เคยอ่าน) เป็นรูปอดีตของ “รีด” (อ่าน) ซึ่งสะกดเหมือนกัน ซึ่งทำไมเราไม่เรียกสถานที่นี้ว่า “โซนเรด” (โซนแดง)
เมื่อนำเสนอผลงานโลโก้ Michael Bierut ก็ได้รับผลตอบกลับว่า จุดเริ่มต้นของงานทั้งหมดนี้คือเด็กรู้สึกเบื่อห้องสมุด ห้องสมุดเก่าเหม็นอับ ห้องสมุดในโรงเรียนชำรุดทรุดโทรมมาก ดังนั้น Michael Bierut จึงถูกขอให้ลืมแนวคิดเรื่องสร้างชื่อใหม่สำหรับห้องสมุด แค่เรียกว่า ห้องสมุด ก็พอ แต่จะทำให้ห้องสมุดมีเสน่ห์
หลังจากนั้น Michael Bierut ได้รับแจ้งจากสถาปนิกเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการออกแบบ ปัญหาคือมีช่องว่าง ระหว่างชั้นวางกับเพดาน อยากได้อะไรที่เป็นภาพวาดบนผนัง สุดท้ายจึงถ่ายรูปเด็กๆ ในโรงเรียน แล้วมาติดรอบๆ ข้างบน มีภาพถ่ายของเด็กๆ เสมือนเด็กเหล่านั้นเป็นฮีโร่ ซึ่งเด็กๆ พวกนี้ถูกคัดเลือกมาจากอาจารย์ใหญ่และบรรณารักษ์ ทำให้บรรยากาศห้องสมุดดีขึ้น
Michael Bierut ยังชวนคนรู้จักคนอื่นๆ มาช่วยกันตกแต่งห้องสมุด เช่น วาดภาพประกอบ ภาพเงาของสิ่งที่อยู่ในหนังสือ การสัมภาษณ์เด็กๆ และให้พูดเกี่ยวกับหนังสือเล่มโปรด และนำคำพูดของเด็กๆ มาเป็นภาพสลักข้างบน การทำข้อความแบบภาพการ์ตูนมังงะ การติดตั้งวัตถุและคำพูดที่แฝงความหมาย ทำให้นักเรียนตื่นตาตื่นใจ เป็นสิ่งที่น่าพอใจมากๆ หน้าที่ของผมคือเข้าใจศิลปิน ในพื้นที่สามฟุตคูณสิบห้าฟุต ทำตามความพอใจแล้วเขาก็ไปติดตั้งงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด
แต่สิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ ผมได้รับบัตรเชิญทำจากกระดาษสีน้ำตาลจะเขียนว่า คุณได้รับเชิญให้ไปงานเปิดตัวห้องสมุดใหม่ของเรา จะมีตัวแทนนักเรียนอ่านสุนทรพจน์ บทกลอนทึ่แต่งขึ้นเป็นพิเศษ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญมามอบประกาศนียบัตร เป็นสิ่งที่น่าเบิกบานใจมากที่ได้ไปงานเปิดตัวห้องสมุดเล็กๆเหล่านี้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการไปพบบรรณารักษ์ทั้งหลาย ซึ่งได้รับการต้อนรับดูแล เสมือนที่ส่วนตัวที่พวกเขาได้รับเชิญมา ให้นักเรียนได้ สดชื่น ทำให้หนังสือมีชีวิต เป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น สุดท้ายอยู่ห้องสมุดที่กำลังจะปิด บรรณารักษ์พูดว่ากำลังจะปิดไฟพอดี ดีมากเลยคุณอยู่ที่นี่ คุณอยากเห็นหรือไม่ว่าปิดไฟอย่างไร แล้วบรรณารักษ์ก็ปิดไฟทุกดวง ทีละดวง ทีละดวง และไฟดวงสุดท้ายที่เหลืออยู่คือไฟที่ฉายไปที่หน้าของเด็กๆ นั่นเป็นไฟดวงสุดท้ายที่เหลือไว้ทุกคืน เพราะอยากเตือนตัวเองว่า เพราะอะไรฉันจึงมาทำงานที่นี่
นึกถึงตอนที่เริ่มงานออกแบบโลโก้ คิดชื่อใหม่ แต่ผลที่ได้ไม่เป็นเช่นนั้น ไกลกว่านั้นคือบรรณารักษ์ ผู้ที่ได้เจอผลลัพธ์แห่งแหล่งแรงบันดาลใจ เด็ก 40,000 คนต่อปี ได้รับอิทธิพลจากบรรณารักษ์เหล่านี้ บรรณารักษ์ได้สร้างยุคเด็กกับหนังสือ ซึ่งเป็นผลจากการที่ไม่ได้ตั้งใจแต่ได้รับความพึงพอใจที่ดีที่สุด
Bierut, M. (2017, March). How to design a library that makes kids want to read [Video file]. Retrieved from https://www.ted.com/talks/michael_bierut_how_to_design_a_library_that_makes_kids_want_to_read?utm_source=facebook.com&utm_medium=social&utm_campaign=tedspread