ในปี 2565 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2022 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้
ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2564-2565 โดย IMD
ประเทศ | เดนมาร์ก | สวิตเซอร์แลนด์ | สิงคโปร์ | สวีเดน | ฮ่องกง | ไทย | ||||||
ปี | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 |
อันดับรวม | 1 | 3 | 2 | 1 | 3 | 5 | 4 | 2 | 5 | 7 | 33 | 28 |
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ | 13 | 17 | 30 | 7 | 2 | 1 | 21 | 16 | 15 | 30 | 34 | 21 |
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ | 18 | 12 | 7 | 4 | 1 | 15 | 15 | 10 | 21 | 32 | 51 | 41 |
1.2 การค้าระหว่างประเทศ | 13 | 10 | 12 | 15 | 1 | 1 | 27 | 17 | 4 | 2 | 37 | 21 |
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ | 17 | 24 | 52 | 12 | 5 | 3 | 14 | 17 | 3 | 7 | 33 | 32 |
1.4 การจ้างงาน | 25 | 22 | 27 | 15 | 3 | 18 | 42 | 30 | 39 | 40 | 4 | 3 |
1.5 ระดับราคา | 41 | 42 | 59 | 58 | 54 | 57 | 39 | 41 | 63 | 63 | 31 | 37 |
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ | 6 | 7 | 1 | 2 | 4 | 5 | 9 | 9 | 2 | 1 | 31 | 20 |
2.1 ฐานะการคลัง | 4 | 5 | 3 | 1 | 6 | 12 | 9 | 7 | 2 | 9 | 29 | 14 |
2.2 นโยบายภาษี | 57 | 56 | 12 | 12 | 11 | 8 | 55 | 58 | 2 | 2 | 7 | 4 |
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน | 2 | 5 | 1 | 1 | 6 | 7 | 4 | 3 | 10 | 11 | 41 | 36 |
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ | 3 | 2 | 7 | 10 | 2 | 3 | 4 | 4 | 1 | 1 | 38 | 30 |
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม | 2 | 3 | 6 | 5 | 22 | 17 | 5 | 4 | 33 | 34 | 44 | 43 |
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ | 1 | 1 | 4 | 5 | 9 | 9 | 2 | 2 | 7 | 3 | 30 | 21 |
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ | 1 | 1 | 2 | 4 | 9 | 14 | 4 | 3 | 6 | 9 | 47 | 40 |
3.2 ตลาดแรงงาน | 11 | 14 | 5 | 6 | 12 | 4 | 4 | 5 | 20 | 8 | 13 | 10 |
3.3 การเงิน | 7 | 7 | 1 | 1 | 11 | 13 | 3 | 6 | 5 | 3 | 27 | 24 |
3.4 การบริหารจัดการ | 1 | 1 | 8 | 9 | 14 | 14 | 3 | 3 | 4 | 2 | 22 | 22 |
3.5 ทัศนคติและค่านิยม | 3 | 6 | 14 | 13 | 12 | 9 | 2 | 4 | 16 | 8 | 25 | 20 |
4. โครงสร้างพื้นฐาน | 2 | 3 | 1 | 1 | 12 | 11 | 3 | 2 | 14 | 16 | 44 | 43 |
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน | 4 | 3 | 5 | 5 | 43 | 20 | 9 | 10 | 11 | 7 | 22 | 24 |
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี | 3 | 6 | 6 | 8 | 1 | 1 | 5 | 3 | 7 | 7 | 34 | 37 |
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ | 10 | 11 | 4 | 3 | 16 | 17 | 7 | 7 | 23 | 23 | 38 | 38 |
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม | 4 | 4 | 1 | 3 | 25 | 25 | 2 | 1 | 18 | 21 | 51 | 49 |
4.5 การศึกษา | 4 | 3 | 1 | 1 | 6 | 7 | 5 | 4 | 13 | 8 | 53 | 56 |
เดนมาร์กได้อันดับ 1 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ รองลงมาคือ สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ถัดมาเป็นสิงคโปร์ ซึ่งปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ อันดับ 4 คือ สวีเดน ตกลงมาจากปีที่แล้ว 2 อันดับ ส่วนอันดับ 5 คือ ฮ่องกง เลื่อนอันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ ปีนี้ไทยได้อันดับ 33 ลดลงจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ได้อันดับ 28 ในปีที่แล้ว
เดนมาร์กได้อันดับ 1 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ มีอันดับ 13 ในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ มีอันดับ 6 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ได้อันดับ 1 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเป็นหลักเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ถึง 7 อันดับ จากอันดับ 24 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 17 ในปีนี้ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 3 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน มีอันดับเลื่อนขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัยย่อย (มีทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย) ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 6 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 42 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 41 และมีอันดับ 56 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 57 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว
สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจถึง 23 อันดับ จากอันดับ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 30 ในปีนี้ ซึ่งทำให้ในปีนี้มีอันดับอยู่ในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ มีอันดับ 1 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ครองอันดับ 1 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่มีการเลื่อนอันดับลงถึง 40 และ 12 อันดับ จากอันดับ 12 และ 15 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 52 และ 27 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศมีอันดับต่ำในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ปีที่แล้วได้อันดับ 58 ในขณะที่ปีนี้ได้อันดับ 59
สิงคโปร์ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ มีอันดับ 3 ในปีนี้ เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ 1 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ ส่วนอีก 3 ปัจจัยที่เหลือ คือ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับ 9 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ มีอันดับ 12 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ที่เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 57 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 54 ส่วนปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับต่ำในปีนี้ อยู่ที่อันดับ 43
สวีเดน ตกลงมาจากปีที่แล้ว 2 อันดับ ได้อันดับ 4 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 5 และ 1 อันดับ จากอันดับ 16 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ยังคงครองอันดับ 9 และ 2 ทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่เลื่อนอันดับลง 5 และถึง 12 อันดับ จากอันดับ 10 และ 30 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 15 และ 42 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการจ้างงานมีอันดับต่ำในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปีนี้มีอันดับ 39 ปีที่แล้วมีอันดับ 41 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 58 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 55 ในขณะที่การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของ 3 ปัจจัยย่อยเล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา
ฮ่องกงได้อันดับ 5 ในปีนี้ เลื่อนอันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน โดยปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 15 อันดับ เป็นอันดับ 15 ในปีนี้ ซึ่งยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับ 16 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ทำให้ในปีนี้ได้อันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 2 ปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับลดลง 1 และ 4 อันดับ ได้อันดับ 1 และ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 2 และ 7 ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 11 อันดับ จากอันดับ 32 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 3 อันดับ จากอันดับ 21 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 18 ในปีนี้ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยการจ้างงาน และปัจจัยย่อยระดับราคา ทั้งสองอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 40 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 39 และมีอันดับ 63 ทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว
สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 33 ลดลงจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ได้อันดับ 28 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของ 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 13 อันดับ เป็นอันดับ 34 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับลง 11 อันดับ มีอันดับ 31 ในปีนี้ 3. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับลดลง 9 อันดับ เป็นอันดับ 30 ในปีนี้ 4. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนลง 1 อันดับ มีอันดับ 44 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีไว้ในปีนี้เหมือนหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือน 2 ปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้มีอันดับค่อนไปในทางที่ดี ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือนที่ผ่านมาหลายปี การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของ 2 ปัจจัยย่อยเป็นหลัก คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ และปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 10 และ 16 อันดับ จากอันดับ 41 และ 21 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 51 และ 37 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีที่แล้วและมีอันดับไม่ดีในปีนี้ และทำให้ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศมีอันดับเลื่อนลงมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ ที่เลื่อนอันดับลงถึง 15, 5 และถึง 8 อันดับ เป็นอันดับ 29, 41 และ 38 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วมีอันดับ 14, 36 และ 30 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบันมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปีนี้มีอันดับ 44 ปีที่แล้วมีอันดับ 43 ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม ที่เลื่อนอันดับลงถึง 7 และ 5 อันดับ จากอันดับ 40 และ 20 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 47 และ 25 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2 อันดับ จากอันดับ 49 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 51 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีที่แล้วและมีอันดับไม่ดีในปีนี้ คงเป็นข่าวดีสำหรับปัจจัยย่อยการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยเดียวกัน ที่ก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับเลื่อนขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 56 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 53 ในปีนี้ ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด โดยมีอันดับเลื่อนขึ้น 6 อันดับ จากอันดับ 37 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 31 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการจ้างงานภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 4 2. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 4 ในปีที่แล้ว ในขณะที่ปีนี้มีอันดับ 7
สำหรับไทยต้องพัฒนาอีกหลายด้าน เนื่องจากในปีนี้ไทยมีอันดับลดลง 5 อันดับ โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ซึ่งทั้งสองด้านมีอันดับต่ำมากที่สุดเป็นอันดับ 2 และอันดับ 1 ตามลำดับ ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นมาก