การจัดการความรู้อาจจะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ดังที่โมเดลปลาทูของ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
การจัดการความรู้ด้วยเทคโนโลยีนั้น แนวทางที่สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรได้ และสอดรับกับแนวทางการจัดการความรู้ในยุคปัจจุบัน น่าจะหนีไม่พ้นการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ในกลุ่ม Open Source Software (OsS) & Freeware บางตัวปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทการจัดการความรู้ขององค์กร บุคลากรในองค์กร วัฒนธรรมและการยอมรับโดยรวม โดยมีซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้หลากหลาย เช่น
- การจัดทำ CoP ด้วย Blog
- การสร้างคลังความรู้องค์กรด้วย DSpace, Greenstone, Joomla, Drupal
- การร่วมกันสร้างสรรค์ความรู้แบบ Collaboration ด้วย Wiki เช่น Dokuwiki, Mediawiki, TWiki
- การเล่าเรื่องจากภาพ ด้วย Joomla, WordPress, Gallery2, Omeka, Wiki
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ศึกษาซอฟต์แวร์ในกลุ่ม OSS & Freeware เพื่อการจัดการความรู้ และนำเสนอในรูปแบบ Online Presentation ดังนี้