Peer assist เป็นการหาผู้ช่วย (ทีมผู้ช่วย) มาให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงโครงงานที่กำลังจะลงมือทำ เป็นกระบวนการหนึ่งที่ British Petroleum (BP) เรียกว่า การเรียนรู้ก่อนลงมือทำ (Leraning before doing) เพื่อเป็นการสะสมความรู้ ประสบการณ์ก่อนการทำงาน การพบปะของทีมที่ร้องขอ และทีมช่วยเหลืออาจใช้เวลาครึ่งวันถึง 2 วัน
Peer assist แตกต่างจาก Peer review
เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้มีความเข้าใจชัดเจนระหว่างทีมที่ร้องขอและทีมช่วยเหลือว่า คำทั้งสองคำ มีความแตกต่างกัน
Peer review |
Peer assist |
เพื่อตัดสินผลงาน | เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ |
เป็นการประเมินผลงาน | เป็นความร่วมมือ ความช่วยเหลือ |
งาน คือ วิจารณ์ผลงาน | งาน คือ เรียนรู้จากทีมที่ช่วยเหลือ |
ผู้วิจารณ์ถูกเลือกจากผู้อื่น | ทีมงาน เลือกทีมผู้ช่วยที่คิดว่าจะช่วยเหลือได้เอง |
เพื่อการประเมินที่ดี | เพื่อการแก้ปัญหา |
รายงานถูกส่งไปยังฝ่ายบริหาร | รายงานและคำแนะนำอยู่เพียงภายในกลุ่มเท่านั้น |
ประโยชน์ของ Peer assist:
- เมื่อเริ่มงาน กิจกรรม โครงการ และเมื่อต้องการคำแนะนำของผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
- เมื่อพบปัญหาที่คนอีกกลุ่มหนึ่งเคยประสบแล้วในอดีต
- เมื่อไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น เป็นเวลานานแล้ว
- เมื่อกำลังวางแผนทำโครงการที่กลุ่มอื่นเคยทำสำเร็จลุล่วงแล้ว
การเรียนรู้แบบ Peer assist ทำได้โดย:
- สื่อสารถึงวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า ต้องการทำ Peer assist เพื่ออะไร ปัญหาที่ต้องการขอความช่วยเหลือคืออะไร
- แลกเปลี่ยนแผนการทำ Peer assist ให้ทีมงานอื่นๆ เพื่อพิจารณาถึงปัญหาที่เคยได้รับการแก้ไข เพื่อหาผู้ที่รู้ในปัญหาดังกล่าว
- กำหนด Facilitator ซึ่งจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อให้ได้ถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
- กำหนดตารางเวลาของ Peer assist เพื่อให้มั่นใจว่ามีเวลาพอที่จะทำบางอย่างที่แตกต่างจากสิ่งที่ได้เรียนรู้
- เชิญผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีทักษะที่หลากหลาย ความสามารถ และประสบการณ์ที่ต้องการ Peer assist ดำเนินได้ดีกับคน 6-8 คน อย่าให้มีกลุ่มใหญ่เกิน เพราะจะทำให้ไม่โอกาสได้แสดงความเห็นหรือประสบการณ์
- มุ่งหาผลลัพธ์หรือสิ่งที่ต้องการได้รับจริงๆ กล่าวคือ การทำ Peer assist นั้นจะต้องมองให้ทะลุถึงปัญหา สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง มากกว่าที่จะใช้คำตอบสำเร็จรูปทางใดทางหนึ่ง
- วางแผนเวลาสำหรับการพบปะสังสรรค์ทางสังคม หรือการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ (นอกรอบ)
- สร้างบรรยากาศ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
- วางแผนเหตุการณ์เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการเล่าเรื่องและการรับฟัง
- ให้ทีมที่ต้องการขอความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงแผนงานที่ต้องการทำ
- สนับสนุน หรือกระตุ้นให้ทีมผู้ช่วยได้ซักถามในสิ่งที่จำเป็นต้องรู้
- ให้ทีมผู้ช่วยได้นำเสนอมุมมองความคิด เพื่อให้ทีมที่ต้องการขอความรู้ นำสิ่งที่ได้ฟังไปวิเคราะห์
- ใช้สำหรับการพูดคุยโต้ตอบ พิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
บรรณานุกรม: “Peer Assist” [Online]. Available : http://www.kstoolkit.org/Peer+Assists. Assessed 20110209. Collison, Chris and Parcell, Geoff. 2004. “Learning from your peers – somebody has already done it”. Learning to Fly. Oxford : Capstone.
Dixon, Nancy M. 2000. Peer assist : guidelines for practice. [Online]. Available: http//www.commonknowledge.org/userimages/resources_peer_assist_guidellines+.pdf. accessed 20110210.
“Peer Assist: ผู้ช่วย (ที่) จำเป็น.” 2554. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://kumalek.spaces.live.com/blog/cns! A18BD56D493E53F8!659.entry. เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554.