สรุปการบรรยายในหัวข้อ พัฒนาพันธุ์สัตว์ทะเล เพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดย ดร.ศิราวุธ กลิ่นบุหงา ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในงาน R&D Sharing 2017 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ดังนี้
ทีมทำ genetic diversity และ population marker แรกเริ่มทำกุ้งกุลาดำ ในการเพาะเลี้ยงต้องใช้สายพันธุ์ที่ดีต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีโอกาสได้ศึกษา genetic diversity ของกุ้งกุลาดำใน southeast asia แล้วพบว่ามีขาวมีดำ พวกดำอยู่ที่ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ พวกขาวอยู่ทางแอฟริกา ประเทศไทยเป็น source ของ diversity จุดบรรจบของขาวและดำมาเจอกัน ได้ทุนครั้งแรกจากสวทช. เป็นเวลา 2 ปี ด้วยงบประมาณ 2 แสนบาท ในการที่จะ survey ทำ genetic diversity ของกุ้งในประเทศ โดย PCR งานอีกชิ้นทำหอยนางลม ขอทุนเพื่อมาทำ taxonomy เพื่อแก้ปัญหาแล้วจะได้แก้ทำพวก marker ต่อไปเพื่อรองรับอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อมี 3 species งานชิ้นต่อมาทำปู ปลา กั้ง จุดเริ่มแรกที่ทำร่วมกับเอกชนทำ specices-specific marker เพราะกุ้งกุลาดำซบเซาและเกิดกุ้งขาวขึ้นมาเอาเข้ามาในประเทศและเกิดปลอมปนกุ้ง อีกงานคือโปรเจ็กรับจ้างวิจัย 3 ปี เพื่อปรับปรุงพันธุ์กุ้งขาว ทำ high genetic diversity ของ FPF stock และพัฒนา growth marker ปัจจุบันอยู่ปีที่ 3 จะต่อออกไปอีก 3 ปี ตอนนี้ได้ growth marker ต่างๆ อีกงานคือ ใช้ single nucleotide polymorphism คัดสายพันธุ์กุ้งที่โตเร็ว นอกจากนี้กรมประมงชวนทำปลากัด
ติดตามการบรรยายฉบับเต็มได้ที่ http://ffwtube.nstda.or.th/category/seminar/rd-sharing/rd-sharing-2017/page/3/