MOOCs ย่อมาจาก Massive Open Online Course หมายถึง หลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แบบเปิดเสรีสำหรับทุกๆคนในโลก สามารถสมัครเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวน เน้นในระดับการศึกษารขั้นสูงที่ในระบบการศึกษาแบบเดิมที่มีข้อจำกัด อยู่แต่เฉพาะในห้องเรียน และรองรับผู้เรียนในจำนวนน้อย
ความหมายของ MOOCs มาจากคำเต็ม คือ Massive Open Online Course
- Massive จำนวนผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 10,000 คน
- Open เรียนแบบเสรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทุกๆ คนสามารถลงทะเบียนเรียนได้
- Online เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
- Course ชุดวิชาที่เปิดสอนแบบ 7X24 เข้าเรียนได้ตามที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องขอรับประกาศนียบัตรผลการเรียน
เป็นระบบเปิดที่เรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียนหรือ เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ระบบรองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกลและรองรับจำนวนผู้เรียนได้มาก ซึ่งแตกต่างกับการเรียนแบบเดิม ที่รองรับผู้เรียนได้จำนวนน้อยและต้องใช้มีผู้สอน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนของผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่ง MOOCs ไม่มีข้อจำกัดเหล่านี้ เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล และมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่โดดเด่นเช่น เนื้อหาที่นำมาให้เรียนเป็นเนื้อหาแบบเปิดที่อนุญาต (open licensing of content) เป็นต้น
ตัวอย่างระบบการเรียนการสอน MOOCS ที่มีชื่อเสียง ในต่างประเทศ เช่น
- edX (edx.org) – มหาวิทยาลัย Harvard และ MIT
- KHAN ACADEMY (Khanacademy.org) – ก่อตั้งโดย Salman Khan
- COURSERA (Coursera.org) – ก่อตั้งโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย Standford
- UDACITY (Udacity.com) – หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยStandford
ประเทศไทย
โครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอรืไทย Thailand Cyber University (TCU : thaicyberu.go.th) เป็นโครงการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐ (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับผลงานงานวิจัยและพัฒนาเรื่องระบบ MOOCs มีเผยแพร่ในระดับสากลต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2010 โดยมีบทความวิจัยตีพิมพ์ สื่อสาร ในแหล่งสารสนเทศวิชาการออนไลน์ จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะในฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียง Web of Science ซึ่งสามารถทำการวิเคราะห์บทความวิจัย แบบเบื้องต้น จากความสามารถของฐานข้อมูลโดยตรง สรุปได้ดังนี้
ฐานข้อมูล Web of Science, WOS มีเนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตและบริการโดยบริษัท Thomson Reuters เป็นชุดฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป จากวารสารวิชาการระดับคุณภาพ ที่มีค่า Impact Factor, IF ทุกบทความ และที่สำคัญเป็นฐานข้อมูล ที่ให้ข้อมูลจำนวนการได้รับอ้างอิง Time Cited of Citations แห่งแรกของโลก จึงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญใน การประเมินคุณภาพ ผลงานวิจัยวิชาการของนักวิจัยรายบุคคล หน่วยงาน/สถาบัน/มหาวิทยาลัย ประเทศ ที่ใช้หน่วยวัดจาก จำนวนบทความวิจัย และจำนวนการได้รับการอ้างอิง
โจทย์การสืบค้น ใช้คำค้นดังนี้
Query : mooc OR moocs or “massive open online course” not optic*
Search Results : 250 เรื่อง (As 28 August 2015)
ตัวอย่าง รายชื่อบทความวิจัยตีพิมพ์ 10 เรื่องล่าสุด คือ
- Relational event models for social learning in MOOCs.
- Language MOOCS: Providing Learning,Transcending Boundaries.
- South Asian Intellectual Property Knowledge Network – promoting intellectual property rights education in India and other countries.
- Discover Dentistry: encouraging wider participation in dentistry using a massive open online course (MOOC).
- Massive Open Online Course Completion Rates Revisited: Assessment, Length and Attrition.
- University of Toronto Instructors’ Experiences with Developing MOOCs.
- Roles of Course Facilitators, Learners, and Technology in the Flow of Information of a CMOOC.
- Who Studies MOOCs? Interdisciplinarity in MOOC Research and its Changes over Time.
- Going to College on My iPhone
- Equine Nutrition: A Survey of Perceptions and Practices of Horse Owners Undertaking a Massive Open Online Course in Equine Nutrition
บทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด Highest times cited = 33
Article Ttitle : MOOCs: A Systematic Study of the Published Literature 2008-2012
Author : Liyanagunawardena, TR (Liyanagunawardena, Tharindu Rekha)[ 1 ] ; Adams, AA (Adams, Andrew Alexandar)[ 2 ] ; Williams, SA (Williams, Shirley Ann)[ 1 ]
Sources : INTERNATIONAL REVIEW OF RESEARCH IN OPEN AND DISTANCE LEARNING Volume: 14 Issue: 3 Pages: 202-227
Published: 2013
Abstract
Massive open online courses (MOOCs) are a recent addition to the range of online learning options. Since 2008, MOOCs have been run by a variety of public and elite universities, especially in North America. Many academics have taken interest in MOOCs recognising the potential to deliver education around the globe on an unprecedented scale; some of these academics are taking a research-oriented perspective and academic papers describing their research are starting to appear in the traditional media of peer reviewed publications. This paper presents a systematic review of the published MOOC literature (2008-2012): Forty-five peer reviewed papers are identified through journals, database searches, searching the Web, and chaining from known sources to form the base for this review. We believe this is the first effort to systematically review literature relating to MOOCs, a fairly recent but massively popular phenomenon with a global reach. The review categorises the literature into eight different areas of interest, introductory, concept, case studies, educational theory, technology, participant focussed, provider focussed, and other, while also providing quantitative analysis of publications according to publication type, year of publication, and contributors. Future research directions guided by gaps in the literature are explored.
Keywords
Author Keywords:MOOC; massive open online course; massively open online course; systematic review; connectivism
KeyWords Plus:OPEN ONLINE COURSES; EDUCATION
Author Information : Liyanagunawardena, TR (reprint author) Univ Reading, Reading RG6 2AH, Berks, England.
การวิเคราะห์บทความวิจัยเรื่อง MOOCs จากฐานข้อมูล WOS
เมื่อทำการวิเคราะห์ บทความวิจัยจำนวน 245 เรื่องที่สืบค้นได้ ตามความสามารถของฐานข้อมูล ได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้
วิเคราะห์ตามหมวดหมู่สาขาวิชาของ WOS : Subject Category | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
EDUCATION EDUCATIONAL RESEARCH | 115 |
COMPUTER SCIENCE SOFTWARE ENGINEERING | 13 |
COMMUNICATION | 13 |
INFORMATION SCIENCE LIBRARY SCIENCE | 11 |
COMPUTER SCIENCE THEORY METHODS | 11 |
สรุปเป็นงานวิจัยสาขาการศึกษาสูงสุด จำนวน 115 เรื่อง ตามอันดับที่ 2 คือสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
วิเคราะห์ ตามประเภทเอกสารวิจัยตีพิมพ์ WOS: Document Types
วิเคราะห์ตามประเภทเอกสาร | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
ARTICLE | 168 |
EDITORIAL MATERIAL | 43 |
LETTER | 16 |
MEETING ABSTRACT | 6 |
REVIEW | 5 |
สรุปเป็นประเภทเอกสารแบบ งานวิจัยตีพิมพ์ อันอับที่ หนึ่ง จำนวน 168 เรื่อง
วิเคราะห์ ตามสาขางานวิจัย WOS: Research Areas
วิเคราะห์ตามสาขางานวิจัย | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
EDUCATION EDUCATIONAL RESEARCH | 120 |
COMPUTER SCIENCE | 28 |
ENGINEERING | 15 |
COMMUNICATION | 13 |
SCIENCE TECHNOLOGY OTHER TOPICS | 11 |
สรุปเป็น งานวิจัยสาขา การศึกษา อันดับที่ หนึ่ง จำนวน 120 เรื่อง
วิเคราะห์ ตามชื่อผู้แต่งบทความ 5 อันดับแรก WOS: Top 5 Authors
ชื่อผู้แต่งบทความ 5 อันดับแรก | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
WILLIAMS SA | 3 |
PEREZ-SANAGUSTIN M | 3 |
LIYANAGUNAWARDENA TR | 3 |
KOVANOVIC V | 3 |
GASEVIC D | 3 |
สรุปผู้แต่งบทความ อันดับที่หนึ่ง 3 ชื่อ คือ
WILLIAMS SA – Univ Reading, Open Online Content, Reading RG6 6AY, Berks, England
PEREZ-SANAGUSTIN M – Pontificia Univ Catolica Chile, Santiago, Chile
LIYANAGUNAWARDENA TR – Univ Reading, Sch Syst Engn, Reading RG6 6AY, Berks, England.
วิเคราะห์ตามรายชื่อสิ่งพิมพ์ WOS: Source Titles
วิเคราะห์ตามรายชื่อสิ่งพิมพ์ | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
INTERNATIONAL REVIEW OF RESEARCH IN OPEN AND DISTANCE LEARNING | 38 |
DISTANCE EDUCATION | 16 |
COMUNICAR | 12 |
BRITISH JOURNAL OF EDUCATIONAL TECHNOLOGY | 11 |
EDUCACION XX1 | 7 |
วิเคราะห์ตามปีที่ตีพิมพ์ WOS: Publication Years
วิเคราะห์ตามปีที่ตีพิมพ์ | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
2014 | 104 |
2015 | 68 |
2013 | 57 |
2011 | 4 |
2010 | 3 |
วิเคราะห์ตามที่อยู่แต่งบทความ WOS: Organizations-Enhanced
วิเคราะห์ตามที่อยู่ผู้แต่งบทความ | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
MASSACHUSETTS INSTITUTE OF TECHNOLOGY | 8 |
HARVARD UNIVERSITY | 8 |
ATHABASCA UNIVERSITY | 8 |
UNIVERSITY OF CALIFORNIA SYSTEM | 6 |
UNIVERSITY OF TORONTO | 5 |
วิเคราะห์ตามประเทศของผู้แต่งบทความ WOS: Countries/Territories
วิเคราะห์ตามประเทศของผู้แต่งบทความ | จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง) |
USA | 89 |
CANADA | 26 |
AUSTRALIA | 22 |
SPAIN | 20 |
ENGLAND | 17 |