28 กรกฏาคม 2561 ตัวแทนจาก STKS ได้ติดต่อเพื่อขอเข้าเยี่ยมชม ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติไต้หวันอย่างเป็นทางการ https://www.archives.gov.tw/english โดยมุ่งเน้นในประเด็นการเก็บรักษาข้อมูลสำคัญของประเทศว่ามีกระบวนการขั้นตอนอย่างไร ทางทีม STKS ได้รับไมตรีจิตอันดีจากทีมผู้บริหารรวมถึงนักวิจัยจาก PEARL LAB (Preserving Electronic Archives & Records Laboratory) ร่วมให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ที่ทางเราอยากแชร์ให้กับทุกท่านได้ทราบครับ แต่ก่อนอื่นเรามาทราบความเป็นมาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติไต้หวันกันก่อนครับ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติไต้หวัน ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการจัดการเอกสารและข้อมูลหลักฐานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ผ่านมติพระราชบัญญัติคลังข้อมูล และมีผลบังคับใช้เพื่อรากฐานทางกฏหมายในการจัดการจดหมายเหตุอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นมา สำนักงานตั้งอยู่ที่ Address:9F., North Tower, No.439, Zhongping Rd., Xinzhuang Dist., New Taipei City 242, Taiwan (R.O.C.)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติไต้หวันจัดเก็บ Collection ข้อมูลในหลายรูปแบบ ปัจจุบันมี Collection ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 แยกตามหมวดหมู่มากมาย ดังภาพ
ในการเยี่ยมชมดูงาน นักวิจัยจาก PEARL LAB Preserving Electronic Archives & Records Laboratory https://pearl.archives.gov.tw/english/Default.aspx กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดเก็บ media ในรูปแบบต่าง ๆ มีการให้บริการกับองค์กรหรือเอกชนในการจัดการด้านสื่อต่าง ๆ แบ่งประเภทได้ดังนี้
Electronic Records Format Migration
เป็นการให้บริการแปลงข้อมูลเอกสารไปสู่รูปแบบอื่น ๆ อย่างมีมาตรฐานรองรับและรูปแบบที่หลากหลายจากทีมงานและนักวิจัย
Media Migration
เป็นการแปลงไฟล์สื่อในอดีตให้สามารถใช้งานเข้าสู่ยุคดิจิทัล สื่อที่ครอบคลุม ได้แก่ สื่อชนิด CD,VHS/Beta/Betacam, Vinyl,Tape , Microfilm , 3.5-inch floppy , Slide, Undeveloped film เป็นต้น
Electronic Records Recovery ให้บริการกู้ไฟล์ข้อมูลดิจิทัลกับผู้ร้องขอ
Storage Media Destruction ให้บริการทำลายมีเดียดิจิทัล
Technical and Operating Consultation ให้บริการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคและการจัดการต่าง ๆ
ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ ทีม STKS ได้เห็นเสน่ห์เล็ก ๆ ของ LAB ที่จัดวางพื้นที่ในห้องทำงานเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อย ๆ บอกเล่าเรื่องราวถึง Hardware Software ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ MAC ยุคแรก เกมส์ยุคแรก สื่อบันทึกชนิดต่าง ๆ รวมถึง OS ตั้งแต่ DOS เป็นต้น ทุกสื่อดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริง และนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบการใช้งานผ่าน emulator พร้อมทั้งนักวิจัยก็ได้นำเยี่ยมชมการแปลงข้อมูลสื่อด้วยกระบวนการต่าง ๆ ด้วยครับ
โดยสรุป ประโยชน์ที่เราได้รับจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้เล็งเห็นว่าการอนุรักษ์สิ่งสำคัญของชาติ จำเป็นต้องมีรูปแบบ, มาตรฐาน, กฏหมาย, งานวิจัยและบุคลากรรองรับอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถให้บริการองค์ความรู้และสร้างความตระหนักให้แก่องค์กรหรือผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศได้ ซึ่งสอดคล้องกับทีม STKS อันมีพันธกิจสร้างความตระหนักและเผยแพร่ความรู้รวมถึงมาตรฐานสื่อต่าง ๆ เช่นกันและสามารถสร้างความร่วมมือร่วมกันได้ระหว่างองค์กรอย่างแน่นอนภายในอนาคตครับ