หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ ประเทศไทยติดอันดับ Top 10 ของเอเชียแปซิฟิก ใน Nature Index 2020
ประเทศไทยติดอันดับ Top 10 ของเอเชียแปซิฟิก ใน Nature Index 2020
2 มิ.ย. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

ประเทศไทยติดอันดับที่ 9 ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์คุณภาพสูง ตามการจัดอันดับของ Nature Index 2020 โดยประเทศไทยสามารถรักษาอันดับการเป็น 10 ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์คุณภาพสูง ตามการจัดอันดับของ Nature Index ตั้งแต่ปี 2015

Nature Index คือตัวชี้วัดคุณภาพงานวิจัย โดยจัดอันดับประเทศและสถาบัน ด้วยการพิจารณาการตีพิมพ์บทความวิจัย (ต่อปี) ในวารสารที่มีผลกระทบสูงและเป็นที่ยอมรับของแต่ละสาขาในเครือ Nature Research ซึ่งแบ่งเป็น 4 สาขาวิชา คือ

  1. วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences)
  2. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences)
  3. เคมี (Chemistry)
  4. วิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth & Environmental Sciences)

Nature Index มีตั้งแต่ปี 2015 โดยใช้ตัวชี้วัดหลัก 2 ตัวในการพิจารณาจัดอันดับ คือ

  1. จำนวนบทความตีพิมพ์ (Count) ยกตัวอย่างเช่น บทความ 1 บทความ ที่มีผู้เขียน 1 คน หรือ หลายคนจากประเทศไทย ดังนั้นประเทศไทยจะได้รับค่า Count เท่ากับ 1
  2. จำนวนสัดส่วน/ส่วนแบ่งความเป็นเจ้าของบทความที่จัดสรรให้กับสถาบันหรือประเทศ (Fractional Count) โดย 1 บทความ จะมีค่า Fractional Count เท่ากับ 1 ซึ่งถูกแบ่งให้ผู้เขียนทุกคนในบทความหนึ่งๆ ภายใต้สมมติฐานที่ว่าทุกคนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างเช่น บทความ 1 บทความ ที่มีผู้เขียน 10 คน หมายความว่าผู้เขียนแต่ละคนได้รับค่า Fractional Count เท่ากับ 0.1

Nature Index 2020 เผย ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากทั้งหมด 33 ประเทศ โดยพิจารณาจากการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์คุณภาพสูงในเครือ Nature Research จำนวน 82 ชื่อ ซึ่งคัดเลือกโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ ทั้งนี้เป็นบทความซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2019 โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยมีจำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 254 และ มีค่าความเป็นเจ้าของบทความ (Fractional Count) เท่ากับ 49 ตามภาพที่แสดงด้านล่าง

Nature Index https://www.natureindex.com/annual-tables/2019/country/all/regions-Asia%20Pacific

ทั้งนี้ประเทศไทยสามารถรักษาอันดับการเป็น 10 ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามการจัดอันดับของ Nature Index ตั้งแต่ปี 2015

หากพิจารณาบทความวิจัยตีพิมพ์ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2019 – วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2020 ประเทศไทยมีจำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 247 และค่าความเป็นเจ้าของบทความ (Fractional Count) เท่ากับ 47.47 เมื่อพิจารณาสาขาวิชาของบทความดังกล่าวซึ่งแบ่งตามกลุ่มวิชาหลัก 4 สาขา พบว่าสาขาวิชาที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด คือ

  • อันดับที่ 1 วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 127 และ ค่าความเป็นเจ้าของบทความ (Fractional Count) เท่ากับ 16.20
  • อันดับที่ 2 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 67 และ ค่าความเป็นเจ้าของบทความ (Fractional Count) เท่ากับ 10.65
  • อันดับที่ 3 เคมี (Chemistry) จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 50 และ ค่าความเป็นเจ้าของบทความ (Fractional Count) เท่ากับ 19.08
  • อันดับที่ 4 วิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth & Environmental Sciences) จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 18 และ ค่าความเป็นเจ้าของบทความ (Fractional Count) เท่ากับ 2.91

หมายเหตุ: 1 บทความอาจครอบคลุมมากกว่าหนึ่งสาขาวิชา

Nature Index https://www.natureindex.com/country-outputs/thailand

ทั้งนี้ 10 สถาบันแรกในประเทศไทยที่ติดอันดับ Nature Index 2020 ใน ภาพรวมทั้ง 4 สาขาวิชา (ข้อมูลจากผลงานตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2019) ได้แก่

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 112 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 11.07
  2. สถาบันวิทยสิริเมธี จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 23 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 8.79
  3. มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 53 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 5.13
  4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 19 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 1.69
  5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 15 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 1.67
  6. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 11 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 1.57
  7. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 8 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 1.45
  8. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 9 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 1.54
  9. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 11 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 1.16
  10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวนบทความวิจัย (Count) เท่ากับ 14 ค่าความเป็นเจ้าของบทความวิจัย (Fractional Count) เท่ากับ 1.13

Nature Index https://www.natureindex.com/annual-tables/2020/institution/all/all/countries-Thailand

หมายเหตุ: ควรคำนึงถึงปัจจัยและตัวชี้วัดอื่นๆ เมื่อพิจารณาคุณภาพการวิจัยและการจัดอันดับสถาบัน ไม่ควรใช้ Nature Index เพียงอย่างเดียวเพื่อประเมินสถาบัน

หากพิจารณา 10 สถาบันแรกในประเทศไทยที่ติดอันดับ Nature Index 2020 แบ่งตาม สาขาเคมี (Chemistry) (ข้อมูลจากผลงานตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2019) พบว่า มี 7 ใน 10 สถาบันที่ติดอันดับ 10 สถาบันแรกในภาพรวมทั้ง 4 สาขาวิชา ยังคงปรากฎชื่อ แม้มีการสลับอันดับกัน ดังภาพปรากฎด้านล่าง


Nature Index https://www.natureindex.com/annual-tables/2020/institution/all/chemistry/countries-Thailand

หากพิจารณา 10 สถาบันแรกในประเทศไทยที่ติดอันดับ Nature Index 2020 แบ่งตาม สาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth & Environmental Sciences) (ข้อมูลจากผลงานตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2019) พบว่า มีเพียง 5 ใน 10 สถาบันที่ติดอันดับ 10 สถาบันแรกในภาพรวมทั้ง 4 สาขาวิชา ยังคงปรากฎชื่อ  แม้มีการสลับอันดับกัน ดังภาพปรากฎด้านล่าง

Nature Index https://www.natureindex.com/annual-tables/2020/institution/all/earth-and-environmental/countries-Thailand

หากพิจารณา 10 สถาบันแรกในประเทศไทยที่ติดอันดับ Nature Index 2020 แบ่งตาม สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) (ข้อมูลจากผลงานตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2019)  พบว่า มี 6 ใน 10 สถาบันที่ติดอันดับ 10 สถาบันแรกในภาพรวมทั้ง 4 สาขาวิชา ยังคงปรากฎชื่อ  แม้มีการสลับอันดับกัน ดังภาพปรากฎด้านล่าง

Nature Index https://www.natureindex.com/annual-tables/2020/institution/all/life-sciences/countries-Thailand

หากพิจารณา 10 สถาบันแรกในประเทศไทยที่ติดอันดับ Nature Index 2020 แบ่งตาม สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) (ข้อมูลจากผลงานตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2019)  พบว่า มี 5 ใน 10 สถาบันที่ติดอันดับ 10 สถาบันแรกในภาพรวมทั้ง 4 สาขาวิชา ยังคงปรากฎชื่อ  แม้มีการสลับอันดับกัน ดังภาพปรากฎด้านล่าง

Nature https://www.natureindex.com/annual-tables/2020/institution/all/physical-sciences/countries-Thailand

หมายเหตุ: ควรคำนึงถึงปัจจัยและตัวชี้วัดอื่นๆ เมื่อพิจารณาคุณภาพการวิจัยและการจัดอันดับสถาบัน ไม่ควรใช้ Nature Index เพียงอย่างเดียวเพื่อประเมินสถาบัน

2 มิ.ย. 2563
0
แชร์หน้านี้: