หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 2/62
รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 2/62
3 ต.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

ข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดาราศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ได้ชื่อว่ามีความยากในการศึกษา และการพัฒนา เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะมาช่วยให้เราสามารถสังเกตการณ์ สำรวจ หรือวิเคราะห์ปรากฎการณ์ และเทหวัตถุต่างๆ บนฟากฟ้าได้ การมีสถาบันและบุคลากรด้านดาราศาสตร์เป็นตัวชี้วัดของความก้าวหน้าทางวิทยาการและเศรษฐกิจสังคมของประเทศ การเริ่มต้นเรื่องดาราศาสตร์ของไทย ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าด้วยการทรงศึกษาดาราศาสตร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงสามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จนได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

เนื่องในวาระที่มีการสมโภช 200 ปี แห่งการพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เมื่อปี 2547 และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ปี 2550 คณะรัฐมนตรี จึงมีมติอนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ในรูปแบบองค์การมหาชนขี้น เพื่อเป็นการรองรับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยวันที่ 1 มกราคม 2522 เป็นวันสถาปนา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. โดยมีที่ทำการอยู่ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ศูนย์ดาราศาสตร์แห่งชาติของประเทศไทย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

Ultima Thule วัตถุที่ไกลที่สุดที่เคยมียานสำรวจใดไปถึง

ยานสำรวจอวกาศ New Horizons ได้นำภาพที่ได้จาก Ultima Thule ซึ่งเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans Neptunian Object) ที่อยู่ห่างไปถึง 6 พันล้ากิโลเมตร นับเป็นวัตถุห่างไกลจากโลกมากที่สุดเท่าที่เคยมียานสำรวจใดๆ ของมนุษย์โฉบผ่าน ยานสำรวจอวกาศ New Horizons เป็นยานสำรวจอวกาศที่ถูกปล่อยออกไปเมื่อปี 2006 และในวันที่ 14 กรกฎาคม 2015 ได้เป็นยานสำรวจแรกที่โฉบผ่านและนำภาพถ่ายพื้นผิวที่แท้จริงของดาวพลูโตมาให้ได้ดูกันเป็นครั้งแรก หลังจากที่ยาน New Horizons ได้บรรลุภารกิจในการโฉบผ่านดาวพลูโต ทีมงานได้พยายามมองหาวัตถุ Trans-Neptunian วัตถุอื่นที่จะทำการศึกษาต่อไป ภายหลังจากที่ยาน New Horizons ได้ทำการศึกษาและมีความเข้าใจเกี่ยวกับดาว (486958) 2014 MU69 การตั้งขื่ออย่างเป็นทางการจึงจะเกิดขึ้น ตามมาตรฐานของ IAU หลังจากที่ได้ถูกรับเลือกเป็นวัตถุเป้าหมายของยาน New Horizons ทีมงานจึงได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เสนอชื่อที่จะนำมาใช้เป็นชื่อเล่นชั่วคราวของดาวดวงนี้ จนในที่สุดชื่อที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ Ultima Thule คำว่า Ultima Thule มาจากภาษาละติน มีความหมายว่า ขอบเขตของโลกที่เรารู้จัก ซึ่งสำหรับวัตถุ Trans – Neptunian เป็นวัตถุที่ไกลจากโลกที่สุดเท่าที่ยานสำรวจใดๆเคยไปเยือน ยานสำรวจอวกาศ New Horizons ได้ทำการโฉบผ่านดาว Ultima Thule ด้วยระยะห่างเพียง 3,500 กม. ตรงกับเวลา 12.33 น. วันที่ 1 มกราคม 2019 ตามเวลาประเทศไทย และได้ทำการบันทึกภาพของ ขอบเขตของระบบสุริยะที่เรารู้จัก เอาไว้เป็นครั้งแรก ในเบื้องต้นนั้น ภาพคร่าวๆ เผยให้เห็นว่า ดาวดวงนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับพินโบว์ลิ่ง มีการหมุนรอบตัวเองและมีขนาดประมาณ 32 คูณ 16 กม. Ultima Thule เป็นวัตถุประเภท Contact Binary หรือ ดาวคู่แบบแตะกัน ซึ่งประกอบจากวัตถุทรงกลมสองวัตถุที่ชนกันจะหลอมติดกันจนมีรูปร่างอันแปลกประหลาด วัตถุนี้มีความยาวรวมกันประมาณ 31 กม. โดยนักดาราศาสตร์ตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการสำหรับก้อนทรงกลมใหญ่ว่า Ultima โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 19 กม. และทรงกลมเล็กว่า Thule มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 กม.

ดาวเคราะห์แห่งดาวบาร์นาร์ด (Bernard’s Star) โลกใบใหม่ที่ไกลออกไป 4.3 ปีแสง ในจักรวาลของดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าเบอร์นาด (Burnard’s Star) นักดาราศาสตร์ได้ส่องดูดาวเคราะห์ดวงใหม่ พบว่า ในกลุ่มดาวนี้ มีซุปเปอร์เอิร์ธที่มีมวลอย่างน้อย 3.2 เท่าของโลกโคจรรอบใกล้กับแนวเหมายันต์ (ระยะทางขั้นต่ำจากดาวฤกษ์ นอกเหนือจากระบบอัลฟาเซ็นทอรี) ซึ่งประกอบด้วยสามดาวและอยู่ห่างจากเราประมาณ 4.3 ปีแสง ดาวบาร์นาร์ดเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดถัดไปเมื่ออยู่ห่างออกไป 6 ปีแสง ดาวฤกษ์บาร์นาร์ดมีการเคลื่อนที่ที่เร็วมาก ประมาณ 500,000 กม./ขม. ดาวเคราะห์ที่ถูกขนานนามว่าเป็นดาว b ของ Barnard เชื่อกันว่ามีอยู่ประมาณ 0.4 หน่วยทางดาราศาสตร์หรือ 37 ล้านไมล์จากดาว Barnard ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้โคจรรอบดาวฤกษ์และหมุนรอบตัวเองทุก 233 วัน การวิเคราะห์ดาวต่างๆ บนท้องฟ้า ต้องอาศัยอุปกรณ์ในลักษณะของเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์เช่น กล้องโทรทรรศน์ที่ Telecopio Nazionale Galieo หรือ Lick Observatory และ CARMENES ที่ Calar Alto Observatory ของสเปน กล้องโทรทรรศน์ 90 ซม. ที่หอดูดาวเซียร่าเนวาดา สหรัฐอเมริกา กล้องโทรทรรศน์หุ่นหยนต์ 40 ซม.ที่หอดูดาว SPACEOBS กลางทะเลทรายอตากามา ในชิลีและอุปกรณ์อื่นๆ มากมายที่ถ่ายภาพและบันทึกดางดาวอันไกลโพ้น การตรวจสอบ และการติดตามความเคลื่อนที่ของระบบจักรวาลของดาวบาร์นาร์ด จะดำเนินต่อไป ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า Red Dots Hubble Fellow ที่ Carnegie Institute for Science ได้บันทีกไว้ว่า การศึกษาครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการทำงานร่วมกันและประสานงานในหลายๆทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยประสบความสำเร็จมาก่อนในการวิจัยดาวเคราะห์นอกระบบ (Exoplanet) ซึ่งยากที่จะสังเกตได้ด้วยวิธีทั่วไป

นักดาราศาสตร์มองเห็นดาวฤกษ์ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งเป็นดาวแคระแดงอายุ 13.5 พันล้านปี อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก หนึ่งในดาวที่เก่าแก่ที่สุดในจักรวาลซ่อนตัวอย่างเงียบๆ ในทางช้างเผือกประมาณ 2,000 ปีแสงจากโลก จากการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal ของ Jake Park ดาวแคระแดง จัดเป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง มีอายุ 13,500 ล้านปี ไม่พบร่องรอยว่ามันก่อตัวขึ้นจากเมฆที่ยังเหลืออยู่หลังจาก Big Bang เนื่องจากดาวฤกษ์ขนาดเล็กนั้นมีมวลเพียงหนึ่งในเจ็ดของมวลดวงอาทิตย์ และมีธาตุหนักและสสารดั้งเดิม จนทำให้เชื่อได้ว่า ดาวนี้เป็นประชากรดาวดวงแรกของดาราจักร ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) ดวงอาทิตย์น่าจะสืบเชื้อสายมาจากดาวมวลสูงอายุสั้นหลายพันดวงที่มีชีวิตและตายไปตั้งแต่ Big Bang อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สนใจที่สุดเกี่ยวกับดาวฤกษ์นี้ก็คือบางทีมันอาจมีบรรพบุรุษเพียงดวงเดียวที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งที่ยังเหลืออยู่ในดาราจักรช้างทางเผือกของเรา

Exoplanet ดาวเคราะห์นอกระบบ ดาวเคราะห์นอกระบบ (extrasolar planet หรือ exoplanet) หรือ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์เหล่านี้ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์คล้ายกับดาวพฤหัสบดี แต่เทคโนโลยีดาราศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้พบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเล็กลง หรือพวกดาวดิน ดาวหิน ดาวเคราะห์นอกระบบเริ่มเป็นประเด็นสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์เชือว่าดาวเคราะห์นอกระบบมีอยู่จริง เมื่อถึงปี 2000 มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นทุกปีมากว่าปีละ 15 ดวง ประมาณการว่า อย่างน้อย 10% ของดวงดาวที่มีลักษระคล้ายดวงอาทิตย์จะต้องมีดาวเคราะห์บริวาร การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า จะมีบางดวงที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ก็คือหาดาวที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลกมนุษย์ ที่มีความสมดุลของธรณีภาค (geosphere) อุทกภาค (hydrosphere) และ บรรยากาศ (atmosphere) จนก่อให้เกิดชีวภาค (biosphere) ขึ้นมา ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดได้ยากมากในจักรวาล สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้นิยาม ดาวเคราะห์ ไว้ว่า ดาวเคราะห์ต้องโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ในปัจจุบันคำนิยามนี้จะใช้สำหรับดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะเท่านั้น มิได้ใช้นิยามนี้กับดาวเคราะห์นอกระบบสำหรับคำนิยามของดาวเคราะห์นอกระบบ ที่ใช้งานจริง โดยมีคำจำกัดความดังต่อไปนี้ วัตถุที่มีมวลแท้จริงต่ำกว่าขีดจำกัดมวลอันทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นของดิวเทอเรียม (ในปัจจุบันคำนวณได้ประมาณ 13 เท่า ของมวลดาวพฤหัสบดีสำหรับวัตถุที่ประกอบด้วยโลหะ) ที่โคจรรอบดาวฤกษ์หรือซากของดาวฤกษ์ ถือว่าเป็น ดาวเคราะห์ (ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากอะไร) สำหรับขนาดหรือมวลต่ำสุดสำหรับวัตถุนอกระบบสุริยะในการพิจารณาถึงการเป็นดาวเคราะห์ให้ใช้หลักการเช่นเดียวกับที่ใช้ในระบบสุริยะ ปัจจุบัน มีคำถามที่ยังตอบไม่ได้จำนวนมากเกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบ อย่างเช่น รายละเอียดขององค์ประกอบของดาว และโอกาสที่ดาวเหล่านี้จะมีดวงจันทร์ของตัวเอง ในปัจจุบันพบว่าดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากไม่มีน้ำซึ่งแสดงว่ายังคงต้องมีการศึกษาสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มเติม อีกคำถามหนึ่งคือมีสิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์นอกระบบหรือไม่ ดาวเคราะห์หลายๆ ดวงมีวงโคจรอยู่ในระยะที่สามารถมีสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งมีโอกาสที่เงื่อนไขหลายประการทำให้ดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่ดาวเคราะห์ที่พบได้เหล่านี้ ส่วนมากเป็นดาวเคราะห์ยักษ์คล้ายดาวพฤหัสบดีมากกว่า ถ้าดาวเคราะห์เหล่านี้มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เป็นไปได้ว่าดวงจันทร์เหล่านั้นจะสามารถเป็นแหล่งกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ การตรวจหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่อยู่ห่างไกล (ยังไม่นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมหรือไม่) เป็นสิ่งที่น่าท้าทายอย่างยิ่ง แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้ว่าการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้มาก็ตาม ดาวแท้ๆ ชื่อไทยๆ วัตถุบนฟากฟ้าชิ้นแรกที่คนไทยรู้จักในชื่อภาษาไทย น่าจะเป็น ไทยคม ซึ่งเป็นชุดดาวเทียมสื่อสารของไทย ที่ได้มีการยิงดวงแรกไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 และปัจจุบันมี 8 ดวงแล้ว ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ ไม่มีคำภาษาไทยได้รับการรับรองในศัพท์สากลในการเรียกชื่อดาว กระทั่งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศผลการคัดเลือกชื่อสามัญโลกต่างระบบ 20 แห่ง ที่แต่ละชาติเรียกต่างๆ กัน เช่น ไทยเรียก ดาวจระเข้ ลาวเรียก ดาวหัวช้าง อังกฤษเรียก ดาวคันไถ (Plow) โดยให้ชื่อดาวดวงนี้ว่า แชลาแวน (Chalawan) หรือออกให้ถูกในสำเนียงเจ้าของภาษาก็คือ ดาวชาละวัน นั่นเอง ชาละวัน เป็นดาวฤกษ์ดวงแรกบนท้องฟ้าที่มีชื่อสามัญสากลเป็นชื่อไทย ที่มาก็คือ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือ IAU ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดชื่อและนิยามต่างๆ ในทางดาราศาสตร์ ได้ดำเนินโครงการตั้งชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ (NameExoWorlds) เป้าหมายที่จะตั้งชื่อสามัญให้แก่ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นจำนวน 20 ระบบ บางระบบที่ดาวฤกษ์เองยังไม่มีชื่อสามัญก็ให้ตั้งชื่อสามัญให้ดาวฤกษ์นั้นด้วย สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้จัดประกวดและคัดเลือกชื่อ ตะเภาแก้ว ซึ่งเสนอโดย ด.ญ.ศกลวรรณ ตระการรังสี ส่วนชื่อ ชาละวัน เสนอโดย นายสุภาภัทร อุดมรัตน์นุภาพ คณะทำงานจึงได้เพิ่มชื่อ ตะเภาทอง เข้าไปอีกชื่อเพื่อนำไปตั้งให้แก่ระบบสุริยะของดาว 47 หมีใหญ่ การสถาปนาชื่อไทยให้โลกต่างระบบครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย

19 ก.พ. คืนมาฆบูชาชวนจับตา “ซูเปอร์ฟูลมูน”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยคืนมาฆบูชา 19 กุมภาพันธ์ 2562 ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2562 หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย คืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ตรงกับวันมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฎในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ที่ระยะห่างประมาณ 356,836 กิโลเมตร เปรียบเทียบดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติจะมีขนาดใหญ่กว่า 7% และสว่างกว่า 16% สังเกต ได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 18.11 น. เป็นต้นไป ผู้สนใจรอชมและเก็บภาพความสวยงามของดวงจันทร์ได้ในคืนดังกล่าว ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น แต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 356,400 กิโลเมตรและตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่าอะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,700 กิโลเมตร ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก มีผลทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงมากว่าปกติเล็กน้อย ไม่มีผลกระทบอื่นใดต่อโลก นอกจากนี้ การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงที่โตกว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่อธิบายได้ตามหลัการทางวิทยาศาสตร์ แม้วว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่อาจไม่ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง สำหรับ ดวงจันทร์เต็มดวงและใกล้โลกที่สุดในรอบปี ครั้งต่อไปตรงกับวันที่ 8 เมษายน 2563 ห่างประมาณ 357,022 กิโลเมตร

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/ost-sci-review-feb2019.pdf

 

 

 

 

 

3 ต.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: