ข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 4 เมษายน 2562
การสร้างความร่วมมือแนว 4.0 ระหว่างไทยกับลาตินอเมริกา การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันนั้น นำไปสู่ การแลกเปลี่ยนความชำนาญและผสานประโยชน์กัน ซึ่งในแต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญด้าน วทน. ที่แตกต่างกัน โดยความเชี่ยวชาญด้าน วทน. ของประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและการพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างความร่วมมือ ในการสนับสนุนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากร การวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการสนับสนุนการจัดกิจกรรม โครงการทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จะช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการทูตวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รัฐบาล ในสาย วทน. ซึ่งเป็นคนในวงการที่เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศที่สำคัญ
กิจกรรมผู้บริหารด้าน วทน. จากลาตินอเมริกามาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2562 สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้นำคณะผู้บริหารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษา จากประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก ประกอบด้วย เม็กซิโก ชิลี เปรู โคลอมเบีย และ โบลิเวีย ไปเยือนไทย เพื่อสร้างเครือข่ายด้าน วทน. และสนับสนุนการแลกเปลี่ยน การพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจด้าน วทน. รวมถึง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาและบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ระหว่างหน่วยงานของไทยกับประเทศลาตินอเมริกา ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5 ประเทศ ประกอบด้วย เม็กซิโก เปรู ชิลี โคลอมเบีย โบลิเวีย
งานสัมมนา หัวข้อ Thailand Regional Science Parks and Latin America Connect ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ คณะผู้บริหารจากลาตินได้ให้การบรรยายในงานสัมมนากลุ่มผู้ฟังคือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของอุทยานวิทยาศาสตร์จากภาคและจังหวัดต่างๆ ของไทย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ จำนวน 120 คน โดยการบรรยายของคณะเจ้าหน้าที่จากลาตินมีดังต่อไปนี้
1.Monterrey, International Capital of Knowledge and Advanced Manufacturing โดย Dr.Jaime Parada ประเทศเม็กซิโก 2.Peruvian University Cayetano Heredia : Towards the Development of a Center for Innovation and Entrepreneurship Aimed at Connecting the World and Achieving the Sustainable Development Goals (SDG) โดย Dr. Victor Huanambal Tiravanti ประเทศเปรู 3.Nationa Commission for Scientific and Technological Research – Opportunities for Graduate Studies and International Cooperation โดย Dr. Sharapiya Kakimova ประเทศชิลี
- Colombia From STEAM (STEM + ART) Education to a sustainable industrialized nation โดย Dr. Juan Sebastian Osorio โคลอมเบีย 5.Research, Postgraduate and Social Interaction Department (DIPGIS) โดย Prof.Waldo Vargas-Ballester ประเทศโบลิเวีย 6.Open Innovation Partnerships : Thailand Regional and Global Connect โดย ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อว.มช.) 7.Tech Enterprises Development in Northern Thailand โดย ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และให้บรรยายแนะนำ สวทช. เช่น หน้าที่และบทบาท ของ สวทช. ในการพัฒนา Platform เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ให้สามารถทำได้เร็วขึ้นและใช้งบประมาณน้อยลง นอกจากนี้ยังได้บรรยายเกี่ยวกับแนวนโยบาย Thailand 4.0 สาขา วทน. ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ และ 10 อุตสาหกรรม (S-Curve) ประเทศไทยมีความสนใจที่จะสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ในส่วนของการให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นเสมือน One stop service สำหรับผู้ประกอบการทั้งภายใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถมาขอใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 1 เดือน และ สวทช.จะช่วยหาคู่พันธมิตรทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนหลังจากการหารือ คณะได้เยี่ยมชม ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) ของ BIOTEC ซึ่งเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลชีววัสดุ มีให้บริการในการจัดเก็บตัวอย่าง การฝึกอบรม และการให้คำแนะนำต่างๆ ปัจจุบันได้มีการทำ MOU กับประเทศมาเลเซียแล้ว
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารฯ และบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานโครงการที่สำคัญของ วว. เช่น โครงการ OTOP รวมถึง กลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ เช่น คูปองวิทย์เพื่อโอทอป มาตรการติดตามและวัดผลของธุรกิจที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก วว. และโครงการที่ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน นอกจากนี้ ดร.อาภารัตน์ฯ ยังกล่าวว่า วว. มีร่วมมือกับต่างประเทศบ้างแล้วโดยปัจจุบันมีการเปิดรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และเวียดนาม เข้ามาศึกษาและดูงาน ดร.อาภารัตน์ฯ ได้พาคณะเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (Algal Excellent Center) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับโครงการวิจัยสาหร่ายเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสาหร่าย โดยปัจจุบัน วว. มีสาหร่ายน้ำจืดและน้ำเค็มจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดทำ ฐานข้อมูลกว่า 1,000 สายพันธุ์ และพยายามศึกษาพัฒนาวิธีการเพิ่มผลผลิตจากสาหร่ายโดยการวิจัยและปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเติบโต ซึ่งคณะผู้บริหารฯ ให้ความสนใจที่จะสร้างความร่วมมือกับศูนย์นี้เนื่องจากไทยมีความพร้มทั้งอุปกรณ์ ความรู้ และบุลากรในการวิจัย ซี่งผู้แทนจากทุกประเทศได้มีการหารือแลกเปลี่ยน สนใจต่อโครงการเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเม็กซิโก ได้แจ้งว่า อาจมีการเสนอการแลกเปลี่ยนวิจัย โดย PIIT ก็มีการเก็บตัวอย่างวิจัยเช่นกัน
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่ (สดร.) ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารฯ และให้บรรยายเกี่ยวกับข้อมูล บทบาท แผนการและเป้าหมายของ สดร. ประเด็นที่คณะผู้บริหารฯ ให้ความสนใจคือ สดร. ได้นำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางดาราศาสตร์ไปใช้เพื่อส่งเสริมการศึกษาสะเต็ม และการนำศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ไปใช้ต่อยอดในสาขาอื่นๆ ได้ เช่น การแพทย์ สดร. ได้พาคณะผู้บริหารฯ ไปเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาว และวิศวกรรม โครงการความร่วมมือพัฒนาระบบเคลือบกระจกสำหรับโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเซเรนคอฟเพื่อเยี่ยมชมห้องทดลองและงานวิจัยของ สดร. และเยี่ยมชมหอดูดาวแห่งชาติ ณ ดอยดอินทนนท์
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะผู้บริหาร เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมี ดร.นพดล โค้วสุวรรณ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการให้การต้อนรับและให้ข้อมูลแก่คณะ โดยนอกจากการบรรยายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาฯ แล้ว ดร.นพดลฯ ได้พาคณะเยี่ยมชมงานในส่วนของงานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ภาคเหนือของไทย และพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการแก้ไขและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และงานศึกษาและพัฒนาการประมงซึ่งเป็นศูนย์ศึกษา ทดลอง และเผยแพร่องค์ความรู้และพันธุ์ปลาให้แก่เกษตรกรรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งคณะผู้บริหารฯ โดยเฉพาะ Dr. Tiravanti (เปรู) และ Dr. Kakimova (ชิลี) ให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดโครงการฝึกอบรมการเพาะพันธ์ปลา เช่น การจัดส่งผู้แทนจากเปรูหรือชิลีมาศึกษารูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ และงานศึกษาของศูนย์การศึกษาฯ
สำนักการเกษตรต่างประเทศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะผู้บริหารฯ ได้พบกับ ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผอ.สำนักการเกษตรต่างประเทศ กษ. เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงสร้างของ กษ. การวิจัยต่างๆ แผนความร่วมมือกับต่างประเทศ กษ. ดร.วนิดาฯ กล่าวว่า วิทยาศาสตรีความสำคัญมากสำหรับการพัฒนาด้านเกษตรกรรมทั้งในด้านการผลิตของเกษตรกร การเพิ่มมูลค่าและการทำ ตลาดสินค้าเกษตรกรรม และการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรสู่ต่างประเทศ ดร.วนิดาฯ ให้ข้อมูลว่า กษ. มีความสนใจที่จะสร้างความร่วมมือด้าน วทน.กับ ประเทศในลาตินอเมริกา เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่สำคัญของประเทศเช่นกัน โดย กษ. มีการให้เงินทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งแม้ว่าจะให้เฉพาะนักวิจัยของ กษ. เท่านั้น แต่นักวิจัยสามารถทำงานร่วมกับนักวิจัยจากต่างประเทศได้โดยเงินทุนสนับสนุนการวิจัยนี้มีหลายระดับแล้วแต่ความสำคัญและความเหมาะสมของโครงการ จากการหารือพบว่า สาขาการวิจัยที่มีความสนใจตรงกันมีหลายสาขา เช่น การวิจัยที่ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก ความปลอดภัยของอาหาร น้ำมันปาล์ม และกาแฟ แนะนำหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในลาตินอเมริกาและไทย The Institute of Innovation and Technology Transfer (I2T2) Technology Research and Innovation Park (PIIT) เม็กซิโก I2T2 ก่อตั้งโดยรัฐบาลของรัฐ Nuevo Leon เม็กซิโก มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในนโยบายสาธารณะ การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และการบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ Technology Research and Innovation Park (PIIT) ซึ่งเป็นศูนย์เพาะบ่มผู้ประกอบการของธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ วทน. ของรัฐ Nuevo Leon ตั้งอยู่ที่เมือง Monterey I2T2 มีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนการถ่ายทดเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเริ่มตั้งแต่การทำวิจัยและพัฒนา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาสินค้าและบริการ การสนับสนุนภาคการศึกษา ไปจนถึงการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ปัจจุบัน PIIT ถือเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่งของเม็กซิโก ปัจจุบันมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์กว่า 500 โครงการ ทำให้ PIIT เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ผู้นำในภูมิภาค ลาตินอเมริกา
BIMEDCO – GEMEDCO เป็นบริษัทเอกชนที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสุขภาพของชาวโคลอมเบีย ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย การบริการจากผู้เชี่ยวชาญ และการพัฒนาการศึกษาด้านการแพทย์แก่สาธารณะ บริษัท BIMEDCO – GEMEDCO มีการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ เช่น บริษัท General Electric (GE) โดยบริษัท BIMEDCO – GEMEDCO เป็น ตัวแทนในการวิจัย ผลิต และจำหน่ายให้กับ GE นอกจากนี้ยังมีความสนใจกับการสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในเอเชียอีกด้วย
Innovation and Entrepreneurship Center, Cayetano Heredia Peruvian University มหาวิทยาลัย Cayetano Heredia เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ตั้งอยู่ ณ เมืองลิมา เปรู โดย Cayetano Heredia เป็นชื่อของนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงในช่วงศตวรรษที่ 19 ของเปรู มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์อันดับต้นของประเทศ สาขาวิจัยที่สำคัญ เช่น biomedical imaging, tissue engineering, biomaterials, biomechanics and rehabilitation และ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการให้บริการด้านการแพทย์
สถาบันวิจัยด้านดาราศาสตร์ในชิลี ชิลี เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงดาราศาสตร์ของโลก โดยคาดว่าในปี 2563 โครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ในชิลีจะนับเป็นร้อยละ 70 ของโลก พื้นที่ทางตอนเหนือของชิลี มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาดาราศาสตร์ เนื่องจากมีท้องฟ้าโปร่ง และมีสภาพอากาศที่แห้งมากกว่า 300 วันต่อปี ปัจจัยเหล่านี้ดึงดูดนักวิจัย นักดาราศาสตร์ วิศวกร นักเรียน และนักดาราศาสตร์สมัครเล่นจากทั่วโลก มายังพื้นที่ดังกล่าว สำหรับประเทศไทย สดร. ได้ร่วมมือกับ University of North Carolina ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ภายใต้โครงการ PROMPT (Panchromatic Robotic Optical Monitoring and Polarimetry Telescopes) ซึ่งประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล โดยสถานที่ติดตั้งคือ เซโร โตโลโล (Cerro Tololo) ประเทศชิลี หน่วยงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของชิลีมีหลายแห่ง เช่น – Center for Excellence in Astrophysics and Associated Technologies (CATA) เป็นศูนย์วิจัยที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ที่ Calan Hill (Cerro Calan) กรุงซันติอาโก โดยมีการวิจัยวิทยาศาสตร์ 6 หัวข้อ วิจัยด้านเทคโนโลยีขั้นสูง 3 หัวข้อ และกิจกรรมเพื่อการศึกษาและการเข้าถึงสาธารณะ 1 หัวข้อ – Millennium Center for Supernova Science ศูนย์วิจัยแห่งนี้เน้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Supernova
Universidad Mayor de San Andres Universidad Mayor de San Andres เมือง La Paz ประเทศโบลิเวีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2443 มหาวิทยาลัยแห่งนี้เก่าแก่อันดับสองของประเทศ และเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ สถาบันวิจัยที่สำคัญของมหาวิทยาลัยมีหลายสถาบัน เช่น The Institute of Ecology เป็นสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับสาขาพฤกษศาสตร์ และสาขาสัตววิทยา ศูนย์วิจัยนี้เป็นผู้นำในการสร้างนโยบายและวางกลยุทธ์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ในโบลิเวีย งานวิจัยที่สำคัญ เช่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การวิจัยด้านนิเวศเกษตรแ หรือ Agroecology
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์ โดยอยู่ภายในการกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) สวทช. มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมสามาถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์และ 1 สถาบัน ได้แก่
-ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ -ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ -ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ -ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี -ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) มุ่งให้ความช่วยเหลือนักวิจัยและบริษัทต่างๆ ในการนำผลงานการค้นพบและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ -สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) (AIMI) ให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร แบบครบวงจร (One Stop Service)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ นั่นคือจัดตั้งเพื่อส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบไม่แสวงหากำไร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (Algal Excellent Center) มีผลงานวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการให้บริการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายน้ำจืดขนาดเล็กแก่ภาคอุตสาหกรรม วว. ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของสาหร่ายขนาดเล็ก ที่มีบทบาทในด้านต่างๆ มากขึ้นตามลำดับ วว. จึงเป็นหน่วยงานแห่งเดียวในประเทศที่มีการดำเนินงานในด้านนี้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การจัดตั้งคลังเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่าย (TISTR Algae Culture Collection, TISTR ACC) ซึ่งในปัจจุบันมีการรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดขนาดเล็ก (freshwater microalgae) จากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศพร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูล กว่า 1,000 สายพันธุ์ มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง วิเคราะห์ และทดสอบ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) ที่สำคัญและโดดเด่น คือ วว. มีระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายระดับขยายกลางแจ้งต้นแบบตั้งแต่ขนาด 100-40,000 ลิตร เป็นระบบการเพาะเลี้ยงแบบต่อเนื่องและครบวงจร ปริมาตรรวม 400,000 ลิตร
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 ตามพระราชดำริของสำเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีความสนพระทัยอย่างยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ ท่านทรงพระกรุณารับโครงการดำเนินการของสถาบันฯ เป็นโครงการในพระราชดำริ 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการหอดูดาวแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในศุภมงคลวารเฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา และ 2) โครงการหอดูดาวภูมิภาคเพื่อประชาชน 5 แห่ง ที่จังหวัดนครราชสีมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคตะวันออก จังหวัดสงขลา ภาคใต้ จังหวัดพิษณุโลก ภาคเหนือ และจังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภารกิจของสดร.คือ 1.ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาด้านดาราศาสตร์ 2.สร้างเครือข่ายการวิจัยและวิชาการด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติและนานาชาติกับสถาบัน ต่างๆ ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ 3.ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือด้านดาราศาสตร์กับหน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ 4.บริการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์
Science & Technology Park (STeP) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “STeP” เป็นหน่วยงานวิชาการภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดจากความร่วมมืออย่างเป็นทางการของ 7 คณะ อันประกอบไปด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี ซึ่งสามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมหลัก ในเชียงใหม่และภาคเหนือ อาทิเช่น เกษตรแปรรูป กระบวนการอาหาร และหัตถอุตสาหกรรม โดยจะมีการขยายขอบเขตข้อตกลงความร่วมมือไปยังคณะอื่นๆ ต่อไปในอนาคต STeP เป็นศูนย์ให้บริการที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรทั้งบุคลากร โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้วยกลไกการให้บริการที่หลากหลายในการสนับสนุน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งครอบคลุมถึงการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์เทคโนโลยี การออกแบบนวัตกรรม การให้บริการห้องปฏิบัติการและเครื่องมือปฏิบัติการ การให้บริการ โรงงานต้นแบบเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบต่างๆ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อกำเนิดจากการที่ได้รับพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2525 ที่พระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองต่อไป โดยทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำตลอดจนความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และ พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารและ ปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศีกษากิจกรรมต่างๆ ในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดำริว่า “ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” หรืออีกนัย หนึ่งเป็น “สรุปผลการพัฒนา” ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้”
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/ost-sci-review-april2019.pdf