หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่5/62
รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่5/62
3 ต.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

ข่าววิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2562

ประวัติ ดร.วีรชัย พลาศรัย อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา อดีตเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก อดีตเอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อดีตเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (เจ้าหน้าที่การทูต 10) สำนักงานปลัดกระทรวง เอกอัครราชทูตวีรชัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รำลึก…ท่านเอกอัครราชทูต โดย ผู้ช่วยทูตทหารสามเหล่าทัพสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยพันเอกสยามรัฐ รุ่งสังข์ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน …พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา

ด้วยความเคารพอย่างสูง นาวาอากาศเอก ระวิน ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำกรุงวอชิงตัน ความร่วมมือด้านความมั่นคง ไทย-สหรัฐฯ จากปืนคาบศิลาสู่การซ้อมรบคอบบร้าโกลด์

ในปี 2557 คอบร้าโกลด์มีกิจกรรมที่แตกต่างกันสามประการ สิ่งแรกคือการฝึกซ้อมแบบใช้อาวุธยิงร่วม (CALFEX) ซึ่งมีการใช้กระสุนจริงเล็งไปที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ กองทหารจู่โจมชายหาดและโซนลงจอดในขณะที่เกิดไฟไหม้ครั้งนี้ กิจกรรมที่สองคือการฝึกการโพสต์คำสั่ง (CPX) ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารมีส่วนร่วมในเกมสงครามคอมพิวเตอร์บรรเทาภัยพิบัติหรือภารกิจด้านมนุษยธรรมในหลายวัน และกิจกรรมสุดท้ายคือการช่วยเหลือประชากรไทยในท้องถิ่น คอบร้าโกลด์ได้ขยายไปถึง 35 ประเทศ ณ ปี 2559 รวมถึง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ในเอเชียใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก จีนได้เข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์เป็นครั้งแรกในปี 2558 ด้วยเช่นกัน โดยให้เข้าร่วมการฝึกอบรมการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำหรับครั้งล่าสุดในปี 2562 ได้จัดไป เมื่อวันที่ 11-22 กุมภาพันธ์ 2562 นับเป็นครั้งที่ 38 โดยมีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลักจำนวน 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเซีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน จำนวน 2 ประเทศ ประกอบด้วย จีน และ อินเดีย และประเทศอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 29 ประเทศ

รำลึกท่าน ออท.วีรชัย พลาศรัย สุดยอดผู้นำทีม ปทท. ของพวกเรา โดย อัครราชทูต (ฝ่ายเศรษฐกิจและการคลังและอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการเมือง) รำลึกท่าน ออท.วีรชัยฯ โดย อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) รำลึกท่าน ออท.วีรชัยฯ โดย รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ

ปัญหาการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เริ่มรุนแรงขึ้นในปี 2528 และดำเนินติดต่อกันเป็นเวลาเกือบ 10 ปี โดยส่วนใหญ่สหรัฐฯ จะกดดันไทยให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องต่างๆ ในระยะแรก (ปี 2528-2531) ข้อขัดแย้งทางการค้าส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากข้อขัดแย้งกรณีลิขสิทธิ์แล้ว ยังได้ขยายข้อเรียกร้องไปถึงการคุ้มครองสิทธิบัตร

วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กับบทบาทของสหรัฐฯ วิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย ซึ่งเริ่มจากวิกฤตการณ์ทางการเงินการคลังในไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นเหตุการณ์สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในภาพรวมระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในสภาวการณ์ที่ประเทศขาดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเงินอยู่ในสภาพล้มละลาย

กฎระเบียบที่สำคัญด้านประมงของสหรัฐฯ ที่มีผลต่อการประมงของไทย

1.ระเบียบ SEAFOOD IMPORT MONITORING PROGRAM (SIMP) เมื่อระเบียบ SIMP มีผลใช้บังคับ ในวันที่ 9 มกราคม 2560 ประเทศที่นำเข้าและ/หรือ ผู้นำเข้าปลาและสินค้าปลามายังสหรัฐฯ ต้องจัดทำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ให้แก่สหรัฐฯ ซึ่งจะทำการจัดเก็บข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้าประมงผ่านระบบ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย กับสัตว์น้ำสายพันธุ์เสี่ยงเริ่มแรก 11 สายพันธุ์

  1. ระเบียบ Marine Mammal Protection Act (MMPA) ระเบียบเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 โดยสหรัฐฯ ได้กำหนดช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวไว้ 5 ปี และจะดำเนินการกับประเทศที่ทำการประมงเพื่อการพาณิชย์ที่มีการส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยประเทศที่ได้รับแจ้งขอข้อมูลจะต้องจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่ NMFS ภายในระยะเวลา 90 วัน 3. กฏหมาย Federal Meat Inspection Act (FMIA)

สืบเนื่องจากสหรัฐฯ แก้ไขกฏหมาย Farm Bill เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้าประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ และปลาหนัง ให้มีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะมากขึ้น โดยยกเลิกการใช้คำว่าปลาดุก (Catfish) ในผลิตภัณฑ์ปลาที่ไม่ได้อยู่ในตระกูล Ictaluridae โดยจัดให้ปลาดังกล่าวอยู่ในตระกูลปลาหนังแทน

ทั้งนี้ ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้ประกาศรับรองความปลอดภัยของการผลิตปลาหนัง(ดิบ) ของไทยให้มีความเท่าเทียมกับระบบสหรัฐฯ และประกาศรายชื่อโรงงานไทยส่งออกสินค้าปลาหนังจำนวน 3 โรง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 ได้แก่

1.โรงงาน B.S.A. Food Products Co.,Ltd.

2.โรงงาน I.T. Foods Industries Co.,Ltd. 3.Sanhara Foods Co.,Ltd.

บันทึกไว้ในความทรงจำ โดย อัครราชทูต (ฝ่ายการศึกษา) อาลัยท่านทูตวีรชัยฯ ที่เคารพยิ่ง โดย อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลักษณะเด่นของระบบอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา

ประเภทของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา 1.มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของรัฐ สนับสนุนและบริหารโดยรัฐบาลของรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่น ทุกรัฐจะมีมหาวิทยาลัยแห่งรัฐหนึ่งแห่งเป็นอย่างน้อย มหาวิทยาลัยเหล่านี้จะถูกตั้งชื่อตามชื่อของรัฐนั้นๆ ตามด้วยชื่อเมืองที่ตั้ง หรือมีคำว่า “State” อยู่ในชื่อด้วย เช่น Washington State University 2.มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบริหารโดยองค์กรเอกชน มีค่าเล่าเรียนที่สูงกว่าและมีขนาดเล็กกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐบาล กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงมายาวนานที่รู้จักกันระดับนานาชาติ คือกลุ่ม Ivy League ที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำ อาทิ Harvard Yale Princeton Columbia Cornell เป็นต้น มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งหมดก็เป็นของเอกชน 3.วิทยาลัยชุมชน หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษา คือวิทยาลัยชุมชนสองปีที่นักศึกษาจะได้รับอนุปริญญาเมื่อสำเร็จการศึกษา และสามารถโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อได้อีกทั้งมีหลักสูตรประกาศนียบัตรด้วย หลักสูตรอนุปริญญาแยกออกเป็นสองประเภทคือ หลักสูตรทางวิชาการที่สามารถโอนย้ายหน่วยกิตได้ และหลักสูตรประกาศนียบัตรที่เตรียมความพร้อมทางอาชีพให้นักศึกษา นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนส่วนใหญ่จะทำการโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยสี่ปีเพื่อให้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี 4.สถาบันเทคโนโลยี บางสถาบัน ไม่เรียกตัวเองว่า University แต่ใช้ว่า Institute of Technology เนื่องจากเน้นการสอนเทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อให้นำไปปฏิบัติจริงในการประกอบอาชีพโดยเฉพาะในสาขาด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ สถาบันเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐาน เทียบเคียงมหาวิทยาลัยชั้นนำ การศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีใช้เวลาสี่ปีในการทำการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางแห่งเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท-เอก บรรยากาศในห้องเรียน ห้องเรียนมีหลายขนาดตั้งแต่ห้องเลคเชอร์ขนาดใหญ่ไปจนถึงห้องเรียนขนาดเล็กและห้องประชุม บรรยากาศในห้องเรียนนักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โต้เถียงเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง มีส่วนร่วมในการสนทนา และนำเสนองานของตน อาจารย์จะมอบหมายให้นักศึกษาทำรายงานและอ่านหนังสือทุกอาทิตย์ นักศึกษาจะต้องทำการบ้าน อ่านหนังสืออยู่ตลอดเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับคำบรรยายและมีส่วนร่วมในการสนทนาในชั้นเรียนได้ การให้คะแนน อาจารย์ผู้สอนจะมีเกณฑ์ให้คะแนนด้านการมีส่วนร่วมในห้องเรียนไม่เหมือนกัน นักศึกษาจะได้คะแนนผ่านการมีส่วนร่วมในบทสนทนาภายในชั้นเรียนโดยเฉพาะในห้องสัมมนา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการตัดสินให้คะแนน การสอบกลางภาค ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในช่วยการทำการเรียนการสอน การรวบรวมส่งงานวิจัย การเรียบเรียงภาคนิพนธ์ หรือการส่งรายงานแลปอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อการประเมินผล

การสอบย่อย หรือการตอบคำถามในชั้นเรียน อาจารย์จะให้นักศึกษาทำข้อสอบหรือตอบคำถามในห้องเรียนทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคอยทำการบ้านที่ให้ไว้อยู่ตลอด

การสอบปลายภาค หลังจากเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของชั้นเรียน ระบบให้คะแนนของสหรัฐอเมริกา จึงเน้นการมีส่วนร่วม การทำกิจกรรมเก็บคะแน มากกว่า วัดผลตัดคะแนนจากการสอบปลายภาค หน่วยกิต หลักสูตรวิชาหนึ่งจะมีหน่วยกิตเป็นตัวเลขหนึ่งจำนวนหรือเป็นจำนวนชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนชั่วโมงที่นักศึกษาทำการเรียนภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่หนึ่งหลักสูตรวิชาจะเท่ากับ 3-5 หน่วยกิต หลักสูตรเต็มเวลาส่วนใหญ่จะมี 12-15 หน่วยกิตชั่วโมง (4 หรือ 5 หลักสูตรวิชาต่อหนึ่งเทอม) และนักศึกษาต้องเข้าทำการศึกษาให้ได้จำนวนหน่วยกิตที่กำหนดเพื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาชาวต่างชาติต้องศึกษาในหลักสูตรเต็มเวลาเท่านั้น โรค เอ็มดีเอส โรคทางเลือดที่ยังไม่สามารถระบุหาสาเหตุได้

โรค “เอ็มดีเอส” Myelodysplastic syndrome (MDS) เป็นโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากระบบการผลิตเม็ดโลหิต หรือเป็นโรคทางโลหิตวิทยาที่เกิดจากความผิดปกติของเซลต้นกำเนิด หรือ stem cell ในไขกระดูกในด้านการเจริญเติบโต การพัฒนาการ และการทำงานของเซลล์ โดยมีการแสดงออกในรูปของภาวะไขกระดูกไม่ทำงาน และจำนวนเม็ดเลือดในกระแสเลือดผิดปกติ และอาจมีการดำเนินโรคต่อเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ถึงร้อยละ 30 เซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์ไม่จำเพาะ หน้าที่ของเซลล์ต้นกำเนิดคือการผลิตเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่า สำหรับโลหิตซึ่งมีเม็ดเลือดเดินทางหล่อเลี้ยงร่างกาย ก็มีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเช่นกัน แบ่งได้ 3 ประเภท คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด เม็ดเลือดแดง โรคเอ็มดีเอส เป็นกลุ่มโรคของเซลล์ต้นกำเนิด เม็ดเลือดไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดทั้ง 3 ประเภทได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายค่อยๆหมดแรง รู้สึกได้เมื่อมีความอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่ายขึ้น สาเหตุของโรคเอ็มดีเอส ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดอาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ สารเคมี รังสี การสูบบุหรี่ และไวรัสบางชนิด หรือการสัมผัสกับรังสีและยาเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง และยังสามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้

ทูตวีรชัยฯ ผู้ริเริ่มแนวคิด Music Diplomacy โดย กงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ สหรัฐอเมริกา – แหล่งกำเนิดดนตรีสากลร่วมสมัย

ต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา และความก้าวหน้าและสถานะของการเป็นมหาอำนาจ ได้ค่อยๆ ทำให้เพลงแนวใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 20 ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก และกลายเป็นสไตล์เพลงสากลที่ทั่วโลกเล่นกันอยู่ทุกวันนี้

ดนตรีแจ๊ส (Jazz) เป็นลักษณะดนตรีที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐฯ ราวทศวรรษ 1920 ในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา โดยมีลักษณะพิเศษคือ มีจังหวะชัดเจนเล่นอย่างอิสระโดยการประสานกันขึ้นเองของนักดนตรีในขณะที่กำลังบรรเลง มีการลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยใช้เครื่องดนตรี ที่เป็นเครื่องเป่า เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต ทรอมโบน หรือเครื่องดีด อย่าง กีตาร์ แบนโจ ทูบา รวมทั้งการใช้เปียโนเป็นตัวบรรเลงโน๊ตที่อิสระไร้รูปแบบ เล่นบทบาทนำล้อกันไปมาซึ่งแตกต่างจากยุคคลาสสิคโดยสิ้นเชิง

วงดนตรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band : ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า “แจ๊ส” ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues) คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้างเพราะจำมาไม่ครบถ้วน ดนตรีร็อก (Rock) หรือ ร็อกแอนด์โรล (Rockn Roll) เป็นดนตรีที่ประกอบด้วย กีตาร์ กีตาร์เบส กลอง เป็นดนตรีหลัก รูปแบบดนตรีง่ายๆ เน้นความหนักแน่นในเนื้อหาที่ต้องการสื่อ และความสนุกสนาน คิดค้นขึ้นในศตวรรษที่ 60 โดยเอลวิส เพรสลีย์ โดยการนำเอาการร้องที่ใช้เสียงสูงของเพลงบลูส์ของ คนผิวดำ ผสมกับทำนองสนุกสนานของเพลงคนทรีของคนผิวขาว เป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมของสองเชื้อชาติ ซึ่งเอลวิส เพลสลีย์ ต่อมาได้รับการยกย่องและเรียกว่าเป็น “ราชาร็อกแอนด์โรล” และพัฒนาต่อยอดแตกแขนงเป็นหลายประเภท เช่น เฮฟวี่เมทัล, เดธเมทัล, บริติสร็อก, อันเทอร์เนทีฟ


ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/ost-sci-review-may2019.pdf

3 ต.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: