หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนกุมภาพันธ์ 2563
รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนกุมภาพันธ์ 2563
6 พ.ค. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2563

ภาวะโรคระบาดใหญ่ (Pandemics)
การระบาดใหญ่ หรือ Pandemics คือปรากฎการณ์ที่โรคติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคขนาดใหญ่เช่นหลายทวีปหรือทั่วโลก 
ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีการระบาดใหญ่ของโรค เช่นไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค และวัณโรค อยู่บ่อยครั้ง และหนึ่งในโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดคือกาฬโรค
(Black Death) ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 75-200 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ 
(ไข้หวัดสเปน) ในปี 1918 และการระบาดของโรคเอดส์ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า
30 ล้านคน ที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการวิจัยใหญ่ทางไวรัสวิทยา โดยเฉพาะการผลิตยาต้านไวรัสที่มีผลต่อการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสในปัจจุบัน

สถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในจีนและเอเชียตะวันออก

8 ธ.ค.62 เจ้าหน้าที่จีนได้การบันทึกผู้ป่วยรายแรกที่แสดงอาการของโรคจากโคโรน่าไวรัส ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ทราบสาเหตุ
30 ธ.ค.62 การบริหารทางการแพทย์ของคณะกรรมการอนามัยเทศบาลอู่ฮั่นประกาศฉุกเฉินเกี่ยวกับการรักษาโรคปอดโดยไม่ทราบสาเหตุไปยังองค์การอนามัยโลก ซึ่งส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดอาหารทะเลจีนใต้อู่ฮั่น
2 ม.ค.63 มีการยืนยันจากห้องปฎิบัติการว่า ผู้ป่วย 41 คนในอู่ฮั่นติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV
(โคโรน่าไวรัสอู่ฮั่น)
3 ม.ค.63 ไทยและสิงคโปร์เริ่มมีการคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ณ ท่าอากาศยานสำคัญ
9 ม.ค. 63 องค์การอนามัยโลกยืนยันว่ามีโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในมนุษย์ และมีผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นชายอายุ 61 ปี ซึ่งเป็นลูกค้าประจำที่ตลาดอาหารทะเลดังกล่าว
16 ม.ค. 63 ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV เป็นรายแรก เป็นชายสัญชาติจีนอายุ 30 ปี
20 ม.ค. 63 ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อเป็นหญิงอายุ 74 ปี ซึ่งเดินทางมาจากจีน
21 ม.ค. 63 มีรายงานผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกในประเทศเกาหลีใต้
22 ม.ค. 63 มาเก๊าและฮ่องกงมีรายงานผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันจากห้องปฎิบัติการ
24 ม.ค. 63 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และฮ่องกง เริ่มพบผู้ติดเชื้อรายต่อๆ ไป แสดงให้เห็นการระบาด
ที่ใหญ่ขึ้น

ไวรัส อีกหนึ่ง “สิ่งที่ไม่เห็น ไม่ใช่ไม่มี”

ไวรัส จะมีองค์ประกอบของไวรัส มีด้วยกัน 3 ส่วน
1. ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรมหรือจีโนม ซึ่งมีทั้งที่เป็นดีเอ็นเอสายเดี่ยว ดีเอ็นเอสายคู่ อาร์เอ็นเอ
สายเดี่ยว หรือ อาร์เอ็นเอสายคู่ ที่แตกต่างออกไปตามชนิด
2. ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นโปรตีนห่อหุ้ม มีลักษณะเป็นก้อนโปรตีนมาเรียงต่อกัน แต่ละก้อนประกอบขึ้นจากสายโพลีเปปไทด์ที่ขดกันจนดูคล้ายเป็นก้อน แต่ละก้อนเรียกแคปโซเมียร์ หลายๆ ก้อนที่มาเรียงต่อกันเรียก แคปซิด
3. ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงโปรตีนชนิดอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นเอมไซม์ ที่สำคัญส่วนประกอบพวกนี้โดยทั่วไปมี
องค์ประกอบที่มีลักษณะแบบเดียวกับเซลล์ที่ไวรัสจะเข้าไปอาศัยไวรัสเพิ่มจำนวนได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น อาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงแบคทีเรีย
ใช้เพาะเลี้ยงไวรัสไม่ได้ นอกจากจะเพาะเลี้ยงในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รหัสพันธุกรรมของไวรัสเมื่อผันแปร ไวรัสก็ผันแปรด้วยไวรัสที่ผันแปรแตกต่าง
ไปจากไวรัสปกติอาจตรวจสอบได้โดยเลี้ยงกับเซลล์ต่างๆ และเปรียบเทียบไวรัสดูตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ เช่นจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีโครงสร้าง
แบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน นอกจากนั้นไวรัสแต่ละชนิดยังมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น
– คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของไวรัส เช่น ความทนของไวรัสต่อรังสี ความทนของไวรัสต่ออุณหภูมิระดับต่างๆ
– คุณสมบัติทางเคมีของไวรัส เช่น ความทนของไวรัสต่อสารเคมี ต่อสารฆ่าเชื้อต่างๆ
– คุณสมบัติทางชีววิทยาของไวรัส เช่น ความสามารถในการสังเคราะห์ไวรัส ความสามารถของไวรัสในการทำลายเซลล์รุนแรงมากน้อยเพียงใด
ความสามารถในการสังเคราะห์เอ็นไซม์ สังเคราะห์แอนติเจนที่เฉพาะของไวรัส ยีนที่ควบคุมชนิดของเซลล์ที่ไวรัสจะเจริญ
ยีนที่ทำให้เกิดการสลายเซลล์ที่ผันแปรจากเซลล์ปกติ โดยเปรียบเทียบความสามารถของไวรัสที่จะแพร่พันธุ์

COVID-19 ไวรัสเขย่าโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ไวรัส COVID-19 เป็นไวรัส RNA ในกลุ่ม Coronavirus หรือชื่ออย่างเป็นทางการที่วงการวิทยาศาสตร์อเมริกันนิยมใช้คือ SARS-CoV-2
(ส่วนวงการเมืองระดับผู้นำใช้ Wuhan Virus หรือ Chinese Virus) เนื่องจากไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคซาร์
(Severe Acute Respiratory Syndrome) ที่เริ่มต้นจากมณฑลกวางตุ้งของจีนเช่นเดียวกันเมื่อสิบกว่าปีกว่า และก็เป็นไวรัสชนิดเดียวกับ
ที่ก่อให้เกิดโรค
MERS (Middle East Respiratory Syndrome) ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาที่ติดต่อมาจากอูฐ โดยกรณี COVID-19
ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าต้นตอของไวรัสมาจากค้างคาว และพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับงู และตัวนิ่ม รวมแม้กระทั่งมีการลือว่าเป็น
ไวรัสสังเคราะห์โดยฝีมือมนุษย์จากห้องปฎิบัติการ อันที่จริง ไวรัสกลุ่มนี้ ก็คือไวรัสกลุ่มเดียวกับไวรัสตระกูลใหญ่หรือตระกูลหวัด
ที่อยู่กับอารยธรรมมนุษย์มานมนาน และได้ชื่อที่ไพเราะว่า
corona virus เพราะว่ามีหนามแหลมคล้ายมงกุฎบนพื้นผิวของมัน
ซึ่งภาษาจีนได้เรียกขานเจ้าไวรัสนี้ ว่า ซินกวนปิ้งตู๋ หรือไวรัสมงกุฎใหม่ ไวรัสกลุ่มหวัดนี้ โดยธรรมชาติจะมุ่งเป้าการติดเชื้อ
ที่ระบบทางเดินหายใจ โดยกรณีปกติ ก็เป็นสาเหตุของการทำให้เกิดอาการเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไปจนถึง ปวดหัว
ตัวร้อน เป็นไข้ เจ็บคอ โดยอาการปกติก็สามารถทุเลาได้เอง แต่ในกรณีของอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อ
Coronavirus
ในปลายปี 2019 การตระหนักเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ มีขึ้นหลังจากพบว่า มีผู้คนในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยของจีน จำนวนมาก
มีอาการปอดอักเสบรุนแรง และเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการแพร่ระบาดในจีนได้อยู่ในช่วงวิกฤตในช่วง
ปลายเดือน ธ.ค.
2562 จนถึงกลางเดือน มี.ค.2563 โดยกว่าที่สถานการณ์จะเข้าสู่ระยะควบคุมได้ ก็มีผู้ป่วยมากกว่า 80,000 คน
ทั่วประเทศ และเสียชีวิตกว่า
3,000 คน แต่สถานการณ์กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะแม้ว่าสถานการณ์จากจุดแพร่ระบาดเริ่มต้นจะสงบลง
แต่สถานการณ์ที่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น กลับทวีความรุนแรงขึ้น และกระจายไปใน
หลายพื้นที่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นในตะวันออกกลาง จนถึงยุโรปและข้ามมายังทวีปอเมริกา ซึ่งในบางพื้นที่ อาทิ สถานการณ์ในยุโรป
โดยเฉพาะอิตาลี สเปน รวมทั้งประเทศที่ได้รับการประเมินว่า มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลกอย่างสหรัฐอเมริกา กลับมีสถานการณ์
การติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิต อยู่ในระดับที่น่าหวั่นเกรง
องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19 อยู่ในระดับของการแพร่ระบาดในวงกว้าง หรือการระบาดใหญ่ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Pandemic นั่นเอง

อาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19

อาการของผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ในระยะเริ่มต้นจะมีความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน ผู้ติดเชื้อบางรายจะไม่แสดงอาการใดๆ บางรายจะมีอาการ
คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาเจียน หรือท้องเสีย หรือบางรายมีอาการที่รุนแรงขึ้น คือ หายใจถี่ เหนื่อยหอบ
จากข้อมูลของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ
(Centers for Disease Control and Prevention : CDC) ระบุว่า อาการหลักของผู้ที่ติดเชื้อ
COVID-19 ในเบื้องต้น ที่จะแสดงอาการภายใน 2 – 14 วัน คือ
1. มีไข้ อุณหภูมิสูงกว่า 38องศาเซลเซียส หรือ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์
2. เจ็บคอ ไอแห้ง และเสียการรับรู้กลิ่น-รสชาติ
3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยร่างกาย และเมื่อเชื้อเข้าทำลายปอดก็จะมีการหายใจถี่ เหนื่อยหอบ (หากมีอาการดังกล่าว ควรต้องพบแพทย์
เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากเชื้อได้ลงไปทำลายเซลล์และระบบการทำงานของปอด)
ส่วนอาการที่ค่อนข้างขัดแย้งกับอาการติดเชื้อ
COVID-19 คือ การมีน้ำมูก ซึ่งมักเป็นอาการของหวัดธรรมดา และการแพ้อากาศ
โดยอาการเบื้องต้นทั้ง
3+1 อาการนี้ จะแสดงอาการในผู้ป่วยแต่ละคนมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละ
บุคคลสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น หายใจลำบาก ปวดหน้าอก เมื่อร่างกายนำพา
ออกซิเจนมาไหลเวียนในระบบโลหิตไม่พอ ก็จะมีอาการเพ้อหรือขาดสติ ริมฝีปากและใบหน้าหมองคล้ำรวมถึง ภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบ
โดยเชื้อไวรัสนี้จะทำลายการทำงานของปอด หากพบว่าติดเชื้อในระยะหลังแล้ว อาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ไตวาย และเสียชีวิตในที่สุด
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน และผู้ที่ปอดมีการทำงานไม่สมบูรณ์ อาทิ จากสาเหตุการสูบบุหรี่จัด

แนวทางปฎิบัติตนของผู้มีอาการติดเชื้อโดย CDC
1. พักอยู่ที่บ้าน สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการ หรือติดเชื้อ COVID-19 ในระยะเริ่มต้น สามารถฟื้นตัวได้เอง หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ยกเว้นในกรณี
จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์ หลีกเลี่ยงการใช้รถโดยสารสาธารณะ/แท็กซี่ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
2. กันพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนแยกออกจากผู้อื่นในบ้าน (Self-isolate) แยกการใช้พื้นที่ในบริเวณบ้าน ห้องน้ำจากผู้อื่นภายในบ้าน เป็นระยะเวลา 14 วัน
เพื่อให้ผ่านระยะเชื้อฟักตัว และเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีอาการของโรค รวมทั้ง ลดการสัมผัสสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานการติดเชื้อ
COVID-19 ในสัตว์เลี้ยงก็ตาม ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องดูแลหรือสัมผัสสัตว์เลี้ยง ควรล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสสัตว์เลี้ยง
3. ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อรู้สึกไม่สบายและเมื่อต้องอยู่รวมกับผู้อื่น ถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ เนื่องจากปัญหาการหายใจติดขัด
ผู้ที่เข้าใกล้หรือผู้ที่ให้การดูแลผู้ป่วยควรใส่หน้ากากอนามัย
4. เมื่อมีอาการไอ หรือจาม ควรปิดจมูกและปากด้วยกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะ และล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อย่างน้อย
60%
5. ล้างมือบ่อยครั้ง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้า ตา จมูก และปาก
6. การล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ควรล้างมือให้สะอาดใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะเมื่อมีการจาม หรือไอ รวมถึง
ก่อนการเตรียมและก่อนรับประทานอาหาร
7. การใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีปริมาณแอลกอฮลล์อย่างน้อย 60% ควรถูให้รอบทั้งบริเวณฝ่ามือและหลังมือ
จนแห้ง
8. หลีกเลี่ยงการใช้ของภายในบ้านร่วมกัน เช่น จาน แก้วน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนอน และควรล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้าง
9. ทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อยครั้ง ในบริเวณห้องนอน ห้องน้ำของผู้ป่วย ควรทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยๆ เป็นประจำทุกวัน
รวมถึงในพื้นที่หรืออุปกรณ์ที่มีการใช้ร่วมกัน เช่น บริเวณโต๊ะ รีโมทโทรทัศน์ กลอนประตูห้องน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น
10. มั่นตรวจสอบอาการของตนเอง ถ้าหากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ รวมถึงใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกนอกบ้าน
และอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย
6 ฟุต

การรักษาการติดเชื้อไวรัส COVID-19 กรณีของสหรัฐอเมริกา

หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) แนะนำการรักษาในเบื้องต้น หากผู้ป่วยมีอาการไอ
หรือมีไข้ให้ทานยาตามอาการ ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งอาการในเบื้องต้นนี้สามารถหายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล
ทั้งนี้ หากมีอาการรุนแรง หรือหายใจลำบากควรโทรปรึกษาแพทย์หรือหน่วยสาธารณสุขของรัฐทันที นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีไข้
European Medicines Agency (EMA) แนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนประกอบของสาร Acetaminophen (APAP) เช่น ไทลินอล พาราเตมอล
ไม่ควรใช้ยาลดไข้ที่มีส่วนประกอบของสาร
Ibuprofen และ NSAIDs เนื่องจากฤทธิ์ยาจะทำให้ร่างกายผลิตเอมไซม์เคลือบผิวเซลล์ทำให้ไวรัส
สามารถเข้าเซลล์ได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก
(WHO) ยังไม่มีการยืนยันการห้ามใช้ยาลดไข้ที่มีส่วนประกอบของสาร Ibuprofen
และ NSAIDs ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจเกิดเฉพาะรายบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการใช้ยา สำหรับผู้ป่วย
ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ได้โดยตรง แต่ได้มีการประยุกต์ใช้ยาที่มีอยู่แล้วหลายประเภทในการรักษาอาการ
ติดเชื้อในขณะนี้ ได้แก่

ยาต้านไวรัส เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)

Remdesivir (รหัสพัฒนา GS-5734) เป็นยาต่อต้านไวรัสตัวใหม่ในคลาส Analogs นิวคลีโอไทด์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Gilead Sciences
คุณสมบัติดั้งเดิมเพื่อเป็นยาต้านไวรัสอีโบลาและการติดเชื้อไวรัส Marburg บริษัทได้แจกจ่ายยาครั้งแรกให้กับศูนย์การแพทย์ในรัฐวอชิงตัน
ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงจำนวนมากเพื่อทำการศึกษาทดลองนำมาใช้ต้านไวรัส
COVID-19 ดังนั้น จากเว็บไซต์ของ CDC ยา Remdesivir นี้
เป็นยาต้านไวรัสที่เคยมีการรายงานว่าสามารถต้านเชื้ออีโบลาได้เมื่อปี
2557 ทำให้นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจในการศึกษาทดลองยาตัวนี้
เพื่อใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากไวรัสอื่นๆ รวมถึง
COVID-19 ในปัจจุบันผู้ป่วยจาก COVID-19 จำนวนหนึ่งได้รับ Remdesivir เพื่อทดลอง
ประสิทธิภาพของยา โดยการทดลองใช้
Remdesivir ในผู้ป่วยของ U.S. National Institutes of Health (HIH) ซึ่งเพิ่งได้รับการอนุมัติให้
ดำเนินการจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ
(FDA) แล้วเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ Remdesivir กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง
การรักษาการติดเชื้อไวรัส
COVID-19 กรณีของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันโรงพยาบาลในสหรัฐฯ มีการทดลอง Remdesivir ภายใต้โครงการวิจัย
ของ
NIH โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในเมือง Boston ซึ่งพบว่าผู้ป่วยดีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากได้รับ Remdesivir
ผุ้ป่วยเริ่มทานอาหารได้ ไข้ลดลง และไอน้อยลง แม้ว่าแพทย์ยังไม่กล้ายืนยันว่าจะมีผลข้างเคียงอื่นตามาหรือไม่

ยา Chloroquine และ Hydroxychloroquine
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ได้ประกาศเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่น่ายินดีของการใช้ยารักษามาลาเรียสองชนิดที่เรียกว่า
Chloroquine และ Hydroxychloroquine ว่าจะเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อ COCID-19 โดยเขาได้สนับสนุนการใช้ยานี้
อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ
(FDA) ออกแถลงการณ์อย่างรวดเร็วเพื่อชี้แจงว่ายาเหล่านี้ไม่ได้รับการอนุมัติ
ให้ใช้ในการรักษา
COVID-19 ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจาก Coronavirus SARS-CoV-2 ยาทั้งสองชนิดนี้

ยาโลพินาเวียร์ (Lopinavir) และ ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
ยาสองชนิดนี้ หรือรู้จักในชื่อ Kaletra เป็นยาสำหรับใช้รักษาผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งในเกาหลีใต้และไทยได้ใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19
พบว่า มีอาการดีขึ้น หลังจากได้รับยาสองตัวนี้ ทั้งนี้ ยังไม่ได้รับการยืนยันประสิทธิภาพของการใช้ Kaletra ในการรักษาโรค COVID-19
จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยากลุ่มนี้ เป็นยาต้านไวรัส ที่มีการคิดค้นออกมามากในช่วงที่มีการระบาด

ยาฟาวิไฟเรเวียร์ (Favipiravir) หรือ ฟาวิลาเวียร์ (Favilavir) หรือ Avigan
ยานี้ เป็นยาใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ คิดค้นโดยบริษัท Fujifilm Toyama Chemical ญี่ปุ่น ที่ผ่านมา การใช้ยาตัวนี้ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
เนื่องจากมีรายงานถึงประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง แต่ยาตัวนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคอีโบลา รวมถึงโรค
COVID-19 โดยญี่ปุ่นและจีนได้้
ใช้ยาตัวนี้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ พบว่า บรรเทาอาการปอดบวมได้ และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว แต่มีรายงานว่ายานี้ยังไม่มีประสิทธิภาพพอในการ
รักษาผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง ในเดือน ก.พ.
2563 ที่ผ่านมา จีนได้อนุมัติยานี้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 อย่างเป็นทางการและส่งออก
เพื่อช่วยเหลือนานาประเทศ โดยยานี้ ถือว่าเป็นยาที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคติดเชื้อจาก
COVID-19 ทั้งนี้
ไวรัสชนิดนี้ เป็นกลุ่มเดียวกับไวรัส
CORONA ที่ทำให้เกิดไข้หวัด และหวัด แม้ว่า
เมื่อเดือนมี.ค.
2558 แต่ทั้งนี้ ยานี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) สำหรับการรักษาการติดเชื้อ COVID-19
แต่อาจจะมีการพิจารณาเร็วๆ นี้ จากกระแสที่หลายประเทศรับรองคุณสมบัติของยาดังกล่าวโดยเฉพาะจากการทดลองขนาดเล็กที่มีกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน
80 คน เมื่อต้นเดือน มี.ค. 2563 พบว่า Favipiravir มีฤทธิ์ต้านไวรัส COVID-19 มีศักยภาพมากกว่า Lopinavir/Ritonavir เจ้าหน้าที่
ของจีนแนะนำว่า
Favipiravir ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพในการรักษา COVID-19

การตรวจหา COVID-19
การตรวจวินิจฉัยหา COVID-19 มีหลายวิธีซึ่งพัฒนาขึ้นโดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่
2019 ใช้เทคนิคการตรวจในห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า Realtime RT-PCR หรือการตรวจรหัสพันธุกรรมเฉพาะตัวไวรัสอู่ฮั่น
RT คือ Reverse transcriptase เป็นกระบวนการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมอาร์เอ็นเอ (RNA) ของไวรัสให้เป็นสายคู่แบบดีเอ็นเอ (DNA) ก่อน
แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการตรวจแบบ
PCR (Polymerase chain reaction) ซึ่งแม่นยำ เชือถือได้ และใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง

ผู้เข้าข่ายที่ควรรับการตรวจ
ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยและสามารถรักษาตัวได้ด้วยตนเอง แม้ว่ากรมควบคุมโรคติดต่อจะได้กำหนดลักษณะชองผู้ที่ควรได้รับ
การตรวจ COVID-19 การตัดสินใจขึ้นอยู่กับหน่วยงานท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลนั้นๆ ดังนั้น หากสงสัยว่าอาจติดเชื้อ coronavirus เช่น
มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ หรือมีประวัติใกล้ชิดผู้ที่สงสัยติดเชื้อ
COVID-19 ควรติดต่อไปยัง
สถานพยาบาลในพื้นที่และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

สถิติผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในเอเชีย  
สถานการณ์ COVID-19 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ยังถือว่าเป็นที่น่ากังวลในหลายประเทศทั่วโลก บางประเทศสามารถกำหนดมาตรการต่างๆ
เพื่อควบคุมการระบาดได้ บางประเทศยังอยู่ในวิกฤต บทความนี้จะเจาะไปที่ประเทศในทวีปเอเชียที่น่าสนใจในการเผชิญกับวิกฤตในครั้งนี้
โดยเน้นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงสุด
20 ประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านของไทย

จีน
จีนเป็นประเทศจุดเริ่มต้นของการระบาดครั้งนี้และยังเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 สูงที่สุดในทวีปเอเชีย
โดยยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ. และเริ่มชะลอตัวในเดือน ม๊.ค. แม้ว่าหลายฝ่ายจะยอมรับว่ามาตรการเด็ดขาด
ของจีนเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า จีนยังไม่ควรประมาท เพราะ
coronavirus อาจจะกลับมาระบาดได้อีกครั้ง
หากประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ
จำนวนผู้ติดเชื้อ
82,465 คน (3/4/2563)

อิหร่าน
อิหร่านเป็นอีกประเทศที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากิจกรรมทางศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด
เช่น ศาสนสถานแห่งหนึ่งในเมืองกอมทางใต้ของกรุงเตหะรานที่ประชาชนจำนวนมากเข้าไปสักการะ และมีการสัมผัสและจูบผิวของศาสนสถาน
ปัจจุบัน จำนวนผู้ติดเชื้อในอิหร่านยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบุคคลสำคัญของประเทศ เช่น นักการเมือง ติดเชื้อและเสียชีวิตด้วย
COVID-19
จำนวนผู้ติดเชื้อ 50,468 คน (3/4/2563)

ตุรกี
ตุรกีประกาศยืนยันพบผู้ป่วยติดเชื้อ
COVID-19 เป็นรายแรกเมื่อวันที่ 11 มี.ค.63 ซึ่งเป็นชายที่เพิ่งเดินทางกลับจากยุโรป หลังจากนั้น
อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในตุรกีก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับเป็นประเทศที่มีอัตราเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อสูงสุดในโลก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
สาเหตุคือ การเริ่มการตรวจหาผู้ติดเชื้อและการออกมาตรการระงับการเดินทาง และการปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม เริ่มต้นขึ้นช้ากว่าที่ควร
จำนวนผู้ติดเชื้อ
18,135 คน (3/4/2563)

เกาหลีใต้
เมื่อปี
2558 เกาหลีใต้เคยประสบปัญหาการระบาดของ MERS (Middle East respiratory syndrome) จากบทเรียนครั้งนั้น ทำให้เกาหลีใต้้
รู้ว่าสิ่งที่ต้องทำคือ การผลิตอุปกรณ์ตรวจคัดกรองให้มากที่สุดเพื่อตรวจหาและแยกตัวผู้ติดเชื้อออกจากสังคมให้เร็วที่สุด และการใช้
หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการระบาด ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ ทำให้เกาหลีใต้สามารถชะลอการระบาดของ
coronavirus ได้
จำนวนผู้ติดเชื้อ
10,062 คน (3/4/2563)

มาเลเซีย
มาเลเซียมีการออกมาตรการต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตามความท้าทายหนึ่งของประเทศนี้คือ ปัญหาผู้ลี้ภัยกว่า
180,000 คน
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพม่าและกว่า
80,000 คนยังไม่มีการลงทะเบียนและข้อมูลใดๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้อาจจะไม่สามารถเข้าถึงการคัดกรองและการรักษา
ทำให้การควบคุมการระบาดเป็นไปได้ยาก
จำนวนผู้ติดเชื้อ
3,116 คน (3/4/2563)

ฟิลิปปินส์
แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่หากดูจากพื้นที่ของประเทศแล้ว ฟิลิปปินส์มีจำนวนผู้ติดเชื้อค่อนข้างเยอะ
ทำให้ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ต้องใช้มาตรการเด็ดขาดต่างๆ เพื่อให้ประชาชนไม่ออกจากบ้าน รวมถึงการให้อำนาจผู้รักษา
กฏหมายในการสังหารผู้ที่ขัดขืนได้ทันที
จำนวนผู้ติดเชื้อ
2,633 คน (3/4/2563)

ญี่ปุ่น
ในช่วงแรก ญี่ปุ่นทำให้หลายคนประหลาดใจกับจำนวน ผู้ติดเชื้อที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการพยายามรักษาระดับ
จำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
2020 อย่างไรก็ตาม
ญี่ปุ่นก็หนีไม่พ้นชะตากรรม และต้องเริ่มต้นใช้มาตรการปิดประเทศและควบคุมประชากรเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ
จำนวนผู้ติดเชื้อ
2,617 คน (3/4/2563)

อินเดีย
อินเดีย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับหลายคน เพราะทั้งพื้นที่ ความหนาแน่นของประชากร วิถีชีวิตของประชากร ฯลฯ
อินเดียกลับมีจำนวนผู้ติดเชื้อต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐบาลอินเดียก็ไม่นิ่งนอนใจ มีการบังคับใช้มาตรการปิดเมือง
การยกเลิกการเดินทางและบริการต่างๆ ฯลฯ
จำนวนผู้ติดเชื้อ
2,301 คน (3/4/2563)

เวียดนาม – กัมพูชา – พม่า – ลาว
ประเทศเพื่อนบ้านสี่ประเทศนี้ แม้ว่าบางประเทศจะมีพรมแดนติดกับจีน และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกในช่วงเริ่มต้นการระบาด
แต่จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมีจำนวนต่ำมากในระดับหลักสิบและหลักร้อย ไม่น่าแปลกใจที่หลายฝ่ายเกิดความเคลือบแคลงสงสัย
ในตัวเลขที่ทางการรายงาน จึงเป็นกลุ่มประเทศที่ไทยควรจะต้องจับตามอง เพราะไทยมีพรมแดนที่เชื่อมต่อกับทั้ง
4 ประเทศนี้

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-feb2020.pdf

 

 

6 พ.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: