หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนพฤษภาคม 2563
รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนพฤษภาคม 2563
5 ส.ค. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน พฤษภาคม 2563

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในลาตินอเมริกา

เมื่อช่วงปลายปี 2562 ต่อปีใหม่ 2563 โลกทั้งโลกจับตามองการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งเริ่มต้นจากนครอู่ฮั่นในจีน ในช่วยที่แผ่นดินจีน
อยู่ในช่วงฤดูหนาวแล้วค่อยๆ แพร่ระบาดผ่านเพื่อนบ้านในเอเชียอย่างไทย (13 มกราคม) ญี่ปุ่น (16 มกราคม) เกาหลี (20 มกราคม) ในขณะที่
นอกทวีปเอเชียอย่างทวีปยุโรป การแพร่ระบาดเริ่มแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ที่มีนักท่องเที่ยว หรือคนเชื้อชาติจีนเดินทางเข้าไป หรือมีคนชาตินั้นๆ
เดินทางกลับจากจีน อาทิ ฝรั่งเศส (17 มกราคม) รัสเซียและสหรัฐอเมริกา (21 มกราคม) จนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โควิด-19 ได้ค่อยๆ
เจาะเข้าไปในทวีปต่างๆ จนเกือบหมดสิ้น และเริ่มมีกระแสของการกลายพันธุ์ ที่ว่ากันว่าการระบาดที่หนักมากขึ้นในตอนเหนือของอิตาลีของ
ไวรัสที่กลายพันธุ์จะมีความรุนแรงกว่าต้นกว่าต้นตระกูลที่เกิดขึ้นในจีน การแพร่กระจายในยุโรปที่มีตัวเลขพุ่งอย่างน่าตกใจจนวันที่อิตาลีใกล้แซง
ยอดผู้ป่วยจีนขึ้นมาเป็นที่หนึ่ง ตัวเลขยอดผู้ป่วยในซีกโลกใหม่ โดยเฉพาะสหรัฐฯ พุ่งแรงแซงไม่มีประเทศไหนจะเทียบได้ในปัจจุบัน

มาตรการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ของรัฐบาลประเทศในลาตินอเมริกา

ประเทศในลาตินอเมริกาได้ดำเนินการใช้มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาด การตรวจหาเชื้อ การรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

1. มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ของประเทศในลาตินอเมริกา
ได้ใช้แนวทางในการป้องกันเช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยการป้องกันภายในสังคมที่ใช้มาตรการกักตัวอยู่กับบ้านและการรักษา
ระยะห่างทางสังคม การบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้านมาตรการห้ามการเดินทาง หลายประเทศในลาตินอเมริกา ได้ทยอยปิดสนามบิน
นานาชาติ ยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะลาตินอเมริกาที่มีเส้นทางการบินเชื่อมต่อกับอเมริกาเหนือและยุโรปใต้ที่เป็นแหล่งระบาดใหญ่
กรณีของเปรู สั่งปิดพรมแดนทุกช่องทาง รวมถึงประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้าน อนุญาตให้ออกนอกบ้านได้เฉพาะที่จำเป็น เช่น ซื้ออาหาร
ธนาคาร ไปได้ครั้งละ 1 คน/ครอบครัว ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และวันอาทิตย์ห้ามออกจากบ้าน กรณีรัฐบาลเม็กซิโก จัดทำโซนใน
ระบบฐานข้อมูลโดยใช้ระบบสีเป็นเครื่องหมายเริ่มใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2563 แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 พื้นที่สีแดง เมื่อมีระดับผู้เข้ารับการรักษาเนื่องจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ร้อยละหรือมากกว่าร้อยละ 65
ระยะที่ 2 พื้นที่สีส้ม เมื่อมีผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลลดต่ำลงน้อยกว่าร้อยละ 65
ระยะที่ 3 พื้นที่สีเหลือง เมื่อมีผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลลดต่ำลงน้อยกว่าร้อยละ 50 จะมีการผ่อนคลายการกักตัวในที่พักอาศัย
ระยะที่ 4 พื้นที่สีเขียว การกลับเข้าสู่ความปกติใหม่ (New normal) เต็มรูปแบบ เมื่อมีจำนวนผู้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน

2. มาตรการการตรวจและรักษา

การทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก
มาตรการตรวจเชื้อ
ชุดตรวจโควิด-19 ของลาตินอเมริกา ได้รับมาตรฐานของบราซิล สามารถตรวจหาเชื้อภายใน 1 นาที
มาตรการการรักษา
กระทรวงสาธารณสุขอาร์เจนตินาแถลงว่าจะมีการรักษาโรคติดเชื้อโควิด -19 โดยใช้พลาสมาจากผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วและบริจาคโลหิตให้แก่
ธนาคารโลหิตทั่วประเทศมาตรการที่เกี่ยวข้องกับโควิด – 19 ของรัฐบาลประเทศในลาตินอเมริกา
มีการศึกษาวิจัยการใช้วัคซีน BCG ซึ่งเป็นวัคซีนรักษาวัณโรค เพื่อต้านเชื้อโควิด – 19 มีการสกัดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และสารโปรตีนออกจาก
เชื้อโควิด – 19เพื่อพัฒนาในการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและเชื้อโควิด – 19 ในขณะเดียวกัน มาตรการต่อผู้ป่วยที่ปลอดเชื้อแล้ว
ชิลีมีแนวทางการดำเนินการสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีเชื้อโดยรัฐบาลชิลีได้ออกบัตร Discharged Card ให้แก่ผู้ติดเชื้อโควิดที่รักษาหายแล้ว
และ/หรือครบกำหนดกักตัว 14 หรือ 21 วันตามกรณี โดยเป็นบัตรยืนยันบุคคลดังกล่าวปลอดโรคแล้วออกให้สำหรับผู้ที่ออกจากโรงพยาบาล
หรือรักษาโรคหายแล้วเท่านั้น เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติได้

3. มาตรการการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ประเทศในลาตินอเมริกาเป็นกล่มประเทศที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจสูง ในส่วนของรัฐบาลเปรู ได้รับผลกระทบหนัก ได้มีกำหนดการ
เปิดเศรษฐกิจใหม่ 4 ระยะแต่ละระยะมีเวลา 1 เดือน ประเทศเอกวาดอร์ เป็นประเทศที่ลำบากจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้มากที่สุด รายได้หลักจากการ
ส่งออกน้ำมันดิบ ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบตกทำให้เอกวาดอร์ไม่มีเงินที่จะแก้ปัญหาโรคระบาดได้โดยลำพัง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ
IMF ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือฉุกเฉินแก่เอกวาดอร์จำนวน 643 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้รับมือกับการระบาดของโรค  การให้ความช่วยเหลือ
คนไทยในลาตินอเมริกา

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาด ของเชื้อโควิด – 19 ในชิลีและประเทศข้างเคียง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง
และให้กำลังใจพี่น้องชาวไทยในชิลีทุกคนให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด – 19 ไปด้วยกัน “มีสุขร่วมสุข มีทุกข์ร่วมต้าน เดินหน้าก้าวผ่าน ไม่ทอดทิ้งกัน”
สถานเอกอัครราชทูตฯ มอบถุงยังชีพและหน้ากากอนามัยให้แก่พี่น้องชาวไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 เริ่มจาก
ชุมชนคนไทยในกรุงซันติอาโกซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในชิลี และได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการสั่งปิดพื้นที่ การรักษาระยะห่างทางสังคม
และเคอร์ฟิวของรัฐบาล รวมถึงนักท่องเที่ยว และนักเรียนที่ยังกลับไทยไม่ได้

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส

ตั้งแต่พบการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ในช่วงต้นเดือน มีนาคม 2563 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในอาร์เจนตินา
และได้ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์มาตรการที่มีผลกระทบกับคนไทย ข้อควรปฏิบัติในช่วงการแพร่ระบาด และช่องทางการติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
มาอย่างต่อเนื่อง “เราอยู่บ้าน แต่เราไม่ทิ้งกัน” ในช่วงการบังคับใช้มาตรการกักตัว ได้ติดตามความเป็นอยู่ของนักเรียนแลกเปลี่ยนในอาร์เจนตินา
ปารากวัย และอุรุกวัยอย่างใกล้ชิด มีการนัดพบปะนักเรียนผ่านโปรแกรม Zoom ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคล รับฟังและให้คำปรึกษาแก่
ผู้ปกครองนักเรียนทุกท่านที่รอการเดินทางกลับไทย นอกจากนี้ ได้จัดส่งกล่องน้ำใจ ภายในประกอบด้วยอาหารแห้งและของใช้จำเป็นให้แก่นักเรียน
ที่ตกค้าง ในช่วงรอเดินทางกลับไทย ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง สถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS
ในอาร์เจนตินาและอุรุกวัยและคนไทยที่ตกค้างเดินทางกลับไทย โดยแวะต่อเครื่องที่นครเซาเปาลู ซึ่งประสานร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฯ
ณ กรุงบราซิเลีย ในการเดินทางในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย

สถานเอกอัครราชทูต ได้ติดตามสถานการณ์และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ มาตรการสำคัญในรูปแบบ Infographic และ
มาตรการของรัฐบาลไทย ผ่านทาง Facebook รวมถึงได้ตั้งกลุ่ม WhatsApp เพื่อให้กำลังใจและติดตามความเป็นอยู่ของคนไทยในบราซิล และ
การให้ความช่วยเหลือต่างๆ “น้ำใจเล็กน้อยเพื่อคนไทยสู้ภัย COVID-19” การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ในบราซิล ทำให้หลายรัฐประกาศ
ใช้มาตรการกักตัว รักษาระยะห่าง สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ร่วมกับชุมชนไทย จัดทำถุงยังชีพ ให้กับนักเรียนไทยและคนไทยที่ได้รับความ
เดือดร้อน นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ตระหนักถึงความเดือดร้อน ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชี และค่าเช่าที่พักอาศัย โดยร่วมกับ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล ระดมบริจาทุนทรัพย์ส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือคนไทย ตามแนวคิด “คนไทยไม่ทิ้งกัน”
ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง มีการประสานงานช่วยเหลือคนไทยที่ตกค้างที่แวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินเซาเปาโล
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 โดยร่วมช่วยเหลือนักเรียนและคนไทยที่ตกค้างในอาร์เจนตินาและอุรุกวัยเพื่อเดินทางกลับไทย

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา

สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดตามและรายงานพัฒนาการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในเปรู และประเทศในเขตอาณาของ
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ โบลิเวีย โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลาอย่างใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์มาตรการของแต่ละประเทศผ่านทาง
Facebook เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งมอบเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ได้แก่ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
และเจลแอลกอฮอล์ ให้แก่ชุมชนคนไทยในกรุงลิมา ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง นับตั้งแต่การประกาศปิดพรมแดนเข้า-ออก
ทุกช่องทางของเปรูในเดือนมีนาคม 2563 ส่งผลให้มีนักเรียนและนักท่องเที่ยวชาวไทยตกค้างในเปรู สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานหน่วยงาน
ทางการของเปรู ขออนุญาตเดินรถข้ามจังหวัดและการเดินทางออกนอกประเทศ โดยประสานงานร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงบราซิเลีย
และสถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงเม็กซิโก เพื่ออพยพคนไทยทึ่ตกค้างข้ามแดนให้ความช่วยเหลือในการเดินทางกลับไทย

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก

สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้อัพเดทคนไทยในไลน์และ Facebook ทราบทุกวัน และได้จัดส่งอุปกรณ์สำหรับป้องกันไวรัส อาหารแห้งให้แก่คนไทย
ในพื้นที่ด้วย จากการสำรวจพบว่ามีคนไทยตกค้างในเม็กซิโก ทั้งนักเรียนแลกเปลี่ยน นักท่องเที่ยว แรงงานตกงาน สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดส่ง
ถุงยังชีพ หน้ากากอนามัย และอาหารแห้งให้แก่นักเรียนและคนไทยที่ตกค้าง ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง ได้ให้ความ
ช่วยเหลือนักเรียนแลกเปลี่ยนโครงการ AFS โดยได้ตั้งกลุ่มไลน์ แจ้งข่าวสาร จัดหาเที่ยวบิน นอกจานี้ได้ประสานงานจากสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงลิมา เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวตกค้างที่เปรู ในเวลานั้นเปรูได้ประกาศปิดพรมแดนทุกช่องทาง จึงได้อพยพนักท่องเที่ยวไทยที่ตกค้างมายัง
เม็กซิโกแทน เนื่องจากเม็กซิโกยังไม่มีนโยบายปิดน่านฟ้า สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ความช่วยเหลือและจัดหาเที่ยวบินเพื่อเดินทางกลับไทย
อีกทั้งเดือนพฤษภาคม 2563 ได้ประสานสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อส่งคนไทยที่ตกค้างกลับ ใส่วนคนไทยตกค้างคนอื่นยังพยายาม
หาเส้นทางที่เป็นไปได้ให้ โดยหวังว่าจะส่งทุกคนกลับได้ครบภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2563

– โควิด – 19 ในลาตินอเมริกากับเหตุปัจจัยที่หลากหลาย

1.นโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล

การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทั้วลาตินอเมริกาแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของรัฐบาลหลายประเทศ ที่มีขนาดใหญ่ลักษณะการปกครองปกครองแบบหลายรัฐ
เช่น สหพันธสาธารณรัฐบราซิล และสหรัฐเม็กซิโก ซึ่งมีความขัดแย้งในการจัดการในระดับรัฐบาลส่วนกลางและท้องถิ่นของแต่ละรัฐ ความขัดแย้งนี้
ทำให้การดำเนินมาตรการต่างๆ มีความยากลำบาก เนื่องจากไม่สามารถบังคับโดยเบ็ดเสร็จ มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีสาธารณสุข ทำให้การแพร่ระบาด
ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายจำนวนมาก

2.สถานะทางเศรษฐกิจ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่บีบคั้นการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาด เช่น เม็กซิโก ซึ่งผูกติดเศรษฐกิจไว้
กับอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกาและแคนาดา) และมีการหดตัวของเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยมาก่อนระบาดใหญ่ แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโก
ยอมรับว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงสูงกว่าสถิติที่มีการบันทึกหลายเท่า เนื่องจากอัตราการทดสอบของเม็กซิโกทำได้ต่ำกว่าประเทศขนาดใหญ่อื่นๆ
ในลาตินอเมริกา ในทางตรงกันข้ามประเทศที่ผ่านปัญหาทางเศรษฐกิจ และยังติดหนี้ IMF อย่างอาร์เจนตินา รัฐบาลมีความตระหนักในศักยภาพ
ของตนเอง จึงมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว และสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีกว่า ประเทศขนาดใหญ่อื่นๆ ในลาตินอเมริกา
แต่รัฐบาลอาร์เจนตินามีการบริหารจัดการนำเงินมาเยียวยาประชาชนที่ประสบความยากลำบาก รวมทั้งมีการผิดนัดชำระหนี้กับ IMF
ข้อดีของความมีหนี้สิน มีส่วนให้รัฐบาลไม่ประมาทในการวางแผนเศรษฐกิจ เนื่องจาก IMF ก็มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณอยู่เป็นระยะ

3.ศักยภาพและความพร้อมด้านสาธารณสุข

ในความเป็นจริงศักยภาพด้านสาธารณสุขภายในประเทศเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเป็นตัวชี้วัดการพัฒนาเท่าใดนัก การจัดอันดับ Global Health Security (GHS)
ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ ที่จัดอันดับความพร้อมของประเทศที่จะรับมือกับโรคระบาด ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนารายได้ปานกลาง
ประเทศเดียวที่อยู่ในลำดับ 6 จาก 15 ประเทศ ที่มีมาตรฐานระดับชั้นนำ แต่ลำดับประเทศที่แวดล้อมเป็นประเทศพัฒนารายได้สูงเกือบทุกประเทศกำลัง
ผ่านการเผชิญวิกฤตการณ์แพร่ระบาดไปค่อนข้างหนัก 1 สหรัฐอเมริกา 2 สหราชอาณาจักร อันดับ 3 เนเธอร์แลนด์ ลำดับ 4 แคนาดา สวีเดน ฝรั่งเศส
สเปน ประเทศที่มีนโยบายให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพด้านาธารณสุขเป็นพิเศษคือ คิวบา มีความพร้อมและความก้าวหน้าทางการแพทย์สูง
ระดับเยี่ยมของโลก ประชากรเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

4. การเปิดรับชาวต่างประเทศและการเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ลาตินอเมริกาเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชาวยุโรป มีสถานที่สำคัญอาทิ นครริโอ เดอจาเนโร  เปรู เป็นประเทศที่มีอารยธรรม
อินเดียนโบราณ และสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมาชูปิกชู เม็กซิโก เป็นแหล่งอารยธรรมอินเดียนโบราณอันยิ่งใหญ่ของอเมริกากลาง ดังนั้น การนำเข้า
เชื้อไวรัสโคโรนาไปยังลาตินอเมริกา ไม่ได้มาจากแหล่งเดียวในประเทศ แต่เกิดจากการเดินทางเข้าไปของชาวยุโรป หรือการเดินทางของ
คนท้องถิ่นที่กลับมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรปใต้ และสหรัฐอเมริกา

5. ภูมิคุ้มกันของสังคม

ภูมิคุ้มกันของสังคม (resilience) กับภูมิต้านทานโรค (immunity) เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันแต่มีประสิทธิภาพในทางเดียวกัน โรคอุบัติใหม่โควิด-19
ที่ไม่มีประชากรชาติใดมีภูมิต้านทาน ไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ การที่ประเทศหนึ่งจะรอดได้ ปัจจัยสำคัญคือ ภูมิคุ้มกันในสังคม ในฐานะคนไทย
เราคุ้นเคยกับคำว่าภูมิคุ้มกันมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะเมื่อรวมกับความพอประมาณ และความมีเหตุผล นั่นคือ 3 คุณสมบัติของหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงที่พระผู้สถิตอยู่บนฟ้า ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ให้กับพวกเราชาวไทย โดยต้องอาศัยเงื่อนไขประกอบอีก 2 ประการ คือ
ความรู้และคุณธรรม ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่คนไทยเองจะหันมาใส่ใจวัดการพัฒนาประเทศกันที่แก่นความเจริญที่แท้จริง รู้จักอดกลั้น แบ่งปัน
และร่วมมือกันฝ่าเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตผ่านพ้นไปได้ด้วยดีพร้อมกัน

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-may2020.pdf

 

 

5 ส.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: