รู้หรือไม่? การสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยายนยนต์ลดโอกาส การเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุได้เท่าไหร่?
เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ
รู้หรือไม่? การสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยายนยนต์ลดโอกาส การเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุได้เท่าไหร่?
เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ
วิทย์ปริทัศน์ OHESI SCIENCE REVIEW ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565
ขยะ ขยะ ขยะ… แนวทางการกำจัดขยะในอนาคต
Earth day
วันคุ้มครองโลกตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี เป็นวันครบรอบการกำเนิดของการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างความตระหนักในความสำคัญของความยั่งยืนของระบบนิเวศระยะยาว
ขยะและของเสีย
ขยะ/ของเสีย คือ ผลิตภัณฑ์หรือสารที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานอีกต่อไป ของเสียในระบบนิเวศตามธรรมชาติ เช่น ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และอินทรียวัตถุที่ตายแล้ว จะถูกใช้เป็นอาหารหรือสารตั้งต้น
ขยะ/ของเสียสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ขยะ/ของเสียที่ไม่เป็นอันตรายหรือ ขยะมูลฝอย และขยะ/ของเสียอันตราย โดยของเสียอันตรายมักถูกควบคุมในระดับชาติ ส่วนของเสียที่ไม่เป็นอันตราบถูกควบคุมโดยระดับภูมิภาคหรือระดับท้องถิ่น
ขยะ/ของเสียอันตราย คือ ขยะ/ของเสียที่ระบุว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงต้องมีการจัดการที่เป็นพิเศษ มีการกำหนดลักษณะทางเคมีและกายภาพ กระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิล ความไวไฟ การกัดกร่อน ความเป็นพิษ และการระเบิด โดยของเสียที่เป็นของเหลว ก๊าซ จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งการบำบัดด้วยสารเคมี การเผา อย่างปลอดภัย การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล
ขยะ/ของเสียอันตรายชนิดพิเศษ ได้แก่
– การกัมมันตรังสี วัสดุกัมมันตภาพรังสี รวมถึงเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การวิจัยนิวเคลียร์ การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ การขุดแร่หายาก และการนำอาวุธนิวเคลียร์มาแปรรูปใหม่ ซึ่งการจัดการมีความแตกต่างจากของเสียอื่นๆ
– ของเสียทางการแพทย์ที่มาจากระบบการรักษาพยาบาลทั้งของคนและสัตว์ ประกอบด้วย ยา สารเคมี ผ้าพันแผล อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้แล้ว ของเหลวจากร่างกายฯ ของเสียทางการแพทย์อาจจะเป็นสารที่เป็นพิษ หรือมีกัมมันตภาพรังสี หรือมีแบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย หรือที่ดื้อต่อยา สามารถติดเชื้อได้
– ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) เป็นขยะอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ขยะอิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นอันตรายแม้ว่า บางส่วนนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว และโลหะต่างๆ
การจัดการขยะ
วิธีการกำจัดขยะแบบต่างๆ
– ฝังกลบ เป็นวิธีการกำจัดขยะที่นิยมใช้ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการฝังของเสียในดิน มีกระบวนการกำจัดกลิ่นและของเสียที่เป็นอันตรายก่อนที่จะฝังลงดิน แต่ปัจจุบันวิธีการนี้มีการใช้น้อยลง เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอ และการเกิดก๊าซมีเทนและก๊าซอื่นๆ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและปัญหามลพิษทางอากาศและทางน้ำ ส่งผลกระทบทั้งคนและสัตว์
– การเผา เป็นวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยการเผาที่อุณหภูมิสูง ข้อดีคือ สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยได้ถึง 20-30% และลดพื้นที่ในการฝังกลบ เป็นที่นิยมในประเทศ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
– พลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น (Plasma gasification) การใช้พลาสมาที่เป็นก๊าซประจุไฟฟ้าหรือไอออไนซ์สูง ทำให้ขยะ/ของเสียแตกตัวเป็นก๊าซ การจัดการในรูปแบบนี้ให้พลังงานหมุนเวียนและประโยชน์อื่นๆ ที่น่าอัศจรรย์เป็นเทคโนโลยีที่นำไปสู่พลังงานสะอาด
– ปุ๋ยหมัก กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพที่ง่ายและเป็นธรรมชาติ นำของเสียอินทรีย์ เช่น ซากพืชและของเสียทางการเกษตรในครัวเรือน ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดีเยี่ยมให้แก่พืช และเป็นวิธีการกำจัดของเสียที่ดีที่สุด แต่ข้อเสียคือ กระบวนการย่อยของจุลินทรีย์เกิดขึ้นช้าๆ ใช้เวลา และใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก
– การนำกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล กระบวนการนำสิ่งของที่ถูกทิ้ง กลับมาใช้โดยการแปรรูป หรือแปลงให้เป็นพลังงานในรูปของความร้อน ไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิง ส่วนการรีไซเคิลเป็นกระบวนการเปลี่ยนของเสียให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้วัตถุดิบใหม่ แนวคิดเบื้องหลังการรีไซเคิล คือ การลดใช้พลังงาน ลดปริมาณของหลุมฝังกลบ ลดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
แนวทางการแก้ปัญหาขยะในปัจจุบัน
Zero waste หรือ ขยะเป็นศูนย์ ความหมายว่า เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ จากการผลิต การบริโภค การใช้ซ้ำ Zero waste ครอบคลุมทั้งวงจรของผลิตภัณฑ์หรือวัสดุ การได้มา การผลิต การบริโภค และการไม่มีขยะส่งไปยังหลุมฝังกลบ เตาเผาขยะ หรือมหาสมุทร
Zero Waste
3Rs – หลักของ Zero Waste
Reduce : การลดปริมาณขยะ ลดการใช้ เลี่ยงการทิ้งผลิตภัณฑ์หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการลดการใช้วัสดุที่เป็นพิษ กำจัดตัวเลือกผลิตภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งและเปลี่ยนไปใช้ตัวเลือกที่ใช้ซ้ำได้แทน
Reuse : การนำกลับมาใช้ใหม่ บำรุงรักษา ซ่อมแซม การใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้ซ้ำ การถอดแยกชิ้นส่วน ฯ เป็นเป้าหมายที่ครอบคลุมทั้งในระดับการผลิตและผู้บริโภค
Recycle : การรีไซเคิลมีบทบาทสำคัญของ Zero Waste การรีไซเคิลเป็นการเปลี่ยนของเสีย ของที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้กลับมาเป็นสิ่งมีประโยชน์ ทั้งนี้ การรีไซเคิลยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากวัสดุและผลิตภัณฑ์ ที่ใช้งานในปัจจุบันมีความหลากหลาย นอกจากนี้ การรีไซเคิลรวมถึง การหมักทำปุ๋ย/ขยะย่อยสลาย เช่น เศษผัก เปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก กระบวนการทางธรรมชาติทำให้ของเสียมีค่า หมุนเวียนจากอาหารไปสู่ปุ๋ยหมักอีกครั้ง
Recycle
การรีไซเคิลช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หรือวัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ เช่น กระดาษ หากไม่มีรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ ทรัพยากรต้นไม้อาจถูกใช้หมด ประโยชน์ที่สำคัญของการรีไซเคิล คือ ลดขยะในหลุมฝังกลบและเตาเผา ซึ่งสร้างมลพิษต่อดิน น้ำ และอากาศของโลก ประหยัดพลังงาน และเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
กระบวนการรีไซเคิล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวม การแปรรูป และการผลิตซ้ำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
ขั้นตอนที่ 1 : การรวบรวม (Processing) – การรวบรวมขยะรีไซเคิล รวมถึงการรวบรวมการส่งกลับศูนย์ การมัดจำ หรือการส่งคืนขวดและรับเงินคืน
ขั้นตอนที่ 2 : การดำเนินการ (Processing) – หลังจากรวมขยะรีไซเคิลแล้ว ขยะจะถูกส่งไปที่ศูนย์เพื่อคัดแยก ทำความสะอาด และแปรรูปเป็นวัสดุที่สามารถใช้ในการผลิตได้ สินค้าบางชนิดต้องมีการประมวลผลเพิ่มเติมสำหรับการคัดแยกและการขจัดสิ่งปนเปื้อนเพิ่มเติม เช่น แก้วและพลาสติก จะส่งไปโรงงานแปรรูป เพื่อบดละเอียด
ขั้นตอนที่ 3 : การผลิตซ้ำ (Remanufacturing) หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว รีไซเคิลจะทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โรงงานรีไซเคิลหรือโรงงานอื่น เช่น โรงงานกระดาษหรือโรงงานผลิตขวด
Energy recovery
ขยะเปียก ขยะมูลฝอย และของเสียเป็นก๊าซ เป็นปัญหา ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต้นทุนต่ำนี้ ผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ สารตั้งต้นชีวภาพ พลังงานความร้อน และพลังงานไฟฟ้า
การแปลงวัสดุเหลือใช้ให้กลับนำมาใช้ใหม่หรือที่เรียกว่า ‘Waste to Energy’ เช่น
-พลังงานที่ได้จากการเผาไหม้ :
การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่จากการเผาไหม้ของขยะมูลฝอยจากแหล่งชุมชนเป็นลำดับการจัดการขยะที่ไม่เป็นอันตราย แต่ยังสามารถผลิตพลังงานจะกระบวนการเผาขยะได้ด้วย
-การย่อยสลายขยะอินทรีย์ของแบคทีเรีย :
ขยะอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ หรือผลิตภัณฑ์ของเหลือทางการเกษตร พืชที่มีน้ำตาลและแป้ง รวบรวมในถังที่ปราศจากออกซิเจน ใช้เชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic bacteria) ย่อยสลายวัสดุเหล่านี้ ผ่านกระบวนการหมักเพื่อสร้างไบโอแอลกอฮอล์ เอทานอล บิวทานอล และโพรพานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้
-การแปลงเป็นก๊าซหรือเชื้อเพลิงเหลว :
ชีวมวลสามารถเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซหรือของเหลวได้โดยผ่านการแปรสภาพเป็นก๊าซ (Gasification) และไพโรไลซิส (Pyrolysis) ซึ่งการทำให้เป็นก๊าซ (Gasification) เป็นกระบวนการที่ทำให้ชีวมวลที่เป็นของแข็ง ผ่านอุณหภูมิสูง เพื่อผลิตก๊าซสังเคราะห์ (Synthesis gas) หรือ Syngas) ที่เป็นส่วนผสมประกอบด้วยคาร์บอนมอนอกไซต์และไฮโดรเจน ก๊าซสามารถเผาในหม้อต้มแบบธรรมดาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ ยังใช้แทนก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันก๊าซแบบ Combined-cycle gas turbine
ไพโรไลซิส (Pyrolysis) ใช้กระบวนการที่คล้ายกับการแปรสภาพเป็นก๊าซแต่สภาวะการทำงานต่างกัน โดยชีวมวลจะถูกให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า เพื่อผลิตน้ำมันชีวภาพดิบ ซึ่งใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือดีเซลในเตาเผา กังหัน และเครื่องยนต์เพื่อการผลิตไฟฟ้า
นวัตกรรมปฏิวัติการจัดการขยะในอนาคต
การจัดการขยะอัจฉริยะเป็นการใช้ Internet of Things (IoT) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบ รวบรวม และติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรวบรวมขยะและกระตุ้นนวัตกรรมในอนาคต
ถังขยะอัจฉริยะ
เพื่อลดปัญหาการแยกขยะไม่ถูกหรือ ไม่เหมาะสมนี้ มีการพัฒนาถังขยะอัจฉริยะที่ใช้การจดจำวัตถุโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อแยกขยะรีไซเคิลออกเป็นช่องต่างๆ โดยอัตโนมัติ แล้วเครื่องจะบีบอัดขยะและตรวจสอบว่าแต่ละถังเต็มแค่ไหน เมื่อเต็มถังจะส่งสัญญาณไปยังศูนย์ เพื่อดำเนินการจัดเก็บ ถังขยะอัจฉริยะช่วยขจัดความผิดพลาดการคัดแยกของคน ทำให้การแปรรูปวัสดุเร็วและง่ายขึ้นสำหรับโรงงานรีไซเคิล สามารถลดต้นทุนการจัดการขยะได้มากถึง 80%
ท่อลมส่งขยะ
พื้นที่เขตชุมชนเมืองขยายตัวและเติบโตรวดเร็ว การจัดการขยะจำเป็นต้องมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับปริมาณขยะ จึงเกิดเป็นแนวคิดการติดตั้งถังกำจัดขยะแบบท่อลมที่เชื่อมต่อกับท่อใต้ดินหลายชุด ขยะจะไหลผ่านท่อไปยังโรงงานเก็บขยะเพื่อแยก ระบบนี้ขจัดความจำเป็นในการรวบรวมของเสียแบบเดิมๆ ลดต้นทุนด้านพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม
หุ่นยนต์รีไซเคิล AI
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จำนวนพนักงานที่ลดลงในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เพื่อตอบสนองความต้องการ หุ่นยนต์รีไซเคิลขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์เป็นทางออกที่ดีเยี่ยม ที่ได้มีการออกแบบเพื่อให้สามารถระบุและคัดแยกวัสดุรีไซเคิลได้แม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพและลดความต้องการแรงงานมนุษย์ ช่วยประหยัดเงินของศูนย์รีไซเคิล และยังช่วยเปลี่ยนเส้นทางวัสดุที่จบลงในหลุมฝังกลบได้มากขึ้น
เซ็นเซอร์วัดระดับขยะ
บ้านและภาคธุรกิจทั่วประเทศใช้บริการเก็บขยะรายสัปดาห์มานานหลายทศวรรษแล้ว เพื่อช่วยลดการเดินทางไปและกลับ ระหว่างแหล่งชุมชนและหลุมฝังกลบ บริษัทและชุมชนสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์วัดระดับขยะในถังทุกขนาด โดยอุปกรณ์จะรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าควรจัดเก็บขยะจากแหล่งใดบ่อย และช่วยป้องกันขยะล้นออกนอกถังขยะด้วย นอกจากนี้ สามารถติดเซ็นเซอร์หรือกลไกการชั่งน้ำหนักรถบรรทุกขยะ เพื่อคาดการณ์ระดับการบรรจุและลดการเดินทางและลดต้นทุนการรวบรวมรายปี
เครื่องอัดขยะพลังงานแสงอาทิตย์
เครื่องอัดขยะพลังงานแสงอาทิตย์สามารถเก็บขยะได้มากกว่าถังขยะแบบเดิมถึง 5 เท่า เครื่องจะบีบอัดขยะเพื่อเพิ่มความจุของถังขยะ
แอพรีไซเคิล
การคัดแยกขยะปนเปื้อน ไม่สามารถเข้าศูนย์รีไซเคิลได้ องค์กรต่างๆ ได้เผยแพร่แอพ เช่น RecycleNation และ iRecycle ที่ให้ข้อมูลผู้ใช้เกี่ยวกับอัตราการรีไซเคิลและที่ตั้งศูนย์ และรายการใดบ้างที่สามารถรีไซเคิลได้
ตู้ขยะอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป จอภาพ ทีวี ลำโพง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่พัฒนาออกมาประกอบด้วยสารเคมีและโลหะ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท ที่เป็นสารพิษอันตราย หากจัดการที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นอันตรายต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งหลายบริษัทได้เริ่มโครงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่าคืน เพื่อแลกอุปกรณ์เครื่องใหม่ บริษัท ecoATM ได้สร้างตู้รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้เป็นเงินสดทันที แม้จะไม่ได้เสนอเงินสดให้สำหรับอุปกรณ์ที่แตกหักหรือไม่สามารถใช้งานได้เสมอไป แต่ก็รับโทรศัพท์ แท็บเล็ต และเครื่องเล่น MP3 ในทุกสภาวะ นำกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสม
ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (DOE) ประกาศระดมทุนสูงถึง 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดขยะและลดพลังงาน จำพวกถุงพลาสติก พลาสติกคลุมอาหาร และฟิล์ม โดยมุ่งไปที่เทคโนโลยีการรีไรเคิลพลาสติก เพื่อให้ DOE จัดการกับความท้าทายการรีไซเคิลขยะพลาสติก ในการสร้างเศรษฐกิจพลังงานสะอาดและรับรองว่าสหรัฐฯ จะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2593
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/ost-sci-review-mar2022.pdf
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565)
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ฉบับนี้นำเสนอเนื้อหาในภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับใช้ภายในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือเป็นการเสนอแนะแนวปฏิบัติวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ได้ตามระดับความพร้อม ซึ่งเนื้อหาได้อ้างอิงจากกฎหมาย มาตรฐาน ข้อเสนอแนะ และแนวทางการดำเนินงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเท่านั้น
ดาวน์โหลด เอกสารแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
มาดูกันครับว่าหมวกนิรภัยที่ใช้กันอยู่ มีความปลอดภัยอยู่ในระดับใด แบบไหนใช้แล้วปลอดภัยที่สุด
เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะคะ
วิทย์ปริทัศน์ OHESI SCIENCE REVIEW ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2565
อำนาจการควบคุมของ ‘สมอง’
รู้จักสมองของเรา
สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนควบคุมความคิด ความจำ อารมณ์ สัมผัส การมองเห็น การหายใจ อุณหภูมิ ความหิว และทุกกระบวนการที่ควบคุมร่างกาย
สมองมีน้ำหนักประมาณ 1.36 กิโลกรัม สมองไม่ใช่กล้ามเนื้อ แต่เต็มไปด้วยหลอดเลือดและเส้นประสาท รวมเซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เนื้อสมองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 สี คือ ส่วนที่เป็นสีเทา อยู่ส่วนนอกที่มีสีเข้มกว่า และส่วนที่เป็นสีขาว อยู่ด้านใน
ส่วนที่เป็นสีเทานั้น ทำหน้าที่ควบคุมข้อมูลที่รับและส่งออก เนื่องจากมีเซลล์ของเซลล์ประสาทอยู่ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และการให้ความรู้สึก ส่วนที่เป็นสีขาว ซึ่งเป็นเส้นใยใช้ส่งสัญญานไปยังส่วนอื่นๆ ของสมองไขสันหลัง และร่างกาย
รู้จักศัพท์ทางประสาท
– นิวรอน (Neuron) หรือเซลล์ประสาท
– แอกซอน (Axon) เป็นเส้นใยที่ใช้ส่งสัญญาณไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อแอกซอนรวมตัวกันเป็นมัดเรียกว่าเส้นประสาท
– ไมอีลิน (Myelin) เยื่อหุ้มประสาทที่ช่วยให้การนำข้อมูลจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอื่นรวดเร็วขึ้น
– นิวโรแทรนสมิตเทอร์ (Neurotransmitter) สารสื่อประสาท เป็นสารเคมีที่เซลล์ประสาทผลิตขึ้น เพื่อนำสัญญาณจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาท โดยผ่านช่องว่างไซแนปซ์
– ไซแนปซ์ (Synapse) หรือช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเนื้อ หรือเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท
สมองส่วนต่างๆ และหน้าที่
สมองมีการรับ-ส่งสัญญาณเคมีและไฟฟ้าทั่วร่างกาย โดยสัญญาณที่แตกต่างกัน กระบวนการแตกต่างกัน และสมองจะตีความแตกต่างกันออกไป กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ระบบประสาทส่วนกลางต้องอาศัยเซลล์ประสาทหลายพันล้านเซลล์ เพื่อให้ร่างกายมีการตอบสนอง ไม่ว่าจะเป็นอาการเหนื่อย หรือรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งข้อความบางอย่างถูกเก็บไว้ในสมอง ขณะที่ข้อความอื่นจะถูกส่งต่อผ่านกระดูกสันหลังและเครือข่ายเส้นประสาทของร่างกายไปแขนขา
สมองคนเราแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ซีรีบรัม (Cerebrum) ก้านสมอง (Brainstem) และซีรีเบลลัม (Cerebellum)
ซีรีบรัม (Cerebrum)
ซีรีบรัม เป็นส่วนของสมองที่ใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ประสาทสัมผัส การมองเห็น รวมถึงการเรียนรู้ การคิดและการให้เหตุผล การแก้ปัญหาและอารมณ์ ซีบรัม แบ่งย่อยได้ 4 ส่วน ได้แก่
– สมองส่วนหน้า (Frontal Lope) เป็นกลีบสมองที่ใหญ่ที่สุด อยู่ด้านหน้าศีรษะ โดย ทำงานเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพ การเคลื่อนไหว การตัดสินใจ การรู้กลิ่น และความสามารถในการพูด
– สมองพาไรเอทัล (Parietal lope) อยู่บริเวณตรงกลางของสมอง ทำงานเกี่ยวกับการรับรู้ ความรู้สึกสัมผัส ความเจ็บปวด การรับรู้ภาพ เสียง และภาษา
– สมองส่วนหลัง (Occipital lope) ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็น
– สมองส่วนขมับ (Temporal lope) อยู่ด้านข้างของสมอง ทำงานเกี่ยวกับความจำระยะสั้น คำพูด เสียง และการรับรู้กลิ่นในระดับหนึ่ง
ซีรีเบลลัม (Cerebellum)
ซีรีเบลลัม หรือสมองน้อย มีขนาดราวกำปัน อยู่บริเวณด้านหลังศีรษะ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และความสมดุล จากการวิจัยพบว่า ซีรีเบลมีบทบาทสำคัญด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมทางสังคมด้วย
ก้านสมอง (Brainstem)
ก้านสมอง เชื่อมต่อซีรีบรัมกับไขสันหลัง ก้านสมองประกอบด้วย สมองส่วนกลาง พอนส์ (Pons) และไขกระดูก
– สมองส่วนกลาง หรือ มีเซนเซฟาลอน (Mesencephalon) มีหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน การเคลื่อนไหว และการตอบสนอง
– พอนส์ (Pons) เป็นแหล่งกำเนิดของเส้นประสาทสมอง 4 ใน 12 เส้น ซึ่งช่วยให้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น การฉีกขาด การเคี้ยว การกะพริบตา การโฟกัสการมองเห็น การทรงตัว การได้ยิน และการแสดงออกทางสีหน้า
– ไขกระดูก (Medulla) บริเวณด้านล่างของก้านสมอง เป็นที่ที่สมองไปบรรจบกับไขสันหลัง ไขกระดูกมีความสำคัญต่อการอยู่รอด หน้าที่ควบคุมกิจกรรมของร่างกาย จังหวะการเต้นของหัวใจ การหายใจ การไหลเวียนของเลือด และระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
สารเคมีที่สำคัญต่อสมอง
สื่อประสาท (Neurotransmitters) และฮอร์โมน (Hormone)
สารสื่อประสาท หรือนิวโรแทรนสมิตเทอร์ (Neurotransmitter) เป็นสารที่ช่วยให้เซลล์ประสาททั่วร่างกายสามารถสื่อสารกันได้ ทำให้สมองทำหน้าที่ต่างๆ ได้หลากหลายจากกระบวนการส่งผ่านสารสังเคราะห์ทางเคมีนี้ สารสื่อประสาทมีความสำคัญต่อชีวิต นับตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของพัฒนาการ รวมถึง การเติบโตของเซลล์ประสาท และการพัฒนาวงจรประสาท
ฮอร์โมน (Hormone) ผลิตจากระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ ต่อมใต้สมอง ไพเนียลไทมัส ไทรอยด์ ต่อหมวกไต ตับอ่อน รวมถึง อัณฑะและรังไข่ ฮอร์โมนมีผลต่อกระบวนการต่างๆ มากมายในร่างกาย เช่น การเติบโตและพัฒนาการเมตาบอลิซึม อารมณ์
ตัวอย่างสารสื่อประสาทและฮอร์โมนที่สำคัญในภาพรวม
อะดรีนาลีน (Adrenaline) หลั่งโดยต่อมหมวกไตอยู่ด้านบนของไตแต่ละข้าง อะดรีนาลีนจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้รูม่านตาขยายมีปริมาณสูงในการตอบสนองต่อการเอาตัวรอด การต่อสู้ หรือหนี
นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) เป็นสารสื่อประสาทและฮอร์โมน เชื่อมโยงกับความกลัว ความเครียด และกระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว
โดพามีน (Dopamine) สารแห่งความสุข เปรียบเสมือนสารเสพติดที่สมองต้องการปลดปล่อยเมื่อมีความรู้สึกพึงพอใจ ได้ทำในสิ่งที่ชอบ จากกิจกรรมหรืออาหารที่ชอบ ไม่ใช่แค่สารเคมีเพื่อความสุขเท่านั้น แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ การตัดสินใจ การเคลื่อนไหว ความสนใจ ความจำในการทำงาน และการเรียนรู้
ออกซิโตซิน (Oxytocin) เป็นสารสื่อประสาทและฮอร์โมน ถูกปล่อยออกมาเมื่อคุณอยู่ใกล้บุคคลอื่น การสร้างความสัมพันธ์ บางครั้งออกซิโตซินถูกเรียกว่า ฮอร์โมนแห่งความรัก
กาบา (GABA: Gamma-Aminobutyric Acid) เป็นสารสื่อประสาทที่สกัดกั้นกระแสประสาทระหว่างเซลล์ในสมอง ช่วยให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และเกิดความสมดุลในสมอง
แอซิติลโคลีน (Acetylcholine) เป็นสารสื่อประสาทหลัก มีหน้าที่เกี่ยวกับกระตุ้นกล้ามเนื้อให้หดตัว การเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งหมดเกี่ยวข้องกับสื่อประสาทนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในการรับรู้และความจำ
กลูตาเมต (Glutamate) เป็นสารสื่อประสาทที่มีมากที่สุดในระบบประสาทของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เซลล์ประสาทใช้กลูตาเมตเพื่อส่งสัญญาณไปยังเซลล์อื่นๆ หากมีมากเกินไปอาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญา
เอนเดอร์ฟิน (Endorphins) เสมือนยาแก้ปวดตามธรรมชาติของร่างกาย ตอบสนองต่อความเจ็บปวดหรือความเครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ร่ายกายจะหลั่งสารเมื่อออกกำลังกาย เต้นรำ ร้องเพลง
เซโรโทนิน (Serotonin) สารแห่งความสุขที่เชื่อมโยงกับความเป็นอยู่ที่ดี มีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของอารมณ์ วงจรการนอนหลับ และการย่อยอาหาร เซโรโทนินเพิ่มขึ้นจากการออกกำลังและสัมผัสกับแสงแดด
ความรู้สึก อำนาจจากการควบคุมของสมอง
ตัวอย่างความรู้สึกที่เกิดจากการควบคุมของสมอง
การหัวเราะ ยาขนานเอกช่วยให้สุขภาพดี รู้สึกเบิกบาน คนเราเริ่มหัวเราะตั้งแต่อายุ 3 เดือน หัวเราะก่อนที่จะมีการเรียนรู้ที่จะพูด การหัวเราะเป็นกลไกธรรมชาติ การหัวเราะ ยังไม่มีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ โดยคาดว่า เกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่กำหนดการตอบสนองทางอารมณ์
การหัวเราะจะช่วยลดระดับคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกายในกระแสเลือดลดลง แทนที่ด้วยสารเคมีในสมอง ได้แก่ โดปามีน ออกซิโทซิน และเอ็นดอร์ฟิน การหัวเราะช่วยให้การทำงานของภูมิคุ้มกันดีขึ้น สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น ความวิตกกังวลลดลง ความรู้สึกปลอดภัย และอารมณ์ดี ทำให้สมองปลอดโปร่ง มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง
การร้องไห้ เป็นปรากฎการณ์ที่มีลักษณะของมนุษย์ ตอนสนองตามธรรมชาติ ตั้งแต่โศกเศร้าถึงความสุขสุดขีด การร้องไห้เกิดจากการทำงานหลายส่วน ทั้งในซีรีบรัมที่รับรู้ถึงความโศกเศร้า ระบบต่อมไร้ท่อจะถูกกระตุ้นเพื่อปล่อยฮอร์โมนไปยังบริเวณดวงตา ซึ่งทำให้เกิดน้ำตา รวมถึงกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system: PN) การร้องไห้ส่งผลดีต่อสุขภาพเหมือนเป็นยาระบายปลดปล่อยความเครียด ความเจ็บปวดทางอารมณ์ และกระตุ้นการปล่อยสารเคมีในสมอง เช่น ออกซิโทซิน
ความรัก เป็นสิ่งที่วัฒนธรรมบนโลกให้ความสำคัญ เห็นได้ชัดเจนจากคำสอนทางศาสนา นวนิยาย การ์ด บทเพลง รวมถึงวาเลนไทน์ หลายคนจะได้ยินคำพูดที่ว่า ความรักไม่มีเหตุผล เป็นความรู้สึกพิเศษที่มาจากใจ ไม่สามารถอธิบายได้ เป็นความรู้สึกที่มาจากจิตใจ มากกว่าการใช้สมองคิดไตร่ตรอง แต่ทางวิทยาศาสตร์ความรักเป็นกลไกเกิดขึ้นจากสมองโดยตรง เหมือนความรู้สึกอื่นๆ ที่สามารถอธิบายได้ด้วยปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย จากการศึกษาของทีมวิทยาศาสตร์โดย ดร. Helen Fisher นักมานุษยวิทยาชีวภาพ แบ่งความรักเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความหลง/ความปรารถนา (Lust) ความรัก (Attraction) และความผูกพัน (Attachment) ความรักทำให้โลกสดใสเป็นสีชมพู แต่ก็มีด้านมืดมาพร้อมกัน ความรักมักมาพร้อมกับความหึงหวง ความไร้เหตุผล
การใช้กัญชาทางการแพทย์
การใช้กัญชาทางการแพทย์ในสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่อนุญาตให้ครอบครอง และใช้กัญชา สารสกัด CBD (ที่มี THC น้อยกว่า 0.3%) ได้ภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ การใช้กัญชายังขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละรัฐ มี 37 รัฐ เขตอาณา 4 แห่ง และกรุงวอชิงตัน กำหนดให้ใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อการรักษาบางโรคถูกต้องตามกฎหมาย เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) โรคเอดส์ โรคโครห์น โรคลมบ้าหมู ต้อหิน เส้นโลหิตตีบและกล้ามเนื้อกระตุก อาการปวดอย่างรุนแรงและเรื้อรัง อาการคลื่นไส้หรืออาเจียนรุนแรงจากการรักษามะเร็ง การพิจารณาการใช้การรักษาด้วยกัญชา ต้องมีคำแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ที่มีใบอนุญาตในรัฐที่สามารถใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย ผู้ป่วยต้องมีเงื่อนไขเข้าเกณฑ์สำหรับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ถึงจะสามารถเข้ารับการรักษา หรือซื้อกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ได้
การศึกษาวิจัยด้านสมองในสหรัฐฯ
21st Century Cures Act
21st Century Cures Act เป็นพระราชบัญญัติ ที่ได้ลงนามในกฎหมายในสมัยประธานาธิบดี
โอบามา เพื่อช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และนำเสนอนวัตกรรมและความก้าวหน้าใหม่ๆ แก่ผู้ป่วยที่ต้องการอย่างรวดเร็ว เพื่อศึกษา 4 โครงการนวัตกรรมขั้นสูง ได้แก่
– All of us Research Program (เดิมชื่อโครงการ PMI Cohort) โครงการสร้างฐานข้อมูล ที่สามารถให้ข้อมูลการศึกษาหลายพันเรื่องเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงของโรคบางชนิด การพิจารณาว่าการรักษาแบบใดได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีภูมิหลังต่างกัน
– Cancer Moonshot โครงการศึกษาเกี่ยวกับมะเร็ง ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และการแชร์ข้อมูล ประธานาธิบดีไบเดน ได้กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการ ในการลดอัตราการเสียชีวิตของโรคมะเร็งลงอย่างน้อย 50% ในอีก 25 ปีข้างหน้า และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยรอดชีวิตจากมะเร็ง
– Regenerative Medicine Innovation Project ที่จะสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกร่วมกับองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากผู้ใหญ่เพื่อส่งเสริมด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
– Brain Ressearch through Advancing Innovative Neurotechnologies (BRAIN) Initiative เพื่อศึกษาระบบการทำงาน จัดเก็บ และดึงข้อมูลออกมาใช้ของสมอง ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยและรักษาความผิดปกติทางระบบประสาทและจิตใจ
BRAIN Initiative
สมองของคนเราประกอบด้วยเซลล์ประสาทเกือบ 100 พันล้านเซลล์ ที่มีการเชื่อมโยงกัน 100 ล้านล้านเครือข่ายนั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์และความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดด้านการแพทย์ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทและจิตเวช ส่งผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว และสังคม ดังนั้น การช่วยเหลือผู้ป่วย สิ่งสำคัญคือ นักวิจัยต้องมีเครื่องมือและข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อทำความเข้าใจกลไกการทำงานของสมองและเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างไร
Brain Research Through Advancing Innovation Neurotechnologies Initiative (BRAIN Initiative) เป็นโครงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมองของมนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ จะเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างภาพไดนามิกของสมองที่แสดงให้เห็นว่าเซลล์แต่ละเซลล์มีปฏิสัมพันธ์ภายในวงจรประสาทที่ซับซ้อน แนวทางวิธีใหม่ในการรักษาโรค การป้องกันความผิดปกติของสมอง เข้าใจกระบวนการทำงานของสมอง ทั้งการบันทึกการประมวลผล ใช้ประโยชน์ และดึงข้อมูลจำนวนมหาศาลออกมาใช้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/ost-sci-review-feb2022.pdf
นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565-2570 ฉบับนี้ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มาตรา 9 (1) บัญญัติให้คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.)มีหน้าที่และอำนาจ เสนอนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 42 และมาตรา 43 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นี้ใช้เป็นแผนแม่บท ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาพรวมที่ครอบคลุมในทุกมิติ และเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ มาตรา 9 (3) บัญญัติให้คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีหน้าที่และอำนาจ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สำหรับเป็นแผนแม่บทในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยซเบอร์ในสถนการณ์ปกติและในสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดหรือเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยแผนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติ และกรอบนโยบายและแผนแม่บทที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ในปี 2565 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/world-digital-competitiveness/ โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้
ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2564-2565 โดย IMD
ประเทศ | เดนมาร์ก | สหรัฐอเมริกา | สวีเดน | สิงคโปร์ | สวิตเซอร์แลนด์ | ไทย | ||||||
ปี | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 |
อันดับรวม | 1 | 4 | 2 | 1 | 3 | 3 | 4 | 5 | 5 | 6 | 40 | 38 |
1. ความรู้ | 6 | 8 | 4 | 3 | 2 | 2 | 5 | 4 | 1 | 1 | 45 | 42 |
1.1 ความสามารถพิเศษ | 5 | 5 | 14 | 13 | 6 | 7 | 3 | 2 | 2 | 3 | 37 | 39 |
1.2 การฝึกอบรมและการศึกษา | 7 | 4 | 23 | 24 | 4 | 2 | 9 | 13 | 8 | 7 | 57 | 56 |
1.3 ความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ | 17 | 17 | 1 | 2 | 2 | 4 | 11 | 11 | 8 | 8 | 36 | 36 |
2. เทคโนโลยี | 7 | 9 | 9 | 4 | 5 | 8 | 1 | 3 | 12 | 11 | 20 | 22 |
2.1 โครงสร้างการควบคุม | 6 | 4 | 12 | 12 | 2 | 3 | 1 | 5 | 8 | 9 | 34 | 29 |
2.2 เงินทุน | 14 | 13 | 2 | 1 | 7 | 5 | 11 | 14 | 12 | 12 | 20 | 19 |
2.3 โครงสร้างเทคโนโลยี | 6 | 6 | 13 | 9 | 9 | 13 | 2 | 2 | 11 | 11 | 18 | 22 |
3. ความพร้อมในอนาคต | 1 | 2 | 3 | 1 | 4 | 6 | 10 | 11 | 7 | 3 | 49 | 44 |
3.1 ทัศนคติที่ปรับตัวได้ | 5 | 4 | 4 | 1 | 7 | 5 | 17 | 11 | 12 | 10 | 52 | 53 |
3.2 ความคล่องตัวทางธุรกิจ | 1 | 7 | 4 | 1 | 10 | 13 | 9 | 12 | 7 | 4 | 41 | 34 |
3.3 การรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ | 1 | 1 | 10 | 3 | 4 | 5 | 8 | 7 | 6 | 4 | 50 | 43 |
เดนมาร์กได้อันดับ 1 เลื่อนขึ้น 3 อันดับจากปีที่แล้ว รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ถัดมาเป็นสวีเดน มีอันดับ 3 เหมือนปีที่แล้ว สิงคโปร์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ อันดับ 5 คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับจากปีที่แล้ว ส่วนไทยได้อันดับ 40 ลดลงจากปีที่แล้ว 2 อันดับ
เดนมาร์กได้อันดับ 1 ในปีนี้ เลื่อนขึ้น 3 อันดับจากปีที่แล้ว เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยความรู้ เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ 2. ปัจจัยเทคโนโลยี เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ 3. ปัจจัยความพร้อมในอนาคต เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้เกิดจากการยังคงรักษาอันดับ 5 และ 17 ไว้ได้ทั้งในปีนี้และปีที่แล้วของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษและปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ และการเลื่อนอันดับลง 3 อันดับ จากอันดับ 4 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา ตัวชี้วัดที่ทำเกิดการรักษาอันดับไว้ได้ทั้งปีนี้และปีที่แล้วของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ คือ ตัวชี้วัดการประเมินนักเรียนนานาชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) วิชาคณิตศาสตร์ ที่ยังคงรักษาอันดับ 12 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว และตัวชี้วัดที่ทำให้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ยังคงรักษาอันดับได้เหมือนปีแล้ว คือ ตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมดต่อคน และตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิง ที่ยังรักษาอันดับ 2 และ 32 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ตามลำดับ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของ 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา ตัวชี้วัดความสำเร็จของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และตัวชี้วัดผู้หญิงที่ได้รับปริญญา โดยเฉพาะตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา เลื่อนอันดับลง 3 อันดับ เป็นอันดับ 10 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 7 ส่วนปัจจัยเทคโนโลยี มีอันดับเลื่อนขึ้น เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม และปัจจัยย่อยเงินทุน 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 4 และ 13 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 6 และ 14 ในปีนี้ ตามลำดับ และการยังคงรักษาอันดับ 6 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้วของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม เลื่อนอันดับลง คือ ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 17 อันดับ จากอันดับ 25 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 42 ในปีนี้ ทำให้ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนลงมากที่สุด การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยเงินทุนเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดหุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาดทางสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 อันดับ ในปีนี้มีอันดับ 54 ส่วนปีที่แล้วมีอันดับ 50 ทำให้ตัวชี้วัดหุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาดทางสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำสุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว การยังคงรักษาอันดับไว้ได้เหมือนปีที่แล้วของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงและขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดทั้งหมดซึ่งมี 6 ตัวชี้วัด โดยที่ตัวชี้วัดเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวชี้วัดบรอดแบนด์ไร้สาย และตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มีอันดับเลื่อนลงเล็กน้อย ในขณะที่ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวชี้วัดความเร็วการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต และตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทค มีอันดับเลื่อนขึ้นเล็กน้อย ปัจจัยความพร้อมในอนาคต เลื่อนอันดับขึ้น เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ 6 อันดับ จากอันดับ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจมีอันดับเลื่อนขึ้น คือ ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค และตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 5 และถึง 7 อันดับ เป็นอันดับ 1 และ 6 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด
สหรัฐอเมริกา ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 2 ในปีนี้ เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยทั้งหมด ได้แก่ 1. ปัจจัยความรู้ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ 2. ปัจจัยเทคโนโลยี เลื่อนอันดับลง 5 อันดับ เป็นอันดับ 9 ในปีนี้ 3. ปัจจัยความพร้อมในอนาคต เลื่อนอันดับลง 2 อันดับ เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ 1 อันดับ จากอันดับ 13 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 10 ในปีนี้ ของตัวชี้วัดทักษะทางด้านเทคโนโลยีหรือดิจิทัล ทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษเลื่อนอันดับลง ปัจจัยเทคโนโลยี มีอันดับเลื่อนลง เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีเป็นหลัก ที่เลื่อนอันดับลง 4 อันดับ จากอันดับ 9 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 13 การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของ 5 ตัวชี้วัดจากทั้งหมด 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวชี้วัดบรอดแบนด์ไร้สาย ตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทค โดยเฉพาะตัวชี้วัดเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ และตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มีอันดับเลื่อนลง 6, ถึง 15 และถึง 12 อันดับ เป็นอันดับ 21, 28 และ 35 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต เลื่อนอันดับลง เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 7 อันดับ จากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 10 ตัวชี้วัดที่มีผลให้ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอันดับเลื่อนลง คือ ตัวชี้วัดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และตัวชี้วัดความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 7 และ 5 อันดับ จากอันดับ 11 และ 22 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 18 และ 27 ในปีนี้ ตามลำดับ
สวีเดน มีอันดับ 3 เหมือนปีที่แล้ว เนื่องมาจากการยังคงรักษาอันดับ 2 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้วของปัจจัยความรู้ ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยเทคโนโลยี และปัจจัยความพร้อมในอนาคต มีอันดับเลื่อนขึ้น 3 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 5 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ การยังคงรักษาอันดับไว้ได้ของปัจจัยความรู้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษและปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 1 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 6 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ และการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา 2 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่ทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษเลื่อนอันดับขึ้น ได้แก่ ตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศ และตัวชี้วัดบุคลากรที่มีทักษะสูงเรื่องต่างประเทศ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 2 อันดับเท่ากัน เป็นอันดับ 3 และ 17 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับขึ้นของตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมดต่อคน ตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิง ตัวชี้วัดผลิตผลทางการวิจัยและพัฒนาในรูปของสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และตัวชี้วัดการศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ โดยเฉพาะตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมดต่อคน มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ เป็นอันดับ 8 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์มีอันดับเลื่อนขึ้น การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดการฝึกหัดพนักงาน 4 อันดับ จากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 ในปีนี้
สิงคโปร์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ เป็นผลจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 1 อันดับ เป็นอันดับ 1 และ 10 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 3 และ 11 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยความรู้มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากอันดับ 4 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 5 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยเทคโนโลยีมีอันดับดีขึ้น คือ ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม และปัจจัยย่อยเงินทุน ที่มีอันดับดีขึ้น 4 และ 3 อันดับ จากอันดับ 5 และ 14 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 1 และ 11 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุมเลื่อนอันดับขึ้นเนื่องจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นเป็นหลักของตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองถึง 18 อันดับ จากอันดับ 61 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 43 ในปีนี้ ทำให้ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้ปัจจัยย่อยเงินทุนมีอันดับเลื่อนขึ้น คือ ตัวชี้วัดการร่วมลงทุน ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความพร้อมในอนาคตเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ 3 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 9 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่ทำให้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจมีอันดับเลื่อนขึ้น คือ ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค ตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท ตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics และตัวชี้วัดการถ่ายทอดความรู้ โดยเฉพาะตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท และตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics มีอันดับเลื่อนขึ้น 3 อันดับเท่ากัน เป็นอันดับ 10 และ 11 ในปีนี้ ตามลำดับ
อันดับ 5 คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับจากปีที่แล้ว เนื่องจากการยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้วของปัจจัยความรู้ และการเลื่อนอันดับลง 1 และ 4 อันดับ จากอันดับ 11 และ 3 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 12 และ 7 ในปีนี้ ของปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต ตามลำดับ การยังคงรักษาอันดับไว้ได้ของปัจจัยความรู้เป็นผลมาจากการยังคงรักษาอันดับไว้ได้ของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ที่อันดับ 8 เหมือนปีที่แล้ว ตัวชี้วัดที่ทำให้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ยังคงรักษาอันดับไว้ได้ คือ ตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมดต่อคน ที่ยังคงรักษาอันดับ 4 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ปัจจัยเทคโนโลยีเลื่อนอันดับลงเนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม 1 อันดับ จากอันดับ 9 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 8 ในปีนี้ และการยังคงรักษาอันดับ 12 และ 11 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้วของปัจจัยย่อยเงินทุนและปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ตามลำดับ ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุมเลื่อนอันดับขึ้นเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดการเริ่มต้นธุรกิจ ตัวชี้วัดการบังคับใช้สัญญา และตัวชี้วัดการพัฒนาและโปรแกรมใช้งานของเทคโนโลยี การยังคงรักษาอันดับไว้ได้ของปัจจัยย่อยเงินทุนเกิดจากการยังคงรักษาอันดับไว้ได้เหมือนปีที่แล้วของตัวชี้วัดการให้ทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี ตัวชี้วัดการประเมินความน่าเชื่อถือของประเทศ และตัวชี้วัดการร่วมลงทุน ที่อันดับ 9, 1 และ 11 ตามลำดับ ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยียังคงรักษาอันดับไว้ได้เหมือนปีที่แล้วเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นและลงของตัวชี้วัดทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 6 ตัวชี้วัด โดยที่ตัวชี้วัดเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และตัวชี้วัดความเร็วการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต มีอันดับเลื่อนขึ้น 1, 2 และ 1 อันดับ เป็นอันดับ 7, 11 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวชี้วัดบรอดแบนด์ไร้สาย และตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทค มีอันดับเลื่อนลง 5, 4 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 11, 42 และ 33 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนลงเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปจจัยย่อยทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ และปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอันดับเลื่อนลง 2, 3 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 12, 7 และ 6 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้เลื่อนอันดับลง คือ ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน ที่เลื่อนอันดับลงถึง 22 จากอันดับ 4 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 26 ในปีนี้ ทำให้ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนลงมากที่สุด ตัวชี้วัดที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเลื่อนอันดับลง คือ ตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท ตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics และตัวชี้วัดความกลัวของผู้ประกอบการต่อความล้มเหลว โดยเฉพาะตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท มีอันดับเลื่อนลง 3 อันดับ เป็นอันดับ 9 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอันดับเลื่อนลง คือ ตัวชี้วัดความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 8 อันดับ เป็นอันดับ 15 ในปีนี้
ปีนี้ไทยได้อันดับ 40 ลดลงจากปีที่แล้ว 2 อันดับ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้และปัจจัยความพร้อมในอนาคต 3 และ 5 อันดับ จากอันดับ 42 และ 44 ในที่แล้ว เป็นอันดับ 45 และ 49 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยเทคโนโลยี มีอันดับเลื่อนขึ้น 2 อันดับ จากอันดับ 22 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 20 ดังนั้นไทยยังคงต้องพัฒนาด้านความรู้และด้านความพร้อมในอนาคต เนื่องจากยังคงมีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีในปีนี้และมีอันดับลดลงจากปีที่แล้ว และทั้งสองปัจจัยเป็นเหตุทำให้ไทยจัดอยู่ในอันดับ 40 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากซึ่งมีทั้งอันดับต่ำในปีนี้และปีที่แล้ว คือ 1. ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา อยู่ภายใต้ปัจจัยความรู้ ที่เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ จากอันดับ 56 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 57 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 2. ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ อยู่ภายใต้ปัจจัยความพร้อมในอนาคต มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 53 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 52 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา คือ ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา และตัวชี้วัดจำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย มีอันดับ 59 และ 56 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 50 และ 55 ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีที่แล้ว ตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีผลต่อปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดการค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต และตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต มีอันดับ 46 และ 58 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 50 และ 57 ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ตเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีนี้ ถึงแม้ปัจจัยเทคโนโลยีมีอันดับจัดอยู่ในระดับปานกลางทั้งปีนี้และปีที่แล้ว แต่มีตัวชี้วัดภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม ปัจจัยย่อยเงินทุน และปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาอย่างมาก คือ ตัวชี้วัดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม ตัวชี้วัดการให้ทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและตัวชี้วัดการประเมินความน่าเชื่อถือของประเทศภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุน และตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ที่มีอันดับ 43, 40, 41 และ 44 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนตัวชี้วัดที่ได้รับการพัมนาขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมาก ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 9 อันดับ จากอันดับ 59 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 50 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา ปัจจัยความรู้ 2. ตัวชี้วัดการให้ทุนสิทธิบัตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 11 อันดับ จากอันดับ 42 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 31 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยความรู้ ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีอันดับดีมากในปีนี้ คือ ตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิงที่ยังคงครองอันดับดีที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว โดยได้อันดับ 6 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยความรู้ และตัวชี้วัดการลงทุนในโทรคมนาคม ที่มีอันดับ 7 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วมีอันดับ 10 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุน ปัจจัยเทคโนโลยี
สำหรับไทยยังคงต้องพัฒนาอีกหลายตัวชี้วัดดังได้กล่าวมาแล้ว เนื่องจากปีนี้มีอันดับ 40 ซึ่งเป็นอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดี โดยเฉพาะด้านการเป็นเจ้าของแท็บเล็ตและด้านความสามารถความปลอดภัยทางไซเบอร์ของรัฐบาล ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำสุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีนี้ อยู่ที่อันดับที่ 57 ในปีนี้ เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับดีขึ้นมาก
ทีมรณรงค์สวมหมวกนิรภัย นำความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของหมวกนิรภัย และการเลือกใช้หมวกนิรภัยมาฝากค่ะ
เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะคะ