ตอนที่ 22 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

คุณเสกสรร พาป้อง ผลงานเรื่อง “Developing a Research Framework and Methodology of Social Life Cycle Assessment in Thailand”

คุณปริญญา จันทร์หุณีย์ และคณะ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ช่วยพ่นยาชนิดทำได้ด้วยตนเอง”

คุณวุฒินันต์ หลงเจริญ และคณะ ผลงานเรื่อง “NavTU : แอปพลิเคชันนำทางบนมือถือแอนดรอยด์สำหรับผู้พิการไทยทางการมองเห็น”

Professor Dr. Timothy William Flegel ผลงานเรื่อง “การพัฒนาวิธีการตรวจแบคทีเรียสาเหตุกุ้งตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS)”

คุณสมบัติ รักประทานพร ผลงานเรื่อง “การพัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสในกุ้งด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดี”

วิธีสร้างสไลด์สำหรับการนำเสนองานวิจัย

1. ใช้ตัวอักษรเท่าที่จำเป็น
จำไว้ว่าผู้ฟังกำลังฟังและดูการนำเสนอ ถ้าใช้ตัวอักษรมากในสไลด์ ผู้ฟังส่วนใหญ่จะสนใจอ่านมากกว่าฟัง

2. ใช้รูปภาพ
ในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอักษร ถ้าใช้รูปภาพผู้ฟังจะสามารถฟังได้อย่างต่อเนื่องง่ายขึ้นในขณะที่ดูสไลด์

3. Control the pace of new information
อย่าใช้หัวข้อที่สรุปเนื้อหาในสไลด์ ตัวอย่างเช่น หัวข้อ Protein A is required for proper heart function ผู้ฟังจะรู้ทันทีผลของการทดลอง และผู้ฟังอาจหยุดฟัง ให้พูดถึงคำถามเกี่ยวกับงานวิจัยหรือการทดลองแทน

4. คำแนะนำอื่น ๆ
ถ้าใช้ตัวอักษร ต้องแน่ใจว่าผู้ฟังอ่านตัวอักษรได้อย่างง่าย
– ตรวจสอบการสะกดคำให้ถูกต้อง
– ทำให้มีเนื้อที่ว่างระหว่างบรรทัดหรือ paragraphs ควรใช้ช่องว่างระหว่างบรรทัด 10 pt
– ทำให้โครงสร้างไปในทางเดียวกัน ถ้ารายการเนื้อหาเป็นประโยคที่สมบูรณ์ ต้องทำให้เนื้อหาทั้งหมดเป็นประโยคที่สมบูรณ์ด้วย
– ใช้ตัวอักษรที่ดูเป็นมืออาชีพและชัดเจน และมีขนาดใหญ่ สามารถอ่านง่ายในขณะที่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ฟังที่อยู่ด้านหลังห้องขนาดใหญ่สามารถมองเห็น ควรใช้ตัวอักษรอย่างน้อยขนาด 24

โดยสรุป สไลด์ต้องไม่อธิบายตัวเอง การนำเสนอที่ดีต้องการผู้นำเสนอสื่อสารรายละเอียดที่สำคัญให้ผู้ฟัง ทำให้สไลด์แนะนำเรื่องราวที่ผู้นำเสนอต้องการสื่อสาร แต่สไลด์ต้องไม่สื่อสารเรื่องราวโดยตัวเอง

ที่มา: Ben Mudrak. How to Build Great Slides for Your Research Presentation. Retrieved January 13, 2021, from https://www.aje.com/arc/writing-slides-for-your-research-presentation/

การศึกษาวัฏจักรชีวิตของการใช้พลังงานไปสู่ภาคขนส่ง และการคำนวณเปรียบเทียบรอยเท้าคาร์บอนในการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เชื้อเพลิงยานยนต์ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงชีวภาพ

ประเทศไทยถูกจัดอันดับโดยดัชนีความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศโลก (Global Climnate Risk Index) ประจำปี พ.ศ. 2564 (Global Climate Risk Index 2021 ให้มีความเปราะบางและความเสี่ยงสูงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันดับ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ รัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นต่อประชาคมโลกในการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 การลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก (GHGs) เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงอาจเป็นภาระที่ประเทศจะมิอาจปฏิเสธได้อีกต่อไป

ภาคพลังงานไทย โดยภาคการขนส่งเป็นอีกหนึ่งสาขาที่มีสัดส่วนการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก(GHGs) สูงถึงร้อยละ 18.81 ของปริมาณการปลดปล่อยฯรวมในปี ค.ศ. 2016 เป็นรองเพียงสาขาการผลิตพลังงาน (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2563) ดังนี้ ภาครัฐจึงกำหนดมาตรการสำคัญต่างๆ เพื่อลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกในภาคการขนส่งไทยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) และมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV โดยกำหนดเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ซึ่งหมายรวมถึงเชื้อเพลิงชีวภาพ ต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 และกำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าที่ไม่ปลดปล่อยมลพิษ (ZEV) ภายในปี พ.ศ. 2578 ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งมาตรการการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) และยานยนต์ไฟฟ้า (EV ต่างเป็นเทคโนโลยีภาคการขนส่งทางถนนที่มีศักยภาพในการลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกภาคขนส่ง

อย่างไรก็ตาม เชื้อเพลิงชีวภาพมีกระบวนการเพาะปลูกและการแปรรูป ขณะที่ยานยนต์ไฟฟ้าต้องการการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมจากแหล่งพลังงานต่างๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม หรืออย่างน้อยก็แตกต่างจากกรณีเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานของยานยนต์สันดาปภายใน (ICE) ทั่วไป ดังนั้น การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นใหม่หรือที่อาจเพิ่มขึ้นจากมาตรการเหล่านี้จึงมีความสำคัญ และสามารถวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบได้ด้วยการใช้การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA)

การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) ภายใต้การศึกษานี้ อยู่บนพื้นฐานแนวคิด “การวิเคราะห์จากแหล่งกำเนิดสู่การขับเคลื่อน (Well-to-Wheel: WtW)” ซึ่งจำแนกการพิจารณาวัฏจักรชีวิตพลังงานเชื้อเพลิงภาคขนส่งออกเป็น 2 ส่วน คือ “การวิเคราะห์จากแหล่งกำเนิดสู่ถังเชื้อเพลิง (Well-to-Tank: WtT)” และ “การวิเคราะห์จากถังเชื้อเพลิงสู่การขับเคลื่อน (Tank to-Wheel: TtW)” ซึ่งสามารถวิเคราะห์การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้ครอบคลุมตลอดวัฏจักรชีวิตเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่ง โดยไม่รวมวัฏจักรชีวิตของยานยนต์

งานวิจัยนโยบายองค์กร
ฝ่ายบริหารกลยุทธ์และนโยบายองค์กร

 

ตอนที่ 21 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.อัชฌา กอบวิทยา และคณะ ผลงานเรื่อง “เลนส์มิวอาย นวัตกรรมใหม่ของกล้องจุลทรรศน์แบบพกพา”

ดร.อุมาพร เอื้อวิเศษวัฒนา ผลงานเรื่อง “Climate change adaptation strategy through application of biofloc technology for the improvement of productivity and environmental sustainability of white shrimp Litopenaeus vannamei production in South East Asia”

ดร.แสงจันทร์ เสนาปิน ผลงานเรื่อง “Current and emerging infectious diseases in fish and shrimp: Emphasis on molecular characterization, pathogenesis and detection” และ “การศึกษาชีววิทยาโมเลกุลกุ้ง ด้วยเทคนิคยีสต์ทูไฮบริด”

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ และคณะ ผลงานเรื่อง “มะเขือเทศรับประทานผลสดลูกเล็กที่ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง”

ดร.สุวดี ก้องพารากุล และคณะ ผลงานเรื่อง “แผ่นยางทำความสะอาดน้ำมันแบบใช้ซ้ำ”

ศ.นพ.นพพร สิทธิสมบัติ ผลงานเรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการสร้างวัคซีนลูกผสม 4 ชนิดเพื่อป้องกันไข้เลือดออก”

ตอนที่ 20 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.สาทินี ซื่อตรง ผลงานเรื่อง “ดำเนินงานวิจัยด้านการศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ราทะเลที่พบในป่าชายเลนของประเทศไทย” และ “ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการในระดับโมเลกุลของราทะเลกลุ่มโดทิดิโอไมซีส (Dothideomycetes)”

ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์ ผลงานเรื่อง “High Precision Sound Absorber”

ดร.ศรชล โยธิยะ และคณะ ผลงานเรื่อง “Modified Coating Process for Septal Defect Closure Device” และ “เครื่องเคลือบฟิล์มบางแบบสปัตเตอร์ริง”

ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล และคณะ ผลงานเรื่อง “ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลว เพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน (Dispensing Closure for Glug-Free Pouring)”

ดร.พิทักษ์ เอี่ยมชัย และคณะ ผลงานเรื่อง “OnSpec VULCAN: เครื่องเคลือบฟิล์มบางสำหรับชิปขยายสัญญาณรามาน”

ดร.วิรัลดา ภูตะคาม ผลงานเรื่อง “การศึกษากระบวนการตอบสนองของปะการังต่อการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการังในน่านน้ำไทยเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” และ “การค้นหาและจีโนไทป์ เครื่องหมายโมเลกุลสนิปแบบทั่วทั้งจีโนมด้วยเทคโนโลยี genotyping-by-sequencing (GBS)”

ดร.สุรภา เทียมจรัส ผลงานเรื่อง “ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะสำหรับสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย”

ตอนที่ 19 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.พรรณรำเพย นามพระจันทร์ ฟรานซ์ ผลงานเรื่อง “Making yeast-based, and measles-based vaccine candidates’ vaccine against Porcine Epidemic Diarrhea Virus (PEDV)”

ดร.พรกมล อุ่นเรือน ผลงานเรื่อง “การพัฒนาและออกแบบกระบวนการทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อผลิตพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน” และ “Development of biorefinery technology to mitigate effects of climate change and to promote bio-based economy and sustainability”

ดร.นพพล คบหมู่ ผลงานเรื่อง “Insights from Population Genomics to the Evolution of Host Specificity in Insect Fungi (GenoSpec)”

คุณปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล และคณะ ผลงานเรื่อง “กระบวนการเตรียมของผสมยางธรรมชาติและซิลิกาด้วยเทคนิค in situ sol-gel”

ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาระบบสารรักษาสภาพน้ำยางไร้แอมโมเนียสำหรับผลิตภัณฑ์จุกนมยาง”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ผลงานเรื่อง “ENZbleach : เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก”

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม 2564

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม 2564

มาตรการและเครื่องมือที่ใช้เพื่อส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายและข้อกำหนดภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55”

          มาตรการภายใต้กฎระเบียบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (European Emission Trading System, EU ETS)

ETS คืออะไร: กฎระเบียบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (European Emission Trading System, EU ETS) เป็นกลไกทางกฎหมายที่ตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมการผลิตพลังงาน โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานทำซีเมนต์ โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตกระดาษ และอุตสาหกรรมการบิน ที่มีการใช้พลังงานและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูง

จุดประสงค์:

ผลักดันให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพทางพลังงาน เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เช่น การลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งทางถนนผ่านการลงทุนในยานพาหนะที่มีการปล่อยก๊าซฯ เป็นศูนย์การพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานและการปรับปรุงอาคารบ้านเรือน

การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ ETS ภายใต้ชุดร่างกฎหมาย Fit for 55:

– ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ภายใต้ ETS ให้ได้ร้อยละ 61 ภายในปี ค.ศ. 2030 คือต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้ ETS ทุกปีในอัตราร้อยละ 4.2 ต่อปี

– ภาคการขนส่งทางถนน: จะมีการจัดตั้งระบบการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ETS) แยกจากภาคการขนส่งทางถนน และอาคารบ้านเรือน

– ภาคการขนส่งทางอากาศ: มีแนวโน้มจะลดโควตาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในสาขาการบินลง และจะซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในสาขานี้สู่ระบบประมูลซื้อ (Full auctioning of allowances)

– ภาคการขนส่งทางทะเล: มีกำหนดโควตาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่า 5,000 ตันที่ต้องการเข้าจอดเทียบท่าเรือในสหภาพยุโรป

– กลไกการปรับค่าคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism, CBAM): สินค้า 5 ประเภทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ได้แก่ ซีเมนต์ อะลูมิเนียม ปุ๋ย เหล็กและเหล็กล้า และไฟฟ้า

– การนำ CBAM ไปใช้ในทางปฏิบัติ: ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องลงทะเบียนเพื่อซื้อใบแสดงสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CBAM certificate) ซึ่งราคาจะถูกคำนวณจากราคาเฉลี่ยรายสัปดาห์ของการประมูลโควต้าการปล่อยคาร์บอนของ ETS หน่วยเป็น ยูโร/การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน

          กฎระเบียบว่าด้วยการกำหนดสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศสมาชิก (Effort Sharing Regulation, ESR)

ESR คืออะไร

เป็นกฎระเบียบเพื่อกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การขนส่งทางถนน ระบบสร้างความร้อนให้แก่อาคาร เกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการจัดการขยะ ใช้หลักการคำนวณเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อมูลค่า GDP ของแต่ประเทศ แทนเป้าหมายใน Effort Sharing Decision

ระบบ Bank and Borrow:

จุดประสงค์:

เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคส่วนที่ไม่ได้ครอบคลุมอยู่ในระบบ EU ETS (European Union Emission Trading System)

การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ ESR ภายใต้ชุดร่างกฎหมาย Fit for 55:

– ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ภายใต้ ESR ให้ได้ร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030

– เนื่องจากการใช้ GDP เพียงอย่างเดียวเพื่อคำนวณเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง จึงเสนอให้มีการปรับเป้าหมายให้มีสัดส่วนประสิทธิภาพต่อต้นทุน (cost-effectiveness) ที่เหมาะสมขึ้นแต่ละประเทศสมาชิกฯ

– การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคส่วนของการขนส่งทางถนนและอาคารบ้านเรือนจะถูกควบคุมภายใต้กฎระเบียบทั้ง ETS และ ESR เนื่องจากการลดการปล่อยก๊าซฯ ในสองภาคส่วนนี้ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

          กฎระเบียบการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และป่าไม้ (land use, land-use change and forestry, LULUCF)

LULUCF คืออะไร

เป็นกฎระเบียบที่ควบคุมการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้ และการทำการเกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศน์และการใช้ทรัพยากรที่ดิน เช่น ควบคุมการถางป่า (indirect land use change) หรือนำพื้นที่ที่เคยใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น (direct land use change) มาใช้ปลูกพืชไบโอดีเซล (biodiesel crops) เพื่อส่งออก หรือนำไปผลิตเป็นพลังงาน รวมถึงการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้

จุดประสงค์

ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับคาร์บอนเพื่อมุ่งพัฒนาสู่ภูมิภาคที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050

การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ LULUCF ภายใต้ชุดร่างกฎหมาย Fit for 55:

– เสนอให้มีการกำหนดเป้าหมายในการดูดซับคาร์บอนที่ปล่อยจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้ จุดมุ่งหมายคือ การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Sink ให้ได้อย่างต่ำ 310 ล้านตัน ภายในปี ค.ศ. 2030

– การใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ และเกษตรกรรมจะต้องไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2035

– ระบบการเฝ้าติดตาม การรายงาน และการตรวจสอบปริมาณการปล่อยและการดูดซับคาร์บอนจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ และเกษตรกรรม โดยใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์และระบบรับส่งสัญญาณทางไกล เพื่อให้การติดตามบรรลุเป้าหมาย มีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากขึ้น

          มาตรการในภาคการขนส่ง

– กฎระเบียบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเชื้อเพลิงทางเลือก (Alternative Fuels Infrastructure Regulation) โดยจะต้องติดตั้งสถานีชาร์จไฟและเติมเชื้อเพลิงให้แก่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในระยะทางทุก ๆ 60 กิโลเมตร พร้อมทั้งติดตั้งสถานีเติมก๊าซไฮโดรเจนแก่รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนในทุก ๆ 150 กิโลเมตรบนทางหลวงสายหลัก สำหรับการเดินทางระยะสั้นและระยะยาว

– คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอให้มีการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่มีคาร์บอนต่ำเพิ่มมากขึ้นในภาคการขนส่งทางทะเลอีกทั้งเครื่องบินและเรือขนส่งจะต้องเข้าถึงแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่สะอาดในท่าเรือและสนามบินหลักได้

          มาตรการในการจัดตั้งกองทุนให้เงินอุดหนุน

– การจัดตั้ง Social Climate Fund: กองทุนนี้ส่งเสริมมาตรการและการลงทุนในภาคส่วนของอาคารบ้านเรือนและการขนส่งซึ่งมีปริมาณการปล่อยเรือนกระจกที่สูง กลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มครัวเรือน วิสาหกิจขนาดเล็ก และผู้ใช้บริการขนส่ง

– การจัดตั้ง Innovation Fund: กองทุนส่งเสริมนวัตกรรม หรือ Innovation Fund เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมายคือ บริษัทและธุรกิจ เพื่อนำไปลงทุนด้านเทคโนโลยีสะอาด โดยเฉพาะด้านพลังงานหมุนเวียน แหล่งเก็บพลังงาน และการดักจับและกักเก็บคาร์บอน พร้อมทั้งช่วยสร้างงานในตลาดเพิ่มมากขึ้น

– การจัดตั้ง Modernisation Fund: เป็นกองทุนช่วยสนับสนุนประเทศที่มีรายได้ต่ำ เป้าหมายนำเงินไปช่วยเหลือลงทุนด้านการพัฒนาและการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงาน แหล่งกักเก็บพลังงาน ระบบพลังงาน และช่วยเหลือพื้นที่ที่ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลให้สามารถเปลี่ยนผ่านมาใช้พลังงานสะอาดได้ โดย 10 ประเทศคือ บัลแกเรีย โครเอเชีย เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย และสโลวาเกีย

มาตรการอื่น ๆ

จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์แห่งยุโรปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้คำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ และรายงานเกี่ยวกับมาตรการของอียู

ทิศทางการสนับสนุนงานวิจัย

จากร่างชุดกฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Green Deal สหภาพยุโรปจะส่งเสริมให้งบวิจัยแก่งานวิจัยและเทคโนโลยีที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55” เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานไฮโดรเจน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สถานีชาร์จไฟอัจฉริยะ แบตเตอรีสำหรับกักเก็บพลังงาน และการรักษาและเพิ่มพูนความหลากหลายทางชีวภาพ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210917084720-pdf.pdf

 

 

ผลการจัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรม ประจำปี 2564 โดย WIPO (Global Innovation Index 2021)

ในปี 2564 WIPO ได้จัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรมของ 132 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ https://www.wipo.int/global_innovation_index/en/2021/?gclid=EAIaIQobChMI6f6Mrq3l9AIVS5lmAh2Saw98EAAYASAAEgIih_D_BwE โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย WIPO

 ประเทศ  สวิตเซอร์แลนด์  สวีเดน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ไทย
ปี 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563
อันดับรวม 1 1 2 2 3 3 4 4 5 10 43 44
1. สถาบัน 13 13 9 11 12 9 15 16 28 29 64 65
1.1 สภาพแวดล้อมด้านการเมือง 3 2 8 10 19 16 21 25 18 24 54 51
1.2 สภาพแวดล้อมด้านการควบคุม 7 7 13 13 12 11 9 8 57 52 112 113
1.3 สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจ 47 47 16 16 2 2 12 12 10 10 20 20
2. ทุนมนุษย์และการวิจัย 6 6 2 3 11 12 10 10 1 1 63 67
2.1 การศึกษา 24 31 4 6 41 45 28 35 22 28 86 87
2.2 อุดมศึกษา 21 18 25 28 45 45 18 15 13 16 57 58
2.3 การวิจัยและพัฒนา 3 4 5 6 2 2 9 9 1 1 47 46
3. โครงสร้างพื้นฐาน 2 3 3 2 23 24 10 6 12 14 61 67
3.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 15 21 22 13 9 9 2 1 1 2 60 79
3.2 โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป 24 25 6 4 18 15 40 38 11 10 48 50
3.3 ความยั่งยืนด้านนิเวศวิทยา 2 2 17 15 55 59 14 14 50 49 68 67
4. ความซับซ้อนของตลาด 6 6 11 12 2 2 4 5 18 11 27 22
4.1 เครดิต 7 6 17 17 1 1 10 8 12 10 24 21
4.2 การลงทุน 10 7 16 21 9 13 5 5 65 42 64 31
4.3 การค้า การแข่งขัน และขนาดตลาด 46 27 24 30 18 1 3 4 16 12 19 25
5. ความซับซ้อนของธุรกิจ 4 2 1 1 2 5 21 19 7 7 36 36
5.1 คนทำงานที่มีความรู้ 5 4 3 3 4 5 14 16 1 2 51 51
5.2 การเชื่อมต่อนวัตกรรม 4 5 2 2 5 8 17 14 15 16 67 68
5.3 การดูดซับความรู้ 11 12 6 13 7 5 27 27 8 8 18 15
6. ผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี 1 1 2 2 3 3 10 9 8 11 40 44
6.1 การสร้างความรู้  1 1 2 2 3 3 8 6 7 7 47 54
6.2 ผลกระทบของความรู้ 2 5 14 19 1 3 19 10 23 27 44 32
6.3 การเผยแพร่ความรู้ 12 6 6 4 16 16 15 11 7 15 33 36
7. ผลผลิตจากการสร้างสรรค์ 2 2 5 7 12 11 4 5 8 14 55 52
7.1 ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ 5 3 8 8 21 15 10 9 1 2 68 57
7.2 สินค้าและบริการสร้างสรรค์ 3 3 19 21 7 7 6 10 20 19 15 14
7.3 การสร้างสรรค์ออนไลน์ 4 5 7 6 21 18 10 10 37 37 84 73

สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้เหมือนปีที่แล้ว รองลงมาคือ สวีเดน ซึ่งปีนี้มีอันดับเหมือนปีที่แล้ว ถัดมาเป็นสหรัฐอเมริกา มีอันดับเหมือนปีที่แล้ว สหราชอาณาจักรยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว อันดับ 5 คือ เกาหลีใต้ มีอันดับเลื่อนขึ้นมาจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ส่วนไทยได้อันดับ 43 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 44 ในปีที่แล้ว

สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 43 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย เป็นหลัก จากทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 67 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 63 ในปีนี้ 2. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ จากอันดับ 67 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 61 ในปีนี้ 3. ปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 40 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย คือ ปัจจัยย่อยการศึกษาและปัจจัยย่อยอุดมศึกษา ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 87 และ 58 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 86 และ 57 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน คือ ปัจจัยย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 19 อันดับ จากอันดับ 79 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 60 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี คือ ปัจจัยย่อยการสร้างความรู้ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 54 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 47 ในปีนี้ อันดับที่ได้ของทั้ง 7 ปัจจัยทั้งในปีนี้และปีที่แล้วของไทยจัดอยู่ในระดับค่อนไปในทางที่ดีจนถึงปานกลาง โดยมีปัจจัยความซับซ้อนของตลาดและปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ มีอันดับค่อนไปในทางที่ดีทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้อันดับ 22 และ 36 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 27 และ 36 ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากเนื่องจากมีอันดับไม่ดีและต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยสภาพแวดล้อมด้านการควบคุม ที่มีอันดับ 113 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 112 ตัวชี้วัดที่มีอันดับที่ไม่ดีต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ตัวชี้วัด Cost of redundancy dismissal มีอันดับ 123 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 124 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยสภาพแวดล้อมด้านการควบคุม ปัจจัยสถาบัน ทำให้ตัวชี้วัด Cost of redundancy dismissal เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 2. ตัวชี้วัด Pupil-teacher ratio, secondary มีอันดับ 109 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการศึกษา ปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย 3. ตัวชี้วัด ICT services imports, % total trade มีอันดับ 123 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 116 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการดูดซับความรู้ ปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ ทำให้ตัวชี้วัด ICT services imports, % total trade เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดในปีที่แล้ว 4. ตัวชี้วัด ICT services exports, % total trade มีอันดับ 117 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 118 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการเผยแพร่ความรู้ ปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี 5. ตัวชี้วัด Country-code TLDs/th pop. 15–69 มีอันดับ 100 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 102 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการสร้างสรรค์ออนไลน์ ปัจจัยผลผลิตจากการสร้างสรรค์ ส่วนตัวชี้วัดที่มีอันดับดีมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ตัวชี้วัด Ease of protecting minority investors มีอันดับ 3 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการลงทุน ปัจจัยความซับซ้อนของตลาด 2. ตัวชี้วัด GERD financed by business, % มีอันดับ 1 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยคนทำงานที่มีความรู้ ปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ ทำให้ตัวชี้วัด GERD financed by business, % เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับดีที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีที่แล้วและปีนี้ 3. ตัวชี้วัด Creative goods exports, % total trade มีอันดับ 1 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 8 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยสินค้าและบริการสร้างสรรค์ ปัจจัยผลผลิตจากการสร้างสรรค์

คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้านเนื่องจากในปีนี้ได้อันดับ 43 ซึ่งเป็นอันดับค่อนไปทางระดับปานกลาง เพื่อในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นกว่านี้มาก โดยเฉพาะด้าน Cost of redundancy dismissal ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว

 

ตอนที่ 18 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง และคณะ ผลงานเรื่อง “การวัดปริมาณน้ำตาลบนอัลบูมินเพื่อติดตามภาวะเบาหวาน”

ดร.โจนาลิซา แอล เซี่ยงหลิว ผลงานเรื่อง “The Community of Practices “Strengthening Rice Breeding Program using Genotyping Building Strategy and Improving Phenotyping Capacity for Biotic and Abiotic Stresses in the Mekong Region”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ และคณะ ผลงานเรื่อง “เอนอีซ : เอนไซม์ดูโอสำหรับการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว (ENZease: Duo-activity enzyme for one-step process biodesinzing and bioscouring of cotton fabrics)”, “เอนอีซ เอนไซม์อัจฉริยะเพื่อกระบวนการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” และ “PTT Yeast Technology Platform”

ดร.จิตติมา พิริยะพงศา และคณะ ผลงานเรื่อง “วิวัฒนาการทางพันธุกรรมของยีนโออาร์เอฟ 5 และยีนเอ็นเอสพี 2 ของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในฝูงสุกรที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสสายพันธุ์รุนแรง”

ดร.ธริดาพร บัวเจริญ ผลงานเรื่อง “การค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย”