ตอนที่ 17 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.กุลฤดี แสงสีทอง ผลงานเรื่อง “Cassava starch-based hydrogel as a superdisintegrant in drug tablets”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ผลงานเรื่อง “ENZbleach : เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก”, เอนอีซ : เอนไซม์อัจฉริยะเพื่อกระบวนการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ เอนอีช (ENZease): เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวันสำหรับกระบวนการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล ผลงานเรื่อง “ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ COVID-19 (DDC-Care)”

ดร.อัญชลี จันทร์แก้ว ผลงานเรื่อง “การพัฒนาและการออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์เพื่อใช้ในปฏิกิริยาการเปลี่ยน 5-hydroxymethylfurfural (HMF) เป็นสารชีวเคมีมูลค่าสูง”

ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา ผลงานเรื่อง “การพัฒนาและวิศวกรรมเอนไซม์และจุลินทรีย์จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีและเศรษฐกิจฐานชีวภาพ”

ดร.ผุศนา หิรัญสิทธิ์ ผลงานเรื่อง “การประยุกต์ใช้การคำนวณด้วยระเบียบวิธี Solid-State DFT สำหรับออกแบบและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาระดับนาโนและวัสดุโครงสร้างนาโนให้สามารถใช้เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเทคนิคการสร้างไวรัส โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงรหัสพันธุกรรมใด ๆ ตรงรอยต่อ (Seamless DNA Assembly)”

ดร.จิตติมา พิริยะพงศา ผลงานเรื่อง “การใช้เทคนิคชีวสารสนเทศในการศึกษาบทบาทและกลไกใหม่ของไมโครอาร์เอ็นเอในการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโปรโมเตอร์”

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ประจำปี 2564 โดย IMD (2021 IMD World Digital Competitiveness Ranking)

ในปี 2564 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของ 64 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/world-digital-competitiveness/ โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย IMD

 ประเทศ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวีเดน เดนมาร์ก สิงคโปร์ ไทย
ปี 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563
อันดับรวม 1 1 2 5 3 4 4 3 5 2 38 39
1. ความรู้ 3 1 5 7 2 4 8 6 4 2 42 43
1.1 ความสามารถพิเศษ 13 14 6 7 7 9 5 4 2 1 39 36
1.2 การฝึกอบรมและการศึกษา 24 24 1 5 2 2 4 9 13 7 56 55
1.3 ความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 2 1 14 17 4 6 17 15 11 10 36 37
2. เทคโนโลยี 4 7 1 2 8 6 9 9 3 1 22 22
2.1 โครงสร้างการควบคุม 12 22 6 7 3 5 4 4 5 1 29 31
2.2 เงินทุน 1 1 7 12 5 4 13 23 14 11 19 17
2.3 โครงสร้างเทคโนโลยี 9 7 1 2 13 11 6 6 2 1 22 25
3. ความพร้อมในอนาคต 1 2 10 10 6 7 2 1 11 12 44 45
3.1 ทัศนคติที่ปรับตัวได้ 1 3 3 4 5 8 4 2 11 20 53 53
3.2 ความคล่องตัวทางธุรกิจ 1 2 9 14 13 10 7 5 12 11 34 44
3.3 การรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 10 17 19 5 4 1 1 7 3 43 43

สหรัฐอเมริกาได้อันดับ 1 เหมือนปีที่แล้ว รองลงมาคือ ฮ่องกง เลื่อนขึ้นมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว ถัดมาเป็นสวีเดน ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ เดนมาร์กได้อันดับ 4 ในปีนี้ตกลงมาจากปีที่แล้ว 1 อันดับ อันดับ 5 คือ สิงคโปร์ มีอันดับเลื่อนลง 3 อันดับจากปีที่แล้ว ส่วนไทยได้อันดับ 38 ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ

สหรัฐอเมริกายังคงรักษาอันดับ 1 ได้อย่างเดิม เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้ 2 อันดับ จากอันดับ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ และการเลื่อนอันดับขึ้นของ 2 ปัจจัย ที่เหลือ คือ ปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต มีอันดับเลื่อนขึ้น 3 และ 1 อันดับ เป็นอันดับ 4 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 1 อันดับ จากอันดับ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 17 อันดับ ปีที่แล้วมีอันดับ 1 ส่วนปีนี้มีอันดับ 18 การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยี เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุมถึง 10 อันดับ จากอันดับ 22 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 12 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม คือ ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 26 อันดับ จากอันดับ 63 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 37 ในปีนี้ ทำให้ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนขึ้น คือ ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 10 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ตัวชี้วัดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และตัวชี้วัดความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 8 และ 11 อันดับ จากอันดับ 19 และ 33 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 11 และ 22 ในปีนี้ ตามลำดับ

ฮ่องกงได้อันดับ 2 ในปีนี้ เลื่อนขึ้นมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้และปัจจัยเทคโนโลยี 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 7 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 5 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยความพร้อมในอนาคตยังคงครองอันดับ 10 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ 2. ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ 3. ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษเลื่อนอันดับขึ้น คือ ตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 8 อันดับ จากอันดับ 43 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 35 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษามีอันดับเลื่อนขึ้น คือ ตัวชี้วัดการฝึกหัดพนักงานและตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 16 และ 8 อันดับ เป็นอันดับ 14 และ 37 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดการฝึกหัดพนักงานเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด การเลื่อนอันดับขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมด และตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยหลักที่มีผลทำให้ปัจจัยเทคโนโลยีเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเงินทุน ที่เลื่อนอันดับขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยเงินทุนเลื่อนอันดับขึ้น คือ ตัวชี้วัดการให้ทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี ที่เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 15 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 11 ในปีนี้

สวีเดนได้อันดับ 3 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยความรู้และปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 4 และ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 และ 6 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยเทคโนโลยีมีอันดับลดลง 2 อันดับ จากอันดับ 6 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 8 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษและปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 2 อันดับเท่ากัน เป็นอันดับ 7 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดบุคลากรที่มีทักษะสูงเรื่องต่างประเทศ และตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดรายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนา ตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิง ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และตัวชี้วัดการศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยความพร้อมในอนาคตเป็นผลจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ 3 อันดับ จากอันดับ 8 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 5 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดทัศนคติต่อทั่วโลก ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 1 ในปีนี้

เดนมาร์กได้อันดับ 4 ในปีนี้ ตกลงมาจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้และปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 6 และ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 8 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่อีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยเทคโนโลยียังคงครองอันดับ 9 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษและปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ จากอันดับ 4 และ 15 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 5 และ 17 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษมีอันดับลดลง การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดรายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนาและตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมด การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความพร้อมในอนาคตเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้และปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ จากอันดับ 2 และ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 และ 7 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดการค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน และตัวชี้วัดทัศนคติต่อทั่วโลก ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค และตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics

สิงคโปร์ได้อันดับ 5 ในปีนี้ มีอันดับเลื่อนลง 3 อันดับจากปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้และปัจจัยเทคโนโลยี 2 อันดับเท่ากัน จากอันดับ 2 และ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 11 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทั้งหมด ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา เลื่อนอันดับลง 6 อันดับ เป็นอันดับ 13 ในปีนี้ 3. ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 11 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษเลื่อนอันดับลงเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดการจัดการเมือง ตัวชี้วัดทักษะทางด้านเทคโนโลยีหรือดิจิทัล และตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดการฝึกหัดพนักงานและตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา 7 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 23 และ 63 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เลื่อนอันดับลงถึง 16 อันดับ จากอันดับ 11 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 27 ในปีนี้ ปัจจัยเทคโนโลยีเลื่อนอันดับลงเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม เลื่อนอันดับลง 4 อันดับ เป็นอันดับ 5 ในปีนี้ 2. ปัจจัยย่อยเงินทุน เลื่อนอันดับลง 3 อันดับ เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ 3. ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม คือ ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ที่เลื่อนอันดับลงถึง 13 อันดับ จากอันดับ 48 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 61 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยเงินทุนเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดการลงทุนในโทรคมนาคมเป็นหลัก ที่เลื่อนอันดับลงถึง 14 อันดับ จากอันดับ 41 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 55 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี คือ ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้และตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่เลื่อนอันดับลงถึง 19 และ 23 อันดับ จากอันดับ 1 เหมือนกันในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 20 และ 24 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีอันดับเลื่อนลงมากที่สุด

ปีนี้ไทยได้อันดับรวมอยู่ที่อันดับ 38 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้และปัจจัยความพร้อมในอนาคต 1 อันดับ จากอันดับ 43 และ 45 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 42 และ 44 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยเทคโนโลยี มีอันดับ 22 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ดังนั้นไทยยังคงต้องพัฒนาด้านความรู้และด้านความพร้อมในอนาคต เนื่องจากยังคงมีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีในปีนี้ และทั้งสองปัจจัยเป็นเหตุดึงรั้งให้ไทยจัดอยู่ในอันดับ 38 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากซึ่งมีทั้งอันดับต่ำในปีนี้และปีที่แล้ว คือ 1. ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา อยู่ภายใต้ปัจจัยความรู้ ที่เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ จากอันดับ 55 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 56 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 2. ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ อยู่ภายใต้ปัจจัยความพร้อมในอนาคต มีอันดับ 53 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา คือ ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาและตัวชี้วัดจำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย มีอันดับ 58 และ 54 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 59 และ 56 ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีนี้และปีที่แล้ว ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต มีอันดับ 58 ทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ ทำให้ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ตเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีที่แล้ว ถึงแม้ปัจจัยเทคโนโลยียังคงรักษาอันดับ 22 ไว้ได้ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอันดับระดับปานกลาง แต่มีตัวชี้วัดภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุนและปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาอย่างมาก คือ ตัวชี้วัดการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุนและตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ที่มีอันดับ 40 และ 54 ในปีที่แล้ว ในขณะที่ปีนี้มีอันดับ 42 และ 49 ตามลำดับ ส่วนตัวชี้วัดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมาก ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 37 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม ปัจจัยเทคโนโลยี 2. ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 13 อันดับ จากอันดับ 38 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 25 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต 3. ตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 36 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 29 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีอันดับดีมากในปีนี้ คือ ตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิงที่ยังคงครองอันดับดีที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว โดยได้อันดับ 6 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยความรู้

คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 38 ในปีนี้ แต่ไทยยังคงต้องพัฒนาอีกหลายตัวชี้วัดดังที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากอันดับที่ได้ในปีนี้ยังคงเป็นอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดี โดยเฉพาะด้านรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับเลื่อนขึ้นมาก

ตอนที่ 16 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.ศศิธร เอื้อวิริยะวิทย์ ผลงานเรื่อง “Tissue engineering of 3D-intestinal model”

ดร.อาโมทย์ สมบูรณ์แก้ว และคณะ ผลงานเรื่อง “µTherm: มิวเทอร์มระบบคัดกรองผู้ป่วยมีไข้แบบหลายคนโดยไม่สัมผัส”

ดร.ศีตภา รุจิเกียรติกำจร และคณะ ผลงานเรื่อง “Vehicle Detection with Sub-Class Training using R-CNN for the DETRAC Benchmark”

ดร.อรทัย ล้ออุทัย และคณะ ผลงานเรื่อง “แผ่นปิดแผลที่เคลือบด้วยสารสกัดสมุนไพร”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ผลงานเรื่อง “ENZbleach: An Alkaline-tolerant Enzyme for pulp bleaching process.”, “ENZbleach : เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก” และ “เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก (เอนบลีช)”

ดร.สุวัสสา บำรุงทรัพย์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาอนุภาคนาโนสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์”

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2564

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2564

สหภาพยุโรปกำหนดเป้าหมายใหม่ภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55” เพื่อการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี ค.ศ. 2030

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 คณะกรรมาธิการยุโรป ได้นำเสนอชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55” ต่อรัฐสภายุโรป เพื่อพิจารณาใช้ในการกำหนดนโยบายด้านสภาพอากาศ พลังงาน การใช้ที่ดิน การขนส่ง และนโยบายด้านภาษี ให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 และ บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ตามนโยบาย European Green Deal ภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55” สรุปได้ ดังนี้

เป้าหมายและข้อกำหนดภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55”

ด้านการขนส่ง

  • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดโดยรวมของภาคการขนส่ง
    • ลดการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งทั้งทางบก ทะเล และอากาศให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 13 ภายในปี ค.ศ. 2030
    • กำหนดสัดส่วนของการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง (advanced biofuel) เป็นอย่างน้อยร้อยละ 2 จากพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในภาคการขนส่ง ภายในปี ค.ศ. 2030
    • กำหนดสัดส่วนของการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพไฮโดรเจนเป็นอย่างน้อยร้อยละ 6 จากพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในภาคการขนส่ง ภายในปี ค.ศ. 2030
  • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดของภาคการขนส่งโดยรถยนต์
    • ลดระดับการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ยของรถยนต์ใหม่ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030
    • ลดระดับการปล่อยมลพิษ/ ก๊าญเรือนกระจกโดยเฉลี่ยของรถตู้อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2030
    • ลดระดับการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ยของรถยนต์ใหม่ร้อยละ 100 ภายในปี ค.ศ. 2035
    • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2035 รถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ในสหภาพยุโรปจะมีการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดของภาคการขนส่งทางอากาศ
    • ผู้จัดหารเชื้อเพลิงสำหรับภาคการขนส่งทางอากาศจะต้องผสมเชื้อเพลิงที่มีความยั่งยืน เช่น เชื้อเพลิงสังเคราะห์คาร์บอนต่ำ ในอัตราส่วนที่สูงขึ้น
    • ภายใต้กฎระเบียบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Emissions Trading System, ETS) ในสาขาการบิน สหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะลดการให้โควต้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปอย่างต่อเนื่อง และมีแผนจะหยุดให้โควตาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ฟรีในสาขาการบินในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2026
  • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดของภาคการขนส่งทางทะเล
  • มีแผนกำหนดระดับสูงสุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานของเรือขนส่ง เช่น รูปแบบของการกำหนดโควต้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับภาคการขนส่งทางทะเลภายใต้กฎระเบียบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ETS) เพื่อส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีไร้ก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งทางทะเล
  • เรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่า 5,000 ตันที่ต้องการเข้าจอดเทียบท่าเรือในสหภาพยุโรปจำเป็นต้องซื้อใบอนุญาตด้านมลพิษภายใต้ระบบการปล่อยไอเสีย

ด้านระบบพลังงาน

  • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน
    • กำหนดสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 40 ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ในยุโรป (ภายในปี ค.ศ. 2030)
      • ภาคอุตสาหกรรม : เพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคอุตสาหกรรมทุกปี ณ อัตราร้อยละ 1 ต่อปี
    • เป้าหมายของการใช้พลังงานไฮโดรเจน
      • ช่วงปี ค.ศ. 2020 ถึง ค.ศ. 2025 สหภาพยุโรปจะสนับสนุนการติดตั้งระบบการผลิตไฮโดรเจนแบบหมุนเวียนโดยใช้กระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (renewable hydrogen electrolysers) ให้ได้อย่างน้อย 6 กิกะวัตต์ในยุโรปโดยต้องผลิตไฮโดรเจนหมุนเวียนให้ได้ถึง 1 ล้านตัน
      • ช่วงปี ค.ศ. 2025 ถึง ค.ศ. 2030 สหภาพยุโรปมีเป้าหมายให้พลังงานไฮโดรเจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบพลังงานแบบรวมอย่างน้อย 40 กิกะวัตต์
    • เป้าหมายของการใช้พลังงานชีวภาพ (bioenergy)
      • หลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืนของการใช้พลังงานชีวภาพในสหภาพยุโรปมีความเคร่งครัดมากขึ้น เช่น
      • ห้ามให้มีการใช้ชีวมวลประเภทไม้จากป่าปฐมภูมิ (primary forest) พื้นที่ดินพรุ (peatland) และพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ในการผลิตพลังงานชีวภาพ
      • ห้ามใช้แรงจูงใจทางการเงินเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวมวลประเภทไม้ เช่น ท่อนซุง ตอไม้ และรากไม้ เพื่อผลิตเป็นพลังงาน
      • การใช้ประโยชน์จากชีวมวลประเภทไม้ต้องยึดหลักการที่เรียกว่า “biomass cascading principle” เลือกใช้ชีวมวลเพื่อให้เกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่มสูงสุดด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
    • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการลดการใช้พลังงาน
      • ลดปริมาณการใช้พลังงานขั้นต้น (primary energy consumption) เป็นพลังงานที่ใช้ในการผลิตและจัดหาพลังงานชนิดต่าง ๆ ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 39 ภายในปี ค.ศ. 2030
      • ลดปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (final energy consumption) ที่ใช้โดยผู้บริโภค ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 36 ภายในปี ค.ศ. 2030
      • แต่ละประเทศสมาชิกฯ จะต้องลดปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทุกปี ณ อัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2024 ถึง ค.ศ. 2030

ด้านสิ่งปลูกสร้าง อาคาร และบ้านเรือน

  • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียน
    • อาคาร/บ้านเรือน : กำหนดสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในอาคาร/ บ้านเรือน เป็นร้อยละ 49 ภายในปี ค.ศ. 2030
    • ระบบทำความร้อนและความเย็น : เพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบทำความร้อนและความเย็นทุกปี และสัดส่วนโดยรวมจะต้องอยู่ที่อย่างน้อยร้อยละ 1 ภายในปี ค.ศ. 2030
    • ระบบทำความร้อนและความเย็นจากศูนย์กลางเพื่อชุมชน (district heating and cooling) : เพิ่มสัดส่วนจากศูนย์กลางที่จะกระจายไปยังชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ (district heating and cooling) อัตราร้อยละ 1 ต่อปี และสั่ดส่วนโดยรวมอย่างน้อยร้อยละ 1.4 ภายในปี ค.ศ. 2030
  • เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการใช้พลังงานในกิจการของภาครัฐ
    • กิจการของภาครัฐทั้งหมด เช่น การศึกษา การบริการสุขภาพ การประปา การบำบัดน้ำ และไฟบนท้องถนน จะต้องลดการใช้พลังงาน ณ อัตราร้อยละ 7 ต่อไป
    • ในทุก ๆ ปี ประเทศสมาชิกจะต้องมีการปรับปรุงอาคารของภาครัฐในสัดส่วนอย่างต่ำร้อยละ 3 ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงานอาคาร

ด้านการใช้ที่ดินและพื้นที่ป่า และการเกษตร

  • กำหนดเป้าหมายการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Sink ให้ได้อย่างต่ำ 310 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030
  • การใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ และเกษตรกรรมจะต้องไม่มีการปล่อยก๋าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2035
  • กำหนดแผนปลูกต้นไม้จำนวน 3,000 ล้านต้นทั่วยุโรปภายในปี คศ.2030

รายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ประจำปี ค.ศ. 2021 (European Innovation Scoreboard 2021)

การจัดลำดับ 4 กลุ่มประเทศนวัตกรรม

ในการจัดลำดับ คณะกรรมาธิการยุโรปแบ่งหมวดหมู่ เป็น 4 หมวด ได้แก่

  1. ผู้นำนวัตกรรม (innovation leaders) ได้แก่ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และเบลเยียม
  2. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ออสเตรีย เอสโตเนีย ฝรั่งเศส และไอร์แลนด์
  3. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) ได้แก่ อิตาลี ไซปรัส มอลตา สโลวีเนีย สเปน เช็กเกีย ลิทัวเนีย โปรตุเกส และกรีซ
  4. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมพอประมาณ (modest innovators) ได้แก่ โคเอเชีย ฮังการี ลัตเวีย โปแลนด์ สโลวะเกีย บัลกาเรีย และโรมาเนีย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210819091021-pdf.pdf

 

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2564 โดย IMD (2021 IMD World Competitiveness Ranking)

ในปี 2564 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 64 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2021 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย IMD

 ประเทศ  สวิตเซอร์แลนด์  สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ ไทย
ปี 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563
อันดับรวม 1 3 2 6 3 2 4 4 5 1 28 29
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ 7 18 16 22 17 21 2 1 1 3 21 14
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ 4 4 10 20 12 15 16 12 15 7 41 38
1.2 การค้าระหว่างประเทศ 15 13 17 15 10 24 3 2 1 1 21 5
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ 12 18 17 16 24 23 4 5 3 3 32 29
1.4 การจ้างงาน 15 30 30 39 22 27 4 3 18 7 3 10
1.5 ระดับราคา 58 57 41 40 42 41 48 46 57 58 37 28
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ 2 2 9 14 7 4 12 11 5 5 20 23
2.1 ฐานะการคลัง 1 2 7 12 5 4 10 8 12 6 14 17
2.2 นโยบายภาษี 12 8 58 56 56 40 60 50 8 10 4 5
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน 1 2 3 5 5 1 4 4 7 7 36 40
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ 10 12 4 7 2 2 7 4 3 3 30 33
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม 5 5 4 3 3 4 6 8 17 18 43 40
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ 5 9 2 3 1 1 4 4 9 6 21 23
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ 4 8 3 4 1 1 8 7 14 9 40 41
3.2 ตลาดแรงงาน 6 13 5 16 14 8 2 2 4 3 10 15
3.3 การเงิน 1 1 6 7 7 8 4 4 13 10 24 24
3.4 การบริหารจัดการ 9 16 3 4 1 1 15 15 14 14 22 21
3.5 ทัศนคติและค่านิยม 13 17 4 4 6 3 2 9 9 6 20 20
4. โครงสร้างพื้นฐาน 1 3 2 1 3 2 7 9 11 7 43 44
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน 5 6 10 7 3 4 6 9 20 18 24 26
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี 8 9 3 2 6 5 2 3 1 1 37 34
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์  3 2 7 6 11 9 13 13 17 15 38 39
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม 3 5 1 1 4 2 16 15 25 23 49 49
4.5 การศึกษา 1 3 4 8 3 1 12 14 7 2 56 55

สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ รองลงมาคือ สวีเดน ซึ่งปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 4 อันดับ ถัดมาเป็นเดนมาร์ก ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เนเธอร์แลนด์ยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว อันดับ 5 คือ สิงคโปร์ ตกลงมาจากปีที่แล้วถึง 4 อันดับ เคยได้อันดับ 1 ส่วนไทยได้อันดับ 28 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 29 ในปีที่แล้ว

สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับ มีอันดับ 7 ในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ มีอันดับ 5 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ได้อันดับ 2 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับดีขึ้นอย่างมากของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยการจ้างงานและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย โดยเฉพาะปัจจัยย่อยการจ้างงาน มีอันดับดีขึ้นถึง 15 อันดับ จากอันดับ 30 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 15 ในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ มีอันดับดีขึ้น 6 อันดับ ได้อันดับ 12 ในปีนี้ จากอันดับ 18 ในปีที่แล้ว ส่วนปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยเดียวกันมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับ 57 ในปีที่แล้วและอันดับ 58 ในปีนี้ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยตลาดแรงงานและปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ มีอันดับดีขึ้นถึง 7 อันดับ เหมือนกัน เป็นอันดับ 6 และ 9 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย (มีทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย) เล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา

สวีเดน ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 4 อันดับ มีอันดับ 2 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ เป็นอันดับ 16 ในปีนี้ ซึ่งยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับดีขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 14 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 9 ในปีนี้ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมามีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากอันดับ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่มีการเลื่อนอันดับขึ้นถึง 10 และ 9 อันดับ จากอันดับ 20 และ 39 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 10 และ 30 ในปีนี้ ตามลำดับ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับในระดับต่ำ ปีที่แล้วได้อันดับ 40 ในขณะที่ปีนี้ได้อันดับ 41 การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ ที่เลื่อนอันดับขึ้น 5, 2 และ 3 อันดับ เป็นอันดับ 7, 3 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยเดียวกันมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับ 56 ในปีที่แล้วและอันดับ 58 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับ เป็นอันดับ 5 ในปีนี้

เดนมาร์ก ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 3 ในปีนี้ เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 3 และ 1 อันดับ จากอันดับ 4 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ เป็นอันดับ 17 ในปีนี้ เป็นปัจจัยที่มีอันดับอยู่ในระดับปานกลางนานหลายปี ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ครองอันดับ 1 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีผลอย่างมากทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับเลื่อนลง คือ ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ที่เลื่อนอันดับลงถึง 16 อันดับ จากอันดับ 40 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 56 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา

เนเธอร์แลนด์ยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการยังครองอันดับ 4 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และอีก 3 ปัจจัยที่เหลือ ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 12 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังสามารถครองอันดับไว้เท่าเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการเงิน และปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ ที่ยังครองอันดับ 2, 4 และ 15 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 46 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 48 และมีอันดับ 50 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 60 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว

สิงคโปร์ ตกลงมาจากปีที่แล้วถึง 4 อันดับ เคยได้อันดับ 1 ในปีที่แล้ว เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 3 และ 4 อันดับ จากอันดับ 6 และ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 9 และ 11 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ครองอันดับ 5 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว มี 4 ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ได้แก่ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการเงิน และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ มีอันดับลดลง 5 อันดับ จากอันดับ 9 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนลง เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา โดยเฉพาะปัจจัยย่อยการศึกษา มีอันดับลดลง 5 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยระดับราคาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว โดยในปีนี้ได้อันดับ 57 ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 58

สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 28 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 29 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ มีอันดับ 20 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ มีอันดับ 21 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 43 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลงถึง 7 อันดับ จากอันดับ 14 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ ทำให้ในปีนี้เป็นปีแรกที่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง แต่ที่ผ่านมาหลายปีมีอันดับค่อนไปทางที่ดี ในขณะที่ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือนที่ผ่านมาหลายปี ส่วนปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีไว้ในปีนี้เหมือนหลายปีที่ผ่านมา การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ โดยเฉพาะปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 40 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 36 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 5 อันดับ เป็นอันดับ 10 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัยย่อยเล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานและปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลงมากที่สุดถึง 16 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีและไม่ดีทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 40 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 43 2. ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับ 41 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 40 3. ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับ 49 ทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ 4. ปัจจัยย่อยการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับ 55 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 56 ทำให้ปัจจัยย่อยการศึกษามีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากในปีนี้ ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการจ้างงาน มีอันดับ 3 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นจากปีก่อนถึง 7 อันดับ 2. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี มีอันดับ 4 ในปีนี้ ในขณะที่ปีที่แล้วได้อันดับ 5

คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้านเนื่องจากในปีนี้ได้อันดับ 28 ซึ่งเป็นอันดับระดับปานกลาง เพื่อในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นกว่านี้มาก โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ซึ่งทั้งสองด้านมีอันดับที่ต่ำมากและต่ำที่สุด ตามลำดับ ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด

ตอนที่ 15 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ

ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจรวดเร็วความไวสูงสำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสในโรคไข้หัดสุนัข”

ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา ผลงานเรื่อง “Exploration of lignocellulose degrading enzymes from hidden bioresource for biorefinery and green industries”

ดร.วีรวัฒน์ รังกุพันธุ์ ผลงานเรื่อง “Yeast cells modified to produce the biofuel isobutanol and other higher alcohols”

ดร.วลัยพร เจริญทรัพย์ศรี ผลงานเรื่อง “Climate change impact on the pathogenic Vibrio parahaemolyticus isolates causing acute hepatopancreatic necrosis disease (AHPND)”

ดร.วณิลดา รุ่งรัศมี ผลงานเรื่อง “การศึกษาความเกี่ยวข้องของโปรตีน heat shock 90 ต่อระบบสืบพันธุ์ของกุ้งกุลาดำเพศเมีย”

ระดับชาติ

ดร.วิรัลดา ภูตะคาม และคณะ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจสนิปเพื่อการทดสอบเอกลักษณ์และความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์แตงกวา แตงโม แตงเทศ และพริก”, “การศึกษากระบวนการตอบสนองของปะการังต่อการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการังในน่านน้ำไทยเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” และ “การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลและการสร้างแผนที่พันธุกรรมเพื่อค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลที่มีความสัมพันธ์กับความสูงของลำต้นในปาล์มน้ำมัน”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ผลงานเรื่อง “ENZease: “two-in-one” enzyme for one-step desizing and scouring process of cotton fabric in textile industry”

ตอนที่ 14 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ

ดร.รัฐพล เฉลิมโรจน์ ผลงานเรื่อง “PlantBead Kit”

ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะ ผลงานเรื่อง “สารเคลือบดูดซับความร้อนด้วยอนุภาคนาโนกราฟีน-ซิลิกา สำหรับแผงพลังงานรวมแสงอาทิตย์แบบราง”

ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง และคณะ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจวัดปริมาณโปรตีนไกลเคทเตดอัลบูมินเพื่อติดตามเบาหวาน “SugarAL GO sensor””

ดร.มัตถกา คงขาว ผลงานเรื่อง “A development of a new delivery system for HPV vaccine candidates against cervical cancer”

ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก ผลงานเรื่อง “High-throughput approach to discover new dengue vaccine”

ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย ผลงานเรื่อง “Thematic Reference Group Report on Innovation and Technology for Health Interventions for Infectious Diseases of Poverty” และ “Global Report on Health Research for Infectious Diseases of Poverty”

ระดับชาติ

ดร.บุญญาวัณย์ อยู่สุข ผลงานเรื่อง “เชื้อเพลิงสะอาดและสารหล่อลื่นชีวภาพ : ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อการพัฒนาปาล์มน้ำมันไทยอย่างยั่งยืน”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ผลงานเรื่อง “การเพิ่มมูลค่าชานอ้อย : การสกัดเซลลูโลสและนาโนเซลลูโลส และการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์”

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2564

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2564

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนค้นหาและการสมัครทุนวิจัยภายใต้โครงการ Horizon Europe

โครงการ Horizon Europe เป็นกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 ที่ครอบคลุมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021-2027 โครงการวิจัยที่มีแหล่งเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและระดับโลก โครงการ Horizon Europe สร้างจากพื้นฐานความสำเร็จของโครงการร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมฉบับที่ผ่านมาคือ Horizon 2020 ส่งเสริมความต่อเนื่องในการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ผ่านโครงการวิจัยภายใต้สภาวิจันยุโรป (European Research Council, ERC) และ โครงการ Marie Sktodowsak-Curie action (MCSA) และได้รับประโยชน์ด้านคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ ความช่วยเหลือทางเทคนิค งานวิจัยที่มีคุณค่าจากศูนย์วิจัยร่วม (Joint Research Centre, JRC) และการให้บริการด้านความรู้และวิทยาศาสตร์จากคณะกรรมาธิการยุโรป

  • การสืบค้นหัวข้อโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุน

คณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนภายใต้โครงการ Horizon Europe ผ่านทางเว็บพอร์ทัล “Funding & Tenders Portal” โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านลิงค์

https://ec.europa.eu/info/funding-tenders/opportunities/portal/screen/programmes/horison

  • การกรองเพื่อหาหัวข้อโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนที่เฉพาะเจาะจง

หลังการกดสืบค้นโคงการวิจัยที่เปิดให้ทุนตามความสนใจของนักวิจัยแล้ว ทางเว็บพอร์ทัลจะแสดงรายชื่อโครงการวิจัยที่เปิดเกี่ยวข้อง โดยผู้สืบค้นสามารถกรองรายชื่อโครงการวิจัยได้เพิ่มเติมตามเกณฑ์ที่ต้องการเพื่อที่จะสามารถค้นหาโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

  • การค้นหาพันธมิตร

หลังจากนักวิจัยสืบคืนโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนที่ตรงตามเกณฑ์และความสนใจเรียบร้อยแล้ว แต่ยังขาดพันธมิตรในการร่วมเขียนโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย สามารถค้นหาพันธมิตรได้จาก “Partner Search”

https://ec.europa.eu/info/funding-tenders/opportunities/portal/screen/how-to-participate/partner-search

  • การสร้างบัญชีผู้ใช้

ในการที่จะสมัครส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ทางนักวิจัยจำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้ก่อน ไม่อย่างนั้นจะดูได้แค่ข้อมูลทั่วไปของโครงการแต่ไม่สามารถทำการส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัยในส่วนของ “Start submission” ได้ โดยนักวิจัยสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ได้ที่ https://webgate.ec.europa.eu/cas/eim/external/register.cgi

  • การลงทะเบียนหน่วยงาน

ในการที่จะจัดตั้งคณะทำงาน (consortium) ประกอบไปด้วยหลายพันธมิตร เพื่อสมัครส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ในแต่ละหน่วยงานที่เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรจำเป็นต้องมีรหัสประจำตัวที่ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเรียกว่า “รหัสประจำตัวของหน่วยงาน (Participant Identification Code, PIC)” ซึ่งเป็นรหัสเลข 9 หลักที่หน่วยงานจำเป็นต้องใช้ในการลงทะเบียนในกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพหน่วยงานเพื่อขอรีบเลข PIC จากคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ที่

https://ec.europa.eu/info/funding-tenders/opportunities/portal/screen/how-to-participate/participant-register

  • การส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย

เมื่อคณะทำงาน (consortium) ได้เตรียมโครงร่างข้อเสนอโครการวิจัย เรียบร้อยขั้นตอนสุดท้ายคือ การส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย โดยผู้สมัครสามารถกดเข้าไปในโครงการวิจัยที่ต้องการสมัคร จากนั้นจะเห็นในส่วนของ “Start submission” จากนั้นกด Start submission และทางระบบจะให้ผู้สมัครลงบัญชีเข้าใช้ตามชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่ผู้สมัครได้สร้างไว้ขั้นตอนที่ 4

รัฐสภายุโรปรับร่างกฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law)

  • เพิ่มเป้าหมายของสหภาพยุโรปในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากร้อยละ 40 เป็นอย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030
  • เพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Sink มีการปรับปรุงกฎระเบียบการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และป่าไม้ (land use, land-use change and forestry, LULUCF เพื่อชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2023 และทุก ๆ 5 ปีหลังจากนั้น จะประเมินความสอดคล้องในมาตรการต่อเป้าหมายความเป็นกลางด้านสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายในปี ค.ศ. 2030 – 2050
  • จัดทำร่างแผนและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับปี ค.ศ. 2040 ภายใน 6 เดือนหลังจากมีการจัดทำการประเมินผลความก้าวหน้า พร้อมทั้งกำหนดเพดานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหภาพยุโรปจนถึงปี ค.ศ. 2050
  • สหภาพยุโรปจะจัดสรรร้อยละ 30 ของงบประมาณสำหรับปี ค.ศ. 2021 – 2027 ให้กับโครงการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050

 

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย

การประกาศใช้กฎหมาย European Climate Law ทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมของกระบวนการผลิตสินค้า การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันสารตกค้างในผลผลิต และการผลักดันและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนสารเคมี
นอกจากนี้ประเทศไทยจะต้องแบกรับภาระเกี่ยวกับการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน ซึ่งจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมการรองรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการกำหนดนโยบายของประเทศ ในทางกลับกันประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ในการร่างมาตรการและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ของไทย หรือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยด้านพลังงานสะอาด เช่น การส่งเสริมการลงทุนในระบบรางเพื่อกระตุ้นการเดินทางโดยรถไฟ หรือ การส่งเสริมระบบการผลิตแบบยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ

โครงการร่วมทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในภูมิภาคยุโรป ประจำปี 2564

โครงการร่วมทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในภูมิภาคยุโรป (Southeast Asia-Europe Joint Funding Scheme on Research and Innovation, JFS) ได้ประกาศให้ทุนและรับสมัครโครงร่างการวิจัยประจำปี 2564 เป็นการประกาศให้ทุนครั้งที่ 7 ก่อนหน้านี้มีการมอบทุนวิจัยในหัวข้อ เช่น โรคติดเชื้อ การดื้อยาของเชื้อจุลินทรีย์ เมืองอัจฉริยะ การจัดการน้ำแบบบูรณาการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจชีวภาพ และนาโนเทคโนโลยี

ที่มาของโครงการ JFS

โครงการ SEA-EU-NET เป็น โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภูมิภาคอาเซียนและยุโรป จัดตั้งโครงการร่วมทุนระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน

โครงการ SEA-EU-NET มีความคิดริเริ่มจัดตั้งโครงการร่วมทุน (joint funding scheme) ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อกระตุ้นความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดมากขึ้น ทุนนี้จะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกระทรวงที่ดำเนินงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ให้ทุนวิจัยจากทั้งสองภูมิภาค โครงการร่วมทุนนี้จะช่วยด้านความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองภูมิภาค รวมถึงโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ เช่น โครงการภายใต้กรอบโครงการ Horizon 2020 และ Horizon Europe

การกำกับดูแลของโครงการร่วมทุน JFS)

โครงสร้างของการจัดการโครงการร่วมทุน (JFS) แบ่งได้ดังนี้

– คณะกรรมการบริหาร (Governing board) ได้แก่ ตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมให้ทุน

– สภาวิทยาศาสตร์ (Scientific council) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัย และทำหน้าที่ประเมินผลของโครงการวิจัยที่สมัครเพื่อขอรับทุน

– สำนักเลขาธิการ (Secretariat) ดำเนินงานเปิดรับสมัครโครงร่างงานวิจัย และดำเนินการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

โครงการ FFS ประจำปี ค.ศ.2021

โครงการนี้เป็นโครงการย่อยภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ Horizon Europe

โดยหน่วยงานจากประเทศไทยมีสิทธิ์ในการสมัครขอรับทุนเนื่องจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรมภายใต้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

หัวข้อโครงการวิจัย

1.การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน

2.การรับมือและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210712151131-pdf.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตอนที่ 13 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ ดร.คทา จารุวงศ์รังสี และคณะ ดร.จีราพร ลีลาวัฒนชัย และ ดร.จิตติมา พิริยะพงศา