ตอนที่ 32 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร และคณะ ผลงานเรื่อง “NanoFlu AB Duplex Rapid Test (ชุดตรวจสำหรับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่)”

ดร.วรายุทธ สะโจมแสง และคณะ ผลงานเรื่อง “Development of Hydrophilic Nanofiltration Membrane for Water Purification”

ดร.นิธิ อัตถิ ผลงานเรื่อง “Flexible Polymers with Antifouling Robust Microstructure for Marine and Medical Applications” และ “Fabrication of robust 3-D microstructure with superhydrophobic properties for marine and medical applications”

ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ปฏิบัติการสหกิจศึกษาในสถานประกอบการดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2563

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้รับใบรับรองลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอาคาร ประจำปี 2563 (Carbon Reduction Certification for Building)

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และคณะ ผลงานเรื่อง “Investigating the potential adaptive responses of the Thai Rice Resource to biotic and abiotic stresses under future climate change conditions”

ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “ขั้วไฟฟ้าชนิดพิมพ์สกรีนกราฟีนและของเหลวไอออนิกแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับงานเซนเซอร์เคมีไฟฟ้า”

ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะ ผลงานเรื่อง “ท่อดูดซับความร้อนด้วยอนุภาคนาโนกราฟีน-ซิลิกาสำหรับระบบพลังงานรวมแสงอาทิตย์เข้มข้น”

ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดี และคณะ ผลงานเรื่อง “สารเรืองแสงอินทรีย์ในช่วงใกล้อินฟาเรดที่ตอบสนองต่อค่าพีเอชสำหรับการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าด้วยการกระตุ้นแสง”

ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า: Thai People Map and Analytics Platform หรือ TPMAP”

นวัตกรรมในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้

เครื่องมือของ Clarivate (Derwent World Patent Index (DWPI) และ Derwent Patent Citation Index (DPCI)) ให้ข้อมูลสิทธิบัตรที่เป็นที่ยอมรับ ใช้ศึกษานวัตกรรมในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้

นักวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ทดสอบสิทธิบัตรที่ยื่นจดระหว่างปี 2015 ถึง 2019 โดยหน่วยงานใน 8 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย, ศรีลังกา, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม หน่วยงานรวมถึงสถาบันวิจัยของรัฐบาล, มหาวิทยาลัย และบริษัท

หลังจากการวิเคราะห์มากกว่า 100,000 การประดิษฐ์ที่ยื่นจดโดย 8 ประเทศดังกล่าวข้างต้นระหว่างปี 2015 ถึง 2019 ทำให้ได้ 276 หน่วยงานที่เป็นผู้นำการประดิษฐ์ โดย 58% เป็นสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐบาล ส่วน 42% เป็นบริษัท พบจาก 276 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานในอินเดียเป็นอันดับ 1 จำนวน 167 หน่วยงาน อันดับที่ 2 คือ อินโดนีเซีย จำนวน 44 หน่วยงาน อันดับถัดมา คือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 28 หน่วยงาน อันดับที่ 4 คือ สิงคโปร์ จำนวน 19 หน่วยงาน อันดับที่ 5 คือ มาเลเซีย จำนวน 8 หน่วยงาน อันดับ 6 คือ เวียดนาม จำนวน 7 หน่วยงาน อันดับ 7 คือ ไทย จำนวน 2 หน่วยงาน อันดับ 8 คือ ศรีลังกา จำนวน 1 หน่วยงาน รายชื่อของทั้งหมด 276 หน่วยงาน เผยแพร่ไว้ใน https://clarivate.com/lp/2021-innovation-in-south-and-southeast-asia/

สำหรับประเทศไทยพบ 2 หน่วยงาน (เป็นบริษัททั้งหมด) จาก 276 หน่วยงานที่เป็นผู้นำการประดิษฐ์ ได้แก่ 1. Ptt Group และ 2. Siam Cement Group

นอกจากนี้ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้วิเคราะห์หาหน่วยงานผู้นำการประดิษฐ์ใน 9 ประเทศ คือ 8 ประเทศดังกล่าวข้างต้น และเพิ่มอีก 1 ประเทศ คือ บรูไน ดังข้างล่าง ประเทศที่ไม่สามารถหาหน่วยงานผู้นำการประดิษฐ์ได้ คือ ประเทศที่มีหน่วยงานไม่สามารถผลิตสิทธิบัตรระหว่างปี 2015 ถึง 2019 ได้พอกับเกณฑ์ ประเทศทั้ง 9 ด้านล่างเรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ

สถาบันการศึกษาผู้นำการประดิษฐ์
– บรูไน ไม่สามารถหาสถาบันการศึกษาได้
– อินเดีย Indian Institute of Technology Bombay
– อินโดนีเซีย Universitas Diponegoro
– มาเลเซีย Universiti Putra Malaysia (UPM)
– ฟิลิปปินส์ Cebu Technological University
– สิงคโปร์ National University of Singapore (NUS)
– ศรีลังกา ไม่สามารถหาสถาบันการศึกษาได้
– ไทย ไม่สามารถหาสถาบันการศึกษาได้
– เวียดนาม Hanoi University of Science and Technology (HUST)

สถาบันวิจัยของรัฐบาลผู้นำการประดิษฐ์
– บรูไน ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– อินเดีย Council of Scientific and Industrial Research (CSIR)
– อินโดนีเซีย The Indonesian Institute of Sciences (LIPI)
– มาเลเซีย The Malaysian Palm Oil Board (MPOB)
– ฟิลิปปินส์ ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– สิงคโปร์ The Agency for Science, Technology and Research (A*STAR)
– ศรีลังกา ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– ไทย ไม่สามารถหาสถาบันวิจัยของรัฐบาลได้
– เวียดนาม Vietnam Academy of Science and Technology (VAST)

บริษัทผู้นำการประดิษฐ์
– บรูไน ไม่สามารถหาบริษัทได้
– อินเดีย ดูได้จากรายละเอียดด้านล่าง บริษัทผู้นำการประดิษฐ์ในอินเดีย
– อินโดนีเซีย PT Pertamina
– มาเลเซีย Top Glove Corporation Berhad
– ฟิลิปปินส์ ไม่สามารถหาบริษัทได้
– สิงคโปร์ ASM Pacific Technology Limited
– ศรีลังกา MAS Holdings
– ไทย Siam Cement Group
– เวียดนาม Viettel Group

บริษัทผู้นำการประดิษฐ์ในอินเดียในอุตสาหกรรมต่าง ๆ (เรียงลำดับอุตสาหกรรมตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ)
– ธุรกิจการเกษตร UPL Limited
– ยานยนต์ Mahindra and Mahindra Limited
– สารเคมีและพลังงาน Indian Oil Corporation Limited
– สินค้าประเภทบริโภค ITC Limited
– อุตสาหกรรมหนัก Bharat Heavy Electricals Limited
– อื่น ๆ Welspun Group
– ยา Suven Life Sciences Limited
– ซอฟต์แวร์ Wipro Limited

ที่มา: Clarivate. 2021 Innovation in South and Southeast Asia. Retrieved February 14, 2022, from https://clarivate.com/lp/2021-innovation-in-south-and-southeast-asia/

ตอนที่ 31 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.นิธิ อัตถิ ผลงานเรื่อง “FleXARs: antifouling film to protect your surface and shift the world”

ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานบริหารสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย The Asia Nano Forum (ANF)

ดร.วรายุทธ สะโจมแสง ผลงานเรื่อง “Polymer-Based Nanomaterials and Applications”

ดร.อัชฌา กอบวิทยา ได้รับคัดเลือกให้เป็น SPIE Women in Optics ประจำปี 2022

ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง ผลงานเรื่อง “G.O. –SENSOR Screening for kidney disease”

คุณสิรินทร อินทร์สวาท และคณะ ได้รับรางวัล ASEAN Energy Efficiency and Conservation Best Practice Awards 2020

ดร.คทาวุธ นามดี ผลงานเรื่อง “นาโนวัคซีนแบบจุ่ม โดยเลียนแบบเชื้อก่อโรคในปลา”

ตอนที่ 30 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น 1 ใน 9 ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก

ดร.จิตติ มังคละศิริ ได้รับเลือกเป็น Steering Committee ของ Life Cycle Initiative (UN environment)

ดร.สมประสงค์ ทองคำ ผลงานเรื่อง “การเตรียมบล็อกโคพอลิเมอร์ฐานชีวภาพจากมอนอเมอร์เอทิลีนฟูราโนเอทแบบวงด้วยเทคนิคพอลิเมอร์ไรเซชันที่มีประสิทธิภาพสูงและควบคุมน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ได้สำหรับเส้นใยสีเขียว”

ดร.อรอนงค์ หนูชูเชื้อ ผลงานเรื่อง “ผลของสารสกัดและสารไตรเทอพีนซาโปนินจากเชียงดาต่อการผลิตไนตริกอ็อกไซด์ของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในสภาวะระดับน้ำตาลกลูโคสสูงจำลอง”

ดร.ภาวินี นันตา ผลงานเรื่อง “Supercritical CO2-assisted spray-drying technique for porous starch microspheres fabrication and their applications as a carrier for drug delivery”

ดร.ศรัณย์ อธิการยานันท์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาสารเคลือบทำความเย็นทางรังสีโดยมีอนุภาคไมโครสองชนิดเป็นองค์ประกอบ”

ดร.วสันต์ ภัทรอธิค ผลงานเรื่อง “Traffy Fondue แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง”

ดร.มนฤดี เลี้ยงรักษา ผลงานเรื่อง “กลไกเชิงโมเลกุลสำหรับการพัฒนาวัสดุคาร์บอนจากชีวมวลเป็นสารขั้วอิเล็กโทรดประสิทธิภาพสูงในอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน” และ “Deep-learning based identification of synergistic effects between herbal compounds and conventional chemotherapeutic agents”

ดร.จามร เชวงกิจวณิช ผลงานเรื่อง “การพัฒนาตัวเร่งปฎิกิริยาไทเทเนียมไดออกไซด์เจือด้วยกราฟีนออกไซด์ที่ตอบสนองต่อแสงที่ตามองเห็น เพื่อบำบัดไมโครพลาสติกในน้ำทะเล”

ดร. อรรณพ คล้ำชื่น และคณะ ผลงานเรื่อง “วัสดุคอมโพสิตนาโนซิลิกาและคาร์บอนกัมมันต์จากแกลบ: วัสดุแอโนดศักยภาพสูงสำหรับแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไออนเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า”

ตอนที่ 29 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง Honorary Professor

ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช ผลงานเรื่อง “Combinatorial nanomedicine for targeting tumor and tumor microenvironment in prostate cancer”

ดร.ธีระ บุตรบุรี ผลงานเรื่อง “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอะตอมเดี่ยวที่มีปริมาณโลหะสูง เพื่อเร่งปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีเชิงแสงอย่างมีประสิทธิภาพ”

ดร.อัจฉรา แป้งอ่อน ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเส้นใยนาโนคอมพอสิตสำหรับอุปกรณ์กักเก็บพลังงานแบบพกพา”

ดร.พิทักษ์ เอี่ยมชัย และคณะ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมวัสดุนาโนสีเขียวสำหรับตรวจพิสูจน์การปลอมแปลงเอกสารโดยไม่ทำลายตัวอย่าง”

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ ผลงานเรื่อง “การค้นพบและพัฒนาเปปไทด์ต้านจุลชีพจากแบคทีเรียกรดแลคติกและโปรตีนอาหาร สำหรับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร”

ดร.ชูศักดิ์ ธนวัฒโน และคณะ ผลงานเรื่อง “เครื่องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ” และ “อุปกรณ์ตัวรับรู้แบบสวมใส่เพื่อเฝ้าระวังภาวะเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยการตรวจวัดจากเหงื่อ”

ตอนที่ 28 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.วันนิตา กลิ่นงาม ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม Global Young Scientists Summit

ดร.วิวรรณ จรีรัตนชาติ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ Global Young Scientists Summit (GYSS) 2565 กลุ่ม Viewers

ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ ผลงานเรื่อง “โครงการการค้นหาและประเมินศักยภาพของเอนไซม์ไลเกสชนิด E3 ของเชื้อมาลาเรียเพื่อใช้ในเทคโนโลยีฐาน PROTAC (Identification and Validation of Potential Plasmodium E3 Ligases for PROTAC Platform)”

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ได้รับรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ ประจำปี 2563

ดร.ณัฏฐพร พิมพะ และคณะ ผลงานเรื่อง “โครงการนวัตกรรมกรองน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนบ้านสัก ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง”

ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ได้รับการแต่งตั้งอีกครั้งให้ดำรงตำแหน่ง Adjunct Faculty “โครงการความร่วมมือพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

ดร.สุวัสสา บำรุงทรัพย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Adjunct Faculty

ดร.นิศรา การุณอุทัยสิริ ได้รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดาวรุ่งประจำปี พ.ศ. 2564

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2563

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้รับรางวัลประเภทนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

ตอนที่ 27 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.วรรณวิทู วรรณโมลี ผลงานเรื่อง “Controlled catalytic depolymerization of lignin to produce functionalized oligomers in a one-pot process as versatile building blocks for bio-based materials”

ดร.สุภาวดี อิงศรีสว่าง และคณะ ผลงานเรื่อง “โครงการการศึกษาความสัมพันธ์ของชุมชนจุลินทรีย์ในอากาศและฝุ่นละอองในระบบรถไฟใต้ดิน”

ดร.มัตถกา คงขาว ผลงานเรื่อง “โครงการ Development of Preparation Technology of Polymer Nanohydrogels for Unique Physicochemical Properties Using Machine Learning Approach Prior Experimental Maner”

ดร.สัญชัย คูบูรณ์ ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสามัญสมาคมนักวิจัยไทยรุ่นใหม่ ประจำไปี 2564

ดร.ชูศักดิ์ ธนวัฒโน และคณะ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ตัวรับรู้แบบสวมใส่เพื่อเฝ้าระวังภาวะเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยการตรวจวัดจากเหงื่อ”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ผลงานเรื่อง “เอนอีซ (ENZease) เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวันสำหรับกระบวนการผลิตสิ่งทอที่สามารถลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกได้พร้อมกันในขั้นตอนเดียว”

สวทช. ได้รับรางวัลประเภทองค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communicator Award for Organization)

ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล และคณะ ผลงานเรื่อง “ระบบบริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลา”

ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล และคณะ ผลงานเรื่อง “สมบัติทางกลและการขึ้นรูปโลหะผสมจำรูปสำหรับการใช้งานทางด้านการแพทย์และทันตกรรม”

ตอนที่ 26 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.ศศิธร เอี้อวิริยะวิทย์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนนักวิจัยหญิง 1 ใน 5 ราย จากประเทศในภูมิภาคอาเซียนและแอฟริกา เข้าร่วมโครงการ Young Female Scientist Programmer

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. ผลงานเรื่อง “แพลตฟอร์ม AMED Telehealth”

ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์ ผลงานเรื่อง “The World Academy of Sciences (TWAS) Young Affiliates”

ดร.สุภาวดี อิงศรีสว่าง และคณะ ผลงานเรื่อง “โครงการพัฒนาดัชนีจุลินทรีย์ด้วยวิธีทางอณูชีววิทยาและดีเอ็นเอบาร์โค้ดเพื่อการประเมินสถานภาพของระบบนิเวศในลุ่มน้ำแม่โขง-ล้านช้าง (A Microbial-based Index to Assess the Ecological Status of the Lancang-Mekong River based on Molecular Approaches and DNA Barcoding: MekongDNA)”

ดร.วรินธร สงคศิริ และคณะ ผลงานเรื่อง “โครงการ Train-the-Trainer Program under Lancang – Mekong Cooperation to Enhance Production Capacity and People’s Livelihood by Improving the Value Chain for Cassava Cultivation and Application: Clean Cassava Chips, Native Starch, Modified Starch, Ethanol and Biogas Production”

ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี ผลงานเรื่อง “Development of a platform for rapid screening of senolytic agents and discovery of novel-aging compounds from Thai plants” และ “Bovine colostrum (ผลงานวิจัยของบริษัท เดวิด เอนเตอร์ไพรส์ แอนด์ ดีวีลอปเม้นท์ จำกัด)”

ดร.รัตน์จิกา วงศ์วนากุล ผลงานเรื่อง “Fenugreek extract (ผลงานวิจัยของ บริษัท ไอเดียทูเอ็กซ์เพิร์ท จำกัด)”

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม 2564

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม 2564

การประชุมประจำปี 2564

     สมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา (ATSA) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน (OHESI) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) ได้จัดการประชุมสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐฯ และนักเรียนทุน พสวท. และทุนวิชาการโอลิมปิก ประจำปี 2564 20 – 22 สิงหาคม 2564 ณ โรงแรม Boston Marriott Copley Place นครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซ็ตส์ ซึ่งจัดแบบระบบทางไกลและการประชุมในห้อง

การบรรยายช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564
ศาสตรจารย์นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวเปิดงานและให้โอวาท
ปอว. ได้ให้ข้อคิดในการใช้ชีวิตในต่างประเทศ กับนักเรียนไทย ให้ใช้ชีวิตแบบ “ไปให้ถึงอเมริกา” หมายถึงนอกจากเก็บเกี่ยววิชาความรู้แล้ว ให้รู้จักศึกษาเรียนรู้สภาวการณ์ในประเทศนั้นๆ แสวงหาประสบการณ์ที่มีคุณค่าในมิติอื่นๆ เช่นด้านสุนทรียศาสตร์ และการผูกมิตรเพื่อให้เป็นคนที่มีความสุข และมีเครือข่ายมิตรและเพื่อนร่วมงานในระยะยาว

นายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันกล่าวให้โอวาท
ให้นักเรียนได้ให้ความตระหนักและร่วมมุ่งแก้ไขปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ เช่นโรคอุบัติใหม่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งติดตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆ การศึกษาเรียนรู้ไม่ได้จบแค่วันสำเร็จวันรับปริญญาบัตร

ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. บรรยายในหัวข้อ “โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และนิคมวิจัยสำคัญของไทย แหล่งพัฒนาองค์ความรู้และกำลังคน”
บรรยายถึงภาพรวมโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของไทย ในปี 2564 ไทยมีอันดับความสามารถทางการแข่งขัน (IMD World Competitiveness 2021) อยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 อันดับ ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ไทยขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 38 โดยค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.11 ของ GDP ในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.14 ของ GDP ในปี 2564 รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน

ดร.กิติพงศ์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการ สอวช. บรรยายในหัวข้อ “นโยบาย BCG Economy กับความจำเป็นต่อการเตรียมบุคลากรรุ่นใหม่”
บรรยายเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model) เป็นแนวทางการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมุ่งเน้น 4 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ 1) เกษตรและอาหาร 2) พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ 3) สุขภาพและการแพทย์ 4) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี KMITL บรรยายในหัวข้อ “แนวทางพัฒนาอาจารย์และนักวิจัยในสถาบันการอุดมศึกษายุคใหม่”
กล่าวแนะนำในการพัฒนาความเป็นผู้นำ โดยหลักการสำคัญ คือต้องเป็นผู้กล้าที่จะทำในสิ่งที่ใหม่ที่ดี เน้นมิติการเป็นนักวิจัย เป็นกลุ่มบุคคลที่สร้างนวัตกรรมให้กับประเทศ และแนะนำให้อ่านหนังสือ How to Lead ของ David Rubenstein เป็นตำราชี้แนะแนวทางการมุ่งสู่ความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สสวท. บรรยายในหัวข้อ “บทบาท สสวท. กับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี”
ศ.ดร.ชูกิจฯ กล่าวถึงภารกิจหลัก 3 ด้านของสสวท. คือ 1) มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัยและเหมาะสมกับบริบทของประเทศ 2) พัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทุกสังกัด ทุกระดับชั้น และยกมาตรฐานโรงเรียน 3) พัฒนาส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

รศ.ดร.วีระ จันทร์คง รองประธานสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) บรรยายในหัวข้อ “นักวิชาชีพไทยในสหรัฐฯ กับการสนับสนุนงานของบ้านเมืองในบริบทโลกใหม่”
กล่าวถึงความสำคัญและหลักการที่นวัตกรรมสามารถนำประเทศไทยไปสู่ ประเทศไทย 4.0 ประเทศไทยต้องพัฒนากำลังมันสมองที่จะเป็นเชื้อเพลิงที่จะนำไปสู่การเติบโตของอุตสาหกรรมสำคัญ 10 อย่าง

Plenary และ Short Talk จากวิทยากรและนักเรียน
การบรรยายในรูปแบบ Plenary Talk เป็นการบรรยายเชิงวิชาการที่มีงานวิจัยสองหัวข้อหลักคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิชาด้านสังคมศาสตร์

Plenary Talk 1 – ศ.ดร.วาสนา ยันตะสี ศาสตราจารย์จาก Oregon Health and Science University, School of Medicine, CEO ของบริษัท PDX Pharmaceuticals
บรรยายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี Nanoparticles เป็นเทคโนโลยีในการรักษามะเร็งยุดใหม่ สำหรับการรักษามะเร็งระยะรุกลาม อาศัยการรักษาเชิงรุก เนื่องจากเซลล์มะเร็งสามารถเข้าไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้ง่าย และไม่ได้รุกลามไปเฉพาะเซลล์มะเร็ง ดังนั้นต้องให้ยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โดยใช้การส่งยาที่เรียกว่า multiple pathways delivery

Plenary Talk 2 – ศ.ดร Ian Baird ประธานศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประจำมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison
บรรยายหัวข้อ Covid-19: Spatial Strategies and Politics in Thailand and the United States ซึ่งบรรยายเรื่องราวการบริหารจัดการสถานการณ์โควิดตามพื้นที่ โดยสหรัฐฯ มีนโยบายการกระจายวัคซีนจากรัฐบาลกลางไประดับท้องถิ่นผ่านรัฐบาลท้องถิ่นในระดับ Counties เป็นผู้กำหนดนโยบาย ระดับองค์กรและบุคคล สำหรับวัคซีนนั้นไม่ใช่เฉพาะเรื่องคุณภาพของวัคซีน แต่หากมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ชี้ให้เห็นว่าการเกิดโรคโควิด-19 นี้ ทำให้เกิดการเพิ่มอำนาจของรัฐบาลเกือบทุกประเทศ

จาก Plenary Talks นี้ มุมมองของนักวิชาการสองศาสตร์ให้ข้อคิดกับประเทศไทยที่ยังมีข้อแตกต่างกับสหรัฐฯ ในด้านเงินสนับสนุนงานวิจัย การส่งเสริมงานวิจัยชั้นแนวหน้า ในด้านสังคมศาสตร์ชี้ให้เห็นของการบริหารจัดการระดับประเทศที่มีการรวมอำนาจและมีการกระจายอำนาจที่แตกต่างกัน

การนำเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อยโดยนักเรียนทุน พสวท. และทุนโอลิมปิก
นักเรียนทุน พสวท. และทุนโอลิมปิกวิชาการจำนวน 20 คนได้นำเสนอผลงานแบบกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ตามสาขาการวิจัย ดังนี้

คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 คน
นักเรียนได้กล่าวถึงงานวิจัยเรื่องวิทยาการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ (modern cryptography) และการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) มาใช้ในการประมวลผล สกัดข้อมูลจากเว็บเพจ นอกจากนี้ยังมีการสนทนาผลลัพธ์ใหม่ของปัญหาดอกทานตะวัน (sunflower problem) ปัญหาเกี่ยวกับความต่อเนื่องบนพื้นผิวในปริภูมิสามมิติ อาจทำให้เกิดการพัฒนาด้านความเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้ในอนาคต

เคมี จำนวน 8 คน
นักเรียนได้นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อเคมีบริสุทธิ์ การวิจัยในหัวข้อความสมดุลทางเคมีในระบบซับซ้อน และการกระตุ้นปฏิกิริยาในโมเลกุลขนาดเล็ก งานวิจัยนาโนการทดลองจุดนาโน (nanodots) ในย่านใกล้อินฟราเรด และการส่องภาพวัสดุนาโนด้วยเลเซอร์ งานวิจัยสารละลายประจุไฟฟ้าต้านแบคทีเรีย การบำบัดด้วยแสง การรู้จำแบบ (pattern recognition) ของโครงสร้างในเซลล์ประสาท และ การลดของเสียประเภทเคมีการทำการทดลอง

ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์กายภาพ จำนวน 5 คน
นักเรียนนำเสนองานวิจัยเรื่องเทคนิคใหม่ทางฟิสิกส์ควอนตัม ในการวัดค่าฟังก์ชั่นคลื่น และงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ในแกลเลียม ออกไซด์ (Gallium (III) Oxide) และการทดลองในกราฟีนสามชั้น (Trilayer graphene) งานวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์กายภาพโดยการสร้างโมเดลการผุกร่อนของหน้าดิน และการศึกษาพายุรุนแรงในแถบเอเชียตะวันออกเขตร้อน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ประเทศไทยอีกด้วย

ชีววิทยา จำนวน 3 คน
นักเรียนนำเสนองานวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นฐานของกุ้งและโอกาสของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (sustainable ecotourism) งานวิจัยไวรัส เนื้อเยื่อของไวรัสในปลาม้าลายสองสายพันธุ์ และความสำคัญของโปรตีนที่มีต่อถุงห่อหุ้มของไวรัส (envelope glycoproteins)

การเสวนาในหัวข้อ “วิจัยไทย ทำอะไรกันอยู่”
รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) บรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศไทย”
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) มีจุดประสงค์หลักคือการสร้างนวัตกรรมและบริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในอาเซียนภายใน 5 ปี ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์หลักของ สทน. ประกอบด้วย เภสัชรังสีรักษามะเร็ง การยกระดับสินค้าเกษตร การฉายรังสีอาหารและผลไม้ และการยกระดับอุตสาหกรรม เป้าหมายในอนาคต คือ การเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องเร่ง และพลังงานธรรมชาติที่สะอาด และยั่งยืนที่เกิดในดวงอาทิตย์ หรือพลังงานฟิวชั่น

รศ.ดร.พิมพ์ผกา ฮาร์ดิง บรรยายในหัวข้อ “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัสดุเชิงฟังก์ชันและนาโนเทคโนโลยี (FuNTech)”
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัสดุเชิงฟังก์ชันและนาโนเทคโนโลยี (FuNTech) เป็นองค์กรที่มีผู้ประสานงานในการทำวิจัยอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน หัวข้อการวิจัยหลักได้แก่ การประยุกต์ใช้พลาสม่าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การจัดเก็บพลังงาน อุปกรณ์แปรรูปอาหาร

และนาโนเทคโนโลยี อยู่ระหว่างการขยายทรัพยากรทางการวิจัย และระบบตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผศ.ดร.สัมพันธ์ เนตยานันท์ ประธานบริหารหลักสูตรการเงิน คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร บรรยายในหัวข้อ “งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์การเงิน”
ผศ.ดร.สัมพันธ์ฯ ได้แบ่งปันประสบการณ์การใช้ชีวิต การเรียนและทำงานกับบุคลากร ชั้นนำระดับโลก และอธิบายงานวิจัยในสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งนำแนวคิดมาจากงานวิจัยในแขนงอื่น อาทิ ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และการเงิน และได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน การสร้างเครือข่ายทางสังคม การใช้ชีวิต

พิธีปิดประชุม
อทป.อว. ได้ให้ข้อคิดในการดำรงชีวิตและดำรงตน 5 ประการ ดังนี้
1. Positivist หรือการเป็นผู้นิยมเหตุผล (ไม่ได้แปลว่า การเป็นผู้คิดบวก)
คือการแสวงหาประสบการณ์การรับรู้โดยตรง รู้จักวิเคราะห์ ทดสอบ พิสูจน์ จะทำให้การพัฒนาวิธีคิดมีความถูกต้องและเป็นธรรม นำไปสู่การประสบความสำเร็จ มากกว่าที่จะคล้อยตามหรือเชื่อเพียงแต่การรับรู้ตามสื่อหรือกระแสต่าง ๆ

2. Optimist หรือการเป็นผู้มองโลกในแง่ดี (ซึ่งต่างจากโลกสวย)
การมองโลกในแง่ดี คือการที่เห็นทางออกของปัญหา มีความพอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่และคิดว่าปัญหาที่มีจะสามารถแก้ไขได้ รวมทั้งพยายามช่วยคิดแก้ไขปัญหาในทางสร้างสรรค์ และไม่ใช้ความก้าวร้าว หรือวาจาไม่เหมาะสม

3. Humanist หรือการมีความเป็นมนุษย์
มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวไปมากในปัจจุบัน จะลดลงได้ ถ้าผู้คนลดการเอาเปรียบผู้อื่น และที่มีโอกาสมากหันมาช่วยเหลือคนที่มีโอกาสน้อยกว่าตน โดยไม่จำเป็นต้องคิดว่าหน้าที่ดังกล่าวเป็นของรัฐบาลหรือองค์กรกลางเท่านั้น

4. Environmentalist หรือการเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หลักการของคนรุ่นใหม่ เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายด้านได้ทวีความรุนแรงขึ้น คนรุ่นใหม่ต้องใส่ใจกับการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรและรักษาสิ่งแวดล้อม

5. Gratitudist หรือการรู้คุณ
ฐานคิดด้านการรู้คุณ ช่วยสร้างความภูมิใจในชาติและบรรพบุรุษ และประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานดังกล่าวที่แน่นหนามีโอกาสเจริญเติบโตได้รวดเร็ว โดยเฉพาะ คนรุ่นใหม่ เห็นได้ที่จีนเป็นชนชาติที่ยึดมั่นในหลักการนี้แรงกล้า มีตัวเลขหลายอย่างเจริญแซงหน้ามหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น สังคมผู้สูงอายุที่เรากำลังเผชิญมีความจำเป็นต้องใส่ใจในค่านิยมนี้ให้มากยิ่งขึ้นด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://static1.squarespace.com/static/5f7e0e2e76a05248ed76e064/t/617add868046607e1b232cdd/1635442060641/OST+Science+Review+September+2021+small.pdf

 

 

ตอนที่ 25 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ดร.จักรพล สุนทรวราภาส ผลงานเรื่อง “พี ลิกนิน แคร์ (P Iignin care)”

ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการนำส่งยาต้านจุลชีพทิลมิโคซินด้วยพาหะนำส่งระดับนาโนผ่านระบบทางเดินอาหารประสิทธิภาพสูงตรงเป้าหมาย”

ดร.สรวง สมานหมู่ ผลงานเรื่อง “G-breath” หรือ เครื่องตรวจและบอกชนิดเบาหวาน”

ดร.อภิรดา สุคนธ์พันธุ์ ผลงานเรื่อง “Herbal Extracts and Formulation Development of Nano-emulsions for Hair Growth”

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคชนิดมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส ด้วยดีเอ็นเอเซนเซอร์”

ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ และคณะ ผลงานเรื่อง “การตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหารหลาย ๆ ชนิดพร้อมกันด้วยแอนติบอดีอะเรย์”