ในปี 2564 WIPO ได้จัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรมของ 132 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ https://www.wipo.int/global_innovation_index/en/2021/?gclid=EAIaIQobChMI6f6Mrq3l9AIVS5lmAh2Saw98EAAYASAAEgIih_D_BwE โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้
ตารางผลการจัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย WIPO
ประเทศ |
สวิตเซอร์แลนด์ |
สวีเดน |
สหรัฐอเมริกา |
สหราชอาณาจักร |
เกาหลีใต้ |
ไทย |
ปี |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
อันดับรวม |
1 |
1 |
2 |
2 |
3 |
3 |
4 |
4 |
5 |
10 |
43 |
44 |
1. สถาบัน |
13 |
13 |
9 |
11 |
12 |
9 |
15 |
16 |
28 |
29 |
64 |
65 |
1.1 สภาพแวดล้อมด้านการเมือง |
3 |
2 |
8 |
10 |
19 |
16 |
21 |
25 |
18 |
24 |
54 |
51 |
1.2 สภาพแวดล้อมด้านการควบคุม |
7 |
7 |
13 |
13 |
12 |
11 |
9 |
8 |
57 |
52 |
112 |
113 |
1.3 สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจ |
47 |
47 |
16 |
16 |
2 |
2 |
12 |
12 |
10 |
10 |
20 |
20 |
2. ทุนมนุษย์และการวิจัย |
6 |
6 |
2 |
3 |
11 |
12 |
10 |
10 |
1 |
1 |
63 |
67 |
2.1 การศึกษา |
24 |
31 |
4 |
6 |
41 |
45 |
28 |
35 |
22 |
28 |
86 |
87 |
2.2 อุดมศึกษา |
21 |
18 |
25 |
28 |
45 |
45 |
18 |
15 |
13 |
16 |
57 |
58 |
2.3 การวิจัยและพัฒนา |
3 |
4 |
5 |
6 |
2 |
2 |
9 |
9 |
1 |
1 |
47 |
46 |
3. โครงสร้างพื้นฐาน |
2 |
3 |
3 |
2 |
23 |
24 |
10 |
6 |
12 |
14 |
61 |
67 |
3.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
15 |
21 |
22 |
13 |
9 |
9 |
2 |
1 |
1 |
2 |
60 |
79 |
3.2 โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป |
24 |
25 |
6 |
4 |
18 |
15 |
40 |
38 |
11 |
10 |
48 |
50 |
3.3 ความยั่งยืนด้านนิเวศวิทยา |
2 |
2 |
17 |
15 |
55 |
59 |
14 |
14 |
50 |
49 |
68 |
67 |
4. ความซับซ้อนของตลาด |
6 |
6 |
11 |
12 |
2 |
2 |
4 |
5 |
18 |
11 |
27 |
22 |
4.1 เครดิต |
7 |
6 |
17 |
17 |
1 |
1 |
10 |
8 |
12 |
10 |
24 |
21 |
4.2 การลงทุน |
10 |
7 |
16 |
21 |
9 |
13 |
5 |
5 |
65 |
42 |
64 |
31 |
4.3 การค้า การแข่งขัน และขนาดตลาด |
46 |
27 |
24 |
30 |
18 |
1 |
3 |
4 |
16 |
12 |
19 |
25 |
5. ความซับซ้อนของธุรกิจ |
4 |
2 |
1 |
1 |
2 |
5 |
21 |
19 |
7 |
7 |
36 |
36 |
5.1 คนทำงานที่มีความรู้ |
5 |
4 |
3 |
3 |
4 |
5 |
14 |
16 |
1 |
2 |
51 |
51 |
5.2 การเชื่อมต่อนวัตกรรม |
4 |
5 |
2 |
2 |
5 |
8 |
17 |
14 |
15 |
16 |
67 |
68 |
5.3 การดูดซับความรู้ |
11 |
12 |
6 |
13 |
7 |
5 |
27 |
27 |
8 |
8 |
18 |
15 |
6. ผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี |
1 |
1 |
2 |
2 |
3 |
3 |
10 |
9 |
8 |
11 |
40 |
44 |
6.1 การสร้างความรู้ |
1 |
1 |
2 |
2 |
3 |
3 |
8 |
6 |
7 |
7 |
47 |
54 |
6.2 ผลกระทบของความรู้ |
2 |
5 |
14 |
19 |
1 |
3 |
19 |
10 |
23 |
27 |
44 |
32 |
6.3 การเผยแพร่ความรู้ |
12 |
6 |
6 |
4 |
16 |
16 |
15 |
11 |
7 |
15 |
33 |
36 |
7. ผลผลิตจากการสร้างสรรค์ |
2 |
2 |
5 |
7 |
12 |
11 |
4 |
5 |
8 |
14 |
55 |
52 |
7.1 ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ |
5 |
3 |
8 |
8 |
21 |
15 |
10 |
9 |
1 |
2 |
68 |
57 |
7.2 สินค้าและบริการสร้างสรรค์ |
3 |
3 |
19 |
21 |
7 |
7 |
6 |
10 |
20 |
19 |
15 |
14 |
7.3 การสร้างสรรค์ออนไลน์ |
4 |
5 |
7 |
6 |
21 |
18 |
10 |
10 |
37 |
37 |
84 |
73 |
สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้เหมือนปีที่แล้ว รองลงมาคือ สวีเดน ซึ่งปีนี้มีอันดับเหมือนปีที่แล้ว ถัดมาเป็นสหรัฐอเมริกา มีอันดับเหมือนปีที่แล้ว สหราชอาณาจักรยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว อันดับ 5 คือ เกาหลีใต้ มีอันดับเลื่อนขึ้นมาจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ส่วนไทยได้อันดับ 43 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 44 ในปีที่แล้ว
สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 43 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย เป็นหลัก จากทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 67 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 63 ในปีนี้ 2. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ จากอันดับ 67 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 61 ในปีนี้ 3. ปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 40 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย คือ ปัจจัยย่อยการศึกษาและปัจจัยย่อยอุดมศึกษา ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 87 และ 58 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 86 และ 57 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน คือ ปัจจัยย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 19 อันดับ จากอันดับ 79 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 60 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี คือ ปัจจัยย่อยการสร้างความรู้ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 54 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 47 ในปีนี้ อันดับที่ได้ของทั้ง 7 ปัจจัยทั้งในปีนี้และปีที่แล้วของไทยจัดอยู่ในระดับค่อนไปในทางที่ดีจนถึงปานกลาง โดยมีปัจจัยความซับซ้อนของตลาดและปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ มีอันดับค่อนไปในทางที่ดีทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้อันดับ 22 และ 36 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 27 และ 36 ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากเนื่องจากมีอันดับไม่ดีและต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยสภาพแวดล้อมด้านการควบคุม ที่มีอันดับ 113 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 112 ตัวชี้วัดที่มีอันดับที่ไม่ดีต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ตัวชี้วัด Cost of redundancy dismissal มีอันดับ 123 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 124 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยสภาพแวดล้อมด้านการควบคุม ปัจจัยสถาบัน ทำให้ตัวชี้วัด Cost of redundancy dismissal เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 2. ตัวชี้วัด Pupil-teacher ratio, secondary มีอันดับ 109 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการศึกษา ปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย 3. ตัวชี้วัด ICT services imports, % total trade มีอันดับ 123 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 116 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการดูดซับความรู้ ปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ ทำให้ตัวชี้วัด ICT services imports, % total trade เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดในปีที่แล้ว 4. ตัวชี้วัด ICT services exports, % total trade มีอันดับ 117 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 118 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการเผยแพร่ความรู้ ปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี 5. ตัวชี้วัด Country-code TLDs/th pop. 15–69 มีอันดับ 100 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 102 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการสร้างสรรค์ออนไลน์ ปัจจัยผลผลิตจากการสร้างสรรค์ ส่วนตัวชี้วัดที่มีอันดับดีมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ตัวชี้วัด Ease of protecting minority investors มีอันดับ 3 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการลงทุน ปัจจัยความซับซ้อนของตลาด 2. ตัวชี้วัด GERD financed by business, % มีอันดับ 1 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยคนทำงานที่มีความรู้ ปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ ทำให้ตัวชี้วัด GERD financed by business, % เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับดีที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีที่แล้วและปีนี้ 3. ตัวชี้วัด Creative goods exports, % total trade มีอันดับ 1 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 8 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยสินค้าและบริการสร้างสรรค์ ปัจจัยผลผลิตจากการสร้างสรรค์
คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้านเนื่องจากในปีนี้ได้อันดับ 43 ซึ่งเป็นอันดับค่อนไปทางระดับปานกลาง เพื่อในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นกว่านี้มาก โดยเฉพาะด้าน Cost of redundancy dismissal ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว
ในปี 2564 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของ 64 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/world-digital-competitiveness/ โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้
ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย IMD
ประเทศ |
สหรัฐอเมริกา |
ฮ่องกง |
สวีเดน |
เดนมาร์ก |
สิงคโปร์ |
ไทย |
ปี |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
อันดับรวม |
1 |
1 |
2 |
5 |
3 |
4 |
4 |
3 |
5 |
2 |
38 |
39 |
1. ความรู้ |
3 |
1 |
5 |
7 |
2 |
4 |
8 |
6 |
4 |
2 |
42 |
43 |
1.1 ความสามารถพิเศษ |
13 |
14 |
6 |
7 |
7 |
9 |
5 |
4 |
2 |
1 |
39 |
36 |
1.2 การฝึกอบรมและการศึกษา |
24 |
24 |
1 |
5 |
2 |
2 |
4 |
9 |
13 |
7 |
56 |
55 |
1.3 ความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ |
2 |
1 |
14 |
17 |
4 |
6 |
17 |
15 |
11 |
10 |
36 |
37 |
2. เทคโนโลยี |
4 |
7 |
1 |
2 |
8 |
6 |
9 |
9 |
3 |
1 |
22 |
22 |
2.1 โครงสร้างการควบคุม |
12 |
22 |
6 |
7 |
3 |
5 |
4 |
4 |
5 |
1 |
29 |
31 |
2.2 เงินทุน |
1 |
1 |
7 |
12 |
5 |
4 |
13 |
23 |
14 |
11 |
19 |
17 |
2.3 โครงสร้างเทคโนโลยี |
9 |
7 |
1 |
2 |
13 |
11 |
6 |
6 |
2 |
1 |
22 |
25 |
3. ความพร้อมในอนาคต |
1 |
2 |
10 |
10 |
6 |
7 |
2 |
1 |
11 |
12 |
44 |
45 |
3.1 ทัศนคติที่ปรับตัวได้ |
1 |
3 |
3 |
4 |
5 |
8 |
4 |
2 |
11 |
20 |
53 |
53 |
3.2 ความคล่องตัวทางธุรกิจ |
1 |
2 |
9 |
14 |
13 |
10 |
7 |
5 |
12 |
11 |
34 |
44 |
3.3 การรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ |
3 |
10 |
17 |
19 |
5 |
4 |
1 |
1 |
7 |
3 |
43 |
43 |
สหรัฐอเมริกาได้อันดับ 1 เหมือนปีที่แล้ว รองลงมาคือ ฮ่องกง เลื่อนขึ้นมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว ถัดมาเป็นสวีเดน ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ เดนมาร์กได้อันดับ 4 ในปีนี้ตกลงมาจากปีที่แล้ว 1 อันดับ อันดับ 5 คือ สิงคโปร์ มีอันดับเลื่อนลง 3 อันดับจากปีที่แล้ว ส่วนไทยได้อันดับ 38 ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ
สหรัฐอเมริกายังคงรักษาอันดับ 1 ได้อย่างเดิม เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้ 2 อันดับ จากอันดับ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ และการเลื่อนอันดับขึ้นของ 2 ปัจจัย ที่เหลือ คือ ปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต มีอันดับเลื่อนขึ้น 3 และ 1 อันดับ เป็นอันดับ 4 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 1 อันดับ จากอันดับ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 17 อันดับ ปีที่แล้วมีอันดับ 1 ส่วนปีนี้มีอันดับ 18 การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยี เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุมถึง 10 อันดับ จากอันดับ 22 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 12 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม คือ ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 26 อันดับ จากอันดับ 63 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 37 ในปีนี้ ทำให้ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนขึ้น คือ ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 10 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ตัวชี้วัดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และตัวชี้วัดความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 8 และ 11 อันดับ จากอันดับ 19 และ 33 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 11 และ 22 ในปีนี้ ตามลำดับ
ฮ่องกงได้อันดับ 2 ในปีนี้ เลื่อนขึ้นมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้และปัจจัยเทคโนโลยี 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 7 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 5 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยความพร้อมในอนาคตยังคงครองอันดับ 10 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ 2. ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ 3. ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษเลื่อนอันดับขึ้น คือ ตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 8 อันดับ จากอันดับ 43 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 35 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษามีอันดับเลื่อนขึ้น คือ ตัวชี้วัดการฝึกหัดพนักงานและตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 16 และ 8 อันดับ เป็นอันดับ 14 และ 37 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดการฝึกหัดพนักงานเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด การเลื่อนอันดับขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมด และตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยหลักที่มีผลทำให้ปัจจัยเทคโนโลยีเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเงินทุน ที่เลื่อนอันดับขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีผลทำให้ปัจจัยย่อยเงินทุนเลื่อนอันดับขึ้น คือ ตัวชี้วัดการให้ทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี ที่เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 15 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 11 ในปีนี้
สวีเดนได้อันดับ 3 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยความรู้และปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 4 และ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 และ 6 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยเทคโนโลยีมีอันดับลดลง 2 อันดับ จากอันดับ 6 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 8 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษและปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 2 อันดับเท่ากัน เป็นอันดับ 7 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดบุคลากรที่มีทักษะสูงเรื่องต่างประเทศ และตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นเล็กน้อยของตัวชี้วัดรายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนา ตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิง ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และตัวชี้วัดการศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยความพร้อมในอนาคตเป็นผลจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ 3 อันดับ จากอันดับ 8 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 5 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดทัศนคติต่อทั่วโลก ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 1 ในปีนี้
เดนมาร์กได้อันดับ 4 ในปีนี้ ตกลงมาจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้และปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 6 และ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 8 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่อีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยเทคโนโลยียังคงครองอันดับ 9 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษและปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ จากอันดับ 4 และ 15 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 5 และ 17 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษมีอันดับลดลง การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดรายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนาและตัวชี้วัดบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมด การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความพร้อมในอนาคตเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้และปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ จากอันดับ 2 และ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 และ 7 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดการค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน และตัวชี้วัดทัศนคติต่อทั่วโลก ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค และตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics
สิงคโปร์ได้อันดับ 5 ในปีนี้ มีอันดับเลื่อนลง 3 อันดับจากปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้และปัจจัยเทคโนโลยี 2 อันดับเท่ากัน จากอันดับ 2 และ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 11 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทั้งหมด ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา เลื่อนอันดับลง 6 อันดับ เป็นอันดับ 13 ในปีนี้ 3. ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 11 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษเลื่อนอันดับลงเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของตัวชี้วัดประสบการณ์ระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดการจัดการเมือง ตัวชี้วัดทักษะทางด้านเทคโนโลยีหรือดิจิทัล และตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษาเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดการฝึกหัดพนักงานและตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา 7 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 23 และ 63 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เลื่อนอันดับลงถึง 16 อันดับ จากอันดับ 11 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 27 ในปีนี้ ปัจจัยเทคโนโลยีเลื่อนอันดับลงเป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม เลื่อนอันดับลง 4 อันดับ เป็นอันดับ 5 ในปีนี้ 2. ปัจจัยย่อยเงินทุน เลื่อนอันดับลง 3 อันดับ เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ 3. ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม คือ ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ที่เลื่อนอันดับลงถึง 13 อันดับ จากอันดับ 48 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 61 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยเงินทุนเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดการลงทุนในโทรคมนาคมเป็นหลัก ที่เลื่อนอันดับลงถึง 14 อันดับ จากอันดับ 41 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 55 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี คือ ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้และตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่เลื่อนอันดับลงถึง 19 และ 23 อันดับ จากอันดับ 1 เหมือนกันในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 20 และ 24 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีอันดับเลื่อนลงมากที่สุด
ปีนี้ไทยได้อันดับรวมอยู่ที่อันดับ 38 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้และปัจจัยความพร้อมในอนาคต 1 อันดับ จากอันดับ 43 และ 45 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 42 และ 44 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยเทคโนโลยี มีอันดับ 22 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ดังนั้นไทยยังคงต้องพัฒนาด้านความรู้และด้านความพร้อมในอนาคต เนื่องจากยังคงมีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีในปีนี้ และทั้งสองปัจจัยเป็นเหตุดึงรั้งให้ไทยจัดอยู่ในอันดับ 38 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากซึ่งมีทั้งอันดับต่ำในปีนี้และปีที่แล้ว คือ 1. ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา อยู่ภายใต้ปัจจัยความรู้ ที่เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ จากอันดับ 55 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 56 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 2. ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ อยู่ภายใต้ปัจจัยความพร้อมในอนาคต มีอันดับ 53 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา คือ ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาและตัวชี้วัดจำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย มีอันดับ 58 และ 54 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 59 และ 56 ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีนี้และปีที่แล้ว ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต มีอันดับ 58 ทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ ทำให้ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ตเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีที่แล้ว ถึงแม้ปัจจัยเทคโนโลยียังคงรักษาอันดับ 22 ไว้ได้ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอันดับระดับปานกลาง แต่มีตัวชี้วัดภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุนและปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาอย่างมาก คือ ตัวชี้วัดการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุนและตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ที่มีอันดับ 40 และ 54 ในปีที่แล้ว ในขณะที่ปีนี้มีอันดับ 42 และ 49 ตามลำดับ ส่วนตัวชี้วัดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมาก ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 37 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม ปัจจัยเทคโนโลยี 2. ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 13 อันดับ จากอันดับ 38 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 25 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต 3. ตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 36 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 29 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีอันดับดีมากในปีนี้ คือ ตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิงที่ยังคงครองอันดับดีที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว โดยได้อันดับ 6 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยความรู้
คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 38 ในปีนี้ แต่ไทยยังคงต้องพัฒนาอีกหลายตัวชี้วัดดังที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากอันดับที่ได้ในปีนี้ยังคงเป็นอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดี โดยเฉพาะด้านรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับเลื่อนขึ้นมาก
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2564
สหภาพยุโรปกำหนดเป้าหมายใหม่ภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55” เพื่อการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี ค.ศ. 2030
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 คณะกรรมาธิการยุโรป ได้นำเสนอชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55” ต่อรัฐสภายุโรป เพื่อพิจารณาใช้ในการกำหนดนโยบายด้านสภาพอากาศ พลังงาน การใช้ที่ดิน การขนส่ง และนโยบายด้านภาษี ให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 และ บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ตามนโยบาย European Green Deal ภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55” สรุปได้ ดังนี้
เป้าหมายและข้อกำหนดภายใต้ชุดร่างกฎหมาย “Fit for 55”
ด้านการขนส่ง
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดโดยรวมของภาคการขนส่ง
- ลดการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งทั้งทางบก ทะเล และอากาศให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 13 ภายในปี ค.ศ. 2030
- กำหนดสัดส่วนของการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง (advanced biofuel) เป็นอย่างน้อยร้อยละ 2 จากพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในภาคการขนส่ง ภายในปี ค.ศ. 2030
- กำหนดสัดส่วนของการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพไฮโดรเจนเป็นอย่างน้อยร้อยละ 6 จากพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในภาคการขนส่ง ภายในปี ค.ศ. 2030
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดของภาคการขนส่งโดยรถยนต์
- ลดระดับการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ยของรถยนต์ใหม่ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030
- ลดระดับการปล่อยมลพิษ/ ก๊าญเรือนกระจกโดยเฉลี่ยของรถตู้อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2030
- ลดระดับการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ยของรถยนต์ใหม่ร้อยละ 100 ภายในปี ค.ศ. 2035
- ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2035 รถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ในสหภาพยุโรปจะมีการปล่อยมลพิษ/ ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดของภาคการขนส่งทางอากาศ
- ผู้จัดหารเชื้อเพลิงสำหรับภาคการขนส่งทางอากาศจะต้องผสมเชื้อเพลิงที่มีความยั่งยืน เช่น เชื้อเพลิงสังเคราะห์คาร์บอนต่ำ ในอัตราส่วนที่สูงขึ้น
- ภายใต้กฎระเบียบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Emissions Trading System, ETS) ในสาขาการบิน สหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะลดการให้โควต้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปอย่างต่อเนื่อง และมีแผนจะหยุดให้โควตาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ฟรีในสาขาการบินในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2026
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดของภาคการขนส่งทางทะเล
- มีแผนกำหนดระดับสูงสุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานของเรือขนส่ง เช่น รูปแบบของการกำหนดโควต้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับภาคการขนส่งทางทะเลภายใต้กฎระเบียบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ETS) เพื่อส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีไร้ก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งทางทะเล
- เรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่า 5,000 ตันที่ต้องการเข้าจอดเทียบท่าเรือในสหภาพยุโรปจำเป็นต้องซื้อใบอนุญาตด้านมลพิษภายใต้ระบบการปล่อยไอเสีย
ด้านระบบพลังงาน
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน
- กำหนดสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 40 ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ในยุโรป (ภายในปี ค.ศ. 2030)
- ภาคอุตสาหกรรม : เพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคอุตสาหกรรมทุกปี ณ อัตราร้อยละ 1 ต่อปี
- เป้าหมายของการใช้พลังงานไฮโดรเจน
- ช่วงปี ค.ศ. 2020 ถึง ค.ศ. 2025 สหภาพยุโรปจะสนับสนุนการติดตั้งระบบการผลิตไฮโดรเจนแบบหมุนเวียนโดยใช้กระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (renewable hydrogen electrolysers) ให้ได้อย่างน้อย 6 กิกะวัตต์ในยุโรปโดยต้องผลิตไฮโดรเจนหมุนเวียนให้ได้ถึง 1 ล้านตัน
- ช่วงปี ค.ศ. 2025 ถึง ค.ศ. 2030 สหภาพยุโรปมีเป้าหมายให้พลังงานไฮโดรเจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบพลังงานแบบรวมอย่างน้อย 40 กิกะวัตต์
- เป้าหมายของการใช้พลังงานชีวภาพ (bioenergy)
- หลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืนของการใช้พลังงานชีวภาพในสหภาพยุโรปมีความเคร่งครัดมากขึ้น เช่น
- ห้ามให้มีการใช้ชีวมวลประเภทไม้จากป่าปฐมภูมิ (primary forest) พื้นที่ดินพรุ (peatland) และพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ในการผลิตพลังงานชีวภาพ
- ห้ามใช้แรงจูงใจทางการเงินเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวมวลประเภทไม้ เช่น ท่อนซุง ตอไม้ และรากไม้ เพื่อผลิตเป็นพลังงาน
- การใช้ประโยชน์จากชีวมวลประเภทไม้ต้องยึดหลักการที่เรียกว่า “biomass cascading principle” เลือกใช้ชีวมวลเพื่อให้เกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่มสูงสุดด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการลดการใช้พลังงาน
- ลดปริมาณการใช้พลังงานขั้นต้น (primary energy consumption) เป็นพลังงานที่ใช้ในการผลิตและจัดหาพลังงานชนิดต่าง ๆ ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 39 ภายในปี ค.ศ. 2030
- ลดปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (final energy consumption) ที่ใช้โดยผู้บริโภค ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 36 ภายในปี ค.ศ. 2030
- แต่ละประเทศสมาชิกฯ จะต้องลดปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทุกปี ณ อัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2024 ถึง ค.ศ. 2030
ด้านสิ่งปลูกสร้าง อาคาร และบ้านเรือน
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียน
- อาคาร/บ้านเรือน : กำหนดสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในอาคาร/ บ้านเรือน เป็นร้อยละ 49 ภายในปี ค.ศ. 2030
- ระบบทำความร้อนและความเย็น : เพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบทำความร้อนและความเย็นทุกปี และสัดส่วนโดยรวมจะต้องอยู่ที่อย่างน้อยร้อยละ 1 ภายในปี ค.ศ. 2030
- ระบบทำความร้อนและความเย็นจากศูนย์กลางเพื่อชุมชน (district heating and cooling) : เพิ่มสัดส่วนจากศูนย์กลางที่จะกระจายไปยังชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ (district heating and cooling) อัตราร้อยละ 1 ต่อปี และสั่ดส่วนโดยรวมอย่างน้อยร้อยละ 1.4 ภายในปี ค.ศ. 2030
- เป้าหมาย/ ข้อกำหนดด้านการใช้พลังงานในกิจการของภาครัฐ
- กิจการของภาครัฐทั้งหมด เช่น การศึกษา การบริการสุขภาพ การประปา การบำบัดน้ำ และไฟบนท้องถนน จะต้องลดการใช้พลังงาน ณ อัตราร้อยละ 7 ต่อไป
- ในทุก ๆ ปี ประเทศสมาชิกจะต้องมีการปรับปรุงอาคารของภาครัฐในสัดส่วนอย่างต่ำร้อยละ 3 ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงานอาคาร
ด้านการใช้ที่ดินและพื้นที่ป่า และการเกษตร
- กำหนดเป้าหมายการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Sink ให้ได้อย่างต่ำ 310 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030
- การใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ และเกษตรกรรมจะต้องไม่มีการปล่อยก๋าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2035
- กำหนดแผนปลูกต้นไม้จำนวน 3,000 ล้านต้นทั่วยุโรปภายในปี คศ.2030
รายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ประจำปี ค.ศ. 2021 (European Innovation Scoreboard 2021)
การจัดลำดับ 4 กลุ่มประเทศนวัตกรรม
ในการจัดลำดับ คณะกรรมาธิการยุโรปแบ่งหมวดหมู่ เป็น 4 หมวด ได้แก่
- ผู้นำนวัตกรรม (innovation leaders) ได้แก่ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และเบลเยียม
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ออสเตรีย เอสโตเนีย ฝรั่งเศส และไอร์แลนด์
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) ได้แก่ อิตาลี ไซปรัส มอลตา สโลวีเนีย สเปน เช็กเกีย ลิทัวเนีย โปรตุเกส และกรีซ
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมพอประมาณ (modest innovators) ได้แก่ โคเอเชีย ฮังการี ลัตเวีย โปแลนด์ สโลวะเกีย บัลกาเรีย และโรมาเนีย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210819091021-pdf.pdf
ในปี 2564 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 64 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2021 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้
ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย IMD
ประเทศ |
สวิตเซอร์แลนด์ |
สวีเดน |
เดนมาร์ก |
เนเธอร์แลนด์ |
สิงคโปร์ |
ไทย |
ปี |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
2564 |
2563 |
อันดับรวม |
1 |
3 |
2 |
6 |
3 |
2 |
4 |
4 |
5 |
1 |
28 |
29 |
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ |
7 |
18 |
16 |
22 |
17 |
21 |
2 |
1 |
1 |
3 |
21 |
14 |
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ |
4 |
4 |
10 |
20 |
12 |
15 |
16 |
12 |
15 |
7 |
41 |
38 |
1.2 การค้าระหว่างประเทศ |
15 |
13 |
17 |
15 |
10 |
24 |
3 |
2 |
1 |
1 |
21 |
5 |
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ |
12 |
18 |
17 |
16 |
24 |
23 |
4 |
5 |
3 |
3 |
32 |
29 |
1.4 การจ้างงาน |
15 |
30 |
30 |
39 |
22 |
27 |
4 |
3 |
18 |
7 |
3 |
10 |
1.5 ระดับราคา |
58 |
57 |
41 |
40 |
42 |
41 |
48 |
46 |
57 |
58 |
37 |
28 |
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ |
2 |
2 |
9 |
14 |
7 |
4 |
12 |
11 |
5 |
5 |
20 |
23 |
2.1 ฐานะการคลัง |
1 |
2 |
7 |
12 |
5 |
4 |
10 |
8 |
12 |
6 |
14 |
17 |
2.2 นโยบายภาษี |
12 |
8 |
58 |
56 |
56 |
40 |
60 |
50 |
8 |
10 |
4 |
5 |
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน |
1 |
2 |
3 |
5 |
5 |
1 |
4 |
4 |
7 |
7 |
36 |
40 |
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ |
10 |
12 |
4 |
7 |
2 |
2 |
7 |
4 |
3 |
3 |
30 |
33 |
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม |
5 |
5 |
4 |
3 |
3 |
4 |
6 |
8 |
17 |
18 |
43 |
40 |
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ |
5 |
9 |
2 |
3 |
1 |
1 |
4 |
4 |
9 |
6 |
21 |
23 |
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ |
4 |
8 |
3 |
4 |
1 |
1 |
8 |
7 |
14 |
9 |
40 |
41 |
3.2 ตลาดแรงงาน |
6 |
13 |
5 |
16 |
14 |
8 |
2 |
2 |
4 |
3 |
10 |
15 |
3.3 การเงิน |
1 |
1 |
6 |
7 |
7 |
8 |
4 |
4 |
13 |
10 |
24 |
24 |
3.4 การบริหารจัดการ |
9 |
16 |
3 |
4 |
1 |
1 |
15 |
15 |
14 |
14 |
22 |
21 |
3.5 ทัศนคติและค่านิยม |
13 |
17 |
4 |
4 |
6 |
3 |
2 |
9 |
9 |
6 |
20 |
20 |
4. โครงสร้างพื้นฐาน |
1 |
3 |
2 |
1 |
3 |
2 |
7 |
9 |
11 |
7 |
43 |
44 |
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน |
5 |
6 |
10 |
7 |
3 |
4 |
6 |
9 |
20 |
18 |
24 |
26 |
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี |
8 |
9 |
3 |
2 |
6 |
5 |
2 |
3 |
1 |
1 |
37 |
34 |
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ |
3 |
2 |
7 |
6 |
11 |
9 |
13 |
13 |
17 |
15 |
38 |
39 |
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม |
3 |
5 |
1 |
1 |
4 |
2 |
16 |
15 |
25 |
23 |
49 |
49 |
4.5 การศึกษา |
1 |
3 |
4 |
8 |
3 |
1 |
12 |
14 |
7 |
2 |
56 |
55 |
สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ รองลงมาคือ สวีเดน ซึ่งปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 4 อันดับ ถัดมาเป็นเดนมาร์ก ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เนเธอร์แลนด์ยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว อันดับ 5 คือ สิงคโปร์ ตกลงมาจากปีที่แล้วถึง 4 อันดับ เคยได้อันดับ 1 ส่วนไทยได้อันดับ 28 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 29 ในปีที่แล้ว
สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับ มีอันดับ 7 ในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ มีอันดับ 5 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ได้อันดับ 2 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับดีขึ้นอย่างมากของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยการจ้างงานและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย โดยเฉพาะปัจจัยย่อยการจ้างงาน มีอันดับดีขึ้นถึง 15 อันดับ จากอันดับ 30 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 15 ในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ มีอันดับดีขึ้น 6 อันดับ ได้อันดับ 12 ในปีนี้ จากอันดับ 18 ในปีที่แล้ว ส่วนปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยเดียวกันมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับ 57 ในปีที่แล้วและอันดับ 58 ในปีนี้ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยตลาดแรงงานและปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ มีอันดับดีขึ้นถึง 7 อันดับ เหมือนกัน เป็นอันดับ 6 และ 9 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะที่การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย (มีทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย) เล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา
สวีเดน ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 4 อันดับ มีอันดับ 2 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ เป็นอันดับ 16 ในปีนี้ ซึ่งยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับดีขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 14 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 9 ในปีนี้ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมามีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากอันดับ 1 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่มีการเลื่อนอันดับขึ้นถึง 10 และ 9 อันดับ จากอันดับ 20 และ 39 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 10 และ 30 ในปีนี้ ตามลำดับ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับในระดับต่ำ ปีที่แล้วได้อันดับ 40 ในขณะที่ปีนี้ได้อันดับ 41 การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ ที่เลื่อนอันดับขึ้น 5, 2 และ 3 อันดับ เป็นอันดับ 7, 3 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยเดียวกันมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับ 56 ในปีที่แล้วและอันดับ 58 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับ เป็นอันดับ 5 ในปีนี้
เดนมาร์ก ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 3 ในปีนี้ เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 3 และ 1 อันดับ จากอันดับ 4 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ เป็นอันดับ 17 ในปีนี้ เป็นปัจจัยที่มีอันดับอยู่ในระดับปานกลางนานหลายปี ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ครองอันดับ 1 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีผลอย่างมากทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับเลื่อนลง คือ ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ที่เลื่อนอันดับลงถึง 16 อันดับ จากอันดับ 40 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 56 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงเล็กน้อยของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา
เนเธอร์แลนด์ยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการยังครองอันดับ 4 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และอีก 3 ปัจจัยที่เหลือ ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 12 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังสามารถครองอันดับไว้เท่าเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการเงิน และปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ ที่ยังครองอันดับ 2, 4 และ 15 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 46 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 48 และมีอันดับ 50 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 60 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว
สิงคโปร์ ตกลงมาจากปีที่แล้วถึง 4 อันดับ เคยได้อันดับ 1 ในปีที่แล้ว เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 3 และ 4 อันดับ จากอันดับ 6 และ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 9 และ 11 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้น 2 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ครองอันดับ 5 ไว้เหมือนเดิมทั้งปีนี้และปีที่แล้ว มี 4 ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ได้แก่ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการเงิน และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ มีอันดับลดลง 5 อันดับ จากอันดับ 9 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนลง เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา โดยเฉพาะปัจจัยย่อยการศึกษา มีอันดับลดลง 5 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยระดับราคาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว โดยในปีนี้ได้อันดับ 57 ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 58
สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 28 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 29 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ มีอันดับ 20 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ มีอันดับ 21 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 43 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลงถึง 7 อันดับ จากอันดับ 14 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ ทำให้ในปีนี้เป็นปีแรกที่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง แต่ที่ผ่านมาหลายปีมีอันดับค่อนไปทางที่ดี ในขณะที่ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือนที่ผ่านมาหลายปี ส่วนปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีไว้ในปีนี้เหมือนหลายปีที่ผ่านมา การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ โดยเฉพาะปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 40 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 36 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 5 อันดับ เป็นอันดับ 10 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัยย่อยเล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานและปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลงมากที่สุดถึง 16 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีและไม่ดีทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 40 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 43 2. ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับ 41 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 40 3. ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับ 49 ทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ 4. ปัจจัยย่อยการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับ 55 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 56 ทำให้ปัจจัยย่อยการศึกษามีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากในปีนี้ ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการจ้างงาน มีอันดับ 3 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นจากปีก่อนถึง 7 อันดับ 2. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี มีอันดับ 4 ในปีนี้ ในขณะที่ปีที่แล้วได้อันดับ 5
คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้านเนื่องจากในปีนี้ได้อันดับ 28 ซึ่งเป็นอันดับระดับปานกลาง เพื่อในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นกว่านี้มาก โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ซึ่งทั้งสองด้านมีอันดับที่ต่ำมากและต่ำที่สุด ตามลำดับ ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด