ตอนที่ 14 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ

ดร.รัฐพล เฉลิมโรจน์ ผลงานเรื่อง “PlantBead Kit”

ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะ ผลงานเรื่อง “สารเคลือบดูดซับความร้อนด้วยอนุภาคนาโนกราฟีน-ซิลิกา สำหรับแผงพลังงานรวมแสงอาทิตย์แบบราง”

ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง และคณะ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจวัดปริมาณโปรตีนไกลเคทเตดอัลบูมินเพื่อติดตามเบาหวาน “SugarAL GO sensor””

ดร.มัตถกา คงขาว ผลงานเรื่อง “A development of a new delivery system for HPV vaccine candidates against cervical cancer”

ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก ผลงานเรื่อง “High-throughput approach to discover new dengue vaccine”

ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย ผลงานเรื่อง “Thematic Reference Group Report on Innovation and Technology for Health Interventions for Infectious Diseases of Poverty” และ “Global Report on Health Research for Infectious Diseases of Poverty”

ระดับชาติ

ดร.บุญญาวัณย์ อยู่สุข ผลงานเรื่อง “เชื้อเพลิงสะอาดและสารหล่อลื่นชีวภาพ : ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อการพัฒนาปาล์มน้ำมันไทยอย่างยั่งยืน”

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ผลงานเรื่อง “การเพิ่มมูลค่าชานอ้อย : การสกัดเซลลูโลสและนาโนเซลลูโลส และการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์”

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2564

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2564

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนค้นหาและการสมัครทุนวิจัยภายใต้โครงการ Horizon Europe

โครงการ Horizon Europe เป็นกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 ที่ครอบคลุมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021-2027 โครงการวิจัยที่มีแหล่งเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและระดับโลก โครงการ Horizon Europe สร้างจากพื้นฐานความสำเร็จของโครงการร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมฉบับที่ผ่านมาคือ Horizon 2020 ส่งเสริมความต่อเนื่องในการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ผ่านโครงการวิจัยภายใต้สภาวิจันยุโรป (European Research Council, ERC) และ โครงการ Marie Sktodowsak-Curie action (MCSA) และได้รับประโยชน์ด้านคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ ความช่วยเหลือทางเทคนิค งานวิจัยที่มีคุณค่าจากศูนย์วิจัยร่วม (Joint Research Centre, JRC) และการให้บริการด้านความรู้และวิทยาศาสตร์จากคณะกรรมาธิการยุโรป

  • การสืบค้นหัวข้อโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุน

คณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนภายใต้โครงการ Horizon Europe ผ่านทางเว็บพอร์ทัล “Funding & Tenders Portal” โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านลิงค์

https://ec.europa.eu/info/funding-tenders/opportunities/portal/screen/programmes/horison

  • การกรองเพื่อหาหัวข้อโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนที่เฉพาะเจาะจง

หลังการกดสืบค้นโคงการวิจัยที่เปิดให้ทุนตามความสนใจของนักวิจัยแล้ว ทางเว็บพอร์ทัลจะแสดงรายชื่อโครงการวิจัยที่เปิดเกี่ยวข้อง โดยผู้สืบค้นสามารถกรองรายชื่อโครงการวิจัยได้เพิ่มเติมตามเกณฑ์ที่ต้องการเพื่อที่จะสามารถค้นหาโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

  • การค้นหาพันธมิตร

หลังจากนักวิจัยสืบคืนโครงการวิจัยที่เปิดให้ทุนที่ตรงตามเกณฑ์และความสนใจเรียบร้อยแล้ว แต่ยังขาดพันธมิตรในการร่วมเขียนโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย สามารถค้นหาพันธมิตรได้จาก “Partner Search”

https://ec.europa.eu/info/funding-tenders/opportunities/portal/screen/how-to-participate/partner-search

  • การสร้างบัญชีผู้ใช้

ในการที่จะสมัครส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ทางนักวิจัยจำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้ก่อน ไม่อย่างนั้นจะดูได้แค่ข้อมูลทั่วไปของโครงการแต่ไม่สามารถทำการส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัยในส่วนของ “Start submission” ได้ โดยนักวิจัยสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ได้ที่ https://webgate.ec.europa.eu/cas/eim/external/register.cgi

  • การลงทะเบียนหน่วยงาน

ในการที่จะจัดตั้งคณะทำงาน (consortium) ประกอบไปด้วยหลายพันธมิตร เพื่อสมัครส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ในแต่ละหน่วยงานที่เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรจำเป็นต้องมีรหัสประจำตัวที่ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเรียกว่า “รหัสประจำตัวของหน่วยงาน (Participant Identification Code, PIC)” ซึ่งเป็นรหัสเลข 9 หลักที่หน่วยงานจำเป็นต้องใช้ในการลงทะเบียนในกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพหน่วยงานเพื่อขอรีบเลข PIC จากคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ที่

https://ec.europa.eu/info/funding-tenders/opportunities/portal/screen/how-to-participate/participant-register

  • การส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย

เมื่อคณะทำงาน (consortium) ได้เตรียมโครงร่างข้อเสนอโครการวิจัย เรียบร้อยขั้นตอนสุดท้ายคือ การส่งโครงร่างข้อเสนอโครงการวิจัย โดยผู้สมัครสามารถกดเข้าไปในโครงการวิจัยที่ต้องการสมัคร จากนั้นจะเห็นในส่วนของ “Start submission” จากนั้นกด Start submission และทางระบบจะให้ผู้สมัครลงบัญชีเข้าใช้ตามชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่ผู้สมัครได้สร้างไว้ขั้นตอนที่ 4

รัฐสภายุโรปรับร่างกฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law)

  • เพิ่มเป้าหมายของสหภาพยุโรปในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากร้อยละ 40 เป็นอย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030
  • เพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Sink มีการปรับปรุงกฎระเบียบการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และป่าไม้ (land use, land-use change and forestry, LULUCF เพื่อชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2023 และทุก ๆ 5 ปีหลังจากนั้น จะประเมินความสอดคล้องในมาตรการต่อเป้าหมายความเป็นกลางด้านสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายในปี ค.ศ. 2030 – 2050
  • จัดทำร่างแผนและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับปี ค.ศ. 2040 ภายใน 6 เดือนหลังจากมีการจัดทำการประเมินผลความก้าวหน้า พร้อมทั้งกำหนดเพดานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหภาพยุโรปจนถึงปี ค.ศ. 2050
  • สหภาพยุโรปจะจัดสรรร้อยละ 30 ของงบประมาณสำหรับปี ค.ศ. 2021 – 2027 ให้กับโครงการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050

 

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย

การประกาศใช้กฎหมาย European Climate Law ทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมของกระบวนการผลิตสินค้า การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันสารตกค้างในผลผลิต และการผลักดันและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนสารเคมี
นอกจากนี้ประเทศไทยจะต้องแบกรับภาระเกี่ยวกับการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน ซึ่งจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมการรองรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการกำหนดนโยบายของประเทศ ในทางกลับกันประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ในการร่างมาตรการและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ของไทย หรือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยด้านพลังงานสะอาด เช่น การส่งเสริมการลงทุนในระบบรางเพื่อกระตุ้นการเดินทางโดยรถไฟ หรือ การส่งเสริมระบบการผลิตแบบยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ

โครงการร่วมทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในภูมิภาคยุโรป ประจำปี 2564

โครงการร่วมทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในภูมิภาคยุโรป (Southeast Asia-Europe Joint Funding Scheme on Research and Innovation, JFS) ได้ประกาศให้ทุนและรับสมัครโครงร่างการวิจัยประจำปี 2564 เป็นการประกาศให้ทุนครั้งที่ 7 ก่อนหน้านี้มีการมอบทุนวิจัยในหัวข้อ เช่น โรคติดเชื้อ การดื้อยาของเชื้อจุลินทรีย์ เมืองอัจฉริยะ การจัดการน้ำแบบบูรณาการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจชีวภาพ และนาโนเทคโนโลยี

ที่มาของโครงการ JFS

โครงการ SEA-EU-NET เป็น โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภูมิภาคอาเซียนและยุโรป จัดตั้งโครงการร่วมทุนระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน

โครงการ SEA-EU-NET มีความคิดริเริ่มจัดตั้งโครงการร่วมทุน (joint funding scheme) ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อกระตุ้นความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดมากขึ้น ทุนนี้จะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกระทรวงที่ดำเนินงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ให้ทุนวิจัยจากทั้งสองภูมิภาค โครงการร่วมทุนนี้จะช่วยด้านความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองภูมิภาค รวมถึงโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ เช่น โครงการภายใต้กรอบโครงการ Horizon 2020 และ Horizon Europe

การกำกับดูแลของโครงการร่วมทุน JFS)

โครงสร้างของการจัดการโครงการร่วมทุน (JFS) แบ่งได้ดังนี้

– คณะกรรมการบริหาร (Governing board) ได้แก่ ตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมให้ทุน

– สภาวิทยาศาสตร์ (Scientific council) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัย และทำหน้าที่ประเมินผลของโครงการวิจัยที่สมัครเพื่อขอรับทุน

– สำนักเลขาธิการ (Secretariat) ดำเนินงานเปิดรับสมัครโครงร่างงานวิจัย และดำเนินการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

โครงการ FFS ประจำปี ค.ศ.2021

โครงการนี้เป็นโครงการย่อยภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ Horizon Europe

โดยหน่วยงานจากประเทศไทยมีสิทธิ์ในการสมัครขอรับทุนเนื่องจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรมภายใต้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

หัวข้อโครงการวิจัย

1.การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน

2.การรับมือและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210712151131-pdf.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตอนที่ 13 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ ดร.คทา จารุวงศ์รังสี และคณะ ดร.จีราพร ลีลาวัฒนชัย และ ดร.จิตติมา พิริยะพงศา

ตอนที่ 12 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล คุณอวิรุทธิ์ ศรีสุวรรณ และคณะ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ดร.วีรวัฒน์ รังกุพันธุ์ และคณะ ดร.วิรัลดา ภูตะคาม และคณะ และ ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ และคณะ

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2564

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2564

การประชุม Thailand and Sweden Sustainable Development Forum 2021 “From Green and Inclusive Development to Business Opportunities”

          ดร.มาณพ สิทธิเดช อัครราชทูตที่ปรึกษา สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เช้าร่วมการประชุม Thailand and Sweden Sustainable Development Forum 2021 “From Green and Inclusive Development to Business Opportunities” เมื่อวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2564 ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม มหาวิทยาลัยการเกษตรแห่งสวีเดน (Swedish University of Agricultural Science: SLU) กรมป่าไม้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

          การประชุมเชิงปฏิบัติการใน 3 หัวข้อหลัก

          การประชุมแบ่งเป็นกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 หัวข้อดังนี้

เมืองอัจฉริยะยั่งยืน (Sustainable Smart Cities for All) การนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มาช่วยในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเมือง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและเอกชนในการออกแบบเมือง ความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูลและศึกษาของประชาชน การออกแบบเมืองสำหรับผู้พิการ แนวทางการจัดการขยะ และแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณ

ป่าไม้ยั่งยืนเพื่อประชาชน: โอกาสทางเศรษฐกิจและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Sustainable Forestry for the People) การสร้างสมดุลระหว่างการรักษาสิ่งแวดล้อมกับการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของป่าไม้ การเปรียบเทียบนโยบายป่าไม้ไทยกับสวีเดน แนวทางการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้โดยอาศัยคนในชุมชน และการให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์จากป่าไม้บทบาทของภาคธุรกิจต่อการป่าไม้ที่ยั่งยืน การเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรป่าไม้ในท้องถิ่น การพัฒนามาตรฐานไม้ รวมทั้งโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือด้านป่าไม้ระหว่างไทยกับสวีเดน

ระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้นที่ยั่งยืน (Innovation Ecosystem for Sustainable Development: Grooming Startups and Unicorns) การแลกเปลี่ยนข้อมูลระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้นของสองประเทศ การให้ข้อมูลการสร้างระบบที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ แนวทางการสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น การนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้ามาอยู่ในระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้น ประเด็นการจัดทำกฎหมายใหม่ของสวีเดนจะช่วยส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความต้องการของบริษัทขนาดใหญ่และนักลงทุนกับเทคโนโลยี และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

          การบรรยายและให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ Horizon Europe

ในโอกาสนี้ ดร.มาณพ สิทธิเดช ได้แนะนำให้ทราบถึงภารกิจของสำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภารกิจคือ การสร้างความร่วมมือด้านวิจัยและนวัตกรรมระหว่างประเทศไทยและยุโรป โดยเฉพาะกับคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการวิจัยและนวัตกรรม (DG Research & Innovation) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 ที่มีชื่อว่า Horizon Europe (2021-2027) ในภาพรวมซึ่งประกอบด้วย 3 Pillar หลัก ดังนี้

          Pillar 1: ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (Excellent Science)

การทำงานในด้าน Excellent Science มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ การสร้างและกระจายความรู้ ทักษะ เทคโนโลยี และแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ การเข้าถึงและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยชั้นนำระดับโลก และส่งเสริมการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนนักวิจัยเพื่อเพิ่มความน่าดึงดูด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ต่อไปนี้

สภาวิจัยยุโรป (European Research Council, ERC): สภาวิจัยยุโรปเป็นองค์กรแรกในยุโรปที่ให้ทุนด้านการวิจัยแก่นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทั่วโลก โดยทุนจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร ค่าทำวิจัย ค่าเดินทาง ค่าอุปกรณ์ การทำวิจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะการวิจัยชั้นแนวหน้า (Frontier Research) ซึ่งส่วนมากเป็นการวิจัยขั้นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การวิจัยเชิงประยุกต์ในสาขาใหม่ ๆ

โครงการ Marie Sktodowska-Curie actions (MSCA): โดยโครงการ MSCA มุ่งเน้นเปิดรับใบสมัครจากนักวิจัยทั่วโลกได้มีโอกาสทำวิจัยร่วมกันโดยเฉพาะในหน่วยงานของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เป้าหมายหลักคือ ต้องการส่งเสริมการพัฒนาทางอาชีพและการให้การอบรมแก่นักวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์ทุกสาขาผ่านการแลกเปลี่ยนนักวิจัยระหว่างประเทศในระดับนานาชาติ และระหว่างสาขาต่าง ๆ กัน โครงการ MSCA เปิดให้ทุนแก่งานวิจัยในทุกสาขาตั้งแต่การวิจัยขั้นพื้นฐานไปถึงงานนวัตกรรมบริการ

โครงการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย (Research Infrastructures actions): โครงการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย มีเป้าหมายส่งเสริมการพัฒนาการบริการ ความรู้ และเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อใช้สำหรับการวิจัยในยุโรป โดยนักวิจัยจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมภายใต้โครงสร้างพื้นฐานการวิจัยของยุโรปรวมถึงการเข้าถึงระบบการคำนวณประสิทธิภาพสูง (high performance computing, HPC)

          Pillar 2: ความท้าทายระดับโลกและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในยุโรป (Global Challenges and European Industrial Competitiveness)

การทำงานด้าน Global Challenges and European Industrial Competitiveness เน้นการสนับสนุนการวิจัย โดยมีการกำหนดพันธกิจหลักเพื่อมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและความท้าทายทางสังคม 5 ด้านได้แก่
1) การปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ 2) โรคมะเร็ง 3) ทะเลและแหล่งน้ำสะอาด 4) เมืองอัจฉริยะและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และ 5) สุขภาพอาหารและดิน และมีการจัดแบ่งโครงการวิจัยเพื่อให้ทุนออกเป็น 6 คลัสเตอร์ ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมของสังคม 3) ความมั่นคงของพลเมืองเพื่อสังคม 4) ดิจิทัลอุตสาหกรรม และอวกาศ 5) สภาพภูมิอากาศ พลังงานและการ โดยดร.มาณพ สิทธิเดช ได้เน้นการให้ข้อมูลของคลัสเตอร์ 4) ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ และ คลัสเตอร์ 5) สภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการขนส่ง พร้อมทั้งข้อมูลคลัสเตอร์ 6) อาหาร เศรษฐกิจชีวภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งข้มูลใน 3 คลัสเตอร์ดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

คลัสเตอร์: ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ

คลัสเตอร์นี้มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างของอุตสาหกรรมยยุโรปให้เป็นดิจิทัล เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม และรักษาความเป็นอิสระและอำนาจอธิปไตยในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้จะผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมหมุนเวียนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ และจัดการการพึ่งพาเทคโนโลยีและทรัพยากรจากประเทศอื่น ๆ และความขาดแคลนทางพลังงาน

คลัสเตอร์: สภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการขนส่ง

คลัสเตอร์นี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในขณะที่ยังรักษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสากรรมพลังงานและอุตสาหกรรมขนส่งของยุโรปได้ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดเป้าหมายความเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศ หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อตกลง (Paris Agreement) เพื่อรักษาอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และความพยายามที่จะให้อุณหภูมิที่จะให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โครงการวิจัยจะสนับสนุนต้องศึกษาถึงสาเหตุ วิวัฒนาการ ความเสี่ยง ผลกระทบ และโอกาสที่เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่ละประเภทไว้ รวมถึงการพัฒนาระบบพลังงานและระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอัจฉริยะ ปลอดภัย ยืดหยุ่น แข่งขันได้ มีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น

คลัสเตอร์: อาหาร เศรษฐกิจชีวภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม

คลัสเตอร์นี้มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำ และดิน ด้วยเหตุนี้จึงจะมุ่งส่งเสริมโครงการวิจัยในประเด็นต่อไปนี้ การผลิตขั้นปฐมภูมิอย่างยั่งยืน (เกษตรกรรม ป่าไม้ การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) ห่วงโซ่มูลค่า ระบบอาหาร อุตสาหกรรมชีวพื้นฐาน การรับมือและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การแก้ปัญหาจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และมลพิษ

          Pillar 3: นวัตกรรมแห่งยุโรป (Innovative Europe)

1.EIC Pathfinder: ทุนวิจัยและนวัตกรรมที่เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาแนวคิดและวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีโอกาสต่อยอดในอนาคตไปใช้ได้จริงในตลาด การสมัครขอรับทุนในหมวดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเปิด (Open calls) ที่ไม่ได้กำหนดหัวข้อชองการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับหัวข้อท้าทายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ปัญญาประดิษฐ์ การตรวจวัดคลื่นสมอง การรักษาและบำบัดด้วยเซลล์และยีน พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว และการพัฒนาวัสดุเนื้อแข็งที่สร้างจาวัตถุดิบธรรมชาติ

2.EIC Transition: เป็นทุนที่สนับสนุนการนำผลงานวิจัยนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมออกสู่ท้องตลาด การให้ทุนเน้นโครงการที่นำผลงานวิจัยจากโครงการนำร่องของ EIC Pathfinder และโครงการวิจัยที่ผ่านการประเมินจากสภาวิจัยยุโรป ไปต่อยอดสร้างเป็นธุรกิจ

3.EIC Accelerator: เป็นทุนสนับสนุนการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจเริ่มต้น ในการนำนวัตกรรมที่บริษัทตนเองพัฒนาสู่ตลาดแล้วไปขยายผลสู่ตลาดใหม่ ๆ ได้แก่ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัยที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสีเขียวและดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ

Sciences to Society ศาสตร์สู่สังคม

การประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในทวีปยุโรปครั้งที่ 10 (The 10th Thai Student Academic Conference, TSAC 2021) 8-9 พฤษภาคม 2564

          ที่มาของงานประชุม

เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2564 ดร.มาณพ สิทธิเดช ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในทวีปยุโรปครั้งที่ 10 (The 10th Thai Student Academic Conference) หรือ TSAC 2021 ซึ่งจัดโดยภาคีเครือข่ายองค์การนักเรียนไทยในทวีปยุโรป เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักเรียนไทยในทวีปยุโรป ประกอบด้วย
– สมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสในพระบรมราชูปถัมภ์
– สมาคมนักเรียนไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในพระบรมราชูปถัมภ์
– สมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
– สมาคมนักเรียนไทยในสมาพันธรัฐสวิส
– กลุ่มนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเบลเยียม
เป้าหมาย เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการวิจัยและองค์ความรู้ของนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในทวีปยุโรป นอกจากนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็งในหมู่นักวิชาการรุ่นใหม่ ที่มุ่งมั่นสรรค์สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคต โดยมีผู้สนใจและเข้าร่วมงานทั้งหมด 78 คน

          แนวคิดของการจัดงาน TSAC 2021

งานประชุมวิชาการฯ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Sciences to society – ศาสตร์สู่สังคม” เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ปัจจัยสำคัญที่ประชาคมโลกต้องปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกและขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวผ่านความท้าทาย
โดยสรุปวัตถุประสงค์การจัดงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ข้อดังนี้
– เพื่อให้นักเรียนไทยในทวีปยุโรปตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในฐานะนักเรียนต่อสังคมไทย และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ประชาคมโลก
– เพื่อสนับสนุนความสำเร็จทางวิชาการของนักเรียนไทยในทวีปยุโรป
– เพื่อส่งเสริมเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถทางวิชาการและภูมิหลังทางสังคม รวมทั้งกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไทยในอนาคต และ
– เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถทางการวิจัยให้สอดคล้องกับปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งจะเพิ่มในโอกาสและความก้าวหน้าของประเทศไทย

          การมีส่วนร่วมในการจัดงาน TSAC 2021 ของสำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์

ยุโรปเป็นผู้นำในการส่งเสริมการขับเคลื่อนทั้งด้านการวิจัย การรังสรรค์นวัตกรรม และนโยบายในการจัดการกับความท้าทายของโลก โดยประเทศที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในยุโรป ได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์
ยุโรปมีจุดเด่นด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เช่น ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาสัญญาณ Wifi ครั้งแรกของโลก เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตร และมีระบบ urban water systems เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ในขณะที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์และเครื่องมือแพทย์ และเป็นแหล่งกำเนิดแนวคิด industry 4.0 สาธารณรัฐฝรั่งเศส มีศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (CNRS) เป็นที่ตั้งของบริษัทระดับโลกด้านผลิตและประกอบเครื่องบินบริษัท Airbus สมาพันธรัฐสวิส มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและการแพทย์ เป็นที่ตั้งของสถาบัน CERN เป็นต้นกำเนิดของ world wide web (www) ราชอาณาจักรเบลเยียม มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและเภสัชกรรม เป็นแหล่งผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัท Pfizer&Biontech Johnson & Johnson และ AstraZeneca

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210617150333-pdf.pdf

         

 

ตอนที่ 11 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.อภิชาติ อินทรพานิชย์ และคณะ ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา และคณะ ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล และคณะ ดร.วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม และคณะ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล และคณะ  และ ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ

ตอนที่ 10 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ คุณฉวีวรรณ คงแก้ว และคณะ ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา และคณะ คุณภูริพงศ์ วรรณวิไล และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ และคณะ ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล และ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ

ตอนที่ 9 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม ดร.วรายุทธ สะโจมแสง และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา และคณะ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ และ ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล และคณะ

ตอนที่ 8 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ และคณะ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ และคณะ ดร.อัญชลี มโนนุกุล และคณะ คุณฉวีวรรณ คงแก้ว และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร

คอมพิวเตอร์กับภาษาไทย : การพัฒนามาตรฐานเบื้องต้นสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย

คอมพิวเตอร์กับภาษาไทย : การพัฒนามาตรฐานเบื้องต้นสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย

โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล และ คณะทำงานร่างข้อกำหนดร่วมเพื่อการเขียนโปรแกรมซึ่งแสดงผลเป็นภาษาไทย

หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 3 ภาค คือ ภาคบทความ ภาคข้อเสนอร่างมาตรฐาน วทท.2.0 และ ในส่วนบทความ ภาคมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านคอมพิวเตอร์ที่ประกาศใช้แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์กับภาษาไทย ทั้งใน เทคโนโลยีและในภาพรวม จากมุมมอง วิทยาศาสตร์และศิลปะ จากนั้นได้รายงานสถานภาพปัจจุบันของการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับภาษาไทย พร้อมกับแสดงจุดยืนของงานวิจัยและพัฒนาชิ้นนี้ว่า เกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐานชอฟต์แวร์และรหัสภาษาไทย ซึ่งดำเนินการโดย คณะทำงานร่างข้อกำหนดร่วม เพื่อการเขียนโปรแกรมซึ่งแสดงผลเป็นภาษไทย หรือ Thai API Consortium (TAPIC) ในช่วงเวลา ตุลาคม 2533 ถึง กันยายน 2534 โดยมีชื่อย่อว่า วทท.2.0 ร่างมาตรฐานที่เสนอในภาคที่ 2 เป็นร่างมาตรฐานเบื้องต้น 3 ตอน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ วิชาการของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในภาคที่ 3 เป็นการนำเอกสาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ฉบับมาเผยแพร่เพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ดาวน์โหลดเอกสาร

  เปิดอ่านออนไลน์ (e-Book Filp)

รู้หรือไม่ … เรามีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภาษาไทยได้มา 54 ปีแล้ว

ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2510 เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมของ IBM สามารถอ่านบัตรเจาะรูรหัสภาษาไทย (EBCDIC Code) และพิมพ์รายงานไทย – อังกฤษได้ นับตั้งแต่นั้นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภาษาไทยยี่ห้ออื่น ๆ ก็ทยอยเกิดขึ้นเรื่อยมา

อย่างไรก็ตาม ในยุคที่อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เฟื่องฟู ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จะสนับสนุนระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันในเวอร์ชันท้องถิ่นของตนเสมอ ซึ่งในขณะนั้น (พ.ศ. 2527) มีรหัสภาษาไทย (Character Codes for Computers) ในคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันกว่า 20 รูปแบบ ทำให้เกิดความปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์

เนคเทค สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงจัดโครงการวิจัยด้านซอฟต์แวร์ ร่วมกับเอกชน และนักวิชาการด้านภาษา ผ่านการประชุมของกลุ่ม ที่เรียกว่า Thai API Consortium (TAPIC) โดยมีผลพลอยได้เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทยใน พ.ศ. 2529 – 2534 หลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง“มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ (มอก.620-2529)” ซึ่งเป็นมาตรฐานภาษาไทยในคอมพิวเตอร์ฉบับแรกของไทย

รวมถึง “วทท 2.0” ที่เกิดขึ้นเพื่อยุติปัญหาการพัฒนาระบบภาษาไทย ของแต่ละค่ายผู้พัฒนาซึ่งแตกต่างกันและไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้โดยตรง ผ่านการสร้างมาตรฐานวิธีใช้ API ที่ใช้ข้อกำหนดเดียวกัน ทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ตัวเดียวกันได้ โดยมีการรับเข้า การประมวลผล และการแสดงผลภาษาไทยที่ตรงกัน วทท 2.0 ถูกนำไปใช้พัฒนาระบบภาษาไทยของ MS-DOS, Windows ของบริษัทผู้ผลิต ทำให้ระบบ MS-DOS version 6.0 และ Windows 3.0 เป็นต้นมา มีคุณสมบัติตรงกับ วทท.2.0 ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงร่างมาตรฐานสำหรับประเทศไทยเท่านั้น

ปัจจุบัน วทท. 2.0 ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ประกาศเป็น มอก.1546-2541 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 และเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี วทท 2.0 (10 ตุลาคม) เนคเทคชวนติดตามเรื่องราวของ “วทท 2.0” จุดเริ่มต้นรวมรหัสภาษาไทย ในมาตรฐานเดียว ผ่านหนังสือ“คอมพิวเตอร์กับภาษาไทย : การพัฒนามาตรฐานเบื้องต้น สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย

https://www.facebook.com/NECTEC/posts/6214985078542845