ข้อมูลเปิดเกี่ยวกับ COVID-19 ใน data.go.th

ในปัจจุบันประเทศไทยมีชุดข้อมูลแบบเปิดสำหรับรายงาน COVID-19 ประจำวันประเทศไทย  ที่เปิดให้ใช้งานที่ https://data.go.th/en/dataset/covid-19-daily เป็นข้อมูลรายงานผู้ป่วยยืนยันประจำวัน จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ยังมีข้อมูล รายชื่อห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ เครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 ที่เปิดให้ใช้งานที่ https://data.go.th/en/dataset/labscovid19 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับะประชาชนทั่วไปและนักพัฒนาระบบเพื่อใช้งานต่อไป

วิธีการขอหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19

หากท่านต้องการเดินทางไปต่างประเทศในปัจจุบัน ในหลายๆประเทศต้องมีการขอหลักฐานหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19  ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19
เพื่อใช้สําหรับการเดินทางไปต่างประเทศในปัจจุบัน และกระบวนการการขอ สามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ดังนี้

 

ฐานข้อมูลติดตามการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก

Bloomberg Vaccine Tracker เป็นฐานข้อมูลติดตามการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก ขนาดใหญ่ที่สุด รายงานสถานการณ์การฉีดวัคซีนและเก็บรวบรวมข้อมูลการฉีดวัคซีนในแต่ละวัน ประกอบไปด้วย

  • Vaccinations vs. Cases
  • Global Vaccination Campaign
  • Average daily rate estimate

เข้าดูได้ที่
https://www.bloomberg.com/graphics/covid-vaccine-tracker-global-distribution/

ข้อมูลสถานการณ์ COVID-19 สำหรับนักพัฒนาระบบ

สำหรับนักพัฒนาระบบ ที่ต้องการใช้ข้อมูล สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย ระลอก 1 ระลอก 2 ถึง ระลอก 3 ปัจจุบัน โดยข้อมูลเหล่านี้อยู่ในรูปแบบ API(Json/CSV Data Format) ที่ดำเนินการโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดให้บริการข้อมูลเหล่านี้อยู่ที่ https://covid19.ddc.moph.go.th/

ข้อมูลที่มีบริการประกอบไปด้วย

  • รายงานสถานการณ์ COVID-19 ประจำวัน
  • รายงานสถานการณ์ COVID-19 ประจำวัน แยกตามรายจังหวัด
  • ข้อมูลผู้ป่วยประจำวัน(Line Lists)
  • รายงานสถานการณ์ COVID-19 ระลอก 3 (ตั้งแต่ 01/04/2021 –ปัจจุบัน)
  • รายงานสถานการณ์ COVID-19 ระลอก 3 (ตั้งแต่ 01/04/2021 –ปัจจุบัน) แยกตามรายจังหวัด
  • ข้อมูลผู้ป่วยระลอก 3 (ตั้งแต่ 01/04/2021 –ปัจจุบัน)
  • ข้อมูลผู้ป่วยระลอก 1 ถึงระลอก 2 (ตั้งแต่ 12/01/2020 – 31/03/2021)
  • รายงานสถานการณ์ COVID-19 ระลอก 1 ถึงระลอก 2 (ตั้งแต่ 12/01/2020 – 31/03/2021)
  • รายงานสถานการณ์ COVID-19 ระลอก 1 ถึงระลอก 2 (ตั้งแต่ 12/01/2020 – 31/03/2021) แยกตามรายจังหวัด

 

ข้อมูลวัคซีนโควิด 19 ในประเทศไทย

ปัจจุบันการรายงานจำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิดประจำวันของประเทศไทย จะมีการรายงานผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) และยังมีอีกช่องทางคือการดูรายงานผ่าน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เข้าใช้งานที่ https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/ ที่มีข้อมูลทั้งรายงาน และ อินโฟกราฟฟิก

ประกอบไปด้วย
สถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำวัน
แนวทางการดำเนินงานและการให้บริการการฉีดวัคซีนโควิด 19
รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19
อินโฟกราฟฟิก
– ขั้นตอนการยื่นความประสงค์รับวัคซีนของนักศึกษาที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ พื้นที่กรุงเทพมหานคร
– ขั้นตอนการยื่นความประสงค์รับวัคซีนของนักศึกษาที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ พื้นที่ต่างจังหวัด
-ความสำคัญของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใน 7 กลุ่มเสี่ยง ร่วมกับวัคซีนโควิด

สื่อความรู้
– ข้อพิจารณาและคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ
– เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนโควิด 19
– วิธีการป้องกันเชื้อ และการปฏิบัติตัวในสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19
– การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ สำหรับผู้รับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19

 

ตอนที่ 7 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ และคณะ ดร.ดนุ พรหมมินทร์ และคณะ และ ดร.อัญชลี มโนนุกุล

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน 2564

ภาพรวมสถานะและความก้าวหน้าของสมาพันธรัฐสวิสในด้านการอุดมศึกษา วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม

การเป็นผู้นำด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม

ในทุก ๆ ปี คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำ Innovation Scoreboard เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรม (Innovation Performance) ได้มาจากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบของประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป โดยจะมีการประเมินถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของระบบนวัตกรรมในแต่ละประเทศพร้อมทั้งระบุถึงประเด็นที่แต่ละประเทศควรให้ความสนใจและพัฒนา โดยรายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปประจำปี ค.ศ. 2020 (European Innovation Scoreboard 2020) สมาพันธรัฐสวิส หรือ สวิตเซอร์แลนด์ ได้ถูกจัดอันดับให้เป็น ผู้นำนวัตกรรม (Innovation leaders) ในยุโรป เช่นเดียวกับประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และ ลักเซมเบิร์ก ซึ่งมีค่าผลลัพธ์ศักยภาพด้านนวัตกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ 20

จุดแข็งด้านนวัตกรรมของสวิตเซอร์แลนด์คือ ทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะการทำงานสูง ระบบการวิจัย และการลงทุนและสนับสนุนของบริษัทเอกชนต่อการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม โดยได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมจากรัฐบาลทั้งระดับรัฐบาลกลางและระดับท้องถิ่น  สิทธิบัตร เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จด้านพัฒนานวัตกรรม ในปี ค.ศ. 2019 ได้มีการขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตรสูงถึง 8,249 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีก่อนหน้า โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ (World Intellectual Property Organization, WIPO) ได้จัดให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศอันดับหนึ่งในด้านนวัตกรรม

สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกของสวิตเซอร์แลนด์

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริค หรือ ETHZ เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ จัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีอันดับอยู่ใน 5 อันดับแรกของยุโรป และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีอันดับอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาเคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ รวมถึงสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยมีบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบลจากสาขาต่าง ๆ รวม 21 ท่าน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในโลซาน หรือ EPFL เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการจัดการทางเทคโนโลยี EPFL ยังมีการจัดตั้งอุทยานนวัตกรรม หรือ EPFL Innovation Park เพื่อให้บริการแก่บริษัทในการใช้ห้องปฏิบัติการวิจัย และเป็นสถานที่ในการสร้างความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจเริ่มต้น (start-up) และองค์กรขนาดใหญ่

หน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจในสวิตเซอร์แลนด์

          สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (CERN)

สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (ตามชื่อย่อในภาษาฝรั่งเศสของ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire, CERN) เกิดจากความร่วมมือของ 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และยูโกสลาเวีย ปัจจุบันเซิร์นมีจำนวนสมาชิกรวม 23 ประเทศ

พันธกิจของสถาบันเซิร์น

พันธกิจหลักของสถาบันเซิร์น แบ่งหลัก ๆ ได้เป็น 3 ด้านดังนี้

งานวิจัยด้านฟิสิกส์พื้นฐาน : ค้นคว้าความรู้พื้นฐานตั้งแต่เริ่มกำเนิดของเอกภพ โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (เส้นรอบวง 27 กิโลเมตร) เร่งอนุภาคให้มาชนกันในระดับพลังงานสูง และศึกษาประกฎการณ์ที่เกิดขึ้น

การสนับสนุนการศึกษา : สถาบันเซิร์นสนับสนุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร มุ่งเน้นไปที่กลุ่มครูและนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โครงการอบรมครูช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาค อีกทั้งยังจัดหลักสูตรสำหรับนักเรียนมัธยม มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ พัฒนาทักษาของนักเรียนในเทคโนโลยีขั้นสูง และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักเรียนผู้สนใจจะมีอาชีพทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม

นวัตกรรมจากสถาบันเซิร์น

– จอสัมผัส : เมื่อ ค.ศ. 1972 ได้ประดิษฐ์จอสัมผัสแบบความจุไฟฟ้า (capacitive) ขึ้นใช้สำหรับระบบควบคุมเครื่องเร่งอนุภาคเอสพีเอส โดยเป็นต้นแบบของจอสัมผัสชนิดที่ใช้บนโทรศัพท์ smart phone ในปัจจุบัน
– World wide web (www): เมื่อ ค.ศ. 1990 ได้กำหนดแนวคิดพื้นฐานของ world wide web ได้แก่ html http และ URL เพื่อแสดงข้อมูลจากหลายแหล่งด้วย Hyper text ตามความต้องการของนักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ

– CERN-MEDICIS: ได้พัฒนาโครงการผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสี เพื่อใช้ในการวิจัยทางการแพทย์

– เครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์: ศึกษาการใช้อนุภาค เครื่องเร่งอนุภาค และ เครื่องตรวจวัดอนุภาคเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ยุคใหม่ เช่น การใช้ปฏิสสารในการทำลายเซลล์มะเร็ง

– Medipix: ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้วัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะย่านความถี่รังสีเอกซ์ที่มีความละเอียดสูงและสามารถแสดงเป็นภาพสีได้

แหล่งบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น

          ปัจจุบันมีการก่อตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นประมาณ 300 บริษัทต่อปี ซึ่งมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีหลากหลายสาขา เช่น เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ และเทคโนโลยีการเงิน เป็นต้น ปัจจัยของความสำเร็จคือ การได้รับการสนับสนุนจากโครงการของภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในโลซาน (EPFL) ในการต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์

ตัวอย่างวิสาหกิจเริ่มต้นในเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ ของสวิตเซอร์แลนด์

เทคโนโลยีโดรน บริษัท Flyability สร้างโดรน รุ่น ELIOS2 ซึ่งมีโครงถักห่อหุ้มตัวโดรน ช่วยให้ทนต่อการชนกระแทกและเข้าไปในสถานที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่เกิดความเสียหาย ปัจจุบันมีการนำโดรนไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายแห่งทั่วโลก บริษัท Wingtra ผลิตโดรนสำหรับถ่ายภาพความละเอียดสูง นำไปใช้งานโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ หรือในเหมืองแร่ เพื่อจะตรวจสอบงานก่อสร้างหรืองานขุดเจาะจากด้านบนได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากขึ้น

เทคโนโลยีการแพทย์ บริษัท Lunaphore เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับวินิจฉัยเนื้อเยื่อของมนุษย์ โดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่ปรับปรุงความเร็วและความแม่นยำของการตรวจสอบวินิจฉัย เช่น การวิเคราะห์เนื้องอก นอกจากนี้บริษัท Ava ได้พัฒนาสายรัดข้อมือซึ่งสามารถระบุวันไข่ตกของผู้หญิงได้อย่างแม่นยำ อุปกรณ์ดังกล่าวจะเก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปรทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และ ระยะเวลานอนหลับ

เทคโนโลยีการเกษตร บริษัท CombaGroup ได้พัฒนาระบบและเทคโนโลยีการปลูกผักสลัดที่มีการเก็บเกี่ยวแบบสดใหม่ พร้อมบรรจุในบรรจุภัณฑ์และพร้อมบริโภค ด้วยการใช้ระบบการปลูกพืชในโรงเรือนประกอบด้วย
1) การปลูกพืชในอากาศ 2) การจัดสรรพื้นที่ และ 3) การควบคุมสภาพอากาศ ทำให้ปลูกผักปลอดสารพิษได้ตลอดปี และลดการใช้น้ำและพื้นที่เพาะปลูกได้ร้อยละ 90 รวมทั้งลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่าครึ่งของการปลูกผักแบบเดิม และยังลดภาระด้านสิ่งแวดล้อมของระบบผลิตอาหาร โดยเฉพาะการลดขั้นตอนการขนส่ง ลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการเกษตรและน้ำเสีย การปลูกผักด้วยระบบดังกล่าวช่วยให้ผักอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไร้ความตึงเครียด ทำให้ผักมีความสดใหม่ มีรสชาติอร่อย และเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีการเดินทางขนส่ง บริษัท Bestmile ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อประสานการเคลื่อนที่ของยานพาหนะที่มีหรือไม่มีคนขับ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยติดตามยานพาหนะทุกคันได้ทุกขณะและตอบสนองต่ออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

ความสัมพันธ์ด้าน อวทน. ระหว่างประเทศไทยและประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประเทศไทยได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันเซิร์นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี เกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชดำริและทรงเล็งเห็นว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเป็นอันมาก ผลจากการติดต่อกับสถาบันเซิร์นของประเทศไทยในแง่หนึ่งคือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เกิดจากการถ่ายทอดความรู้ และสร้างแรงกระตุ้นให้กับวงการวิจัยของประเทศไทยเป็นการสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมของไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

การจัดทำโครงการ National e-Science Infrastructure Consortium: เป็นการร่วมมือระหว่าง 5 หน่วยงานของประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคำนวณสมรรถนะสูง ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล เพื่อรองรับการวิจัยด้าน e-Science ในสาขาฟิสิกส์ อนุภาคพลังงานสูง และสาขาอื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารทรัพยากรน้ำ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลขนาดใหญ่ จักรวาลวิทยา ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และการวิจัยผลกระทบของอวกาศที่มีต่อโลก โดยโครงการนี้มีการทำงานร่วมกับโครงการ WLCG : Worldwide LHC Computing Grid ของสถาบันเซิร์น

โครงการความร่วมมือ ALICE-Collaboration: อลิซ (A Large Ion Collider Experiment, ALICE) เป็น 1 ใน 7 หัววัดหลักที่ใช้วัดอนุภาคมูลฐานจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังการชนของไอออนหนัก ซึ่งถูกติดตั้งบริเวณ เครื่องเร่งอนุภาคฮาดรอนขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider, LHC) ณ สถาบันเซิร์น ซึ่งการสร้างหัววัดเหล่านี้ต้องใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงที่มีความซับซ้อน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยออกแบบและพัฒนาระบบติดตามทางเดินของอนุภาค (Inner Tracking System, ITS) ร่วมกับนักวิจัยชั้นนำจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอลิซสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยในการสร้างหัววัดซิลิคอนเพื่อมาใช้ประโยชน์ในวงการทางการแพทย์และอุตสาหกรรม เช่น การทำเครื่องสร้างภาพในรักษามะเร็งด้วยโปรตอน (Proton Computed tomography) และติดตามทางเดินของอนุภาคโปรตอนในการรักษามะเร็งด้วยโปรตอน

เทคโนโลยีเตาเชื่อมโลหะต่างชนิดแบบไร้ตะเข็บในภาวะสุญญากาศ (Vacuum Brazing Technology): เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีมวิศวกรของ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ข้อดีของการเชื่อมประสานด้วยเทคนิคคือโลหะที่เชื่อมจะเกิดการบิดตัวน้อย ทำให้ควบคุมความแม่นยำในการเชื่อมได้ดี ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าถึง 18 ล้านบาท สามารถพัฒนาต่อยอดได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องมือตัด อุตสาหกรรมการอบชุบโลหะอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา

เครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงเพื่ออาบรังสีผลไม้: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้ริเริ่มพัฒนาออกแบบและสร้างเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเพื่อผลิตรังสีเอกซ์สำหรับการปลอดเชื้อผักผลไม้สดเพื่อช่วยยืดอายุ ผักผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวไว้ได้นาน โดยไม่ทำให้สี เนื้อสัมผัส รสชาติ และคุณสมบัติทางโภชนาการของผลผลิตเปลี่ยนแปลง

โครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษางานที่สถาบันเซิร์น: เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อไปศึกษาดูงานที่สถาบันเซิร์นครั้งละหนึ่งสัปดาห์ เริ่มโครงการเมื่อ ค.ศ. 2013 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานที่สถาบันเซิร์น และ สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนในการศึกษาต่อด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว 7 รุ่น แบ่งเป็นนักเรียน 82 คน และครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียน 13 คน

การประชุมหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างไทยและสหภาพยุโรป

นโยบายด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ลดน้อยและเสื่อมโทรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาเหล่านี้เป็นแรงกดดันให้ทุกประเทศต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและบริโภคให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาซึ่งการมีสุขภาพที่แข็งแรง และอายุยืนยาว

หลายประเทศกำหนดนโยบายขับเคลื่อนความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย “เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)” เป็นการลงทุนสร้างเศรษฐกิจของการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมผ่านการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ รวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเสียและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ และชุมชน พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง ก่อให้เกิดความก้าวหน้าและนวัตกรรมในมิติใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อการปฏิรูปภาคการเกษตร อาหาร สาธารณสุขและการแพทย์ พลังงาน อุตสาหกรรมเคมี ภาคสังคม และภาคเศรษฐกิจของโลก กล่าวได้ว่า เศรษฐกิจชีวภาพ ช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมให้เดินเข้าสู่ถนนสายความยั่งยืนได้อีกด้วย

การจัดการขยะพลาสติก

“ยุทธศาสตร์พลาสติก (European Plastics Strategy)” มุ่งปรับเปลี่ยนวิธีการออกแบบ การใช้การผลิตและการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์พลาสติกในสหภาพยุโรป เน้นการออกแบบที่ดีขึ้น การเพี่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก การสนับสนุนการรีไซเคิล และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นการเสริมสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกในสหภาพยุโรปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย มีคาร์บอนต่ำ

ในประเทศไทย มีแผนงานการจัดการขยะพลาสติกสำหรับปี 2561-2573 จัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายในการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป้าหมายให้ได้ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โดยมีแผนออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงมาตรการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การนำหลักการด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต ตลอดจนมาตรการจัดการพลาสติกหลังการบริโภค ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านขยะพลาสติกของสหภาพยุโรป

ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจชีวภาพ

ประเทศไทยได้เข้าร่วม กลไกการสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพผ่านโครงการร Horizon Europe เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Helix Model) ระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ และเพื่อพัฒนาทักษะให้แรงงานมีศักยภาพเหมาะสมในเศรษฐกิจสีเขียว นอกจากนี้ยังมีการเจรจาความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement: PCA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เป็นก้าวสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหภาพยุโรป และช่วยสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210604134612-pdf.pdf

 

 

ตอนที่ 6 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ ดร.วรล อินทะสันตา และคณะ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา และคณะ ดร.อรประไพ คชนันทน์ และคณะ คุณฉวีวรรณ คงแก้ว และคณะ ดร.ดนุ พรหมมินทร์ และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ และ ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป และคณะ

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2564

สหภาพยุโรปเสนอแผนกลยุทธ์ ประจำปี ค.ศ. 2021 – 2024 ของกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ โครงการ Horizon Europe

ในปี ค.ศ. 2021 นี้ เป็นปีแรกที่จะเริ่มมีการดำเนินการภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ Horizon Europe ซึ่งจะกำหนดแนวทางและเป้าหมายของงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมในยุโรปรวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศนอกสมาชิกฯ ในระยะเวลา 4 ปี นับจากปัจจุบัน ซึ่งในปี ค.ศ. 2019 ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนทั่วไป ผ่านแบบสอบถามออนไลน์และงานประชุมสัมมนา นำมาใช้ในการออกแบบและกำหนดแผนกลยุทธ์

กลยุทธ์เป้าหมาย 4 ประการ

ภายใต้กรอบโครงการ Horizon Europe สหภาพยุโรปได้กำหนดกลยุทธ์เป้าหมายไว้ 4 ประการ ดังนี้
– การส่งเสริมนโยบาย open strategic autonomy ซึ่งเป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีของสหภาพยุโรปต่อประเทศอื่น ๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว รวมไปถึงการพัฒนาของภาคส่วนต่าง ๆ และห่วงโซ่อุปทานในยุโรป คาดว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยเร่งกระบวนการสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวได้อย่างเต็มรูปแบบ

– ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรป และส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาระดับความมั่นคงทางอาหารและสร้างสังคมไร้มลพิษให้แก่ประชาชน

– ขับเคลื่อนสหภาพยุโรปสู่การเป็นสังคมดิจิทัล สังคมเศรษฐกิจหมุนเวียน สังคมเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และสังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์แห่งแรกของโลก

กลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมาย

กรอบโครงการ Horizon Europe ที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอ ประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นพื้นฐานสามเสาคือ

– ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (Excellent Science)

– ความท้าทายระดับโลกและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในยุโรป (Global Challenges and European Industrial Competitiveness) และ

– นวัตกรรมแห่งยุโรป (Innovative Europe)

กลยุทธ์เป้าหมาย 4 ประการจะถูกนำไปปฏิบัติและดำเนินการผ่านการพัฒนากลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมาย 6
คลัสเตอร์ มีดังนี้

  • สุขภาพ
  • วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมของสังคม
  • ความมั่นคงของพลเมืองเพื่อสังคม
  • ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ
  • สภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการขนส่ง
  • อาหาร เศรษฐกิจชีวภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม

 แผนการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรป

สหภาพยุโรปได้กำหนดสาขาหลักในการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรปไว้ 10 สาขาดังนี้

  • การสร้างความร่วมมือด้านสุขภาพระดับโลก
  • นวัตกรรมสุขภาพ
  • เทคโนโลยีดิจิทัล
  • เศรษฐกิจฐานชีวภาพแบบหมุนเวียน
  • พลังงานไฮโดรเจนสะอาด
  • อุตสาหกรรมการบินไร้มลพิษ
  • เทคโนโลยีด้านระบบรถไฟ
  • เทคโนโลยีน่านฟ้า
  • เครือข่ายและการบริการอัจฉริยะ
  • มาตรวิทยา

รูปแบบการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรป

แผนการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรปได้กำหนดรูปแบบของการสร้างความร่วมมือเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • Co-programmed European Partnerships
  • Co-funded European Partnerships
  • Institutionalized European Partnerships

แผนการสร้างความร่วมมือกับประเทศนอกสมาชิกภายใต้โครงการ Horizon Europe

แผนการดำเนินการจะมุ่งเน้นการเชื่อมโยงภารกิจและการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาในระดับประเทศ ภูมิภาคและของโลก เช่น นโยบาย Green Deal การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล และเสริมสร้างศักยภาพให้ยุโรปสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ดีขึ้น สรุปได้เป็น 4 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้

  • ความร่วมมือด้านการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม
  • การแลกเปลี่ยนบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ และส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐาน
  • การเข้าร่วมของสหภาพยุโรปและการเป็นผู้นำในโครงการความร่วมมือแบบพหุภาคี
  • การหารือด้านนโยบายกับประเทศนอกสมาชิกฯ และภูมิภาคอื่น ๆ

การหารือทวิภาคีระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน ในประเด็นเทคโนโลยีสีเขียวและแผนที่นวัตรกรรม

โครงการ GreenTech มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ คือ

1) การหารือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างผู้พัฒนานวัตกรรมในยุโรปและอาเซียน
2) การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยียั่งยืนระหว่างสองภูมิภาค
3) การมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมขีดความสามารถ

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสีเขียว

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสีเขียวจากยุโรปไปยังอาเซียนจะต้องตอบโจทย์ในประเด็นต่อไปนี้

  • ระบุและกำหนดเทคโนลีสีเขียวที่สำคัญตอบโจทย์ต่อความต้องการและความสำคัญเร่งด่วนของประเทศสมาชิกอาเซียน และสามารถช่วยจัดการกับปัญหาในภูมิภาคได้
  • วิเคราะห์ความเป็นไปได้พร้อมส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสีเขียวจากยุโรปไปแก้ไขในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างประสบผลสำเร็จ
  • ระบุและกำหนดเทคโนโลยีสีเขียวที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ในเมือง พื้นที่ชนบท เขตอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคส่วนพลังงาน และภาคการขนส่ง
  • พัฒนากลยุทธ์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs)
  • ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาระดับเทคโนโลยีสีเขียวของบริษัทต่าง ๆ ในชุมชน และสามารถนำเทคโนโลยีสีเขียวเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จ

ตัวอย่างมาตรการและกิจกรรมภายใต้นโยบาย Green Deal ของสหภาพยุโรป

ในการประชุมมีการนำเสนอถึงวิสัยทัศน์ของแผนนโยบาย Green Deal ซึ่งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุโรปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี ค.ศ. 2030 และ 2050 การจัดหาพลังงานสะอาดที่มีราคาย่อมเยา ความมั่นคงทางพลังงาน การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานและทรัพยากร การเปลี่ยนถ่ายสู่สังคมไร้มลพิษ การรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

ยุทธศาสตร์พลาสติก

“ยุทธศาสตร์พลาสติก (European Plastics Strategy)” โดยมุ่งปรับเปลี่ยนวิธีการออกแบบ การใช้ การผลิตและการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์พลาสติกในสหภาพยุโรป เน้นการออกแบบที่ดีขึ้น การเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก การสนับสนุนการรีไซเคิล และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกในสหภาพยุโรปให้มีความยืดหยุ่นและมีศักยภาพในการแข่งขัน

ปัจจุบันประเทศไทยมี แผนงานการจัดการขยะพลาสติกสำหรับปี 2561-2573 จัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป้าหมายให้ได้ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงมาตรการลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การนำหลักการด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในกระบวนการการผลิต ตลอดจนมาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านขยะพลาสติดของสหภาพยุโรป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210416074155-pdf.pdf

 

 

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2564

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2564

วัคซีน

วัคซีน คือ การให้สารที่เตรียมขึ้นจากเชื้อหรือสารประกอบของเชื้อเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิแอนติบอดีฆ่าเชื้อโรค และสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะจดจำคุณสมบัติการแอนติเจน ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนได้รวดเร็วขึ้นหากได้รับอีกในภายหลัง

การพัฒนาและการขออนุมัติการใช้วัคซีน

          การออกใบอนุญาตการใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานอาจถึง 10 ปี หรือนานกว่านั้น โดย Food and Drug Administration หรือ (FDA) กำหนดให้วัคซีนต้องผ่านการทดลองทางคลินิกกับอาสาสมัครในมนุษย์ 3 ขั้นตอนก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในประชาชนทั่วไป
ขั้นที่ 1 (Phase 1): ทดสอบในอาสาสมัครเพียง 20 – 100 คน ใช้เวลาไม่กี่เดือน เพื่อประเมินความปลอดภัยขั้นพื้นฐานและระบุปฏิกิริยาที่พบ
ขั้นที่ 2 (Phase 2): ทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครขนาดใหญ่ จำนวนหลายร้อยคน ระยะเวลาหลายเดือนถึงสองปี เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดองค์ประกอบของวัคซีน จำนวนครั้งที่ควรได้รับวัคซีน และรายละเอียดของปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 3 (Phase 3): หากผลการทดสอบขั้น 2 ไม่เกิดปัญหาสุขภาพใด จึงจะดำเนินการทดสอบในขั้นที่ 3 โดยขยายกลุ่มอาสาสมัครจำนวนหลายพันถึงหลายหมื่นคน การทดลองเหล่านี้จะใช้เวลาหลายปี เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน
หากผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ผู้ผลิตจะต้องยื่นคำขออนุญาต Biologics License Application (BLA) ต่อ FDA ฉลากบนผลิตภัณฑ์ โรงงานและขั้นตอนการผลิต เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาแล้ว วัคซีนนั้นจะได้รับอนุญาตให้ใช้กับประชากรทั่วไปได้

การอนุญาตการใช้ในกรณีฉุกเฉิน Emergency Use Authorization : EUA

การอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) เป็นการใช้มาตรการทางการแพทย์ รวมถึงการใช้วัคซีนกรณีฉุกเฉิน หมายถึงการอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองทางการในกรณีฉุกเฉินเพื่อวินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรคร้ายแรงหรือคุกคามถึงชีวิต โดยที่ผ่านมา การอนุญาตให้มีการใช้กรณีฉุกเฉิน ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ อีโบลา เอนเทอโรไวรัส (enterovirus) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 และกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome – MERS) จะต้องมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า
– เกิดภาวะที่ร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต
-หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องมีความน่าเชื่อถือ ว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้ในการวินิฉัย บำบัด บรรเทา หรือป้องกันภาวะที่ร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
-มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น FDA จะพิจารณาผลประโยชน์และศักยภาพของผลิตภัณฑ์ กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากหลักฐานและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่
-ไม่มีทางเลือกอื่น : ยังไม่มีวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใด ๆ ในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นทางเลือกอื่น
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 FDA ได้อธิบายเงื่อนไขโดยเชิงประสิทธิภาพต้องสามารถลดการติดเชื้อโควิดได้อย่างน้อย 50% ในเชิงความปลอดภัย ต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดอย่างน้อย 2 เดือน

วัคซีนป้องกันโควิด – 19

          วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในปัจจุบัน มีทั้งที่ฉีดเข็มเดียว และที่จำเป็นต้องฉีด 2 เข็ม สำหรับวัคซีนที่ต้องฉีด 2 เข็มนั้น เข็มแรกเป็นการแนะนำให้ร่างกายเรารู้จักแอนติเจน หรือโปรตีนของแปลกปลอมที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตแอนติบอดีในระบบภูมิคุ้มกันเป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์เรียกกระบวนการนี้ว่า priming the immune response เข็มที่ 2 ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราจะมีพัฒนาการตอบสนองของหน่วยความจำเพื่อต่อสู้กับไวรัสเมื่อพบกันอีกครั้ง วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในปัจจุบัน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ฉีดห่างกันประมาณ 21-28 วัน (3-4 สัปดาห์) หรือบางประเภท 42 วัน หรืออาจถึง 12 สัปดาห์ วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบัน Pfizer/BioNTech, Moderna, AstraZeneca, Johnson & Johnson, Sinovac และ Sputnik V เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่พัฒนาและนำมาใช้ป้องกันเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยแบ่งประเภทของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีน

ประเภทของวัคซีนป้องกันโควิด – 19
เทคนิค mRNA (mRNA Technology)

          เทคโนโลยี mRNA ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน เป็นการใช้กรดนิวคลีอิกที่เป็นส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โดยขั้นแรก DNA จะถูกเปลี่ยนเป็น RNA ที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวเพื่อสร้างโปรตีนเฉพาะที่ส่งชุดคำสั่งเฉพาะไปยังเซลล์ของเรา ให้สร้างโปรตีนที่เราต้องการให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรารับรู้และตอบสนอง
การใช้ไวรัสเป็นพาหะ (viral vector vaccine)

          โดยใช้หลักการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 เข้าไปในไวรัสพาหะชนิดอื่น ๆ เช่น Adenovirus เพื่อนำเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ได้แก่ วัคซีนบริษัท AstraZeneca ของอังกฤษ Johnson & Johnson ของสหรัฐฯ และ  Sputnik V ของรัสเซีย ข้อดีของวัคซีนกลุ่มนี้ คือ เป็นวัคซีนที่เลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ ผลิตได้ง่าย เร็ว ราคาไม่สูง ข้อด้อย คือ ยังไม่มีประสบการณ์ใช้ในวงกว้าง และในผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสที่ใช้เป็นพาหะมาก่อน วัคซีนอาจกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีมากนัก
วัคซีนของ AstraZeneca หรือ AZD1222 ที่คิดค้นโดยบริษัท AstraZeneca ร่วมกับ University of Oxford ใช้ไวรัส Adenovirus ของลิงชิมแปนซี เป็นไวรัสพาหะ จาการศึกษาวิจัยพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพเฉลี่ย 70% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษาเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศา (อย่างน้อย 6 เดือน) ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนนี้จาก University of Oxford
วัคซีน Janssen หรือ AD26.COV2.5
ที่ผลิตโดยบริษัทยา Johnson & Johnson (J&J) ใช้ Adenovirus 26 เป็นไวรัสพาหะ วัคซีนนี้เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวที่ฉีดเพียง 1 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีแล้ว มีประสิทธิภาพ 66% ในการป้องกันโควิด-19 แบบที่มีอาการ และมีประสิทธิภาพ 85% ในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรง
วัคซีน Sputnik V ค้นคว้าและพัฒนาโดยสถาบันวิจัย Gamaleya รัสเซีย ที่ใช้ชื่อเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลกที่รัสเซียส่งขึ้นไปในอวกาศ Sputnik V ใช้ Adenovirus 5 สำหรับวัคซีนเข็มที่ 1 และ Adenovirus 26 สำหรับวัคซีนเข็มที่ 2 โดยฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้นาน 2 เดือน วัคซีนมีประสิทธิภาพสูง 92% กับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมของจีน และสายพันธุ์ Alpha (สายพันธุ์อังกฤษ) อัลฟาซึ่งระบาดในวงกว้าง และสร้างภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 90% สำหรับสายพันธุ์ Delta (พันธุ์อินเดีย) แต่ไม่ได้ผลดีนักในสายพันธุ์ Beta (พันธุ์แอฟริกาใต้)

วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine)
ผลิตโดยการใช้ไวรัส SARA-CoV-2 ที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือตายแล้ว ได้แก่ วัคซีน CoronaVac และวัคซีน Sinopharm ของจีน ข้อดี คือ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีมานาน แต่ข้อจำกัด คือ ราคาวัคซีนค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องเพาะเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสูง (Biosafety level 3)
วัคซีน CoronaVac เป็นของบริษัท SinoVac Life Sciences ใช้เชื้อตายสายพันธุ์ CZ02 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 อยู่ที่ 51-84% อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่ทำให้วัคซีนนี้ ถูกลดความน่าเชื่อถือลงไปมากคือมีศักยภาพในการป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ต่ำ และมีอัตราการลดระดับของภูมิต้านทานรวดเร็ว
วัคซีน Sinopharm หรือ BBIBP-CorV พัฒนาโดยสถาบัน Beijing Bio-Institute of Biological Products ใช้เชื้อตายสายพันธุ์ WIV04 (สายพันธุ์อู่ฮั่น) และ HB02 (สายพันธุ์ปักกิ่ง) พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวม 79% สามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ 100% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 3-4 สัปดาห์

วัคซีนแบบใช้โปรตีน (protein-based vaccine)

Pfizer
ชื่อวัคซีน :
BNT162b2P
บริษัทผู้ผลิต : Pfizer, สหรัฐอเมริการ และ BioNtech เยอรมัน
เทคโนโลยีการผลิต : mRNA
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 12 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวมแดงบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 570-607 บาท

Moderna
ชื่อวัคซีน
: mRNA-1273
บริษัทผู้ผลิต : Moderna, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : mRNA
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 94.1%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 4 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวมแดงบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 450-750 บาท

Johnson & Johnson
ชื่อวัคซีน :
JNJ-78436735
บริษัทผู้ผลิต : Janseen Phamaceutical Companies of Johnson & Johnson, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
จำนวนโดส : 1 โดส
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้

AstraZeneca
ชื่อวัคซีน
: AZD1222, ChAdOx1 nCoV-19
บริษัทผู้ผลิต : Oxford University และ AstrzZeneca อังกฤษ
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 70.4%-82.4%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 4-12 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้
ราคาต่อโดส : 300-314 บาท

S-Putnik V
ชื่อวัคซีน :
Spuntnik V
บริษัทผู้ผลิต : Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology, รัสเซีย
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 91.1%-91.5%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้น ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 311-405 บาท

SINOVAC
ชื่อวัคซีน :
CoronaVac
บริษัทผู้ผลิต : Sinovac Biotech Ltd., จีน
เทคโนโลยีการผลิต : Inactivated virus
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 49.6%-50.7%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 2 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 – 60 ปี
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว อาการชาคล้ายอัมพาต
ราคาต่อโดส : 427 – 934 บาท

SINOPHARM
ชื่อวัคซีน :
BBIBP-CorV
บริษัทผู้ผลิต : Sinopharm’s Beijing Institute of Biological Products, จีน
เทคโนโลยีการผลิต : Inactivated virus
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 79.3%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 – 60 ปี
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ผื่นขึ้น ปวดกล้ามเนื้อ
ราคาต่อโดส : 934 – 1,123 บาท

NOVAVAX
ชื่อวัคซีน :
NVX-CoV2373
บริษัทผู้ผลิต : Novava, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : Protein-based vaccine
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 96%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ
ราคาต่อโดส : คาดว่าราคาจะอยู่ที่ราว 16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อโดส หรือประมาณ 530 บาท

โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และประสิทธิภาพการป้องกันของวัคซีน

เดลตาพลัส (Delta Plus) และ แลมบ์ดา (Lambda)
เดลตาพลัส (Delta Plus)

เดลตาพลัสมีลักษณะคล้ายสายพันธุ์เดลตา แต่มีการกลายพันธุ์เพิ่มที่เรียกว่า K417N ที่โปรตีนหนาม ที่ช่วยให้เชื้อไวรัสสามารถยึดเกาะกับเซลล์ที่ติดเชื้อได้ดีขึ้น และทนทานต่อการรักษาด้วยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody therapy) ซึ่งเป็นการให้แอนติบอดีทางเส้นเลือดเพื่อฆ่าไวรัส ปัจจุบันพบเดลตาพลัสใน 9 ประเทศคือ สหรัฐฯ อังกฤษ โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ รัสเซีย และจีน แต่ทั้งนี้ นักไวรัสวิทยาระบุว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนข้อมลดังกล่าว และ WHO ก็ยังไม่ได้จัดให้เดลตาพลัสอยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลหรือน่าจับตามองแต่อย่างใด

แลมบ์ดา (Lambda)

          สำหรับสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) WHO จัดให้อยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง และเริ่มมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น ตรวจพบครั้งแรกเดือนสิงหาคม 2563 ในเปรู สูงถึง 81% รวมทั้งประเทศชิลี เม็กซิโกและอาร์เจนตินาอีกด้วย
ไวรัสสายพันธุ์นี้มียีนกลายพันธุ์ซับซ้อนหลายตำแหน่ง เมื่อเทียบกับพันธุกรรมของไวรัสโควิดดั้งเดิมที่พบครั้งแรกที่นครอู่ฮั่น พบการกลายพันธุ์ถึง 7 จุดบนโปรตีนที่เป็นส่วนหนามของไวรัส ทำให้กลายเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงที่จะให้เกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการศึกษาโดยระบุว่าสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการต้านทานแอนติบอดีจากวัคซีนสูงกว่าไวรัส SARS-CoV-2 แบบดั้งเดิม 3.3 เท่า และเมื่อทดลองใช้วัคซีนป้องกันโควิดชนิด mRNA (Pfizer และ Moderna) กับไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดา ผลปรากฏว่าไวรัสมีความสามารถต้านทานแอนติบอดีจากวัคซีนต่ำลงกว่าเดิม โดยอยู่ในเกณฑ์ที่วัคซีน mRNA ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไป จะสามารถรับมือไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้ได้

ประสิทธิภาพการป้องกันของวัคซีน

วัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน
เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพเป็นเพียงตัวเลขที่บอกผลการทดสอบระยะที่ 3 ในอาสาสมัครว่า วัคซีนแต่ละประเภทให้ผลการทดสอบอย่างไรในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งวัคซีนแต่ละตัว ทำการศึกษาทดสอบในปัจจัยที่แตกต่างกัน ทดลองในอาสาสมัครกลุ่มต่างกัน จำนวนอาสาสมัครและทดสอบในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น
– Pfizer ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนมากกว่า 43,000 คน ในสหรัฐฯ เยอรมนี ตุรกี แอฟริกาใต้ บราซิล และอาร์เจนตินา
– Moderna ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนกว่า 30,000 คน ในสหรัฐฯ
– AstraZeneca ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 32,000 คน ในอังกฤษ บราซิล แอฟริกา อินเดีย ฮ่องกง อาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เปรู สหรัฐฯ และรัสเซีย
– Sinovac ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 30,000 คน ในบราซิล ชิลี อินโดนีเซีย ตุรกี จีน ฮ่องกง และฟิลิปปินส์
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้น คือ การป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งไม่มีอาการ อาการไม่รุนแรง อาการรุนแรง การเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต วัตถุประสงค์หลักของการฉีดวัคซีน หมายถึง การป้องกันการเกิดอาการรุนแรง และการเสียชีวิต

สถานการณ์ความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจและการฟื้นฟู

          องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2564 ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่าตัวแปรสำคัญนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ที่ผลักดันโดยประธานาธิบดี โจ ไบเดน ช่วยให้โลกฟื้นตัวจากวิกฤตเร็วขึ้น มีผลให้การเติบโตของ GDP โลกเพิ่มขึ้น 1% ในปี 2564 เห็นได้จากที่ผู้คนกลับมาลงทุนมากขึ้น ธนาคาร และสายการบิน เริ่มกลับมา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-jun2021.pdf