องค์ประกอบ 4 อย่างที่ดีที่สุดของการจัดการความรู้ (knowledge management, KM) คืออะไร

องค์ประกอบ 4 อย่างที่ดีที่สุดของการจัดการความรู้ คือ คน (people), กระบวนการ (process), เนื้อหาหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ (content/IT) และกลยุทธ์ (strategy) โดยไม่คำนึงถึงอุตสาหกรรม, ขนาด หรือความต้องการความรู้ขององค์กร ต้องการเสมอ ๆ คน เพื่อนำและสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ ต้องการกระบวนการเพื่อจัดการและวัดการไหลของความรู้ ต้องการเนื้อหาความรู้และเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถเชื่อมคนที่ถูกต้องกับเนื้อหาที่ถูกต้องที่เวลาที่ถูกต้อง และท้ายที่สุดต้องการกลยุทธ์ที่ชัดเจนและทำเป็นเอกสารเพื่อใช้ KM ให้ตรงกับความต้องการที่เร่งด่วนและสำคัญที่สุดของธุรกิจ

ข้างล่างเป็นข้อมูลที่ลึกเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบทั้งสี่

– คน
เมื่อเริ่มโปรแกรม KM ต้องการคนสองประเภทนี้ ได้แก่
1. ผู้นำอาวุโส (senior leaders) เพื่อสนับสนุนทำให้กลยุทธ์องค์กรขยายมากขึ้น
2. ผู้ถือผลประโยชน์ร่วมข้ามสายงาน (cross-fuctional stakeholders) เพื่อแนะนำการประยุกต์ใช้

เมื่อความพยายาม KM สมบูรณ์แบบ องค์กรส่วนใหญ่จะมีทีม KM หลัก, ระบุผู้ชนะเลิศ KM (KM champions) และผู้อำนวยความสะดวก (facilitators) ของธุรกิจ และจัดตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อให้บริการหรือดูแลอย่างต่อเนื่อง ดูเหมือนว่าจะอาศัยคนเป็นจำนวนมาก ต้องการคนให้มีส่วนร่วมที่ระดับต่าง ๆ และที่ส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจเพื่อทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้อย่างแท้จริงในวัฒนธรรม แต่ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากหรือใช้เวลามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากระบวนการดี, เนื้อหาและโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ยุ่งยาก และกลยุทธ์น่าสนใจ

– กระบวนการ
ในองค์กรที่มีกระบวนการ KM ที่แข็งแรง การไหลของความรู้เหมือนการให้น้ำในเมือง เมื่อบางคนต้องการน้ำ เพียงหมุนก๊อกน้ำ ทีม KM เหมือนผู้วางแผนเมือง รู้วิธีทุกสิ่งทุกอย่างไหลข้างใต้พื้นผิว สามารถระบุภาวะลำบาก, การไหลไปเส้นทางต่าง ๆ และวัดการให้ข้อมูลและผลลัพธ์ แต่ผู้ใช้ปลายทางไม่ต้องเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ได้รับความรู้ที่ต้องการเป็นเรื่องที่ง่าย

APQC (American Productivity and Quality Center) ได้ระบุกระบวนการไหลของความรู้มาตรฐานซึ่งอธิบายวิธีที่ความรู้ไหลทั่วทั้งองค์กร ประกอบด้วยวงจร 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. สร้างความรู้ใหม่ (เกิดขึ้นทุกวัน ทุกเวลา ทั่วทั้งทุกด้านของธุรกิจ)
2. ระบุความรู้ซึ่งสำคัญต่อกลยุทธ์และการปฏิบัติ
3. รวบรวมความรู้ดังนั้นสามารถแบ่งปันกับผู้อื่น
4. ทบทวนความรู้เพื่อประเมินความตรงประเด็น, ความถูกต้อง และความสามารถในการประยุกต์ใช้
5. แบ่งปันความรู้ผ่านการจัดทำเอกสาร, การประกาศที่ไม่เป็นทางการ และกิจกรรมความร่วมมือ
6. เข้าถึงความรู้ผ่านกลไก pull (ตัวอย่างเช่น การค้นหา) และ push (ตัวอย่างเช่น การเตือน)
7. ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาได้เร็วขึ้นและการตัดสินใจที่เชี่ยวชาญมากขึ้น

สำหรับทีม KM สิ่งสำคัญคือระบุวิธีที่จะสร้างขั้นตอนเหล่านี้ภายในกระบวนการธุรกิจที่คนใช้แล้วทุกวัน

– เนื้อหาหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื้อหาเป็นความรู้ที่ได้จัดทำเป็นเอกสารชนิดไหนก็ได้ ตั้งแต่วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่ได้รับการตรวจสอบจนถึงเคล็ดลับผ่าน ๆ ที่แบ่งปันระหว่างเพื่อนร่วมงาน เหตุผลที่วางเทคโนโลยีสารสนเทศไว้กับเนื้อหา เพราะโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้คนสร้าง, วางไว้บางแห่ง และเข้าถึงและนำกลับมาใช้ใหม่เนื้อหา ถ้าไม่มี KM คนจะยังคงสร้างและใช้เนื้อหา แต่จะวางไว้ในที่ที่คนอื่นไม่สามารถค้นพบ, ทำในสิ่งที่คนอื่นสร้างไว้แล้ว และที่อันตรายมากที่สุด ใช้เนื้อหาอีกครั้งที่ล่าสมัยหรือไม่ถูกต้อง

โปรแกรม KM ที่มีประสิทธิภาพมีขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างและตรวจสอบเนื้อหา, จัดหมวดหมู่เพื่อจัดการเนื้อหา และเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมคนกับเนื้อหา องค์กรขั้นสูงใช้การจัดการเนื้อหาเพื่ออำนวยความสะดวกความร่วมมือกัน, เปิดเผยนวัตกรรม และให้เนื้อหากับพนักงานอย่างอัตโนมัติในโอกาสที่สอนได้

– กลยุทธ์
ทุกโปรแกรม KM ต้องการกลยุทธ์ที่ตรงประเด็นกับธุรกิจ จัดทำเป็นเอกสาร และชัดเจน สามารถมีเครื่องมือเทคโนโลยีที่ดีที่สุดและทีม KM ที่เก่งมาก ๆ แต่จะไม่มีประโยชน์โดยปราศจากกลยุทธ์

ที่มา: Mercy Harper (October 21, 2019). What are the Best Four Components of Knowledge Management?. Retrieved July 26, 2021, from https://www.apqc.org/blog/what-are-best-four-components-knowledge-management

Multimedia แบบเปิด

ข้างล่างเป็นเว็บไซต์ซึ่งรวบรวม multimedia ซึ่งสามารถใช้ได้ฟรี

Multimedia
– Digital Public Library of America (https://dp.la/)
รวบรวมมากกว่า 14 ล้านรายการของ เนื้อหา, วิดีโอ, รูปภาพ และ audio จากห้องสมุด, จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์
– New York Public Library Digital Collections (https://digitalcollections.nypl.org/)
ผลิตเกือบจะ 700,000 รายการ ส่วนใหญ่เป็นรูปภาพ แต่ยังมีเนื้อหา, แผนที่, audio และไฟล์ภาพยนตร์อีกด้วย ซึ่ง digital collections ใช้ได้ฟรี ตรวจสอบแต่ละรายการสำหรับข้อกำหนดเรื่องลิขสิทธิ์อื่น ๆ
– USA.gov (https://search.usa.gov/search/news?affiliate=usagov&channel=617&query=)
ค้นหาได้ง่าย ๆ วิดีโอและรูปภาพ
– The Public Domain Project (https://www.pond5.com/free)
เจ้าของคือ บริษัท stock footage (Pond5) ได้รวบรวมเกือบ 100,000 รูปภาพ, วิดีโอ, audio และไฟล์โมเดล 3 มิติ ภายใต้ public domain
– Smarthistory (https://smarthistory.org/)
เน้นศิลปะและประวัติศาสตร์ทางศิลปะ มีรูปภาพและวิดีโอตามภูมิศาสตร์, ช่วงเวลา และรูปแบบและหัวข้อ
– Library of Congress (https://www.loc.gov/free-to-use/?loclr=blogloc)
ประมาณ 12 collections ซึ่งรวมใช้ได้ฟรีและวัสดุใช้ซ้ำ

ที่มา: University Libraries University of Nevada, Reno. Open Audio, Video, and Images. Retrieved July 14, 2021, from https://guides.library.unr.edu/oer/find

อุปสรรคที่สำคัญที่สุดต่อการจัดการความรู้

หลายหน่วยงานกำลังดำเนินการจัดการความรู้ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ข้างล่างแสดงอุปสรรคที่สำคัญต่อการจัดการความรู้ และวิธีเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานประสบผลสำเร็จในการจัดการความรู้ในที่สุด

1. ความตระหนัก
ไม่สามารถทำการจัดการความรู้ได้ถ้าไม่รู้ว่าการจัดการความรู้คืออะไร

วิธีการเอาชนะอุปสรรคความตระหนัก
– สร้างแบรนด์การจัดการความรู้
– ใช้กลยุทธ์หลายช่องทาง บางคนไม่เคยอ่าน email จำเป็นต้องทำให้พนักงานสนใจเป็นประจำผ่านหลายช่องทางเพื่อให้แน่ใจว่าความคิดเห็นกระจายทั่วทั้งองค์กร
– ปรับข้อความให้เหมาะสม
– สร้างบรรยากาศสนุกสนาน เหตุการณ์สด การแข่งขัน และวิดีโอที่สนุกสนานสามารถส่งเสริมการจัดการความรู้
– ใช้ผู้บริหารและผู้จัดการ ทำให้ผู้บริหารและผู้จัดการเชื่อว่าการจัดการความรู้สำคัญ และทำให้ง่ายในการเป็นแบบอย่างและสนับสนุนการมีส่วนร่วม

2. เวลา
เวลาเป็นอุปสรรคเมื่อพนักงานคิดว่ามีงานมากเกินไปที่จะทำการจัดการความรู้ บางครั้งเกิดจากปัญหาในโปรแกรมการจัดการความรู้เอง เช่น การจัดการความรู้อาจทำให้ต้องนั่งในการประชุมเป็นเวลานาน หรือเครื่องมือการจัดการความรู้อาจใช้เวลาเพื่อเรียนรู้และใช้ อุปสรรคเวลายังเกิดขึ้นเมื่อพนักงานมีภาระหนักกับงานอื่น ๆ หรือเห็นการจัดการความรู้เป็นงานที่เพิ่มขึ้นมาซึ่งไม่มีประโยชน์

วิธีการเอาชนะอุปสรรคเวลา
– ทำให้การจัดการความรู้รวดเร็วและง่ายเท่าที่จะเป็นไปได้
– ทำให้การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบ
– ทำให้การฝึกอบรมการจัดการความรู้ง่ายและตามความต้องการ
– มองหาอุปสรรคทางโครงสร้างเพื่อใช้เวลากับการจัดการความรู้
– สร้างแรงจูงใจที่ชัดเจน จะให้เวลากับการจัดการความรู้ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารและผู้จัดการ และถ้าคิดว่าจะช่วยการทำงานและอาชีพ

3. วัฒนธรรม
วิธีการเอาชนะอุปสรรควัฒนธรรม
– ทำให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ ผู้บริหารมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม
– ชี้แนะผู้จัดการให้เป็นผู้สนับสนุน
– ร่วมมือกับ HR ในการฝึกอบรม
– ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยอุปสรรคทางภาษา
– ให้การศึกษากับพนักงานเกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
– ให้รางวัลและเห็นคุณค่าผู้มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้

ที่มา: Lauren Trees (May 21, 2021). What Are the Biggest Barriers to Knowledge Management?. Retrieved June 14, 2021, from https://www.apqc.org/blog/what-are-biggest-barriers-knowledge-management

Critical knowledge (ความรู้ที่สำคัญ) คืออะไร

ความรู้ที่สำคัญคือความรู้ที่มีคุณค่าและยั่งยืน เพียงพอที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการรักษาและถ่ายทอดจากพนักงานไปสู่พนักงานเป็นไปอย่างเหมาะสม ความรู้ที่สำคัญนั้นมีลักษณะแตกต่างกันไปสำหรับทุกองค์กรและนั่นคือเหตุผลใหญ่ว่าทำไมจึงมีความสำคัญ ความรู้ที่สำคัญมักเป็นเรื่องยากหรือไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยการจ้างงาน เป็นความรู้ประเภทหนึ่งที่ได้รับจากประสบการณ์ในชีวิตจริงในองค์กร

คิดว่าความรู้ที่สำคัญคือน้ำมันในเครื่องยนต์ของธุรกิจ ผู้บริหารที่ขับเคลื่อนธุรกิจอาจไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ในแต่ละวันและลูกค้าให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกมากกว่า แต่น้ำมันนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกอย่างจะดำเนินไปอย่างราบรื่นและเชื่อถือได้ ถ้าไม่มีน้ำมันแม้สักครู่เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน จะต้องเข้ารับการซ่อมแซมที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน และนั่นคือถ้าโชคดีพอพบปัญหาก่อนที่จะทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้

ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายสายการบินจึงเลิกใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพบางส่วน พนักงานที่เหลือต้องใช้เวลามากขึ้นในการวินิจฉัยและซ่อมแซมเครื่องบิน สิ่งนี้นำไปสู่ความล่าช้าของเที่ยวบินและการยกเลิก ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าไม่พึงพอใจและต้นทุนต่อที่นั่งของสายการบินเพิ่มขึ้น โชคดีที่สายการบินได้เรียนรู้บทเรียนและเริ่มระบุความรู้ที่สำคัญก่อนที่จะมีการปรับลดพนักงานในรอบถัดไป

การระบุความรู้ที่สำคัญไม่ใช่แค่การป้องกันการสูญเสียเท่านั้น เมื่อทราบว่าความรู้ที่สำคัญขององค์กรคืออะไรและอยู่ที่ใด จะสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้นั้นได้ดีขึ้น สามารถก้าวไปได้เร็วขึ้นโดยใช้ความรู้ที่สำคัญทันทีที่มีความเกี่ยวข้อง สร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นยิ่งขึ้นสำหรับลูกค้า สามารถฝึกอบรมผู้อื่นเกี่ยวกับความรู้ที่สำคัญ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในวันนี้และสร้างความแข็งแกร่งสำหรับวันพรุ่งนี้ อาจสามารถเปลี่ยนความรู้ที่สำคัญให้กลายเป็นสินทรัพย์ทางการตลาดที่ทำให้บริษัทแตกต่างจากคู่แข่ง

ขั้นตอนแรกในการระบุความรู้ที่สำคัญคือการพูดคุยกับผู้นำทางธุรกิจ ความรู้ที่สำคัญนั้นยากที่จะมองเห็นได้จากระยะไกลโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กำลังมองหาสิ่งนี้ขาดความเชี่ยวชาญด้านโดเมน จะต้องเจาะลึกธุรกิจเพื่อให้เห็นภาพว่าความรู้ที่สำคัญอาจอยู่ที่ใด

จะทำอย่างไรหากมีคนไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญ
จะจัดลำดับความสำคัญของความรู้ที่สำคัญที่สุดในการบันทึกและถ่ายโอนอย่างไร
จะทำอย่างไรหากผู้คนไม่แน่ใจว่าจะอธิบายหรือบันทึกความรู้ที่สำคัญของตนอย่างไร
จะทำให้ความรู้ที่สำคัญให้กับคนที่ใช่ ในรูปแบบที่ถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสมได้อย่างไร

คำถามเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดการและเกิดขึ้นเกือบทุกครั้งที่องค์กรเริ่มมองหาความรู้ที่สำคัญขององค์กร นั่นคือเหตุผลที่ APQC แนะนำการทำแผนที่ความรู้ หลังจากประสบการณ์ 25 ปีใน KM มั่นใจว่าการทำแผนที่ความรู้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรวบรวมข้อมูลและสร้างความเห็นร่วมกันในสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้ที่สำคัญ โชคดีที่ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือแฟนซีมากมายในการทำ สามารถทำงานให้เสร็จได้ด้วยสเปรดชีตง่าย ๆ หากต้องการ แต่จำเป็นต้องมีความรู้เล็กน้อย นั่นคือที่มาของหลักสูตรออนไลน์ใหม่ของ APQC

หลักสูตรการทำแผนที่ความรู้ด้วยตนเองของ APQC (http://apqc.thinkific.com/courses/knowledge-mapping) ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้แม้แต่ผู้เริ่มต้นเรียนรู้วิธีสร้างและวิเคราะห์แผนที่ความรู้ จะสร้างทักษะโดยการฝึกฝนขั้นตอนทางยุทธวิธีและเครื่องมือในการกำหนดขอบเขตและทำแผนที่ความรู้, เรียนรู้วิธีระบุและวิเคราะห์ช่องว่างของความรู้ และรู้วิธีใช้ข้อมูลเชิงลึกจากการทำแผนที่ความรู้เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของความรู้ที่สำคัญในและระหว่างกระบวนการทางธุรกิจ

ที่มา: Mercy Harper (October 14, 2020). What is Critical Knowledge?. Retrieved May 12, 2021, from https://www.apqc.org/blog/what-critical-knowledge

H.E. Mr. Pirkka Tapiola : Ambassador of the European Union to Thailand (EU)

H.E. Mr. Pirkka Tapiola

Ambassador of the European Union to Thailand (EU)

ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของ สวทช. สหภาพยุโรปและชาติสมาชิกของเราได้ร่วมมือสนับสนุนการทำวิจัย การแลกเปลี่ยนนักวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมเสมอมา ขอให้ความมั่นใจว่าจะสนับสนุน สวทช. เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมต่อไป

H.E. Mr. Christian Rehren Bargetto : Ambassador of the Republic of Chile to Thailand (Chile)

H.E. Mr. Christian Rehren Bargetto

Ambassador of the Republic of Chile to Thailand (Chile)

ขอแสดงความยินดีกับ สวทช. และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน จากความร่วมมือระหว่าง สวทช.และประเทศชิลี ได้สร้างงานวิจัยและพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ขึ้น หากวิกฤตการระบาดของโควิดผ่านไป จะเป็นการเปิดโอกาสให้ความร่วมมือของเราแน่นแฟ้นมากขึ้น ในการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนของเรา

H.E. Dr. Meir Shlomo : Ambassador of the Israel to Thailand (ISRAEL)

H.E. Dr. Meir Shlomo

Ambassador of the Israel to Thailand (ISRAEL)

ขอแสดงยินดีความยินดีกับ สวทช. ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ซึ่ง สวทช. เป็นองค์กรที่มีความสำคัญมากในวิถีชีวิตของชาวไทยและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ สวทช. มาเป็นเวลานาน รวมถึงภารกิจสำคัญที่ทำร่วมกันก่อนการระบาดของโควิด และจะทำงานร่วมกับ สวทช. ต่อไปในอนาคต

H.E. Mr. Lorenzo Galanti : Ambassador of the Italy to Thailand

H.E. Mr. Lorenzo Galanti

Ambassador of the Italy to Thailand

รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้แสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 30 ปีของ สวทช. จากเดือนมิถุนายน 2019 ทีผ่านมา ผมมีโอกาสมาเยี่ยม สวทช. และประทับใจเป็นอย่างมากกับการพบปะกับ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการของ สวทช. และ ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการฯ ซึ่งเราได้หารือและสร้างกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับทวิภาคีเป็นครั้งแรก

Dr. Rowena Cristina L. Guevara : Undersecretary for Research and Development Department of Science and Technology (DOST), Philippines (Phillippines)

Dr. Rowena Cristina L. Guevara

Undersecretary for Research and Development Department of Science and Technology (DOST), Philippines (Phillippines)

ขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจกับ สวทช. ในความสำเร็จที่ได้อุทิศตนและมุ่งมั่นเพื่อ วทน. ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ในจำนวน 4 ศูนย์วิจัยของ สวทช. นั้น นาโนเทค สวทช. ถือว่าเป็นพันธมิตรที่สำคัญของ DOST ซึ่งทั้งสององค์กรเป็นสมาชิกของ Asia Nano Forum ที่ดำเนินงานในด้านความปลอดภัยของนาโนเทคโนโลยี และหวังว่าจะต่อยอดความร่วมมือให้ประสบความสำเร็จต่อไป