Mr. Baybars Altuntas : Chairman, World Business Angel Investment Forum (WBAF)

Mr.Baybars Altuntas

Chairman, World Business Angel Investment Forum (WBAF)

แสดงความยินดีกับ สวทช. สำหรับผลงานอันยิ่งใหญ่ในการผลักดันให้กรุงเทพฯ และประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมของเอเชีย และขอขอบคุณอย่างสูงในความเป็นผู้นำอันดีเลิศของ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. ที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการ สตาร์ตอัปในประเทศไทยและภูมิภาค รวมถึงนักลงทุนผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลก

Dr. Wayne Wang : President, Asian Science Park Association (ASPA)

Dr. Wayne Wang

President, Asian Science Park Association (ASPA)

ขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของ สวทช. ที่ผ่านมา สวทช. เป็นพันธมิตรที่ดีของ ASPA ได้ร่วมกันจัดการประชุม Business Meeting ในกรุงเทพมหานคร ถึง 3 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และอุทยานวิทยาศาสตร์ซินจู ได้ร่วมกันเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์พี่น้องกันตั้งแต่ปี 2006 และเชื่อว่าเราจะได้มีโอกาสทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต

Ms. Ebba Lund : Chief Executive Officer, International Association of Science Parks and Areas of Innovation (IASP)

Ms. Ebba Lund

Chief Executive Officer, International Association of Science Parks and Areas of Innovation (IASP)

ขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 30 ปีของ สวทช. โดย IASP มีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับ สวทช. ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันอุทยานวิทยาศาสตร์ของไทยได้รับตำแหน่งประธานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก่อนหน้านี้ได้รับเลือกเป็นประธานในระดับนานาชาติ ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและจะทำงานร่วมกันต่อไป

Mr. Jeong Yoon-Mo : The Chairman and President of Korea Technology Finance Corporation (KOTEC), Korea

Mr. Jeong Yoon-Mo

The Chairman and President of Korea Technology Finance Corporation (KOTEC), Korea

ขอแสดงความยินดีจากใจในโอกาสครบรอบ 30 ปีของ สวทช. ในฐานะมิตรประเทศอันยาวนาน ประเทศไทยและเกาหลีมีความร่วมมือกันในหลาย ๆ เรื่อง รวมถึงด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สวทช. และ KOTEC เราต่างก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน 30 ปี เหมือนกันและมีความร่วมมือกันตลอดมา พร้อมกันนี้เชื่อว่า สวทช.จะเป็นองค์กรหลักของสังคมแห่งฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยต่อไป

Prof. Dr. Kazuya Masu : President of Tokyo Institute of Technology

Prof. Dr. Kazuya Masu

President of Tokyo Institute of Technology

ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้กล่าวแสดงความยินดีกับโอกาสครบรอบ 30 ปี ของ สวทช. ที่เป็นพันธมิตรร่วมกันมาเกือบ 20 ปี ทั้งในด้านการวิจัยและบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมกันนี้ขอขอบคุณมายังสมาชิกทุกคนของ สวทช. สำหรับมิตรภาพและความสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ขายหัวเราะ ฉบับรู้ทันโควิด

ขายหัวเราะ ฉบับรู้ทันโควิด

ขายหัวเราะเฉพาะกิจรู้ทันโควิด 19 เป็นความร่วมมือขององค์การอนามัยโลกกับภาคีในการก้าวไปกับ “ความปรกติใหม่” ของชีวิตที่ต้องอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัส

ฉบับภาษาไทย | English Version

 

ที่มา : https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/knowcovid-final-pages-r01.pdf

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563 – 2565 ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ 2565

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563 – 2565 ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ 2565

โดยมีเนื้อหา

  • สถานการณ์แนวโน้ม และระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • นโยบาย ยุุทธศาสตร์ชาติและแผนที่เกี่ยวข้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • สถานการณ์ของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในปัจจุบัน
  • แนวโน้มของโลกและนัยต่อประเทศไทย
  • ฉากทัศน์ภาพอนาคต
  • ทิศทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

 

สามารดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ : shorturl.asia/uK3Mi  หรือคลิกที่ลิงก์ หนังสือแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563 – 2565 ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ 2565

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

หนังสือ สู้ ! โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำหนังสือ สู้ ! โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน จัดพิมพ์ครั้งแรก เดือนเมษายน 2563 และเผยแพร่ฉบับ pdf file ไว้บนเว็บไซต์ สสส. (https://www.thaihealth.or.th/)

เนื้อหาในเล่ม ประกอบด้วย สาระความรู้ต่างๆ ในเรื่องของ โควิด-19 ได้แก่

  • ทําความรู้จักโควิด – 19
  • ติดโควิดหรือเปล่า? เช็กสัญญาณและอาการได้ที่นี่
  • ใครบ้างที่เสี่ยงสูงติดโควิด-19
  • เเนวทางปฏิบัติเมื่อต้องกักตัว 14 วัน
    • เตรียมที่พักและอุปกรณ์อย่างไรให้พร้อม
    • ข้อปฏิบัติกรณีอยู่บ้านคนเดียว
    • ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ที่ต้องกักตัว
    • ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ดูแลอาคารชุด
  • เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ
  • ทําความเข้าใจเส้นทางการรักษาโควิด-19
  • การดูแลตนเองสําหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของ COVID-19
  • แนะนําวิธีดูแลเด็กอย่างไรในช่วงโควิด-19

 

PDF PicDownload เอกสาร ได้ที่เว็บไซต์ข้างต้น หรือคลิกที่ลิงก์  หนังสือ สู้ ! โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มกราคม 2564

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มกราคม 2564

สหรัฐอเมริการกับการมีส่วนกับประชาคมโลกในด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีสถิติการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกมาจนถึงปี 2548 ที่จีนได้แซงหน้า สหรัฐฯ ได้เข้าเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Unitec Nations Framework Convention on Climate Change – UNFCCC) เมื่อปี 2535 ขณะที่ต่อมีมีการจัดทำพิธีสารเกียวโต ทีประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2538 สหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นประเทศปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลัก ที่ต้องมีพันธกรณีลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายของพิธีสาร ไม่เข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารฯ ซึ่งมีการผูกมัดประเทศพัฒนาแล้วให้ลดก๊าซเรือนกระจก และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในโครงการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกที่มีเครดิตคาร์บอนที่เรียกว่า กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanise – CDM) เป็นกรอบโครงการที่รัฐภาคีสมาชิกจะดำเนินร่วมกันจนทำให้การดำเนินงานระหว่างภายใต้พิธีสาร
เกียวโตขาดเอกภาพ และค่อยๆ หมดกำลังลง โดยเฉพาะ ปี 2556 – 2563 แคนาดาขอถอนตัวจากการเป็นภาคีพิธีสาร ขณะที่ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ประกาศไม่ขอผูกมัดตนเองตามพันธกรณี โดยญี่ปุนพยายามสร้างกลไกมาซื้อขายคาร์บอนแบบทวิภาคี หรือ Joint Crediting Mechanism (JCM) ซึ่งมีส่วนทำให้พิธีสารเกียวโตหมดความหมายเช่นเดียวกัน
พัฒนาของเหตุการณ์เหล่านี้ มีผลสำคัญมาจากการที่ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ได้มั่งคั่งร่ำรวยเหมือนแต่ก่อน ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาได้พัฒนารุดหน้าขึ้นมาก ทั้งทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ทั้งในการผลิตทางอุตสาหกรรม และเพิ่มสัดส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะ จีน อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย ได้รวมตัวกันแล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 63% ของโลก ด้วยเหตุนี้
ที่ประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้พยายามหามาตรการใหม่ที่จะให้ทุกประเทศร่วมแรงร่วมใจกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส และนำไปสู่การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 21 ที่กรุงปารีส เมื่อปี 2558 มุ่งเน้นให้มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ จากความตกลงระหว่างประเทศที่ชื่อว่า ความตกลงปารีส (Paris Agreement)

ความตกลงปารีส Paris Agreement

ความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 หรือ 30 วันหลังจากวันที่ภาคีอนุสัญญาฯ อย่างน้อย 55 รัฐ ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันอย่างน้อย 55%  ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก โดย จีนกับสหรัฐฯ ได้ยื่นสัตยาบันสารรับรองความตกลงปารีสพร้อมกัน เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2559 (ไทยยื่นสัตยาบันสารเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559)

 

การเปลี่ยนแปลงของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้การบริหารงานของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์

หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ชนะผลการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ ในวันที่ 20 มกราคม 2560 นั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกฎและระเบียบจากสมัยอดีตประธานาธิบดีโอบามา รวมถึง นโยบายและการบริหารจัดการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
1. การถอนตัวจากความตกลงปารีส
การที่สหรัฐฯ ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีโอบามาได้ลงนามในความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 และให้สัตยาบันเดือนกันยายนปีเดียวกันพร้อมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่เมื่อการสืบทอดตำแหน่งทางการเมืองในสมัยของประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศกร้าวว่าโลกร้อนไม่จริง ประธานาธิบดีทรัมป์แถลงการณ์ว่า สหรัฐฯ จะถอนการสนับสนุนความตกลงปารีส
นโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์เป็นภาพสะท้อนนโยบายภาพรวมของพรรคที่มีกลุ่มผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง
ฟอสซิล (น้ำมันและก๊าซ) หนุนหลังอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท Exxon Mobil ที่เป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ
หลังจากแถลงการณ์ของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ยกเลิกการเข้าร่วมความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ณ ทำเนียบขาว โดยได้ยื่นสารขอลาออกจากสมาชิกภาพเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2562 จึงทำให้ว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มุ่งมั่นที่จะนำสหรัฐฯ กลับเข้าเป็นภาคีรัฐสมาชิกตามเดิมในโอกาสแรก

2. การยกเลิกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและถอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศออกจากยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2561 สมาชิกรัฐสภา ได้ส่งจดหมายเพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีทรัมป์ พิจารณายกเลิกการถอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศออกจากยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติอีกครั้ง นายกเทศมนตรีรัฐชิคาโก ได้จัดประชุมผู้นำท้องถิ่นจากรัฐต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ ร่วมกับแคนาดา และเม็กซิโก ร่วมลงนามความตกลงใน Global Covenant of Mayors for Climate and Energy ซึ่งเป็นแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้ว่าการประชุมจะเกิดขึ้นก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์แถลงการณ์ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาตินั้นแต่ผู้นำท้องถิ่นในแต่ละรัฐยังคงเดินหน้าต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3. การเปลี่ยนแปลงของหน่วยงาน EPA

หน่วยงาน Environment Protection Agency (EPA) มีหน้าที่ปกป้อง ประเมิน และวิจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ดำรงตำแหน่งได้สนับสนุนให้นายสก๊อต พรูอิทท์ (Scott Pruitt) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ EPA
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 นายพรูอิทท์เคยฟ้องร้องหน่วยงาน EPA 14 ครั้งในเรื่องมลพิษทางน้ำ อากาศ การควบคุม
สารปรอท หมอกควัน และมลพิษอื่นๆ ทั้งยังมีความคิดไม่เห็นด้วยว่า กิจกรรมของมนุษย์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยไว้
ปลายปี 2560 หน่วยงาน EPA และนายพรูอิทท์ได้ถูกฟ้องร้องในข้อหาละเลยหน้าที่ของรัฐบาลในการควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทน อัยการสูงสุดรัฐนิวยอร์กร่วมกับอีก 13 รัฐ กล่าวว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 115 ล้านคน กำลังสูดหมอกควันระดับอันตรายเข้าไป แสดงให้เห็นถึงการเพิกเฉยต่อสุขภาพของประชาชนและกฏหมาย
นายพรูอิทท์ ได้ลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการ EPA เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 หลังจากสื่อต่างๆ กล่าวถึงการทำผิดจรรยาบรรณและความไม่เหมาะสมในตำแหน่งด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ได้เสนอชื่อนายแอนดรูว์
วีลเลอร์ (Andrew Wheeler) ดำรงตำแหน่งแทน นายวีลเลอร์มีนโยบายการบริหารงานทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างจากนายพรูอิทท์ และนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมของประธานาธิบดีทรัมป์คงเดินหน้าต่อไป

4. การยกเลิกแผนพลังงานสะอาด (Clean Power Plan : CPP)

แผนพลังงานสะอาด (Clean Power Plan : CPP) โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้า 32% ภายในปี 2573 ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า CPP ไม่สอดคล้องกับ Clean Air Act ซึ่งเป็นกฏหมายของรัฐบาลกลางในการควบคุมคุณภาพอากาศและลดมลพิษทางอากาศจึงควรยกเลิกแผนพลังงานสะอาด ทั้งนี้ แผน ACE จะทำให้ความเข้มงวดในการควบคุมการปล่อยมลพิษลดลงและคาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น 12 เท่าใน 10 ปีต่อจากนี้

5. การอนุมัติโครงการขยายท่อขนส่งน้ำมัน Keystone XL

ประธานาธิบดีทรัมป์เชื่อว่าโครงการขยายท่อขนส่งน้ำมัน KeystonXL หรือ Keystone Export Limited ของบริษัท TransCanada Corp. มีมูลค่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพิ่มศักยภาพในการขนส่งน้ำมันดิบ (Oil sands) จากรัฐแอลเบอร์ตาไปยังรัฐเนเบรสกา ถึง 830,000 บาเรล/วัน ซึ่งโครงการนี้ถูกระงับโดยอดีตประธานาธิบดีโอบามาด้วยเหตุผลด้านผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากการกลั่นน้ำมันดิบจากทรายน้ำมัน (Oil sands) ต้องใช้น้ำในปริมาณมากและความร้อนสูงชะแยกน้ำมันออกจากมวลทราย โดยกระบวนการดังกล่าวจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากกว่าปกติถึง 17% และประชาชนอาจจะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างและหากมีการรั่วไหลของน้ำมัน

นโยบายการปฏิวัติด้านพลังงานสะอาดและความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมของนายโจ ไบเดน
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนล่าสุด เข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม 2564 มีมุมมองว่าเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม คือเรื่องเดียวกัน และวางแผนดำเนินการทางด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลกลางจะลงทุน 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงสิบปีข้างหน้า ในการปฏิวัติพลังงานสะอาด (Clean Energy Revolution) โดยไบเดนได้กลับเข้าร่วมข้อตกลงปารีสเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้ยังเตรียมปรับ Green New Deal (คือ ข้อเสนอด้านนโยบายของสหรัฐฯ ที่ระบุปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ)

นโยบายทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของนายไบเดน ได้แก่ :
1. นำพาสหรัฐฯ ไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาด (cleanenergy economy) 100% และภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) จะยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
1.1 ระเบียบบริหารราชการชุดใหม่ (series of new executive orders) ผลักดันความก้าวหน้าครั้งประวัติศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซอย่างมีนัยสำคัญของสหรัฐฯ
1.2 วาระทางด้านกฏหมายที่จะมีการผลักดันในปีแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

2. เสริมความแข็งแกร่งและฟื้นฟูสหรัฐฯ รัฐบาลวางแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ระบบน้ำ การขนส่ง และพลังงาน ให้มีความทนทาน ช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

3. ร่วมกับนานาประเทศในการรับมือกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สหรัฐฯ มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดสัดส่วน 15% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

4. ต่อต้านการใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้ปล่อยมลพิษ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนคนผิวสีและผู้ที่มีรายได้ต่ำ

5. ให้ความสำคัญและช่วยเหลือคนงานและชุมชนที่ดำเนินการด้านถ่านหินโรงไฟฟ้า นายไบเดนให้คำมั่นที่จะไม่ทอดทิ้งคนงานทุกคน

อ่านเพิมเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-jan2021.pdf

 

 

 

 

 

การเลือกใช้งาน Joomla กับ WordPress

Joomla เป็นระบบ CMS เพื่อบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพมาก มีการวางโครงสร้างทางด้านโปรแกรมไว้เป็นสัดส่วน เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน หลักการสำคัญของการจัดการคือ

  • จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาเว็บเป็น category ได้
  • จัดทำหน้าโชว์ข้อมูลใน category ได้หลายรูปแบบ ทั้ง List และ Blog โดยผ่านการกำหนดของ Menu
  • มี Template ที่ออกแบบสวยงามแล้วให้ใช้งานได้
  • เพิ่มความสามารถต่างๆ ได้โดยการใช้ Extension เสริม

นับเป็น cms ที่ใช้จัดทำเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพมากตัวนึง แต่ทั้งนี้ Joomla ได้ลดความนิยมลงไป จากการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของ WordPress

 

WordPress เป็นระบบ CMS ที่เริ่มจากการเป็นที่นิยมของกลุ่ม Bloger หรือนักเขียน เหมาะสำหรับมือใหม่เน้นการใช้งานง่าย สร้างเว็บไซต์ขนาดกลาง-เล็ก และมีความสามารถในการทำ SEO มากที่สุด การใช้งานหลักจะเหมือนกับ Joomla มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป คือ

  • ส่วนเสริม Elementor หรือกลุ่ม Page Builder ทำให้การสร้างเนื้อหาได้หลากหลาย สวยงาม และยืดหยุ่นมากกว่า Editor Tools ธรรมดา
  • การรองรับการจัดทำหน้าเว็บเป็นแบบ Responsive ที่ดูได้จากทุกรูปแบบ device ได้ดีกว่า
  • มี Plugin จำนวนมาก ช่วยในการปรับความสามารถ

 

ในการจัดทำเว็บ ต้องคำนึงถึง Tools ที่เสริมความสามารถในการจัดทำให้ตรงกับจุดประสงค์ของเว็บไซต์ ในแต่ละระบบก็มีข้อดี/ข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่ที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ content หรือเนื้อหาในเว็บไซต์ต้องถูกต้อง และสื่อสารได้ตรงประเด็นกับที่ต้องการ จะทำให้เว็บและสิ่งที่เราเผยแพร่ได้รับความนิยมและมีผลต่อ search engine ต่อไป