ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรฐานความรู้ ศึกษาจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในอิหร่าน

1. จาการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของ 30 ผู้สอนในเรื่องการจัดการรัฐบาลของมหาวิทยาลัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัย Azad ในอิหร่าน สามารถแบ่งปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญเป็น 3 ประเด็นหลัก และ 18 ประเด็นย่อย ดังนี้

1. โครงสร้างองค์กร (Structural) ประกอบด้วย 8 ประเด็นย่อย

1.1 การลื่นไหลของความรู้ (fluidity)

โครงสร้างองค์กรควรทำให้เกิดการลื่นไหลของความรู้

1.2 กำจัดขอบเขต (eliminate of boundary)

องค์กรฐานความรู้ต้องเป็นอิสระจากขอบเขตที่จำกัด ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีข้อห้ามจากการควบคุมและอำนาจที่เป็นทางการ

1.3 ความยืดหยุ่น (flexibility)

โครงสร้างองค์กรต้องมีความยืดหยุ่น ทำให้จัดระเบียบความรู้ได้เหมาะสม

1.4 เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology)

เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรฐานความรู้เพิ่มคุณค่า เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมและเผยแพร่ความรู้

1.5 ใช้ทีมและมอบรางวัลให้ (applying teams and awarding them)

การประเมินความสามารถและการให้ผลตอบแทนเป็นทีมจะทำให้สมาชิกช่วยกันพัฒนาความสามารถและแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน

1.6 ความเป็นทางการ (formality)

1.7 การรวมอำนาจมาอยู่ส่วนกลาง (centralization)

1.8 ความซับซ้อน (complexity)

 

2. พฤติกรรมองค์กร (Behavioral) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย

2.1 การแก้ประเด็นและปัญหาอย่างเป็นระบบ (issues and problem solving in a systemic way)

องค์กรต้องยอมรับปัญหาและประเด็นและประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาโดยการตั้งสมมติฐานและการทดสอบ

2.2 การทดสอบและประสบการณ์ (test and experience)

การทดสอบและประสบการณ์เป็นการค้นหาและทดสอบความรู้ใหม่ ก่อให้เกิดความรู้

2.3 เรียนรู้จากอดีต (learning from past)

องค์กรเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต โดยการทบทวนความล้มเหลวและความสำเร็จและค้นหาเหตุผลให้ความรู้อย่างมาก และต้องทำให้ความรู้ที่ได้เข้าถึงได้โดยสมาชิกทุกคนเมื่อต้องการใช้ประโยชน์

2.4 เลียนแบบสิ่งที่ดีที่สุด (imitating the best)

องค์กรฐานความรู้ให้ความรู้จากการเรียนรู้จากบุคคลอื่น

2.5 การถ่ายทอดและกระจายความรู้ (transmitting and distributing knowledge)

องค์กรฐานความรู้ต้องสามารถสร้าง บันทึก และกระจายความรู้อย่างเหมาะสม ความรู้ไม่ควรจำกัดอยู่กับกลุ่มจำเพาะ ควรจะกระจายไปทั่วทั้งองค์กรและสมาชิกทุกคน ความคิดมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อกระจายไปทั่วทุกคน

 

3. วัฒนธรรมองค์กร (cultural) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย

3.1 ค่านิยมอิสลามและศาสนา (Islamic and religious values)

สังคมอิหร่านขึ้นอยู่กับค่านิยมอิสลาม ต้องพิจารณาในนโยบายระบบราชการ

3.2 การมีส่วนร่วม (participation)

การมีส่วนร่วมของสมาชิกในองค์กรจะช่วยส่งเสริมการพัฒนา รักษาไว้ แบ่งปัน และประยุกต์ใช้ความรู้

3.3 ความไว้วางใจ (trust)

ความไว้วางใจเป็นความยินดีที่จะแบ่งปันความรู้

3.4  knowledge fostering leading

3.5 คุณธรรมนิยม (meritocracy)

คุณธรรมนิยมหมายถึงการใช้คนที่ดีที่สุดในตำแหน่งที่เหมาะสมในองค์กร

 

2. จัดอันดับความสำคัญของ 3 ประเด็นหลักและ 18 ประเด็นย่อยโดยใช้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าน้ำหนักความสำคัญ (weight significance) ของแต่ละประเด็น ผลเป็นดังนี้

2.1 ผลการจัดอันดับความสำคัญของ 3 ประเด็นหลัก พบว่า วัฒนธรรมองค์กรมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ โครงสร้างองค์กร และตามด้วยพฤติกรรมองค์กร

2.2 ผลการจัดอันดับความสำคัญของ 18 ประเด็นย่อย เรียงลำดับจากอันดับ 1 ถึงอันดับ 18 ได้ดังนี้ trust ในวัฒนธรรมองค์กร, participation ในวัฒนธรรมองค์กร, information technology ในโครงสร้างองค์กร, meritocracy ในวัฒนธรรมองค์กร, flexibility ในโครงสร้างองค์กร, Islamic and religious values ในวัฒนธรรมองค์กร, fluidity ในโครงสร้างองค์กร, eliminate of boundary ในโครงสร้างองค์กร, team depending and awarding them ในโครงสร้างองค์กร, knowledge fostering leading ในวัฒนธรรมองค์กร, formality ในโครงสร้างองค์กร, issues and problem solving in a systemic way ในพฤติกรรมองค์กร, complexity ในโครงสร้างองค์กร, centralization ในโครงสร้างองค์กร, imitating the best ในพฤติกรรมองค์กร, transmitting and distributing knowledge ในพฤติกรรมองค์กร, test and experience ในพฤติกรรมองค์กร และ learning from past ในพฤติกรรมองค์กร ตามลำดับ

 

ที่มา: Somayeh Hosseinzadeh, Toraj Mojibi, Seyyed Mehdi Alvani and Javad Rezaeian (2019).  Prioritizing and Analyzing Key Factors of Succeeding Knowledge-Based Organizations Using Analytical Hierarchy Process (AHP). Retrieved January 18, 2021, from https://ijol.cikd.ca/article_60471_11124a8e6a5ce213a7207294875d1a7e.pdf

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสถาบันวิจัย

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสถาบันวิจัย มี 5 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่

1. ความสามารถและแรงจูงใจของมนุษย์ (Human competence and motivation) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย

นอกจากคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของเจ้าหน้าที่วิจัยมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของสถาบันวิจัย เจ้าหน้าที่วิจัยยังต้องมีแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่

1.1 ความสามารถส่วนบุคคล (Individual capability)

1.2 Critical mass or collegiality

1.3 ความเป็นผู้นำทางวิชาการ (Academic leadership)

1.4 แรงจูงใจและความมุ่งมั่นส่วนบุคคล (Personal motivation and commitment)

 

2. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์และความสามารถในการปรับตัว (มุมมองด้านอุปทาน) (Clarity of objectives and capacity to adapt (the supply perspective)) ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย

ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ช่วยให้สถาบันวิจัยมีความแตกต่างจากคู่แข่ง และความสามารถในการปรับตัวของสถาบันวิจัยต่อสภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของสถาบันวิจัย

2.1 ความชัดเจนของภารกิจและวัตถุประสงค์ (A clarity of mission and objectives)

2.2 A niche in a specific, differentiated area of knowledge

2.3 ระดับความสอดคล้องร่วมกันของสถาบัน (An institutionally shared level of congruence)

2.4 ข้อสรุปของการวิจัยและการสอนและความต้องการทางสังคมสำหรับความรู้ (An articulation of research and instruction, and a social need for knowledge)

2.5 การวิจัยเชิงทฤษฎีภายในองค์กร (In-house theoretical research)

2.6 ความสามารถใน assimilate และปรับตัว (Capacity to assimilate and adapt)

2.7 การเข้าถึงข้อมูล (Access to information)

 

3. แรงกดดันภายนอก (มุมมองของอุปสงค์) (External pressure (the demand perspective)) ประกอบด้วย 8 ประเด็นย่อย

แรงกดดันภายนอก ได้แก่ peers, ผู้ให้การสนับสนุน (sponsors), ผู้ใช้บริการ (users) และคู่แข่ง (competitors) หน่วยงานให้ทุนมีผลอย่างมากต่อการบริหารจัดการ, หัวข้อการวิจัย และจุดประสงค์ของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รัฐบาลทำให้เกิดการพัฒนาของสถาบันทางวิทยาศาสตร์และวิชาการผ่านทางนโยบายและการให้การสนับสนุนโดยตรง อุตสาหกรรม, การค้า, การบริการทางสังคม และความเห็นสาธารณะเป็นผู้ใช้บริการที่มีศักยภาพทั้งหมดของวิทยาศาสตร์ สถาบันไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ถ้าไม่ติดตามการพัฒนาของภาคส่วนอื่น การแข่งขันระหว่างศูนย์วิจัยช่วยทำให้มีความแตกต่างของการผลิตทางวิทยาศาสตร์, ทำให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง, ทำให้เกิดชุมชนทางวิทยาศาสตร์ที่จำเพาะ และการเพิ่มโอกาสสำหรับนักวิจัย

3.1 การระบุผู้อื่นที่สำคัญ (The identification of significant others)

3.2 กลไกสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง (Mechanisms for ongoing interaction with the environment)

3.3 การปรากฏตัวของการแข่งขัน (The presence of competition)

3.4 การมีส่วนร่วมในชุมชนวิทยาศาสตร์ (Participation in the scientific community)

3.5 ความสามารถในการเจรจากับผู้ให้ (Capacity to negotiate with donors)

3.6 ความยั่งยืนของท้องถิ่น (รัฐบาล, นโยบายเอกชน) (Local sustainability (government, private policy))

3.7 การระบุลูกค้าและความเข้าใจว่าลูกค้าได้รับความรู้อย่างไร (Identification of clients and an understanding of how they acquire knowledge)

3.8 สภาพแวดล้อมที่เป็นประชาธิปไตย (ในสังคมศาสตร์) (A democratic environment (in the social sciences))

 

4. วัฒนธรรมแห่งความรู้ (The culture of knowledge) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย

สถาบันซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกมากกว่าขอบเขตของสถาบันโดยให้เข้าร่วมในงานที่จัดขึ้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในที่ต่างๆ, การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ, การเผยแพร่ผลงาน และติดต่อโดยตรงกับสำนักงานนานาชาติและระดับชาติ จะช่วยรักษาวัฒนธรรมแห่งความรู้และบรรยากาศการเรียนรู้

4.1 บรรยากาศการเรียนรู้ (A climate of learning)

4.2 คุณค่าทางปัญญา (Intellectual values)

4.3 ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (A sense of belonging)

4.4 ความรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่ทำ (A sense of ownership for work done)

4.5 การยอมรับรางวัลล่าช้า (An acceptance of delayed rewards)

 

5. กลยุทธ์การจัดการ (Management strategies) ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย

5.1 ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and adaptability)

5.2 กระตุ้นเศรษฐกิจ (Economic stimulus)

5.3 การลดข้อบังคับที่เข้มงวด (Reduction of red tape)

5.4 กลไกสำหรับการแก้ไขด้วยตนเอง (Mechanisms for self-correction)

5.5 กลยุทธ์ทางการเงินระยะยาว (Long-term financial strategies)

5.6 การกระจายอำนาจการตัดสินใจ (Decentralization of decision-making)

 

ที่มา: Benjamin Alvarez. Factors affecting institutional success. Retrieved January 18, 2021, from http://www.nzdl.org/gsdlmod?e=d-00000-00—off-0hdl–00-0—-0-10-0—0—0direct-10—4——-0-1l–11-en-50—20-about—00-0-1-00-0–4—-0-0-11-10-0utfZz-8-10&cl=CL1.10&d=HASH019c0e86f4dbd3878541a3a5.5.1&gt=1

 

ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของศูนย์วิจัยสุขภาพจากการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณของ 22 ศูนย์วิจัยในหนึ่งมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์ในอิหร่าน

1. การศึกษาเชิงคุณภาพทำให้ได้ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของศูนย์วิจัยโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 10 คนจากศูนย์วิจัย 22 แห่ง และจัดกลุ่มปัจจัยที่ได้เป็น 9 ประเด็นหลัก และ 42 ประเด็นย่อย ดังนี้

ประเด็นหลักที่ 1 คือ การวางแนวกลยุทธ์ (strategic orientation) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ

1. แผนกลยุทธ์ (Strategic plan)

2. แผนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and technology roadmap)

3. การประเมินความต้องการการวิจัย (Research needs assessment)

4. ดัชนีการประเมินผล (Evaluation indexes)

5. นโยบายการวิจัย (ระดับรัฐและระดับมหาวิทยาลัย) (Research policy (the state and university level))

 

ประเด็นหลักที่ 2 คือ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ

1. นักวิจัยที่มีความสามารถ (Capable researchers)

2. นักเรียนและชนชั้นสูงในท้องถิ่น (Local students and elites)

3. อาจารย์และนักศึกษาต่างชาติ (Foreign professors and students)

4. สัดส่วนทรัพยากรบุคคลกับวัตถุประสงค์ (Human resources proportion with the objectives)

5. Committed human resources

 

ประเด็นหลักที่ 3 คือ การสนับสนุน (Support) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ

1. การสนับสนุนทางการเมือง (Political support)

2. การสนับสนุนทางการเงินและงบประมาณ (Financial and budget support)

3. การสนับสนุนทางศีลธรรมของเจ้าหน้าที่ (Officials’ moral support)

4. เงินอุดหนุน (Grants)

5. การกระจายเงินอุดหนุน (Grants distribution)

 

ประเด็นหลักที่ 4 คือ การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย คือ

1. การทำงานเป็นทีม/การทำงานเป็นกลุ่ม (ระหว่างสมาชิก – ระหว่างศูนย์) (Teamwork/group work (among members – among centers))

2. เครือข่าย (Networking)

3. การทำงานร่วมกันและการวิจัยระหว่างประเทศ (International interactive and researches)

4. การวิจัยร่วมกันระดับชาติ (National collaborative researches)

 

ประเด็นหลักที่ 5 คือ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย คือ

1. โครงสร้างพื้นฐานทางความคิด (กฎระเบียบ, ขั้นตอน, ค่านิยม) (Conceptual infrastructure (rules, procedures, values))

2. โครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Information infrastructure)

3. โครงสร้างพื้นฐานพื้นที่ทางกายภาพ (Physical space infrastructure)

4. โครงสร้างพื้นฐานอุปกรณ์ (Equipment infrastructure)

 

ประเด็นหลักที่ 6 คือ การจัดการ (Management) ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย คือ

1. การจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการวิจัย (Management and development of research human capital)

2. ระบบการจ่ายผลตอบแทนและการให้รางวัล (Compensation and rewarding system)

3. การประเมินทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์และบุคคล (Scientific evaluation of centers and individuals)

4. จริยธรรมการวิจัยและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Research ethics and intellectual property rights)

5. การดำเนินการตามกฎหมาย, ระเบียบ และแนวปฏิบัติ (Implementation of laws, regulations and guidelines)

6. การบริหารระบบราชการ (Administrative bureaucracy)

 

ประเด็นหลักที่ 7 คือ กระบวนทัศน์/ความคิด (Paradigm/Ideological) ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ

1. การคิดอย่างเป็นระบบของเจ้าหน้าที่ (Officials’ systematic thinking)

2. จริยธรรมและจิตวิญญาณ (Ethics and spirituality)

3. วิธีการอาศัยคุณค่าในการวิจัยและนักวิจัย (Value based approach to research and researcher)

 

ประเด็นหลักที่ 8 คือ นวัตกรรม (Innovation) ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ

1. นวัตกรรมในการวิจัยและการนำไปใช้ (Innovation in research and implementation)

2. การต่อยอดผลิตภัณฑ์วิจัยในเชิงพาณิชย์ (The commercialization of research products)

3. บรรยากาศการแข่งขัน (ระหว่างสมาชิกและศูนย์) (Competitive climate (among members and centers))

 

ประเด็นหลักที่ 9 คือ โครงการ (projects) ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย คือ

1. คุณภาพของโครงการ (Quality of projects)

2. ปริมาณของโครงการ (The quantity of projects)

3. เขตวิจัยพิเศษ (Special research areas)

4. การเผยแพร่ผล (Publication of results)

5. ระยะเวลาในการอนุมัติโครงการ (Time for project approval)

6. การวิจัยตามลำดับหรือแบบอนุกรม (Sequential or serial researches)

7. ความหลากหลายของหัวข้องานวิจัยใหม่ (Diversity of new research titles)

 

2. การศึกษาเชิงปริมาณเพื่อจัดอันดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่ได้จาการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของสมาชิก 54 คนจาก 22 ศูนย์วิจัย และการจัดอันดับความสำคัญของปัจจัยได้จากการใช้การทดสอบ Friedman ผลเป็นดังนี้

2.1 การจัดอันดับความสำคัญของประเด็นหลักที่มีผลต่อการประสบผลสำเร็จของศูนย์วิจัย ได้ผลดังนี้ซึ่งเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ Strategic orientation, Management, Human capital, Support/Advocacy, Projects, Infrastructures, Communication and collaboration, Paradigm/Ideological และ Innovation ตามลำดับ

2.2 การจัดอันดับความสำคัญของประเด็นย่อยในแต่ละประเด็นหลัก ได้ผลคือประเด็นย่อยที่มีความสำคัญมากที่สุดในแต่ละประเด็นหลักคือ Science and technology roadmap ใน Strategic orientation, Scientific evaluation of centers and members ใน Management, Committed human resources ใน Human capital, Financial and budget support ใน Support/Advocacy, Quality of projects ใน Projects, Equipment infrastructure ใน Infrastructures, Teamwork ใน Communication and collaboration, Value based approach to research and researcher ใน Paradigm, Innovation in research and implementation ใน Innovation

2.3 การจัดอันดับความสำคัญของประเด็นย่อยทั้งหมด 42 ประเด็น พบ 10 อันดับแรกประเด็นย่อยที่มีความสำคัญมากต่อการประสบความสำเร็จของศูนย์วิจัย โดยเรียงตามลำดับจากอันดับ 1 ถึงอันดับ 10 ได้แก่ Science and technology roadmap ใน Strategic orientation, Strategic plan ใน Strategic orientation, Evaluation indexes ใน Strategic orientation, Committed human resources ใน Human capital, Scientific evaluation of centers and members ใน Management, Innovation in research and implementation ใน Innovation, Financial and budget support ใน Support, Capable researchers ใน Human capital, Equipment infrastructure ใน Infrastructures และ Teamwork ใน Communication and Collaboration ตามลำดับ

 

ที่มา: Shahram Tofighi, Ehsan Teymourzadeh and Majid Heydari (August 25, 2017). Key success factors of health research centers: A mixed method study. Retrieved January 14, 2021, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5614283/

ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของสถาบันวิจัยในการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์และการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ศึกษาจากการสำรวจลูกค้าในเยอรมันและออสเตรเลีย

จากการสำรวจลูกค้าของสถาบันวิจัยในเยอรมันและออสเตรเลีย พบว่า

เพื่อหาปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของสถาบันวิจัยในมุมมองของลูกค้า หาได้จากการให้ความสำคัญของแต่ละความต้องการของลูกค้าโดยลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าที่มีความสำคัญมากจะมีความสำคัญต่อการดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จของสถาบันวิจัย พบว่า มีความคล้ายกันของปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของในเยอรมันและออสเตรเลีย โดยปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในเยอรมัน ได้แก่ ผลลัพธ์ (Outcome), ความสามารถ (Competence), อัตราส่วนต้นทุนต่อการปฏิบัติที่ดี (Good cost/performance ratio), การนำเสนอผลลัพธ์ที่เข้าใจง่าย (Intelligible presentation of results), การตอบสนองหรือความเข้าใจ (Responsiveness/understanding), การเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว (Fast, easy accessibility), มุ่งไปที่การแก้ปัญหา (Focus on resolving problems), มุ่งไปที่ความสนใจของบริษัท (Focus on company interests), มุ่งไปที่ผลประโยชน์ของบริษัท (Focus on company benefits), รักษาสัญญา (Keep Promises), การปฏิบัติตามกำหนดเวลา (Adherence to deadlines), การยึดมั่นในงบประมาณ (Adherence to budget) และปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในออสเตรเลีย ได้แก่ Competence, Outcome, Good cost/performance ratio, Intelligible presentation of results, การสื่อสารส่วนตัว (Personal communication), Responsiveness/understanding, การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer), Focus on resolving problems, Focus on company benefits, Keep Promises, Adherence to budget, Adherence to deadlines

 

ที่มา: Thomas Baaken and Carolin Plewa (January 2007). Key Success Factors for Research Institutions in Research Commercialization and Industry Linkages: Outcomes of a German/Australian cooperative project. Retrieved January 9, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/242627300_Key_Success_Factors_for_Research_Institutions
_in_Research_Commercialization_and_Industry_Linkages_Outcomes_of_a_GermanAustralian_cooperative_project

เมล็ดพันธุ์ที่งดงาม: จุฬารัตน์ อยู่เย็น (โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่)

โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่  เป็นความร่วมมือของ สวทช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่มุ่งเน้นบ่มเพาะคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์” ที่จะสร้างเครือข่ายการผลิตเมล็ดพันธุ์สู่ชุมชน

ความฝัน ความหวัง ความยั่งยืน: ศรวรพิม เมืองอนันต์กิจ (โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่)

โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ เป็นความร่วมมือของ สวทช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่มุ่งเน้นบ่มเพาะคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์” ที่จะสร้างเครือข่ายการผลิตเมล็ดพันธุ์สู่ชุมชน

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2564

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2564

การดำเนินงานด้านอวกาศของสหภาพยุโรป

ปัจจุบันชีวิตประจำวันของประชาชนล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบนำทางอัตโนมัติในรถยนต์ และการดูโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม เป็นต้น มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศและความเสี่ยงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ไฟป่า และอุทกภัย ส่งผลให้ภาครัฐสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ดังกล่าวได้

 

โครงการชั้นนำระดับโลกด้านอวกาศของสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปมีโครงการชั้นนำระดับโลกด้านอวกาศซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางอยู่ 3 โครงการคือ

1.โครงการสำรวจโลก Copernicus

2.โครงการระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียม Galileo

3.โครงการระบบนำทางด้วยดาวเทียมส่วนภูมิภาค EGNOS

 

โครงการการเฝ้าระวังกิจกรรมทางอวกาศ (Space Situational Awareness, SSA)

นอกจาก 3 โครงการดังกล่าว สหภาพยุโรปยังมี โครงการเฝ้าระวังกิจกรรมทางอวกาศ (Space Situational Awareness, SSA) ซึ่งมีระบบ Space Surveillance and Tracking (SST) ในการตรวจจับวัตถุในอวกาศรวมถึงเศษชิ้นส่วนดาวเทียมในอวกาศ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมและการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรนั้น อาจจะมีชิ้นส่วนจรวดที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ร่วงหล่นลงมา
ทำให้พลเมืองในประเทศต่างๆ อาจได้รับอันตราย ด้วยเหตุนี้จึงต้องระมัดระวังและมีการเฝ้าระวังภัยจากวัตถุอวกาศเหล่านี้เป็นพิเศษ ทางสหภาพยุโรปจึงได้มีการพัฒนาระบบ Space Surveillance and Tracking (SST) เพื่อใช้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์กิจกรรมอวกาศอย่างใกล้ชิด และเตือนภัยล่วงหน้า

โครงการสำรวจโลก Copernicus

โครงการสำรวจโลก Copernicus เป็นโครงการสังเกตการณ์และตรวจสภาพแวดล้อมโลกด้วยชุดดาวเทียมสำรวจธรณีวิทยาที่ให้ภาพความละเอียดสูง ดาวเทียมที่ใช้เป็นดาวเทียมสำรวจโลก (earth observation satellites) ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อการสำรวจ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นโลก ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การทำแผนที่ และผลกระทบจากภัยพิบัติ

โครงการ Copernicus มุ่งพัฒนาการให้บริการข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ นำข้อมูลจำนวนมากทั้งจากดาวเทียม ข้อมูลภาคพื้นดิน ข้อมูลจากการบินสำรวจ รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดทางทะเลมาจัดทำเป็น
แอพพลิเคชั่น เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยให้บริการ 6 สาขา ได้แก่  การติดตามสภาพบรรยากาศ การติดตามสภาพแวดล้อมทางทะเล การติดตามการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการให้บริการด้านความมั่นคง โดยให้บริการฟรีไม่คิดค่าใช้จ่าย

 

ดาวเทียม Sentinel

ดาวเทียม Sentinel ดาวเทียมหลักที่โครงการ Copernicus ใช้ในการสำรวจโลก คือ ดาวเทียม Sentinel ประกอบด้วย Sentinel-1-2-3-4-5 และ -6 ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก ทั้งบนผืนดิน ในมหาสมุทร และในชั้นบรรยากาศ เช่น การบันทึกภาพพื้นผิวส่วนบนบกของโลกและพื้นที่ชายฝั่งทั้งหมด ภาพแสงความละเอียดสูงของป่าไม้และการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงในแหล่งน้ำต่างๆ บนโลก และการตรวจสอบองค์ประกอบบรรยากาศของโลก

ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากดาวเทียม Sentinel จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเมินการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ เพื่อนำมาใช้วิจัยการพยากรณ์สภาพอากาศเชิงตัวเลข ประเมินการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟป่า นำไปสู่การแก้ปัญหาและการพัฒนา เช่น แก้ปัญหาการทำลายป่า การพัฒนาการเกษตร และการวิจัยเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารและความยั่งยืนของประชากรสิ่งมีชีวิต

โครงการระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียม Galileo

โครงการระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียม Galileo เป็นระบบดาวเทียมนำทางและบอกตำแหน่งหรือเรียกว่า ดาวเทียม
นำร่อง (Navigation satellites) ซึ่งใช้คลื่นวิทยุและรหัสจากดาวเทียมไปยังเครื่องรับสัญญาณบนพื้นผิวโลก สามารถหาตำแหน่งบนพื้นโลกที่ถูกต้องได้ทุกแห่ง และตลอดเวลา โดยดาวเทียมประเภทนี้โคจรเป็นกลุ่มหลายดวงเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณได้ในลักษณะ Real Time

 

ที่มาของการพัฒนาโครงการ Galileo

ก่อนที่สหภาพยุโรปจะมีการพัฒนาโครงการระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียม Galileo สหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาระบบ GPS และประเทศรัสเซียมีการพัฒนาระบบ GLONASS ขึ้นมาเพื่อใช้ในการนำทางและระบุตำแหน่ง อยู่ภายใต้การควบคุมของทางการทหารทั้งสิ้น และอาจถูกแทรกแซงจากหน่วยทหารของทั้งสองประเทศได้ทุกเวลา นอกจากนี้บางกรณีระบบดาวเทียมทั้งสองอาจถูกจำกัดการใช้งานไว้สำหรับการรักษาความมั่นคงของทั้งสองประเทศ ซึ่งส่งผลให้พลเรื่อนทั่วไปใช้ประโยชน์จากระบบ
ดาวเทียมได้อย่างจำกัด เหตุนี้ทางสหภาพยุโรปจึงมีความต้องการที่จะพัฒนาระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียมที่เป็นของสหภาพยุโรปเอง โดยมีความอิสระในการใช้งานปราศจากการควบคุมทางทหาร และเป็นระบบดาวเทียมของพลเรือนอย่างแท้จริง แต่ยังสามารถปฏิบัติการร่วมกับระบบ GPS และ ระบบ GLONASS ได้ ซึ่งจะทำให้โครงการ Galileo เป็นระบบหลักในการนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียมของโลกได้ ถึงแม้โครงการ Galileo ก่อตั้งโดยคณะกรรมาธิการยุโรปและองค์การอวกาศยุโรป แต่มีประเทศอื่นเข้าร่วมด้วย เช่น ประเทศอินเดีย อิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และเกาหลีใต้ ทำให้โครงการระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียมกลายเป็นระบบนำร่องนานาชาติ

ดาวเทียมในโครงการระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียม Galileo

โครงการระบบนำทางและบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียม Galileo ประกอบไปด้วยดาวเทียม 30 ดวง แบ่งเป็นดาวเทียมนำทาง 24 ดวง และดาวเทียมสำรอง 6 ดวง เพื่อใช้ในกรณีดาวเทียมดวงอื่นเกิดขัดข้องหรืออยู่ระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซม จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด โดยดาวเทียวนำทางดวงแรกถูกส่งขึ้นวงโคจรเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2011

การประยุกต์ระบบดาวเทียมของโครงการ Galileo ไปใช้ประโยชน์

ปัจจุบันระบบดาวเทียม Galileo นำไปใช้ในด้านการนำทางของการเดินเรือ การเดินทางบก และการเดินทางทางอากาศ รวมถึงงานด้านการสำรวจด้วย และเทคโนโลยีหลายๆ ชนิดก็ใช้ประโยชน์จากระบบนำทางและระบุตำแหน่งของระบบดาวเทียม Galileo โดยระบบระบุตำแหน่งแม่นยำสามารถดัดแปลงไปใช้ในการป้องกันดูแลเรื่องความปลอดภัยของการใช้โทรศัพท์หรือป้องกันข้อมูลส่วนตัวได้ โดยบริษัทด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมได้พัฒนาเทคโนโลยีไมโครชิพที่สามารถใช้ร่วมกับระบบนำทางของระบบดาวเทียม Galileo เพื่อนำไปใช้ในโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องนำทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

นอกจากนี้ยังใช้เพื่อค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยดาวเทียมจะติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณตอบรับ ซึ่งแปลงสัญญาณขอความช่วยเหลือส่งมาสจากผู้ประสบภัยแล้วส่งต่อไปยังศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Rescue Coordination Center) เพื่อที่
จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป และขณะเดียวกันดาวเทียมจะส่งสัญญาณให้กับผู้ประสบภัยทราบว่าทางศูนย์ประสานงาน
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือแล้ว

โครงการระบบนำทางด้วยดาวเทียมส่วนภูมิภาค EGNOS

ระบบนำทางด้วยดาวเทียมส่วนภูมิภาค EGNOS เป็นระบบดาวเทียมนำทางที่ใช้เฉพาะในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น

การประยุกต์ระบบดาวเทียมของโครงการ EGNOS ไปใช้ประโยชน์

ปัจจุบันดาวเทียมโคงการ EGNOS นำไปใช้ประโยชน์ ในด้านการบิน โดยสนามบิน จำนวน 247 แห่งใน 23 ประเทศในสหภาพยุโรป ในการนำเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นในสถานการณ์ที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ช่วยลดอัตราความล่าช้าในการบินและลดจำนวนของการเปลี่ยนเส้นทางการบิน

สำหรับการเดินทางบนท้องถนน รถยนต์ที่นำมาขายในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 จะต้องสามารถใช้งานร่วมกับระบบนำทางของระบบดาวเทียม Galileo และ โครงการ EGNOS ได้เพื่อรองรับระบบตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (eCall emergency response system)
ได้ และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นไประบบนำทางได้ถูกนำไปใช้ในระบบวัดความเร็วแบบดิจิทัลของรถบรรทุก เพื่อช่วยควบคุมการปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยเรื่องระยะเวลาในการขับ และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ท้องถนน

ระบบดาวเทียมของ EGNOS ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมอีกด้วย ร้อยละ 80 ของเกษตรกรในยุโรปได้ใช้ข้อมูลจากระบบนำร่องของดาวเทียม EGNOS ในการทำการเกษตรแบบแม่นยำ

เทคโนโลยีการปลูกพืชในโรงเรือนของประเทศเนเธอร์แลนด์

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีชื่อเสียงด้านการเกษตรเป็นอันดับต้นของโลก มีมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตรสูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เป็นมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านบาท สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ดอก พริกหยวก มะเขือเทศ มันฝรั่ง นมและไข่ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีพื้นที่ 21 ล้านไร่ ระดับต่ำกว่าน้ำทะเลสภาพอากาศอยู่ในเขตหนาว ไม่เหมาะกับการทำการเกษตร สิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถผลิตอาหารได้คือการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการเพาะปลูก เริ่มต้นตั้งแต่การปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์พืชที่ดี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น การปลูกพืชในโรงเรือนและควบคุมด้วยระบบที่มีความแม่นยำสูง ตลอดจนถึงเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของผลผลิต เกิดจากงานวิจัยและการพัฒนาจากการสนับสนุนของรัฐบาล อีกทั้งยังมีการจัดตั้ง Wageningen University and Research ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เกษตรเป็นอันดับต้นของโลก ทำหน้าที่ผลิตกำลังคนและสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ภาคการเกษตรโดยเฉพาะ เนเธอร์แลนด์จึงสามารถทำผลิตพืชผลทางการเกษตรได้มากขึ้นในทุกๆ ปี แต่ใช้ทรัพยากรน้อยลงในพื้นที่จำกัด

การปลูกพืชในโรงเรือนในประเทศเนเธอร์แลนด์

การใช้โรงเรือนในการปลูกพืชช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำการเกษตรได้อย่างดี โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น โรงเรือนกระจกในประเทศเขตหนาวสามารถกักเก็บความร้อนภายในได้ ทำให้ปลูกพืชในอุณหภูมิต่ำได้ ช่วยป้องกันโรคและแมลง ควบคุมระบบให้น้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำของพืช

ภายในโรงเรือนประกอบด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาจากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อควบคุมปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น โครงสร้างของโรงเรือนต้องมีความแข็งแรง รองรับการใช้งานหลายสิบปี ทนต่อลมพายุ หลังคาผลิตจากวัสดุที่แสงอาทิตย์ส่องผ่านทั่วทั้งโรงเรือน และมีการติดตั้งระบบให้แสงสว่างเพิ่มเติมจากหลอดไฟเพื่อทดแทนความยาวนานของช่วงวันในฤดูหนาว มีระบบหมุนเวียนอากาศ ควบคุมอุณหภูมิโดยมีระบบตรวจวัดตามจุดต่างๆ ของโรงเรือน

ภายในโรงเรือนมีระบบการให้น้ำที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด เช่น ระบบ springer หรือ ระบบน้ำหยด ที่จะให้น้ำในเวลาและปริมาณที่เหมาะสม ระบบโรงเรือนต้องใช้พลังงานสูงในการทำงาน ปัจจุบันมีการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้นเพื่อทดแทนพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าจากลม แสงอาทิตย์และความร้อนจากพื้นพิภพ

การนำเทคโนโลยีโรงเรือนมาใช้ในประเทศไทย

ประเทศไทยทำเกษตรกรรมมาอย่างยาวนาน สร้างรายได้คิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การปลูกพืชส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชในพื้นที่เปิด ดังนั้นการเพาะปลูกและผลผลิตที่ได้จึงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและฤดูกาล การนำเทคโนโลยีโรงเรือนมาใช้เป็นที่สนใจ แต่จำเป็นจะต้องปรับรูปแบบให้เหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย เช่น การเลือกใช้วัสดุหลังคา ได้แก่ พลาสติกชนิดพิเศษที่แสงส่องผ่านได้แต่ไม่สะสมความร้อน การใช้มุ้งในกส่วนผนังทำให้อากาศถ่ายเทสะดวก การใช้ตาข่ายพรางแสง การติดตั้งระบบระบายความร้อน เช่น ระบบพ่นหมอก (evaporative air cooling system, EVAP) การปลูกพืชในโรงเรือนช่วยลดการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ จะสามารถช่วยลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชลงได้

เนื่องจากการสร้างโรงเรือนมีต้นทุนสูง ปัจจุบันมีการใช้โรงเรือนปลูกพืชในประเทศไทย เช่น ต้นกล้าผัก เมล่อน มะเขือเทศ และกล้วยไม้ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกได้เพียงระดับหนึ่ง แต่หากต้องการควบคุมสภาพอากาศอย่างแม่นยำสูงสุดสามารถทำได้ในระบบโรงงานการปลูกพืชอัจฉริยะ หรือ Plant factory ซึ่งเป็นสภาพปิดทั้งหมด สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างอิสระ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำ และแสงสว่างจากหลอดไฟ การปลูกพืชในระบบ Plant factory จะให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงและสม่ำเสมอ มีต้นทุนการผลิตสูงมาก จึงเหมาะกับการทำงานวิจัยหรือการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง เช่น พืชสมุนไพร ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าทุกครั้งที่ปลูกจะได้ผลผลิตที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางยาที่สำคัญในพืชเท่ากันทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการรักษาโรค ทั้งยังมีความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้ป่วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/20210318-newsletter-brussels-no02-feb64.pdf

 

 

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2564

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2564

การประชุมขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยเรื่องการจัดการการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และขอบเขตการวิจัยสำหรับการศึกษาวัคซีนต้านโรคโควิด-19

คำกล่าวของผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก

ดร. Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ได้กล่าวถึงสถิติการระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ณ วันที่ 12 มกราคม 2564 มีผู้ติดเชื้อประมาณ 90 ล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 2 ล้านคน และกล่าวว่าวิทยาศาสตร์และการวิจัยมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาตั้งแต่วันแรกที่มีการระบาดของโรคโควิด-19

แผนกลยุทธ์การจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

บทบาทของภาคประชาชน : ประชาชนต้องป้องกันตนเองและสังคม โดยหมั่นล้างมือเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า รักษาระยะห่างทางสังคม กักกันตนเองเมื่อมีอาการป่วย จำกัดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และแจ้งต่อหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเมื่อตนเองมีการสัมผัสหรือติดต่อกับผู้ติดเชื้อ

บทบาทของภาคชุมชน : เตรียมพร้อมอยู่เสมอในการให้บริการและความช่วยเหลือ พร้อมรับการปรับเปลี่ยนตามบริบทท้องถิ่น ทั้งยังรับหน้าที่ในการให้ข้อมูลและความรู้แก่สมาชิกในชุมชน ป้องกันกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ อำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรสาธารณสุข และให้ความช่วยเหลือในการติดตามและค้นหาผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 และผู้มีประวัติการติดต่อกับผู้ติดเชื้อ

บทบาทของภาครัฐ : ทำหน้าที่เป็นผู้นำและประสานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารข้อมูล การให้การศึกษา การสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างขีดความสามารถ และการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน และชุมชนในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ภาครัฐยังมีหน้าที่รวบรวมกำลังและทรัพยากรจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงาน ภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมขยายขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขของประเทศ

บทบาทของภาคเอกชน : ต้องช่วยรักษาความต่อเนื่องของการบริการที่สำคัญให้แก่สังคม เช่น ห่วงโซ่การผลิตอาหาร สาธารณสุข และการผลิตเวชภัณฑ์ต่างๆ

 

ขอบเขตการวิจัยในอนาคตสำหรับการศึกษาวัคซีนต้านโรคโควิด-19

ภายหลังการประชุม นักวิจัยยังนำเสนอหัวข้อวิจัยใหม่ๆ ในอนาคต ที่จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่ถูกพัฒนาและแจกจ่ายไปยังหลายๆ ประเทศ ซึ่งหัวข้อวิจัยสรุปได้ดังนี้

-การวิจัยและพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา 2019 ชนิดใหม่ ที่ให้ประสิทธิภาพเพียงพอในการต้านไวรัสโคโรนา 2019 หลังฉีดเพียงแค่ 1 โดส สามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิห้องได้ ผลิตในปริมาณมากได้ในเวลาไม่นาน และไม่จำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยาในการจ่ายวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อลดปัญหาและความยุ่งยากในการเก็บรักษา การขนส่ง และการจัดหาอุปกรณ์ในการฉีดวัคซีน ที่ปัจจุบันหลายๆ ประเทศกำลังประสบปัญหาอยู่

-ประสิทธิภาพของวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา 2019 ในการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

-ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นในกลุ่มต่างๆ ของประชาชน

-ศึกษาสัดส่วนของประชากรที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน เพื่อให้ท้ายสุดมีการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มของประชากรได้

-หลังจากมีการวิจัยประสิทธิภาพของวัคซีนที่เริ่มมีการฉีดให้ประชาชนแล้ว ควรมีการศึกษาของประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เฉพาะเจาะจงด้วย อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มที่มีอาการรุนแรงจากการเชื้อโรคโควิด-19 กลุ่มเด็ก กลุ่มหญิงท้องหรืออยู่ในช่วงการให้นมบุตร กลุ่มมีโรคประจำตัว กลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV กลุ่มกำลังรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น

-ศึกษาระยะเวลาการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นจากการกระตุ้นการทำงานของวัคซีนว่าสามารถต้านเชื้อได้นานเท่าไหร่ และจำเป็นต้องฉีดวัคซีนซ้ำอีกทีเมื่อไหร่ รวมไปถึงศึกษาหาระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเว้นระยะการฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่สองและผลจากการยืดระยะเวลาการฉีดวัคซีนโดสที่สอง

-ศึกษาผลจากการใช้วัคซีนคนละชนิดจากต่างบริษัทร่วมกัน เช่น การฉีดวัคซีนโดสแรกจากวัคซีนของบริษัท A แต่ฉีดวัคซีนโดสที่สองจากบริษัท B ว่าสามารถให้ประสิทธิภาพในการต้านไวรัสโคโรนา 2019 ได้ดีหรือไม่ เพื่อศึกษาเป็นแนวทางการฉีดวัคซีนในอนาคตในกรณีที่วัคซีนจากบางบริษัทยังมีไม่เพียงพอสำหรับการฉีด 2 โดส

-ศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

-ศึกษาหาค่าไตเตอร์ของวัคซีนแต่ละชนิดต่อไวรัส สายพันธุ์ย่อยต่างๆ ซึ่งค่าไตเตอร์ คือ ปริมาณของ Serum Dilution ในลำดับสูงสุดที่สามารถยับยั้งไวรัสได้ เช่น ถ้าทำ Serum Dilution ที่ 1:8 แล้วยังคงยับยั้งไวรัสได้อยู่จึงทดลองที่ 1:16 ต่อไป ถ้าปรากฏว่าไม่สามารถยังยั้งไวรัสได้ ถือว่าซีรั่มนั้นมีค่าไตเตอร์เท่ากับ 8

-ศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในการลดจำนวนการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบไม่แสดงอาการ ซึ่งข้อมูลสามารถนำมาใช้ประเมินศักยภาพของวัคซีนในการลดการแพร่กระจายได้

ข้อสรุปอื่นๆ จากการประชุม

ผลการประชุมครอบคลุม 6 สาขา ประกอบด้วย

1.ระบาดวิทยาและการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

2.วิวัฒนาการทางชีววิทยา

3.การออกแบบจำลองสัตว์

4.การตรวจวิเคราะห์และการวินิจฉัย

5.การบริหารจัดการทางคลินิก

6.การบำบัดรักษาและการพัฒนาวัคซีน

การประชุมหารือความร่วมมือการวิจัยด้านการส่งเสริมขีดความสามารถของสังคมในการจัดการและรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ดร.มาณพ สิทธิเดช อัครราชทูตที่ปรึกษา สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงาน The International Emergency Management Society (TIEMS) เป็นเวทีนำเสนอทางวิชาการ การหารือเชิงนโยบาย และการฝึกอบรมสำหรับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติ โอกาสนี้ได้สร้างความร่วมมือโครงการวิจัยหัวข้อ disaster-resilient societies เป็นโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรป

โอกาสการสร้างความร่วมมือภายใต้หัวข้อ disaster-resilient societies

โครงการ “DRS02-5.2021 (CSA) – Developing a European partnership to coordinate R&I efforts on land management and climate-related disasters” สนับสนุนทุนวิจัยสำหรับโครงการที่สามารถรวบรวมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการจัดการที่ดิน การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และการจัดการความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติในชุม

ผู้แทนจากคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการวิจัยและนวัตกรรมเล็งเห็นว่าโครงการดังกล่าวน่าสนใจและเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงาน TIEMS และประเทศไทยสามารถจัดหาสมาชิกเพื่อจัดตั้งเป็นคณะทำงาน (consortium) และร่วมกันจัดทำโครงร่างข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนวิจัย โครงการ Horizon Europe ได้ โดยเบื้องต้นทางสำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ เล็งเห็นว่ามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการดังกล่าวนี้ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)

การเปลี่ยนแปลงของโครงการ Marie Sklodowska-Curie actions (MSCA) ภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับใหม่ของยุโรป

โครงการ Marie Sklodowska-Curie actions (MSCA) เป็นโครงการของสหภาพยุโรปที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางการวิจัยวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ตามกรอบแผนงานฉบับที่ 7 ของสหภาพยุโรป (FP7) ต่อเนื่องมาถึงโครงการ Horizon 2020 และยังมีอยู่ภายใต้แผนงานโครงการความร่วมมือต้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับใหม่ของยุโรป ซึ่งเป็นแผนงานโครงการฉบับที่ 9 มีชื่อว่า Horizon Europe

บทนำ

โครงการ MSCA เปิดรับสมัครนักวิจัยทั่วโลกให้ทำวิจัยร่วมในหน่วยงานต่างประเทศ โดยคัดเลือกให้ทุนแก่นักวิจัยที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยม แสดงศักยภาพการพัฒนาอย่างเด่นชัด และมีโครงการวิจัยที่ดี เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางอาชีพและการฝึกอบรมแก่นักวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์ทุกสาขาผ่านการแลกเปลี่ยนนักวิจัยระหว่างประเทศในระดับนานาชาติและระหว่างสาขาต่างๆ กัน

การเปลี่ยนแปลงสำคัญ

โครงการ MSCA มุ่งส่งเสริม 5 ภารกิจหลักคือ การแลกเปลี่ยนนักวิจัย การอบรมนักวิจัย การเสริมสร้างทุนมนุษย์ในเขตวิจัยยุโรป (ERA)

โครงการ MSCA ได้แบ่งออกเป็น 4 โครงการย่อย ได้แก่

  • Research and Innovation Staff Exchange (RISE)
  • Individual
  • COFUND
  • Innovative Training Networks (ITN)

แต่ภายใต้โครงการ Horizon Europe โครงการย่อยของโครงการ MSCA มีการเปลี่ยนแปลง ชื่อโครงการ รายละเอียด เงื่อนไขการ
สมัคร สรุปได้ดังนี้

  • MSCA Doctoral Networks
  • MSCA Postdoctoral Fellowships
  • MSCA Staff Exchanges
  • MSCA COFUND

โอกาสของนักวิจัยไทย

โครงการ MSCA เป็นโครงการที่นักวิจัยไทยประสบความสำเร็จในการรับสมัครขอทุนวิจัยมากกว่าโครงการอื่นๆ ของสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่เป็นการได้รับทุนจากโปรแกรม Research and Innovation Staff Exchange (RISE) ซึ่งพบว่ามีหน่วยงานของประเทศไทยที่แตกต่างกันถึง 17 หน่วยงาน ได้เข้าร่วมโครงการต่างๆ จำนวน 25 โครงการที่ได้รับทุนจากโครงการ RISE

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/20210318-newsletter-brussels-no01-jan64.pdf

 

 

 

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน ตุลาคม 2563

 

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน ตุลาคม 2563

 

มารู้จักกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

แนวคิดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานขับเคลื่อนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วิสัยทัศน์
“อว. คือ หน่วยงานที่จะนำความรู้และพลังปัญญาไปช่วยประชาชน”
เป้าหมายหลักของกระทรวง อว.
“อว. เป็นศูนย์กลางในการสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างกลไก เพื่อนำระบบการบริหารความรู้ ทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สู่การพัฒนาประเทศ เพื่อประชาชนอย่างยั่งยืน”
1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสร้างนโยบาย โดยเอาประชาชนและผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการเป็นที่ตั้ง
2. เป็นมันสมองของชาติในการประเมินความต้องการในอนาคตด้านทรัพยากรบุคคลของไทย โดยอาศัยความรู้ และข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่พัฒนาประชาชนและสังคม
3. สร้างพันธมิตรความร่วมมือ (Collaboration Partners) โดยทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ให้เกิดตัวเร่งของการเปลี่ยนแปลง “Catalyst for Change” ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. เป็นประตูเชื่อมไทยและสากล เพื่อให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้ ทรัพยากรบุคคล และตลาดในระดับสากล (Co-Create and Borderless Mindset)
5. เปิดให้ประชาชนเข้าถึงองค์ความรู้ เพื่อสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน
6. เข้าร่วมรับผิดชอบการสร้างและพัฒนาชุมชนโดยใช้ฐาน ววน. ที่ อว. สร้างและพัฒนาไว้

การเปลี่ยนแปลงของโลกและนัยสำคัญเชิงนโยบาย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Force of Change)
1. ความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาคทางสังคม
Disparity and Social Inequality
2. ความหลากหลายของขั้นชีวิตและสังคมสูงวัย
Mutual stage Life and Aging Society
3. นวัตกรรมพลิกโฉม
Disruptive Innovation
4. การเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลก
Global Economic Power Shift
5. การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากร
Environmental Degradation and Scarcity of Resource
6. โควิด -19 และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่
COVID-19 and Emerging Infectious Diseases

ระเบียบวาระทั้ง 6 ด้าน ในการพัฒนาภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์ อว.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดทำวาระสำคัญของการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนา มีทั้งหมด 6 ด้าน ประกอบด้วย
1. เปลี่ยนความยากจนสู่ความมั่งมีอย่างทั่วถึง
2. ขับเคลื่อน Bio, Circular and Green Economy (BCG) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
3. ยกระดับอุตสาหกรรม และวางรากฐานเพื่ออนาคต ด้วย อววน.
4. สร้างเสริมความมั่นคงของมนุษย์และพลังทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่สมดุล
5. พลิกโฉมการอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ประเทศ
6. ปฏิรูประบบ อววน. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม

ทิศทาง 4 เสา
1. สร้างบุคลากร และพัฒนาองค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม
2. เผยแพร่องค์ความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่ประชาชนเพื่อวางรากฐานและยกระดับระบบนิเวศ งานวิจัย
3. นำองค์ความรู้ ผลงานวิจัย และนวัตกรรม ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
4. บูรณาการทุกภาคส่วน สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนา

อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park)
อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา บ่มเพาะผู้ประกอบการและเทคโนโลยีใหม่ๆ สู่ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น ต้องแข็งแกร่งเพื่อเป็นศูนย์กลาง (Hub) ให้แต่ละภูมิภาคเสมือนหนึ่งเป็นแขนขาให้กระทรวง ยังรวมถึงศูนย์การพัฒนาเฉพาะด้าน เช่น Food Innopolis, Medicopolis, Creative District, Creative Economy Agency

แนวทางที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์
แนวคิดการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ แบ่งเป็น 2 แนวทาง ได้แก่
1. แนวทางแก้ปัญหาเร่งด่วนภายใน 1 ปี (Quick Wins)
2. แนวทางการวางรากฐานที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะ 2-4 ปี (Foundation)

อ่านเพิ่มเติมที่ได้ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-oct2020.pdf

 

 

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กันยายน 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กันยายน 2563

จากใจ สู่พวกเราชาว อว.

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวง วท. และ อว.
วงการวิทยาศาตร์เทคโนโลยี ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล มีการลงนาม MOU กับประเทศใหญ่ๆ ได้สำเร็จ
เดือน พฤษภาคม 2562 ได้มีการควบรวมงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กับงานด้านวิจัย และอุดมศึกษา ทำให้นักวิชาการได้มีโอกาสใช้ระบบกองทุนวิจัย เพื่อสรรสร้างงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คู่ไปกับงานการศึกษา ปี 2563 การรับตำแหน่งของ รมว.อว. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เกิดจากการรวมหน่วยงาน 3 หน่วยงาน คือ
1) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
2) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ และ
3) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
โดยราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎหมาย 9 ฉบับในการจัดตั้งกระทรวง อว. โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนแรก และมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม เป็นปลัดกระทรวง อว. เป็นคนแรก

นโยบายการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

นโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการปฏิรูปกระทรวงใหม่ที่จะเป็นตันแบบของการปฏิรูปใน 3 เรื่อง ได้แก่
1. การปฏิรูปการบริหาร (Administrative Reform) ให้มีความเป็นระบบราชการน้อยที่สุด มีความคล่องตัว และมีการไหลเวียนของบุคลากรโดยเฉพาะที่มีสมรรถนะสูง (Talent Circulation and Mobility) ระหว่าง มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย
2. การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory reform) ให้มีการนำเรื่อง Regulatory Sandbox มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม
3. การปฏิรูปงบประมาณ (Budgeting Reform) ให้มีการจัดสรรงบประมาณในลักษณะ Block Gantt และ Multi-year Budgeting โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะต้องร่วมกันขับเคลื่อให้กระทรวงเป็น “กระทรวงแห่งปัญญา กระทรวงแห่งโอกาส และกระทรวงแห่งอนาคต”

การเสริมสร้างและพัฒนาการทำงานแบบ Agile Team

การประยุกต์ใช้ Agile Team (กพร.)
– Agile Team ควรแยกต่างหากจากโครงสร้างปกติ ของ สป.อว. ทำงานมุ่งอนาคตที่ต้อง Scenario ต้องการความสำเร็จเร่งด่วนในลักษณะ agenda base/solution base

-องค์ประกอบของ Agile Team เป็นการรวมกลุ่มคนจากกองต่างๆ เข้าด้วยกัน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก ใช้ระบบแลกเปลี่ยนพนักงานระหว่างองค์กร (Secondment) หรือใช้การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการแบบ Lateral Entry

– กำหนด Agenda ของ Agile team เพื่อให้สามารถส่งมอบงานตามเป้าหมายได้

– ผู้ปฏิบัติงานใน Agile team จะได้รับการมอบหมายงานตามภาระงาน ประเมินผลการปฏิบัติงานตาม KPI ตามข้อตกลง สามารถสะสมผลงานเป็น portfolio เพื่อใช้เลื่อนเงินเดือนและเลื่อนระดับ

– ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าทีมที่มีการบริหารงาน เงิน คน สามารถนำมาใช้เทียบประสบการณ์เพื่อประเมินและคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งประเภทบริหารได้

– ประเมินผลการปฏิบัติงานจากข้อตกลงฯ ประจำปี (Annual Performance Agreement) โดยใช้หลักการ SRAs (Strategic Result Areas) มีลักษณะการวัดเน้น Outcomes และ KRAs (Key Result Areas) มีลักษณะการวัดเน้น output

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-sep2020.pdf