ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570

ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570
โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เอกสารดังกล่าวเป็นแนวทางการดำเนินงาน พร้อมนำเสนอตัวอย่างโครงการที่มีความสำคัญสูง (Big rock projects) เพื่อรองรับการดำเนินงานในแต่ละยุทธศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับระยะสิ้นสุดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 จึงมีการปรับระยะเวลาสิ้นสุดแผนฯ เป็นปี 2570

 

เว็บไซต์ BCG : https://www.bcg.in.th/

 

 

 

BCG Economy Model

BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

ข่าว BCG
เอ็มเทค สวทช. เปิดตัว Ve-Sea ‘หมึกจากโปรตีนพืช’ อร่อยง่าย ดีต่อสุขภาพ

เอ็มเทค สวทช. เปิดตัว Ve-Sea ‘หมึกจากโปรตีนพืช’ อร่อยง่าย ดีต่อสุขภาพ

  ต่อเนื่องจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ‘Ve-Sea’ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปจากโปรตีนพืชในรูปแบบลูกชิ้นปลา เส้นปลา

อ่านเพิ่มเติม
สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีอัปไซเคิลน้ำต้มลูกชิ้นเป็น ‘หัวน้ำซุปปลา’ หอมกรุ่น กลมกล่อมสไตล์เอเชีย

สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีอัปไซเคิลน้ำต้มลูกชิ้นเป็น ‘หัวน้ำซุปปลา’ หอมกรุ่น กลมกล่อมสไตล์เอเชีย

  โดยทั่วไปในกระบวนการผลิตลูกชิ้นจากเนื้อปลาจะมีน้ำที่ได้จากการต้มลูกชิ้นมากกว่า 3-6 ตันต่อวัน ซึ่งโรงงานจะเก็บน้ำส่วนหนึ่งไว้ในห้องเย็นเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการประเภทจัดเลี้ยงหรือร้านอาหารที่ต้องการใช้น้ำชนิดนี้ทำอาหาร

อ่านเพิ่มเติม
เอ็มเทค สวทช. ต่อยอด ‘Ve-Chick’ ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากโปรตีนพืช สู่ผลิตภัณฑ์อาหารไทยพร้อมรับประทาน แค่ฉีกซอง ก็อิ่มอร่อยได้ทันที

เอ็มเทค สวทช. ต่อยอด ‘Ve-Chick’ ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากโปรตีนพืช สู่ผลิตภัณฑ์อาหารไทยพร้อมรับประทาน แค่ฉีกซอง ก็อิ่มอร่อยได้ทันที

  ‘อาหารดี’ ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อสิ่งแวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม
คลังข้อมูล BCG

การพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน (EV)

สวทช. ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าของไทยด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจประเทศอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม

National AI Ecosystem

การสร้างและพัฒนาระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ (AI Ecosystem) และเชื่อมโยงแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติม

นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรอง ติดตามโรคไตเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เพื่อพัฒนาชุดตรวจคัดกรองและติดตามภาวะไตเสื่อมในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง ที่ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์กับ อย. และผลักดันเข้าสู่ระบบสาธารณสุขของไทย เพื่อนำไปสู่การเพิ่มโอกาสการตรวจคัดกรองภาวะไตเสื่อมระยะต้นให้กับประชาชน

อ่านเพิ่มเติม

แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล Digital Healthcare Platform

พัฒนาการบริการการแพทย์ปฐมภูมิ รวมถึงการส่งต่อไปสู่การแพทย์ทุติยภูมิ/ตติยภูมิ แก้ไขปัญหาของประชาชนในเรื่องความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข และอุปสรรคในการเข้าถึงหน่วยบริการ แก้ไขปัญหาหน่วยบริการสาธารณสุขที่มีภารกิจมากและหลากหลายเกินจำนวนบุคลากรที่จะรองรับได้

อ่านเพิ่มเติม

การยกระดับอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสีเขียว

 ยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร

อ่านเพิ่มเติม
แหล่งข่าวอื่นๆ

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

สุขใจ ภัทราพล วนะธนนนท์ อีกหนึ่งตัวอย่าง ของเกษตรกรผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตผักสดอินทรีย์ และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ

คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ

อ่านบทความสัมภาษณ์

Teaser ชีวิตสุขใจ
Continue reading “‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’”

หนังสือคู่มือโควิด-19

คู่มือโควิด-19

คู่มือโควิด-19

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เอกสารนี้ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19
สามารถเผยแพร่ได้ในวงกว้างโดยไม่ต้องขออนุญาต
*** ขอสงวนสิทธิ์ห้ามนำไปตีพิมพ์เพื่อจัดจำหน่ายทางการค้า ***
เผยแพร่ครั้งแรก มกราคม 2564

Disclaimer: ข้อมูลในเอกสารนี้ได้จากการประมวลข้อมูลจากหลายแหล่งอ้างอิง โดยหลักมาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC, Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา, องค์การอนามัยโลก (WHO, World Health Organization), เว็บไซต์ด้านวิชาการ เช่น วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ และสื่อสารมวลชนที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูง ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลการปฏิบัติตนบางอย่างที่แตกต่างออกไป ให้ถือปฏิบัติตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)

ดาวน์โหลดหนังสือ

สารบัญ
หมวดหมู่ คำถาม
ความรู้พื้นฐาน โคโรนาไวรัสชนิดใหม่คืออะไร?
ทำไมจึงเรียกว่า โควิด-19?
โควิด-19 พบครั้งแรกในประเทศจีนใช่หรือไม่?
การแพร่กระจาย ไวรัสแพร่กระจายอย่างไร?
อากาศร้อนช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้จริงหรือไม่?
ยุงหรือเห็บหมัดนำเชื้อไวรัสนี้ได้หรือไม่?
การป้องกันตัว ต้องป้องกันตัวเองอย่างไร?
การสวมหน้ากากอนามัยสำคัญอย่างไร?
มีข้อควรระวังเกี่ยวกับหน้ากากอะไรบ้าง?
หากต้องไปรักษาตัวด้วยโรคอื่นที่โรงพยาบาลช่วงโควิด-19 ระบาด จะปลอดภัยหรือไม่?
จะติดเชื้อจากจดหมายหรือพัสดุภัณฑ์ได้หรือไม่?
ยังบริจาคเลือดได้ไหม?
คนที่สวมคอนแทกต์เลนส์ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษหรือไม่?
น้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?
การทำความสะอาดพื้นผิวและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรทำอย่างไร?
หากคนใกล้ชิดผู้ป่วย ถ้าป่วยหรือมีคนในบ้านป่วย ควรทำอย่างไร?
หากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?
การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ เด็กๆ มีความเสี่ยงที่จะป่วยจากโควิด-19 แค่ไหน?
เด็กๆ จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่?
เด็กๆ ออกไปเล่นกับเพื่อนได้หรือไม่?
เด็กๆ ใช้เวลากับผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัวได้หรือไม่?
อาการป่วย โควิด-19 ทำให้เกิดอาการอย่างไรบ้าง?
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะติดไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 พร้อมกัน?
การตรวจโรค เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเก็บตัวอย่างและตรวจที่บ้าน?
จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อแค่ไหน?
เมื่อใดควรเข้ารับการตรวจโควิด-19? และผลตรวจหมายความว่าอย่างไร?
ตรวจการติดเชื้อในอดีต (ตรวจแอนติบอดี) ได้อย่างไร? ผลการตรวจหมายความว่าอย่างไร?
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะตรวจไวรัสไม่พบ แล้วต่อมาภายหลังตรวจพบไวรัส?
ผู้เสี่ยงป่วยหนัก ใครบ้างที่เสี่ยงจะป่วยหนักจากโควิด-19?
ควรงดยาใดบ้างหรือไม่ หากป่วยโควิด-19?
ผู้ทุพพลภาพมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่?
ผู้ป่วยภูมิแพ้ตามฤดูกาล ผู้ป่วยโควิด-19 กับป่วยภูมิแพ้ตามฤดูกาล มีอาการแตกต่างกันอย่างไร?
การป่วยภูมิแพ้ตามฤดูกาล เพิ่มความเสี่ยงที่จะป่วยโควิด-19 หรือไม่ และหากติดโควิด-19 จะทำให้มีอาการหนักขึ้นหรือไม่?
การสวมหน้ากากอนามัยจะทำให้ลดอาการภูมิแพ้ตามฤดูกาลได้หรือไม่?
การตรวจสอบเส้นทางการติดเชื้อ การตรวจสอบเส้นทางการติดเชื้อ (contact tracing) คืออะไร?
ระหว่างการตรวจสอบ จะเกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลส่วนตัวบ้าง?
หากผลตรวจพบว่าติดเชื้อ จะต้องทำอย่างไรบ้าง?
ใครบ้างที่ถือเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด (close contact) กับผู้ป่วยโควิด-19?
หากขณะนั้นใส่หน้ากาก จะถือว่าเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือไม่?
หากเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด จะต้องตรวจโรคโควิด-19 หรือไม่?
หากเคยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับผู้ติดเชื้ออยู่ จะต้องทำอย่างไรบ้าง?
จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปติดตามการติดเชื้อไว้ในมือถือหรือไม่?
งานศพ มีความเสี่ยงแค่ไหนในการร่วมงานศพผู้เสียชีวิตจากโควิด-19?
ควรจัดการข้าวของของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 อย่างไร?
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อข้าวของต่างๆ อย่างไร?
การทำความสะอาดแตกต่างจากการฆ่าเชื้ออย่างไร?
บริเวณที่พบผู้ป่วย จะดูดฝุ่นทำความสะอาดอย่างไรให้ปลอดภัย?
ควรทำความสะอาดแบบกิจวัตรอย่างไร? บ่อยครั้งมากน้อยเพียงใด?
ใครมีหน้าที่ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ?
คลื่นอัลตราซาวนด์, แสงยูวีความเข้มข้นสูง, หลอดแอลอีดีสีน้ำเงิน หรืออุโมงค์ฆ่าเชื้อ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด?
ควรฉีดฆ่าเชื้อบริเวณที่โล่งนอกอาคาร, ทางเดิน และถนน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือไม่?
สัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ ติดโควิด-19 จากสัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ได้หรือไม่?
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 ติดอยู่บนผิวหนังหรือขนของสัตว์หรือไม่?
ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่เช็ดล้างมือกับสัตว์ได้หรือไม่?
นำสุนัขไปสวนสาธารณะได้หรือไม่?
นำสุนัขไปฝากเลี้ยงหรือทำความสะอาดได้หรือไม่?
หากสัตว์เลี้ยงป่วย และคิดว่าติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?
สัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่นำเข้าปลอดภัยหรือไม่?
สัตว์ป่าแพร่กระจายโรคโควิด-19 ให้คนหรือสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่?
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 จะกลับสู่สิ่งแวดล้อมผ่านทางน้ำเสียและสัตว์ในธรรมชาติที่ติดเชื้อได้หรือไม่?
การรับมือของชุมชน ชุมชนจะรับมือและบรรเทาความรุนแรงของการระบาดโควิด-19 ได้อย่างไร?
อาหารและน้ำ ติดโควิด-19 จากอาหาร (รวมทั้งที่ซื้อกลับจากร้านอาหาร, ทำใหม่ๆ, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารในบรรจุภัณฑ์) หรือน้ำดื่มได้หรือไม่?
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 แพร่กระจายผ่านน้ำที่ฆ่าเชื้อแล้วได้หรือไม่?
อุจจาระและน้ำเสีย พบไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในอุจจาระหรือไม่?
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 แพร่กระจายผ่านระบบน้ำเสียได้หรือไม่?
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 แพร่กระจายผ่านน้ำท่วมได้หรือไม่?
สระว่ายน้ำ, อ่างอาบน้ำ และสวนสนุกที่มีน้ำ ไวรัสก่อโรคโควิด-19 แพร่กระจายผ่านสระว่ายน้ำ, อ่างอาบน้ำ และสวนสนุกที่มีน้ำได้หรือไม่?
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 แพร่กระจายผ่านน้ำในสระว่ายน้ำแบบน้ำเกลือได้หรือไม่?
ไวรัสก่อโรคโควิด-19 แพร่กระจายผ่านน้ำในทะเลสาบ, แม่น้ำ หรือมหาสมุทรได้หรือไม่?
ต้องสวมหน้ากากผ้าในน้ำหรือไม่?
แสงยูวีในแสงอาทิตย์ฆ่าเชื้อตามผิววัตถุที่ใช้ร่วมกันหรือไม่?
ต้องทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อผิวหน้าวัตถุที่ใช้ร่วมกัน (เช่น มือจับในห้องน้ำ) ในสระว่ายน้ำ, อ่างน้ำอุ่น และสวนสนุกที่มีน้ำ บ่อยเพียงใด?
วัคซีน วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะทำให้ป่วยเป็นโควิด-19 ได้หรือไม่?
หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว จะทำให้ผลตรวจไวรัสก่อโรคโควิด-19 เป็นบวกใช่หรือไม่?
หลังจากเป็นโควิด-19 และหายป่วยแล้ว ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่?
การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยจากโรคโควิด-19 ใช่หรือไม่?
วัคซีนโควิด-19 จะไปเปลี่ยนดีเอ็นเอของคนได้รับวัคซีนหรือไม่?
ภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อไวรัสตามธรรมชาติกับที่ได้จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบใดอยู่ได้นานกว่ากัน?
มีอะไรเป็นส่วนประกอบในวัคซีนบ้าง?
ใครจะได้รับวัคซีนก่อนหลังตามลำดับอย่างไร?
ระหว่างที่รอรับการฉีดวัคซีน ต้องป้องกันตัวเองอย่างไร?
จำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 กี่ครั้ง?
หากฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ยังต้องใส่หน้ากากและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดอยู่หรือไม่?
ฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนอื่นได้หรือไม่?
หากมีอาการป่วยอื่นอยู่ จะสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่?
มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่?
ยา มียาที่ใช้รักษาโควิด-19 หรือไม่?
ยาตระกูลคลอโรควินรักษาโควิด-19 ได้จริงหรือไม่?
ใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?
ยุคหลังวัคซีนโควิด-19 หลังจากเริ่มฉีดวัคซีนในประชากรจำนวนมาก จะเป็นอย่างไรต่อไป?

Bioeconomy (เศรษฐกิจชีวภาพ)

Bioeconomy (เศรษฐกิจชีวภาพ)

Bio economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ คือการใช้ทรัพยากรชีวภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการค้นพบสารสำคัญใหม่ๆ แต่อาศัยวิธีการอย่างเป็นระบบ เช่น เริ่มต้นจากการสร้างคลังสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า National biobank จากนั้นจึงใช้ความรู้สมัยใหม่ เช่น ความรู้เกี่ยวกับสารพันธุกรรมที่เรียกว่า genomics และกระบวนการควบคุมการสร้างและค้นหาสารออกฤทธิ์สำคัญ ซึ่งเรียกว่า Functional ingredients โดยใช้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงแบบรวดเร็ว ที่เรียกว่าระบบ High throughput screening และเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี Plant Factory หรือ Cell Factory ที่ควบคุมปัจจัยแวดล้อมทุกอย่างจนได้ผลผลิตสูง สุดท้ายเมื่อได้ functional ingredients มาแล้วเรายังมีเทคโนโลยีที่ใช้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มการออกฤทธิ์ของสารที่ได้ รวมทั้งทดสอบมาตรฐานและควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน

BIOBANK (ทรัพยากรชีวภาพ)

BIOBANK (ทรัพยากรชีวภาพ)

BIOBANK ทรัพยากรชีวภาพเป็นทุนพื้นฐานสำคัญของประเทศ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ประเทศไทยมีจุดแข็งเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพสูง แต่มีอัตราการทำลายพื้นที่ธรรมชาติสูงกว่าการค้นพบ และการวิจัยเพื่อการสร้างมูลค่า BIOBANK จะมีการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมด้าน DNA ด้วย ทำให้มีประโยชน์อย่างยิ่งด้านการแพทย์ BIOBANK ยังเป็นคลังความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นสมบัติของประเทศ

โครงการ Big Rock : Fabrication Lab

โครงการ Big Rock

สวทช. ได้ดำเนินโครงการจากการสนับสนุนเงินงบประมาณจากรัฐบาล ภายใต้โครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง หรือ Big Rock Project ก่อให้เกิดการจัดตั้ง FabLab ในโรงเรียนมัธยมศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค พร้อมทั้งให้การสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และวิศวกรผู้เชี่ยวชาญประจำ FabLab

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนสิงหาคม 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน สิงหาคม 2563

บทบาทของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในช่วงการระบาด

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบ
จากไวรัสโควิด – 19 ทั้งการมอบถุงยังชีพแก่คนไทย และการให้กำลังใจ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่มีการห้ามอากาศยานพาณิชย์ลงจอดในประเทศไทย
สถานเอกอัครราชทูต ได้จัดเที่ยวบินพิเศษของสายการบินพาณิชย์ (Repatriation Flight) นำคนไทยกลับประเทศรวม 10 เที่ยวบิน

ความสัมพันธ์ไทย – แคนาดา ในด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

แคนาดาและไทยได้สร้างความร่วมมือโดยนำความรู้ และแนวปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา การแพทย์และสาธารณสุข
เทคโนโลยีและนวัตกรรม พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการร่วมกันแก้ไขปัญหาและความท้าทายระหว่างประเทศ ซึ่งไทยและแคนาดามีความ
ร่วมมือร่วมกันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน

ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ไทยและแคนาดาสร้างความร่วมมือหลายด้าน เช่น

-แคนาดาสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ของไทย และมีการสนับสนุนทุนวิจัยร่วมกับ TDRI อย่างต่อเนื่อง
เช่น ความร่วมมือภายใต้โครงการท้าทายแคนาดา (Grand Challenges Canada – GCC) ซึ่งรัฐบาลแคนาดาสนับสนุนงบประมาณทุนวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรมด้านสาธารณสุข ซึ่งไทยได้นำรูปแบบดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการท้าทายไทย (Grand Challenges Thailand)

-การแลกเปลี่ยนบุคลากรและการทำวิจัยร่วมทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึง ความร่วมมือระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ เช่น โครงการ
ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัย McGill กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

-การสนับสนุนให้เพิ่มการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษา รวมทั้ง นักเรียนทุนรัฐบาล โดยแคนาดามีข้อได้เปรียบด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ค่าใช้จ่าไม่สูงมาก และมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

-ในปี 2560 แคนาดาได้หารือกับภาคเอกชนในจังหวัดภูเก็ต และเชียงใหม่ เกี่ยวกับการนำต้นแบบการบริหารจัดการรูปแบบ Smart City
มาประยุกต์ใช้ในไทย ซึ่งบริษัทกิจการด้านพลังงานสะอาดของไทยสนใจและอยู่ระหว่างการประสานงานกับภาคธุรกิจของแคนาดา

-ธันวาคม 2561 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (The National Research
Council of Canada-NRC) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อมุ่ง
พัฒนาความร่วมมือในนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ และเกษตรกรรมสมัยใหม่

การพัฒนานวัตกรรมในแคนาดา

ความท้าทายที่กำหนดอนาคต

การเติบโตของเศรษฐกิจ แคนาดามีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแคนาดาจะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
และอัตราภาษีลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอทั้งนี้แคนาดมีคนในวัยทำงานน้อยลงทำให้การเติบโตในอนาคตมีแนวโน้มลดลง

เทคโนโลยีขั้นสูง เทคโนโลยีเปลี่ยนเป็นดิจิทัลและทำให้ชีวิตของคนเป็นรูปแบบอัตโนมัติ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีอื่นๆ ช่วนให้การสื่อสาร
จากทุกมุมโลกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องเปิดกว้างเพื่อนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในอนาคต

ยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ยุคแห่งการแข่งขันการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ เพื่อเติบโตทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดแรงกดดัน
ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกที่เข้มข้นขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ จากผลกระทบการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แคนาดาทุ่มเงินทุนจำนวนมาก
เพื่อผลักดันนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด

Innovation Agenda

รัฐบาลแคนาดาวางกลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมไว้ 4 ส่วน คือ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ
ของทรัพยากรบุคคลในประเทศเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ

การพัฒนาทักษะ

Clean Tech การพัฒนาพลังงานสะอาด

การพัฒนาพลังงานสะอาด เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนานวัตกรรม Innovation and Skills Plan เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางด้าน
เทคโนโลยีสะอาด โดยกระจายในเขตมณฑลต่างๆ

 

เขตมณฑล British Columbia

Click Materials บริษัทผลิตกระจกสำหรับที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และตลาดยานยนต์ มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพของกระจก
ช่วยประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับอาคารอัจฉริยะ/บ้านอัจฉริยะที่สั่งงานด้วยเสียง

Cryologistics พัฒนาภาชนะหุ้มฉนวนที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวเป็นสารทำความเย็นตามธรรมชาติ สำหรับการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์
ทางชีวภาพที่ไวต่ออุณหภูมิ

เขตมณฑล Alberta

Quebe Technologies Inc. พัฒนาอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม AI เพื่อตรวจจับและลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกในโรงงานผลิตน้ำมันและก๊าซ

เขตมณฑล Nova Scotia

Salient Energy พัฒนาแบตเตอรี่พลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ โดยใช้ซิงค์ไอออน (Zinc-Ion) ซึ่งมีราคาถูก ปลอดภัย และมีอายุการใช้งาน
ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้กันในปัจจุบัน

เขตมณฑล Ontario

EcoPackers เปลี่ยนผลผลิตได้จากการเกษตรให้เป็นทางเลือกใหม่แทนการใช้พลาสติก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชและย่อยสลายได้ 100%

Aspire Food Group สร้างฟาร์มจิ้งหรีด โดยใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ เช่นการใช้หุ่นยนต์ และการเก็บข้อมูลอัตโนมัติ และมุ่งไปที่ตลาดที่ใช้แมลง
เพื่อการใช้งานทางด้านชีวการแพทย์ เคมีเกษตร และด้านโภชนาการ

Pantonium โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในระบบขนส่งสาธารณะเส้นทางเดินรถ และตอบสนองแบบเรียลไทม์

เขตมณฑล Quebec

Anomera ผลิตนาโนคริสตัลเซลลูโลสคาร์บอกซิล (Carboxylated Cellulose Nanocrystals : CNC) ใช้ทดแทนพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลาย
นำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและเครื่องสำอาง ปูนซีเมนต์ ส่วนประกอบโพลิเมอร์ สารเคลือบ การเกษตร และการแพทย์

Effenco สำหรับใช้ในรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ที่สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ถึง 10% และลดต้นทุนการทำนุบำรุงรักษายานพาหนะ
และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Sollum Technologies Inc. พัฒนาระบบแสงสว่างอัจฉริยะและสามารถปรับระดับแสงธรรมชาติ ช่วยลดการใช้พลังงานได้ 30%

National Research Council (NRC)

สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา เป็นองค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาลแคนาดา มุ่งเน้นศึกษาและพัฒนา 5 สาขาหลัก ได้แก่ 1) เทคโนโลยีดิจิทัล
2) เทคโนโลยีอุบัติใหม่ 3) วิศวกรรม 4) ชีววิทยาศาสตร์ และ 5) การขนส่งและการผลิต

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-aug2020.pdf

 

ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก

 

=> ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก 2566
=> ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก 2565
=> ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก 2564

KM (knowledge management, การจัดการความรู้) ช่วยผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้ได้อย่างไร

APQC (American Productivity and Quality Center) ได้จัดวิธีการถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. Structured elicitation ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปมีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์, การทำแผนที่ความรู้ หรือกิจกรรมที่คล้ายกันที่ถูกออกแบบเพื่อสกัดความรู้ในตัวผู้เชี่ยวชาญและบันทึกหรือถ่ายทอดโดยตรงไปยังผู้เชี่ยวชาญที่กำลังจะประสบความสำเร็จ
  2. Peer-based knowledge transfer ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ผ่านชุมชนนักปฏิบัติ (communities of practice), เครือข่ายทางสังคมของบริษัท, ที่ประชุมการอภิปราย, การแนะนำ หรือเครื่องมือ expertise location
  3. Learning sessions and events ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สอน, ผู้นำเสนอ, ผู้อำนวยความสะดวก และหรือผู้พัฒนาหลักสูตรสำหรับการอบรม, webinars, workshops หรือกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ
  4. Documentation ผู้เชี่ยวชาญสร้าง, ทบทวน หรือทำให้ถูกต้องเนื้อหาความรู้ตามความสนใจ

5 คำแนะนำเพื่อทำให้ผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้

1. เข้าใจอะไรที่กระตุ้นผู้เชี่ยวชาญและใช้ให้เป็นประโยชน์
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ต้องการให้หน่วยงานประสบผลสำเร็จ แต่จะถูกกระตุ้นมากกว่าถ้าเห็นประโยชน์ส่วนตัว คุยกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้เป็นวิธีแก้ปัญหา ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการถ่ายทอดความรู้เป็นโอกาสในการมีชื่อเสียง ไม่เพียงแต่เป็นงานที่ต้องทำให้สำเร็จ ผู้เชี่ยวชาญควรรู้สึกว่าสถานะกำลังเป็นที่รู้จักและการให้มีคุณค่า เชื่อมโยงการถ่ายทอดกับโอกาสทางอาชีพหรือโปรแกรมที่โดดเด่นเป็นหนึ่งหนทางในการยกระดับการมีส่วนร่วมใน KM

2. กำหนดให้แน่นอนว่าต้องการอะไรและใช้เวลาเท่าไร
ผู้เชี่ยวชาญยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้มากกว่าถ้าได้รับคำถามที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้จัดการของผู้เชี่ยวชาญหลีกเลี่ยงจากการมอบหมายที่ไม่ชัดเจน บางชนิดของการถ่ายทอดง่ายกว่าในการจำกัดจำนวน แต่ต้องแน่ใจว่าคิดผ่านรายละเอียดและสามารถให้การประมาณอย่างหยาบๆ ในเรื่องเวลา ตัวอย่างเช่น structured elicitation ทำงานดีที่สุดเป็นโครงการที่ถูกจำกัด ด้วยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุด, จำนวนชั่วโมงโดยประมาณที่ต้องการ และความคาดหวังสำหรับผู้เข้าร่วมแต่ละคน หน่วยงานพบว่าง่ายกว่าที่จะดึงดูดที่ปรึกษาเมื่อการให้คำปรึกษามี timelines ที่ชัดเจน (โดยปกติ 3-6 เดือน) ชุมชนมีแนวโน้มที่จะมีโครงสร้างน้อยกว่าเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม แต่ยังคงได้ประโยชน์จากตัวแปรที่ชัดเจน เช่น ความต้องการใช้ 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตอบคำถามสมาชิก

3. ทำให้การมีส่วนร่วมง่ายไม่ซับซ้อนเท่าที่จะเป็นไปได้
วางแผนขบวนการถ่ายทอดความรู้จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ และรู้วิธีปรับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจสร้างแม่แบบที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้เพื่อผู้เชี่ยวชาญใช้, มอบหมายผู้อำนวยความสะดวกให้ช่วยผู้เชี่ยวชาญสำรวจและทำความรู้ให้เป็นเอกสาร หรือสร้างระบบซึ่งส่งคำถามที่เฉพาะแก่ผู้เชี่ยวชาญดังนั้นไม่ต้องเข้าไปเจอกับ posts ที่ไม่น่าสนใจ

4. อย่าให้ผู้เชี่ยวชาญทำงานที่คนอื่นสามารถทำ
ผู้เชี่ยวชาญจะรู้สึกผิดหวังถ้าให้ทำกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่า เช่น จัดกำหนดการ webinars, นำเนื้อหาออกเผยแพร่ หรือเพิ่ม metadata ดีกว่าถ้าจัดให้มีเพื่อนร่วมงานรุ่นน้องที่สามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ ให้เวลาผู้เชี่ยวชาญกับงานที่สามารถทำ และมอบหมายที่เหลือแก่ผู้อื่น

5. ขยายความเชี่ยวชาญ
หนทางสุดท้ายที่จะลดภาระของผู้เชี่ยวชาญให้น้อยที่สุด คือ ให้ mid-career professionals เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ไร้ประสบการณ์, สร้างเนื้อหาความรู้พื้นฐาน และจัดการคำถามและคำร้องขอที่ไม่ซับซ้อน บางสถานการณ์ต้องการผู้เชี่ยวชาญแต่สถานการณ์อื่นๆ สามารถจัดการได้ง่ายโดยคนทำงานที่มีศักยภาพซึ่งไม่ได้มีสถานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ


ที่มา: Lauren Trees (October 15, 2020). How KM Gets Experts to Transfer Their Knowledge. Retrieved December 29, 2020, from https://www.apqc.org/blog/how-km-gets-experts-transfer-their-knowledge