วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2563

การประชุมวิชาการประจำปีของนักเรียนไทยในทวีปยุโรปครั้งที่ 9 (TSAC 2020)

เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2563 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ตัวแทนนักเรียนไทยในทวีปยุโรป
ได้จัดงานประชุมวิชาการออนไลน์ของนักเรียนไทย Virtual TSAC 2020 (the 9th Thai Student Academic Conference) ภายใต้หัวข้อ
“Living in the Digital Transformation Era” เป้าหมายเพื่อการแบ่งปันองค์ความรู้และสร้างความร่วมมือเชิงนวัตกรรมระหว่างนักเรียนไทย
หน่วยงานในประเทศไทย และหน่วยงานในทวีปยุโรป เพื่อไปสู่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในอนาคต ทั้งนี้การจัดประชุม
วิชาการประจำปีของนักเรียนในทวีปยุโรป ในรูปแบบ Virtual Conference บรรยายโดยวิทยากรรับเชิญพิเศษ อาทิ ผู้บริหารจากกระทรวงอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการนำเสนอผลของนักเรียนไทยในยุโรป ซึ่งครอบคลุมนำเสนอผลของนักเรียนไทยในวิทยาศาสตร์ การแพทย์
วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์  

การบรรยายพิเศษ

การบรรยายโดยวิทยากรพิเศษประกอบด้วย
ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หัวข้อ
“Empowering the Next Gen for the Future”
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หัวข้อ
“การปรับตัวต่อเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก”
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หัวข้อ “นวัตกรรมกับบทบาทใหม่ เมื่อโลกกำลังทำให้มนุษยชาติเปลี่ยนแปลง”

การนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนไทย

กิจกรรมการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนไทย จำนวน 13 คน แบ่งออกเป็น 3 ห้อง ประกอบด้วย
1. สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
2. สาขาชีววิทยาและการแพทย์
3. สาขากฎหมายและเศรษฐศาสตร์

รายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ประจำปี ค.ศ. 2020 (European Innovation Scoreboard 2020)

ในทุกๆ ปี คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำ Innovation Scoreboard เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรม (Innovation Performance)
ได้มาจากการวิแคราะห์เชิงเปรียบเทียบของสมาชิกในสหภาพยุโรป โดยมีการประเมินถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของระบบนวัตกรรมในแต่ละประเทศพร้อมทั้ง
ระบุถึงประเด็นที่แต่ละประเทศควรให้ความสนใจและพัฒนา

การจัดลำดับ 4 กลุ่มประเทศนวัตกรรม

  1. ผู้นำนวัตกรรม (Inovoftion Leaadrs) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมสูงกว่า ประเทศที่ถูกจัดลำดับอยู่ในกลุ่มผู้นำนวัตกรรม ได้แก่
    สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และสวัสเซอร์แลนด์
  2. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมใกล้เคียง ประเทศที่ถูกจัดลำดับอยู่ในกลุ่ม
    ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เอสโตเนีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์และโปรตุเกส
  3. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประเทศที่ถูกจัดลำดับ
    อยู่ในกลุ่มผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง ได้แก่ โครเอเชีย ไซปรัส เช็กเกีย กรีซ ฮังการี อิตาลี ลัตเย ลิทัวเนีย มอลตา โปแสนด์ สโลวะเกีย,
    สโลวีเนีย และสเปน
  4. ผู้สร้างสรรนวัตกรรมพอประมาณ (modest innovators) ซึ่ง่มีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประเทศที่ถูกจัดอยุ่ในกลุ่ม
    นวัตกรรมระดับกลาง ได้แก่ บัลกาเรีย และโรย่เนีย

ภาพรวมของการพัฒนานวัตกรรมของยุโรป

การจัดลำดับประเทศนวัตกรรมของสหภาพยุโรปในปี ค.ศ.2020 ในปีนี้ประเทศสวีเดนยังเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในสหภาพยุโรป ตามด้วยฟินแลนด์
เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่มีการเปลียนสถานะของหมวดประเทศนวัตกรรม ได้แก่ ประเทศลักเซมเบิร์ก ที่พัฒนาจากผู้สร้างสรรค์
นวัตกรรมระดับสูงเป็นผู้นำนวัตกรรม ขณะที่ประเทศโปรตุเกสได้พัฒนาจากผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลางเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง
ผลของการจัด Innovation Scoeboard ในปี ค.ศ. 2020 ชี้ให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปพัฒนาขึ้นร้อยละ 8.9
โดยเพิ่มขึ้นใน 24 ประเทศและลดลง 3ประเทศ ประเทศที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ได้แก่ ลิธัวเนีย มอลตา ลัตเวีย โปรตุเกส และกรีซ
ในขณะที่โรมาเนีย และสโลวาเนีย มีความสามารถลดลงมากที่สุด เนื่องมาจากการพัฒนาปัจจัยดังนี้คือ สถาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
โดยเฉพาะในด้านเครือข่ายสื่อสารไร้สาย (broadband penetration) รวมไปถึงเงินร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้
ภาคเอกชนลงทุนด้ายวิจัยและพัฒนา

การเปรียบเทียบการพัฒนานวัตกรรมของยุโรปกับประเทศอื่นทั่วโลก

สหภาพยุโรปมีประสิทธิผลทางนวัตกรรมเป็นอันดับ 5 รองจากประเทศเกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยนำหน้าสหรัฐฯ (เป็นปีที่ 2)
และจีน ตลอดจนประเทศอื่นๆ ใน 10 อันดับแรกของโลก เช่น ประเทศรัสเซีย บราซิล แอฟริกาใต้ และอินเดีย ประเทศจีนถือเป็นประเทศคู่แข่งที่
น่ากลัวสำหรับสหภาพยุโรปเนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิผลทางนวัตกรรมสูงสุดซึ่งปัจจุบันจีนมีอัตราขยายตัวสูงกว่าสหภาพยุโรปถึง 5 เท่า

จุดแข็งเชิงนวัตกรรมของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป

กลุ่มประเทศที่ถูกจัดให้เป็นผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ซึ่งมีจุดแข็งเชิง
นวัตกรรมแตกต่างกัน ดังนี้

ระบบการวิจัยที่น่าดึงดูด: ประเทศลักเซมเบิร์ก เป็นประเทศที่มีระบบการวิจัยที่มากที่สุด ตามด้วยเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ประเทศ
เหล่านี้เปิดกว้างสำหรับการสร้างความร่วมมือทางด้านการวิจัยกับประเทศที่สามนักวิจัยมีการติดต่อกับเครือข่ายระดับนานาชาติ และคุณภาพ
ผลงานวิจัยอยู่ในระดับสูง

การพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: ประเทศลักเซมเบิร์กเป็นประเทศผู้นำที่มีความโดดเด่น ตามด้วยฟินแลนด์
ออสเตรีย และเบลเยียม ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการทางธุรกิจในระดับสูง

ความร่วมมือและการเชื่อมโยงทางนวัตกรรม: ประเทศออสเตรียเป็นประเทศผู้นำที่มีความโดดเด่นด้านนี้ ตามด้วยเบลเยียม ฟินด์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์
โดยประเทศเหล่านี้มีความสามารถทางนวัตกรรมที่หลากหลายเนื่องจากเข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมกับบริษัทเอกชน หรือ องค์กรภาครัฐต่างๆ ระบบการวิจัย
ยังตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทเอกชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
สำหรับด้านอื่นๆ สวีเดนเป็นผู้นำด้านทรัพยากรมนุษย์ เดนมาร์กเป็นผู้นำด้านการเงิน เยอรมนีเป็นผู้นำด้านการลงทุนของภาคเอกชน ลักเซมเบิร์กเป็น
ประเทศผู้นำด้านทรัพย์สินทางปัญญา

การประชุมของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศว่าด้วยแผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์
ครั้งที่ 5 โดยมีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้

ปัจจุบันพบว่าประสิทธิภาพทางพลังงานไม่ได้ถูกพัฒนาเร็วเท่าที่ควรเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ทางพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานได้มากเท่าที่ควร นอกจากนี้ในปี 2563 การระบาดของโรคโควิด-19 ได้แปรสภาพ
ภูมิทัศน์พลังงาน

แผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานโลก

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมธิการว่าด้วยภาวะเร่งด่วนในการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานโลกสามารถสรุปได้เป็น 10 ข้อ ดังนี้

1 จัดลำดับความสำคัญของแผนงานว่าด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานและประโยชน์ที่จะได้รับต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลควร
จัดทำแผนนโยบายและมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การลดคาร์บอนในประเทศ

2 การพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานจะช่วยสร้างโอกาสและพัฒนาประสิทธิภาพของการสร้างงานให้สูงขึ้น

3 การสร้างและกระตุ้นอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการที่ใช้พลังงานสูง จะช่วยให้การพัฒนาส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานได้รวดเร็วและช่วยกระตุ้นให้เกิด
กิจกรรมในตลาดพลังงาน

4 การระดมเงินเพื่อสนับสนุน

5 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้จะช่วยให้กำหนดนโยบาย ควบคุม จัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงาน

6 ภาครัฐควรจัดสรรงบลงทุนในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของภาครัฐ กระตุ้นการสร้างนวัตกรรม และพัฒนามาตรฐาน

7 แผนงานพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานต้องถูกดำเนินในทุกระดับของสังคม ซึ่งทั้งภาคสังคม ธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น ต้องเข้ามามีส่วนร่วม

8 การศึกษาวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมของประชาชนจำทำให้ได้ข้อมูลที่ช่วยในการออกแบบนโยบายเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจหลักการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงาน

9 การสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศ จะช่วยให้เรียนรู้ซึ่งกันและกันใช้
แนวทางปฏิบัติและมาตรฐานที่เหมาะสม

10 รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แนวโน้มของตลาดพลังงาน

ตลาดพลังงานหมุนเวียนกำลังพัฒนาและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เหตุนี้ระบบการจัดการและซื้อขายต้องปรับเปลี่ยนตาม นำไปสู่แนวโน้มของตลาด
พลังงานหมุนเวียนแบบเรียลไทม์ มองว่าเป็นทิศทางหลักในอนาคต ความไม่แน่นอนของการผลิตพลังงาน คือ จุดอ่อนที่สำคัญของพลังงานหมุนเวียน
เพราะสภาวะธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ เช่น วันที่มีแสงแดดน้อย ตลาดพลังงานก้าวไปสู่ระบบตลาดเรียลไทม์ คือ ข้อมูลและการใช้ระบบอัลกอริทึม
นักวิจัยพยายามคิดค้นว่าทำอย่างไรให้แบตเตอรี่มีขนาดเล็ก แต่สามารถเก็บบรรจุพลังงานได้จำนวนมาก โดยที่ราคาไม่สูงเกินไป ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี
ของแบตเตอรี่สามารถสำรองไฟฟ้าให้ระบบกริดขนาดเล็กระดับไมโคร โดยเป็นแหล่งไฟฟ้สำรองในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและเป็นแหล่งเก็บพลังงาน
ส่วนเกินในช่วงที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่ำ

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200921-newsletter-brussels-no07-jul63.pdf

10 Technologies to Watch 2020

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. บรรยายเรื่อง 10 เทคโนโลยีที่ควรจับตามอง ในปีนี้ 10 เทคโนโลยี ที่สวทช. เลือกมาเป็นการคาดการณ์เทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบได้อย่างชัดเจนใน 3-5 ปีข้างหน้า แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะส่งผลกระทบกับชีวิตและธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้

BCG Economy Model คืออะไร

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีรายได้น้อย และประเทศไทยยังติดกับดักรายได้ปานกลางมาอย่างยาวนาน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”

BCG Economy Model จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง นำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

การพัฒนาประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ต้องก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคต่างๆ อาทิ ปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรม ขยะล้นเมือง โลกร้อน รวมถึงรายได้เกษตรกรที่ไม่เพิ่มขึ้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งขับเคลื่อน BCG โมเดล รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ที่เร่งให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึง บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

BCG โมเดล สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใน 20 ปี จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรมากกว่า 3 เท่าตัว และลดการใช้ทรัพยากรเหลือสองในสามจากปัจจุบัน

BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

BCG Economy Model

อ่านความเป็นมา BCG จากเว็บไซต์ BCG : https://www.bcg.in.th/background/

เดิมประเทศไทยมีโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก มีสัดส่วนประชากรในภาคเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก รายงานของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2013) ระบุว่า แรงงานในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนมากถึง 32.3% ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมมีเพียง 17% และในภาคบริการมี 7% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่จะมาจากภาคเกษตรกรรม แต่คนทำงานกลับมีรายได้น้อย ทำให้แรงงานรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตรน้อยลง

แนวโน้มปัจจัยที่จะส่งผลกระทบในอนาคตอันใกล้ ได้แก่ เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมากมาย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยที่กลายเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว และแรงงานที่เข้าสู่ตลาดลดน้อยลง รัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจึงพยายามผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มีลักษณะสำคัญคือ (1) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นแนวคิดแบบใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี (2) เป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาความรู้ การจัดการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยต้องนำจุดเด่นของประเทศคือ ตำแหน่งที่ตั้ง ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงความเข้มแข็งขอบบุคลากรในบางสาขาเช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งในแง่การวิจัยและบริการ และลักษณะสำคัญข้อสุดท้ายคือ (3) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์มากและปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว เช่น การประยุกต์ใช้ข้อมูล Big Data กับการวางแผนจัดการระบบการเกษตรโดยรวมของประเทศ

เศรษฐกิจใหม่ครอบคลุม 6 ด้านสำคัญ โดยมีแนวทางโดยย่อดังนี้

(1) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการนำความรู้ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มากมาเป็นตัวขับเคลื่อน

(2) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

(3) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด

(4) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) เป็นการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาอำนวยความสะดวก ช่วยวางแผน และจัดการระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น

(5) เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่อิงกับการให้บริการแบบทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้รถยนต์โดยสารและการหาที่พักผ่านแอปพลิเคชัน ที่แแต่ละคนสามารถเลือกใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ ได้อย่างสะดวกและยืดหยุ่นกว่าเดิม

(6) เศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) ระบบที่นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและความสุข อีกทั้งเทคโนโลยีเหล่านี้ยังใช้ได้กับกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสด้วย

หากประเทศไทยสามารถพัฒนาและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีตามแนวทางที่กล่าวมา ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่มีความเข้มแข็งและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างเต็มภาคภูมิ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐกิจสีเขียว GREEN ECONOMY

เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เข้ามาแก้ปัญหาโลกที่กำลังเผชิญกับความเสียสมดุลจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่นำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านอาหารและพลังงาน พื้นที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ทำให้ทรัพยากรลดจำนวนลงไปมาก บางส่วนเสื่อมโทรม มีการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากเกินความสามารถของโลกที่จะรองรับได้ ดังนั้นเศรษฐกิจที่พัฒนาด้วยการคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและตระหนักถึงคุณค่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงจึงเป็นเศรษฐกิจที่ทุกประเทศต้องนำไปเป็นแนวทางพัฒนา

เศรษฐกิจสีเขียว GREEN ECONOMY
สวทช. กับเศรษฐกิจสีเขียว

สวทช. มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียวเพิ่มมากขึ้น เช่น เซลล์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์, วิธีการประเมินหรือแอปพลิเคชันช่วยวัดคาร์บอนฟุตพรินต์, ห้องปฏิบัติการการทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุ (ฺBiodegradation Testing), ปุ๋ยสูตรผสม NPK ชนิดควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารสำหรับพืชเศรษฐกิจ (ปุ๋ยสั่งได้) ช่วยลดการใช้ปุ๋ยมากเกินจำเป็น, สารบีเทพ (BeThEPS) สารรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อแปรรูปยางแผ่นทดแทนการใช้สารเคมี, เอนไซม์ ENZease สำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว, ENZbleach เอนไซม์ทนด่างจากปลวกสำหรับฟอกเยื่อกระดาษ

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคเงินเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เงินที่ได้รับบริจาคเข้ามาในกองทุน สวทช. จะจัดสรรไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้แก่เยาวชน ครู และอาจารย์ ตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น โครงการเรียนรู้สะเต็มศึกษา กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เฉพาะทาง และการจัดประกวดแข่งขัน

สวทช. มีเป้าหมายในการดำเนินงานภายใต้กองทุนนี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ และเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ไปพัฒนาประเทศ โดยนอกจากผู้บริจาคจะได้ร่วมสนับสนุนการพัฒนาประเทศแล้ว ยังสามารถนำยอดการบริจาค ไปใช้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ข้าวเหนียวหอมนาคา แข็งแรง ทนทาน สะเทินน้ำ สะเทินบก ให้ผลผลิตสูง

นักวิจัย สวทช. พัฒนาข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์หอมนาคา” มีคุณสมบัติทนทานต่อภาวะน้ำท่วมฉับพลับ ทนแล้ง ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรงไม่หักล้มง่าย ขนาดต้นสูงปานกลาง ทำให้เก็บเกี่ยวง่าย สอดรับกับการทำนาสมัยใหม่ และแนวโน้มการทำนาในอนาคต ที่ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน

ข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา เป็นข้าวไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดปี มีระยะเวลาการปลูกประมาณ 130-140 วัน ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ยประมาณ 800 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อหุงสุกจะมีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว เคี้ยวอร่อย โดย สวทช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร จำกัด ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูก และผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ จ.ลำปาง จ.พะเยา และ จ.เชียงราย

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG

BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว

“บีซีจี สามารถตอบโจทย์หลักของรัฐบาลได้ดีที่สุด คือไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมีการตั้งคำถามว่าเมื่อจะเอาบีซีจี โมเดล แล้วไทยแลนด์ 4.0 จะยังไง ผมตอบเลยว่า 4.0 คือความก้าวหน้าล้ำยุค และทันสมัย แต่ต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ไปมีส่วนร่วม แต่บีซีจี โมเดล เราจะไม่ทิ้งคนส่วนใหญ่ และจะสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกคน เมื่อเข้มแข็งแล้ว โอกาสที่เราจะเป็นไทยแลนด์ 4.0 แบบภาพรวมทั้งประเทศก็จะมีมากยิ่งขึ้น ดังนั้น บีซีจี โมเดล คือสิ่งที่จะทำให้เรากลายเป็นไทยแลนด์ 4.0 ของแท้นั่นเอง” ดร.สุวิทย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ suwit
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

BCG Model จะเป็นกลไกที่มีศักยภาพสูงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง สามารถกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันสามารถสร้างให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในบางสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ จึงได้กำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน BCG Model ดังนี้

  • มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเป้าหมาย BCG
  • ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชน
  • ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยขึ้นเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและส่วนประกอบอาหารมูลค่าสูง Top 5 ของโลก
  • อุตสาหกรรมชีวภาพ การผลิตยา เครื่องมือแพทย์ วัสดุชีวภาพ มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพส่งออก เป็นแหล่งจ้างงานทักษะสูงและรายได้สูง
  • ระบบบริหารจัดการท่องเที่ยว นำไปสู่ Top 3 ของเอเชียแปซิฟิก (จัดโดย Travel & Tourism Competitiveness Index, World Economic Forum)
  • ลดการใช้ทรัพยากรลงจากปัจจุบัน

หลักในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหลายภาคส่วนให้เป็นไปโดยมีเอกภาพและมีพลัง แต่ละภาคส่วนจะให้ความสำคัญกับทั้งการแข่งขันได้ในระดับโลกและการส่งต่อผลประโยชน์สู่ชุมชน และขับเคลื่อนโดยกลไกการทำงานแบบจตุภาคี (Quadruple Helix) ผ่านการผสานพลังภาคเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพันธมิตรความร่วมมือในระดับโลก โดย กระทรวง อว. จะขับเคลื่อนศักยภาพของหน่วยงานภายใต้กระทรวง ทั้งในมิตินักวิจัย องค์ความรู้ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัย โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ (National Quality Infrastructure: NQI) และการส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรม มาใช้เพื่อร่วมขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบจตุภาคีร่วมกับภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และชุมชน

 

ที่มาภาพ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

BCG Model รวบรวมห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ของ 5 อุตสาหกรรม S-curves หลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร และการท่องเที่ยว บูรณาการเข้าด้วยกัน เป็นฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนใน GDP ถึงร้อยละ 21 และเกี่ยวข้องกับอาชีพและการจ้างงานของคนในประเทศมากกว่า 16.5 ล้านคน หัวใจสำคัญของ BCG Model คือการพัฒนาแบบคู่ขนาน ทั้งในส่วนที่อาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาการระดับสูงสำหรับผลิตสินค้าและบริการมูลค่าสูง เช่น ส่วนประกอบอาหารสุขภาพ ชีววัตถุ สารออกฤทธิ์ทางการแพทย์ ฯลฯ และในส่วนฐานกว้างของปิรามิดที่เป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อสร้างมูลค่าให้คนจำนวนมาก และการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะขยายผลไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (from SEP to SDG)

แนวคิดการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Model

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาส รายได้ และความเจริญ ไปสู่ประชาชนของประเทศอย่างทั่วถึง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้เงื่อนไขการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ซึ่งต้องอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปยกระดับผลิตภาพของผู้ผลิตส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ฐานของปิรามิด ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนและนวัตกรรมการจัดการที่จะนำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) ที่มีความพร้อมในส่วนยอดของปิรามิดให้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมุ่งเป้าสู่การเป็นประเทศที่เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในท้ายที่สุด ลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการเป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยี

การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

  • การสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนจากการลดการใช้ปุ๋ยและยาที่เป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรไทย และยังได้ผลิตผลที่ปลอดภัย ได้คุณภาพและปริมาณคงที่ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังสามารถนำผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพคงที่มาแปรรูปให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้อีกด้วย
  • การสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น สารให้ความหวาน สารแต่งกลิ่นรส สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ พลาสติกชีวภาพ อาหารเสริมสุขภาพ ซึ่งจะช่วยดูดซับผลผลิตทางการเกษตรส่วนเกินในตลาด บรรเทาปัญหาราคาตกต่ำในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ยาง และปาล์ม
  • การผลิตยาชีววัตถุ วัคซีน และชุดตรวจวินิจฉัยที่จำเป็นได้เองภายในประเทศ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ที่มีราคาแพงได้เพิ่มขึ้น และลดการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์
  • การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม และระบบบริหารสถานที่ท่องเที่ยว โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยท้องถิ่นสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว ตลอดจนบริหารจัดการเส้นทาง และจำนวนนักท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพแหล่งใหม่ ที่กระจายนักท่องเที่ยวสู่เมืองรองหรือชุมชนท้องถิ่น ทำให้เกิดเมืองน่าอยู่และน่าเที่ยวไปพร้อมกัน
  • การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการแปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบ รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาปิดช่องว่างให้การใช้ทรัพยากรของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย

“บีซีจี จะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.สุวิทย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562

ข้อมูลจาก ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร (CBC)
email : cbc@nstda.or.th

เข้าสู่เว็บไซต์ BCG : https://www.bcg.in.th/

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เปลปกป้อง PETE เคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทันใจ ไม่แพร่เชื้อ

สวทช. ร่วมกับศูนย์อบรมแพ็ทเทิร์นอุตสาหกรรม แพ็ทเทิร์น ไอที พัฒนา เปลปกป้อง PETE (พีท) เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ประกอบด้วยระบบสร้างและควบคุมแรงดันลบ ที่มีประสิทธิภาพการป้องกันการแพร่เชื้อสูงถึง 99.995% และตัวแคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ผลิตจากวัสดุที่นำเข้าเครื่อง X-ray และอุโมงค์ CT scan ได้เลย ช่วยลดขั้นตอนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตอนตรวจวินิจฉัย ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ และลดภาระงานของบุคลากรการแพทย์

เปลปกป้อง PETE ใช้งานได้สะดวก สามารถพับเก็บ หิ้ว ลาก หรือสะพายหลังได้ ประหยัดพื้นที่ เหมาะกับการใช้งานบนรถพยาบาลร่วมกับเตียงพยาบาล มีความแข็งแรงรองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้กว่า 250 กิโลกรัม

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย