10 ทักษะแห่งอนาคตที่นายจ้างมองหาในอีก 25 ปีข้างหน้าและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเรียนรู้

World Economic Forum (2020) ได้เผยแพร่รายงานเรื่องงานที่น่าจับตามองในอนาคต 2020 หรือ The Future of Jobs Report 2020 ซึ่งเกิดจากการสำรวจ 15 อุตสาหกรรม เช่น Agriculture, food and beverage, Digital communications and information technology, Education, Financial services, Government and public sector, Health and healthcare, Manufacturing, Oil and gas, Professional services และ Transportation and storage เป็นต้น ใน 26 ประเทศ เช่น Australia, Brazil, China, France, Germany, India, Japan, Malaysia, Netherlands, Pakistan, Russia Federation, Sigapore, Thailand และ United Kingdom เป็นต้น แบบสำรวจถูกส่งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรของ World Economic Forum ในภูมิภาคต่างๆ

Future of Jobs Report 2020 ได้จัดอันดับท็อป 10 ทักษะที่จำเป็นในอนาคต จัดกลุ่มทักษะที่จำเป็นออกเป็น 4 กลุ่มหลัก (อันดับที่ของทักษะในท็อป 10) ได้แก่

Problem-solving

–          Analytical thinking and innovation (1)

–          Complex problem-solving (3)

–          Critical thinking and analysis (4)

–          Creativity, originality and initiative (5)

–          Reasoning, problem-solving and ideation (10)

Self-management

–          Active learning and learning strategies (2)

–          Resilience, stress tolerance and flexibility (9)

Working with people

–          Leadership and social influence (6)

Technology use and development

–          Technology use, monitoring and control (7)

–          Technology design and programming (8)

 

ผลการสำรวจ (World Economic Forum, 2020) ชี้ให้เห็นว่า ทักษะการทำงานบางอย่าง ทั้งทักษะด้านความรู้ (Hard skills) และทักษะด้านอารมณ์ (Soft skills) ที่ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดงาน และยังคงมีความสำคัญในอนาคต อาทิ ทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่เผชิญ ความอดทนต่อความเครียด การใช้เทคโนโลยี และการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม เป็นต้น รายงานระบุว่า ในปี 2025 เทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น ทำให้กว่า 50% ของลูกจ้างจำเป็นต้อง reskill ใหม่ และคาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้า ลูกจ้างกว่า 40% ต้อง reskill ใหม่ และด้วยผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้นส่งผลให้ลูกจ้างต้อง reskills ใหม่ภายใน 5 ปีข้างหน้า งานกว่า 85 ล้านงานจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรกล ทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานเกือบทุกประเภท คือทักษะจำเป็นที่เกี่ยวกับ Product marketing, Digital marketing และ Human computer interaction

ผลสำรวจ (World Economic Forum, 2020) ยังระบุว่า นายจ้างกว่า 90% มีความคาดหวังว่าทักษะใหม่ๆ จะได้จากการเรียนรู้หน้างาน ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของทักษะ ประเภทของงานหรือวิชาชีพ เป็นต้น ทักษะที่เกี่ยวกับคนและวัฒนธรรม การเขียน การขายและตลาดอาจใช้ระยะเวลาเรียนเพียง 1 – 2 เดือน ในขณะที่ทักษะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ AI อาจใช้เวลา 2 – 3 เดือน ส่วนทักษะด้าน cloud computing และวิศวกรรมอาจใช้ระยะเวลานานกว่าทุกทักษะคือประมาณ 4 – 5 เดือน

การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มหรือเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในระยะเวลาอันรวดเร็วเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างยังคงต้องการการสนับสนุนจากนายจ้างทั้งในเรื่อง เวลา และงบสนับสนุนการอบรม เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป (Whiting, 2020)

 

อ้างอิง

Whiting, Kate. 2020. These are the top 10 job skills of tomorrow and how long it takes to learn them. https://www.weforum.org/agenda/2020/10/top-10-work-skills-of-tomorrow-how-long-it-takes-to-learn-them

World Economic Forum. 2020. The Future of Jobs Report 2020. https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2020

 

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน กิจกรรมเด่นไม่ควรพลาดในงาน Thailand Tech Show 2020

สวทช. เชิญร่วมงาน Thailand Tech Show 2020 ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคมนี้ หนึ่งในกิจกรรมที่คุณไม่ควรพลาด คือ Investment Pitching หรือ การพิชชิ่ง 11 ผลงานเทคโนโลยีนิวนอร์มอล ที่พร้อมส่งต่อให้กับนักลงทุนโดยนักวิจัยไทย

ตัวอย่างผลงานเช่น Hybrid Sure บริการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมการเกษตรไทย เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการแพทย์ฉุกเฉิน หากคุณคือผู้ที่สนใจเทคโนโลยีนิวนอร์มอล พบกันได้ทาง www.nstda.or.th/thailandtechshow

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ประจำปี 2563 โดย IMD (2020 IMD World Digital Competitiveness Ranking)

ในปี 2563 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ https://www.imd.org/wcc/world-competitiveness-center-rankings/world-digital-competitiveness-rankings-2020/ โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2562-2563 โดย IMD

ประเทศ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เดนมาร์ก สวีเดน ฮ่องกง ไทย
ปี 2563 2562 2563 2562 2563 2562 2563 2562 2563 2562 2563 2562
อันดับรวม 1 1 2 2 3 4 4 3 5 8 39 40
1. ความรู้ 1 1 2 3 6 6 4 4 7 7 43 43
1.1 ความสามารถพิเศษ 14 14 1 1 4 6 9 8 7 4 36 40
1.2 การฝึกอบรมและการศึกษา 24 25 7 4 9 6 2 2 5 12 55 50
1.3 ความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ 1 1 10 22 15 17 6 3 17 16 37 35
2. เทคโนโลยี 7 5 1 1 9 11 6 7 2 4 22 27
2.1 โครงสร้างการควบคุม 22 19 1 2 4 10 5 5 7 12 31 33
2.2 เงินทุน 1 1 11 8 23 27 4 4 12 6 17 21
2.3 โครงสร้างเทคโนโลยี 7 11 1 1 6 8 11 12 2 3 25 29
3. ความพร้อมในอนาคต 2 1 12 11 1 2 7 6 10 15 45 50
3.1 ทัศนคติที่ปรับตัวได้ 3 2 20 19 2 1 8 8 4 12 53 58
3.2 ความคล่องตัวทางธุรกิจ 2 2 11 6 5 10 10 13 14 8 44 30
3.3 การรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ 10 5 3 4 1 1 4 12 19 22 43 51

สหรัฐอเมริกาได้อันดับ 1 เหมือนปีที่แล้ว รองลงมาคือ สิงคโปร์ได้อันดับ 2 เหมือนปีที่แล้ว ถัดมาเป็นเดนมาร์กดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ สวีเดนได้อันดับ 4 ในปีนี้ตกลงมาจากปีที่แล้ว 1 อันดับ อันดับ 5 คือ ฮ่องกง เลื่อนขึ้นมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว ส่วนไทยได้อันดับ 39 ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ

ปัจจัยที่ทำให้สหรัฐอเมริกายังคงรักษาอันดับ 1 ได้อย่างเดิม มาจากการยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้เหมือนเดิมของปัจจัยความรู้ ในขณะที่อีก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยเทคโนโลยี และปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนลง 2 และ 1 อันดับ เป็นอันดับ 7 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการยังคงรักษาอันดับไว้เหมือนเดิมของปัจจัยความรู้ ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ ที่ยังคงรักษาอันดับ 14 ไว้เหมือนปีที่แล้ว 2. ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ที่ยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ตัวชี้วัดหลักที่ทำให้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษยังคงรักษาอันดับเดิมไว้ได้ คือ ตัวชี้วัดการไหลสุทธิของนักเรียนระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดที่ส่งผลให้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ยังคงรักษาอันดับเดิมไว้ได้ ได้แก่ ตัวชี้วัดรายจ่ายทั้งหมดในการวิจัยและพัฒนา ตัวชี้วัดผลิตผลทางการวิจัยและพัฒนาในรูปของสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ตัวชี้วัดการให้ทุนสิทธิบัตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และตัวชี้วัดการศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยเทคโนโลยีเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม 3 อันดับ จากอันดับ 19 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 22 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม ได้แก่ ตัวชี้วัดการเริ่มต้นธุรกิจ ตัวชี้วัดการบังคับใช้สัญญา ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำสุดทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ ปีที่แล้วได้อันดับ 60 ส่วนปีนี้ได้อันดับ 63) ตัวชี้วัดกฎหมายการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และตัวชี้วัดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนลงเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้และปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 และ 5 อันดับ เป็นอันดับ 3 และ 10 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดทัศนคติต่อทั่วโลกที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 7 อันดับ จากอันดับ 46 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 53 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เลื่อนอันดับลงเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของตัวชี้วัดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนถึง 7 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 19 ในปีนี้

สิงคโปร์มีอันดับรวมจัดอยู่ในอันดับ 2 ในปีนี้ ซึ่งรักษาอันดับไว้เหมือนเดิมกับปีที่แล้ว เนื่องจากการยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้เหมือนเดิมของปัจจัยเทคโนโลยี และการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้ 1 อันดับ จัดอยู่ในอันดับ 2 ในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยความพร้อมในอนาคตเลื่อนอันดับลง 1 อันดับ มีอันดับ 12 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการยังคงรักษาอันดับเดิมไว้ได้ของปัจจัยเทคโนโลยี คือ ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ที่ยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้เหมือนเดิมทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการยังคงรักษาอันดับเดิมไว้ได้ของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี คือ ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และตัวชี้วัดความเร็วการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต ที่ทั้ง 3 ตัวชี้วัดยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้เหมือนปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความรู้เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ถึง 12 อันดับ จากอันดับ 22 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 10 ในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 40 อันดับ ปีที่แล้วมีอันดับ 51 ส่วนปีนี้มีอันดับ 11 ทำให้เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด ปัจจัยความพร้อมในอนาคตเลื่อนอันดับลงเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเป็นหลักจากอันดับ 6 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 11 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ คือ ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค และตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท ที่เลื่อนอันดับลง 7 และถึง 12 อันดับ จากอันดับ 9 และ 7 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 16 และ 19 ในปีนี้ ตามลำดับ

เดนมาร์กได้อันดับรวมเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 1 อันดับ จากอันดับ 11 และ 2 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 9 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยความรู้ยังคงรักษาอันดับ 6 ไว้เหมือนเดิมกับปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยีเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทั้งหมดซึ่งมี 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม ปัจจัยย่อยเงินทุน และปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ที่เลื่อนอันดับขึ้น 6, 4 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 4, 23 และ 6 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุมเลื่อนอันดับขึ้น คือ ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 22 อันดับ มีอันดับ 42 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 20 ทำให้เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด การเลื่อนอันดับขึ้น 3, 2 และ 8 อันดับ เป็นอันดับ 6, 11 และ 35 ในปีนี้ของตัวชี้วัดการให้ทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี ตัวชี้วัดการบริการทางการเงินและธนาคาร และตัวชี้วัดการลงทุนในโทรคมนาคม ตามลำดับ ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยเงินทุน การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นจากปีที่แล้วของตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดเทคโนโลยีการสื่อสาร  ตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวชี้วัดบรอดแบนด์ไร้สาย ตัวชี้วัดความเร็วการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต และตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทค การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยความพร้อมในอนาคตเป็นผลจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ 5 อันดับ จากอันดับ 10 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ ได้แก่ ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค ตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท ตัวชี้วัดการใช้ big data และ analytics และตัวชี้วัดการถ่ายทอดความรู้

สวีเดนได้อันดับรวมจัดอยู่ที่อันดับ 4 ในปีนี้ตกลงมาจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยความพร้อมในอนาคต 1 อันดับ จากอันดับ 6 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ส่วนปัจจัยความรู้ยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนเดิมทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว และปัจจัยเทคโนโลยีมีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 7 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 6 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยความพร้อมในอนาคตเลื่อนอันดับลง ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ ที่ยังคงรักษาอันดับ 8 ไว้เหมือนเดิมทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว 2. ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ ที่เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 13 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 10 ในปีนี้ 3. ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เลื่อนขึ้น 8 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 4 ในปีนี้ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการยังคงรักษาอันดับไว้ได้เหมือนเดิมของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตัวชี้วัดการค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน และตัวชี้วัดทัศนคติต่อทั่วโลก การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจเกิดจากตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดโอกาสและอุปสรรค ที่เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 10 ในปีนี้ 2. ตัวชี้วัดความคล่องตัวของบริษัท ที่เลื่อนอันดับขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 12 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 ในปีนี้ 3. ตัวชี้วัดการถ่ายทอดความรู้ ที่เลื่อนอันดับขึ้น 9 อันดับ จากอันดับ 14 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอันดับเลื่อนขึ้นเกิดจากตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และตัวชี้วัดความปลอดภัยทางไซเบอร์  ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 10 และ 17 อันดับ จากอันดับ 22 และ 36 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 12 และ 19 ในปีนี้ ตามลำดับ

ฮ่องกง เลื่อนขึ้นมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว ปีนี้ได้อันดับรวมอยู่ที่อันดับ 5 เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต 2 และ 5 อันดับ จากอันดับ 4 และ 15 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 และ 10 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยความรู้ยังคงรักษาอันดับ 7 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยีเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุมและปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี 5 และ 1 อันดับ จากอันดับ 12 และ 3 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม คือ ตัวชี้วัดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 8 อันดับ จากอันดับ 16 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 8 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของตัวชี้วัดผู้บอกรับเป็นสมาชิกบรอดแบนด์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้และตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทค 5 และถึง 30 อันดับ จากอันดับ 18 และ 31 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 13 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดการส่งออกสินค้าไฮเทคเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด ปัจจัยความพร้อมในอนาคตมีอันดับเลื่อนขึ้นเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้และปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ 8 และ 3 อันดับ จากอันดับ 12 และ 22 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 4 และ 19 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ คือ ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนและตัวชี้วัดทัศนคติต่อทั่วโลก ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 12 และ 5 อันดับ จากอันดับ 13 และ 8 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 1 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ตัวชี้วัดความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 10 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 9 ในปีนี้

ปีนี้ไทยได้อันดับรวมอยู่ที่อันดับ 39 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยความพร้อมในอนาคต 5 อันดับ จากอันดับ 27 และ 50 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 22 และ 45 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยความรู้มีอันดับ 43 เหมือนปีที่แล้ว ดังนั้นประเทศยังคงต้องพัฒนาด้านความพร้อมในอนาคตและด้านความรู้เนื่องจากยังคงมีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีในปีนี้ และทั้งสองปัจจัยเป็นเหตุดึงรั้งให้ไทยจัดอยู่ในอันดับ 39 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากซึ่งมีทั้งอันดับต่ำในปีนี้และมีการเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา อยู่ภายใต้ปัจจัยความรู้ ที่เลื่อนอันดับลง 5 อันดับ จากอันดับ 50 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 55 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษามีอันดับต่ำสุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดในปีนี้ ตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อปัจจัยย่อยการฝึกอบรมและการศึกษา คือ ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาและตัวชี้วัดความสำเร็จของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย มีอันดับ 51 และ 41 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 58 และ 48 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดในปีนี้คู่กับตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ตอยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต ถึงแม้ปัจจัยเทคโนโลยีมีอันดับเลื่อนขึ้นและจัดอยู่ในอันดับ 22 ในปีนี้ แต่มีตัวชี้วัดภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาอย่างมาก คือ ตัวชี้วัดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ยังคงรักษาอันดับ 54 ไว้เหมือนปีที่แล้ว ส่วนตัวชี้วัดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมากพบอยู่ในทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดบุคลากรที่มีทักษะสูงเรื่องต่างประเทศเลื่อนขึ้น 13 อันดับ จากอันดับ 29 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 16 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ ปัจจัยความรู้ 2. ตัวชี้วัดการจัดการเมืองเลื่อนขึ้น 8 อันดับ จากอันดับ 35 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 27 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความสามารถพิเศษ ปัจจัยความรู้ 3. ตัวชี้วัดกฎหมายการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เลื่อนขึ้น 9 อันดับ จากอันดับ 37 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 28 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างการควบคุม ปัจจัยเทคโนโลยี  4. ตัวชี้วัดความเร็วการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตเลื่อนขึ้น 12 อันดับ จากอันดับ 32 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 20 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างเทคโนโลยี ปัจจัยเทคโนโลยี 5. ตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์เลื่อนขึ้น 14 อันดับ จากอันดับ 56 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 42 ในปีนี้ ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยทัศนคติที่ปรับตัวได้ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีอันดับดีมากในปีนี้ ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดนักวิจัยผู้หญิงที่ยังคงครองอันดับดีที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดโดยได้อันดับ 6 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 3 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยความรู้ 2. ตัวชี้วัดการบริการทางการเงินและธนาคารมีอันดับ 9 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 7 ตัวชี้วัดนี้อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยเงินทุน ปัจจัยเทคโนโลยี

คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 39 ในปีนี้ แต่ไทยยังคงต้องพัฒนาอีกหลายตัวชี้วัดดังที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากอันดับที่ได้ในปีนี้ยังคงเป็นอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดี เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับเลื่อนขึ้นมาก

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน Thailand Tech Show 2020 วิถีชีวิตใหม่ นวัตกรรม เพื่อการลงทุน

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 ในปีนี้ สวทช. ร่วมกับ 40 หน่วยงานพันมิตร จัดงาน Thailand Tech Show 2020 ในรูปแบบออนไลน์ด้วยเว็บแอปพลิเคชัน ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2563 ซึ่งผู้ร่วมงานสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการบรรยาย 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง, การนําเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีเด่นต่อนักลงทุน และนักอุตสาหกรรม, การสัมมนาวิชาการ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีครอบคลุมหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และการเจรจาธุรกิจแบบ One-on-One นักธุรกิจและผู้สนใจ ลงทะเบียนร่วมงานล่วงหน้าได้ที่ www.nstda.or.th/thailandtechshow ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย