วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2563

การประชุม Global Vaccine Summit เพื่อระดมทุนพัฒนาวัคซีนในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อ

สืบเนื่องจากการจัดการประชุมนานาชาติ “Coronavirus Global Response Pledging Conference” ในรูปแบบออนไลน์
ระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ร่วมกับผู้นำของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อระดมทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีน
ป้องกันโรคโควิด-19 ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ให้ความเห็นว่า วัคซีนจะสามารถช่วยชีวิตประชาชนได้ โดยเฉพาะ
ประชาชนพื้นที่กลุ่มเสี่ยง องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน Gavi มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการสร้าง
ระบบสาธารณสุขและโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ได้รับเงินสนับสนุน

เงินสนับสนุน 300 ล้านยูโร จากคณะกรรมาธิการยุโรปจะถูกนำไปใช้ในกิจกรรมดังต่อไปนี้

– จัดหาวัคซีนให้แก่เด็กจำนวน 300 ล้านคนทั่วโลก และช่วยชีวิตประชาชนกว่า 8 ล้านคน

– ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาให้มีอิสรภาพทางการเงิน
ในการจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

– ส่งเสริมโครงการการพัฒนาวัคซีนและแจกจ่ายไปให้แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

– ป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำของโรคโปลิโอ

– จัดสร้างคลังวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ ในอนาคต

เนื่องจากงบประมาณสนับสนุนจากการระดมทุนจะมุ่งเน้นไปยังองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน Gavi เป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทย
เช่น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และไปโอเทคที่ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาวัคซีนร่วมกัน จะประสานในการ
สร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติกับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน Gavi ในการร่วมพัฒนาวัคซีนในการต่อสู้โรคติดเชื้อ

การประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19

สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ร่วมประชุมออนไลน์ COVID-19 International online
R&I networking event จัดโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเข้ารับทราบข้อมูลงานวิจัยทั่วโลกใน
ประเด็นการจัดการกับโรคโควิด-19 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการวิจัย รวมไปถึงนำเสนอผลงานวิจัย
ของโครงการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันให้แก่เครือข่ายนักวิจัยและบุคคลการด้านนโยบายทางวิทยาศาสตร์ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล
วิทยาการด้านการรักษาโรคโควิด-19

แพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลสำหรับนักวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19

ในการประชุมนำเสนอ EU Covid-19 Data Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จัดตั้งโดยสหภาพยุโรปเพื่อให้นักวิจัยเก็บรักษา
แบ่งปัน และวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ร่วมกัน แพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูล อาทิ ลำดับพันธุกรรม โครงสร้าง
โปรตีนของไวรัส ข้อมูลจากการวิจัยระยะก่อนและหลังมีอาการของโรค ข้อมูลด้านการระบาดวิทยา ฯ สามารถเข้าถึงได้ที่
https://www.covid19dataportal.org/  โดยแพลตฟอร์ม จะรวบรวมฐานข้อมูลโครงการวิจัย ได้แก่ การศึกษาวิธีการแพร่
กระจายและการตรวจวินิจฉัยของไวรัส การวิจัยในสัตว์ทดลองและสภาพแวดล้อม การศึกษาทางระบาดวิทยา การทดลองทาง
คลินิก การศึกษาหาวิธีการป้องกันการติดเชื้อ การวิจัยและพัฒนาวิธีการรักษา การวิจัยและพัฒนาวัคซีน การศึกษาจริยธรรมของ
การวิจัย และการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

วิทยาการด้านการรักษาโรคโควิด-19

จากการนำเสนอข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 สรุปได้ดังนี้

ในงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง มีระดับไซโตไคน์ (cytokines) หลายชนิดในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ไซโตไคน์เป็นสารที่สร้างและหลั่งโดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน มีบทบาทในการตอบสนองที่รุนแรงมากเกินไป ทำให้มีการหลั่ง
ไซโตไคน์หลายชนิดสู่กระแสเลือดทันทีพร้อมกันในปริมาณมาก ก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะบางส่วน ผลมาจากปฏิกิริยา
การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม โดยการอักเสบซึ่งอาจรุนแรงจนทำให้อวัยวะนั้นทำงาน
ล้มเหลว และนำสู่การเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ในช่วงมีการระบาดได้มีการทดลองนำยาต้านไซโตไคน์บางชนิดมาทดลองใช้รักษาผู้ป่วย
เพื่อช่วยชีวิตตามความจำเป็น เช่น ใช้รักษาอาการปอดอักเสบรุนแรง การศึกษาส่วนใหญ่เริ่มต้นเดือนเมษายน 2563 และจะได้
เริ่มประเมินผลเบื้องต้นในเดือนมิถุนายน 2563

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเปิดตัวโครงการให้ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

กระทรวงการศึกษาและวิจัยของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (the Federal Ministry of Education and Research, BMBF)
ส่งเสริมการพัฒนาวัคซีนในสถาบันวิจัยท้องถิ่น เนื่องจากวัคซีนสำหรับไวรัส SARS-CoV-2 เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพ
ทางสังคมและเศรษฐกิจ โครงการสนับสนุนทุนวิจัยนี้จะช่วยเร่งการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย จุดมุ่งหมายหลักคือ
การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและสามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรมภายในปี 2564 มุ่งเน้นการสนับสนุนการทดลองทางคลินิก
ขยายขีดความสามารถวิจัย และเพิ่มกำลังการผลิต

สาขาในการให้ทุนวิจัย

โครงการสนับสนุนทุนวิจัยนี้ สนับสนุนโครงการที่สามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ดังนี้

การพัฒนาและทดสอบวัคซีนทางคลินิกในระยะ 1-3 : โดยต้องเป็นการพัฒนาวัคซีนเพื่อจัดการกับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมีการทดลอง
เบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว และการทดลองสามารถดำเนินการได้ก่อนวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563

การขยายกำลังการผลิตและความสามารถในการบรรจุ จะต้องเกิดขึ้นในโรงงานผลิตยาหรือวัคซีนในเยอรมนีเท่านั้น แต่ทุนสามาถจ้าง
หน่วยงานอื่นมาเป็นผู้รับจ้างเหมาช่วงการผลิตและบรรจุวัคซีนได้

การขยายการทดลองทางคลินิกในเยอรมนี รวมถึงการนำอาสาสมัครเข้ามาทำการทดลองทางคลินิกในระยะ 2 และ 3

นักวิชาชีพไทยในยุโรปค้นพบอัลกอริทึมตรวจสอบการเจริญเติบโตของปลาตามธรรมชาติ

นักวิจัยไทยจากสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรป2ท่าน ได้แก่ ดร.ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์ ดร.กฤษณา รุ่งเรืองศักดิ์ ทอร์ริสสัน
ได้ร่วมกันพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อช่วยตรวจสอบและติดตามการเจริญเติบโตของสุขภาวะของปลาตามธรรมชาติ (ที่ไม่ได้เกิด
จากการเพาะเลี้ยง) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญให้แก่นักชีววิทยาในการวัดผลกระทบจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
ต่อการเจริญเติบโตของปลาตามธรรมชาติได้แม่นยำ

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200921-newsletter-brussels-no06-jun63.pdf

 

พลังวิทย์ ตอน อุปกรณ์ตรวจสุขภาพมอเตอร์ รู้เร็ว ซ่อมไว แก้ไขได้ตรงจุด

นักวิจัย สวทช. พัฒนา “อุปกรณ์ตรวจสุขภาพมอเตอร์” ต้นทุนต่ำ สำหรับตรวจวัดและบันทึกการทำงานของมอเตอร์อย่างต่อเนื่องด้วยระบบ IoT (ไอโอที) ที่มีเซนเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน อุณหภูมิ และความถี่เสียงของมอเตอร์ และส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายไปยังคลาวด์แพลตฟอร์มของ NETPIE เพื่อจัดเก็บในฐานข้อมูล คำนวณ วิเคราะห์ และแสดงผลบนหน้า Dashboard แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งแจ้งเตือนความผิดปกติแบบทันท่วงทีผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (Line)

อุปกรณ์ตรวจสุขภาพมอเตอร์นี้ สามารถติดตั้งได้ง่ายที่มอเตอร์ของเครื่องสูบน้ำ ระบบทำน้ำเย็น หรือเครื่องจักรต่างๆ เพื่อช่วยตรวจสอบความผิดปกติของมอเตอร์ ลดการเสียหายแบบกะทันหัน และช่วยในการวางแผนการซ่อมบำรุงรักษา สามารถช่วยลดเวลาและต้นทุนในการบำรุงรักษาได้ 20-25% ทำให้คงประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์นระยะยาว และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

พลังวิทย์ ตอน ริสแบนด์ระบุตัวผู้ป่วยฉุกเฉิน สะดวก-รวดเร็ว-แม่นยำ

สวทช. ร่วมกับ สรพ. ริเริ่มโครงการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข หรือ 2P @Safety Tech พัฒนานวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ โดยผลงานหนึ่งในโครงการมาจากการจับคู่ระหว่าง บริษัทอินเทลลิเจ็นซ์ ซิสเท็ม คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด Startup ในโครงการของศูนย์พัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. ซึ่งเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ กับโรงพยาบาลระยอง เพื่อร่วมกันพัฒนา “ริสแบนด์” ระบบระบุตัวตนผู้ป่วยแผนกฉุกเฉิน”

โดย “ริสแบนด์” นี้มีจุดเด่นคือสามารถระบุตัวตนของผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของอาการ และกระบวนการรักษา โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากหน้าจอแสดงผล จึงช่วยลดความผิดพลาด และลดขั้นตอนในการทำงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น อุปกรณ์ชนิดนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้งานได้ซ้ำถึง 200,000 ครั้ง

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

พลังวิทย์ ตอน หนุนผู้ประกอบการสร้างรถเคลื่อนที่อัตโนมัติ

ไอแทป สวทช. ให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญแก่บริษัททริปเปิ้ล เอ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด ผลิตรถเคลื่อนที่อัตโนมัติประเภทนำทางด้วยเส้น สำหรับช่วยขนส่งของอัตโนมัติ และช่วยทำวิจัยตลาดเรื่องความเป็นไปได้ของการผลิตรถเคลื่อนที่อัตโนมัติ โดยให้ข้อมูลทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการผลิต พร้อมกับแนะนำช่องทาง รวมถึงแหล่งในการจัดหา จัดซื้ออุปกรณ์ เพื่อลดต้นทุน

จนเกิดเป็นรถเคลื่อนที่อัตโนมัติประเภทนำทางด้วยเส้นได้สำเร็จ ปัจจุบันนำไปใช้งานจริงที่โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อโรค และช่วยลดภาระงานบุคลากรในโรงพยาบาล

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2563 โดย IMD (2020 IMD World Competitiveness Ranking)

ในปี 2563 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2020 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2562-2563 โดย IMD

ประเทศ สิงคโปร์ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง ไทย
ปี 2563 2562 2563 2562 2563 2562 2563 2562 2563 2562 2563 2562
อันดับรวม 1 1 2 8 3 4 4 6 5 2 29 25
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
3 5 21 26 18 23 1 13 28 10 14 8
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ 7 8 15 24 4 6 12 13 49 18 38 30
1.2 การค้าระหว่างประเทศ 1 1 24 28 13 29 2 3 3 4 5 6
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ 3 5 23 29 18 18 5 49 4 4 29 21
1.4 การจ้างงาน 7 7 27 31 30 29 3 11 25 17 10 3
1.5 ระดับราคา 58 58 41 37 57 57 46 39 62 62 28 29
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
5 3 4 6 2 4 11 9 1 1 23 20
2.1 ฐานะการคลัง 6 7 4 11 2 5 8 8 3 1 17 16
2.2 นโยบายภาษี 10 12 40 41 8 8 50 53 2 2 5 6
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน 7 2 1 4 2 1 4 6 11 8 40 34
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ 3 2 2 3 12 12 4 4 1 1 33 32
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม 18 9 4 2 5 8 8 7 27 20 40 48
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
6 5 1 7 9 9 4 4 2 2 23 27
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ 9 9 1 7 8 10 7 4 6 8 41 43
3.2 ตลาดแรงงาน 3 8 8 21 13 15 2 4 7 6 15 9
3.3 การเงิน 10 6 8 11 1 3 4 4 2 1 24 19
3.4 การบริหารจัดการ 14 16 1 6 16 17 15 11 3 3 21 27
3.5 ทัศนคติและค่านิยม 6 4 3 11 17 21 9 5 5 3 20 26
4. โครงสร้างพื้นฐาน 7 6 2 3 3 2 9 8 14 22 44 45
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน 18 11 4 7 6 8 9 6 2 3 26 27
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี 1 1 5 7 9 8 3 3 7 18 34 38
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ 15 14 9 10 2 4 13 15 23 23 39 38
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม 23 23 2 3 5 1 15 16 17 20 49 55
4.5 การศึกษา 2 2 1 1 3 9 14 12 11 16 55 56

สิงคโปร์ยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว รองลงมาคือ เดนมาร์ก ซึ่งปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 6 อันดับ ถัดมาเป็นสวิตเซอร์แลนด์ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ เนเธอร์แลนด์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ อันดับ 5 คือ ฮ่องกง ซึ่งตกลงมา 3 อันดับจากปีที่แล้วเคยเป็นอันดับ 2 ส่วนไทยได้อันดับ 29 ตกลงมาจากปีที่แล้ว 4 อันดับ ได้อันดับ 25 ในปีที่แล้ว

สิงคโปร์ยังคงครองอันดับ 1 เหมือนปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ 2 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ และการเลื่อนอันดับลงของ 3 ปัจจัยที่เหลือ ได้แก่ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน จากอันดับ 3, 5 และ 6 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5, 6 และ 7 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศที่เลื่อนอันดับขึ้น 1 และ 2 อันดับ จากอันดับ 8 และ 5 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับลง คือ 1. ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบันเลื่อนอันดับลง 5 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 ในปีนี้ 2. ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมเลื่อนอันดับลงถึง 9 อันดับ จากอันดับ 9 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 18 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการเงินและปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม 4 และ 2 อันดับ เป็นอันดับ 10 และ 6 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับลง ปัจจัยย่อยที่มีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน คือ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เลื่อนอันดับลงถึง 7 อันดับ จากในปีที่แล้วได้อันดับ 11 ส่วนปีนี้ได้อันดับ 18

เดนมาร์กได้อันดับ 2 ในปีนี้เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อนถึง 6 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยทั้งหมดซึ่งมี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 5 อันดับ มีอันดับ 21 ในปีนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอันดับอยู่ระดับปานกลางมาหลายปี 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ มีอันดับ 4 ในปีนี้ 3. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ เป็นอันดับ 1 ในปีนี้ 4. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อยจากทั้งหมดมี 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน โดยเฉพาะปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 9 อันดับ จากอันดับ 24 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 15 ในปีนี้ เช่นเดียวกันปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับดีขึ้นเนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อยจากทั้งหมดซึ่งมี 5 ปัจจัยย่อย คือ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง  ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ โดยเฉพาะปัจจัยย่อยฐานะการคลัง มีอันดับดีขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 11 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 4 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของทั้งหมดซึ่งมี 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ ปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ปัจจัยย่อยการเงิน  ปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยตลาดแรงงาน ซึ่งมีอันดับดีขึ้นจากปีที่แล้วถึง 13 อันดับ เป็นอันดับ 8 ในปีนี้ ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ในขณะที่การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกันเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย (มีทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย) เล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

สวิตเซอร์แลนด์ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ มีอันดับ 3 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ 5 และ 2 อันดับ จากอันดับ 23 และ 4 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 18 และ 2 ในปีนี้ ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจมีอันดับอยู่ในระดับดีปานกลางมาหลายปี ส่วนอีก 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเท่าเดิมที่อันดับ 9 ทั้งในปีที่แล้วและปีนี้และลดอันดับลง 1 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ที่เลื่อนอันดับขึ้นถึง 16 อันดับ เป็นอันดับ 13 ในปีนี้ ส่วนปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยเดียวกันมีอันดับต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับ 57 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยฐานะการคลังและปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคม 3 อันดับ จากอันดับ 5 และ 8 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 และ 5 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ

เนเธอร์แลนด์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นมากถึง 12 อันดับของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ จากอันดับ 13 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 1 ในปีนี้ ส่วนอีก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับเลื่อนลง 2 อันดับ เป็นอันดับ 11 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับ 4 เท่าเดิมทั้งปีที่แล้วและปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 9 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของ 4 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน โดยเฉพาะปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศเลื่อนอันดับดีขึ้นถึง 44 อันดับ จากอันดับ 49 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5 ในปีนี้ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นมากของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ

ฮ่องกงได้อันดับ 5 ในปีนี้ตกลงมา 3 อันดับเคยเป็นอันดับ 2 ในปีที่แล้ว เกิดจากการเลื่อนอันดับลงอย่างมากของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจถึง 18 อันดับ จากอันดับ 10 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 28 ในปีนี้ ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ครองอันดับ 1 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้และในอีกหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ครองอันดับ 2 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้และในอีกหลายปีที่ผ่านมาได้อันดับ 1 ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเลื่อนอันดับดีขึ้น 8 อันดับ จากอันดับ 22 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 14 ในปีนี้ เป็นปัจจัยที่มีอันดับอยู่ในระดับดีปานกลางนานหลายปี การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศถึง 31 อันดับ จากอันดับ 18 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 49 ในปีนี้ และการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยการจ้างงานถึง 8 อันดับ จากอันดับ 17 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 25 ในปีนี้ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับลงอย่างมากของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ

สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 29 ตกลงมาจากปีที่แล้ว 4 อันดับ ได้อันดับ 25 ในปีที่แล้ว เนื่องจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ 6 และ 3 อันดับ จากอันดับ 8 และ 20 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 และ 23 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนขึ้น 4 และ 1 อันดับ จากอันดับ 27 และ 45 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 23 และ 44 ในปีนี้ ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจมีอันดับค่อนไปในทางที่ดีมานานหลายปี ในขณะที่ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจมีอันดับดีปานกลางมาหลายปี ส่วนปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับค่อนไปในทางที่ไม่ดีมาหลายปี ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน โดยปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศลดอันดับลงถึง 8 อันดับ ปีที่แล้วได้อันดับ 30 และ 21 ส่วนปีนี้ได้อันดับ 38 และ 29 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศเป็นปัจจัยย่อยที่มีอันดับเลื่อนลงมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ส่วนปัจจัยย่อยการจ้างงานลดอันดับลง 7 อันดับ จากอันดับ 3 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 10 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยหลักที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ คือ ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบันที่เลื่อนอันดับลงถึง 6 อันดับ ปีที่แล้วได้อันดับ 34 ส่วนปีนี้ได้อันดับ 40 ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุดถึง 8 อันดับ จากอันดับ 48 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 40 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากในปีนี้ ได้แก่ ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศและปัจจัยย่อยนโยบายภาษี ซึ่งได้อันดับ 5 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 6 อยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ ตามลำดับ คงเป็นข่าวดีที่ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและปัจจัยย่อยการศึกษาซึ่งทั้งสองปัจจัยย่อยอยู่ภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับที่ต่ำมากและต่ำที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดในปีที่แล้ว ตามลำดับ  มีอันดับเลื่อนขึ้น 6 และ 1 อันดับ จากอันดับ 55 และ 56 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 49 และ 55 ในปีนี้ ตามลำดับ แต่ปัจจัยย่อยการศึกษายังคงครองตำแหน่งปัจจัยย่อยที่มีอันดับต่ำที่สุดในปีนี้

คงเป็นข่าวดีสำหรับสิงคโปร์ที่ยังคงครองอันดับ 1 ได้เหมือนปีที่แล้ว แต่สำหรับไทยคงต้องพัฒนาอีกหลายด้าน เนื่องจากในปีนี้ไทยมีอันดับลดลง 4 อันดับ โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ถึงแม้ทั้งสองด้านจะได้รับการพัฒนาขึ้นบ้างจากปีที่แล้ว แต่ยังคงมีอันดับที่ไม่ดีในปีนี้ เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมที่ดีขึ้นมาก

พลังวิทย์ ตอน น้ำยาทำความสะอาดคอยล์เย็นเครื่องปรับอากาศสูตรนาโนอิมัลชั่น

สวทช. ร่วมกับบริษัทแพ็ค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด วิจัยและพัฒนาสูตรน้ำยาทำความสะอาดคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศ ที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่สะสมบนคอยล์เย็น สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกรวมทั้งคราบไขมัน ด้วยเทคนิคนาโนอิมัลชั่น ทำให้เกิดความคงตัว ไม่ตกตะกอนอุดตันหัวฉีด และสามารถเก็บไว้ได้นาน

โดยสูตรที่พัฒนาขึ้นนี้ ไม่กัดกร่อนหรือทำลายแผงคอยล์เย็น และอุปกรณ์ปรับอากาศภายในเครื่อง อีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้ และไม่ปลดปล่อยสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ องค์ประกอบของสูตรน้ำยาทำความสะอาดที่พัฒนาขึ้นนี้ ยังใช้วัตถุดิบที่หาซื้อได้ในประเทศ ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ และมีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

งานวิจัยที่ร้อนแรงที่สุดในปี 2008

ตามธรรมเนียมปฏิบัติในการตีพิมพ์บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทุกๆ บทความต้องมีการอ้างอิงบทความวิจัยก่อนหน้าเพื่อเป็นการแสดงถึงการยอมรับคุณค่า + การเชื่อมต่อของเนื้อหาเดิมที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานเพื่อให้เกิดงาน ใหม่/สิ่งค้นพบใหม่

บริการ Science Watch (sciencewatch.com) ของ Thomson Reuters ทำการศึกษาแนวโน้มของการวิจัยวิทยาศาสตร์โดยใช้หลักการการวิเคราะห์ข้อมูล การอ้างอิงเป็นหลัก (citation analysis) ด้วยการติดตามแกะรอย (tracked) อย่างรอบคอบ พิถีพิถัน เพื่อตรวจนับวัดถึงความสำเร็จ/สำคัญของงานวิจัยที่ได้รับความสนใจ มีการอ้างอิงถึง แม้ว่าขณะนี้ข้อมูลการอ้างอิงมิใช่ตัวชี้วัดถึงความสำคัญของบทความเพียงค่าเดียว

สรุปผลระบุหัวข้อวิจัยที่ร้อนแรงจากสาขาวิชาหลักทางวิทยาศาสตร์ 4 สาขา ดังนี้

สาขาชีววิทยา (Biology) พบว่าหัวข้อวิจัยเรื่อง Cellular Autophagy มีจำนวนบทความสูงขึ้นตลอดมาตั้งแต่ปี 2004 ที่มีจำนวนบทความสูงขึ้นตลอดมาตั้งแต่ปี 2004 ที่มี 200 บทความในปี 2008 มีบทความสูงถึง 1000 เรื่อง โดยนักวิจัยทำการศึกษาค้นหาข้อเท็จจริงในการป้องกันเชื้อโรค + ความเติบโตของเชื้อโรค

สาขาแพทยศาสตร์ (Medicine) พบว่ามีงานวิจัยในหัวข้อ  Pluripotent Stem Cell มีความเข้มแข็งมาก เซลล์ประเภทนี้มีการค้นพบเมื่อปี 2006 ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญที่อาจช่วยให้นักวิจัยสามารถได้รับ Pluripotent Stem Cell ในการวิจัยโดยไม่ต้องใช้เซลล์ตัวอ่อน embryos

สาขาฟิสิกส์ (Physics)  หัวข้อการวิจัยที่ร้อนแรงที่สุดคือเรื่องวัสดุที่บางที่สุด  ( The thinnest material)  ที่ชื่อว่า Graphene ซึ่งประกอบด้วยชั้นโมเลกุลเดี่ยวของอะตอมคาร์บอน (Single molecular layer of carbon atoms) โดยมีการถูกนำไปใช้โดยบริษัท IBM ในการประดิษฐ์ field-effect transistors (FETs)

สาขาเคมี (Chemistry)  หัวข้อเรื่อง ตัวนำกระแสไฟฟ้ายิ่งยวดแบบแม่เหล็ก Iron based superconductors ได้เปิดเผย แสดงให้เห็นสมาชิก/สกุลใหม่ของสารประกอบตัวนำยิ่งยวดที่ในที่สุดในอนาคตอาจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งผ่าน (transferring) และการกักเก็บ (storing) กระแสไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้นได้

นอกจากนี้ David ยังได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการทำนายรางวัลโนเบล Thomson Reuters Nobel Prize Prediction ที่มีการนำเสนอทุกปี และบทความงานวิจัยในวารสารต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาแล้วมีการจัดลำดับจาก modern classic เหมาะสมเป็น most cited articles David ใช้ข้อมูลหลักในการวิเคราะห์จาก Esential Science Indicators, ESI ทั้งจาก 2 หัวข้อคือ Hot Paper + Research Fronts ในสาขา Medicine/Molecular Bioloty/Physics/Chemistry

รายละเอียดเพิ่มเติม


เรียบเรียงโดย นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่ ศูนย์บริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี STKS สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

 

 

รายงานข้อมูลวิชาการอุตสาหกรรมเป้าหมายเรื่อง หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม จากเอกสารบทความวิจัยและสิทธิบัตร

ตามที่ประเทศไทยมีนโยบายผลักดัน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) จำนวน 10 คลัสเตอร์  ซึ่งอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)  เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้บอกรับเป็นสมาชิกฐานข้อมูลวิชาการที่เป็นบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ ชื่อ Scopus ที่ครอบคลุมบทความวิจัยจากวารสารวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลก และฐานข้อมูลเอกสารสิทธิบัตรที่ครอบคลุมสำนักสิทธิบัตรทั่วโลกชื่อว่า Thomson Innovation ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถแสดงเป็นแผนที่ของข้อมูลชุดหนึ่งๆ ที่สนใจได้ เรียกว่า ThemeScape Map  ที่ช่วยให้ผู้สืบค้นสามารถสรุป ตีความ ข้อมูลเทคโนโลยีในเอกสารสิทธิบัตรจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย

สวทช. ได้ใช้หลักการ Technology Readiness Level (TRL) เป็นเครื่องมือในการกำหนดแนวทางบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งมี 9 ระดับ โดยที่ TRL1 คือ Literature Review : Basic Principle Observed and Reported ซึ่งเป็นงานที่ STKS สามารถปฏิบัติได้ พร้อมให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายวิจัยนโยบาย และฝ่ายกลยุทธ์องค์กร สวทช.

รายงานฉบับนี้ขอนำเสนอรายการบทความวิจัยและสิทธิบัตรของหัวข้อ “หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Robot)” ที่ STKS สืบค้นจากฐานข้อมูล Scopus, Thomson Innovation และ Frost & Sullivan

บทสรุปจากรายงาน

ผลจากการสืบค้นเพื่อตรวจสอบผลงานการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) และผลงานด้านสิทธิบัตร(Patenting) ในระดับนานาชาติ จากฐานข้อมูลวิชาการระดับโลก สามารถสรุปได้ว่าทั่วโลกมีการทำวิจัยและยื่นขอจดสิทธิบัตรในหัวข้อเรื่อง หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Robot) เพิ่มมากขึ้นตลอดมาตั้งแต่ในช่วงปี 2006 -2017 โดยประเทศจีน เป็นผู้นำการวิจัยสูงสุด จากหน่วยงานวิจัยคือ Harbin Institute of Technology, Beihang University, South China University of Technology เป็นต้น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำการวิจัยลำดับที่สอง สาขาวิชาหลักในการวิจัยคือ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพงานวิจัยในเรื่อง หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม โดยพบผลงานวิจัยของสถาบันในไทย  เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น โดยที่ เนคเทค สวทช. มีบทความวิจัยในเรื่องนี้ด้วย

ส่วนสิทธิบัตรพบว่ามีการยื่นขอในประเทศสหรัฐอเมริกามากที่สุด บริษัทเจ้าของสิทธิบัตรสูงสุดคือ Kuka Roboter GMBH ประเทศเยอรมนี ส่วนหัวข้อย่อย robot arm, tool measurement เป็นหัวข้อย่อยที่พบสูงสุดตามการวิเคราะห์กลุ่มคำ ตามลำดับ รวมถึงพบรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มล่าสุดของปี 2016-2017 ของหุ่นยนต์เรื่องอุตสาหกรรม จากแหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียง Frost & Sullivan อีกด้วย

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม

หน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย : Research Metrics

คำนำ และ ความหมาย (Definitions)

วงการวิจัยวิทยาศาสตร์ มีความต้องการวัดคุณภาพงานวิจัยวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับวงการอื่นๆ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพโดยรวม จุดแข็ง จุดอ่อน การเปรียบเทียบ ฯลฯ โดยเฉพาะผู้ให้ทุนวิจัย (Funder) ผู้บริหารองค์กรวิจัย (Research institutes) นักวิทยาศาสตร์ บรรณารักษณ์ ต่างต้องการให้สามารถทำการประเมินคุณภาพงานวิจัยในทุกๆระดับ คือ ระดับบทความวิจัย ระดับวารสารวิชาการ ระดับนักวิทยาศาสตร์ ระดับองค์กร ระดับประเทศ โดยให้มีวิธีการวัด หน่วยวัดที่ชี้ได้ถึง ความสมเหตุสมผลแสดงได้ถึงคุณภาพงานวิจัย เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาระบบงานวิจัยต่อไป และสามารถตรวจสอบหา Performance, Benchmarking & Collaboration ของระดับนักวิทยาศาสตร์ ระดับองค์กร ระดับประเทศได้ รวมถึงสำรวจหาแนวโน้ม (Trends) ของงานวิจัยในหัวข้อหนึ่งๆ ในระดับโลกได้อีกด้วย

การศึกษาเรื่องนี้มีชื่อว่า Bibliometrics หมายถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติ คือการนับจำนวน สิ่งพิมพ์วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะบทความวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ จำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัย และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อเป็นการประเมินผลกระทบของคุณภาพงานวิจัย (ในภาษาไทยอาจมีชื่อว่า บรรณมาตร บรรณมิติ ดัชนีวรรณกรรม ดรรชนีวรรณกรรม)

Bibliometrics คือการศึกษาถึงวิธีการวัด (Measure) สารสนเทศ หรือข้อความชุดหนึ่ง มีพัฒนาการมายาวนานกว่า 40 ปี นับเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการประเมินงานวิจัย จัดอยู่ในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มากมาย ( Bibliometrics, Scientometrics และ Informetrics ทั้ง 3 คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน)

วิธีการของ Bibliometrics สามารถค้นหาผลกระทบ (Impact) ได้ในทุกระดับ คือ ระดับบทความ (Paper) ระดับสาขาวิชา (Field) ระดับนักวิจัย (Researcher) ระดับสถาบัน (Institutes / Affiliations ) และระดับประเทศ (Country )

นอกจากนี้  Bibliometrics ยังมีการนำไปใช้เพื่อตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอ้างอิงของวารสารวิชาการ ข้อมูลการอ้างอิงถือว่ามีความสำคัญ ดัชนีการอ้างอิงฐานข้อมูล Web of Science ที่ผลิตโดยบริษัท Clarivate Analytics (เดิมคือบริษัท Thomson Reuters) และฐานข้อมูล Scopus ของสำนักพิมพ์ Elsevier B.V. มีฟังชั่นให้ผู้สืบค้นสามารถค้นบทความที่อ้างอิงกันไปมาได้ ดัชนีการอ้างอิงสามารถสื่อถึงความเป็นที่นิยม มีผลกระทบต่อบทความ ผู้แต่ง และวารสาร

Bibliometrics เป็น Truly Interdisciplinary Research มีกลุ่มหลักที่ศึกษา 3 กลุ่ม คือ

  1. Bibliometrics for Bibliometricians (เน้น Methodology หาวิธีการ เทคนิคต่าง ๆ ในการวัด)
  2. Bibliometrics for scientific disciplines (Scientific information) เป็นกลุ่มที่มีความสนใจกว้างขวางมากที่สุด มุ่งเน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. Bibliometrics for Sciences Policy & Management (เป็นกลุ่มที่ศึกษาในระดับชาติ ภูมิภาค สถาบัน ด้วยการแสดงแบบเปรียบเทียบหรือพรรณา)

การประยุกต์ดัชนี Bibliometrics แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. เชิงปริมาณ (Quantitative) ได้แก่ข้อมูล
    – จำนวนบทความ (No. of Publications) ตามชื่อนักวิจัย สถาบัน ประเทศ สาขาวิชา แบบรายปี เป็นต้น
    – จำนวนการได้รับการอ้างอิง (No. of Citations : Citing, Times Cited)
    – จำนวนที่มีผู้เขียนร่วม (No. Co-Authors)
    – จำนวนสิทธิบัตร (No. Patents) การยื่นขอจดสิทธิบัตรจากพลเมืองตนเองหรือต่างชาติ
  2. เชิงความสัมพันธ์ (Relation)
    – ดัชนีผลงานตีพิมพ์ร่วมกัน (ความเป็นนานาชาติ)
    – ดัชนีเชื่อมโยงจากบทความอ้างอิง (หาคำตอบประเทศใดอ้างอิงถึงประเทศใดบ้าง)
    – ดัชนีสัมพันธ์บทความวิชาการกับเอกสารสิทธิบัตร
    – ดัชนีอ้างอิงบทความร่วมกัน (วัดหาการอ้างอิงจากหลายบทความไปยังบทความเดียวกัน) ฯลฯ

หน่วยงานผู้ให้ทุนวิจัยและมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีระบบบริหารจัดการการให้ทุนวิจัย รวมถึงมีระบบติดตามผลงานและผลกระทบ (Impact) จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น Web of Science, Scopus, SciVal, InCites ฯลฯ เพื่อให้สามารถเห็นภาพรวมและกำหนดทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยในมิติต่างๆ ได้เช่น การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งทางการวิจัย วิเคราะห์หาสาขาที่มีความชำนาญ หัวข้อวิจัยที่อยู่ในกระแสหลักระดับโลก หรือความต้องการของประเทศ ตลอดจนถึงการประเมินความสามารถของนักวิจัยรายบุคคล เป็นต้น เพื่อจะได้นำไปสู่การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์หาความร่วมมือทางด้านการวิจัยระหว่างองค์กร ระหว่างภูมิภาค ระหว่างประเทศ (Research Collaboration) หากพบว่าบทความวิจัยที่มีผู้แต่งร่วมอยู่ในสถาบันต่างประเทศที่มีความเข้มแข็งทางการวิจัย เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น มีแนวโน้มจะได้รับการอ้างอิง (citation) สูง และเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดี ควรให้การสนับสนุนให้ทุนวิจัยเพื่อเกิดความร่วมกัน

เครื่องมือ / แหล่ง (ฐาน) ข้อมูลที่เป็นข้อมูลดิบในการวัดและประเมินคุณภาพงานวิจัยวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญมีหลายแหล่งคือ

  • Web of Science – https://webofknowledge.com ให้ข้อมูลรายการบทความวิจัยและการอ้างอิง (แบบบอกรับเป็นสมาชิก)
  • Scopus – https://scopus.com ให้ข้อมูลรายการบทความวิจัยและการอ้างอิง (แบบบอกรับเป็นสมาชิก)
  • Google Scholar – https://scholar.google.co.th (ฟรี)
  • SciVal – https://www.scival.com แพลทฟอร์มที่สรุปภาพรวมของกิจกรรมการวิจัยทั่วโลก (แบบบอกรับเป็นสมาชิก)
  • InCites – https://incites.thomsonreuters.com/ แพลทฟอร์มที่สรุปภาพรวมของกิจกรรมการวิจัยทั่วโลก (แบบบอกรับเป็นสมาชิก)

หน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย สามารถวัดได้ในหลายระดับ คือ

  • Article Metrics วัดระดับบทความวิจัยเป็นเรื่องๆ หรือ หัวข้อหนึ่งๆ เช่น Citation Tracking
  • Author Metrics วัดบทความวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชื่อหนึ่งๆ เช่น Number of Publications , h-index
  • Journal Metrics วัดคุณภาพวารสารวิจัยจากจำนวนการตีพิมพ์บทความและจำนวนการได้รับการอ้างอิง เช่น
    ค่า Impact Factor, IF
    ค่า Eigenfactor
    ค่า CiteScore
    ค่า SNIP – Source Normalized Impact per Paper
    ค่า SJR – SCImago Journal Rankings
  • Institutional Metrics ตรวจสอบภาพรวมและแสดงหน่วยวัดขององค์กร ได้ที่ SciVal, InCites
  • Emerging Metrics หรือ Altmetrics ย่อมาจาก Alternative Metrics คือหน่วยวัดงานวิจัยที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัลได้แก่จำนวน page views, downloads, saves to social bookmarks, tweets, Facebook mentions, Wikipedia mentions จากแหล่งข้อมูลที่ให้บริการ ต่างๆ ทั้งแบบฟรีและบอกรับเป็นสมาชิก
    แหล่งฟรี เช่น Academia.edu, CiteULike, figshare, Peer Evaluation, ResearchGate
    แหล่งบอกรับเป็นสมาชิก เช่น ImpactStory, Publish or Perish, Altmetric.com, PlumX

อาจแบ่งประเภทของหน่วยวัดของงานวิจัยได้เป็น

Productivity Metrics เช่น Scholarly output, Output in Top Percentiles, Publication in Top Percentiles
Citation Impact Metrics เช่น Citation counts, Citation per publication, h-index
Collaboration Metrics เช่น Geographical
Disciplinarity Metrics เช่น Journal count, Journal category count
Usage Metrics เช่น View count, Download count

วิวัฒนาการของการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการ  The Evolution of Journal Evaluation

ชุมชนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโลก ได้พึ่งพาสิ่งพิมพ์วิชาการโดยเฉพาะวารสารวิชาการ (Scholarly Journal ) ให้เป็นแหล่งตีพิมพ์ผลงานเพื่อเผยแพร่  โดยมีการนำเสนอความคิดใหม่ การทดลองใหม่ การค้นพบความรู้ใหม่ หรืออื่นๆ ได้ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วโลก วารสารวิชาการส่วนใหญ่มีขนวบการ peer review  และเมื่อพูดถึงวารสารวิชาการที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด (most influential journals) นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างพูดทันทีถึงค่า Impact Factor, IF ที่ตีพิมพ์ในบริการชื่อ Journal Citation Report, JCR ของบริษัท Clarivate Analytics (ชื่อเดิม ISI Thomson Reuters) เป็นบริการที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี

ค่า IF คือ ค่าเฉลี่ยของจำนวนการได้รับการอ้างอิงของบทความในวารสารชื่อหนึ่ง ต่อ จำนวนบทความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้น ในช่วง 2 ปี  JCR ออกบริการแบบรายปี และ JCR ชุดใหม่เริ่มมีการคิดค่า IF แบบช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีการนำค่า IF ไปใช้ในทางที่ผิด (misuse)  ซึ่งเป็นการกระทำที่สืบทอดกันมาจากรุ่นก่อนๆ ถือเป็นเรื่องน่ากลัว คือ มีการนำค่า IF ไปวัดถึงบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารรวมถึงวัดถึงผู้แต่งหรือ นักวิทยาศาสตร์อีกด้วย

การตัดสินคุณภาพของนักวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากยิ่ง ต้องในผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นเป็นผู้ประเมินด้วยขนวบการ peer review ประเมินคุณภาพในแต่ละบทความวิจัยโดยตรง

วิธีการคำนวณหาค่า IF คือวิธีการศึกษาในสาขา Bibliometrics ซึ่งมีคำจำกัดความดังนี้ “The statistical analysis of bibliographic data, mainly in scientific and technical literatures. It measures the amount of scientific activity in a subject category / journal / country/ topic or other area of interest. ”

นัก Bibliometrician มีการนำเสนอหน่วยวัดวารสารหลากหลายค่า เพื่อปรับปรุงแก้ไขตามคำวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียง กันในชุมชนวิจัยวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อให้มีหน่วยวัดหลากหลาย ด้วยวิธีการที่อยู่บนหลักการของ จำนวนบทความ ( Number Publications) จำนวนการได้รับการอ้างอิง ( Number Citations) จำนวนการใช้ (Usag) และอื่นๆ มีการสรุปว่า ขณะนี้ ยังไม่มีหน่วยวัดที่สมบูรณ์ เพียงพอ ในการวัดถึงผลกระทบของวารสารที่แท้จริง ค่า IF เป็นเพียงผิวๆ / เส้นรอบวง (periphery) ของตาชั่ง

ขณะนี้ มีการนำเสนอหน่วยวัดคุณภาพวารสาร ชุดใหม่ ที่ชื่อ Eigenfactor ที่ทำการจัดอันดับวารสารวิชาการที่ทรงอิทธิพลด้วยวิธีการเดียวกับ Google จัดอันดับเว็บไซต์ ด้วยอัลกอธิธัมที่ชื่อ Network Theory ทำการจัดลำดับวารสารตามอิทธิพลหากมีการอ้างอิงบทความภายในเล่มในจำนวนมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ประวัติพัฒนาการของหน่วยวัด เพื่อประเมินคุณภาพวารสารวิชาการ มีมายาวนานกว่า 50 ปี 

ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญ (Timelines) ของการศึกษา Bibliometreics มีดังนี้

ปี ค.ศ. 1960 Dr. Eugene Garfield ได้นำเสนอแนวคิดในการนำข้อมูลการอ้างอิงมาวัดคุณภาพวารสาร โดยตีพิมพ์บทความในวารสาร Science เมื่อปี 1955
ปี ค.ศ. 1961 Dr. Eugene Garfield ก่อตั้งสถาบัน Institute for Science Information (ISI)
ปี ค.ศ. 1963 ISI เปิดบริการฐานข้อมูล Science Citation Index, SCI เสนอบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ที่มีข้อมูลการอ้างอิง
ปี ค.ศ. 1970 เกิดฐานข้อมูล Social Science Citation Index เป็นการนำเสนอบทความวิจัยสังคมศาสตร์ที่มีข้อมูลการอ้างอิง
ปี ค.ศ. 1976 เกิดบริการ Journal Citation Report, JCR นำเสนอค่า Journal Impact Factor, JIF
ปี ค.ศ. 1979 มีการตีพิมพ์วารสารชื่อ Scientometrics ขึ้นเป็นฉบับแรก
ปี ค.ศ.1980 เกิดฐานข้อมูล Arts & Humanities Citation Index เสนอบทความวิจัยมนุษยศาสตร์ที่มีข้อมูลการอ้างอิง
ปี ค.ศ. 1988 ISI เปิดบริการฐานข้อมูล SCI บน แผ่น CD-ROM
ปี ค.ศ. 1990 ISI นำเสนอข้อมูล Indicators Datasets & Citation Report
ปี ค.ศ. 1992 บริษัท Thomson Reuters เข้าซื้อกิจการและบริการของ ISI
ปี ค.ศ. 1995 Thomson Reuters เปิดบริการ ISI แบบเว็บเบส – ในชื่อ Web of Knowledge
ปี ค.ศ. 1997 Thomson Reuters ให้บริการออนไลน์ชุดใหม่ ชื่อ Web of Science – Core Collection
ปี ค.ศ. 2000 Thomson Reuters เปิดบริการ Essential Science Indicators, ESI
ปี ค.ศ. 2004 สำนักพิมพ์ Elsevier เปิดบริการฐานข้อมูล Scopus คู่แข่งของ Web of Science
ปี ค.ศ. 2005 Prof. Jorge E. Hirsch คิดค้นและเสนอหน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย h- index
ปี ค.ศ. 2007 มีการเสนอหน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย Eigenfactor Metrics
ปี ค.ศ. 2008 บริการ Web of Knowledge ได้เพิ่มหน่วยวัดค่า h-index ในฐานข้อมูล
ปี ค.ศ. 2008 Thomson Reuters ได้เพิ่ม Citation mapping tool ในฐานข้อมูล Web of Science
ปี ค.ศ. 2011 Thomson Reuters เปิดบริการใหม่ Book Citation Index
ปี ค.ศ. 2011 Google ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Google Scholar Citations
ปี ค.ศ. 2014 เปิดบริการ InCites ในรุ่นที่ 2 ที่เป็นการรวมบริการเดิมคือ Essential Science Indicators และ Journal Citation Reports เข้ารวมในแพลทฟอร์มเดียวกัน
ปี ค.ศ. 2017 บริษัท Clarivate Analytics เข้าซื้อบริการฐานข้อมูล Web of Knowledge จากบริษัท Thomson Reuters

จนถึงขณะนี้ วงการวิจัยวิทยาศาสตร์ มีหน่วยวัด คุณภาพงานวิจัยวิทยาศาสตร์ หลายค่า ได้แก่

  1. Impact Factor, IF (Immediacy index, Cited half life)
  2. H index
  3. Eigenmetrics
  4. Usage Statistics (ขณะนี้มีการนำเสนอหน่วยวัดที่ชื่อ usage factor ซึ่งกำลังมีการพัฒนาอยู่ที่ Oxford University Press)
    จากหน่วยวัด 3 ค่าหลักข้างต้น ทุกๆหน่วยต่างก็ใช้ข้อมูลการอ้างอิง (citation count) เป็นสำคัญ

เหตุผลในการใช้ข้อมูลการอ้างอิง ในการวัด performance ของงานวิจัย คือ 

การอ้างอิงถึงบทความอื่นๆ หมายความว่ามีการใช้ (use) / เป็นการตอบรับ (reception) / เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ (utility) / การมีอิทธิพล (influence) / มีความสำคัญ (significance) / มีผลกระทบ (impact) ฯลฯ  แต่ไม่ได้วัดถึงคุณภาพ การประเมินคุณภาพต้องเป็นการตัดสินด้วยมนุษย์เท่านั้น

ข้อมูลการอ้างอิง เป็นดัชนีชี้ถึงผลกระทบต่อบทความวิจัยและมีผลประโยชน์ต่อชุมชนวิจัยทั่วโลก ถือเป็นการแสดงถึงรูปแบบการตรวจทานที่ยอมรับ (peer acknowledge) จากนักวิทยาศาสตร์กลุ่มงานวิจัยในสาขาเดียวกันนั้น

ขนวบการ peer review ยังคงเป็นวิธีการรากฐานของการประเมินคุณภาพงานวิจัย ฉะนั้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณไม่ควรเข้ามาแทนที่การ peer review ควรเป็นเพียงสิ่งที่มาเสริมให้สมบูรณ์และใช้ให้ถูกต้องตามแต่ละกรณี

หน่วยวัด citation ดีพอสำหรับการวัด กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่

Citation metrics มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ Transparent โปร่งใส / Repeatable ใช้ซ้ำได้ / Understand เข้าใจได้

ข้อเด่นในการนำไปใช้ คือ
– สำหรับชุมชนที่ 3 ใช้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนได้
– เชื่อถือได้ เพราะมีแหล่งข้อมูลให้ตรวจสอบได้
– ปรับใช้ตามที่ต้องการได้

โดยหน่วยวัด 3 ประเภทที่สำคัญนั้น อยู่บนหลักการที่อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. Impact Journal Metrics
    – เป็นการนับจำนวนการได้รับการอ้างอิง ต่อจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (ในวารสาร)
    – เป็นวิธีที่ง่าย เข้าใจได้
    – เป็นหน่วยวัดที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในชุมชนวิจัยทั่วโลก คือค่า JIF, Immediacy index, Time half life index
  2. H Family
    – อยู่บนหลักการเรียงลำดับจากสูงสุดไล่เรียง ของจำนวนบทความตีพิมพ์
    – เป็นหน่วยวัดที่ง่าย เข้าใจได้
    – สามารถนำประยุกต์ได้กับทุกระดับ คือ วารสาร นักวิทยาศาสตร์ สถาบัน ประเทศ
  3. Influence Metric
    – เป็นการให้ค่าน้ำหนักในการวัดของโครงสร้างเครือข่ายของการอ้างอิงทั้งหมด
    – คิดหน่วยวัดเป็น 2 ค่าหลัก คือ Eigenfactor Influence (EI) / Article Influence (AI)

ค่า Journal Impact factor, JIF
วิธีการคำนวณหาค่า Journal Impact Factor, JIF
คำจำกัดความ หมายถึงสัดส่วนระหว่าง จำนวนการได้รับการอ้างอิง / จำนวนบทความที่ตีพิมพ์
JIF = current year cites to items published in 2 preceeding years
Number of articles (citable items) exclude editorials, letter, news, meeting abs.

ประเด็นที่เกิดข้อถกเถียงของค่า JIF
– Citable items ไม่มีมาตรฐานและคำจำกัดความไม่แน่ชัด
– Citation Pattern ในแต่ละสาขาวิชามีความผันแปรแตกต่างกันอย่างมาก
– การคิดค่า แค่ช่วงระยะเวลาเพียง 2 ปี เป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินไป
– ประเภทของบทความตีพิมพ์ (Review, Research article) มีความผันแปรในการอ้างอิงแตกต่างกัน
– คิดค่า JIF เฉพาะวารสาร ไม่มีสิ่งพิมพืประเภทอืนๆ
– เป็นการวัดที่บิดเบือนของการกระจายตัวของค่าต่างๆ

ค่า h index
คำจำกัดความ “A scientist has index h if h of his/her np papers have at least h citation each, and the other (Np – h) papers have less than or equal to h citation each”
คุณลักษณะของการคิดคำนวณค่า h คือ
– เป็นการนับรวมทั้งปริมาณ (size) กับผลกระทบ (impact)
– สามารถปรับ ใช้วัดได้กับสิ่งพิมพ์ทุกประเภท
– มีข้อสังเกต ว่าทำไมไม่วัดที่ค่าเฉลี่ย (median)
วิธีการคำนวณหาค่า h ดังนี้ วารสาร Nature ปี 2009 ได้ค่า h = 15 (ณ สิงหาคม 2009)

ประเด็นที่เกิดข้อถกเถียงของค่า h
– เป็นการตัด / ไม่สนใจ ดูเฉพาะบทความที่มีจำนวนการได้รับการอ้างอิงสูงเท่านั้น (highly cited paper)
– วิธีการใช้ ควรนำค่าที่คำนวณได้ไปใช้เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ
– ไม่มีกรอบของช่วงเวลา ค่า h มีแต่จะเพิ่มขึ้นเสมอ
– ใช้ค่านี้ เพื่อเป็นการยกย่อง / ชื่นชมแก่นักวิทยาศาสตร์

ค่า Eigenfactor
Eigenmetrics ประกอบด้วย 2 ค่า คือ
EigenFactor Influence Score (EI) กับ Article Influence Score (AI)
ค่า EI เป็นค่าที่มาจาก
– พิจารณาโดยใช้หลักการ Citation Network เพื่อใช้วัดถึง Citation Influence จัดอันดับวารสารเป็นลักษณะแบบเดียวกับกูเกิ้ล จัดอันดับหน้าเว็บไซต์
– ใช้ข้อมูลดิบจาก JCR ของบริษัท ISI ในช่วงระยะเวลา 5 ปี
– คิดคำนวณค่าโดยการตัด self citation ออก
– แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของรูปแบบการอ้างอิงในสาขาวิชาต่างๆ
ค่า AI มีคุณลักษณะดังนี้
– เป็นค่าที่ใช้เทียบเคียงกับค่า IF ได้
– เป็นการวัดสัดส่วนของค่า EF ต่อปริมาณจำนวนบทความ

ประเด็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับ Eigenmetric
– เข้าใจได้ยาก มีความสลับซับซ้อนมาก
– ไม่มีมาตรฐานในขนาดหรือปริมาณ
– เป็นการวัดระหว่างอิทธิพล (influence) กับผลกระทบ (impact)

สิ่งที่ควรรู้ เมื่อต้องการใช้หน่วยวัดเพื่อการประเมิน

  • วิธีการวัด/นับแบบง่าย (simple count) จากจำนวนต่างๆ เช่นจำนวนบทความตีพิมพ์ / การได้รับการอ้างอิง / ค่าเฉลี่ยการอ้างอิงต่อบทความ ถือเป็นข้อมูลสถิติเบื้องต้นและเป็นพื้นฐาน ที่วัดในช่วงเวลาหนึ่งๆ รวมทั้งมีการใช้ค่ามาตรฐานทางสถิติต่างๆ เช่น ค่าเฉลี่ย mean / median
  • เป็นการวัดข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งๆ (time series data) 1 ปี / 5 ปี / 25 ปี
  • การวัดแบบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ (percent share) ของจำนวนบทความ/การอ้างอิง ภายใต้ข้อมูลหลักเช่น สาขาวิชา หน่วยงาน ประเทศ
  • ความคาดหวังในความถี่ในจำนวนของการอ้างอิง (expected citation counts) ที่มีต่อบทความ คิดบนพื้นฐาน ต่อปี ต่อวารสาร ต่อนักวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาที่เกิดใหม่ / ที่มีความเข็มแข็ง (emerging field & research strengths) เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลียนแปลงรูปแบบการอ้างอิง หรือการอ้างอิงร่วมกันของสาขาวิชาใหม่
  • การเทียบเคียงกับค่ามาตรฐาน (benchmarks for context) บนหลักการของสาขาวิชา เทียบในระดับโลก ประเทศ เพื่อให้เห็นผลกระทบ
  • ปัจจัยที่มีผลต่อหน่วยวัดคุณภาพขึ้นกับ งบประมาณการวิจัย จำนวนนักวิจัย สิ่งอำนวยความสะดวกในการวิจัย

ข้อมูลหลักที่ใช้วัดความสามารถของงานวิจัยวิทยาศาสตร์
Scholarly output – หมายถึงจำนวนนับทั้งหมดของผลงานวิจัยที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์และกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่มีการสื่อสารในวงการวิชาการเพื่อเปิดเผย แสดงถึงความรู้ใหม่ที่ก้าวหน้าให้แก่วงการวิจัยได้รับรู้ ถือเป็นความสามารถในการผลิตของงานวิจัย (productivity) อันได้แก่ บทความวิจัยจากวารสาร บทความในหนังสือ โมโนกราฟ โปสเตอร์ รายงานการวิจัย เอกสารนำเสนอในการประชุม วิทยานิพนธ์ สิทธิบัตร ซอฟต์แวร์ เอกสารนำเสนอ สื่อความรู้แบบต่างๆ การทำหน้าที่กรรมการกองบรรณาธิการ กรรมการที่ปรึกษา สมาชิกของสมาคมวิชาชีพ การได้รับรางวัล การได้รับทุนวิจัย ฯลฯ หน่วยวัดนี้เป็นวิธีการวัดแบบดั้งเดิม

หน่วยวัดนี้มีประโยชน์ใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบผลผลิต (benchmark productivity) ของนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาใกล้เคียงกันและอยู่ในอาชีพในช่วงเวลาเดียวกันด้วย หรือระดับองค์กร ประเทศ ด้วย

การวัดโดยการนับเพียงปริมาณอย่างเดียวยังถือว่าเป็นการประเมินที่ไม่พอเพียง จำเป็นต้องหาหน่วยวัดค่าอื่นๆ มาประกอบด้วย

Citation Count – หมายถึง จำนวนการได้รับการอ้างอิงแสดงถึงคุณภาพ (มากกว่าปริมาณ) ของบทความวิจัยเรื่องหนึ่งๆ หัวข้อหนึ่งๆ นักวิทยาศาสตร์ชื่อหนึ่งๆ หรือ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันหนึ่ง ประเทศหนึ่ง รวมถึง วารสารวิชาการชื่อหนึ่งๆ หรือ สาขาหนึ่งๆ ซึ่งหมายถึงสามารถวัดได้จากการรวมตัวกันของทั้งระดับบทความ (Research article) ระดับนักวิทยาศาสตร์ผู้แต่งบทความ (Author) และระดับรายชื่อวารสาร (Journal)
ตัวอย่างของค่าวัดการอ้างอิงในระดับต่างๆ คือ
– ระดับบทความ เช่นหา Most-cited papers
– ระดับผู้แต่งบทความ เช่นหาค่า h-index
– ระดับชื่อวารสาร เช่นหาค่า Journal Impact Factor, JIF

หน่วยวัดนี้สามารถแสดงความนัยได้ถึง 4 มิติที่เกี่ยวโยงต่อกัน คือ productivity, visibility, reputation และ impact

ข้อมูลการอ้างอิง มีบริการที่แหล่งข้อมูลหลัก 3 ชื่อ คือ Web of Science, Scopus, Google Scholar ทั้ง 3 ฐานข้อมูลนี้เนื้อหาเป็นสหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมวารสารกว้างขวางมากที่สุด ให้บริการแก่ผู้ใช้ซึ่งสามารถตรวจสอบการอ้างอิงได้ (ส่วนฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งเริ่มมีการพัฒนาให้บริการข้อมูลการอ้างอิงแล้ว)

จำนวนการได้รับการอ้างอิงถือว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับจำนวนบทความตีพิมพ์ โดยที่สามารถแสดงถึง คุณภาพ ผลกระทบ ต่องานวิจัยในสาขาหนึ่งๆ ปกติผู้ให้ทุนวิจัยมักตรวจสอบจำนวนบทความและจำนวนการได้รับการอ้างอิง ควบคู่กัน

ข้อควรรับรู้เกี่ยวกับจำนวนการอ้างอิง คือ

  • บทความตีพิมพ์ที่เป็นลักษณะ รีวิว (Review) มักจะได้รับการอ้างอิงมากกว่าบทความประเภทอื่นๆ
  • บทความวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ อาจจะได้รับการอ้างอิงจากการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ส่วนใหญ่อ้างอิงเพื่อการยกย่อง
  • รูปแบบการอ้างอิงของแต่ละสาขาวิชามีความแตกต่างกันมาก เช่น สาขาการแพทย์ มีการอ้างอิงสูง ส่วนสาขาคณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกค์มักมีการอ้างอิงต่ำกว่า

จำนวนการอ้างอิงมีข้อจำกัด ด้วยแหล่งข้อมูลการอ้างอิงแต่ละแหล่งจัดทำดัชนีแตกต่างกัน เช่นบทความเรื่องเดียวกันในฐานข้อมูล Web of Science และ Scopus จะแสดงจำนวนการได้รับอ้างอิงไม่เท่ากัน

พลังวิทย์ ตอน อวัยวะจำลองมดลูกและรกเพื่อศึกษาวิธียับยั้งการแพร่เชื้อไวรัสซิกาจากแม่สู่ลูก

นักวิจัย สวทช. พัฒนาออร์แกนอยด์ หรือ อวัยวะจำลองมดลูกและรก เพื่อศึกษาวิธียับยั้งการแพร่เชื้อไวรัสซิกาจากแม่สู่ลูก เพราะเชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ซึ่งมีผลให้ทารกมีอาการสมองเล็ก สมองไม่พัฒนา และรวมไปถึงการเสียชีวิตทันทีหลังกำเนิด

ทีมวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการสร้างออร์แกนอยด์ ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติคล้ายกับอวัยวะจริงในร่างกาย ใช้ทดสอบและพัฒนาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสซิกา เพื่อการนำมาใช้ต้านทานเชื้อไวรัสซิกา และป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้จากแม่สู่ทารกในครรภ์ต่อไป สามารถสนับสนุนงานวิจัยนี้ได้ที่ www.experiment.com/nozika4baby

 

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย