พลังวิทย์ ตอน Power Lift Bed เตียงนอนช่วยการลุกนั่งลุกยืนของผู้สูงอายุและผู้ป่วยฟื้นฟู

สวทช. ร่วมกับ บริษัท SB Design Square พัฒนาเตียง Power Lift Bed ที่มีระบบปรับหมุนเบาะจากท่านอน สู่ท่านั่ง และท่าลุกยืน โดยผู้ใช้งานสามารถควบคุมด้วยตนเอง ผ่านรีโมตคอนโทรล มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้ม
Power Lift Bed มีความแข็งแรงสูง สามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 250 กิโลกรัม เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยฟื้นฟูหลังการผ่าตัด รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพบำบัด เตียงนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งาน ในการลุกมาทำกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

โครงการ การขยายผลการใช้ประโยชน์หน้ากากอนามัย Safie Plus เพื่อบุคลากรทางการแพทย์

Download เอกสาร
– แบบฟอร์มการบริจาคเงิน
– รายละเอียดโครงการหน้ากากอนามัย Safie Plus
– พรฎ.ลดหย่อนภาษีเงินบริจาคเข้ากองทุน

สวทช. ขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุน “กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เพื่อโครงการ

การขยายผลการใช้ประโยชน์ หน้ากากอนามัย Safie Plus เพื่อบุคลากรทางการแพทย์

โดยใบเสร็จการบริจาค ลดหย่อนภาษีได้

หน้ากากอนามัย Safie Plus

ผลงานวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช.

เทคโนโลยี
– แผ่นชั้นกรองที่เคลือบคอมพอสิทของไฮดรอกซีอาปาไทต์ (HA) และไททาเนียมไซด์ (Ti) สามารถป้องกันฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็ก เช่น PM2.5 และป้องกันสารพิษ เช่น คาร์บอนมอนออกไซด์ สามารถฆ่าเชื้อโรค ย่อยสลายสารหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ (ไวรัสแบคทีเรีย) เมื่ออยู่ภายใต้แสง UV

มาตรฐานการรับรอง
– ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ระดับ 99% โดย TUV SUD สิงค์โปร์
– ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อไวรัส H1N1 (Influenza A Virus) โดย ม.มหิดล
– ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองไวรัส (Viral filtration efficiency: VFE) ระดับ 99% โดย Nelson Laboratory สหรัฐอเมริกา

ร่วมบริจาคเงินผ่านบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาอุทยานวิทยาศาสตร์
ชื่อบัญชี “เงินบริจาคกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 080-0-13324-1
หรือเช็คสั่งจ่าย
“เงินบริจาคกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
กรุณาส่งหลักฐานการบริจาคเพื่อขอรับใบเสร็จรับเงินฉบับจริงทาง
email: sararee.cha@nstda.or.th

สอบถามเพิ่มเติม: คุณสรารี ชาญอุไร
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)
โทร. 02 564 7000 ต่อ 71818, 086 789 8223
email: sararee.cha@nstda.or.th

แนวทางปฏิบัติกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้และจุดรวมพลอาคารต่างๆ ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

1. เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง หรือสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ให้ตั้งสติ และหยุดกิจกรรมทันที
2. ใช้ทางหนีไฟ หรือบันไดหนีไฟที่ใกล้ที่สุด เพื่อออกนอกอาคาร
3. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด
4. ไปที่จุดรวมพลของอาคารนั้นๆ
5. ตรวจสอบเพื่อร่วมงาน หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ ที่กำกับดูแล และแจ้งให้ทีมสื่อสารประสานงานทราบ
6. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้จัดการเหตุการณ์ หรือผู้อำนวยการระงับอัคคีภัย

จุดรวมพลตามหมายเลขอาคาร ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนกรกฎาคม 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กรกฎาคม 2563

สารจากเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ถึง นักเรียนและนักศึกษาไทย

สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกกับภารกิจดูแลนักเรียนไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย
ต้องออกมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดดังกล่าว กระทรวงกลาโหมรู้สึกห่วงใยคนไทยที่ใช้ชีวิตต่างประเทศ และพยายามร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต
ให้ความช่วยเหลือประชาชนคนไทยให้สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกากับภารกิจดูแลนักเรียนไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19

สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจำกรุงวอชิงตัน ได้ประสานกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อนุมัติให้กองทัพบกสามารถใช้เครื่องบินของสหรัฐฯ รับคนไทยจาก
อเมริกาไปยังเมืองไทยได้ ในวันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563 จำนวน 162 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและเยาวชนไทย ได้เดินทางออกจากสนามบิน
เมือง
ดัลลัส รัฐเท็กซัส ด้วยเครื่องบินของกองทัพบกสหรัฐฯ

สมาคมของคนไทยในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งเสรีภาพและโอกาส” คำพูดนี้ ได้ดึงดูดให้คนจากนานาประเทศทั่วโลก รวมทั้งคนไทยเดินทางมายังดินแดนนี้ โดยเฉพาะ
ในช่วง
ทศวรรษ 1960 – 1980 จะมาเพื่อการศึกษา การทำงาน หรือเพื่อแสวงโชค หรือหาโอกาสที่ดีกว่า โดยเฉพาะสมัยนั้น บรรยากาศทางการเมือง
เศรษฐกิจ
ของไทยมีความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงในหลายด้าน เมื่อมาใช้ชีวิตต่างแดนการได้พบปะพูดคุบภาษาจากชาติเดียวกันทำให้รู้สึกอบอุ่นใจ
ด้วยเหตุนี้การจัดตั้ง
สมาคมของคนไทย จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยได้รู้จักพบปะกัน พึ่งพาช่วยเหลือกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น สมาคมไทย
ณ อเมริกาสาขากรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
 สมาคมไทยแห่งรัฐวอชิงตัน (TAWA) ฯลฯ

สมาคมคนไทยตามภูมิภาคในประเทศไทย ไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหาร ภาษาถิ่น ที่แตกต่างกันใน ภาคของไทย อาทิเช่น
สมาคมไทย
ชาวเหนือ สมาคมไทยอีสาน สมาคมไทยชาวปักษ์ใต้ ฯลฯ

สมาคมคนไทยตามสาขาอาชีพ คนไทยยังมีการรวมตัวกันในกลุ่มคนที่อยู่ในสาขาอาชีพเดียวกัน ให้ความช่วยเหลือในด้านการศึกษา การงาน
และรวมตัวกันใช้
ความรู้ความสามารถทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในด้านต่างๆ เช่น สมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา (TPAA)
สมาคมพยาบาลไทยในรัฐต่างๆ

สมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา (ATPAC)

สมาคมคนไทยตามความสนใจทางกีฬา การรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีความสนใจทางกีฬาชนิดเดียวกัน เพื่อรวมตัวกันเล่นกีฬาด้วยกัน ให้การสนับสนุน
ด้านต่างๆ
เช่น งบประมาณ เช่น สมาคมกอล์ฟไทย ชมรมเทนนิสไทย ในรัฐต่างๆ สมาคมกอล์ฟ Inter States ฯลฯ

สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมนิสิตเก่า
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ช่วยให้พี่ๆ น้องๆ ร่วมสถาบันได้พบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกัน
แม้จะอยู่ไกลบ้านเกิด

ชมรมนักเรียนไทยในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในหลายๆ มหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาไทยจำนวนมาก มักจะมีการจัดตั้งชมรมนักเรียนไทยในมหาวิทยาลัย
ทำให้เกิด
การรวมตัวกันช่วยเหลือกันระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง ทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยกันเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ฯลฯ

การจัดตั้งสมาคมกลางนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในประเทศที่เยาวชนไทยนิยมเดินทางมารับการศึกษาในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ทำให้แต่ละปีมีจำนวนนักเรียน
นักศึกษาไทยในสหรัฐฯ อยู่จำนวนมาก ได้มีการประชุมหารือกับกลุ่มคณะทำงานหลักที่มีบทบาทสำคัญ โดยทีมงานนักเรียนไทยในรัฐแมสซาชูเซตส์
เป็นกลุ่ม
ผู้จัดตั้งอันทรงพลัง ได้ร่วมกันหารือจนความคิดรวบยอดในการจัดตั้งตกผลึก สำนักงานที่ปรึกษาฯ ได้สนับสนุนให้คณะทำงานส่งผู้แทนมาเยี่ยม
คารวะและหารือกับ
ท่านเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อรายงานความคืบหน้า และความต้องการที่จะให้ทีมประเทศไทยในสหรัฐอเมริกาช่วยเหลือ
ในด้านใด
 พิธีเปิดสมาคม จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 ที่อาคารที่ทำการของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทย ก.พ. กรุงวอชิงตัน
โดยท่านเอกอัครราชทูต
ธานี ทองภักดี จะให้เกียรติมาเป็นประธานเปิด พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน โดยสำนักงาน
ที่ปรึกษาฯ ได้สนับสนุนคณะทำงาน
และสมาชิกสมาคมจากรัฐต่างๆ ราว 10 คน ให้เดินทางมาร่วมในพิธีเปิดอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้

กิจกรรมสำคัญของสมาคมกลางนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา (ATSA)
สมาคมกลางนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา (Association of Thai Students in the United States – ATSA) เกิดจากความตั้งใจและมุ่งมั่นของ
นักศึกษาไทย
ในสหรัฐฯ แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการก่อตั้ง สมาชิกได้ริเริ่ม ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้สมาคมได้เริ่มทำหน้าที่ในการเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง
เครือข่ายและการให้การ
สนับสนุนระหว่างสมาชิก ในช่วงปี 2563 สมาคมได้มีกิจกรรมสำคัญดังนี้

การประกวดโลโก้ของสมาคม
สมาคมกลางฯ ได้จัดการประกวดออกแบบโลโก้ของสมาคม โดยเปิดรับโลโก้จากนักเรียนไทยในสหรัฐฯ และเปิดให้มีการโหวตเลือกให้คะแนนโลโก้
โดยโลโก้
ที่ได้รับการคัดเลือกสูงสุดและชนะการประกวดเป็นสัญญลักษณ์ รูปช้างซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติใช้งวงเชิดชูลูกบอลลายธงชาติไทยเปรียบได้กับ
เยาวชนผู้เปี่ยม
ไปด้วยพลังกาย และพลังใจที่พร้อมจะสนับสนุนผลักดัน ประเทศชาติให้ก้าวหน้าและพัฒนา และมีอักษร ATSA ซึ่งเป็นตัวย่อของ สมาคม
เป็นองค์ประกอบของโลโก้

การสัมมนาสดผ่านระบบ Webinar
การประชุมสัมมนา เป็นหนึ่งกิจกรรมที่สมาคมกลางฯ ได้วางแผนดำเนินการไว้ และแม้ว่าจะเกิดปัญหาการระบาดของโควิด-19 สมาคมกลางฯ ก็ยังดำเนิน
กิจกรรม
อย่างต่อเนื่อง แต่ปรับเปลี่ยนเป็นผ่านระบบ Webinar โดยใช้ Social Media อย่าง Facebook ให้เกิดประโยชน์ ทำให้การถ่ายทอดแลกเปลี่ยน
องค์ความรู้และ
ความคิดเห็นยังดำเนินต่อไปได้ตามที่สมาคมกลางฯ ได้ตั้งใจไว้

CiteScore หน่วยวัดคุณภาพวารสาร ชุดใหม่ คู่แข่งกับค่า Impact Factor

เมื่อเดือนธันวาคม 2016  สำนักพิมพ์ Elsevier โดยฐานข้อมูล Scopus  ได้ประกาศบริการหน่วยวัดค่าใหม่ ชื่อ CiteScore  เพื่อวัดคุณภาพของวารสาร โดยคำนวณจากจำนวนการได้รับการอ้างอิง หาร ด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ใน 3 ปีย้อนหลัง ของวารสารชื่อหนึ่งๆ  ถือว่าเป็นสูตรที่เลียนแบบผลงาน Journal Impact Factor (JIF) ที่ชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลก รู้จักและคุ้นเคยกันมาช้านาน

รูปภาพ 1  หน้าจอหลักของฐานข้อมูล Scopus  ที่แสดงหน้าเมนู  Sources

ปัจจุบัน Scopus ครอบคลุมวารสารที่ตีพิมพ์ทั่วโลก จำนวน 22,256  ชื่อ (ณ ธันวาคม 2016) แบ่งเป็น 330 สาขาวิชาหลัก  Scopus แสดงค่า CiteScore พร้อมด้วยหน่วยวัดอื่นๆ รวม  8 ค่าของชุดครอบครัวดัชนีชี้วัด เพื่อเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของวารสารวิชาการในแต่ละชื่อวารสาร ดังภาพแสดง  โดยมีเมนูให้สามารถสืบค้นหาค่า CiteScore ของวารสารตาม Title / Subject  areas / Publishers / Source type / Quartile

รูปภาพ  2  ฐานข้อมูล Scopus  แสดงหน่วยวัด CiteScore พร้อมด้วยหน่วยวัดอื่นๆ รวมเป็น  8 ค่า

ภาพแสดงค่า CiteScore ของวารสาร ชื่อ Ca-A Cancer Journal for  Clinicians  ปี 2016  โดยแสดงข้อมูลต่างๆ ประกอบ และวิธีคำนวณหาค่า CiteScore 2015 = Citation Count 2015 / Document 2012-2014  ซึ่งมีค่า = 66.45

รูปภาพ 3  แสดงค่า CiteScore ของวารสาร ชื่อ Ca-A Cancer Journal for  Clinicians  ปี 2016 หน่วยวัดชุดใหม่นี้ มีความคล้ายคลึงกับค่า Journal Impact Factor, JIF ที่ทรงอิทธิพลมาช้านาน  ในหลายๆ ด้าน คือ ทั้ง JIF และ CiteScore เป็นหน่วยวัดคุณภาพในระดับวารสารทั้งคู่  ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณ จากสัดส่วนของ จำนวนการอ้างอิง (citations) กับจำนวนบทความ (documents)
ในวารสารชื่อหนึ่งๆ

ข้อแตกต่างของวิธีการหาหน่วยวัดทั้งสองค่านี้ คือ

  1. Observation Window – CiteScore นับค่า citations ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารชื่อหนึ่งๆ ในเวลา 3 ปีย้อนหลัง  ส่วนค่า JIF นับแค่ 2 ปีย้อนหลัง
  2. Sources – CiteScore ใช้ชุดชื่อวารสารราว 22,000 ชื่อวารสาร ส่วน JIF ใช้ชุดวารสารที่มีการคัดเลือกมาเท่านั้น ในจำนวนราว 11,00  ชื่อวารสาร
  3. Document Types – CiteScore รวบรวมจากบทความทุกประเภท ส่วน JIF จำกัดเฉพาะบทความประเภท articles กับ reviews เท่านั้น
  4. Updates – CiteScore จะทำการคำณวนหาค่า ในทุกเดือน ขณะที่ ค่า JIF ทำการคำนวณแสดงค่าแบบรายปี

สรุปได้ว่า CiteScore ของ Elsevier ใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่และมีข้อแตกต่างอื่นๆ จึงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันสำหรับคุณภาพของวารสารชุดเดิม JIF และที่สำคัญ ทั้ง 2 หน่วยวัดนี้กลายเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของกันและกันอีกด้วย

หลังจาก Scopus เปิดตัวให้บริการ ได้ไม่นานนัก ก็มีเสียงวิจารณ์ถึง CiteScore  ในประเด็นต่างๆ คือ

  • วารสารชื่อดังเช่น Nature, Science ที่ผ่านมามีค่า JIF สูงมาตลอด แต่กลับมีค่า CiteScore ต่ำมาก  รวมภึงวารสารด้านการแพทย์ชื่อดัง เช่น The New England Journal of Medicine และ The Lancet ด้วย
  • ประเภทของบทความ ที่นำมาคิดค่าหน่วยวัดหรือ ดัชนีนั้นหน่วยวัด  JIF คิดเฉพาะบทความประเภทงานเขียนแบบวิจัยและ แบบรีวิว เท่านั้น ไม่นับรวมบทความประเภทอื่นๆ เช่น editorials, letters to the editor, corrections และ news ส่วน CiteScore คิดคำนวณจากบทความทุกประเภท ซึ่งประเด็นนี้อาจมีผลทำให้พฤติกรรมการตีพิมพ์ของบรรณาธิการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
  • การจัดหมวดหมู่สาขาวิชาของ Scopus  มีความสับสน  ยังไม่มีความชัดเจนในข้อกำหนดขอบเขต ซึ่งเมื่อเรียกดูค่าหน่วยวัด CiteScore ทำให้มีผลต่อการจัดอันดับของวารสารชื่อหนึ่ง ในสาขาหนึ่ง
  • การที่สำนักพิมพ์ Elsevier เข้าสู่ธุรกิจเมตริก ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือผลประโยชน์ทับซ้อน โดยที่วารสารที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์  Elsevier จะได้รับ ประโยชน์โดยทั่วไปจาก CiteScore มากกว่าวารสารจากสำนักพิมพ์คู่แข่ง โดยที่ธุรกิจใหม่นี้  Elsevier มุ่งเน้นทำการตลาดกับกลุ่มบรรณาธิการของวารสารเป็นหลัก  (แตกต่างกับ ผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล Scopus ที่เน้นการตลาดกับบรรณารักษ์และนักวิทยาศาสตร์มากกว่า) อย่างไรก็ตาม ข้อวิจารณ์ เหล่านี้อาจนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนาหน่วยวัดค่าใหม่นี้ต่อไป ที่อาจทำให้ให้เกิดการยอมรับในกลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง :

  1. Elsevier : Research Metrics –  Available at – https://www.elsevier.com/solutions/scopus/features/metrics
  2. CiteScore–Flawed But Still A Game Changer- Available at : https://scholarlykitchen.sspnet.org/2016/12/12/citescore-flawed-but-still-a-game-changer/

MOOCs : นวัตกรรมการศึกษา/เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการศึกษาแบบก้าวกระโดด

MOOCs  ย่อมาจาก   Massive Open Online Course  หมายถึง   หลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แบบเปิดเสรีสำหรับทุกๆคนในโลก สามารถสมัครเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวน เน้นในระดับการศึกษารขั้นสูงที่ในระบบการศึกษาแบบเดิมที่มีข้อจำกัด อยู่แต่เฉพาะในห้องเรียน และรองรับผู้เรียนในจำนวนน้อย

ความหมายของ MOOCs มาจากคำเต็ม คือ  Massive Open Online Course

  • Massive จำนวนผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 10,000 คน
  • Open    เรียนแบบเสรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทุกๆ คนสามารถลงทะเบียนเรียนได้
  • Online    เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
  • Course    ชุดวิชาที่เปิดสอนแบบ 7X24 เข้าเรียนได้ตามที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องขอรับประกาศนียบัตรผลการเรียน

เป็นระบบเปิดที่เรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียนหรือ เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  ระบบรองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกลและรองรับจำนวนผู้เรียนได้มาก  ซึ่งแตกต่างกับการเรียนแบบเดิม  ที่รองรับผู้เรียนได้จำนวนน้อยและต้องใช้มีผู้สอน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนของผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่ง MOOCs ไม่มีข้อจำกัดเหล่านี้ เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล และมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่โดดเด่นเช่น เนื้อหาที่นำมาให้เรียนเป็นเนื้อหาแบบเปิดที่อนุญาต  (open licensing of content) เป็นต้น

ตัวอย่างระบบการเรียนการสอน MOOCS ที่มีชื่อเสียง ในต่างประเทศ เช่น

  • edX (edx.org) – มหาวิทยาลัย Harvard และ MIT
  • KHAN ACADEMY (Khanacademy.org) – ก่อตั้งโดย Salman  Khan
  • COURSERA (Coursera.org) –   ก่อตั้งโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย Standford
  • UDACITY (Udacity.com) – หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยStandford

ประเทศไทย

โครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอรืไทย Thailand Cyber University (TCU : thaicyberu.go.th)  เป็นโครงการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐ (สกอ.)  กระทรวงศึกษาธิการ

สำหรับผลงานงานวิจัยและพัฒนาเรื่องระบบ MOOCs มีเผยแพร่ในระดับสากลต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2010 โดยมีบทความวิจัยตีพิมพ์ สื่อสาร ในแหล่งสารสนเทศวิชาการออนไลน์ จำนวนหนึ่ง  โดยเฉพาะในฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียง Web of Science ซึ่งสามารถทำการวิเคราะห์บทความวิจัย แบบเบื้องต้น จากความสามารถของฐานข้อมูลโดยตรง สรุปได้ดังนี้

ฐานข้อมูล  Web of Science, WOS  มีเนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตและบริการโดยบริษัท Thomson Reuters เป็นชุดฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป จากวารสารวิชาการระดับคุณภาพ ที่มีค่า Impact Factor, IF ทุกบทความ   และที่สำคัญเป็นฐานข้อมูล ที่ให้ข้อมูลจำนวนการได้รับอ้างอิง Time Cited of Citations แห่งแรกของโลก จึงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญใน การประเมินคุณภาพ ผลงานวิจัยวิชาการของนักวิจัยรายบุคคล หน่วยงาน/สถาบัน/มหาวิทยาลัย ประเทศ  ที่ใช้หน่วยวัดจาก จำนวนบทความวิจัย  และจำนวนการได้รับการอ้างอิง

โจทย์การสืบค้น ใช้คำค้นดังนี้

Query : mooc  OR moocs or “massive open online course” not optic*

Search  Results : 250  เรื่อง (As 28  August 2015)

ตัวอย่าง รายชื่อบทความวิจัยตีพิมพ์   10  เรื่องล่าสุด คือ

  1. Relational event models for social learning in MOOCs.
  2. Language MOOCS: Providing Learning,Transcending Boundaries.
  3. South Asian Intellectual Property Knowledge Network – promoting intellectual property rights education in India and other countries.
  4. Discover Dentistry: encouraging wider participation in dentistry using a massive open online course (MOOC).
  5. Massive Open Online Course Completion Rates Revisited: Assessment, Length and Attrition.
  6. University of Toronto Instructors’ Experiences with Developing MOOCs.
  7. Roles of Course Facilitators, Learners, and Technology in the Flow of Information of a CMOOC.
  8. Who Studies MOOCs? Interdisciplinarity in MOOC Research and its Changes over Time.
  9. Going to College on My iPhone
  10. Equine Nutrition: A Survey of Perceptions and Practices of Horse Owners Undertaking a Massive Open Online Course in Equine Nutrition

บทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด  Highest times cited = 33

Article Ttitle : MOOCs: A Systematic Study of  the Published Literature 2008-2012

Author  : Liyanagunawardena, TR  (Liyanagunawardena, Tharindu Rekha)[ 1 ] ;  Adams, AA (Adams, Andrew Alexandar)[ 2 ] ; Williams, SA (Williams, Shirley Ann)[ 1 ]

Sources : INTERNATIONAL REVIEW OF RESEARCH IN OPEN AND DISTANCE LEARNING Volume: 14 Issue: 3 Pages: 202-227

Published: 2013

Abstract

Massive open online courses (MOOCs) are a recent addition to the range of online learning options. Since 2008, MOOCs have been run by a variety of public and elite universities, especially in North America. Many academics have taken interest in MOOCs recognising the potential to deliver education around the globe on an unprecedented scale; some of these academics are taking a research-oriented perspective and academic papers describing their research are starting to appear in the traditional media of peer reviewed publications. This paper presents a systematic review of the published MOOC literature (2008-2012): Forty-five peer reviewed papers are identified through journals, database searches, searching the Web, and chaining from known sources to form the base for this review. We believe this is the first effort to systematically review literature relating to MOOCs, a fairly recent but massively popular phenomenon with a global reach. The review categorises the literature into eight different areas of interest, introductory, concept, case studies, educational theory, technology, participant focussed, provider focussed, and other, while also providing quantitative analysis of publications according to publication type, year of publication, and contributors. Future research directions guided by gaps in the literature are explored.

Keywords

Author Keywords:MOOC; massive open online course; massively open online course; systematic review; connectivism

KeyWords Plus:OPEN ONLINE COURSES; EDUCATION

Author Information :  Liyanagunawardena, TR (reprint author) Univ Reading, Reading RG6 2AH, Berks, England.

การวิเคราะห์บทความวิจัยเรื่อง MOOCs จากฐานข้อมูล WOS

เมื่อทำการวิเคราะห์  บทความวิจัยจำนวน 245 เรื่องที่สืบค้นได้  ตามความสามารถของฐานข้อมูล  ได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้

วิเคราะห์ตามหมวดหมู่สาขาวิชาของ WOS : Subject Category จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
EDUCATION EDUCATIONAL RESEARCH 115
COMPUTER SCIENCE SOFTWARE ENGINEERING 13
COMMUNICATION 13
INFORMATION SCIENCE LIBRARY SCIENCE 11
COMPUTER SCIENCE THEORY METHODS 11

สรุปเป็นงานวิจัยสาขาการศึกษาสูงสุด จำนวน 115 เรื่อง  ตามอันดับที่ 2 คือสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

วิเคราะห์ ตามประเภทเอกสารวิจัยตีพิมพ์   WOS: Document Types

วิเคราะห์ตามประเภทเอกสาร จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
ARTICLE 168
EDITORIAL MATERIAL 43
LETTER 16
MEETING ABSTRACT 6
REVIEW 5

สรุปเป็นประเภทเอกสารแบบ งานวิจัยตีพิมพ์ อันอับที่ หนึ่ง จำนวน 168  เรื่อง

วิเคราะห์ ตามสาขางานวิจัย   WOS: Research Areas

วิเคราะห์ตามสาขางานวิจัย จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
EDUCATION EDUCATIONAL RESEARCH 120
COMPUTER SCIENCE 28
ENGINEERING 15
COMMUNICATION 13
SCIENCE TECHNOLOGY OTHER TOPICS 11

สรุปเป็น งานวิจัยสาขา การศึกษา อันดับที่ หนึ่ง จำนวน 120  เรื่อง

วิเคราะห์ ตามชื่อผู้แต่งบทความ 5 อันดับแรก   WOS: Top 5  Authors

ชื่อผู้แต่งบทความ 5 อันดับแรก จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
WILLIAMS SA 3
PEREZ-SANAGUSTIN M 3
LIYANAGUNAWARDENA TR 3
KOVANOVIC V 3
GASEVIC D 3

สรุปผู้แต่งบทความ  อันดับที่หนึ่ง  3 ชื่อ คือ

WILLIAMS SA –  Univ Reading, Open Online Content, Reading RG6 6AY, Berks, England

PEREZ-SANAGUSTIN M – Pontificia Univ Catolica Chile, Santiago, Chile

LIYANAGUNAWARDENA TR – Univ Reading, Sch Syst Engn, Reading RG6 6AY, Berks, England.

วิเคราะห์ตามรายชื่อสิ่งพิมพ์  WOS: Source Titles

วิเคราะห์ตามรายชื่อสิ่งพิมพ์ จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
INTERNATIONAL REVIEW OF RESEARCH IN OPEN AND DISTANCE LEARNING 38
DISTANCE  EDUCATION 16
COMUNICAR 12
BRITISH JOURNAL OF EDUCATIONAL TECHNOLOGY 11
EDUCACION XX1 7

วิเคราะห์ตามปีที่ตีพิมพ์  WOS: Publication Years

วิเคราะห์ตามปีที่ตีพิมพ์  จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
2014 104
2015 68
2013 57
2011 4
2010 3

วิเคราะห์ตามที่อยู่แต่งบทความ  WOS: Organizations-Enhanced

วิเคราะห์ตามที่อยู่ผู้แต่งบทความ  จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
MASSACHUSETTS INSTITUTE OF TECHNOLOGY 8
HARVARD UNIVERSITY 8
ATHABASCA UNIVERSITY 8
UNIVERSITY OF CALIFORNIA SYSTEM 6
UNIVERSITY OF TORONTO 5

วิเคราะห์ตามประเทศของผู้แต่งบทความ  WOS: Countries/Territories

วิเคราะห์ตามประเทศของผู้แต่งบทความ  จำนวนบทความที่สืบค้นพบ (เรื่อง)
USA 89
CANADA 26
AUSTRALIA 22
SPAIN 20
ENGLAND 17

 

Thomson Reuters ทำนาย 10 นวัตกรรมของโลก ในปี 2025

ในอีก 10 ปีข้างหน้า  จะมีนวัตกรรมอะไร ที่โดดเด่นจนมีผลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์บ้าง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2014 บริษัท Thomson Reuters โดยแผนก IP & Science Business ได้เผยแพร่รายงานเรื่องข้างต้น  ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากบทความวิจัยวิชาการ และเอกสารสิทธิบัตร ที่สามารถสรุปให้เห็นแนวโน้ม บอกเป็นนัยๆ ว่าจะมีการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในทศวรรษหน้า

วิธีการศึกษา

นักวิจัยผู้ศึกษาทำนาย นวัตกรรมแนวหน้า 10 เรื่อง นี้ใช้หลักการวิเคราะห์  citation ranking / most cited papers ของบทความตีพิมพ์งานวิจัยวิทยาศาสตร์  จากฐานข้อมูล Web of Science และ วิเคราะห์เอกสารสิทธิบัตรจากฐานข้อมูลสิทธิบัตร Derwent World Patent Index ที่มีการยืนขอในปี 2012 เป็นต้นมา

ผลการศึกษานี้ สามารถสรุป แนวโน้มของนวัตกรรม ที่ถือว่าเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจสูงสุดจากชุมชนวิจัยวิทยาศาสตร์ทั่วโลก และภาคอุตสาหกรรม บริษัทเทคโนโลยีที่มีการยื่นขอความคุ้มครองสิทธิบัตร ในเรื่องเหล่านี้

  1. Dementia declined. โรคจิต/สมองเสื่อม จะลดลง
  2. Solar is largest source of enegy on the Planet.  ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของโลก
  3. Type 1 Diabetes is preventable.  โรคเบาหวานชนิดที่หนึ่ง จะสามารถรักษาได้
  4. Food shortage and food price flutuation are things of the past.  จะไม่มีการขาดแคลนอาหารและความผันผวนในราคาอาหารดังเช่นในอดีต
  5. Electric air Transportation takes off.  ยานขนส่งไฟฟ้าทางอากาศ
  6. Digital Everything …..Everywhere.  สิ่งของทุกสิ่งและทุกสถานที่ จะอยู่ในโลกดิจิทัล
  7. Petroleum-Based packaging is history ; cekllulose-Derived Packaging rules. จะเกิดวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มาจากเซลลูโลส (เซลล์จากพืช) ส่วนวัสดุที่มาจากแหล่งปิโตรเลียมกลายเป็นเรื่องอดีต
  8. Cancer treatments have very few toxic side effects. การรักษาโรคมะเร็งจะมีผลข้างเคียงจากสารพิษเล็กน้อย
  9. DNA mapping at birth is the norm to avoid disease risk. การทำแผนที่ ดีเอ็นเอ ก่อนการเกิดของทารก จะเป็นเรื่องปกติ เพื่อเป็นมาตรฐานจัดการความเสี่ยงของการเกิดโรค
  10. Teleportation testing is common.  การทดสอบ การเคลื่อนย้ายสสาร

รายละเอียด 10 นวัตกรรมที่จะเกิดใหม่ในปี 2025 มีดังต่อไปนี้

1. โรคจิต/สมองเสื่อมลดลง (Dementia Declines) หมวด Medicine, Genetics
จากความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นในเรื่องจีโนมของมนุษย์และการกลายพันธ์ทางพันธุกรรมของนักวิทยาศาสตร์นำไปสู่ การปรับปรุงวิธีการตรวจหาวิธีการป้องกัน การโจมตีบุกรุกจากโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาท เช่น โรคจิต/สมองเสื่อม และ โรคอัลไซเมอร์

ปัจจุบันงานวิจัยในโรคสมองเสื่อมเซลล์ประสาท (Neurodegenerative disease)  ที่มุ่งเน้นระบุหาโครโมโซมที่ก่อให้เกิด ซึ่งงานวิจัยนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึง Human genetic variation  และจะช่วยให้สามารถซ่อมแม/แก้ไขพันธุกรรมที่ผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ สามารถแยกโครโมโซมเฉพาะที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเซลล์สมอง เช่น Autosomal dominant frontotemporal dementia (FTD) และ Amyotrophic lateral sclerosis (ALS)

งานวิจัยรากฐานของเรื่องนี้ยังไม่มีการยื่นขอสิทธิบัตร เหตุผลเพราะว่าขณะนี้งานวิจัยทางการแพทย์อาจไม่สามารถขอยื่นจดสิทธิบัตรได้ แต่เทคนิคต่างๆและการพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป อาจจะเห็นได้ในเอกสารสิทธิบัตรในอนาคต

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีการศึกษาวิจัยเรื่อง Gene identification ในความผิดปกติของ Frontotemporal lobar degeneration เป็นบทความวิจัยตีพิมพ์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด (Highly-cited) ในระยะเวลา 2 ปี ในสาขานี้
  • การวิจัยเรื่อง โครโมโซม 9P  ที่เชื่อมโยงไปสู่ FTD กับ ALS เป็นบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด ตั้งแต่ปี 2011

2.ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของโลก (Solar is the largest source of  energy on the planet) หมวด Material Sciences, Chemistry, Energy & fuel, Environment/Ecology

งานวิจัยเรื่องวิธีการเก็บเกี่ยว การรักษาและการแปลงผันให้เป็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นวิธีการที่ก้าวหน้ามากและมีประสิทธิภาพที่จะทำให้แสงอาทิตย์ลายเป็นแหล่งพลังงานขั้นแรกในโลกของเรา   ต้องขอบคุณในความก้าวหน้าของงานวิจัยในการปรับปรุงเทคโนโลยีหลายๆส่วนทั้ง Photovoltaic, Chemical bonding, Photocatalysts และ 3-Dimensional  nanoscale heterojunctions

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • บทความวิจัยเรื่อง “Fabrication of novel heterostructure of CO304- Modified TIO2 nanorod arrays and enhanced photoelectrochemical property”  ได้รับการอ้างอิงสูงสุด
  • บทความวิจัยเรื่อง “design rules for donors in bulk-heterojunction solar cell – towards 10- energy-conversion efficiency” ได้รับการอ้างอิงมากกว่า 1600 ครั้ง

3.โรคเบาหวานชนิดที่หนึ่ง สามารถรักษาได้ (Type I Diabetes is preventable) หมวด Medicine, Biology genetics

จากความก้าวหน้าของการค้นพบแพลทฟอร์มด้านวิศวกรรมจีโนมมนุษย์ที่เป็นจริงแล้วนั้นนำไปสู่หนทางในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขยีนที่ก่อให้เกิดโรคและยังช่วยให้ป้องกันสภาวะเมตาบอลิคได้อีกด้วย   โรคเบาหวานชนิดหนึ่งจะสามารถป้องกันได้ในปี 2025 แต่ไม่ใช้ด้วยวิธีการลดอาหารหรือออกกำลังกาย แต่เป็นจากความก้าวหน้าในเรื่อง Ribonucleic acid guided (RNA-guided) engineering ที่ใช้ใน specialist sequence  synthesis

ต่อไปจะมีการยื่นขอจดสิทธิบัตรในจุลินทรีย์และบางส่วนของท่อน DNA ดังนั้นความซับซ้อนในฉากนี้ใครจะเป็นเจ้าของสิทธิในเทคโนโลยีนี้ อะไรและจุดไหนที่จะเป็นเส้นกั้นแบ่งระหว่างธรรมชาติกับการพาณิชย์

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีบทความวิจัยเรื่อง RNA-Guided Human Genome Engineering
  • เทคโนโลยี Recombinant DNA  จะนำไปสู่การยื่นขอจดสิทธิบัตร Genetic-engineering

4. ไม่มีการขาดแคลนอาหารและความผันผวนในราคาอาหารดังในอดีต ( Food shortages and Food price fluctuations are things of the past) หมวด Agricultural Sciences, Genetics, Chemistry

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Lighting และ Imaging ที่เชื่อมโยงเข้ากับพืชชนิด genetic crop modification จะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโต สุกของพืชที่ปลูกในร่ม รวมทั้งมีความสามารถตรวจจับโรคพืชต่างๆได้ด้วย   จากวิวัฒนาการของเทคนิค 2 ด้าน คือ Lighting กับ Imaging ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันจะส่งผลให้มีผลกระทบในทศวรรษหน้า แสงประเภท Organic Light Emitting Diodes , LCD และ plasma คู่ขนานไปกับ 3 D Displays ที่เชื่อมโยงกับ Hyperspectral imaging จะช่วยปรับปรุงระยะเวลาการเติบโตของพืชได้ ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบฟาร์มแบบดั้งเดิม

ในปี 2025 พืช GMO จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยในที่ร่มด้วยแสงที่ฉายส่องได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ด้วย LEDs  แบบแบตเตอร์รี่ต่ำ แผ่แสงในช่วงความยาวคลื่นเฉพาะที่กระตุ้นการเติบโตของพืช รวมทั้งเป็นพืชที่ผสมพันธุ์ให้มีความต้านทานโรค ส่วนเทคนิค ภาพ เช่น จอแสดง 3 D เชื่อมโยงกับภาพแบบ hyperspectral จะสามารถช่วยให้ตรวจจับความผิดปกติในการเจริญเติบโตของพืชและโรคได้

โดยขบวนการนี้ช่วยลดความเสี่ยงในความล้มเหลวของการปลูกพืชได้ ฉนั้นจึงจะไม่เกิดการขาดแคลนอาหารและความผันผวนในราคาอาหาร เช่นดังอดีต

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีงานวิจัยชั้นแนวหน้าในเรื่อง Validating a method for the simutaneous determination of toxins and masked metabolities in differente cereals  and cereal-derived  foods.
  • มีเอกสารสิทธิบัตรในเรื่อง GM Food จำนวนหนึ่งรวมทั้งพืช Spinach ชนิดใหม่ที่มีการพัฒนาให้เป็นลูกผสมและเป็นสายพันธุ์ตามคุณลักษณะที่ต้องการ

5. ยานขนส่งไฟฟ้าทางอากาศ (Electric Air Transportation takes off)
หมวด Material sciences, Energy & Fuel

วิศวกรรมยานอวกาศแบบน้ำหนักเบาที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบใหม่ ในปี 2025 การเคลื่อนย้ายจากสถานที่แห่งหนึ่งที่ตำแหน่ง A ไปยังอีกแห่งหนึ่งที่ B จะมีความแตกต่างจากปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง โดยที่รถยนต์ เครื่องบิน ยังคงมีอยู่ แต่จะล้าหน้าทันสมัยมากขึ้นจะมีการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบน้ำหนักเบาเป็นหลักที่จะช่วยให้การเดินทางได้ยาวไกลมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลจากความก้าวหน้างานวิจัยหลายเรื่องคือ

  • เชื้อเพลิง ประเภท ไม่ใช่คาร์บอน
  • แบตเตอรี่แบบ Lithium-ion
  • การเก็บกักพลังงานแบบ Reversible hydrogen storage
  • Fuel cells ที่เป็น Nanomaterials
  • Thin-film Batteries

จากทั้ง 5 เทคโนโลยีรวมกันจะช่วยให้การชาร์จพลังงานได้มากขึ้นเป็น 10 เท่าของปัจจุบันและช่วยจัดเก็บพลังงานได้มากขึ้นอีกด้วย

เครื่องบินน้ำหนักเบาและรถยนต์จะมีการใช้แหล่งพลังงานใหม่ คือ Lithium-ion batteries รวมทั้งวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และใช้มอเตอร์ที่เป็น Superconducting จากคุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยให้เครื่องบินสามารถขึ้นลงได้พื้นที่ขนาดเล็ก และสามารถเป็นธุรกิจการบินขนาดเล็กที่เดินทางในระยะสั้นๆ ได้

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีบทความวิจัยหลักเรื่อง Ultrafast charging and discharging energy system
  • ในวารสาร Nature Nanotechnology มีบทความที่ได้รับการอ้างอิงมากกว่า 1,300 ครั้ง คือบทความเรื่อง High Performance lithium battery anodes using silicon nanowires

6. สิ่งของทุกสิ่งและทุกสถานที่ อยู่ในโลกดิจิทัล  (Digital Everything Everywhere)
หมวด Material Sciences, Chemistry, Economics & Business

จากของใช้ส่วนบุคคลที่เล็กที่สุดจนถึงทวีปที่ใหญ่ที่สุดสิ่งของทุกอย่างในทุกสถานที่จะเชื่อมโยงกันด้วยระบบดิจิทัล และจะมีการโต้ตอบตามความต้องการ ตามความชอบของแต่ละบุคคล    โลกดิจิทัลในปัจจุบันจะเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับปี 2025 ต้องขอบคุณในความแพร่หลายของงานวิจัยที่ปรับปรุงเรื่อง Semiconductors /  Graphene-carbon nanotube capacitors / Cell-free Networks of Service Antenna และ 5 G Technology

การสื่อสารแบบไร้สายจะเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลในทุกสิ่ง ทุกสถานที่ ตั้งแต่ในรถยนต์ถึงบ้านพัก และจะมีการตอบสนองตามความประสงค์ ตามความต้องการรวมทั้งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงสภาพภูมิศาสตร์ ให้ลองจินตนาการว่าในทวีปแอฟริกาทั้งทวีปจะเกิดการเชื่อมโยงกันแบบดิจิทัลในปี 2025 อย่างแน่นอน

การเปลี่ยนแปลงนี้มีเบื้องหลังมาจากแรงผลักดันในงานวิจัยเรื่อง Carbon Nano Structures และ Carbon-based Nanocomposites

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีงานวิจัยเกิดใหม่หลักในชื่อเรื่อง Toward  successful user interaction with systems : Focusing on user-derived gestures for smart home system
  • ส่วนกิจกรรมสิทธิบัตร มีสิทธิบัตรในสาขา Mobile communication device with controller modules that instruct wireless modules to monitor a physical downlink control channel for a downlink assignment reception from a cellular station  มีเพิ่มมากขึ้น

7. จะเกิดวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มาจากเซลลูโลส (เซลล์ของพืชทุกชนิด) ส่วนวัสดุที่มาจากแหล่งปิโตรเลียมกลายเป็นเรื่องอดีต (Petroleum – based packaging is history, Cellulose – derived packaging rules)
หมวด Material  Sciences, Chemistry, Environment / Ecology

ขณะนี้มีงานวิจัยเกิดใหม่ ที่โฟกัสเรื่อง การใช้ Bio – Nanocomposites และ Nanocellulose สำหรับให้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ ในปี 2025 โดยวัสดุนี้จะเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์   วัสดุ Nanocellulose ประกอบด้วยเส้นใยเซลลูโลส ที่มีขนาดนาโนมีความยาว ความกว้างมาก ซึ่งมีคุณลักษณะเป็นพลาสติกเทียม (Pseudo – plastic) ส่วน Bio – Nanocomposites เกิดมาจากวัสดุที่มาจากสิ่งมีชีวิต ในปี 2025 วัสดุบรรจุภัณฑ์ จะเป็นแบบย่อยสลายได้ตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์

บรรจุภัณฑ์ที่มีพิษที่เป็นพลาสติก มาจากปิโตรเลียมนั้น ก่อให้เกิดมลภาวะ ขยะในเมือง ท้องทุ่ง ชายหาดทะเล ใต้ทะเล วัสดุเหล่านี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์  บรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่นี้จะเหมาะสมใช้ได้ทั้งที่เป็นอาหาร อุปกรณ์การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ เส้นใย และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึง Cellulose Packaging จะมีบทบาทในภาคเภสัชกรรม ที่ใช้บรรจุยาที่ใช้รับประทาน ต่อไป

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีบทความวิจัย เรื่อง “Integrated  conversion of hemicellulose and cellulose from lingocellulosic biomass”
  • มีงานวิจัย เรื่อง  Biocomposite cellulose – alginate films for packaging มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น  (May 2014)

8.การรักษาโรคมะเร็งจะมีผลข้างเคียงจากสารพิษเล็กน้อย ( Cancer treatments have very few toxic side effects)
หมวด Medicine, Cancer, Immunolog

ด้วยจากการวิจัยพัฒนายารักษาโรค จะมีความแม่นยำเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น โดยให้มีการจับตัวรวมกันของโปรตีนเฉพาะ และการใช้แอนตี้บอดี้ในการกำหนดกลไกการกระทำที่แน่นอน ช่วยให้ผลข้างเคียงจากสารเคมีที่เป็นพิษ ในผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  นีเป็นผลจากการวิจัยในเรื่อง Big Data ที่ทำให้บริษัทยา สามารถผลิตยาแบบส่วนบุคคลได้ จากเดิมที่ผลิตยาแบบทั่วไป (Broad – brush drugs) มาเป็นแบบถูกต้องแม่นยำ และเป็นการรักษาแบบ target treatment ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ การรักษาโรคแบบส่วนบุคคลไม่ใช่เรื่องใหม่ บริษัทยาได้มีการดำเนินการเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว ด้วยการกำหนดการรักษาแบบเป้าหมายที่เฉพาะระดับโมเลกุล

ความรู้ที่เกียวกับยีนเฉพาะที่มีการกลายพันธ์ (gene mutation) จะมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ที่นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์จะสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้ ตัวอย่างเช่น ยีน HER2 (โรคมะเร็งเต้านม) ยีน BRAF V600 (โรคมะเร็งผิวหนัง melanoma และยีน ROS1 (มะเร็งปอด) และอื่น ๆ  จากเหตุผลในความก้าวหน้าข้างต้น จะทำให้ผู้ป่วยมียารักษาเฉพาะตำแหน่ง ที่มีผลให้ผลข้างเคียงลดลงมาก

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีบทความวิจัยเรื่อง “Intratumor heterogeneity and branched evolution are revealed by multiregion sequencing”  ที่ได้รับการอ้างอิง 600 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาตีพิมพ์น้อยกว่า 2 ปี
  • มีบทความวิจัยเรื่อง “Safety, Activity, and Immune correlales of anti – PD – 1 antibody in cancer” ได้รับการอ้างอิงมากกว่า 400 ครั้งในเวลา 2 ปี

9. การทำแผนที่ ดีเอ็นเอ ก่อนการเกิดของทารก จะเป็นเรื่องปกติ เพื่อเป็นมาตรฐานจัดการความเสี่ยงของการเกิดโรค  (DNA Mapping at birth is the norm to manage disease risk.)
หมวด Genetics, Biology, Medicine, Immunology

จากวิวัฒนาการของงานวิจัยเรื่องระบบ Micro – Total Analysis Systems (single – cell analysis) และความก้าวหน้าของนาโนเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี Big Data จะช่วยให้เรื่อง DNA – Mapping ในทารกแรกเกิดกลายเป็นเรื่องปกติ   การตรวจเลือดจะกลายเป็นเรื่องอดีต ด้วยจะเกิดเครื่องมือที่สอดใส่ขนาดเล็กระดับนาโนเพื่อตรวจผู้ป่วยที่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ได้ในระยะยาว และมีความแม่นยำสูง ด้วยเทคนิค 2 ส่วน คือ Micro – total analysis และ Single – cell analysis ที่กำลังวิจัยพัฒนาอยู่ในขณะนี้ จะเป็นแนวโน้มที่สำคัญในเรื่อง Immunology Testing ในอนาคตแน่นอน

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • เกิดงานวิจัยหลัก เมื่อปี 2012 ในเรื่อง “An Integrated Encyclopedia of  DNA elements in the Human Genome” ที่ได้รับการอ้างมากกว่า 800 ครั้ง
    “The accessible chromatin landscape of the Human Genome” ได้รับการอ้างอิง 200 ครั้ง
    “มีบทความตีพิมพ์ เมื่อ มกราคม 2014 เรื่อง “Genome – scale CRISPR – CAS9 knockout screening in human cells” ได้รับการอ้างอิง 4 ครั้ง

10.การทดสอบ การเคลื่อนย้ายสสาร (Teleportation is tested)
หมวด Physics, Theoretical Physics, Higgs Boson)

อนุภาค Higgs Boson ที่เกิดจาก Large Hadron Collider ทำให้เกิดจากความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเทคนิค Kinematical techniques ที่จะมีผลต่อเรื่อง Quantum teleportation  กลายเป็นเรื่องที่จะเห็นได้ทั่วไปในปี 2025

จากความสำเร็จขององค์กร CERN เมื่อปี 2013 ในโครงการวิจัย Large Hadron Collider (LHC) ที่ทำให้เกิดอนุภาค Higg s Boson ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น และจะมีบทความวิจัย สาขาฟิสิกส์พื้นฐาน ในปี 2014 ในเรื่องนี้มากมายเกิดขึ้น ซึ่งจะนำทางไปสู่การทดสอบเรื่อง Quantum teleportation ในปี 2025

Fast Fact  เอกสารสนับสนุน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

  • มีบทความที่ตีพิมพ์ในปี 2012 เรื่อง “Observing the electron – antineutrino disappearance at Daya Bay in China” ได้รับการอ้างอิงมากกว่า 400 ครั้ง
  • มีการยื่นขอสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ Higgs Boron 2 เรื่อง คือ
    1. Higgs Boson cover protons pursuing the state of an elementary particle and aggregating the elementary particle with a high – energy photon.
    2. The energy of a material in a body accelerating at the speed of light and growing into the square of the speed of light.

บทส่งท้าย
ในการสรุปรายงานเรื่องนี้ บริษัท Thomson Reuters ได้ใช้ข้อมูลดิบจากแหล่ง / ฐานข้อมูลของบริษัท 4 ฐานข้อมูล/บริการ คือ

  • Derwent World Patents Index
  • Thomson Innovation
  • Thomson Reuters Incites
  • Web of Sciences

เอกสารอ้างอิง

Thomson Reuters (June 2014) “The World in 2025 : 10 Predictions of Innovation”. Available at :

  1. http://sciencewatch.com/sites/sw/files/m/pdf/World-2025.pdf
  2. http://sciencewatch.com/tags/2025

จาก Bibliometrics สู่ Altmetrics

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดเครื่องมือในเรื่องเครือข่ายสังคมออนไลน์ มากมาย เช่น Twitter / Youtube / Facebook / Blog ที่ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างเรียลไทม์ และโต้ตอบกันใน 2 ทางได้ทันที วงการนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เริ่มมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารทางวิชาการ (Scholarly communication) จึงเกิดแนวคิดในการใช้เป็นหน่วยวัดเพื่อประเมินผลงานวิจัยทางเลือก (Alternative Metrics) ที่เรียกเป็นคำย่อว่า (Altmetrics)

Altmetrics คือ หน่วยวัดคุณภาพงานวิจัยชุดใหม่ ได้แก่ จำนวนการได้รับ ฟีดแบ็ค (Feedback) จากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น Article Views / No. of Download / Tweet / Blog post / Likes / Shares /Discussed / New media / Saved / Cited เป็นต้น

alt

รูปที่ 1 เว็บไซต์ Altmetrics.com – Source : http://www.altmetric.com/

คำจำกัดความ

Altmetrics คือหน่วยวัดใหม่ที่เสนอให้เป็นทางเลือก เพิ่มขึ้นจากหน่วยวัดชุดเดิมที่ได้แก่ ข้อมูล citation / ค่า h-index ค่า Impact Factor , IF ของวารสารวิชาการ ที่มีการเสนอในปลายปี 2010 เพื่อประเมินงานวิจัย ค่า Altmetrics มุ่งเน้นประเมินในระดับบทความวิจัย (Article level) แต่อย่างไรสามารถประยุกต์ได้ถึง นักวิทยาศาสตร์ (people) วารสาร (Journal) หนังสือ (Book) ชุดข้อมูล (Data set) เอกสารนำเสนอ (Presentation) วีดีโอ (Video) Source Code Repositories เว็บเพจ (Web Page) ฯลฯ

Altmetrics เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ที่เป็นความก้าวหน้าในศตวรรษที่ 21

การนำมาใช้

มีบริการค่า Altmetrics ทั้งในรูป เว็บไซต์ / ฐานข้อมูล / เครื่องมือ / แอพพลิเคชั่น หลากหลายมากมาย ที่ทำการคำนวณหาค่า Altmetrics ตัวอย่างเช่น ImpactStory, Altmetrics.org , Plum Analytics ส่วนสำนักพิมพ์ มีหลายหน่วยที่ให้บริการค่า Altmetrics ได้แก่ BioMed Central , Public Library of Science (PLOS) , Frontiers / Nature Publishing Group , Elsevier

ตัวอย่าง สำนักพิมพ์ PLOS เริ่มให้บริการเมื่อ มีนาคม 2009 โดยแสดงหน่วยวัด Altmetrics ในทุกๆบทความ ทำให้หน่วยงานผู้ใช้ทุนวิจัยเริ่มให้ความสนใจ เช่น UK Medical Research Council

alt

รูปที่ 2 สำนักพิมพ์ PLOS แสดงค่า Altmetrics ของบทความเรื่อง The Altmetrics collection
Source : http://www.ploscollections.org/article/info%3Adoi%2F10.1371%2Fjournal.pone.0048753

นักวิจัยเริ่มมีการใช้ ค่า Altmetrics แสดงในแบบคำขอทุนวิจัย รวมทั้ง Univ. Pittsburgh เริ่มทดลองหาค่า Altmetrics ในระดับองค์กร

ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่บริการ ค่า Altmetrics มีการจัดเก็บจำนวนบทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์

  • Altmetrics.com 2,007.115 บทความ
  • ImpactStory 364.000 บทความ

การจำแนกประเภท Altmetrics

Altmetrics ประกอบด้วยหน่วยวัดที่กว้างมาก บริการ ImpactStory ได้ เสนอ ให้จัดหมวดหมู่ / จำแนกหน่วยวัด Altmetrics เมื่อ กันยายน 2012 ออกเป็นดังนี้

  • Viewed คือ การเข้าดูบทความแบบ HTML และ Download PDF จากผู้อ่าน
  • Discussed คือ Journal Comment /Science blog / Wikipedia / Twitter / Facebook และ Social Media อื่นๆ
  • Saved คือ Mendeley, CiteYLike และ Social bookmarks
  • Cited คือ หน่วยวัดการอ้างอิงค่าดั้งเดิม ที่มีบริการที่ Web of Science / Scopus/ Google Scholar / CrossRef / Pubmed Central
  • Recommended คือ F1000 Prime

ข้อโต้เถียงในเรื่องหน่วยวัด Altmetrics

ยังมีข้อถกเถียง ถึงความเป็นประโยชน์ ของ Altmetrics อยู่ ซึ่งผู้สนับสนุนให้เหตุผลว่า ผู้ให้ทุนวิจัย ต้องการ ทราบผลกระทบในการให้ทุนวิจัยที่สามารถวัดได้ ส่วนกลุ่มที่ยังไม่เห็นด้วยเห็นว่า Altmetrics ยังมีข้อคล้ายคลึงกับหน่วยวัดเดิมที่อาจมีการ Self citation มีการเล่นเกมส์หรือใช้กลไกอื่นๆเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเพิ่มยอดได้เช่นกัน

ตัวอย่าง เครื่องมือ / บริการ Altmetrics

  • ImpactStory คือ แอพพลิเคชั่น เว็บเบส ที่ช่วยให้ติดตาม ตามรอย ผลกระทบที่มีต่อ วัตถุวิจัย (Research artifacts) อันได้แก่ บทความ dataset สไลด์ รหัสวิจัย ฯลฯ ระบบนี้ทำการรวบรวม ค่า มาจากหลายแห่ง เช่น Mendeley ถึง GitHub ถึง ทวิตเตอร์และแสดงผล เป็น Permalinked report ในหน้าเดียว

alt

รูปที่ 3 บริการ ImpactStory
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • Reader Meter คือ บริการที่แสดงค่า Altmetrics เป็นรูปภาพแบบ Mashup Visualizing ในระดับชื่อผู้แต่งบทความ (Author Level ) และระดับบทความ (Article Level)

alt

รูปที่ 4 หน้าจอบริการ ReaderMeter
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • Science Card เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมหน่วยวัด ค่าต่างๆ เช่น Citation , Download counts ให้แก่นักวิจัยชื่อหนึ่งๆ โดยที่นักวิจัยต้องนำข้อมูล Author identifier ให้แก่ระบบ เช่น AuthorClaim หรือ Microsoft Academic Search ID

alt

รูปที่ 5 หน้าจอบริการ ScienceCard
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • PLoS Impact Explorer เป็นบริการที่ช่วยให้นักวิจัยตรวจสอบติดตามข้อความการสนทนา

alt

รูปที่ 6 หน้าจอ PloS Impact Explorer
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • Crowdometer บริการเว็บ ที่แสดงข้อมูล Tweet ที่ลิงค์มายังบทความวิจัย แบบเรียลไทม์

alt

รูปที่ 7 หน้าจอบริการ Crowdometer
Source : http://altmetrics.org/tools/

หน่วยวัดคุณภาพงานวิจัยชุดดั้งเดิม

การประเมินคุณภาพงานวิจัยแบบดั้งเดิมในช่วงที่ผ่านมาอย่างยาวนานนั้น มีตัวชี้วัดที่สำคัญอยู่ 3 หน่วย มีบางกลุ่มวิจัยจากทั่วโลก ถือว่ามีความล้มเหลว จำเป็นต้องหาหน่วยวัดชุดใหม่เพิ่มเติม

alt

รูปที่ 8 แสดงหน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย ประเภทต่างๆ
Source : http://altmetrics.org/manifesto/

  • Peer – review คือ การตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาบทความจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาแต่ด้วยข้อจำกัดที่บทความวิจัยมีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดมา จำเป็นต้องใช้เวลามาก ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบจำนวนมาก ทำให้ไม่ทันต่อจำนวน
  • Citation counting ได้แก่ h-index , No. Citation
  • JIF หน่วยวัดคุณภาพวารสาร Journal Impact Factor

จากข้อจำกัดข้างต้น นำมาสู่การหาวิธีหน่วยวัดค่าใหม่ ปัจจุบันกลุ่มงานวิจัยทั่วโลกมีการเคลื่อนที่ในการทำงานประจำวันบนเว็บ เครื่องมือประเภท Reference Manager เช่น Zotero และ Mendeley ได้ประกาศว่าระบบตนเองมีการจัดเก็บบทความวิจัยไว้มากกว่า 40 ล้านเรื่อง (ถือว่ามีจำนวนมากกว่าฐานข้อมูล Pub Med) ส่วนแหล่งเก็บข้อมูลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 คือ Twitter, Blog และ Social Networks ต่างๆ

การหาค่าหน่วยวัด Altmetrics ทำได้รวดเร็วเพียงแค่ใช้โปรแกรม Public APIs (Applications Programming Interfaces) แบบเปิด รวบรวมข้อมูลแบบรายวัน / รายสัปดาห์ ได้

Altmetrics สามารถปรับปรุงหน่วยวัดชุดเดิมที่มีอยู่ได้

การหาค่า / ความสำคัญ ผลกระทบต่อบทความวิจัย อาจจะประเมินได้จากการทำ Bookmarks หรือการสนทนา / ความคิดเห็น ใน Social Media ต่างๆ ที่มีจำนวนหลักพัน ครั้งภายในแค่หนึ่งสัปดาห์ ถือได้ว่าเป็นการเพียร์รีวิว แบบหนึ่งในระยะเวลาอันสั้นสามารถใช้เป็นส่วนเสริมการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแบบเดิมได้

ค่า Altmetrics แตกต่างจากค่า JIF ที่มุ่งประเมินที่ชื่อวารสาร ส่วน Altmetrics ประเมินที่ตัวบทความวิจัยโดยตรง รวมถึง Altmetrics แตกต่างกับ Citation metric ด้วย คือ เป็นการติดตามตรวจสอบในสิ่งแวดล้อมที่นอกขอบเขตวงการวิชาการ ความรวดเร็วของค่า Altmetrics ช่วยให้เกิดความร่วมมือ ข้อแนะนำแบบเรียลไทม์ นักวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่บทความ ประเภท Alt-Publication สามารถได้รับ Feedback จากผู้สนใจได้อย่างรวดเร็ว

ประวัติของหน่วยวัด Altmetrics

คำว่า Altmetrics เป็นคำที่เสนอขึ้นมาเมื่อปลายปี 2010 โดย Jason Priem ที่ต่อมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริการที่ชื่อ ImpactStory เขาได้ให้จำกัดความไว้ว่า เป็นรูปแบบ ของการวัดถึง คุณภาพ/ความสำคัญ / ผลกระทบงานวิจัย ที่เหนือไปกว่าการวัดด้วยการอ้างอิง Altmetrics ได้เสนอวิธีให้แก่นักวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีพื้นที่แสดงผลงานอันมีจุดเด่นของตนเอง (Showcase) รวมถึงแสดงถึงความผูกพัน ความคิดเห็นกับสาธารณชนอีกด้วย

สำนักพิมพ์กับ Altmetrics

มีวารสารจากสำนักพิมพ์จำนวนมาก เริ่มให้บริการแสดงค่า Altmetrics ในทุกๆบทความอย่างอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์ วารสารแบบเปิด PLOS มีการแสดงว่าหน่วยวัดต่างๆเช่น View / Downloads และความคิดเห็นจาก Social media ต่างๆ สามารถสืบค้นได้ทั้ง ชื่อผู้แต่งบทความ หรือ ความสำคัญของเรื่อง ผลลัพธ์จะแสดงค่า Altmetrics ให้ทั้งชุด

  • สำนักพิมพ์ Nature Publishing Group (London) เริ่มมีการแสดงค่า Altmetrics
  • สำนักพิมพ์ John Wiley & Son รัฐ New jersey เริ่มทดลองให้บริการ ค่า Altmetrics เมื่อเดือน พฤษภาคม 2013
  • สำนักพิมพ์ High Wire Press เมือง Polo Alto รัฐ California เริ่มร่วมมือ กับ บริการ ImpactStory ให้เพิ่ม ค่า Altmetrics ในเว็บไซต์วารสารของ สำนักพิมพ์

ข้อควรระวังในการวัดด้วยค่า Altmetrics

แม้ว่า Altmetrics มีประโยชน์ แต่นักวิทยาศาสตร์และผู้ประเมิน ต้องตีความค่า Altmetrics อย่างระมัดระวัง ด้วยข้อมูลชุด Altmetrics อาจไม่สมบูรณ์ครบถ้วน
เพื่อช่วยให้มีการใช้ตีความได้อย่างถูกต้อง บริการ ImpactStory ได้ทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (normalize) โดยแบ่งบทความตามรายปีและคิดเป้นจำนวนร้อยละ

  • บริการ Altmetrics แสดงผลลัพธ์มาตรฐานตามรายชื่อวารสารที่ช่วยให้เปรียบเทียบกับวารสารในสายอื่นๆได้
  • สำนักพิมพ์ PLOS ให้ค่า Relative Metrics ที่ช่วยให้เปรียบเทียบรายบทความวิจัยในสาขาวิชาเดียวกันได้ โดยแสดงเป็นกราฟ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์กรประเมินงานวิจัย Research Excellence Framework (REF) ของสหราชอาณาจักร อนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการประเมินผลงานวิจัยตนเอง ด้วยค่า Altmetrics ได้และสามารถใช้ในการเสนอเพื่อพิจารณาขอทุนวิจัย

มหาวิทยาลัย Pittsburgh รัฐเพนซิลวาเนีย ได้ร่วมมือกับบริการชื่อ Plum Analytics (ส่วนหนึ่งของ EBSCO) เพื่อให้จัดทำโปรไฟล์ Altmetrics สำหรับนักวิจัยในแต่ละภาควิชา และมีแผนจะขยายต่อเป็นทั้งองค์กร (Plum Analytics ได้รับโครงการเช่นนี้จาก 10 สถาบัน)

นักวิจัยสามารถแสดงค่า Altmetrics ในประวัติทางวิชาการ CV. ของตนเองได้และมีการคาดการณ์ว่าต่อไปค่า Altmetrics จะกลายเป็นข้อมูลมาตรฐานในส่วนหนึ่งของ CV. ของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

เมื่อ มกราคม 2013 หน่วยงานผู้ให้ทุน US. National Science Foundation (NSF) ได้แถลงนโยบาย ให้นักวิจัยแสดง Research Product มากกว่าแสดงค่า Publication ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า คุณค่า คุณภาพของนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Publication อย่างเดียวเท่านั้น ผลผลิตอื่นๆ เช่น Data Set , Software สามารถนำมานับจำนวนได้ด้วย ฝ่ายนโยบายของ NSF พบว่า 1 ใน 40 ของการสื่อสารวิชาการ ใช้ Twitter มากกว่า 2 ล้านคน โดยใช้เครื่องมือ Reference-Sharing tool เช่น Mendeley

หน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐาน สหรัฐอเมริกา National Information Standard Organization (NISO) เริ่มดำเนินเรื่องการกำหนดค่า Altmetrics ให้เป็นมาตรฐานต่อไป

alt

รูปที่ 9 บริการ ImpactStory (https://impactstory.org/) แสดงโปรไฟล์ของนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Carl Boettiger ที่มีผลงานวิชาการในรูป Article แสดงค่า Altmetrics (นอกจากนี้ Carl ยังมีผลงานวิชาการรูปแบบต่างๆ คือ Dataset / Figure / Poster / Slides / Software)
Source : https://impactstory.org/CarlBoettiger

บทบาทของห้องสมุด

บรรณารักษ์ในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องในทุกระดับคือเรื่องที่ทับซ้อนกัน คือ Open Access / Research Practices และ Collection Development เช่น ห้องสมุดได้ชักชวนให้นักวิจัยนำผลงานวิจัยเข้าคลังความรู้ขององค์กร (Institutional Repository) ในขณะที่สามารถทำการวัดค่า Altmetrics ออกมาได้ด้วย

  • จัดฟอรัม สัมมนา แนะนำให้นักวิจัยรู้เรื่อง Altmetrics

เป็นเรื่องจำเป็นที่บรรณารักษ์ต้องติดตามความก้าวหน้าเรื่อง Altmetrics นี้ให้เท่าทัน เพื่อสนับสนุนให้แก่นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ผู้บริหาร อย่างถูกต้องต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Altmetrics : Wikipedia The Free Encyclopedia – Available at : http://www.wikipedia.org/ Accessed 4 June 2014
  2. Robin Chin Raemer (2014). Keeping up with … Altmetrics. ALA (American Library Association) ACRL – Available at : http://www.ala.org/acrl/publications/keeping_up_with/altmetrics Accessed 10 June 2014
  3. Altmetrics : A Manifesto – Available at : http://altmetrics.org/manifesto/ Accessed 11 June 2014

งานวิจัยแนวหน้าปี 2013 : 100 หัวข้อวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

บริษัท Thomson Reuter ได้เผยแพร่รายงาน เรื่อง Research Fronts 2013 : 100 Top-Ranked Specialties in the Science and Social Sciences เมื่อเดือนเมษายน 2013 ความยาว 32 หน้า  ที่เว็บไซต์ของบริษัท Thomson Reuters เป็นการสรุปภาพรวมของหัวข้อวิจัยที่โดดเด่น 10 สาขาวิชาหลัก ระดับโลก แตกเป็นสาขาย่อย 100 หัวข้อวิจัย

บทนำ

รายงานนี้เป็นการนำเสนอภูมิทัศน์ (landscape) ของหัวข้องานวิจัยวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในปี 2013  ที่มีการแผ่กิ่งก้านสาขา เพื่อทำการตรวจสอบหาหัวข้องานวิจัยที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging) และเพื่อให้ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายวิทยาศาสตร์ที่ต้องการตรวจสอบ สนับสนุน  บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่มีข้อจำกัดในทรัพยากรด้านต่างๆ  Thomson Reuters ได้ทำการตรวจสอบหาบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของโลก (World’s most significant scientific literature) ใน 10 สาขาวิชา ผลลัพธ์จากการศึกษานี้ยังได้เปิดเผยให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างนักวิทยาศาสตร์อีกด้วย

วิธีการ

ใช้แหล่งข้อมูลชุด Essential Science Indicator  (ESI) ของบริษัท Thomson Reuters ด้วยการเลือกบทความที่เข้าข่ายเป็น research fronts จากจำนวนการได้รับการอ้างอิงมากที่สุด และจัดลำดับจากบทความที่มีอายุน้อยที่สุด

รายงานนี้นำเสนอ 100 หัวข้อวิจัยที่ได้รับความสนใจและมีการวิจัยค้นคว้าอย่างเข้มข้นในปัจจุบันนี้ แบ่งเป็น 10 สาขาวิชาหลัก ดังต่อไปนี้

สาขาที่ 1 : เกษตรกรรม พืช และ สัตวศาสตร์ (Agricultural, Plant and Animal Sciences)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Impact of climate change on food crops 32 1,537 2010.0
2 Comprehensive classification of fungi based on molecular evolutionary analysis 18 1,374 2010.0
3 Arabidopsis chloroplast RNA editing 46 2,578 2009.9
4
Jasmonate biosynthesis and signaling
33
2,548
2009.9
5 Oomycete RXLR effectors and suppression of plant immunity 47 2,340 2009.7
6 Angiosperm phylogeny group classification 34 2,259 2009.7
7 Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) in livestock 17 1,071 2009.7
8 Genomic selection and estimated breeding values 39 2,281 2009.6
9 Honey bee colony collapse and Nosema ceranae 30 1,718 2009.6
10 Insect resistance to transgenic crops producing Bt
(Bacilus thuringiensis) toxins for pest control
22 1,134 2009.6

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้คือเรื่อง Jasmonate biosynthesis and signaling ที่กำลังทำการวิจัย  สาร Jasmonates เป็นสารในการรักษา anti-cancer
  • ประเทศที่เป็นผู้นำผลิตงานวิจัยในสาขานี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สเปน ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม เยอรมนี เกาหลีใต้ และ สวิสเซอร์แลนด์
  • สถาบันวิจัย ผู้ผลิตงานวิจัยในสาขานี้ได้แก่
    • Michigan State University
    • Washington State University
    • Tsinghua University
    • Chinese Academy of Science

สาขาที่ 2 : นิเวศวิทยา และ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Ecology and Environmental Sciences)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Ocean acidification and marine ecosystems
45 3,653 2009.6
2 Biodiversity and functional ecosystems 43 3,139 2009.5
3 Mangrove forests and climate change 16 1,121 2009.5
4 Models and impacts of land-use change 18 2,318 2009.4
5 Biochar amendment techniques and effects 41 2,300 2009.4
6 Adaptive evolution in invasive species and approximate Bayesian computation 19 1,255 2009.4
7 Chytridiomycosis and large-scale amphibian population extinctions 13 1,003 2009.3
8 Pharmaceutical residues in environmental water and wastewater 50 3,815 2009.1
9 Community ecology and phylogenetic comparative biology 20 1,799 2009.1
10 Climate warming, altered thermal niches, and species impact 14 1,244 2009.1

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้ได้แก่ หัวข้อ Ocean acidification and marine  ecosystems คือการที่ระดับคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในอากาศเพิ่มปริมาณมากขึ้นในน้ำทะเล ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของทะเลโดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในทะเล ที่พึ่งพาการเกาะของแคลเซียม
  • ประเทศผู้นำงานวิจัยในสาขานี้ได้แก่ ออสเตรเลีย ในเรื่องระบบ Coral Reef
  • สถาบันวิจัยของประเทศออสเตรเลีย เช่น University of Queensland, Australian Institute of Marine Science, Townsville, James Cook University

สาขาที่ 3 : สาขาธรณีวิทยา (Geosciences)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Tectonic evolution of the southern central Asian orogenic belt 24 1,176 2010.1
2 Global terrestrial isoprene emissions and climate 25 1,300 2009.8
3 U-Pb zircon ages and geochronology of southern Tibet 45 2,521 2009.7
4 Greenland ice core chronology and the Middle to Upper Paleolithic transition 28 2,490 2009.6
5 Nucleation and growth of nanoparticles in the atmosphere 33 1,835 2009.6
6 Climate change and precipitation extremes 30 2,098 2009.5
7 Greenland ice sheet mass, melt, and motion 25 1,627 2009.4
8 Studies of the 2008 Wenchuan earthquake
38
2,326
2009.1
9 Black carbon emissions and Arctic air pollution 17 1,090 2009.1
10 Ground motion prediction equations and the 2009 L’Aquila earthquake in central Italy 31 2,196 2009.0

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้คือ จากเหตุการแผ่นดินไหวที่เสฉวน (Sichuan) ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2008 ขนาดความรุนแรง 7.9 ริกเตอร์ มีผู้คนเสียชีวิตราว 9 หมื่นคน และไม่มีบ้านเรือนอีกราว 4 ล้านคน เป็นภัยพิบัติที่รุนแรงที่สุด ของประเทศจีน รวมถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวในภูมิภาคต่างๆ ของโลกต่อมาคือ ปี 2009 เกิดที่ L’Aquila อิตาลี เมื่อปี 2010 เกิดที่ Maule ชิลี และในปี 2011 เกิดที่ Tohoku ประเทศญี่ปุ่น
  • ประเทศผู้นำวิจัยในสาขานี้ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี ฝรั่งเศส
  • สถาบันวิจัยผู้นำที่ผลิตผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้แก่ University of Tokyo, Kyoto University, Tohoku University, Caltec และ Japan Atomic Energy Agency

สาขาที่ 4 : สาขาการแพทย์ (Clinical Medicine)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Transcatheter aortic valve implantation 50 2,818 2010.1
2 Atypical hemolytic uremic syndrome and complement activation 36 1,939 2009.8
3 Acquired BRAF inhibitor resistance in metastatic melanoma 36 4,777 2009.7
4 Idiopathic pulmonary fibrosis and randomized placebo-controlled drug trial 38 2,269 2009.6
5 Pathology and treatment of nonalcoholic fatty liver disease 34 1,978 2009.6
6 Chemotherapy with and without bevacizumab for HER2-negative breast cancer 14 1,909 2009.5
7 Brentuximab vedotic for refractory and relapsed Hodgkin’s lymphoma 23 2,001 2009.4
8 IL28B polymorphisms and treatment response in hepatitis C patients 47 5,172 2009.1
9 Anaplastic lymphoma kinase (ALK) inhibition in non-small cell lung cancer 46 3,716 2009.1
10 Global, national, and regional assessments of maternal, newborn, and child health 42 2,640 2009.0

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจคือ Acquized BRAF-inhibitor resistance โดยครึ่งหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง (melanomas) เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่เป็นเอนไซม์ชื่อ BRAF โดยที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จได้ค้นพบสารยับยั้งยีนส์ BRAF ชนิดใหม่
  • ประเทศผู้นำวิจัยสาขานี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร
  • หน่วยงานวิจัยนับรวมถึงบริษัทยายักษ์ใหญ่ต่างๆ เช่น Bristol Myers Squibb, Novartis, GlaxoSmithkine เป็นต้น

สาขาที่ 5 : วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Sciences)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 DNA methylation analysis and missing heritability 25 3153 2011.0
2 Toxicity of amyloid beta (A beta) oligomers in Alzheimer’s disease 45 2588 2010.6
3 Differentiation and function of follicular helper CD4 T cell (TFH) 38 2760 2010.5
4
Human beta(2) adrenergic G-protein-coupled receptors (GPCRs)
44
6261
2010.4
5 Linear ubiquitin chain assembly complex and activation of nuclear factor-kB (NF-kB) 43 3749 2010.4
6 Lgr5 receptor-expressing intestinal stem cells 23 2699 2010.3
7 TET mutations, reduction of 5-hydroxymethylcytosine (5hmC), and malignacy 45 6112 2010.2
8 Inhibition of TOR (Target Of Rapamycin) signaling, increased lifespan, and diseases of aging 30 3152 2010.1
9 HIV-1 Vpu and Vpx proteins and restriction factors SAMHD1 and BST-2/Tetherin 48 3760 2009.9
10 Mitochondrial sirtuins and regulation of metabolism 32 3395 2009.9

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้คือ เรื่อง Beta(2) Adrenergic GPCRS คือ โปรตีนชุด G ที่มีหน้าที่ในการทำงานชีวเคมี เรื่องความรู้สึก เช่น รสชาติ กลิ่น การมองเห็น อุตสาหกรรมบริษัทยา สนใจในการนำเข้าสู่ Drug Design & Targets และงานวิจัยนี้ยังได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับรางวัลโนเบลปี 2012 สาขาเคมีแก่นักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ Brian K. Kobilka, Stanford Univ. และ Robert J. Lefkowitz, Duke Univ. ในการศึกษา G-protein-coupled receptors

สาขาที่ 6 : เคมีและวัสดุศาสตร์ (Chemistry and Materials Science)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Enhanced visible-light photocatalytic hybrogen production 43 1620 2011.2
2 Ruthenium- or rhodium-catalyzed oxidative C-H bond activation 46 1900 2011.0
3 Aggregation-induced emission characteristics and compunds 47 1989 2010.9
4 Photoredox catalysis in organic synthesis 32 1945 2010.5
5 Enantioselective phosphine organocatalysis 35 1927 2010.5
6 Nanopore DNA sequencing 33 1914 2010.5
7 Small-molecule solution-processed bulk heterojunction solar cells 31 1841 2010.5
8 Nitrogen-doped graphene 26 2364 2010.4
9 Roll-to-roll processed polymer solar cells
35
3969
2010.3
10 Silicon nanowires for lithium-ion battery anodes 50 2896 2010.3

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้คือ เรื่อง polymer solar cell processing คือการวิจัยพัฒนาแผงโซล่าร์เซลล์ที่ทำจาก organic polymers silicon ด้วยมีคุณสมบัติที่ดี ราคาถูก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความทนทาน เป็นต้น งานวิจัย roll-to roll processing เป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจยิ่ง เพื่อผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถผลิตได้แบบจำนวนมากมีน้ำหนักเบา
  • นักวิทยาศาสตร์ คนสำคัญในการวิจัยเรื่องนี้คือ Krebs, F.C. แห่ง Technical University of Denmark ผลิตบทความวิจัยหลักในเรื่องนี้ 5 บทความ ได้รับการอ้างอิงสูงถึง 4,525 ครั้ง โดยเมื่อ เมษายน 2011 บริษัท Thomson Reuters ได้สัมภาษณ์ Krebs ที่บริการ Science Watch

สาขาที่ 7 : ฟิสิกส์ (Physics)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Alkali-doped iron selenide superconductors
49
2,000
2011.2
2 Spin-orbit coupled Bose-Einstein condensates 48 1,752 2011.1
3 Dark matter direct detection experiments 48 3,285 2010.6
4 Evidence of majorana fermions 44 2,887 2010.6
5 Top quark forward-backward asymmetry 48 2,213 2010.6
6 Quantum simulations with trapped ions 36 2,017 2010.5
7 Nodal gap structure in iron-based superconductors 36 1,863 2010.4
8 Holographic Fermi surfaces and entanglement entropy 37 2,643 2010.1
9 Interpreting quantum discord 41 3,650 2010.0
10 Topological insulators 45 8,957 2009.9

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขาฟิสิกส์ คือ เรื่อง Alkali-doped iron selenide superconductors ด้วยมีการวิจัยเรื่องนี้มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1986 ในการค้นพบ high-temperature superconductivity in cuprates โดยนักวิทยาศาสตร์ J.Georg Bednorz และ K.Alex Muller ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี 1987 ตัวอย่าง แอพพลิเคชั่นจาก Electromagnet คือ การใช้ในงาน MRI และ NMR ส่วนแอพพลิเคชั่นที่คาดการณ์ในอนาคต คือ การวิจัย Transmission lines ที่สามารถนำพากระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล ที่มีการสูญเสียพลังงานน้อย ตัวอย่างที่เห็นได้บ้าง คือ maglev ในรถไฟฟ้าความเร็วสูง (magnetic elevation trains)

สถาบันวิจัยและประเทศ ที่เป็นแถวหน้าในสาขาฟิสิกส์นี้คือประเทศจีน จากสถิติการผลิตบทความวิจัยของจีนในปี 1983 มีจำนวนร้อยละ 6 จากฐานข้อมูล Web of Science  ปัจจุบันผลิตได้ร้อยละ 13 เป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา  จีนมีความโดดเด่นในสาขา Condensed matter physics และมีการคาดการณ์ว่า นักวิทยาศาสตร์จีนอาจได้รับรางวัลโนเบลต่อจากนี้ไป สถาบันวิจัยจีนที่สำคัญคือ  Chinese Academy of Sciences

ส่วนการวิจัยด้านอนุภาค Higgs Boson ก็เป็นหัวข้องานวิจัยที่ร้อนแรงที่สุดเช่นกัน พบมีบทความหลักตีพิมพ์ 38 เรื่อง ในปี 2012 ได้รับการอ้างอิงร้อยละ 78 ในสาขาฟิสิกส์

สาขาที่ 8 : ดาราศาสตร์ และ ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (Astronomy and Astrophysics)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Galileon cosmology 34 1,584 2010.7
2 Probing extreme redshift galaxies in the Hubble Ultra Deep Field 31 2,415 2010.3
3 Sterile neutrinos at the eV scale 41 2,472 2010.2
4 Herschel Space Observatory and initial performance 9 1,456 2010.2
5 Kepler Mission and the search for extra-solar planets
47
4,211
2010.0
6 Neutron star observations and nuclear symmetry energy 18 1,536 2009.9
7 Evolution of massive early-type galaxies 18 1,724 2009.6
8 Gamma-ray sources detected by the Fermi Large Area Telescope 8 1,531 2009.5
9 Data from Hiode (Solar-B) Solar Optical Telescope and Solar Dynamics Observatory (SDO) 24 3,023 2009.4
10 Supernova Type la light curves and dark energy 19 5,920 2009.2

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้คือ โครงการวิจัยขององค์การนาซาที่ชื่อ Kepler Mission ที่เริ่มในปี 2009 ที่ตั้งชื่อตามชื่อนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันในศตวรรษที่ 17 คือ Johannes Kepler มีพันธกิจเพื่อค้นหาดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายโลกเรา และที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ยานอวกาศ Kepler ได้ค้นพบดวงดาวใหม่ที่คล้ายโลก มากกว่า 1,200 ดวง มีบทความวิจัย เรื่องนี้ 47 เรื่อง

พบว่ามีการตีพิมพ์บทความในเรื่องเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2007 รวมทั้งมีการอ้างอิงถึงบทความที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน และยังมีการอ้างอิงต่อในรุ่นที่2 อีกด้วย (second generation citing papers)

สาขาที่ 9 : คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ (Mathematics, Computer Science and Engineering)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 High-energy rechargeable lithium-air batteries 49 2,006 2010.8
2 Boundary value problems of nonlinear fractional differential equations 47 1,172 2010.2
3 Chemical kinetic reaction mechansim for combustion of biodiesel fuels 49 1,555 2010.0
4 Nonlocal Timoshenko beam theory and carbon nanotubes 39 1,480 2009.8
5 Constrained total-variation image de-noising and restoration
49
2,741
2009.7
6 Graphene transistor 16 2,270 2009.7
7 Analyzing next-generation DNA sequencing data 6 2,025 2009.6
8 Heat transfer in nanofluids 40 1,928 2009.6
9 Calcium looping process for carbon dioxide capture 36 1,562 2009.6
10 Differential evolution algorighm and memetic computation 30 1,351 2009.6

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้คือ เรื่อง Constrained total-variation image de-noising and restoration ซึ่งบทความวิจัยในเรื่องนี้นำเสนอวิธีการ และการออกแบบอัลกอริธีมหลายๆ วิธี สำหรับการกู้ (recovery) หรือการบูรณะ (restoration) สำหรับสัญญาณ (signal) ภาพ (image) และวิดีโอ นำไปใช้ในแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น ภาพถ่ายทางการแพทย์ (medical imaging) เสียงในวิดีโอ การระบุวัตถุในภาคพื้นดินจากดาวเทียมสำรวจ การกำหนดทิศทางของพาหนะทางอากาศที่ไม่มีคนควบคุมและการแผ่รังสีจาก CT สแกน
  • งานวิจัย 3 สาขานี้ เป็นการรวมกันเป็นสหสาขาวิชา มีพื้นฐานมาจากสาขาคณิตศาสตร์ ผู้นำในสาขานี้มาจากสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ได้แก่ University of California Los Angeles, University of Iowa, Stanford University และ จากสิงคโปร์ National University of Singapore

สาขาที่ 10 : เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา และ สังคมศาสตร์ (Economics, Psychology and other Social Sciences)

Rank Research Fronts Core
Papers
Citations Mean year of
Core Papers
1 Urban policy mobilities and global governance issues 42 898 2010.4
2 Entrepreneurism and performance of family firms 30 1,051 2009.9
3 Training and plasticity of working memory 21 1,177 2009.8
4 Accrual-based earnings management and accounting irregularities 17 1,148 2009.8
5 Patient-centered medicine, primary care, and accountability measures 32 1,240 2009.7
6 Social learning strategies and decision making 39 3,642 2009.6
7 Input-output analysis of carbon dioxide emissions 49 1,630 2009.6
8 Recognition heuristic research 28 1,280 2009.6
9 Online consumer reviews, social networks, and online display advertising 37 1,609 2009.5
10 Financial crisis, liquidity, and corporate governance
37
1,595
2009.4

Source : Thomson Reuters Essential Science Indicators

  • หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจในสาขานี้ได้แก่ Subprime mortgage crisis, liquidity and credit, and corporate governance จากเหตุการณ์วิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2008 ที่มีการปล่อยกู้เงินให้แก่ลูกค้าที่มีความสามารถชำระหนี้ด้อยกว่ามาตรฐาน ในสหรัฐอเมริกาจนกลายเป็นความตกต่ำทางเศรษฐกิจของโลกต่อมา มีบทความตีพิมพ์หลักในเรื่องนี้ 37 เรื่อง ตีพิมพ์ตั้งแต่ 2009 เป็นต้นมา
  • ประเทศผู้นำการวิจัยเรื่องนี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน เยอรมนี สถาบันวิจัยผู้นำได้แก่ National Bureau of Economic Research, Harvard University, New York University เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

Christopher King, David A. Pedlebury (April, 2013). Web of Knowledge Research Fronts 2013 : 100 Top-Ranked Specialties in the Science and Social Science. Thomson Reuters: available at : http://sciencewatch.com/sites/sw/files/sw-article/media/research-fronts-2013.pdf

รายงานงานวิจัยโลก สาขาวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี

รายงานงานวิจัยโลก สาขาวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรายงานของ Thomson Reuters Global Research Report ที่ให้ความสำคัญในหัวเรื่องมากขึ้นกว่ารายงานฉบับก่อนๆ ที่เคยจัดทำที่เน้นรายงานเฉพาะรายชื่อผู้นำประเทศต่างๆ เท่านั้น  บทความนี้เป็นการวิเคราะห์บทความวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์เป็นหลัก ด้วยงานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์มีความสนิทแน่นแฟ้นกับระบบเศรษฐกิจอย่างยิ่ง   เหตุผลเพราะว่ามีศัยกภาพที่สามารถส่งต่อให้แก่กระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมการผลิตและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต่างๆ

ปี 2011 เป็นปีสากลแห่งเคมีขององค์การยูเนสโก (UNESCO International Year of Chemistry) ซึ่งวัสดุศาสตร์มีความเชื่อมต่อประสานอย่างใกล้ชิดและเมื่อกลางปี 2011 นี้มีการจัดประชุมนานาชาติในเรื่องวัสดุศาสตร์ครั้งที่ 6  ที่ประเทศสิงคโปร์  มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเป็นผู้บรรยาย  ยิ่งยืนยันถึงอิทธิพลในความสำคัญและการเติบโตของสาขานี้มากยิ่งขึ้น  สถานที่จัดงานประชุมก็มีความสำคัญด้วย  โดยในรายงานนี้ได้สรุปว่าผลงานวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์ในขณะนี้มีกำเนิดมาจากทวีปเอเชียมากที่สุดของโลก  โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนเรื่องนี้มาจาก World Science Map

การค้นพบในเรื่องรากฐานของฟิสิกส์  โดดเด่นในช่วงปีแรกๆ ของศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ต่อมามีการค้นพบในสาขาชีววิทยาโมเลกุลเช่นโครงสร้างดีเอ็นเอในช่วงศตวรรษที่ 21 ส่วนยุคใหม่ที่ 4 นี้อาจเป็นการปฏิวัติในการค้นพบงานวิจัยด้านวัสดุ สิ่งของ สสารต่างๆ ก็เป็นได้

รายงานชุด Global Research Report ในฉบับนี้ต้องการรายงานแจ้งให้ผู้จัดทำนโยบายทราบถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของงานวิจัยโลก  โดยทำการตรวจสอบถึงการเติบโตในระดับโลกและระบุถึงผู้ที่มีบทบาทสำคัญเป็นผู้นำและนำเสนอหัวข้อที่ร้อนแรง 3 เรื่องคือ  กราฟีน (Graphene) / Metal-Organic Frameworks, MOFs  /  Electrospun Nanofibrous Scaffolds  used  for Tissue Engineering, ENS

งานวิจัยวัสดุศาสตร์  คืออะไร

สาขาเดิมของวัสดุศาสตร์  คือ  โลหะ  เซรามิก  วิศวกรรม  ซึ่งอยู่ในภาควิชาต่างๆ ของ มหาวิทยาลัย เช่น สาขาฟิสิกส์  เคมี  ชีวเคมี  เป็นต้น ฐานข้อมูล Web of Science, WOS ของบริษัท Thomson Reuters รวบรวมวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11,500 ชื่อ  แบ่งสาขาวิชาออกเป็น 250 หมวดหมู่และแสดงข้อมูลการอ้างอิงที่สัมพันธ์กันไปมา  เนื้อหางานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์จัดอยู่ใน 8-12  หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเชื่อมโยงกัน

ภูมิภาคประเทศที่มีการผลิตงานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์

พบว่าผลงานวิจัยมีการเติบโตเป็นที่น่าตื่นเต้นในทวีปเอเชียมากที่สุด  จีนเป็นผู้นำจากที่ในปี 1981 มีบทความวิจัยสาขานี้น้อยกว่า 50 บทความ  กลายมาเป็นประเทศที่มีผลงานบทความตีพิมพ์สาขานี้จำนวนมากที่สุด  ไล่แซงไม่เพียงญี่ปุ่น  ยังรวมถึงสหรัฐอเมริกา ด้วย  สหรัฐอเมริกาเคยเป็นผู้นำในสาขานี้เมื่อปี 1980 จนถึงกลางปี 1990 จากนั้นลดจำนวนลง  ส่วนกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเคยมีส่วนแบ่งในสัดส่วนของโลกสูง  ในช่วงปี 1990 แต่จากนั้นก็ลดจำนวนลง ปัจจุบันกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก  มีการผลิตจำนวนบทความวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์นี้  เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งโลก  โดยจีนเป็นประเทศเดียวที่มีถึงครึ่งหนึ่งในกลุ่มเอเชีย

ตารางที่ 1 แสดงรายชื่อประเทศผู้นำที่มีผลผลิตบทความวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์  (นับจากประเทศที่มีจำนวนบทความวิจัยมากกว่า 1, 000 เรื่อง ในช่วง 5 ปีล่าสุด)

Country Papers Country Papers Country Papers
China 55,003 Italy 5,990 Portugal  2,503
USA 38,189 Poland 5,168 Belgium  2,299
Japan 25,473 Australia 4,642 Czech Republic 2,217
Germany 16,832 Turkey  4,142 Austria 2,044
South Korea 15,261 Romania 3,958 Mexico 1,961
India 12,693 Brazil 3,891 Greece 1,663
France 12,344 Ukraine 3,714 Egypt 1,628
UK. 11,611 Sweden  3,176 Finland 1,408
Russia 7,927 Singapore 2,958 Israel 1,323
Taiwan 7,410 Iran  2,942 Slovenia  1,099
Canada 6,593 Switzerland 2,807 Malaysia  1,006
Spain 6,429 The Netherlands 2,785

ตารางที่ 2   แสดงการจัดอันดับประเทศผู้ผลิตงานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ตามค่าผลกระทบ  ( Impact ) ของการได้รับการอ้างอิง ในช่วงปี 2005-2009

Country Papers Citations  Impact
USA.  38,189 222,552 5.83
EU-15 53,283 216,712 4.07
Japan 25,473   85,866 3.37
Taiwan 7,410   23,303 3.14
South Korea 15,261   47,334 3.10
China 55,003 143,665 2.61
India 12,693   32,411 2.55

เมื่อวิเคราะห์ลงถึงรายชื่อสถาบัน  มหาวิทยาลัย  ที่เป็นผู้นำการวิจัยในสาขาวัสดุศาสตร์  โดยวิเคราะห์ในช่วง 10 ปี (2001-2010) แสดงรายชื่อสถาบัน 10 อันดับ  ที่มีผลผลิตจำนวนบทความแสดงการได้รับการอ้างอิงดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3   จัดลำดับชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัย 10 อันดับ ตามจำนวนบทความวิจัย การได้รับการอ้างอิง  ผลกระทบจากการอ้างอิง จากฐานข้อมูล Web of  Science, WOS ในช่วงปี 2001-2011

Institution Papers Rank Institution Citations Rank Institution Impact
Chinese Academy of Sciences 14,019   1 Chinese Academy of Sciences  104,104   1 University of Washington 30.41
Russian Academy of Science   6,769   2 Max Planck Society, Germany   56,720   2 University of California Santa Barbara 27.41
Tohoku University   5,511   3 Tohoku University   40,135   3 University of California Berkeley 26.58
Tsinghua University   5,129   4 NIMS, Japan   36,578   4 University of Groningen 25.07
Indian Institute of Technology   4,522   5 MIT, USA   35,329   5 Harvard University 24.46
Harbin Institute of Technology   4,059   6 AIST, Japan    33,868   6 MIT 21.61
AIST, Japan   4,052   7 University of California Berkeley   33,460   7 University of Southern California 21.11
NIMS, Japan   3,952   8 National University of Singapore   31,740   8 University of California Los Angeles 19.23
Osaka University   3,618   9 Tsinghua University   31,698   9 Stanford University 18.34
Central South University   3,464  10 University of Cambridge   27,909  10 University of Minnesota 17.35

งานวิจัยแนวหน้าในสาขาวัสดุศาสตร์

การวิเคราะห์บรรณานุกรม (Bibliometric analysis) สามารถอธิบายได้มากกว่าการแสดงเพียงศักยภาพด้านการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์  องค์กร  ประเทศ  ยังสามารถเปิดเผยแสดงถึงโครงสร้างและความสัมพันธ์ของสาขาวิจัยด้วย  ดังในรูปภาพ 1

ตารางที่ 4 แสดงงานวิจัยแนวหน้า 20 อันดับแรกในสาขาวัสดุศาสตร์  ในช่วงปี 2006 – 2010 เรียงลำดับตามจำนวนรวมการได้รับการอ้างอิงคัดเลือกมาจากงานวิจัยใน 438 หัวข้อ คิดเป็นร้อยละ 6.6 ของงานวิจัยแนวหน้าทั้งหมด 6,641 หัวเรื่อง

Rank Field description  within materials science Core  papers Citations Citation  impact  Average year of core
  1 Electronic properties of graphene   6 9,524 1587.3 2005
  2 Polymer solar cells  15 6,656 443.7 2007
  3 Multiferroic and magnetoelectric materials  31 6,509 210.0 2006
  4 Titanium dioxide nanotube arrays in dye-sensitized solar cells  47 5,645 120.1 2007
  5 ATRP and click chemistry in polymer synthesis  34 5,129 150.85 2006
  6 Graphene oxide sheets  16 4,815 300.9 2007
  7 Superhydrophobic surfaces  47 4,732 100.7 2007
  8 High-Tc ferromagnetism in zinc oxide diluted magnetic semiconductors  48 4,667 97.2 2006
  9 Highly selective fluorescent chemosensor  46 4,581 99.6 2007
 10 Electrospun nanofibrous scaffolds for tissue engineering  45 4,577 101.7 2006
 11 Ductile bulk metallic glasses  41 4,267 104.1 2006
 12  Single-molecule magnet  47 4,013 85.4 2007
 13 Self-assembling supramolecular nanostructured gel-phase materials  33 3,810 115.4 2007
 14 Mesoporous silica nanoparticles for drug delivery and biosensing  applications  34 3,693 108.6 2007
 15 Mechanical properties of nanocrystalline metals  45 3,682 81.8 2007
 16 Discotic liquid crystals for organic semiconductors  30 3,637 121.2 2006
 17 Gold nanorods for imaging and plasmonic photothermal therapy of tumor cells  21 3,506 166.9 2006
 18 Highly ordered mesoporous polymer and carbon frameworks  25 3,362 134.5 2006
 19 Upconversion fluorescent rare-earth nanocrystals  49 3,351 68.4 2007
 20 Molecular logic circuits  47 3,315 70.5 2008

หัวข้องานวิจัยที่พิเศษ (Special topics)

Thomson Reuters ได้วิเคราะห์มุ่งเน้นหา 3 สาขาย่อยภายใต้สาขาหลัก วัสดุศาสตร์ ที่มีพลังและสำคัญ พบว่าคือ Graphene, Metal Organic Frameworks, MOFs และ Electrospun Nonfibrous Scaffolds for Tissue Engineering, ENS เป็น  3 สาขานี้มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) การจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage) และวิศวกรรมที่เกี่ยวกับชีวการแพทย์ (Biomedical engineering) โดยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

หัวข้อที่ 1 วัสดุกราฟีน (Grapheme)

คือ วัสดุที่มีโครงสร้างจากการเรียงตัวของคาร์บอนอะตอมแบบหกเหลี่ยมในแนวระนาบ 2 มิติ  เรียงหลายๆ วงต่อกัน  คล้ายตาข่ายกรงไก่  มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า  ใช้ได้ดีกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  แผ่นเก็บข้อมูล  มีการค้นพบเมื่อปี 2004 โดยนักวิทยาศาสตร์ Andre K. Geim กับ Koustantin S. Novosalor แห่ง มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ ปี 2010

ตารางที่ 5  แสดงลำดับของจำนวนบทความวิจัยตามหมวดหมู่วิชาย่อยในสาขาวัสดุศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัสดุกราฟีน ตีพิมพ์ในช่วงปี 2004 – May 2011 (แบ่งหมวดหมู่บนพื้นฐานตามชื่อวารสาร)

Rank Fields Papers
  1 Physics, Condensed Matter 3,405
  2 Materials Science, Multidisciplinary 3,144
  3 Physics, Applied 2,577
  4 Chemistry, Physical 2,528
  5 Nanoscience & Nanotechnology 2,134
  6 Chemistry, Multidisciplinary 1,644
  7 Physics, Multidisciplinary 1,294
  8 Physics, Atomic, Molecular & Chemical 464
  9 Engineering, Electrical and Electronic 357
 10 Electrochemistry 268

จากฐานข้อมูล WOS พบคำว่า grapheme ครั้งแรกในปี 2004 ในจำนวน 164 บทความ  ต่อมาในปี 2010 พบมีบทความ 3,671 เรื่อง  และยอดรวมสะสมตั้งแต่ปี 2004-ปัจจุบัน  มีบทความรวม 10,527 เรื่อง  (โดยคาดว่าในปี 2011 มีจำนวน 4,800 เรื่อง โดยที่ 2 บทความของนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านที่ได้รับรางวัลโนเบลในเรื่องกราฟีนนี้และได้รับการอ้างอิงเป็นจำนวนมากกว่า 4,300 และ 3,000 ครั้งตามลำดับ

เนื่องจากวัสดุกราฟีนมีคุณสมบัติพิเศษใช้ประโยชน์ได้มาก  จึงมีนักวิทยาศาสตร์ในหลากหลายสาขาคิดค้น  มุ่งเน้นในวัสดุใหม่นี้  คือทั้งในสาขาฟิสิกส์  เคมี  วัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์นาโน  และอาจรวมถึงวิศวกรรมศาสตร์ด้วย

ในตารางที่ 5 แสดงผลผลิตบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกราฟีนหากวิเคราะห์ตามประเทศและสถาบันวิจัยพบว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำ  แต่ว่าผลผลิตบทความวิจัยกราฟีนจากประเทศแถบเอเชียเป็นเรื่องสำคัญมีความหมายนำโดยประเทศจีน (ลำดับที่ 2)  ญี่ปุ่น (ลำดับที่ 3) เกาหลีใต้ (ลำดับที่ 6) และสิงคโปร์ (เป็นลำดับที่ 9) สถาบันวิจัยผู้นำได้แก่ CAS จีน, CSIC สเปน, Russian Academy of Science และ CNRS ฝรั่งเศส ส่วนมหาวิทยาลัยพบว่าผู้นำได้แก่ Univ. California Berkeley, MIT, Univ. Texas Austin  ของอเมริกา ส่วนมหาวิทยาลัยในจีน  ได้แก่ Tsiughua Univ. และ สิงคโปร์ คือ NUS และ NTU   ยังไม่มีสัญญาณใดๆ บอกว่างานวิจัยเรื่องกราฟีนจะมีจำนวนลดลง  จำนวนรวมการอ้างอิงตั้งแต่ปี 2004 มาถึงขณะนี้มากกว่า 163,000 ครั้ง  และ  ยังมีการอ้างอิงต่อเนื่องอีกด้วย

หัวข้อที่ 2 สาร Metal – Organic Frameworks (MOFs)

งานวิจัยในเรื่อง MOFs นี้  แสดงถึงความเชื่อมโยงที่เข้มแข็งกับสาขาเคมีโดยเฉพาะเคมีระดับโมเลกุล  นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Sir Harry Kroto ได้อธิบายถึงสาร MOFs ว่าเป็นโมเลกุลที่มีความซับซ้อนที่มีการทำงานในระดับนาโนและเป็นความก้าวหน้าของเคมีในยุคศตวรรษที่ 21 ที่เรียบง่าย  MOFs เป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุน  ประกอบด้วยโลหะและสารประกอบอินทรีย์  มีการคิดค้นสังเคราะห์มาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 โดย Omar Yaghi นำไปใช้ประโยชน์สำหรับการดูดซับก๊าซต่างๆ  เช่น   ไฮโดรเจน  มีเทนและอื่นๆ

บทความวิจัยในเรื่อง MOFs เริ่มปรากฏในปี 2000 ในจำนวนเพียง 12 บทความ  ต่อมาในปี 2011 มีจำนวนบทความ 1,900 บทความ   คิดจำนวนการได้รับการอ้างอิงรวมมากกว่า 147,000 ครั้งเมื่อดูในสาขาย่อยของการวิจัย MOFs พบว่าเป็นเคมีทั่วไปเป็นสาขา หลักตามด้วย Inorganic & Nuclear chemistry, Crystallography และ Physical chemistry ประเทศผู้นำการวิจัยเรื่อง MOFs ได้แก่ จีน ดังในตารางที่ 6 ที่มีจำนวนบทความเป็น 2 เท่าของประเทศผู้นำที่ 2 คือสหรัฐอเมริกา ส่วนสถาบันวิจัยไม่เป็นที่น่าประหลาดใจ  สถาบันที่โดดเด่นในเรื่อง MOFs ได้แก่สถาบันวิจัย  มหาวิทยาลัยของจีน  ที่มีจำนวนมาก ถึง 5 แห่ง  ถือว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญเป็นหัวข้องานวิจัยนี้เป็นลำดับต้นๆ

ตารางที่ 6  จัดอันดับบทความวิจัยเรื่อง MOFs ตามรายชื่อประเทศและสถาบันวิจัย 10 อันดับแรกของโลก  ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี 1995 – May 2011

Papers Country Rank Institution Papers
2,584 China   1 Chinese Academy of Sciences 450
1,398 USA   2 Nanjing University 314
  477 Germany   3 Nankai University 189
  393 Japan   4 Northeast Normal University 156
  388 UK   5 Jilin University 130
  355 France   6 Sun Yat-sen University 120
  292 India   7 Kyoto University 118
  250 South Korea   8 University of Michigan 101
  240 Spain   9 Northwestern University  96
  160 Australia  10 Northwest University, Xian  86

หัวข้อที่ 3 Electrospun Nanofibrous Scaffolds, ENS (โครงแกนแผ่นเส้นใบนาโน อิเล็กโตรสปัน)

หัวข้อวิจัยชั้นนำเรื่อง ENs สำหรับงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue enginering) ถูกจัดอันดับเป็นลำดับที่ 10 ในการได้รับการอ้างอิงในหมวดสาขาวัสดุศาสตร์ทุกสาขาย่อย  ดังในตารางที่ 7 เทคนิคในการทำ electrospinning ไม่ใช่เทคนิคใหม่เมื่อถูกนำไปสร้าง เส้นใยนาโนเพื่อให้เกิด scaffolds ประโยชน์ในทางการแพทย์คือ release drugs ยาประเภท antibiotics หรือ anticancer และยังมีศักยภาพในการช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมเนื้อเยื่ออวัยวะอีกด้วย

จากฐานข้อมูล WOS สืบค้นด้วยคำว่า (electrospum or electrospin) and (scaffold or tissue) จำกัดให้ปรากฏเฉพาะ tittle, abstracts หรือ keyword พบ 1,899  เรื่องเป็นบทความที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2000 ถึง May 2011 โดยมีจำนวนการอ้างอิงมากกว่า 31,000 ครั้ง  การเติบโตของบทความวิจัยในหัวเรื่องนี้   เริ่มมีบทบาทเกิดขึ้นในปี 2000-2002 และในปี 2011 คาดว่าจะมีบทความเรื่องนี้ในปี 2011 นี้จำนวน 550 เรื่อง

กลุ่มประเทศผู้นำ  ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  แต่ 3 อันดับตามมาเป็น 3 ประเทศในเอเชีย  ได้แก่  จีน  เกาหลีใต้  สิงคโปร์  ซึ่งทั้ง 3 ประเทศมีจำนวนรวมของบทความเรื่องนี้มีมากกว่าของสหรัฐอเมริกา  โดยประเทศสิงคโปร์เป็นที่น่าจับตามอง  ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ดังรายละเอียดในตารางที่ 7

ตารางที่ 7  จัดลำดับบทความวิจัยเรื่อง ENs ตามรายชื่อประเทศและสถาบันวิจัย 10 อันดับแรกของโลก  ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี 1995 – May 2011

Papers Country Rank Institution Papers
  657 USA   1 National University of Singapore   144
  448 China   2 Songhua University   120
  438 South Korea   3 SUNY Stony Brook    58
  161 Singapore   4 Virginia Commonwealth University    56
   92 UK   5 Seoul National University    53
   80 Italy   6 Chinese Academy of Sciences    42
   70 Germany   7 Hungnam National University    35
   66 Japan   8 Chulalongkorn University    34
   49 Australia   9 Ohio State University    28
   39 Thailand  10 University of Pennsylvania    27

เอกสารอ้างอิง

Jonathan Adams ; David Pendlebury. (June 2011). Global Research Report Materials Science and Technology. Leeds : Thomson Reuters. Available at : http://researchanalytics.thomsonreuters.com/grr/grr-matscience/