ภาคีห้องสมุดเพื่อการบริหารจัดการ National Site License

บทนำ

การเปลี่ยนแปลงสารสนเทศวิชาการจากกระดาษสู่อิเล็กทรอนิกส์ มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการในห้องสมุดวิชาการเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 มี e-Journal เกิดขึ้นอย่างมากมายและต่อเนื่อง ความแตกต่างที่สำคัญของวารสารฉบับพิมพ์กับฉบับออนไลน์ คือ ห้องสมุดไม่ได้เป็นเจ้าของอีกต่อไป ไม่สามารถควบคุมการเข้าถึงเนื้อหาได้ แต่การควบคุมการเข้าถึงขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาการบอกรับเป็นสำคัญ

มหาวิทยาลัยต่างๆ จัดซื้อวารสารจากสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ในรูปแบบ bundled site license ในราคาที่ขึ้นกับประวัติค่าบอกรับที่จ่ายในรูปแบบฉบับพิมพ์ ซึ่งมีการตั้งชื่อรูปแบบนี้ว่า Big Deal มีการเจรจาต่อรองกับสำนักพิมพ์และเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์แก่ห้องสมุด จึงได้มีการรวมตัวของห้องสมุดเพื่อให้มีความสามารถในการต่อรองกับสำนักพิมพ์  โดยทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การต่อรองกับสำนักพิมพ์ (Negotiation) การบริหารจัดการการเข้าใช้ (Access) และการจัดซื้อ (Purchase) โดยบางกลุ่มเป็นถึงระดับประเทศ  (National Scale) เช่นThe National Electronic Site License Initiative, NESLI (สหราชอาณาจักร) Canadian National Site Licensing Project, CNSLP (แคนาดา) South Africa Site License Initiative, SASLI (แอฟริกาใต้) และ CAPES (บราซิล)

บทความนี้ขอนำเสนอ ภาคีห้องสมุดเพื่อการบริหารจัดการ  National Site License ของห้องสมุดในต่างประเทศ 3 ประเทศได้แก่ ประเทศสหราชอาณาจักร  ประเทศอิหร่าน และประเทศเกาหลีใต้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ประเทศสหราชอาณาจักร : UK. National Electronic Site License Initiative, NESLI

UK. National Electronic Site License Initiative, NESLI  เป็นโครงการย่อยหนึ่งของ Joint Information Systems Committee, JISC  จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนในการจัดการ (Managing Agent) เกี่ยวข้องกับ3 กลุ่ม คือ ผู้ใช้บริการ บรรณารักษ์ และ สำนักพิมพ์

NESLI เริ่มดำเนินการในระยะที่ 2 ในปี ค.ศ. 1999  มีระยะเวลา 3 ปี  มีเครือข่ายที่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงของสหราชอาณาจักร เข้าร่วมจำนวน 180 แห่ง หน้าที่หลักในการเป็นหน่วยตัวแทน (Managing Agent) โดยการแต่งตั้งผู้ทำงานจาก JISC  (JISC มีสำนักงาน 2 แห่ง ที่ลอนดอนและอ๊อกซ์ฟอร์ด) หน่วยตัวแทนนี้ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างสำนักพิมพ์กับบรรณารักษ์

บทบาทของหน่วยตัวแทน (Managing Agent)  คือ

  1. จัดบริการจุดเข้าถึงจุดเดียว (single access point) สำหรับ e-Journal ให้แก่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการ
  2. เป็นหน่วยงานเดียวในการต่อรองและบริหารจัดการในการขออนุญาตจากสำนักพิมพ์
  3. ต่อรองกับสำนักพิมพ์เรื่องการขอส่วนลดและสถิติการเข้าใช้สำหรับเครือข่ายทั้งหมด
  4. จัดเก็บรายได้ให้แก่สำนักพิมพ์
  5. จัดการเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม และ เรื่องการเพิ่มราคาค่าบอกรับ
  6. เฝ้าดู สังเกต การเข้าใช้และความมั่นคง
  7. รวบรวมสถิติการเข้าใช้ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้แก่ห้องสมุดเครือข่ายและ JISC
  8. ส่งเสริมการดำเนินการของ NESLI กับสถาบันการศึกษาขั้นสูงของประเทศกับสำนักพิมพ์

ประโยชน์ของโครงการ NESLI ในมุมมองของผู้ใช้บริการ

  1. มีหน้าจอเดียว และมีจุดเข้าถึงจุดเดียว สำหรับรายการชื่อฐานข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ให้
  2. มีรายการชื่อวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์ หลากหลายจากสำนักพิมพ์ต่างๆ
  3. จัดเรียงรายชื่อวารสารอิเล็กทรอนิกส์ตามหมวดหมู่สาขาวิชาแบบกว้าง
  4. สามารถสืบค้นรายชื่อวารสาร ตามหมวดหมู่สาขาวิชา และคำสำคัญ
  5. สามารถปรับเปลี่ยนหน้าจอให้เป็นไปตามภารกิจหลักของหน่วยงานได

ประโยชน์ของโครงการ NESLI ในมุมมองของห้องสมุด

  1. หน่วยตัวแทนจัดทำระบบให้ มีหน้าจอเดียว มีจุดเข้าถึงจุดเดียว มีชุดมาตรฐานทางเทคนิคชุดเดียว
  2. หน่วยตัวแทนจัดโซลูชั่นชุดเดียว สำหรับการตกลงการซื้อขายสำหรับสำนักพิมพ์หลายๆแห่ง การอนุญาต การเข้าถึง และระบบความปลอดภัย
  3. ข้อความในการอนุญาต  (Licensing terms) เป็นมาตรฐาน
  4. หน่วยตัวแทน จะต่อรองขอส่วนลดราคา และสถิติการใช้ ในนามของเครือข่ายขนาดใหญ่ระดับประเทศ หน่วยตัวแทนจัดบริการข้อมูลสถิติการเข้าใช้ให้แก่สมาชิกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
  5. การจัดบริการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ อาจช่วยลดพื้นที่ในการให้บริการและการจัดเก็บ
  6. โครงการนี้อาจช่วยลดบริการการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter library loan)

ประโยชน์ของโครงการ NESLI ในมุมมองของสำนักพิมพ์

  1. มีโซลูชั่นเดียวในการตกลงการซื้อขายกับมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งทั่วประเทศ
  2. การจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียวของสำนักพิมพ์ จะค่อยๆแทนที่การผลิตวารสารในรูปกระดาษ ซึ่งอาจช่วยสำนักพิมพ์ประหยัดค่าใช้จ่ายในอนาคต
  3. ผลจากการจัดให้เข้าถึงได้อย่างกว้างขวางด้วยการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั้น เป็นประโยชน์แก่ผู้แต่งบทความ บรรณาธิการวารสาร และ สังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป ฯลฯ

ขณะนี้ โครงการ NESLI อยู่ในระยะที่สอง จึงเรียกชื่อว่า NESLi2 เริ่มต้นในปี ค.ศ. 2004 เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากระยะที่ 1 ที่ประสบความสำเร็จ เนื้อหาข้อมูลที่ NESLi2 รวบรวมจัดเตรียมให้มาจากสำนักพิมพ์ชั้นนำ 17 แห่ง เป็นจำนวนวารสารราว 7,000 ชื่อ NESLi2 ได้ใช้จ่ายงบประมาณในปี ค.ศ. 2010ประมาณ 13.5ล้านปอนด์ ประมาณว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ  40 ล้านปอนด์ตั้งแต่เริ่มโครงการในปี ค.ศ. 2004มีจัดบริการ Subscriptions Help desk เพื่อคอยตอบคำถามหน่วยงานที่เข้าเกณฑ์จะสมัครเป็นสมาชิก

NESLi2 – จัดแสดงรายการชื่อแหล่งข้อมูลออนไลน์ (catalogue) ไว้ที่เว็บไซต์ โดยเสนอให้สมาชิกเลือกสมัครบอกรับ ประมาณ 40 ชื่อแหล่งข้อมูล  (ในทุกประเภทของสารสนเทศวิชาการ เช่น archive, database, digital film, digital image, e-books, magazine, map data เป็นต้น) ในการบริหารจัดการมีคณะผู้บริหารหลายชุด คือ Board of management / Advisory groups ประกอบด้วย Stakeholder group, Journal working group, Library advisory forum

รูปแบบของ NESLi2  คือ ใช้สัญญาข้อตกลงชุดเดียวระหว่าง NESLI กับสำนักพิมพ์ต่างๆ (single contract signed) โดยสัญญาข้อตกลงมีการแก้ไขใหม่เสมอผ่านการเห็นชอบจากคณะทำงานวารสาร ล่าสุดในปี 2009 มีการแก้ไขเตรียมไว้สำหรับปี 2010ที่หน้าเว็บไซต์มีการแสดงสัญญาข้อตกลงระหว่าง NESLi กับสำนักพิมพ์ต่างๆ ในชุดของปีต่างๆ ตั้งแต่ปี 2004 -2009 รวมทั้งหมด 5 ปี มีแสดงข้อมูลการประชุมสัมมนาที่เกี่ยวข้อง มีแสดงเครื่องมือในชื่อต่างๆ คือ Academic Database Assessment Tool, Interactive copyright tool, Identity management toolkit, Guide to the model license

ประเทศอิหร่าน

อิหร่านประกอบด้วยมหาวิทยาลัยที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ สายการแพทย์ ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยที่ขึ้นกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัยและเทคโนโลยี (Ministry of Science, Research and Technology -MSRT) โดยในปี ค.ศ. 2008 มีจำนวนนักศึกษาประมาณ 3.5 ล้านคน

มหาวิทยาลัยในกลุ่มสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  มีเครือข่ายจำนวน 58 แห่ง โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เริ่มรวมตัวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 จัดซื้อวารสารเป็นชุดในชื่อ  buying club ต่อมาทำความตกลงกับสำนักพิมพ์ Elsevier  ในช่วง 3 ปีแรก (2004-2006) เปิดให้เข้าถึงวารสารจำนวน 1,396 ชื่อ โดยเสนอให้ราคาส่วนลดร้อยละ 70 ในปี ค.ศ. 2004 ลดให้ร้อยละ 50 ในปี ค.ศ.  2005 และ ร้อยละ 30 ในปี ค.ศ. 2006 และเมื่อมีการวางแผนในการบอกรับใน 3 ปีต่อมา (ปี ค.ศ. 2007-2009) พบปัญหา คือ

  1. ห้องสมุดอื่นๆ ร้องขอเพื่อเข้าร่วมเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น
  2. สำนักพิมพ์ Elsevier แจ้งว่า จะไม่มีส่วนลดให้ในปี ค.ศ. 2007-2009
  3. เครือข่ายชุดเดิม MSRT ไม่มีข้อมูลสนับสนุนในแง่การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่บอกรับ หรือสถิติการใช้

สำนักพิมพ์ Elsevier ได้เสนอ model ในการบอกรับ คือ

  1. ให้สมาชิกเข้าถึงเนื้อหาชุดใหญ่ทั้งหมด (Whole Collection)
  2. ให้เข้าถึงเนื้อหาชุดเฉพาะ (Specific Collection)
  3. ให้เข้าถึงวารสารในชุดคงที่ ชุดหนึ่ง (certain number of Journal) หรือเรียกว่า unique title list, UTL

โดยทั้ง 3 รูปแบบ สำนักพิมพ์ เสนอสิทธิ์ในการเข้าถึงเป็นแบบตลอดกาล (Perpetual rights)

การพิจารณาข้อตกลงในการจัดซื้อวารสารชุดใหม่ จำเป็นต้องมีข้อมูลสถิติการใช้และค่าบอกรับอย่างละเอียดเพื่อต่อรองกับสำนักพิมพ์  และข้อมูลสถิติการใช้ควรเป็นระบบมาตรฐาน เช่น ระบบ COUNTER ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์สถิติการใช้ของผู้ใช้บริการ ข้อมูลสถิติการใช้ควรมีมาตรฐานของข้อมูล (standardization of the usage report)  สภาพความพร้อมใช้ของข้อมูล  ตัวอย่าง สถิติการใช้ของเครือข่ายประเทศอิหร่านในช่วงปี ค.ศ.  2005-2006 มี 5.6 ล้านเรื่อง และในปี ค.ศ. 2007-2008 มี 11.7 ล้านเรื่อง

ข้อมูลสถิติส่วนใหญ่ได้จากสำนักพิมพ์ ซึ่งมักมีปัญหา คือ มีการดาวน์โหลดแบบเป็นระบบต่อเนื่อง (systematic download) โดยนักศึกษาที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลจริง หรือ การดาวน์โหลดของ vendorประเทศอิหร่าน กำลังกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาการบอกรับจากหลัก cost-benefit analysis  ซึ่งถือว่าเรื่องการวัดหรือประเมินในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ยากเสมอมา

ประเทศเกาหลีใต้

Korean Electronic Site License Initiative (KESLI)  ที่จัดตั้งภายใต้โครงการใหญ่ระดับประเทศชื่อ National Digital Science Library ที่มีการจัดทำระบบสถาปัตยกรรมการคัดเลือกวารสารเพื่อจัดเป็นคลังถาวร การกำหนดเมทาดาทา และงานส่วนอื่นๆ โครงการนี้เริ่มในปี ค.ศ. 2007

National Assembly Library, NAL ได้เห็นความสำคัญของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้มีความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศในภาควิชาการ ทั้งภาครัฐและอุตสาหกรรม  รัฐบาลจึงกำหนดให้จัดสร้างแหล่งความรู้สำหรับภาควิชาการในระดับประเทศ  โดยถือว่าวารสารวิชาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง โดยหน่วยงาน The Korea Institute of Science and Technology  เป็นเจ้าภาพหลัก เริ่มต้นด้วย 2 โครงการหลัก คือ Consortial license purchase และ Journal archiving

โครงการ KESLI, Korean Electronic Site License Initiative

ในปี ค.ศ. 1999 ได้จัดตั้งโครงการนี้ในระดับชาติโดยมีการกำหนด business model ให้ KESLI ทำหน้าที่เป็นประตูเข้าออก(gateway)  ด้วยการเริ่มติดต่อและต่อรองกับสำนักพิมพ์แต่ละแห่ง เพื่อสรุปข้อตกลง  โดยมี 3 กลุ่มเข้าร่วม คือ สำนักพิมพ์ ห้องสมุด และ KESLI  จากนั้นมีการสร้าง subconsortia เช่น

  1. KESLI-Elsevier consortium
  2. KESLI-Blackwell consortium
  3. KESLI- Springer consortium

จากนั้นให้ห้องสมุดสมาชิกคัดเลือกสมัครในชุดตามที่ต้องการ ที่ผ่านมามี 40 สถาบันที่สมัครKESLI- Springer consortium อาจมีสัญญารวม 50ชุด ในปี ค.ศ. 2005 มีห้องสมุดสมาชิก 324 แห่ง ได้ทำข้อตกลงกับสำนักพิมพ์รวม 1,976 ชุด เฉลี่ย 1 สถาบัน มีสัญญาข้อตกลงกับสำนักพิมพ์เท่ากับ 6.19 ชุด

KESLI ดำเนินการได้สำเร็จ โดยวัดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาชิกห้องสมุด จำนวนเครือข่าย จำนวนวารสาร จำนวนข้อตกลง และค่าเฉลี่ยข้อตกลง ในช่วงปี 2000-2006 ดังตารางที่ 1, 2 และ 3 จำนวนเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นตามปี

ตารางที่ 1 จำนวนเครือข่าย

Description ปี 2000 ปี  2003 ปี 2006
Participating institutions 160 176 317
No. Consortia 6 31 90
No. of E-Journal 2120 5877 9780
No. of contracts 383 1515 1976
Average contract/institution 2.39 5.48 6.1

ตารางที่ 2 ประเภทของหน่วยงานเครือข่ายที่เข้าร่วม

Type ปี 2000 ปี 2003 ปี 2006
Academic Library 101(63%) 142(51%) 144(45%)
Research Institution 29(18%) 43(16%) 62(20%)
Corporate Library 13(8%) 43(16%) 52(16%)
Medical Library 12(8%) 39(14%) 47(15%)
Public Library 5(3%) 9(3%) 12(4%)
Total 160 276 317

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยสิ่งพิมพ์และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับโดยสมาชิก

Type Print Journals E-Journals Difference % difference
Academic Library 382 3520 3138 921
Research Institution 158 2972 2814 1881
Corporate Library 101 1986 1885 1966
Medical Library 257 2473 2216 962
Public Library 141 1731 1590 1227

เกณฑ์ในการคัดเลือกวารสารเพื่อจัดหา

ในปี ค.ศ. 2005 มีการคัดเลือกวารสารไว้ 7,766 ชื่อ คิดเป็นบทความจำนวน 210, 000 บทความ ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ มี 4 ปัจจัย ในการพิจารณาคัดเลือก คือ

  1. การเข้าใช้ได้แบบตลอดกาล แม้ยกเลิกการบอกรับแล้ว (Perpetuity of use)
  2. ค่าผลกระทบในการอ้างอิง หรือค่า IF  (Impact factor)
  3. จำนวนผู้ใช้บริการ (No. of users)
  4. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่อหน่วย(Invested unit cost)

ประเด็นที่สำคัญที่นำมาพิจารณา กำหนดไว้ 4 ข้อ

  1. เนื้อหา (Content collection)
  2. คุณภาพการบริการ (Service Quality)
  3. การสงวนรักษา (Preservation)
  4. เงินทุน (Funding)

เป้าหมายสูงสุดของโครงการนี้ คือ มีการเข้าใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืนและเพื่อให้มีความมั่นใจว่ามีการสงวนรักษาในระยะยาว

โครงการในระยะที่ 2 กำหนด จัดทำ delivery system module มีแผนให้บริการสูงสุด ถึง 8 แสนบทความ ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2006  โครงการระยะที่ 3 เริ่มในปี ค.ศ. 2007 กำหนดทบทวนระบบต่างๆและทดสอบการเข้าใช้ประโยชน์  กำหนดให้มีการจัดเก็บจำนวนบทความได้เท่ากับ 12 ล้านบทความ

บรรณานุกรม

  1. NESLI2. [Online] Available: http://www.jisc-collections.ac.uk
  2. Emrani, Ebrahim, Moradi-Salari, Amin and Jamali, Hamid R. 2010 “Usage Data, E-Journal Section, and     Negotiations : An Iranian Consortium experience : Serials Review Volume 36, number 2,  p. 86-92.
  3. Ho Nam Choi and Eun G. Park. 2007 “Preserving Perpetual Access to Electronic Journals : A Korean     Consortial Approach. : Library Collections , Acquisitions & Technical Services 31 p. 1-11.

แปลและเรียบเรียงโดย   รังสิมา เพชรเม็ดใหญ่

ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันที่  28 กุมภาพันธ์ 2554

เทคโนโลยี 3-D ในทุกๆ สิ่งกำลังจะมาเร็วๆ นี้

รายงาน IP Market Report ของบริษัท Thomson Reuters ที่เผยแพร่เมื่อปลายปี 2009 ที่มีคำโปรยหลักว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรสามารถแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมในอุตสาหกรรมความบันเทิงแบบ 3D มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น (Patent data shows rise in 3-D entertainment innovations) แม้ว่าเป็นรายงานนี้เป็นฉบับเก่าแต่ก็น่าสนใจด้วยเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตมากยิ่งขึ้นในขณะนี้

ความนำ

ในปี 2009 เป็นปีที่ฮอลลีวูดบันทึกว่าเป็นปีแห่งการผลิตภาพยนต์ 3D ด้วยมีการออกฉายของภาพยนต์แบบ 3D หลายเรื่อง เช่น Avatar, Bolt, Beowulf, Harry Potter ฯลฯ โดยมีการประมาณการว่าจะมีการดำเนินการสร้างหนังแบบ 3-D ราว 7,000 เรื่องทั่วโลก ภายในสิ้นปี 2009 อะไรคือเหตุผลที่มีผลกระทบให้เกิดความสนใจขึ้นมาใหม่ในธุรกิจด้านความบันเทิงแบบ 3D ขึ้นมาอีก

เพื่อหาคำตอบในเรื่องนี้ แผนก IP Solution Business ของ บริษัท Thomson Reuters จึงได้ติดตามแกะรอยหากิจกรรมสิทธิบัตรเรื่อง 3D ตั้งแต่ปี 2003 ถึง 2009 ด้วยการวิเคราะห์จำนวนของสิ่งประดิษฐ์ที่เผยแพร่ให้คำขอสิทธิบัตรและสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติระหว่างช่วงปี 2003-2009 ซึ่งทำให้สามารถระบุถึงการพัฒนาการของเทคโนโลยี 3D ว่ามีการเติบโตเร็วมากที่สุดที่ไม่ได้หยุดแค่ที่ฮอลลีวูดเท่านั้นและพบว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยี 3 D ใน 3 กลุ่มหลักอื่นๆอีก คือ 3-D Cinema, 3-D Television และ 3-D Photography  รายงานนี้ได้สรุปถึงผลการค้นพบของการวิจัยในเอกสารสิทธิบัตรโดยแสดงผลเป็นรายชื่อบริษัทที่มีกิจกรรมสิทธิบัตร 3-D สูงสุด และภูมิภาคใดของโลกที่มีการปกป้องขอความคุ้มครองเทคโนโลยี 3-D นี้

วิธีการ

ทำการรวบรวมข้อมูลสิทธิบัตรจากฐานข้อมูล Thomson Reuters, Derwent World Patents Index (DWPI) เพื่อระบุหากิจกรรมนวัตกรรมโลกที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี 3-D ด้วยนับจำนวนรวมของสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเอกสารสิทธิบัตรที่เผยแพร่ในคำขอสิทธิบัตรและได้รับอนุมัติปี 2003 กับปี 2008 และ 6 เดือนแรกของ 2009 แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาการเติบโตในเทคโนโลยีนี้  เอกสารสิทธิบัตรทั้ง 2 แบบ (การยื่นขอได้รับอนุมัติ) เมื่อนำมาวิเคราะห์รวมกันเพื่อหาช่วงเวลาที่รอคอยในการได้รับอนุมัติ ซึ่งปกติมีช่วงเวลาราว 4-5 ปี

ผลการศึกษา จากการค้นหา 3-D Technology ในเรื่องใดที่มีการเติบโตสูงสุด พบว่า ในธุรกิจบันเทิง เช่น บริษัท Blockbuster บริษัท Pixar บริษัท Dream works ได้ให้ความสนใจในเทคโนโลยี 3D มาก ผลการศึกษาพบว่านวัตกรรมที่ร้อนแรงที่สุดคือ ใน โทรทัศน์ การถ่ายภาพและภาพยนต์ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนเอกสารสิทธิบัตรในเทคโนโลยี 3-D หลัก 3 ด้าน และการจัดลำดับ

Technology 2003 2008 2009

(Q1 & Q2)

% increase 2003-2008 Ranking
3-D Television 612 1034 486 69% 1
3-D Photography 460 720 368 57% 2
3-D Cinema 103 149 61 45% 3

เทคโนโลยี 3-D Television

ธุรกิจที่เกิดจากนวัตกรรมของเทคโนโลยี 3-D มีจุดกำเนิดที่มาจากโทรทัศน์ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้เกิดนวัตกรรมการประดิษฐ์ 3-D ของภาพยนต์ จากความนิยมอย่างแพร่หลายของโฮมเธียเตอร์และคุณภาพของฟิลม์ DVD ก่อให้เกิดการจุดไฟขึ้นมาอีกรอบสำหรับภาพยนต์แบบ 3D

ในช่วงระหว่างปี 2003 กับ 2008 กิจกรรมสิทธิบัตรเรื่องโทรทัศน์ 3-D เติบโตขึ้นร้อยละ 69 ด้วยจำนวนที่ยื่นขอความคุ้มครองในปี 2008 ที่เมื่อวิเคราะห์หาชื่อบริษัทผู้ขอความคุ้มครองได้แก่ บริษัทซัมซุง ร้อยละ 4 บริษัทพานาโซนิคและบริษัทโตชิบาร้อยละ 2 ดังรายละเอียดในตารางที่ 2 รวม 1,034 เรื่อง

ตารางที่ 2    แสดงรายชื่อบริษัทผู้นำที่มีการยื่นขอสิทธิบัตรในเทคโนโลยี 3-D Television ในสิบอันดับแรก

Patent Assignees % of all patents in this technology
Samsung 4.15%
Panasonic 2.22%
Toshiba 1.74%
Seiko Epson 1.54%
Electronics & Telecom Res. Inst. 1.35%
Intel Corp. 1.35%
Juji Film Co.LTD. 1.25%
Phillips Electronics 1.25%
Sharp 1.25%
Univ. Zhejiang 1.16%

ท่ามกลางการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีใหม่นี้พบว่าในปี 2008 ที่มีการยื่นขอความคุ้มครองมี 30 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ เลนส์ ชนิด Leuticulas lenses ที่ช่วยสร้างภาพ 3-D ให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้แว่นตาพิเศษสวมใส่ในเวลาชมภาพต่างๆ นี้เป็นการพัฒนาที่สำคัญยิ่งนำให้เทคโนโลยีโทรทัศน์ 3-D กลายเป็นกระแสหลักของตลาดผู้บริโภค

ส่วนในการค้นหาว่าภูมิภาคใดของโลกที่มีการปกป้องขอความคุ้มครองพบว่าสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำตามด้วยญี่ปุ่นและจีน ดังตารางที่ 3 แสดงประเทศลำดับแรกที่มีการยื่นขอ (priority country) ของปี 2008 แสดง 10 ลำดับ คือ

ตารางที่ 3   แสดงรายชื่อประเทศที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรในเทคโนโลยี 3-D Televisionเป็นครั้งแรก

Priority Country % of all patents in this technolgy Number of patents
US 34% 347
JP 24% 246
CN 15% 159
KR 14% 140
DE 2.2% 23
GB 1.9% 20
WO* 1.9% 20
TW 1.7% 18
EP 1.6% 17
FR 1.5% 16

เทคโนโลยี ภาพถ่าย 3-D (3-D Photography)

มีการคาดการณ์ว่าการส่งออกของกล้องดิจิทัลจะมีการลดลงราว 6% ในจำนวน 129 ล้านหน่วย ในปี 2009 ด้วยมีสัญญาณว่าถึงจุดอิ่มตัวของตลาดแล้ว ขณะที่อุตสาหกรรมนี้ยังคงค้นหานวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค 3-D ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเกิดขึ้นของพรมแดนใหม่ในภาพถ่ายดิจิทัล บริษัท Fuji Film เป็นที่หนึ่งในการนำเทคโนโลยีนี้ทดลองนำเข้าตลาดในรุ่น Fine Pix Real 3D W1 ด้วยการถ่ายภาพดิจิทัล 3-D แบบความละเอียด 10 เมกาพิกเซล และแสดงออกมาเป็น 3-D บนจอ Camera’s lenticular screen

ในระหว่างปี 2003 กับปี 2008 กิจกรรมสิทธิบัตร 3-D Photography เติบโตขึ้นร้อยละ 57 ด้วยจำนวนสิทธิบัตร 720 เรื่องที่ยื่นในปี 2008 โดยเป็นร้อยละ 8 ที่ยื่นขอความคุ้มครองโดยบริษัท Fuji Film ตามด้วยร้อยละ 3 โดยบริษัทโซนี 368 เรื่อง และซัมซุง โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2009 มีการยื่นขอความคุ้มครอง

ตารางที่ 4   แสดงรายชื่อบริษัทผู้ยื่นขอสิทธิบัตรในเรื่อง 3-D Photography

Patent Assignees % of all patents in this technology
Fuji Film 8.0
Sony 2.9
Samsung 2.6
Seiko Epson 2.5
Nikon 2.2
Panasonic 2.0
Toshiba 1.7
Canon 1.1
Hitachi 1.1
victor Co. 1.1

ท่ามกลางความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญยิ่งนี้มีการแสดงถึงรายชื่อบริษัทต่างๆ ที่กำลังพัฒนาเรื่อง display screens ได้แก่บริษัท Seiko Epson และ NEC และบริษัทที่พัฒนาเรื่อง Image Capture และ Display Systems ได้แก่ Hitachi, Nippon Hoso Kyokai, Sanyo, Toshiba และ Victon

ส่วนภูมิภาคที่มีการปกป้องสิทธิบัตรเรื่องนี้พบว่าญี่ปุ่นเป็นผู้นำอันดับหนึ่งตามด้วยสหรัฐอเมริกาและจีน (เป็นประเทศแรกที่มีการยืจด priority country) ดังรายละเอียดในตารางที่ 5

ตารางที่ 5    ประเทศผู้นำในการยื่นขอสิทธิบัตรเรื่อง เทคโนโลยี 3-D Photography

Priority Country % of all patents in this technology No. of Patents
JP 49% 356
US 19% 138
CN 8.8% 64
KR 8.0% 58
DE 4.3% 31
TW 3.5% 25
WO* 1.7% 12
FR 1.5% 11
GB 1.4% 10
EP 0.8% 6

เทคโนโลยีภาพยนต์ 3-D  (3-D Cinema)

เมื่อช่วงที่ผ่านมา บริษัท Dream Works ได้ให้คำมั่นว่าจะผลิตฟิล์มในรูป 3-D ในขณะที่เป็นการยากสำหรับผู้ชมภาพยนต์จะหลีกหนีการเกิดขึ้นของ 3-D ที่กำลังจะมาเร็วๆนี้ในโรงภาพยนต์ โดยที่ระหว่างปี 2003-2008 กิจกรรมสิทธิบัตรเรื่อง 3-D Cinema เติบโตขึ้นร้อยละ 45 ในจำนวนสิทธิบัตร 149 เรื่อง ที่ยื่นขอในปี 2008 คิดเป็นของบริษัทต่างๆ คือบริษัท Seiko Epson ร้อยละ 10 บริษัท Sony ร้อยละ 6 บริษัท Real D ร้อยละ 5 และใน 6 เดือนแรกของปี 2009 มีการยื่นขอ 61 เรื่อง

ตารางที่ 6  แสดงรายชื่อบริษัทผู้ยื่นขอสิทธิบัตรในเรื่อง 3-D Cinema

Patent Assignees % of all patents in this technology
Seiko Epson 10
Sony Corp 6.0
RealD 5.4
Thomson Licensing 2.7
Panasonic 2.0
Phillip Electronic 2.0
Light Blue Optics LTD 1.3
Samsung 1.3
Alsin AW Co.LTD 0.7
Bluvis Inc. 0.7

 

โดยที่ 3 บริษัทคือ Seiko, Epson Sony และ Philips พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ Projection ส่วนเทคโนโลยี Anti-Piracy system พัฒนาโดยบริษัท Thomson Licensing และเทคโนโลยี 3-D Editing apparatus พัฒนาโดย บริษัท Bluvis ส่วนบริษัท Real D มีความสามารถในหลายเรื่องคือ projection systems, specialist glasses, cleaning & glass registration system และ polarization for projection
ภูมิภาคที่มีการขอปกป้องนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เป็นประเทศแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำอันดับ 1 ตามด้วยญี่ปุ่นและเกาหลี ดังในตารางที่ 7 แสดง 10 อันดับแรกประเทศแรกที่มีการยื่นจด

ตารางที่ 7  ประเทศผู้นำในการยื่นขอสิทธิบัตรเรื่อง เทคโนโลยี 3-D Cinema

Priority Country % of all patents in this technology No.of Patents
US 46% 69
JP 29% 43
KR 6.0% 9
WO 5.4% 8
CN 4.7% 7
FR 4.0% 6
EP 2.0% 3
GB 1.3% 2
TW 1.3% 2
DE 0.7% 0

สรุป

ในช่วงปีที่ผ่านมาในโรงภาพยนต์ ประเภท Cineplex เริ่มมีการแสดงภาพเคลื่อนไหวในลักษณะ 3 มิติ ซึ่งต่อไปในเวลาอันใกล้นี้ผู้บริโภคอาจได้ชมภาพ 3 มิติ บนจอของโทรทัศน์และภาพ 3 มิติ ในอัลบั้มภาพถ่าย ลักษณะการพัฒนาเทคโนโลยี 3 มิติในต่อไปเป็นเส้นโค้ง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ทีมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวได้พัฒนาระบบการแสดงเทคนิคที่เหมือนมีชีวิต 3 มิติ โฮโลแกรม (Hologram) ด้วยการสัมผัสจากมนุษย์ ด้วยการใช้เทคนิค airbone ultrasound ที่ทำการตรวจจับการเคลื่อนที่ขยับไปมา และ การเป่าลมไปยังมือผู้เล่นเพื่อให้เสมือนสัมผัสกับวัตถุนั้น (blows air jets onto the user’s hand to mimic the feel of the object) ซึ่งระบบนี้ยังไม่ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตร แต่ว่าใช้สิทธิบัตรในเทคโนโลยีเรื่องรีโมทเซ็นเซอร์ (remote sensor) ที่คล้ายคลึงกับที่ใช้ในระบบเกมส์ Ninteudo Wii และภาพแสดงโฮโลแกรมที่ได้รับสิทธิบัตรใหม่ในเดือนสิงหาคม 2009 โดยบริษัทในสหรัฐอเมริกา ชื่อ Provision Interactive Technologies ซึ่งกำลังพัฒนาเทคโนโลยีแรกเริ่มสำหรับสาขาการแพทย์ที่อาจเป็นการนำเสนอขอบเขตใหม่ของเทคโนโลยีวินิจฉัยโรคด้วยภาพ รวมถึงอาจมีบทบาทเป็นผู้นำในการเช่าภาพยนต์ Blockbuster ต่อไป
ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง เราคงต้องเฝ้ามองดูต่อไปของการพัฒนานวัตกรรมที่ปรากฏขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยแผนก IP ของบริษัท Thomson Reuters จะติดตามและรายงานในอนาคตต่อไป

อ้างอิง

Thomson Reuters – IP Market Report  Dec.2009 : Coming Soon in 3-D …… Everything !  Patent data shows rise in 3-D entertainment innovations. Available at : http://img.en25.com/Web/ThomsonReutersScience/3DTechnology.pdf

แผนที่สิทธิบัตร อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง

Thomson Reuters ได้เผยแพร่บทความที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ในชื่อเรื่อง Investing in Intelligence to stay successful through Innovation :  The Role of patents in the Petro-Chemical Intermediates industry มีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้

สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันสำคัญ อยู่รอบๆ ตัวเรา (Daily essentials : All around us)

อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แป้นคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ขวดน้ำดื่ม  เสื้อเชิตจากไนลอน เป็นต้น ล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มนุษย์ใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมและเป็นของมีค่าสำหรับธุรกิจตามน้ำของการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลาง (Petro-Chemical Intermediates application)

บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเหล่านี้ยังคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เข้มข้น และ รวดเร็ว  เพื่อที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับธุรกิจของบริษัทตนเอง โดยในขณะนี้มีจำนวนบริษัทมากขึ้นที่ตระหนัก เข้าใจถึงความสำคัญ ของระบบสิทธิบัตร โดยที่สิทธิบัตรเป็นรูปแบบหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญและยังเป็นตัวชี้วัดถึงระดับนวัตกรรมขององค์กรอีกด้วย

เศรษฐกิจของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ ถือว่าความรู้เป็นเสาหลักที่สำคัญสำหรับการเติบโต  เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท DuPont Zytel  Plus Nylon  ได้คิดค้นนวัตกรรมที่สำคัญยิ่ง คือวัสดุที่ทนทาน แข็งแรง ถูกนำไปใช้ในบริษัท General Motors, GM เป็นที่คลุมเครื่องยนต์ของรถยนต์ Car-engine hood cover) ซึ่งได้รับรางวัล SPE most innovative use of plastic awards 2010  บริษัท Yokohama ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลก  ได้ผลิตยางรถยนต์สีเขียว ( Green performance tyres)  ที่ส่วนประกอบเป็นสารปลอดปิโตรเลียม ร้อยละ 80

ผลกระทบทางตรงของนวัตกรรมต่อบริษัทและเศรษฐกิจ  (Innovation directly impacts the company and economy)

นวัตกรรมช่วยสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและมีผลโดยตรงต่อบริษัทและประเทศ ในทศวรรตที่ผ่านมาประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก นวัตกรรมเป็นเรื่องที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ถูกนำไปเป็นแรงดึงดูดอย่างมากในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เดิมได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตสิ่งของราคาถูกของโลก  มาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงปี 1990s เป็นต้นมา ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนการเคลื่อนที่ เป็นรูปร่างตัวยู  เน้นในเรื่องนวัตกรรม และเพิ่มคุณค่าด้วยการผลิตสิ่งของส่งออกแบบไฮเทคมากยิ่งขึ้น พบว่ามีการโคลงเคลงถึงร้อยละ 300 ในช่วงปี 1995 – 2005

ส่วนประเทศสิงคโปร์ก็ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นในการส่งออกสินค้าไฮเทค คิดเป็นร้อยละสูงสุด และยังเป็นสถานที่ดึงดูดแก่บริษัทเทคโนโลยี เช่นบริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำของโลก  ที่เข้ามาจัดตั้งโรงงานผลิตและมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยและพัฒนาที่เกาะแห่งนี้ สำหรับประเทศไทย พบว่ามีการเบี่ยงเบน หันเหจากปกติไม่มากนัก โดยตั้งแต่ปี 1990 คิดเป็นร้อยละ 28  ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดแรงงานที่มีคุณภาพ  ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นจากประวัติเดิมในความสามารถของโรงงานผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์  ที่ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมมากขึ้น ในการขับเคลื่อนและสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น  หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือน มีนาคม 2011 ยิ่งก่อให้เกิดการสร้างโอกาสให้แก่ ประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ที่อาจเกิดการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม  และงานด้านวิจัยและพัฒนายิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นไปตามการคาดหมายของ BOI ประเทศไทย (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีท้องถิ่นของประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อน เช่น บริษัท ปตท. จำกัด บริษัทเอสซีจี  จำกัด เริ่มมีการเฝ้ามอง เพ่งพินิจเรื่องนวัตกรรมใหม่อย่างเข้มข้น  และได้ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น เช่น มีการยื่นขอจดสิทธิบัตร ดำเนินการหาโอกาสในการเป็นพันธมิตรกับนานาชาติ  เพื่อที่จะรักษาไว้ในความยั่งยืนของธุรกิจ ไว้ จากแนวคิดเดิมธุรกิจเทคโนโลยีไม่สามารถยั่งยืนอยู่ได้ด้วยการลดราคาและจัดการประสิทธิภาพในต้นทุนได้อีกต่อไป

รูปภาพที่ 1 แสดงสินค้าเทคโนโลยีส่งออก เป็นร้อยละของประเทศต่างๆ
alt
Source : Thomson Reuters : Investing in Intelligence to stay successful through Innovation

นวัตกรรมคือกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดความแตกต่างของเทคโนโลยี (Innovation is key to Technology Differentiation)

นวัตกรรมคือทักษะ ความสามารถในการนำสิ่งประดิษฐ์ออกสู่ตลาดได้สำเร็จ ในยุคนี้บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยี ต่อสู้กันด้วยการลงทุนด้านวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม

รูปภาพที่ 2 แสดงขั้นตอนห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
alt

Source : Thomson Reuters :  Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.

ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางดังแผนภาพที่แสดง  แสดงถึงขั้นตอนห่วงโซ่ทั้งหมดตั้งแต่ปิโตรเลียมดิบ ถึงผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค  ที่ได้แก่ สี พลาสติก ยาง ผงซักฟอก สีย้อม ปุ๋ย สิ่งทอ และตัวทำละลายต่างๆ พบว่ามีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น โดยมีการเติบโตแบบอัตราเพิ่มแบบยกกำลัง เมื่อมองดูคุณค่าของทั้งห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พบว่ามีการเติบโตรวดเร็ว มากกว่า จีดีพี  ของประเทศส่วนใหญ่  นี้เป็นเพราะผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ได้เข้าแทนที่ สับเปลี่ยน ในวัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวันปัจจุบันอย่างกว้างขวาง และเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง

สำหรับสาร Polyester เป็นเทคโนโลยีที่ยกเว้นในการถูกแทนที่  นำไปใช้ประโยชน์แทน ผ้าฝ้าย และ ขนสัตว์ ในขณะที่พลาสติกถูกนำไปใช้แทนที่  แก้ว โลหะ กระดาษสำหรับห่อ และวัสดุประกอบรถยนต์ พลาสติกและ สาร Polyester เป็นวัสดุหลักสำคัญที่สามารถทำการนวัตกรรมเห็นผลได้ชัดเจน เป็นการปรับปรุงเทคนิคของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง

วิธีการสืบค้นหาเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตรอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Technology Searching through Patents)

ในรายงานฉบับนี้ มีการวิเคราะห์สิทธิบัตรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ด้วยวัตถุประสงค์แสดงจุดสำคัญในทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรม และเพื่อเข้าใจถึงสถานภาพการแข่งขัน นอกจากนี้ยังแสดงข้อมูล ในเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ที่ทำให้ทราบถึงสาขาวิชาหลักในการวิจัยพัฒนาของโลก ภูมิทัศน์ของสิทธิบัตร คือ รูปภาพแสดงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรที่ได้จากการสืบค้นและประมวลผลด้วยเทคนิค text mining  จากฐานข้อมูล Thomson Innovation, TI
ถือเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยม ดีเลิศในขณะนี้ ได้เปิดให้บริการแก่ภาคธุรกิจ เพื่อให้ได้ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในชุดฐานข้อมูล Thomson Innovation ยังให้บริการฐานข้อมูลสิทธิบัตรที่สำคัญยิ่งอีกชื่อหนึ่ง คือ Derwent World Patent Index, DWPI  เป็นชุดฐานข้อมูลที่มีบริการมายาวนานกว่า 50 ปี ที่เป็นที่ยอมรับแก่ชุมชนวิจัยสิทธิบัตรทั่วโลก
ด้วยคุณลักษณะพิเศษของ DWPI ที่มีการเขียนขึ้นใหม่ (rewritten) ในส่วนของชื่อเรื่อง บทคัดย่อ ของเอกสารสิทธิบัตรในแต่ละฉบับ ที่สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้หลักการเขียนใหม่ ด้วย ชัดเจน สม่ำเสมอ
ใช้คำศัพท์เฉพาะทางอุตสาหกรรม ( clear, consistent, industry-specific term)

DWPI แหล่งข้อมูลสิทธิบัตรที่สำคัญ ช่วยให้เกิดความฉลาดในเรื่องเทคโนโลยี (Derwent Worldwide Patents Index The Essential Patent Source for Technology Intelligence) จากแผนผังที่ 3 แสดงจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรในหัวเรื่องของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มของแข็ง และกลุ่มสารละลายและส่วนประกอบของเหลว

แผนผังที่ 3  แสดงครอบครัวสิทธิบัตรในสารขั้นกลางหลายๆ ชนิด
alt

Source : Thomson Reuters :  Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.

ความสำคัญของเนื้อหาสิทธิบัตรในฐานข้อมูล DWPI  ดังแสดงในแผนผังที่ 3 นั้น แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากเอกสารสิทธิบัตรต้นฉบับ กราฟแท่งสีฟ้าแสดงจำนวนครอบครัวสิทธิบัตร (Patent family)  ที่สืบค้นได้จากที่ฐาน DWPI แห่งเดียว ไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ได้เลย ตัวอย่าง สืบค้นด้วยคำศัพท์ plastic OR resin OR polymer ผลการสืบค้นพบเอกสารสิทธิบัตรเป็นหลักพันเรื่อง โดยตัวอย่างในแผนผังที่ 4 เป็นเอกสารสิทธิบัตรการยื่นขอของประเทศสหรัฐอเมริกา เลขที่ US20080103278A1  โดยฐานข้อมูล DWPI ได้เขียนขึ้นใหม่ ในส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง (title) พบว่ามีคำใหม่เกิดขึ้นมาคือ polystyrene ที่ในเอกสารต้นฉบับไม่มี สะท้อนให้เห็นว่ามีการซ่อน ปิดบัง ไว้ (hidden) ซึ่งหากไม่มีฐานข้อมูล DWPI จะไม่พบเอกสารฉบับนี้  ซึ่งในเรื่อง polystyrene จะไม่พบถึง 7 ใน 10 เรื่องทีเดียว ที่คิดเป็นร้อยละ 70

รูปภาพที่ 4
alt

Source : Thomson Reuters :  Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.

รวมทั้งยังแสดงให้เห็นความชัดเจนด้วยการพรรณาให้เป็นภาพในแผนผังที่ 3 ที่คำว่า Styrene / Polystyrene เป็นชุดคำศัพท์ที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของนวัตกรรมใหม่นี้ และยังแสดงว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรที่เป็นผลิตภัณฑ์ของแข็ง (Solid products) โดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารละลายของเหลว (liquid solvent)

แผนผังที่ 5   แสดงการยื่นขอจดสิทธิบัตรแบบ Compound annual Growth Rate (CAGR)  ของสารต่างๆ ที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง
alt

Source : Thomson Reuters :  Investing in Intelligence to stay successful through Innovation

ในแผนผังที่ 5 ความสำคัญของนวัตกรรมจากสาร Styrene / Polystyrene  ยังสามารถยืนยันได้ในแผนผังที่ 4 ที่แสดงให้เห็นว่า เป็นสารที่มีอัตราการเติบโตต่อปีสูงที่สุด Compound annual Growth Rate (CAGR)  ที่ร้อยละ 3.5  ของสิทธิบัตรที่มีการขอยื่นจดในระหว่างปี 2005 ถึง 2009 โดยในเส้นข้างๆ ของข้อมูล CAGR ยังแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของสาร Acetone  และ Ethyl acetate  รวมถึงสารละลายและสารประกอบอีกหลายๆ ชนิดด้วย

การเอาชนะในความท้าทายในการวิเคราะห์สิทธิบัตรเรื่อง Styrene / Polystyrene  ในจำนวนหลักหมื่น
(Overcoming the challenge of having to analyze more than 16,000 Styrene / Polystyrene Patents)

การวิเคราะห์สิทธิบัตรด้วยแผนที่ ที่ชื่อว่า Themescape Map ของฐานข้อมูล Thomson Innovation เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถแสดงออกมาเป็นภาพแบบแผนที่ แบบระยะห่างของพื้นที่ภูมิประเทศ (Topographic space) ที่สามารถแสดงภาพสิ่งที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นภาพได้ ที่ช่วยให้เห็นเรื่องสำคัญในการเปิดเผยออกมาในเรื่องเทคโนโลยีรองได้ ที่บริษัทอุตสาหกรรมผู้เล่นเกมส์ในเรื่องนี้สามารถใช้เป็นความสามารถในการแข่งขันได้ (Competitive Intelligence) ในขณะที่พื้นที่สีขาวช่วยให้เห็นแนวโน้มทิศทาง ที่จะช่วยให้เรามุ่งเป้าในการตัดสินใจได้

หากเราทำการวิเคราะห์แบบวิธีปกติอาจใช้เวลาอย่างน้อย 8 วัน ในขณะที่แผนที่ Themescape สามารถสั่งให้ทำได้ในเวลาเพียง 8 วินาที  รวมถึงสามารถจัดหมวดหมู่เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีรอง ของสิทธิบัตรเรื่อง Styrene / Polystyrene  แสดงได้ในรูปภาพที่ 5

รูปภาพที่ 6 แสดงแผนที่ Themescape Map ที่แสดงถึงกิจกรรมสิทธิบัตรด้วยภาพ เปรียบเทียบระหว่างบริษัทอุตสาหกรรมคู่แข่ง ที่สามารถช่วยพัฒนากลยุทธ์ด้านธุรกิจได้
alt

Source : Thomson Reuters :  Investing in Intelligence to stay successful through Innovation.

จากรูปภาพที่ 6  ในแต่ละจุด แสดงถึงเอกสารสิทธิบัตร 1 ฉบับ ความสำคัญอยู่ที่ตำเหน่งของแต่ละจุด ที่แสดงความสัมพันธ์กัน  เช่นหากมีจุดจำนวนมากอยู่ในตำเหน่งใกล้กัน แสดงนัยได้ว่ามีความคล้ายคลึงของเทคโนโลยี (Technologically Similar) สูง  แผนที่ Themescape แสดงภาพออกมาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่วนในประเด็นเรื่องเทคโนโลยีรองที่เกิดใหม่ล่าสุด ในการขอยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง Styrene / Polystyrene  ได้แก่ หมวดพันธุศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวัสดุนาโน เป็นต้น

จากแผนที่ เห็นได้ว่า บริษัท BASF ถือครองแฟ้มข้อมูลสิทธิบัตรจำนวนมากในเรื่อง Thermoplastics (ดังในพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) ในขณะที่เป็นคำขอยื่นสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับ LCD  (ดังในพื้นที่รูปสามเหลี่ยม) ด้วย

Themescape Map กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญของภาคธุรกิจ ที่สามารถช่วยให้ค้นพบแนวโน้มของสิทธิบัตร  ช่วยในการวางกลยุทธ์เทคโนโลยี ผู้ใช้บริการจากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า การแสดงข้อมูลที่เป็นข้อความออกมาให้เป็นรูปภาพเชิงกราฟ ช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าใจได้ง่ายขึ้นช่วยวิเคราะห์สรุปถึงสิทธิบัตรที่มีหลักพันฉบับ ขณะนี้สิทธิบัตรของประเทศออสเตรเลีย 17 ล้านเรื่อง ก็มีการจัดทำแผนที่ลักษณะนี้เช่นกัน

หนทางข้างหน้า (The way forward)

ความรู้เรื่องนวัตกรรม สามารถหาได้จากสารสนเทศสิทธิบัตร  ซึ่งระบบสืทธิบัตรเป็นเรื่องสำคัญในการขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง  ที่ช่วยให้เข้าใจในความก้าวหน้าและทันสมัยของเทคโนโลยี แต่ด้วยจำนวนสิทธิบัตรที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา มนุษย์ไม่สามารถอ่านชุดสิทธิบัตรขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ฐานข้อมูล DWPI มีการใช้งานในจำนวนมากๆ จากสำนักงานสิทธิบัตรประเทศต่างๆทั่วโลก รวมถึงบริษัทและองค์กรวิจัยชั้นนำของโลก ได้ประโยชน์ในเรื่อง Technology Intelligence องค์กรใดที่จะประสบความสำเร็จในการใช้ฐานข้อมูลสิทธิบัตร DWPI  จากรายชื่อบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก  500 อันดับแรก จาก Fortune รวมถึงมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกต่างใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล DWPI เทคนิคที่ทำให้มองเห็นเป็นภาพ เช่นแผนที่ Themescape เป็นเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยตีความ ให้ความหมาย (Interpret) ชุดเอกสารสิทธิบัตรจำนวนมากได้ ช่วยให้เห็นแนวโน้มของอุตสาหกรรมได้ และยังช่วยในการตัดสินใจ ในการลงทุนวิจัย พัฒนา ด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ มีสิทธิบัตรครอบครัวมากกว่า 1.5 แสนเรื่อง (1ชุดครอบครัวมีหลายฉบับที่ยื่นจดในหลายๆ ประเทศ)  ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง สารจำพวก Polystyrene / Styrene / Polyester / Polyurethane และ  Synthetic Rubber เป็นสิทธิบัตรที่มีการยื่นขอจดในอันดับต้นๆ  รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นในทศวรรษหน้า และจะมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องด้วย

อ้างอิง

Allen Yeo , June 2011.  Thomson Reuters Report – Investing in Intelligence to stay successful through Innovation – The role of  Patents in The Petro-Chemical Intermediates Industry. Available at http://science.thomsonreuters.sg/

กิจกรรมสิทธิบัตรของจีน

Thomson Reuters World IP today ได้จัดทำรายงานเรื่อง Patented in China: The present and future state of innovation in china เมื่อเดือนตุลาคม 2010 เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงขอถ่ายทอดและสรุปสาระสำคัญคือ เศรษฐกิจของประเทศจีนได้เคลื่อนย้ายจุดสำคัญจากภาคการเกษตรแบบดั้งเดิม และอุตสาหกรรมการผลิตไปในทิศทางที่ไปสู่กิจกรรมนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น

บทนำ

เมื่อปี 2008 กรุงปักกิ่ง ได้จัดกีฬาระดับโลกโอลิมปิกเกมส์ได้อย่างยอดเยี่ยมที่ผ่านมาประเทศจีนมีการเจริญเติบโตที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วมาก ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างอยากรู้อยากเห็น

การปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน เริ่มในปี 1987 ต่อมาได้เห็นผลปรากฎออกมาจากประเทศที่ยากจนกำลังพัฒนากลายมาเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ทั้งในแง่ความเท่าเทียมกันในกำลังซื้อและในแง่ GDP และเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กระตุ้นส่งเสริมให้ประเทศนำระบบนวัตกรรมมาใช้ด้วยหลายๆ มาตรการ เช่น

  • การเพิ่มงบประมาณการวิจัยพัฒนาของประเทศ (increased overall R&D budget)
  • ใช้ระบบหักลดภาษี (introduced tax breaks)
  • ระบบแรงจูงใจทางการเงินเพื่อเพิ่มนวัตกรรมท้องถิ่น (Monetary incentives to increase indigenous innovation)
  • ลงทุนสถาบันวิชาการของประเทศ (Investing in the nation’s academic institutions)

ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นตัวขับเคลื่อนเบื้องหลังกิจกรรมสิทธิบัตรของจีน ขณะนี้ระบบกฎหมายสิทธิบัตรของจีนมีอายุได้ 25 ปี หลังจากเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปี 1985 ขณะนี้ สำนักงานสิทธิตรจีนได้กลายเป็น สำนักงานใหญ่อันดับที่ 3 ของโลกที่มีการรับการยื่นขอจดสิทธิบัตรรองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

ในช่วงปี 2003 ถึง 2007 จีนมีค่า GDP เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9.75/ปี ในขณะที่จำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตรเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 28.4 ต่อปี หากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จีนจะกลายเป็นผู้นำในกิจกรรมสิทธิบัตรของโลกในอนาคตอันใกล้นี้     รายงานนี้เป็นการนำเสนอแนวโน้มกิจกรรมสิทธิบัตรของจีน และจินตนาการถึงว่าสารสนเทศสิทธิบัตรของโลกจะมีภาพเป็นอย่างๆรในช่วง 5 ปีต่อไปนี้

สมรรถภาพในอดีต

สำนักงานสิทธิบัตร 5 แห่งที่สำคัญของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป เกาหลีใต้ และ จีน คิดรวมแล้วมีการยื่นจำนวนสิทธิบัตรราวร้อยละ 75 ของโลก และมีการอนุมัติสิทธิบัตรราวร้อยละ 74 ของทั่วโลก

การวิเคราะห์จำนวนสิทธิบัตรช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาจาก 5 สำนักงานข้างต้นนั้นพบว่าจีนมีการเติบโตในอัตราที่เร็วมากที่สุด

หน่วยนับที่ใช้วัด (attributes) ในการศึกษาครั้งนี้ของ Thomson Reuters ได้แก่

  • ค่า Total volume of patents

หมายถึงจำนวนรวมของสิทธิบัตรที่มีการยื่นที่ประเทศตนเองก่อน และต่อมามีการยื่นในประเทศอื่นๆ อีกเพื่อป้องกันการผลิต ที่เรียกว่า equivalent

  • ค่า Basic patent volume

หมายถึงจำนวนสิทธิบัตรที่ประดิษฐ์คิดค้นด้วยพลเมืองของประเทศนั้น และมีการยื่นจดครั้งแรกในประเทศ

  • Ratio of basic of total volume

สัดส่วนระหว่างจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นในประเทศครั้งแรกกับจำนวนที่ไปยื่นในประเทศอื่นๆ ต่อ
ในการศึกษานี้ใช้ข้อมูลดิบจำนวนสิทธิบัตร เปรียบเทียบ 5ประเทศหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และ จีน จากฐานข้อมูล Thomson Reuters : Derwent World Patent Index

Total Patent Volume 2003-2009

JP มีจำนวนสูงสุด 4.6 ล้านเรื่อง ร้อยละ 35
US มีจำนวน 3.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 27
CN มีจำนวน 1.8 ล้านเรื่อง ร้อยละ 14
EP มีจำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12
KR มีจำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12

Basic Patent Volume 2003-2009

JP มีจำนวนสูงสุด 4.6 ล้านเรื่อง ร้อยละ 35
US มี จำนวน 3.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 27
CN มีจำนวน 1.8 ล้านเรื่อง ร้อยละ 14
EP มีจำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12
KR มี จำนวน 1.5 ล้านเรื่อง ร้อยละ 12

Basic/Total Patent Volume Ratios

Ratio of Basic/Total 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 Average

JP

59.4% 58.2% 55.9% 54.2% 49.6% 46.4% 43.6% 52.5%

US

47.8% 43.0% 48.6% 46.1% 47.0% 45.8% 41.9% 45.8%

EP

19.2% 20.3% 20.2% 18.1% 18.0% 14.5% 15.7% 18.0%

KR

46.5% 45.6% 44.1% 41.2% 42.7% 47.0% 54.4% 45.9%

CN

32.7% 30.2% 36.3% 37.7% 40.6% 44.2% 43.3% 37.9%

นโยบายของรัฐบาลและบทบาทในเรื่องนวัตกรรม

  • งบประมาณวิจัยและพัฒนา (R&D Budget)

รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนวางแผนที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และพัฒนาให้เพิ่มอย่างรวดเร็วโดยมีเป้าหมายให้เป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP ในปี 2020 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 1996 ลงทุนเพียงร้อยละ 0.6 ของ GDP และในปี 2006 ลงทุนร้อยละ 1.4 ของ GDP

ในเวลาเดียวกันจีนมีแผนนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่มีเป้าหมายให้มีการเติบโตของ GDP ในอัตราที่
มากกว่าร้อยละ 7.5 ในทุกๆ ปี จนถึงปี 2010 และเป็นร้อยละ 7.0 จนถึงปี 2020 นี้เป็นผลให้เกิดความสัมพันธ์ในทางบวกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ระหว่างจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรกับค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา

การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และการส่งเสริมค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นอิสระจะเป็นเชื้อเพลิงที่กระตุ้นระบบนวัตกรรมของประเทศอย่างต่อเนื่อง

  • ระบบการเงินและภาษี (Tax and Financing)

รัฐบาลจีนอนุญาตให้มีการขอหักลบภาษี (tax deduction) สำหรับค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนารวมถึงมีการให้เพิ่มการขอกู้เงินจากรัฐบาล (lending) และ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (discounted interest rates) ซึ่งแน่นอนทั้ง 3 มาตรการนี้มีส่วนผลักดันให้จีนมีสถิติในสิทธิบัตรอย่างน่าทึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้วและจะเพิ่มมากขึ้นต่อไปอีกในปีต่อๆ ไป

  • นวัตกรรมของท้องถิ่นและมาตรฐานเทคโนโลยี (Indigenous innovation and Technology Standard)

นายกรัฐมนตรีจีน นาย Weu Jiabao ได้กล่าวว่า “เทคโนโนโลยีหลักไม่สามารถซื้อขายกันได้ มีวิธีเดียวคือต้องมีความสามารถอย่างเข้มแข็งในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้วยการได้มาในสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของเราเอง ซึ่งเราสามารถส่งเสริมความสามารถการแข่งขันและได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมนานาชาติได้”

นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน กระตุ้นส่งเสริมนวัตกรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น (indigenous innovation) เพื่อปรับปรุงความสามารถในการสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศเอง และเพื่อลดความเชื่อถือในเทคโนโลยีต่างประเทศที่มีมากมายในปัจจุบัน  การคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยีนวัตกรรมภายในประเทศเองช่วยให้เกิดการจ่ายค่าสิทธิแก่ผู้ประดิษฐ์ภายในประเทศโดยตรง

ขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มมีการเข้าจัดการในอุตสาหกรรมต่างๆ คือ โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึง โทรศัพท์เซลลูล่าห์ โทรศัพท์ดิจิทัล ชิปคอมพิวเตอร์ วิดีโอดิสก์ กล้องถ่ายรูปดิจิทัลและเครือข่ายในยุคใหม่

บทบาทของรัฐบาลในภาคส่วนวิชาการและวิสาหกิจ (Government role in Academia and Enterprise)

เกือบทั้งหมดของภาคส่วนวิชาการที่สำคัญของประเทศอันได้แก่ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ขึ้นโดยตรงกับรัฐบาล จากการศึกษาของ Thomson พบว่า ภาคส่วนวิชาการของจีนเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่มีสัดส่วนจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรสูงมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 16 ในขณะที่เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ คือ ญี่ปุ่น มีเพียงร้อยละ 1 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 4 เกาหลีใต้ ร้อยละ 2 ส่วนประเทศที่มีความคล้ายคลึงกับประเทศจีนในประเด็นนี้คือ ประเทศรัสเซีย โดยทั้ง 2 ประเทศปกครองแบบมีศูนย์รวมอำนาจตรงกลาง ซึ่งในการคัดเลือกโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการให้ทุน เป็นอำนาจและการควบคุมจากรัฐบาลกลางโดยตรง

นอกจากนี้รัฐบาลยังมีบทบาทสำคัญและชี้นำรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในปี 2007 รัฐบาลลงทุนให้แก่วิสาหกิจส่วนกลางที่เป็นของรัฐจำนวน 150 แห่ง เป็นจำนวนเกือบ 100 พันล้านหยวน (14.27 พันล้าน USD) คิดเป็นร้อยละ 27 ของงบประมาณการวิจัยและพัฒนาของประเทศร้อยละ 27

แรงจูงใจทางการเงิน (Menetary Incentive)

รัฐบาลให้เงินอุดหนุนแก่นักประดิษฐ์นิติบุคคลภายในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน หน่วยงานของรัฐในส่วนจังหวัดหรือเมืองใหญ่ๆ ส่วนใหญ่กระตือรือร้นที่จะบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลส่วนกลางที่มักจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มเติมให้บ่อยๆ และคืนเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ กลับให้เพื่อการกระตุ้นการยื่นสิทธิบัตรในขณะที่รัฐบาลส่วนท้องถิ่นอาจจะอนุมัติทุนอุดหนุนให้อีกร้อยละ 50 ถือว่าเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ

มองไปข้างหน้า (Looking forward)

Thomson ทำนายเรื่องภูมิทัศน์สิทธิบัตรของจีนด้วยการใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตของจีนแบบรายปีของปี 2003-2009 และฉายภาพแบบเส้นตรงเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ โดยจีนได้กำหนดให้ล้ำหน้ากับสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นในปี 2011

Average Annual Patent Growth Rates

Region Average total
Volume Annual Growth Rate (2003-2009)
Average basic
Volume Annual Growth Rate (2003-2009)
JP 1.0% -3.7%
US 5.5% 4.0%
EP 4.0% -2.1%
KR 4.8% 7.5%
CN 26.1% 31.6%

แรงขับเคลื่อนเบื้องหลังของการเพิ่มขึ้นของสิทธิบัตรของจีน

การยื่นขอสิทธิบัตรในประเทศ และ ต่างประเทศ

สำนักงานสิทธิบัตรของจีน (State Intellectual Property Office, SIPO) ได้รายงานว่าจีนมีสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภท ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยที่สิทธิบัตรในประเทศมีอัตราเพิ่มมากกว่า โดยที่มีค่าแตกต่างระหว่าง 2 ประเภท กว้างมากขึ้นทุกปีและในปี 2003 เริ่มมีความแตกต่างกัน

ในปี 2006 สาธารณรัฐประชาชนจีน กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศซึ่งเป็นแผนที่ 11 รัฐบาลจีนเน้นความสนใจในเรื่องของนวัตกรรมร่วมกับความปรองดองของสังคม สิ่งแวดล้อม ความสมดุลของเศรษฐกิจระดับมหภาค การควบคุมการตลาด

ส่วนแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เชื่อมต่อกับเป้าหมายที่ทะเยอทะยานที่จะให้จีนเป็นสังคมที่มีตำแหน่งด้านนวัตกรรม (innovation – oriented society) ในปี 2020 จีนได้ขยายจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรในต่างประเทศแสดงข้อมูลในตาราง

Patent
Oversea Invention Application by China 2008
Increase from 2007 by China
Increase from 2007 by all Application
WIPO 6,126 12.1% 2.1%
US 4,455 14.1% 5.1%
EP 1,503 33.5% 17.7%
JP 772 15.9% 2.3%

ในปี 2008 จีนทำการขอยื่นจดสิทธิบัตรที่สำนักงาน WIPO เป็นจำนวนสุงสุด WIPO บริหารจัดการด้วยระบบ PCT ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถขอยื่นจดในประเทศที่เป็นสมาชิกได้พร้อมๆ กันในหลายๆ ประเทศ โดยบริษัทของจีนที่ชื่อ Huawel Technologies เป็นบริษัทที่ทำการยื่นจดที่ WIPO เป็นจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ยังถือว่าเป็นจำนวนน้อย คือ อเมริกาทำการยื่นต่อ WIPO ในปี 2008 มากถึง 51,673 คำขอ ส่วนจีนมีจำนวนเพียง 6,126 คำขอ

จีนเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีที่สำคัญ

อัตราการเพิ่มขึ้นในจำนวนสิทธิบัตรของจีนดูเหมือนไปในทิศทางขนานกับประเทศสำคัญอื่นๆ ในแง่ประเภทเทคโนโลยี จากข้อมูลสถิติของสำนักงาน WIPO ในปี 2007 พบว่าจีนประดิษฐ์เทคโนโลยีหลักอันได้แก่

  จัดอันดับของโลก
Information technology ที่ 5
Audio-visual technology ที่ 4
Electrical devices, Electrical ที่ 4
Consumer goods & equipment ที่ 5
Analysis, Measurement Control ที่ 5
Agriculture & food ที่ 7
Telecom ที่ 5
Chemical engineering ที่ 2

เทคโนโลยี 5 อันดับแรกของจีน

Year
Top 5 Fields
Patent Applications
1998
Natural Products & Polymers

Digital computers

Telephone & data Transmission system

Broadcasting, Radio & Line Transmission system

Audio/Video Recording & System

2,864

2,161

2,067

1,986

1,592

2008
Digital Compute

Telephone & Data transmission system

Broadcasting, Radio & Line Transmission system

Natural Products & Polymers

Electro-(in) organic Materials

44,588

29,510

19,750

17,250

17,107

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทางเลือกของจีน (Alternative IP rights in China)

อัตราการขอยื่นจดสิทธิบัตรในจีนมีมากขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 24 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา เมื่อปี 2009 มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรที่ SIPO มากกว่า 3.1 แสนเรื่อง นั้นยังเป็นเรื่องราวที่ยังไม่จบสมบูรณ์ลง

นยังมีระบบการป้องกันทางเลือก (Alternative Protection) ที่เปิดให้บริการแก่นักประดิษฐ์โดยผ่านช่องทางชื่อ Chinese Utility model patents นี้เป็นการจัดบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างยิ่งสำหรับนักประดิษฐ์ท้องถิ่นมีการขอยื่นจดมากเป็นหลัก 3 แสนเรื่อง คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 18 ต่อปี เฉพาะปี 2009 มีอัตราการเพิ่มถึงร้อยละ 37

ระบบสิทธิบัตรในจีนมี 3 ประเภท คือ

Invention patents / Utility model patents / Design patents โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้

  • Invention patents เป็นระบบปกป้องคุ้มครองให้แก่สิ่งประดิษฐ์ที่ยื่นขอที่เป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคใหม่ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ / ขบวนการ หรือการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น รัฐให้สิทธิคุ้มครอง 20 ปี ตั้งแต่วันที่ยื่นขอและมีการตรวจสอบความใหม่อย่างเป็นสาระสำคัญ
  • Utility model patents (หรือเป็นระบบ petty patent ของประเทศอื่น) เป็นระบบการให้สิทธิคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่มีความใหม่ในเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับรูปร่าง และหรือโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถปฏิบัติตามได้ รัฐให้ความคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่ยื่นขอและไม่มีการตรวจสอบความใหม่
  • Design patents เป็นระบบให้ความคุ้มครองการออกแบบในรูปร่าง รูปแบบ การรวมกัน (เช่น ส่วนผสม สี กับ รูปร่าง รูปแบบ) ผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาที่ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นศิลปะที่สุนทรียศาสตร์ และเหมาะที่จะประยุกต์กับอุตสาหกรรม รัฐให้ความคุ้มครอง 10 ปี

ปริมาณและคุณภาพของสิทธิบัตรจีน (Patent quality VS. quality)

บทความหนึ่งในวารสารชื่อดัง Financial Times กล่าวว่าจำนวนตัวเลขการขอยื่นจดสิทธิบัตรของจีนสะท้อนถึงการณรงค์อย่างมากของรัฐบาล (Concerted government campaign) ที่ชักชวนบริษัทของจีนให้ใช้ระบบปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาด้วยกฎหมาย รวมถึงรัฐบาลได้ช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการยื่นขอนี้เป็นปัจจัยสำคัญ เป็นการขยายตัวแบบปลอมๆ จึงทำให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพย์สินทางปัญญา Chen Naiwei แห่งมหาวิทยาลัย Shanghai Jiaotong ให้ความเห็นว่ามีเหตุผลมาจากหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นได้จัดบริการให้ค่าธรรมเนียมในการยื่นจดแก่วิสาหกิจและสถาบันวิทยาศาสตร์ สิทธิบัตรจีนที่ยื่นขอจดส่วนใหญ่เป็นเรื่องการออกแบบใหม่ (new design appearance or new model) ที่ไม่ได้ใช้ความรู้ทางเทคนิคขั้นสูง Utility model patent เป็นที่ยอดนิยมมากเพราะการจัดเตรียมเอกสารยื่นของ่ายและสะดวกรวดเร็วมากกว่า ดังนั้นสิทธิบัตรประเภทนี้จึงมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน

ที่สำนักงานสิทธิบัตรจีน SIPO มีผู้ตรวจสอบมากกว่า 2,000 คน ที่ผ่านการฝึกอบรมมาจากสำนักงาน EPO โดยจัดฝึกอบรมปีละ 60 คน เมื่อกลางปี 1990s SIPO ได้นำระบบ EPOQUE มาใช้ซึ่งคือฐานข้อมูลสากลที่ช่วยในการยื่นขอแบบอัตโนมัติทางออนไลน์

คุณภาพของสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถประเมินด้วยค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงจากเอกสารสิทธิบัตรประเภทยื่นขอที่กลายเป็นเอกสารสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติ ด้วยวิธีการวัดนับจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นขอในแต่ละปี (filing year) และนับจำนวนอย่างมีสาระสำคัญ กลายเป็นสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติ (grants) ตัวอย่างในปี 2000 จีนมีการ filing 56,392 เรื่องกลายเป็น application 22,756 เรื่อง คิดเป็นสัดส่วนเปลี่ยนแปลง = ร้อยละ 40.4

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อัตราการปรับเปลี่ยนจากการยื่นขอเป็นอนุมัติช้ากว่าอัตราในยุโรป สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม SIPO รายงานว่าคุณภาพของสิทธิบัตรจีนมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างช้าๆ

บทสรุป

สาธารณรัฐประชาชนจีนกลายเป็นดินแดนที่มีระดับสุดยอด เมื่อไตรมาสที่ 2 ของปี 2010 จีนได้ล้ำหน้าญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการกลายเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอเมริกา ด้วยค่า GDP ที่ 1.33 แสนล้านเหรียญอเมริกา และยังแซงหน้าผ่านประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2009 กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก จีนยังเป็นประเทศผู้บริโภคพลังงานสูงสุด ประชาชนจีนซื้อรถยนต์ถึง 1.3 พันล้านคน

ข้อมูลที่แสดงมานี้ได้ให้ความชัดเจนอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของจีน ได้เห็นถึงวิวัฒนาการอย่างเป็นระบบของเศรษฐกิจของจีน บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก เช่น General Motor, General Electronic (GE), Siemen ได้เข้าไปจัดตั้งฐานการวิจัยและพัฒนาในประเทศจีนแล้ว เรื่องเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ที่มีวัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรมอย่างเข้มข้น ที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามเป้าหมายแบบมีเอกภาพ
จากฐานข้อมูลการทำนายด้วยหลักทางคณิตศาสตร์นั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจีนจะเป็นผู้นำนวัตกรรมของโลกในอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน

เอกสารอ้างอิง

Thomson Reuters. “Patentd in China : The present and future state of innovation in china” By Eve.Y. Zhou and  Bob Stembridge – October 2010. Available at http://thomsonreuters.com/news_ideas/white_papers/?itemId=25763

แปลและเรียบเรียงโดย รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันที่ 31 มกราคม 2554

สภาพการณ์นวัตกรรมปี 2010

ฐานข้อมูล Derwent World Patents Index (DWPI) นำเสนอผลการวิเคราะห์กิจกรรมสิทธิบัตรที่แสดงถึง 12 เทคโนโลยีหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมสำคัญของโลกในปี 2010 เป็นรายงานแบบรายปีครั้งที่ 2 ของแผนก IP Solutions business ของบริษัท Thomson Reuters เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับรายงานปีก่อน

ข้อมูลกิจกรรมสิทธิบัตรสามารถใช้เป็นเครื่องวัดการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมด้วยการวัดถึงจำนวนสิทธิบัตร ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์สิทธิบัตรของ บริษัท Thomson Reuters ได้ศึกษาจำนวนสิทธิบัตรประเภทการยื่นขอ (patent applications) และสิทธิบัตรประเภทที่ได้รับอนุมัติ (granted patents) ของปี 2010 นับจำนวนสิทธิบัตรเพียงครั้งเดียวไม่นับซ้ำ นับชื่อประเทศจากประเทศแรกที่มีการยื่นครั้งแรกเท่านั้น ผลการนับหรือวัดนี้สามารถให้ภาพที่น่าเชื่อถือที่สุดของกิจกรรมสิทธิบัตรและนวัตกรรมของโลก

รายงานนี้นำเสนอนวัตกรรมในแต่ละสาขาของเทคโนโลยีหลักมีสาขาย่อยที่เป็นชุดเรียงลำดับลงมา โดยนำเสนอจำนวนสิทธิบัตรในหมวดเทคโนโลยีย่อยพร้อมทั้งเจ้าของสิทธิบัตรผู้ถือครองในแต่ละเทคโนโลยีด้วย

ผลการวิเคราะห์พบบทสรุปที่สำคัญ คือ

  • กิจกรรมสิทธิบัตรเรื่องอวกาศ ยานอวกาศ (Aerospace) มีจำนวนเพิ่มสูงมากขึ้นราวร้อยละ 25 จากปี 2009 ถึง 2010 ด้วยการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีย่อย คือ ยานพาหนะในอวกาศและเทคโนโลยีดาวเทียม บริษัทผู้ถือสิทธิ์คุ้มครองจากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ชาร์ป ตามด้วยบริษัทเกาหลีชื่อ บริษัท LG กับ Samsung
  • กิจกรรมสิทธิบัตรอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (Semiconductor) ลดลงร้อยละ 9 จากปี 2009 ถึง 2010 ในเทคโนโลยีหมวดย่อย 3 หมวดคือ Integrated circuits, discrete devices และ memories, film and hybrid circuits
  • สิทธิบัตรในเรื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงในปี 2010 ยังคงอยู่ในตำแหน่งชั้นแนวหน้าเช่น นวัตกรรมที่มีจำนวนสูงที่สุดในบรรดาสิทธิบัตรสาขาอื่นๆ คือ จำนวน 212,622 การประดิษฐ์ (ที่เป็นหนึ่งเดียว) ถึงแม้ว่ามีอัตราการลดลงร้อยละ 6 ในจำนวนรวมจากปี 2009
  • สิทธิบัตรในเรื่องยานยนต์ขยับขึ้นมาจากอันดับ 4 ในปี 2009 เป็นลำดับที่ 2 ในปี 2010 ล้ำหน้ากว่าอุตสาหกรรมการสื่อสารทางไกล (Telecommunication) กับอุตสาหกรรมอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (Semiconductors) ดังรายละเอียดของผลการวิเคราะห์นวัตกรรมของเทคโนโลยีต่างๆ ของปี 2010 ดังต่อไปนี้

 

ภาพรวมของ 12 เทคโนโลยีหลักในกิจกรรมสิทธิบัตรปี 2010

2010 2010 % of Total 2009 % Change in
Volume (2010 v 2009)
A Computers & Peripherals 212,622 1 28% 226,293 -6%
B Automotive 88,867 2 12% 89,106 0%
C Telecommunications 87,920 3 11% 90,867 -3%
D Semiconductors 86,479 4 11% 95,106 -9%
E Pharmaceuticals 59,350 5 8% 59,638 0%
F Medical Devices 52,117 6 7% 49,035 6%
G Petroleum & Chemical Engineering 42,304 7 5% 38,729 9%
H Domestic Appliances 36,816 8 5% 34,591 6%
I Food Tobacco & Fermentation 36,048 9 5% 35,375 2%
J Aerospace 32,622 10 4% 26,167 25%
K Agrochemicals & Agriculture 22,726 11 3% 20,503 11%
L Cosmetics 6,438 12 1% 6,612 -3%
  • อันดันที่ 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ปี 2010 (Computer & Peripherals)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
71% Computers 178,509 193,445 -8%
10% Other Peripherals 26,317 29,800 -12%
10% Printers 25,079 25,108 0%
4% Smart media 9,757 11,602 -16%
3% Screens 6,471 6,684 -3%
2% Scanners 6,372 4,947 -29%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Smart Media

Assignee
Country
2010 Colume
1 Samsung KR 274
2 Matsushita JP 156
3 Toshiba JP 139
4 NEC JP 127
5 Brother JP 111
6 Toppan Forms JP 109
7 Sony JP 91
8 Mitsui Chemical JP 85
9 Electronics & Telecom Res.Inst. KR 82
10 Dainippon Printing JP 76
  • อันดันที่ 2 เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับรถยนต์ ปี 2010 (Automotive)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
16% Alternative Powered Vehicles 15,913 13,118 21%
13% Navigation Systems 12,060 12,414 -3%
12% Transmission 11,577 11,520 0%
11% Safety 10,263 10,589 -3%
9% Pollution Control 8,376 8,567 -2%
8% Seats, Seatbelts and Airbags 7,769 7,657 3%
7% Steering Systems 6,327 6,610 -4%
6% Suspension Systems 5,924 5,975 -1%
6% Security Systems 5,752 5,817 -1%
5% Engine Design and Systems 5,336 5,552 -4%
4% Braking Systems 3,908 4,067 -4%
3% Entertainment Systems 3,052 3,230 -6%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Alternative Powered Vehicles

Assignee
Country
2010 Colume
1 Toyota JP 2179
2 Nissan JP 639
3 Honda JP 467
4 NipponDenso JP 340
5 Matsushita JP 287
6 Hyundai KR 284
7 CM US 243
8 Robert osch DE 217
9 Daimler DE 209
10 Aisin JP 166
  • อันดับ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารทางไกล ปี 2010 (Telecommunications)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
26% Mobile Telephony 42,836 44,714 -4%
24% Data Transmission Networks 39,367 32,922 20%
21% Telephone Subscriber Equipment 34,834 34,665 0%
8% Multiplex & Multiple Access Information Transmission Systems 14,031 15,191 -8%
8% Digital Information Transmission Systems 12,504 13,886 -10%
5% Telemetry & Telecontrol 7,638 8,037 -5%
4% Telephone Communications Systems & Installations 6,511 8,549 -24%
4% Telephone Exchange Systems 6,251 9,277 -33%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Mobile Telephony

Assignee Country 2010 Volume
1 Samsung KR 1627
2 LG KR 1251
3 NEC JP 1146
4 Seiko Epson JP 1051
5 Matsuahitqa JP 1035
6 Sony JP 930
7 Sharp JP 857
8 Kyocera JP 851
9 Qualcomm Inc US 824
10 ZTE Corp CN 776
  • อันดับที่ 4 เทคโนโลยีอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ปี 2010 (Semiconductors)
Subsectors 2010 2009 % Change
48% Semiconductor Materials and Processes 50,812 49,255 3%
29% Memories, Film and Hybrid Circuits 30,995 35,287 -12%
18% Discrete Devices 18,709 32,068 -42%
5% Integrated Circuits 5,127 9,148 -44%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Semiconductor Materials and Processes

Assignee Country 2010
Volume
1 Samsung KR 1,566
2 Hynix Semiconductor KR 1,435
3 Toshiba JP 1,429
4 Matsuahita JP 977
5 NEC JP 925
6 Cannon JP 822
7 Seiko Epson JP 717
8 Sony JP 673
9 Sharp JP 663
10 IBM US 591
  • อันดันที่ 5 เทคโนโลยที่เกี่ยวกับเภสัชกรรม ปี 2010 (Pharmaceuticals)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
61% Organics 42,845 43,169 -1%
22% General 15,404 15,585 -1%
14% Heterocyclics 10,013 10,213 -2%
2% Inorganics 986 668 48%
1% Steroids 654 741 -12%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Organics

Assignee Country 2010
Volume
1 Seiko Epson JP 385
2 Hoffman La Roche CH 233
3 Univ California US 189
4 Dokuritsu Gyosei Hojin Sangyo Gijutsu JP 183
5 Olympus Optical JP 178
6 Abbott Labs US 165
7 Nikon JP 142
8 Univ Seoul Nat Ind Found KR 139
9 CNRS FR 136
10 Univ Tokyo JP 127
  • อันดันที่ 6 เทคโนโลยีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ปี 2010 (Medical Devices)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
35% Diagnosis, Surgery 20,076 19,249 4%
30% Sterilizing, Syringes, Electrotherapy 17,788 16,315 9%
18% Dentistry, Bandages, Prosthesis 10,746 11,044 -3%
17% Medical Aids, Oral Administration 9714 8,788 11%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Diagnosis, Surgery

Assignee Country 2010
Volume
1 Fujifilm JP 529
2 Olympus Optical JP 456
3 Toshiba JP 453
4 Toshiba Medical JP 396
5 Siemens DE 361
6 Konica Minolta JP 269
7 Philips NL 258
8 Tyco Healthcare Group US 243
9 GE Medical Systems Global Tech. US 197
10 Hitachi Medical JP 175
  • อันดันที่ 7 เทคโนโลยีวิศวกรรมปิโตรเลียม และ วิศวกรรมเคมี ปี 2010 (Petroleum & Chemical Engineering)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
70% Chemical Engineering 32,655 28,642 14%
16% Petroleum & Gas Exploration, Drilling, Production and Processing 7,554 7,724 -2%
12% Petroleum & Gas Fuels and Other Products 5,787 6,086 -5%
1% Petroleum & Gas Transportation and Storage 311 334 -7%
1% Petroleum Refining 194 188 3%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Chemical Engineering

Assignee Country 2010
Volume
1 Toyota JP 515
2 China Petro-Chem Corp CN 267
3 Univ Zhejiang CN 240
4 Matsushita JP 198
5 Univ Nanjing CN 163
6 BASF DE 152
7 NGK Insulators JP 133
8 Nippondenso JP 132
9 Dokuritsu Gyosei Hojin Sangyo Gijutsu JP 128
10 Robert Bosch DE 127
  • อันดันที่ 8 เทคโนโลยีอุปกรณ์ใช้ภายในบ้าน ปี 2010 (Domestic Appliances)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
44% Kitchen 17,235 15,851 9%
30% Healting & Air Conditioning 11,680 11,223 4%
9% Laundry 3,543 3,602 -2%
9% Household Cleaning 3,414 3,081 11%
5% Human Hygiene 3,193 3,228 -1%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Kitchen

Assignee Country 2010
Volume
1 LG KR 728
2 Matsushita JP 685
3 Bosch & Siemens DE 418
4 Mitsubishi Electric JP 370
5 Daikin Kogyo JP 217
6 Sanyo JP 173
7 Hitachi JP 140
8 Sharp JP 136
9 Toshiba JP 129
10 Samsung KR 125
  • อันดันที่ 9 เทคโนโลยีอาหาร ยาสูบ การหมัก ปี 2010 (Food, Tobacco & Fermentation)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
82% Fermentation 30,086 27,433 10%
7% Bakery 2,628 2,675 -2%
6% Meat 2,090 4,323 -52%
4% Tobacco 1,512 1,529 -1%
1% Sugar & Starch 338 307 10%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Fermentation

Assignee Country 2010
Volume
1 Dupont US 238
2 Monsanto Technology US 219
3 Univ Zhejiang CN 186
4 Univ California US 179
5 Hoffmann La Roche CH 133
6 Olympus Optical JP 128
7 Novozymes DN 116
8 Univ Seoul Nat. Ind. Foundation KR 111
9 Univ Nanjing CN 111
10 US Dept. Health & Human Services US 109
  • อันดันที่ 10 เทคโนโลยียานอวกาศ ปี 2010
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
29% Space Vehicles and Satellite Technologies 10,429 5,019 10%
27% Production Techniques 9,726 9,070 7%
16% Advanced Materials 5,937 5,836 2%
10% Structures & Systems 3,612 3,414 6%
10% Propuision Plants 3,566 3,359 6%
8% Instrumentation 2,786 2,570 8%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Space Vehicles and Satellite Technologies

Assignee Country 2010
Volume
1 Sharp JP 166
2 LG KR 156
3 Samsung KR 119
4 Mitsubishi Electric KR 101
5 Sanyo JP 89
6 Kyocera JP 85
7 Applied Materials US 83
8 Dupont US 81
9 Toyota JP 73
10 Fujifilm JP 60
  • อันดันที่ 11 เทคโนโลยีการเกษตร และ เคมีเพื่อการเกษตร ปี 2010 (Agrochemicals & Agriculture)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
67% Agriculture 21,843 19,645 11%
20% Agrochemicals 6,577 5,756 14%
13% Biotechnology in Agriculture 4,161 3,880 7%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Agrochemicals

Assignee Country 2010
Volume
1 Bayer Cropscience DE 149
2 BASF DE 143
3 Sumitomo Chemical JP 109
4 Syngenta CH 68
5 Dow Agrosciences US 51
6 Univ. of S. China Agriculture CN 51
7 Dupont US 24
8 Nippon Soda JP 24
9 Univ. Nanjing CN 33
10 Clariant Ch 22
  • อันดันที่ 12 เทคโนโลยีเครื่องสำอาง ปี 2010 (Cosmetics)
Subsectors
2010
Volume
2009
Volume
% Change
43% Make-up 3,833 3645 5%
32% Skin 2,859 2915 -2%
21% Hair 1,879 2159 -13%
2% Perfume 216 185 17%
2% Antiperspirant 174 199 -12%

2010 Top Ten Assignees/Companies

Make-Up

Assignee Country 2010
Volume
1 L’Oreal FR 323
2 KAO JP 147
3 Amorepacific KR 120
4 Shiseido JP 115
5 Kose JP 62
6 Henkel DE 59
7 Pola Chem Ind JP 56
8 BASF DE 53
9 Procter & Gamble Co. US 33
10 Unilever NL/UK 32

อ้างอิงจาก

  1. Press release : Thomson Reuters Releases Report on the State of Global Innovation -12 January 2011  :  http://thomsonreuters.com/content/press_room/legal/379777
  2. Thomson Reuters 2010 State of Innovation Report : Twelve Key Technology Areas Industries & Their States of Innovation : http://ip.thomsonreuters.com/InnovationReport2010/

 

แปลและเรียบเรียงโดย
รังสิมา เพชรเม็ดใหญ่
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันที่ 31  มีนาคม  2554

Thomson Reuters ทำนายนวัตกรรมใหม่

บริษัท Thomson Reuters ทำการวิเคราะห์หานวัตกรรมใหม่ที่ร้อนแรงจากเอกสารสิทธิบัตรในช่วง 5 ปีย้อนหลัง และได้สรุปคาดการณ์ว่า นวัตกรรมใหม่ ใน 3 หัวข้อ คือ

  1. เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย (Biofuels from Algae)
  2. ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ (Cell Phone Data)+ โครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wireless Network Roaming)
  3. นาโนเทคโนโลยี Lab-on-a-chip อุปกรณ์วินิจฉัยโรคแบบนาโนขนาดจิ๋ว

มีการเติบโตอย่างโดดเด่นมากในเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ โดยบทความนี้ขอนำเสนอเฉพาะนวัตกรรมเรื่อง การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายเท่านั้น ส่วนอีก 2 นวัตกรรมจะนำเสนอในรายงานเรื่องต่อไป

บทนำ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย พลาสติกไม่ใช่เรื่องที่จะได้รับความสำเร็จ เชื่อมั่นอีกต่อไปแล้ว เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเงินและรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เคย เป็น ในขณะนี้โลกกำลังประสบภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเสาหลักของ อุตสาหกรรมต่างๆได้สูญเสียความรุ่งโรจน์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง พวกเรากำลังเฝ้ามองดูว่านวัตกรรมสาขาใดที่จะเป็นแหล่งเพาะที่สามารถมากอบกู้ เศรษฐกิจ และจะเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต

เพื่อหาคำตอบในเรื่องนี้ แผนก IP Solutions Business ของ Thomson Reuters จึงได้ตรวจสอบหานวัตกรรมที่ร้อนแรงในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2009 นี้

วิธีการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร จาก ฐานข้อมูล Derwent World Patents Index (DWPI sm) ซึ่งเป็นข้อมูล/บริการชุดหนึ่งของ Thomson Reuters ทำการวิเคราะห์หากิจกรรมของสิทธิบัตรทั่วโลกในสาขา Biofuels, Telecom และ Bio-related nanotechnology นับจำนวนสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภท คือ คำยื่นขอ & ได้รับการคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลาในปี 2003 2008 และ มกราคม-มีนาคม 2009 จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับแนวโน้มการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

นวัตกรรมเรื่อง Biofuels Based on Algae
ขณะ นี้โลกกำลังแสวงหาพลังงานสะอาด (green energy) ซึ่งประกอบด้วยพลังงานตั้งแต่ wind turbines ไปจนถึง hydrogen-powered vehicles ในส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) มีทั้งชนิดของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวต ซึ่งนักนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพให้ความสนใจพัฒนา ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่หนึ่งทำมาจาก น้ำตาล แป้ง น้ำมันพืช หรือ น้ำมันสัตว์ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการดึงมาจากแหล่งโซ่อาหารของมนุษย์มาจึงมีการ ริเริ่มผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพยุคใหม่ที่มุ่งเน้นวัตถุดิบที่ถาวรยั่งยืนมาก ขึ้นกว่าเดิม เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 2 ตัวอย่างเช่น การใช้ของเสียที่ได้จากสิ่งมีชีวิตจากส่วนที่ไม่เป็นอาหาร เช่น ลำต้น กิ่งก้านข้าวสาลี ซังข้าวโพด

สิ่งที่เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่ กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ อาจเรียกเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 3 คือการพัฒนาจาก สาหร่าย สาหร่ายถือเป็นสิ่งที่นำเข้าแบบชั้นต่ำ แต่ให้ผลิตผลิตสูง มีความสามารถในการผลิต เป็น 30 เท่าต่อเอเคอร์ เมื่อเทียบกับถั่วเหลือง ใครเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรมนี้ และพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ Thomson Reuters นำเสนอผลการวิเคราะห์สิทธิบัตรเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้

Category Growth

Time Period Total Biofuel Patents Total Biofuel from Algae Patents
Jan – Dec 2003 341 3
Jan – Dec 2008 1,878 63
Jan 2008 – Mar 2009 2,466 92

Most Active Countries (Jan 2008- Apr2009)

 

Rank
Country

Authority of Origin

Number

of Ducuments

% of Documents
1 WIPO 39 42.39%
2 United States 34 36.96%
3 China   8 8.7%
4 EPO   3 3.26%
5 Germany   2 2.17%
5 Great Britain   2 2.17%
5 Japan   2 2.17%
6 Brazil   1 1.09%
6 France   1 1.09%

 

Rangking             Patent Assignee
Number of

Document

% of
Document
 Country

     of
Origin

      1 Alternative Fuels Group Inc.        2        2.17%      US.
      1 Arisdyne Systems Inc.        2        2.17%      US.
      1 Gen Atomics        2        2.17%      US.
      1 Ouro Fino Participacoes & Empreendimento        2        2.17%     Brazil
      1 Sartec Corp        2        2.17%      US.
      1 Solix Biofuels Inc.        2        2.17%      US.
      1 Univ.Colorado State Res. Found.        2        2.17%      US.
      2 Afton Chemical Corp.        1        1.09%      US.
      2 Air Liquide SA        1        1.09%   France
      2 Albemarle Corp        1        1.09%      US.
      2 Algepower LLC        1        1.09%      US.

ข้อสังเกต จากการวิเคราะห์

  1. นวัต กรรมเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ ในปี 2003  ด้วยการวัดปริมาณจำนวนเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก จากฐานข้อมูล Derwent World Patent Index พบมีจำนวนน้อยเพียง 341 เรื่องถือเป็นสาขาวิจัยพัฒนาขนาดเล็ก  และมีผู้นำจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 70 และเป็นสิทธิบัตรที่ขอยื่นในประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 31
  2. ในปี 2008 – 5 ปีต่อมา  พบว่ากิจกรรมสิทธิบัตรในเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 550 คิดเป็นจำนวน 1,878 เรื่อง
  3. ใน ช่วงระยะเวลาล่าสุด (Jan 2008 –  Apr 2009) จำนวนสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพมีเพิ่มขึ้นเป็น 2,466 เรื่อง ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนเริ่มก้าวเข้ามาในเรื่องนี้  คิดเป็นร้อยละ 31 ที่ทำการยื่นขอในประเทศจีน บริษัทจีนมีส่วนแบ่งในตำเหน่งผู้นำ 10 อันดับแรกพร้อมกันกับบริษัทญี่ปุ่น
  4. มีข้อถกเถียงกันอย่างมากในสื่อ ต่างๆ เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ในแง่ผลกระทบที่มีการนำพืชผลที่ได้จากการเพาะปลูกที่เป็นอาหารมนุษย์มาผลิต เป็นพลังงานชีวภาพ
  5. ในช่วงปี 2008-2009 บริษัทผู้นำ 11 บริษัท มีการยื่นขอสิทธิบัตรเรื่อง Biofuels จาก สาหร่าย เป็นหลัก โดยเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกา 8 ใน 11 บริษัทนั้น ที่เหลือได้แก่บริษัทจาก  บราซิล  สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส  โดยที่บริษัทจากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น ไม่ปรากฏอยู่ในรายการบริษัทผู้นำ 10 อันดับแรก

ตัวอย่างรายชื่อสิทธิบัตร เช่น

Pub. No.
Title
Assignee
Pub. Date
US20090246766A1 High throughput screening of genetically modified photosynthetic organisms Sapphire Energy
2009-10-01
US20090221057A1 Algae breeder system for converting flue gases into biofuels, comprises enclosed tank for containing liquid medium, light source for tank, feedstock
inlet, flue gas source, sensor mechanism, control mechanism, and controlled
environment
2009-09-03
WO2009102989A1 LOW SHEAR PUMPS FOR USE WITH BIOREACTORS SOLIX BIOFUELS, INC.
2009-08-20
WO2009094440A1 ALGAL CULTURE PRODUCTION, HARVESTING, AND PROCESSING AQUATIC ENERGY LLC
2009-07-30
JP2006190502A2 Electrode for bio-fuel cell, has electroconductive porous membrane with parent micro-organisms property, as anode TOKYO UNIV
2006-07-20

เกี่ยวกับฐานข้อมูล Derwent World Patent Index, DWPI

DWPI คือฐานข้อมูลที่รวบรวมเอกสารสิทธิบัตรทั้งประเภทการยื่นขอ (Applications) และ ประเภทที่ได้รับการคุ้มครอง (Grants) จากสำนักงานสิทธิบัตร 41 แห่งทั่วโลก รวบรวมและปรับปรุงเขียนใหม่ (Rewritten) ให้เป็นภาษาอังกฤษโดยกองบรรณาธิการของ DWPI  จัดทำบทคัดย่อแบบสั้น มีการระบุให้ patent family (แสดงรายชื่อประเทศที่เอกสารสิทธิบัตร 1 เรื่องที่ทำการไปยื่นขอจากประเทศต่างๆทั่วโลก) แสดงประเทศแรกที่ยื่นขอ และเรียงลำดับตามที่ยื่นขอในประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงเป็น Equivalent patents  ขณะนี้ DWPI  มีเอกสารสิทธิบัตร 16 ล้านเรื่อง ที่มีความเหมือนกัน ราว 10 ล้านเรื่อง และมีการเพิ่มข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ใหม่ราวปีละ 1 ล้านเรื่อง Basic Format ของฐานข้อมูล DWPI ได้แก่ บรรณานุกรมเอกสารสิทธิบัตร บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) Manual code Special Indexing  ประกอบด้วย

Derwent Manual Code  – Derwent คิดค้นระบบรหัสการจัดหมวดหมู่เอกสารสิทธิบัตรของตนเอง (Own proprietary patent Classification Codes) เรียกว่า Manual codes ระบบหมวดหมู่ แบ่งแยกออกเป็นหมวดย่อย ได้แก่ สาขาเคมี วิศวไฟฟ้าและวิศวเครื่องกล  ตัวอย่างเช่น T01-S03 = Digital computers : Claimed software products

Derwent Assignee Codes – Derwent จัดทำรหัสบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร แบบเป็นมาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร 4 อักษร ตัวอย่าง บริษัท Siemen มีรหัสว่า SIEI

สรุป DWPI มีความพิเศษ เพิ่มคุณค่าในการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

  • Enhanced patent information database
  • Based on one record per invention (Patent family)
  • Concise abstract of complete patent document
  • Manually codes/indexd to allow consistent and accurate searching
  • Includes documents from over 41 major patent issuing authorities ( over 120 countries)
    • (JPO, USPTO, EPO, WIPO-China, Korea, Taiwanese Patent Office, Majority of European Offices)
  • Contain over 15.4 million records ( 33 million patents)

เอกสารอ้างอิง
1. Doina Nanu  June 2007 “DerwentWorld Patents Index (DWPI) – process outline ”  Available at : http://www.ucl.ac.uk/slais/epublishing-summerschool/6.4Nanu.pdf
2. Thomson Reuters  June  2009 “Innovation Hot Spot IP Market Report- Mining patent data for tomorrow,s breakthroughs” Available at http://ip.thomsonreuters.com/media/pdfs/InnovationHotSpots_June2009.pdf

รายชื่อเอกสารสิทธิบัตร เรื่อง Biofuels + algae ที่สืบค้นได้จาก espacenet.com จำนวน 23 เรื่อง

  1. Bio-Breeder System for Biomass Production
  2. Hydroponic Growing Enclosure and Method for Growing, Harvesting, Processing and Distributing Algae, Related Microrganisms and their By Products
  3. ALGAL CULTURE PRODUCTION, HARVESTING, AND PROCESSING
  4. EXPRESSION OF NUCLEIC ACID SEQUENCES FOR PRODUCTION OF BIOFUELS AND OTHER PRODUCTS IN ALGAE AND CYANOBACTERIA
  5. METHOD OF PRODUCING BIOFUEL USING SEA ALGAE
  6. SYSTEMS AND METHODS FOR PRODUCTION OF BIOFUEL
  7. INTEGRATED PROCESSES AND SYSTEMS FOR PRODUCTION OF BIOFUELS USING ALGAE
  8. TRANSPORTABLE ALGAE BIODIESEL SYSTEM
  9. HIGH EFFICIENCY SEPARATIONS TO RECOVER OIL FROM MICROALGAE
  10. Method and device for producing biomass of photosynthesizing microorganisms/phototrophical algae and biomass of these microorganisms pigments
  11. Harvesting of Biofuel algae feedstcock using tractive devices and fine net
  12. ALGAE GROWTH FOR BIOFUELS
  13. Growing algae in open water for use as a biofuel
  14. METHODS OF ROBUST AND EFFICIENT CONVERSION OF CELLULAR LIPIDS TO BIOFUELS
  15. Method And System For The Transformation Of Molecules,To Transform Waste Into Useful Substances And Energy
  16. Method And System For The Transformation Of Molecules: A Process Used To Transform Waste Into Energy And Feedstock Without Releasing Carbon Dioxide Greenhouse Gas Emissions
  17. Method and system for the transformation of molecules, this process being used to transform waste into useful substances and energy
  18. PRODUCTION OF BIOFUELS USING ALGAE
  19. Methods and compositions for production and purification of biofuel from plants and microalgae
  20. PHOTOSYNTHETIC OIL PRODUCTION WITH HIGH CARBON DIOXIDE UTILIZATION
  21. PHOTOSYNTHETIC CARBON DIOXIDE SEQUESTRATION AND POLLUTION ABATEMENT
  22. ELECTRODE FOR BIOFUEL CELL AND BIOFUEL CELL
  23. BIOFUEL CELL USING GREEN PLANT AND ENZYME FIXING ELECTRODE

เรียบเรียงโดย : รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่ ศูนย์บริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Cell Phone Data/Wireless Network Roaming และ Lab-on-a-chip Nanotechnology

กระทรวงวิทย์ฯ สรุปผลงานวิจัยเด่นในรอบ 30 ปี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวบรวมผลงานวิจัยเด่น 143 โครงการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรอบ 30 ปี นับตั้งแต่วันที่สถาปนา วันที่ 24 มีนาคม 2522 จัดพิมพ์ใน หนังสือ “รวมเทคโนโลยีของ วท.”จากผลงานวิจัยเด่นทั้งหมด 143 โครงการที่ได้มีการรวบรวม เมื่อนำมาวิเคราะห์โดยแบ่งตามกลุ่มของสาขาเทคโนโลยี พบว่าเทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติเป็นอันดับหนึ่งโดยมีจำนวนโครงการ 41 โครงการ ซึ่งคิดเป็น 29% จากจำนวนทั้งหมด ต่อด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 40 และ 20 โครงการ หรือคิดเป็น 28% และ 14% ตามลำดับ ขณะที่เทคโนโลยีการเกษตร มีจำนวนโครงเป็นอันดับสุดท้าย คือ 5 โครงการ หรือ 3.5%ตารางแสดงจำนวนผลงานวิจัย แบ่งตามสาขาเทคโนโลยี

 อันดับ
  สาขา
 จำนวนผลงาน
 เปอร์เซ็นต์
 1  เทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติ  41  29%
 2  เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร  40  28%
 3  เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ  20  14%
 4  เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ การแพทย์ และเภสัช  16  11.2%
 5  เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  9  6.3%
 6  เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน  6  4.2%
 7  เทคโนโลยีอื่นๆ  6  4.2%
 8  เทคโนโลยีการเกษตร  5  3.5%

ขณะที่นักวิจัยที่มีจำนวนผลงานมากที่สุด 20 อันดับ อันดับหนึ่ง คือ นางสาวอารี ชูวิสิฐกุล จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยมีผลงาน 20 โครงการ และเป็นผลงานด้านเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารทั้งสิ้น ตามมาด้วย นักวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์บริการเช่นเดียวกัน คือ นางวรรณดี มหรรณพกุล จากผลงานเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร จำนวน 13 โครงการ และ นางวรรณา ต.แสงจันทร์ จำนวน 11 โครงการ กับผลงานสาขาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ

ตารางแสดงอันดับเจ้าของผลงานงานวิจัย ที่มีจำนวนผลงานมากที่สุด 20 อันดับ

  อันดับ
 เจ้าของผลงาน
หน่วยงาน
  จำนวนผลงาน
 เปอร์เซ็นต์
 1  อารี ชูวิสิฐกุล  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  20  13.99
 2  วรรณดี มหรรณพกุล  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  13  9.09
 3  วรรณา ต.แสงจันทร์  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  11  7.69
 4  สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)  สถาบันไทย-เยอรมัน(TGI)  7  4.90
 5  สัมพันธ์ ศรีสุริยวงศ์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  7  4.90
 6  ยุทธนา ตันติวิวัฒน์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  5  3.50
 7  คงพันธุ์ ร่งประทีปถาวร  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  4  2.80
 8  ยุทธ์พงศ์ ประชาสิทธิศักดิ์  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  4  2.80
 9  สมาคมเครื่องจักรกลไทย  สมาคมเครื่องจักรกลไทย  4  2.80
 10  จิตต์เรขา ทองมณี  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  4  2.80
 11  พิมพ์วัลคุ์ วัฒโนภาส  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 12  พิมพ์วัลคุ์ วัฒโนภาส  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 13  ลดา พันธุ์สุขุมธนา  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 14  อดิสร เตือนตรานนท์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  1.40  1.40
 15  อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  2  1.40
 16  สิรพัฒน์ ประโทนเทพ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  2  1.40
 17  ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  2  1.40
 18  เอกรัตน์ ไวยนิตย์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  2  1.40
 19  อุราวรรณ อุ่นแก้ว  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 20  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  1  0.70

จากผลงานเด่นที่ได้รวบรวม 143 โครงการ เมื่อแบ่งตามหน่วยงานเจ้าของผลงาน หน่วยงานที่มีจำนวนผลงานการวิจัย และพัฒนา สูงสุด 3 อันดับแรก คือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย 62 โครงการเป็นผลงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ขณะที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีจำนวนผลงานวิจัย 28 และ 21 โครงการตามลำดับ

โดยผลงานที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากจะเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยจากหน่วยงานในสังกัด สวทช. แล้ว ยังได้รวมถึงผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ร่วมด้วย

ตารางแสดงอันดับหน่วยงานเจ้าของผลงานวิจัย ที่มีจำนวนผลงานมากที่สุด 5 อันดับ

 อันดับ
  หน่วยงานเจ้าของผลงาน
 จำนวนผลงาน    เปอร์เซ็นต์
 1  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  62  43.36
 2  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  28  19.58
 3  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  21  14.69
 4  หน่วยงานที่วิจัยร่วมมากกว่า 1 หน่วยงาน  19  13.29
 5  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  4  2.80

ในจำนวน 62 โครงการที่ดำเนินการโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ หากแบ่งตามสาขาเทคโนโลยี พบว่าผลงานส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร ถึง 33 โครงการ ขณะที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จะเน้นสาขาเทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติ ซึ่งมี 18 โครงการ ส่วน 21 โครงการของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สาขาของเทคโนโลยีที่มีผลงานมากที่สุด คือ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวม 9 โครงการ

ตารางแสดงจำนวนผลงานวิจัย แบ่งตามสาขา้เทคโนโลยีที่ีมีจำนวนผลงานมากที่สุด

 อันดับ  หน่วยงานเจ้าของผลงาน จำนวนผลงาน  เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
 เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ การแพทย์ และเภสัช เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ
เทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติ
 เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
 เทคโนโลยีอื่นๆ
 1 กรมวิทยาศาสตร์บริการ  62  33  6  5  17  0 0  0  3
 2 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  28  4  0  6  0  18 0  0  0
 3 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  21  0  0  4  3  1 1 9 3

นอกจากจะดำเนินการวิจัยโดยบุคลากรในหน่วยงานในสังกัด สวทช. แล้วยังมีการสนับสนุนบุคลากร/นักวิจัยเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนาผ่านรูปแบบการให้งบประมาณเงินทุนสนับสนุนร่วมด้วย

ตารางแสดงอันดับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโครงการการวิจัย

  อันดับ
หน่วยงานเจ้าของผลงาน/ให้การสนับสนุนโครงการ
 จำนวนผลงาน   เปอร์เซ็นต์
 1  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  62  43.36
 2  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  25  17.48
 3  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  24  16.78
 4  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  27  18.8
 5  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  4  2.80
 6  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)  1  0.70

แหล่งที่มาข้อมูล : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปรับปรุงจาก : สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี. รวมเทคโนโลยีของ วท. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี, 2552.

คู่มือส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ

คู่มือส่งเสริม การเรียนรู้ด้านพืช “การเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ” ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความรู้ทั่วไป ขั้นตอนการลงมือฝึกปฏิบัติการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืช และแนะนำแหล่งเรียนรูปทุมมาและหงส์เหิน ที่จะเป็นต้นแบบของการศึกษาวิชาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเซลล์พืช เพื่อให้เยาวชนตระหนักในการใช้ประโยชน์ จากธรรมชาติอย่างเหมาะสม ตลอดจนการสงวนรักษา ไว้เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของประเทศชาติสืบ ต่อไป

 ดาวน์โหลดหนังสือ

 คลิกที่นี่เพื่อแสดงผลในรูปแบบ e-Book แบบ Flip

สถานภาพนวัตกรรม อุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2015

บริษัท Thomson Reuters, TR ผู้นำการผลิตและบริการสารสนเทศด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ เช่น ฐานข้อมูล  Web of Science, Journal Citation Report  ที่ให้ค่า Impact factor วารสารวิชาการ , Thomson Innovation (สิทธิบัตร) TR ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล (ดิบ) วิชาการเหล่านี้ เกิดเป็นข้อมูลใหม่ ที่สรุปสถานภาพ เห็นภาพแนวโน้มเทคโนโลยี นวัตกรรม  เผยแพร่ออกมาเป็นรายงาน  สม่ำเสมอ ตลอดมา เช่น รายงานการทำนายผู้ได้รับรางวัลโนเบล รายงานสถานภาพนวัตกรรมรายปี เป็นต้น

เมื่อราวเดือนสิงหาคม 2558 นี้ TR ได้เผยแพร่รายงานวิเคราะห์ ชุดใหม่ออกมา ในชื่อ The State of Innovation in the  Automotive Industry 2015 ที่เว็บไซต์ http://ip-science.thomsonreuters.com/ip/SOI-Automotive-Industry-Report.pdf เป็นการสรุปนวัตกรรมยานยนต์ จากการวิเคราะห์สิทธิบัตร แสดงแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ 5 เรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกที่น่าสนใจมาก สรุปรายละเอียดแบบสั้นๆได้ดังนี้

alt

 

วิธีการวิเคราะห์
TR วิเคราะห์ข้อมูลดิบ (เอกสารสิทธิบัตร) จากชุดข้อมูลชื่อ Derwent World Patent Index ที่มีบริการในฐานข้อมูล  Thomson Innovation ด้วยการนับจำนวนรวมของเอกสารสิทธิบัตรที่ยื่นขอ (patent applications) และสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติ (Granted patents) แบบหนึ่งเดียวไม่ซ้ำกันในกลุ่ม patent family ที่แสดงถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ ในช่วง 6 ปี คือ ปี 2009-2014  ซึ่งสามารถสรุปถึงกิจรรมนวัตกรรมที่สำคัญของโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้

บทนำ
ในนวนิยายวิทยาศาสตร์ มักมีความฝันถึงรถยนต์แบบบินได้ flying car (ที่เป็นการรวมกันของเครื่องบินกับมอเตอร์ไซต์) ตลอดมา โลกก็กำลังรอคอยรถลักษณะนี้เช่นกัน  อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมานี้ ในภาคเทคโนโลยี 12 สาขา พบว่า อุตสาหกรรมรถยนต์มีความก้าวหน้า มีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ เป็นลำดับที่ 3 รองจาก เทคโนโลยีสาขา Telecommunications and trailing และ Computing and Peripherals พบว่ามีการยื่นขอจดสิทธิบัตรสูงขึ้นตลอดต่อเนื่องมา

ผลการวิเคราะห์เอกสารสิทธิบัตร พบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ มีการยื่นขอความคุ้มครองสิทธิบัตรในเทคโนโลยีใหม่  5 หมวดหมู่/ระบบหลัก คือ

1. ระบบการขับเคลื่อนของรถยนต์ (Propulsion) ได้แก่ Engine Design,Transmissions, Alternate Power Systems, Powertrains
2. ระบบบอกตำแหน่งของรถยนต์ (Navigation)  ได้แก่  GPS, Dedicated Short Range Communications
3. ระบบการบังคับรถยนต์ (Handling) ได้แก่   Braking Systems, Steering systems, Suspension Systems
4. ระบบความปลอดภัยของรถยนต์ (Safety & Security)  ได้แก่ Seats, Seatbelts, Airbags, Security Systems, Locks
5. ระบบความบันเทิงของรถยนต์ (Entertainment)  ได้แก่  Smartphone Integration, Heads Up Display (HUD)

บริษัทผู้นำ 10 อันดับแรก ที่คิดค้นนวัตกรรมยานยนต์ในภาพรวม  (TOP AUTOMOTIVE PATENT ASSIGNEES) ได้แก่ บริษัท
Toyota / Bosch /Hyundai / Honda / Denso / Daimler / GM /Seiko Epson / Mitsubishi / Continental


Hot Topics
  เมื่อวิเคราะห์เอกสารสิทธิบัตรลงลึกในหมวดหมู่เทคโนโลยีใหม่ 5 ระบบนั้น TR ได้สำรวจหาหัวเรื่องที่เป็นเรื่องที่สำคัญใน แต่ละระบบ  (Hot Topics) ได้แก่

 

เทคโนโลยีหมวดหมู่ หัวข้อเรื่องสำคัญ ตัวอย่างสิทธิบัตรหมายเลขที่ บริษัทที่ขอยื่นจด
Propulsion Fuel Economy US20110160020A1 GM
Navigation Telematics WO2011136456A1 LG
Handling Autonomous Driving US8321067 Google
Safety & Security Driver Assistance US8064643 Mobileye Technologies
Entertainment Heads-Up Displays (HUDs) WO2013168396A2 Yazaki
Corporation

Source: Thomson Innovation

สรุป อุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก  กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลง/ส่งผ่านจากเทคโนโลยีฐานเครื่องจักรกล (mechanically based)  ไปสู่  เทคโนโลยีฐานซอฟต์แวร์ (software based)  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของรายงานเรื่องนี้ได้ที่เว็บไซต์ แผนก IP-Science ของบริษัท Thomson Reuters

อ้างอิง :  Thomson Reuters : The State of Innovation in the Automotive Industry 2015 Available at – http://ip-science.thomsonreuters.com/ip/SOI-Automotive-Industry-Report.pdf