วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2563

สหภาพยุโรปริเริ่มโครงการ Coronavirus Global Response เพื่อระดมทุนสำหรับการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด – 19
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 สหภาพยุโรป ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เป็นประธานในการยัดการประชุมนานาชาติ “Coronavirus
Response Pledging Conference” ในรูปแบบออนไลน์ โดยการประชุมมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมด้วยประมาณ 40 ประเทศ
จากข้อสรุปในที่ประชุมได้มีการกำหนดเป้าหมายของการระดมทุนภายใต้โครงการ Corona virus Global Response ไว้ที่ 7,500 ล้านยูโร
จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงการวินิจฉัย การค้นหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาวัคซีน
ป้องกันโรคโควิด – 19 โดยให้ทุกประเทศทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ในราคาย่อมเยา ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่เร่งด่วนที่สุด 3 ประการ
โดยจะร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกและองค์การด้านสาธารณสุขระดับโลก

การเข้าร่วมบริจาคของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ด้านผู้นำชาติต่างๆ ทั่วโลก ให้ความสนใจและยินดีสนับสนุนโครงการนี้ สหภาพยุโรปได้ประกาศที่จะบริจาคเงิน 1,000 ล้านยูโร เพื่อเป็น
กองทุนแรกเริ่มสำหรับโครงการ Coronavirus Global Response ฝรั่งเศสสนับสนุน 500 ล้านยูโร เยอรมนีสนับสนุนจำนวน 525 ล้านยูโร
อิตาลีสนับสนุนจำนวน 70 ล้านยูโร สเปนสนับสนุนเงินทุน 125 ล้านยูโร ระบุว่า 50 ล้านยูโร มอบให้การผลิตวัคซีน ส่วนอีก 75 ล้านยูโร
มอบให้กับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด – 19  นอกจากนี้ยังมีประเทศนอกสมาชิกสหภาพยุโรป อาทิ นอร์เวย์
ระบุว่าประเทศแถบสแกนดิเนเวีย จะสมทบทุนจำนวน 1,000 ล้านยูโร ซึ่งขณะที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมทบทุนจำนวน 450 ล้านยูโร
สหราชอาณาจักรมอบเงินจำนวน 440 ล้านยูโร สำหรับประเทศในฝั่งทวีปเอเชีย แม้ผู้นำของจีนจะไม่ได้เข้าร่วมประชุม แต่จีนประกาศให้
งบสนับสนุนจำนวน 45 ล้านยูโร ญี่ปุ่นสนับสนุนจำนวน 760 ล้านยูโร และเกาหลีใต้จำนวน 45 ล้านยูโร

เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำระดับโลกและได้รับผลกระทบในระดับรุนแรงจาการ
แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ไม่มีการประกาศจะสนับสนุนงบวิจัยให้แก่โครงการ Coronavirus Global Response

การใช้ประโยชน์จากโครงการ Coronavirus Global Response

สหภาพยุโรปแถลงว่าจำนวนเงินทั้งหมด 7,500 ล้านยูโร จะนำไปใช้พัฒนาวัคซีนจำนวน 4,000 ล้านยูโร อีก 2,000 ล้านยูโร ใช้ในการวิจัย
เพื่อการรักษาโรค และ 1,500 ล้านยูโร นำไปใช้ในการผลิตเครื่องมือตรวจเชื้อ โดยเงินบริจาคจะส่งให้กับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน เพี่อมุ่ง
ช่วยเหลือประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนที่สุด 73 ประเทศ เช่น องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations
Children’s Fund, UNICEF) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO)

 สถานะล่าสุด

ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2563 ระบุว่าโครงการ Coronavirus Global Response สามารถระดมทุนได้จำนวน 9,800 ล้านยูโร ซึ่งสูงกว่า
เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7,500 ล้านยูโร การที่จะต่อสู้กับโรคโควิด – 19 ได้ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีงบประมาณสนับสนุนมหาศาล โดยการระดมทุน
เงินสนับสนุนจะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนระหว่างนักวิทยาศาสตร์ หน่วยงานบังคับใช้กฎระเบียบภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล
องค์การระหว่างประเทศ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด – 19 จึงเป็นเรื่องน่ายินดี โดยวันที่ 4 มิถุนายน 2563 อังกฤษ
จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมออนไลน์ครั้งต่อไป

สหภาพยุโรปประกาศใช้แผนปฏิบัติการ ERAvsCorona เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกันในการจัดการกับโรคโควิด – 19

เหล่าผู้นำประเทศในสหภาพยุโรปต่างออกมาสนับสนุนการสร้างความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน
วิทยาศาสตร์และการวิจัยในยุโรป เพื่อหาทางออกสำหรับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเน้นถึงความสำคัญในการแบ่งปันข้อมูลและ
การทำงานร่วมกันทั้งในสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก และพร้อมที่จะสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทีมนักวิจัยและบริษัทต่างๆ
ในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาแผนการปฏิบัติการ ERAvsCorona โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์และเครื่องมือที่มีอยู่ของเขตการวิจัยยุโรป
(European Reserch Area, ERA) เพื่อมารับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19

กลยุทธ์สำคัญ 10 ประการ

แผนปฏิบัติการประกอบด้วยกลยุทธ์สำคัญ 10 ประการ ซึ่งไดรับความเห็นชอบจากผู้นำประเทศของ 27 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป

  • ความร่วมมือในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการจัดการกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
  • การขยายการให้การสนับสนุนการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ในยุโรป
  • การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและการรับมือของระบบสาธารณสุขในยุโรป
  • การสนับสนุนบริษัทต่างๆ ในยุโรปในการวิจัย
  • การเปิดโอกาสให้มีการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากหน่วยงานอื่นๆ
  • การจัดตั้งแพลต์ฟอร์มเพื่อให้ข้อมูลแบบครบวงจรด้านทุนวิจัยสำหรับประเด็นโรคโควิด-19
  • การจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจระดับสูงด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19
  • การพัฒนาการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานการริจัย
  • การจัดตั้งแพตฟอร์มเพื่อแบ่งปันและเผยแพร่ข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19

 8 โครงการวิจัยใหม่เพื่อต่อสู้โรคโควิด – 19 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรมในยุโรป

เมื่อเดือนมีนาคม 2563 สหภาพยุโรปประกาศให้ทุนวิจัยสำหรับการพัฒนาวิธีการรักษาและการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 จำนวน 117 ล้านยูโร
ผ่านโครงการ Innovative Medicines Initiative ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม โดยเงินสนับสนุน
45 ล้านยูโร และอีก 72 ล้านยูโร จุดประสงค์หลัก คือ การช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้งในระดับสหภาพยุโรปและระดับโลก

สรุปรายละเอียดโครงการวิจัยที่ได้รับทุน

  1. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิฉัย จำนวน 5 โครงการ
  2. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการรักษา จำนวน 3 โครงการ

สหภาพยุโรประดมงบ 350 ล้านยูโรเพื่อช่วยประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อสู้กับโรคโควิด – 19

สหภาพยุโรปได้ประกาศให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศอาเซียนผ่านงบประมาณจำนวน 350 ล้านยูโร เพื่อรับมือและจัดการกับการแพร่
ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และบรรเทาผลกระทบจากการระบาดดังกล่าวในภูมิภาคอาเซียน โดยให้ความช่วยเหลือในระดับ
ประเทศและระดับภูมิภาค คือ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตด้านสุขภาพ เสริมสร้างระบบสาธารณสุข และบรรเทาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

โครงการความช่วยเหลือสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน

สหภาพยุโรปได้ปรับเปลี่ยนโครงการความร่วมมือกับอาเซียน เพื่อสามารถเข้าร่วมเพื่อรับความช่วยเหลือ ดังนี้ โครงการ Safe & Fair มีวัตถุ
ประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพการย้ายถิ่นฐานแรงงานให้มีความปลอดภัยและยุติธรรมสำหรับผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการ The EU-UN Spotlight Initiative เพื่อขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก

โครงการ BIOSEC – Enhanced Biosecurity in South-East Asia เป็นโครงการความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อช่วยให้ประเทศพันธมิตร
ในเอเชียตะวันออกเฉียงให้ เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือกับโรคติดต่อ

โครงการความช่วยเหลือสำหรับประเทศไทย 

สำหรับประเทศไทย สหภาพยุโรปและ Oxfam ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาในระดับสากลได้จัดทำโปสเตอร์ภาษาไทยและภาษายาวี
เพื่ออธิบายวิธีป้องกันตนเอง เพื่อช่วยประเทศไทยในการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในชุมชนห่างไกลในสามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองจากโควิด-19 เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคมและมาตรการป้องกันตนเองอื่นๆ
ข้อมูลที่มีอยู่แล้วบางส่วนมีเฉพาะภาษาไทยและไม่ได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมของผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ในเรื่องการละหมาด เพื่อรับมือ
ปัญหาดังกล่าวได้จัดทำโปสเตอร์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโควิด-19 เป็นภาษาไทยและภาษายาวี จำนวน 1,000 ชุด แจกจ่ายไปยังชุมชน
400 แห่งในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี นอกจากนี้ ยังมีการส่งโปสเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลตามช่องทางสื่อสังคม และกลุ่มนักสาธารณะสุขเพื่อ
สังคม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200713-newsletter-brussels-no05-may63.pdf

 

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน 2563

มาตรการเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคโควิด-19 หลังจากการผ่อนปรนการปิดประเทศในยุโรป
ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง ประเทศในยุโรปเริ่มผ่อนปรนมาตรการปิดเมืองและการห้ามกิจการ
ทางสาธารณะ โดยแนวปฏิบัติการผ่อนปรนมาตรการการปิดเมือง ให้เป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิก ให้พิจารณาถึงปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ใช้
เป็นตัวชี้วัดถึงความพร้อมในการผ่อนปรนมาตรการการปิดเมือง ได้แก่
– ข้อมูลทางการระบาดวิทยา : โดยจะต้องมีการลดลงของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ ผู้ติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และผู้ติดเชื้ออาการหนัก
อย่างต่อเนื่อง
– ความสามารถด้านสาธารณสุขและการแพทย์ : โดยจะต้องมีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวนเตียงในโรงพยาบาล การเข้าถึงยารักษาโรค
อุปกรณ์การป้องกันการติดต่อของโรค การเข้าถึงการรักษาของกลุ่มเสี่ยง ฯ ให้เพียงพอต่อการรักษาและดูแลผู้ป่วย
– ความสามารถในการติดตามการแพร่กระจายขอบโรค : โดยต้องมีศักยภาพเพียงพอในการตรวจทดสอบอย่างกว้างขวางเพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อ และ
ติดตามการแพร่กระจายของไวรัสผ่านการทำ contact tracing และเมื่อพบผู้ติดเชื้อต้องสามารถกักกันผู้ติดเชื้อไม่ให้แพร่กระจายโรคต่อไป

เยอรมนี
มาตราการสำหรับการรักษาระยะห่าง
ขยายข้อกำหนดเกี่ยวกับการรักษาระยะห่างทางสังคมออกไป โดยประชาชนยังจำเป็นต้องจำกัดการเดินทางและรักษาระยะห่างกับบุคคลอื่นอย่างน้อย
1.5 เมตร ต่อไป และห้ามรวมกลุ่มมากกว่า 2 คน ในที่สาธารณะ
มาตราการสำหรับการคมนาคม
ขยายเวลาของมาตรการควบคุมชายแดนทางบกระหว่างเยอรมนีกับออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก และเดนมาร์ก และห้ามการเดินทาง
หรือท่องเที่ยวส่วนบุคคล
มาตรการสำหรับร้านค้าและร้านอาหาร
ประกาศผ่อนปรนให้ร้านค้าปลีกทุกประเภทที่มีขนาดเล็กกว่า 800 ตารางเมตร เปิดทำการได้ตั้งแต่ 20 เมษายน 2563 เป็นต้นไป โดยร้านเหล่านี้ต้องมี
มาตรการด้านสุขอนามัย การเข้าใช้บริการ  จำกัดจำนวนลูกค้า
มาตราการสำหรับสถานศึกษา
ให้เริ่มการเรียนการสอนได้เริ่มจากชั้นเรียนเด็กประถมและมัธยม สำหรับนักเรียนอนุบาลและอื่นๆ จะมีการพิจารณาผ่อนปรนอีกครั้ง โดยพื้นที่ในชั้นเรียน
ต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร/คน ในขณะที่มหาวิทยาลัยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบออนไลน์
มาตราการสำหรับการตรวจหาเชื้อและการวิจัย
สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัคซีน ได้อนุมัติให้มีการเริ่มต้นทดสอบวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ในมนุษย์แล้ว เบื้องต้นมีอาสาสมัครที่สุขภาพดีราว
200 คนอายุระหว่าง 18-55 ปี เข้าร่วมทดสอบ โดยวัคซีนได้รับการพัฒนาภายใต้ความร่วมมือของบริษัทยาผู้เชี่ยวชาญด้านไบโอเทคโนโลยีของ
เยอรมนี มาตรการที่ยังไม่มีการผ่อนปรน
ร้านอาหารและสถานบันเทิง อาทิ ผับ บาร์ โรงหนัง โรงละคม ยังไม่สามาถเปิดทำการได้

ฝรั่งเศส

  1. การป้องกันการติดเชื้อ : เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส รวมทั้งต้องมีการสวมหน้ากากในบางสถานที่ รัฐบาลได้พยายามดำเนินการ
    เพื่อให้ประชาชนมีหน้ากากอย่างทั่วถึง
  2. การตรวจสอบการติดเชื้อ : รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะทำการตรวจสอบการติดเชื้อให้ได้อย่างน้อย 7 แสนครั้งต่อสัปดาห์ ได้เพิ่มชุดตรวจ
    ให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังจัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำการสืบประวัติโดยเฉพาะเพื่อให้ผู้ใกล้ชิดกับผู้ตรวจพบการติดเชื้อ ได้รับการตรวจสอบ
    การติดเชื้อด้วย
  3. การแยกตัวเมื่อติดเชื้อ : สามารถแยกตัวผู้ติดเชื้อได้เร็วที่สุดเพื่อระงับการแพร่ระบาด โดยรัฐบาลเปิดโอกาสให้เลือกว่าจะแยกตัวกับ
    ครอบครัวทั้งหมดหรือที่โรงแรมโดยลำพัง

เนเธอร์แลนด์

มาตราการสำหรับสถานศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา ให้ลดขนาดกลุ่มในห้องเรียนลงครึ่งหนึ่ง โดยให้นักเรียนเข้าโรงเรียนประมาณร้อยละ 50 ของเวลาทั้งหมด อีกครึ่งหนึ่งของ
เวลาที่เหลือให้เรียนแบบออนไลน์
มาตราการสำหรับร้านค้าและร้านอาหาร
อนุญาตให้ร้านอาหารแบบนั่งนอกร้านเปิดได้ โดยต้องเว้นระยะห่าง 1.5 เมตร รักษาระยะห่าง 1.5 เมตรระหว่างกัน ก่อนใช้บริการมีการสอบถาม
ล่วงหน้าเพื่อประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือไม่
มาตราการสำหรับการใช้หน้ากากอนามัย
ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถรักษาระยะห่าง 1.5 เมตรระหว่างกันได้ เช่น กรณีผู้โดยสารและพนักงานในระบบขนส่งสาธารณะ จะต้องสวมหน้ากาก
อนามัย
มาตรการสำหรับการเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย
เด็กและเยาวชนจะมีการเล่นกีฬากลางแจ้ง แต่ไม่มีการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี สามารถออกกำลังกายด้วยกันกลางแจ้ง
ภายใต้การดูแล ขณะที่เยาวชนอายุ 13 ถึง 18 ปี ได้รับอนุญาตให้ออกกำลังกลางแจ้งด้วยกัน แต่ต้องเว้นระยะห่างทางกายภาพอย่างน้อย 1.5 เมตร
มาตรการสำหรับผู้สูงอายุ
อนุญาตให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่อย่างอิสระสามารถมีคนมาเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอได้คราวละหนึ่งหรือสองคน
มาตรการที่ยังไม่มีการผ่อนปรน
ขยายมาตรการห้ามจัดกิจกรรม การชุมนุมต่างๆ ไปจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2563

เบลเยียม
มาตรการสำหรับการคมนาคม
บุคคลที่มีอายุมากกว่า 12 ปี ที่ต้องใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือออกไปในที่สาธารณะ จะต้องใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า ผ้าพันคอ หรือ
อุปกรณ์อื่นๆที่ช่วยปกปิดจมูกและปาก และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางระหว่างชั่วโมงเร่งด่วน หากเป็นไปได้ควรใช้พาหนะส่วนตัวให้มาก
ที่สุดในการเดินทาง เช่นรถยนต์ จักรยาน หรือ การเดินเท้า สำหรับผู้ไม่มีความจำเป็นให้งดเดินทางออกจากที่อยู่อาศัย เพื่อลดการแพร่กระจาย
เชื้อต่อไป
มาตราการสำหรับสถานศึกษา
โรงเรียนยังคงเป็นศูนย์กลาง เพื่อรับและดูแลเฉพาะเด็กที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงาน
มาตราการสำหรับบริษัท
บริษัทห้างร้านยังสามารถดำเนินกิจการได้ สามารถเริ่มติดต่อระหว่างธุรกิจได้ แต่ธุรกิจที่ติดต่อกับสาธารณะยังคงงด โดยยังถือให้การทำงาน
จากบ้านยังคงเป็นแนวปฏิบัติมาตรฐานที่แนะนำ

สหราชอาณาจักร

การผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองจะดำเนินการแบบเป็นขั้นเป็นตอนและมีเงื่อนไข โดยการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองจะดำเนินการแบบ
เป็นขั้นเป็นตอนและมีเงื่อนไข โดยพิจารณาจาก 5 ปัจจัยหลักได้แก่
– การป้องกันระบบบริการด้านสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (NHS)
– อัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
– อัตราการติดเชื้อโรคโควิด-19 ลดลงอย่างต่อเนื่องและเป็นที่น่าพอใจ
– การผลักดันให้มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพียงพอต่อบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้
– การสร้างความเชื่อมั่นว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลนำมาใช้นั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำ

อิตาลี

มาตรการสำหรับการคมนาคม
อนุญาตให้ประชาชนเดินทางภายในแคว้นได้ และไปหาญาติได้ในจำนวนที่ไม่มาก ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
มาตรการสำหรับการเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย
สถานที่กลางแจ้งและสวนสาธารณะต่างๆ จะเปิดให้ใช้บริการอีกครั้ง และประชาชนวิ่งออกกำลังกายหรือขี่จักรยานได้ โดยให้อยู่ในรัศมี
200 เมตรจากที่อยู่อาศัย ส่วนนักกีฬาให้กลับมาฝึกซ้อมแบบแยกเดี่ยวได้
มาตรการที่ยังไม่มีการผ่อนปรน
โรงเรียนต้องยังไม่เปิดการเรียนการสอนจนกว่าจะถึงเดือนกันยายน

สเปน

มาตราการสำหรับการคมนาคม
อนุญาตให้ประชาชนออกนอกบ้านเพื่อออกกำลังกาย เดินนอกบ้าน และซื้ออาหารได้ในระยะเวลาสั้นๆ
มาตราการสำหรับร้านค้าและร้านอาหาร
อนุญาตให้ธุรกิจบางประเภทกลับมาเปิดทำการใหม่ได้ เช่น ร้านตัดผม ร้านอาหาร ที่มีบริการซื้อกลับบ้านด้วยภายใต้ข้อจำกัดอันเข้มงวด
โรงภาพยนตร์โรงละคร และงานนิทรรศการ เปิดทำการได้แต่ให้คนเข้าชมได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของความจุพื้นที่
มาตราการสำหรับการใช้หน้ากากอนามัย
มาตรการบังคับสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเมื่ออยู่ในระบบขนส่งสาธารณะมีผลทั่วสเปน นอกเหนือจากการที่ประชาชนต้อง
ปฏิบัติตามแนวทางระยะห่างทางกายภาพเมื่ออยู่ในรถประจำทางและรถไฟ
มาตราการสำหรับบริษัท
ยังคงแนะนำให้ทำงานจากที่บ้านเท่าที่ยังเป็นไปได้จนกว่าจะเข้าสู่ขั้นสุดท้ายของแผนยกเลิกการปิดเมือง
มาตรการที่ยังไม่มีการผ่อนปรน
โรงเรียนต้องยังไม่เปิดการเรียนการสอนจนกว่าจะถึงเดือนกันยายน

นอร์เวย์

มาตรการสำหรับการพบปะผู้คน
ขนาดของกลุ่มที่แนะนำที่สามารถพบเจอแบบส่วนตัวเพิ่มขึ้นจากไม่เกิน 5 คน เป็นสูงสุดไม่เกิน 20 คนโดยที่ผู้คนจะต้องรักษาระยะห่างจากกัน
อย่างน้อย 1 เมตร
มาตรการสำหรับการทำงานและบริษัท
นายจ้างมีหน้าที่ตรวจสอบให้แน่ใจว่า พนักงานของพวกเขาสามารถรักษาระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร ตลอดเวลาที่ทำงานได้ และในส่วน
ของบางพื้นที่ในประเทศนอร์เวย์ ที่พนักงาน จำเป็นต้องพึ่งพาระบบขนส่งมวลชน โดยอนุญาตให้ทำงานได้จากสำนักงานที่บ้าน และ ประชุม
ผ่านทางระบบออนไลน์ ได้มากที่สุดหากเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ เมืองออสโล และในเมืองอื่นๆ ที่มีผู้ใช้ ระบบขนส่งมวลชน
เป็นจำนวนมากในช่วงเวลาทำงานและช่วงเวลาเร่งด่วน

 

มาตรการสำหรับสถานศึกษา

โรงเรียนทุกระดับชั้นจะต้องปฏิบัติตามกฎการควบคุมการติดเชื้อ แต่มหาวิทยาลัย วิทยาลัย และวิทยาลัยอาชีวศึกษา จะต้องดำเนินการสอน
ทางไกลต่อไป
มาตรการสำหรับร้านค้าและร้านอาหาร
บาร์และสถานประกอบการอื่นๆ ที่ให้บริการเครื่องดื่มแต่ไม่มีบริการอาหาร เปิดบริการได้หากสามารถปฏิบัติตามกฎของการรักษาระยะห่าง
อย่างน้อย 1 เมตร
ระหว่างลูกค้าและพนักงาน
มาตรการสำหรับการเล่นกีฬา
อนุญาตให้จัดกิจกรรมว่ายน้ำ รวมถึงเปิดชั้นเรียนว่ายน้ำโรงเรียน
มาตรการสำหรับการจัดกิจกรรม
การจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมระหว่าง 50 – 200 คนจะได้รับอนุญาตให้จัด (หากไม่มีการแพร่ระบาดของการติดเชื้อรุนแรงใน ประเทศนอร์เวย์
ในช่วงนั้นอีกแล้ว)
มาตรการสำหรับการเล่นกีฬา
ศูนย์ออกกำลังกายอาจจะสามารถเปิดทำการได้ โดยมีเงื่อนไข จะต้องให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านสุขภาพ เพื่อเป็น
แนวทางในการปฏิบัติให้ได้มาตรฐานของการควบคุมการติดเชื้อที่เหมาะสม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200713-newsletter-brussels-no04-apr63.pdf

 

 

Top 3 อีเมลหลอกลวงที่เราควรรู้ทัน

อีเมลหลอกลวงที่มาในรูปแบบ ลวงให้ click หลอกให้กด เพื่อขอ รหัสผ่าน และ password ยังคงมีมายาวนานและต่อเนื่อง ทั้งในแวดวง ธนาคาร หรือ สื่อ app social ยอดนิยมเช่น netflix  เป็นต้น  และยังคงสามารถหลอกให้ผู้ใช้งาน click แล้วตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย เราเรียกการหลอกลวงนี้ว่าการ phishing  (ล่อเหยื่อ หรือตกปลา) ซึ่งผู้เขียนเองขอยกตัวอย่างอีเมลที่ยังคงเป็น Top 3 ในมุม Application  ที่ส่งให้กับผู้ใช้งานมาทั่วโลก ดังนี้

จากภาพ จะพบว่า มีอีเมลแจ้งเข้ามาในส่วนของ AppleID , Netflix หรือแม้แต่ Paypal ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้งานอาจมีบริการนี้อยู่ และคงต้องกังวลในหัวข้อ subject ที่แจ้งถึงเหตุการณ์ไม่ปกติ และต้องรีบคลิกเข้าไปอ่าน ก็จะพบข้อความ “รีบให้คลิกไปแก้ไข account ดังภาพ

สิ่งที่คุณผู้อ่านควรสังเกตุให้ดีคือ account ของผู้ส่ง คุณจะพบว่า ไม่ใช่อีเมลจากบริษัทดังกล่าว แต่เป็นอีเมลปลอมหรืออ้างอิงให้เหมือนกับชื่อบริษัท  ซึ่งหากคุณเปิดอ่านด้วย mobile คุณจะไม่พบกับรายละเอียดผู้ส่งแบบในภาพ  คุณจะพบข้อความเร่งเร้าให้คุณเข้าไปจัดการ account ของคุณผ่านการ login หรือจัดการผ่าน link ทันที ซึ่งหากคุณเผลอ click แล้วให้ข้อมูลไป นั่นแปลว่าคุณได้เสียข้อมูล account ของคุณให้กับมิจฉาชีพแล้ว
เราจะรับมือกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร ?
1. เมื่อคุณได้อีเมลลักษณะนี้ ไม่ควรเข้าไปอ่านหรือ click จาก email
2. หากคุณมีข้อสงสัย ให้เข้าไปยัง website ของบริษัทดังกล่าว และ login ผ่านเว็บไซต์โดยตรง
3. ทำการ block ผู้ส่งหรือรายงานว่าเป็น phishing เช่น ในกรณีของ outlook ทำได้ดังนี้

เมื่อคุณรายงานว่าผู้ส่งเหล่านี้เป็น phishing คุณจะไม่พบอีเมลดังกล่าวอีก 

อย่าลืมว่าทุกครั้งที่มีอีเมลใดๆ ส่งมา คุณควรพิจารณาก่อน click และควรเข้าถึงแหล่งจากต้นทาง เพราะการเสียข้อมูลของคุณให้มิจฉาชีพไปแล้วมันยากมากที่จะนำกลับคืนมา หวังว่าบทความนี้จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกท่านได้ครับ

ฺวิธีการ Block Page Facebook เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้น

เพจ Facebook ในปัจจุบันมีมากมายหลายเพจที่มีเนื้อหาที่อาจไม่ถูกใจเรา หรือเราไม่อยากพบเจอบ่อยๆ โดยเฉพาะเพจ Fake News หรือเพจที่ดูดข่าวจากที่อื่นมาหลอกล่อให้คุณกดอ่านแล้วก็มีหน้าโฆษณามหาศาล สุดท้ายให้เรา link ไปยังเพจอื่นๆ ภายนอกเว็บไซต์อีกต่างหาก เป็นการเชื่อมโยงโฆษณาเป็นทอดๆ ที่ดูไม่จริงใจต่อผู้บริโภคมากนักใช่ไหมครับ และยังมีอีกมากมายเพจที่คุณคงไม่ชอบด้วยเหตุผลส่วนตัว หากคุณพบเจอเพจเหล่านี้ คุณสามารถ BLOCK และ Report กับ Facebook ได้ ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

ให้คุณเลือกไปยัง … ของโพสต์หรือเพจนั้น แล้วเลือกในหัวข้อ “ค้นหาการสนับสนุนหรือรายงานโพสต์”

หลังจากนั้นให้คุณเลือกเหตุผลที่ต้องการรายงาน หรือคุณอาจทำการ บล็อก หรือ ซ่อนโพสต์ทั้งหมดจากเพจที่คุณไม่ประสงค์ได้  เท่านี้ก็จะสามารถทำให้เพจที่ไม่พึงประสงค์ของคุณหลุดออกจากวงโคจร Social ของคุณได้ ไม่เว้นแม้แต่การยิงโฆษณาแบบเสียเงินของเพจเหล่านั้น คุณก็จะไม่ได้เห็นอีก  (แต่ถ้าเพื่อนคุณแชร์แล้ว tag คุณ อันนั้นเห็นแน่นอนครับ)   หวังว่าเรื่องเหล่านี้จะมีประโยชน์กับชีวิต social กันนะครับ

รู้สักนิดก่อนคิดถ่ายทำในสถานที่ราชการ

หากท่านใดเคยอ่านบทความ  ถ่ายภาพสถานที่เพื่อการขาย อาจเสี่ยงติดคุกได้ ถ้าไม่รู้จัก Property Release  คงจะทราบดีว่า ผู้เขียนได้อธิบายถึงปัญหาการถ่ายภาพที่ติดสถานที่หรือ location ที่เจ้าของ ไม่อนุญาต ให้ผู้ถ่ายทำ ทำการถ่ายเพื่อการค้าหรืออื่นๆ ก็ตาม และเป็นสิ่งที่หลายท่านละเลยอยู่เสมอ สำหรับประเทศไทย หากจะยกตัวอย่างสถานที่ ๆ หลายที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำ ส่วนมากจะเป็น สถานที่ราชการ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น (ซึ่งประกอบด้วย คน เด็ก ธุรกรรม หรือ สิทธิ์ ที่สงวนตามกฏหมาย)  แต่ในบทความนี้ขอแชร์สิ่งที่ใกล้ตัวมากในการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็น youtuber หรือหารายได้จากการถ่ายทำนี้ หลายท่านอาจไม่คาดคิดว่าจะเป็นประเด็นได้ นั่นคือ “การถ่ายทำภาพยนตร์หรือคลิปวีดีโอในอุทยาน”  หลายท่านอ่านแล้วก็ยังมีคำถามว่า จริงหรือ ?  ขออนุญาตนำเสนอส่วนหนึ่งของ พรบ. อุทยาน อ้างอิงจาก สำนักงานข้อมูลข่าวสารราชการ  กฏระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า  และพันธ์พืช ว่าด้วยการถ่ายทำภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552   http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER12/DRAWER095/GENERAL/DATA0000/00000043.PDF ดังนี้ครับ

ถ้าอ่านคำนิยาม “ภาพยนตร์” คุณจะทราบว่า หากถ่ายทำในส่วนของท่องเที่ยวเพื่อการส่วนตัวหรือภายในครอบครัว ไม่หารายได้ จะไม่ถือว่าเป็นการละเมิดกฏข้อนี้ แต่อย่าลืมว่าในปัจจุบัน หลายท่านสามารถหารายได้จากการขายคลิปหรือการเป็น youtuber หรือแอป social ดังๆ ได้  คุณอาจจะพลาดในการนำคลิปที่ถ่ายทำภายในสถานที่ราชการเหล่านี้ไปใช้ และอาจเป็นผู้ถูกดำเนินคดีได้ครับ ดังนั้นหากคุณจะถ่ายคลิปหรือถ่ายทำในสถานที่ราชการ จำไว้เสมอว่า ควรศึกษาข้อห้าม กฏ หรือระเบียบก่อน เพื่อจะได้ไม่พลาดในเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆ ครับ

Canonical URL คืออะไร ?


Canonical URL หมายถึง URL ที่มีการเข้าถึงในหลากหลาย address แต่มีเนื้อหาที่อาจซ้ำกัน  ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ข่าวหนึ่งชื่อ news.com  สามารถเข้าถึงได้ในรูปแบบดังนี้  https://m.news.com /  https://mobile.news.com  / https://news.com/index/ / https://news.com/  จาก url ดังกล่าว เป็นการเข้าถึงหน้าแรกของเว็บไซต์ทั้งสิ้น ซึ่งผู้จัดทำ SEO จำเป็นต้องเรียนรู้ Conanical URL เพื่อให้การทำอันดับเว็บไซต์ทำได้ดีขึ้น ป้องกันไม่ให้ทาง Google BOT มองว่าเป็น Duplicate content ซึ่งส่งผลเสียต่อการให้คะแนนอันดับในเว็บไซต์  โดยผู้จัดทำระบบต้องต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ <link rel=”canonical” href=”URL” /> ในทุก URL ที่ควรชี้เป็น index URL หลัก เพื่อให้ BOT สามารถให้คะแนนความถูกต้องของ SITE พร้อมทั้งสร้างลำดับคะแนนที่ดีขึ้นอีกด้วย

การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน

การสร้างเอกสารรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบัน ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมอย่างมาก หลายๆ สื่อมีรูปแบบเป็นดิจิทัลตั้งแต่ต้นกำเนิด เช่น การพิมพ์วิทยานิพนธ์ คำสั่ง เอกสารวิชาการ รายงาน สื่อนำเสนอ สื่อกราฟิก รวมทั้งเส้นทางการดำเนินงานของสื่อดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของดิจิทัล เช่น การเผยแพร่สื่อกราฟิกผ่านระบบเครือข่ายผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) จะเห็นได้ว่าวงจรชีวิตของสื่อในปัจจุบันสามารถอยู่ในระบบดิจิทัลได้เกือบ 100% การบริหารจัดการสื่อดังกล่าว จึงเป็นเรื่องใหม่ และมีความท้าทายมาก เช่น ทำอย่างไรให้สื่อดังกล่าวถูกส่งต่อไปยังผู้ใช้งานได้โดยปราศจากปัญหาการเข้าถึง การแสดงผลถูกต้องตามที่ผู้สร้างสรรค์กำหนดตั้งแต่ต้น และเมื่อเวลาผ่านไปก็ยังคงสภาพทำงานได้ดังต้นกำเนิดทุกประการ หรือดีที่สุด

สื่อดิจิทัลในปัจจุบัน จึงเกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวนมากที่มาร่วมกันทำงานผ่านเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน สื่อดิจิทัลจำนวนมากอาจจะเกิดปัญหาจากการใช้งานจากการสร้างสรรค์ เช่น

  • ไม่สามารถเปิดแฟ้มเอกสารดิจิทัลเพราะความต่างของรุ่น (Version) ของโปรแกรมที่ใช้สร้าง/เปิดแฟ้มเอกสาร
  • การจัดหน้าเอกสารที่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ การแสดงผลภาษาไทยที่ผิดพลาดทั้งประเด็นจากแบบอักษร (Font)
  • การเข้ารหัสภาษาไทย (Thai Encoding)
  • ปัญหาจากการละเมิดลิขสิทธิ์

การคงสภาพเอกสารให้สามารถเรียกใช้งานได้อย่างสะดวก ด้วยการจัดการเอกสารรูปแบบ PDF เพื่อคงสภาพของเอกสารให้สามารถเรียกชมได้ โดยไม่มีปัญหาการจัดหน้ากระดาษ การจัดพารากราฟ เอกสารรูปแบบ PDF ยังสามารถกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้หลายระดับตั้งแต่การเปิดเรียกดูเอกสาร การคัดลอก จึงถึงการสั่งพิมพ์ ในการนี้เพื่อให้เอกสาร PDF รองรับการใช้งานในระบบจัดเก็บองค์ความรู้ของ สวทช. จึงแนะนำให้มีการจัดทำ PDF ด้วยรูปแบบการแปลง (Convert) หรือการส่งออก (Export) เอกสารต้นฉบับที่อยู่ในรูปของแฟ้มดิจิทัล เช่น .doc, .xls, .ppt, .odt ให้เป็นเอกสารดิจิทัลรูปแบบ PDF โดยผ่านซอฟต์แวร์หรือคำสั่งเฉพาะ เช่น การแปลงเอกสารที่สร้างขึ้นด้วย MS Office เป็นเอกสาร PDF ผ่านโปรแกรม Acrobat Processional Pro หรือการส่งออกเอกสารที่สร้างด้วย OpenOffice.org/LibreOffice เป็น PDF ด้วยคำสั่ง Export เป็นต้น ทั้งนี้เอกสารควรจะถูกสร้างด้วย Style เพื่อให้ระบบแปลงเนื้อหา Heading 1, Heading 2, Heading 3,…. เป็น Bookmark ให้แบบอัติโนมัติ การแปลงไฟล์ต้นกำเนิดเป็น PDF ด้วยการ convert หรือ export สามารถนำไปต่อยอดได้ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถนำไปต่อยอดได้ เนื่องจากพบปัญหา เช่น การแปลงหรือส่งออกเอกสารต้นฉบับที่มีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลาย และหรือฟอนต์ที่ต้องการการติดตั้งเพิ่มเติม ทำให้เอกสาร PDF มีปัญหาเกี่ยวกับการแสดงผลฟอนต์ จึงทำให้ไม่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้งานต่อยอดได้

ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเจ้าหน้าที่ของ สวทช. ทั้งสายสนับสนุน และสายวิจัย โดยสายวิจัยได้แนะนำการบริหารจัดการบรรณานุกรมด้วย Zetero : Free Reference Manager เพิ่มเติมเพื่อเป็นทางเลือก ตัวช่วยในการบริหารจัดการการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการมีความมุ่งหวังให้ พนักงาน สวทช. ทุกสายงานสามารถสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้อย่างมีมาตรฐาน และสามารถเรียกใช้งานได้ในอนาคต โดยเมื่อจัดเก็บในระบบคลังความรู้ คลังข้อมูลหรืออื่นๆ แล้วไฟล์ที่สร้างสรรค์นั้นจะไม่เป็น “ถังขยะอิเล็กทรอนิกส์” อีกต่อไป การจัดอบรมฯ มีขึ้น 2 รุ่น ดังนี้

  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลที่ได้มาตรฐานและยั่งยืนบนพื้นฐานของการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์” สำหรับสายสนับสนุน
    วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.00 – 15.00น. ณ ห้องฝึกอบรม CC405
  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน” สำหรับสายวิจัย
    วันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2562 เวลา 09.00 – 15.00น. ณ ห้องฝึกอบรม CC308

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้สร้างเอกสารงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ

  • สร้างเอกสารสื่อนำเสนอที่มีคุณภาพ
  • Style หัวใจสำคัญของการพิมพ์งานในยุคดิจิทัล
  • การบันทึกงานและการฝังฟอนต์
  • การส่งออกและแปลงไฟล์ PDF ที่ถูกต้อง (ไฟล์ PDF จากการแปลงไฟล์ กับ ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการสแกน แตกต่างกันอย่างไร)
  • การบริหารจัดการบรรณานุกรมด้วย Zotero: Free Reference Manager
  • เรียนรู้…ประเภทของเอกสารที่รองรับการตรวจด้วยโปรแกรม CopyCatch

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด “หลักและแนวปฏิบัติการจัดการจดหมายเหตุดิจิทัล (แนวปฏิบัติการบริหารจัดการสื่อดิจิทัล)” ได้ที่https://oer.learn.in.th/search_detail/result/103616

เหตุผลที่ทำให้การทำ KM ไม่ประสบผลสำเร็จ

เหตุผลที่ทำให้การทำ KM ไม่ประสบผลสำเร็จ

1. ไม่ได้มีการวางแผน สร้างโปรแกรม KM โดยไม่กำหนดก่อนภารกิจ, จุดมุ่งหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน และกลวิธีที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ประสบผลสำเร็จ
อาการบ่งชี้:

  • ไม่มีใครรู้ว่า KM ใช้การได้หรือไม่
  • ทีม KM ไม่แน่ใจว่าจะทำอะไรต่อไป
  • คนในธุรกิจไม่แน่ใจว่า KM เพื่ออะไร (หรือแม้แต่ KM เป็นอะไร)
  • คนในธุรกิจเชื่อมโยง KM กับเครื่องมือซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ

การแก้ปัญหา: กำหนดแผนคุณค่าและกรณีทางธุรกิจสำหรับโปรแกรม KM ต้องตอบคำถาม: ปัญหาทางธุรกิจอะไรที่ KM กำลังจะแก้ และต่อมากำหนดจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำเมื่อเริ่มทำโปรแกรม KM แต่ถ้ายังไม่ได้ทำ เริ่มทำตอนนี้

2. ไม่รู้จักลูกค้า ออกแบบการแก้ปัญหา KM โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำธุรกิจหรือผู้ใช้ปลายทาง
อาการบ่งชี้:

  • การวัด KM แสดงกิจกรรมและความผูกพันของพนักงานต่ำ
  • พนักงานแบ่งปันความรู้นอกช่องทาง KM (ตัวอย่าง เช่น ผ่าน email)
  • ผู้นำธุรกิจไม่คิดว่า KM เป็นการใช้ที่มีคุณค่าของเวลาของพนักงาน

การแก้ปัญหา: ใช้เทคนิค เช่น การคิดออกแบบ (design thinking) เพื่อพัฒนาการแก้ปัญหา KM ซึ่งแก้ปัญหาของพนักงาน วิธีการการคิดออกแบบ เช่น การทำแผนที่การเดินทางของลูกค้า (customer journey mapping) ช่วยผู้เชี่ยวชาญ KM เข้าใจอย่างแท้จริงความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง

3. คิดแต่การบริหารระเบียบ ทีม KM ยึดติดกับ back office และใช้เวลาทั้งหมดกับงานที่น่าเบื่อ เช่น การทำให้เนื้อหาเป็นรูปแบบ การรักษาเนื้อหาในคลัง
อาการบ่งชี้:

  • ทีม KM รู้สึกท้อแท้และไม่ถูกใจ
  • พนักงานเปรียบ KM กับอินทราเน็ตของบริษัทหรือสิ่งที่น่าเบื่ออื่นๆ
  • ความคิดที่สำคัญสำหรับ KM ควรจะทำอะไรไม่ได้รับความสนใจ

การแก้ปัญหา: มีสามวิธีสามารถช่วยลดภาระของการบริหารระเบียบการจัดการเนื้อหา วิธีแรก คือ ช่วยธุรกิจมีบทบาทในการบริหารเนื้อหาโดยการฝึกหัดเจ้าของเนื้อหาและการสร้างระบบการจัดการที่ชัดเจน วิธีที่สอง คือ ใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ เช่น  autotagging และ autoclassification ทำให้การจัดการเนื้อหาง่ายขึ้นมาก วิธีที่สาม คือ สร้างทีมนอกประเทศเพื่อการจัดการเนื้อหา ทีม KM ที่เก่งจะใช้วิธีต่างๆ เหล่านี้ร่วมกันเพื่อให้เวลาที่มากขึ้นสำหรับงานที่มีคุณค่าและสำคัญ

4. เป็นผู้อยู่สันโดษ ทีม KM ทำงานอยู่ในส่วนของตนเอง ไม่ติดต่อกับหุ้นส่วนที่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจ
อาการบ่งชี้:

  • ผู้นำธุรกิจไม่จัดการ KM สำหรับสนับสนุนหรือนำทาง
  • หน้าที่อื่นๆ เสนอเครื่องมือซึ่งเหมือนของ KM อย่างมากและพนักงานสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่จะใช้
  • ความมุ่งมั่นของทีม KM ลดความสำคัญบ่อยๆ โดยการแข่งขันทางธุรกิจ

การแก้ปัญหา: สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกว่ากับธุรกิจ ต้องเข้าไปใกล้พอเพื่อชี้ความต้องการที่แท้จริงและต่อมาพิสูจน์ว่า KM สามารถช่วย สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหุ้นส่วนที่เป็นประโยชน์สามารถยุ่งยากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทีม KM มีประวัติของการเพียงมาหากลุ่มนี้เมื่อมีคำถามและความต้องการ ดังนั้นอย่ารอจนกระทั่งมีความจำเป็นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มเหล่านี้: มองหาหนทางที่จะสร้าง (หรือสร้างใหม่) ความสัมพันธ์ข้ามสายงานวันนี้

5. สิ่งของไม่เป็นที่น่าพอใจ พนักงานเกียจลักษณะ ความรู้สึก และประสบการณ์ผู้ใช้ของเครื่องมือ KM
อาการบ่งชี้:

  • ระบบ KM ไม่อยู่ในตอนต้นปี 2000s
  • พนักงานพูด ทำไมเครื่องมือ KM ไม่สามารถเหมือนมากกว่า (Google, YouTube, Alexa หรือ อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภค)
  • ทีม KM ใช้เวลามากในการเก็บคำถามและการร้องเรียนของพนักงานเกี่ยวกับไม่สามารถค้นหาหรือเข้าถึงสิ่งของอย่างไร, เนื้อหาจะไม่ดูแปลกประหลาดในโทรศัพท์

การแก้ปัญหา: เข้าร่วมในการประชุมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (digital transformation) สามารถปลดการให้ทุน KM ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาให้ชุดเครื่องมือ KM ดีขึ้นอย่างจริงจัง  KM มีหลายข้อเสนอให้ทีมดิจิทัล: การเข้าใจการไหลของรายละเอียดและความต้องการความรู้ของพนักงานของ KM เป็นการสนับสนุนที่มีคุณค่าสำหรับการเลือกเครื่องมือที่ถูกต้องและทำให้คนนำมาใช้


ที่มา: Mercy Harper (January 6, 2020). Why KM Initiatives Fail. Retrieved April 5, 2020, from https://www.apqc.org/blog/why-km-initiatives-fail

แหล่ง OER (open educational resource) ที่สำคัญ

1. Open Education Europa
สร้างโดย European Commission ในปี 2013 มีจุดประสงค์เพื่อนำมารวมกันทั้งหมด OER ของยุโรปที่มีอยู่ มีความสามารถในการค้นหาอย่างกว้างขวางและมีทางเลือกในการกรองผลการค้นหาโดยใช้สถาบัน, ภาษา, วิชา และอื่นๆ

2. OER Commons
เริ่มดำเนินการในปี 2007 โดย Institute for the Study of Knowledge Management in Education (ISKME) มีฐานข้อมูลที่ครอบคลุมและหน้าที่ค้นหาที่ซับซ้อน คนซึ่งลงทะเบียนกับ OER Commons สามารถประเมินและตรวจสอบ OER Commons

3. Community College Consortium for Open Educational Resources (CCCOER)
คือสมาคมสถาบันการศึกษาของชาวอเมริกันที่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้ OERs, ตำราเรียนแบบเปิด (open textbooks) และ open courseware ได้รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ที่สามารถค้นพบทรัพยากรเหล่านี้

ที่มา: open access.nl. Where can you find open educational resources?. Retrieved September 30, 2020, from https://www.openaccess.nl/en/what-is-open-access/open-education

ทรัพยากรการศึกษามีกี่ชนิด

1. การบรรยายผ่านเว็บ (Web lectures)
คือ คลิปวิดีโอการนำเสนอ, การบรรยาย และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งประกอบด้วย PowerPoint presentations, เว็บไซต์ และสิ่งพิมพ์
2. เนื้อหาแบบเปิด (Open content)
คือ งานสร้างสรรค์ เช่น เนื้อหา, รูปภาพ, เสียง หรือวิดีโอ ซึ่งเผยแพร่ภายใต้การอนุญาตแบบเปิด (เช่น Creative Commons) ซึ่งอนุญาตการคัดลอก (copying), การปรับ (adapting) และการกระจาย (distribution) อย่างชัดเจน
3. คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open educational resources, OER)
คือ วัสดุบทเรียนฟรี ซึ่งมีให้ใช้และหรือใช้ซ้ำฟรี วัสดุอาจถูกคัดลอก, ปรับ และกระจายภายใต้การอนุญาตแบบเปิด เช่น Creative Commons
4. Open courseware
คือ หลักสูตรฟรีประกอบด้วยวัสดุบทเรียนแบบเปิด ซึ่งมีให้ใช้หรือใช้ซ้ำฟรี วัสดุอาจถูกคัดลอก, ปรับ และกระจายภายใต้การอนุญาตแบบเปิด เช่น Creative Commons Open courseware เน้นที่วัสดุบทเรียน ดังนั้นนักเรียนไม่ได้รับการดูแลและไม่มีโอกาสที่จะได้หน่วยกิตวิชา (credits)
5. MOOC
MOOC (massive open online course) คือ หลักสูตรออนไลน์ที่ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม การเข้าถึงฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายถ้าผู้เข้าร่วมไม่ต้องการประกาศนียบัตรที่ถูกต้อง ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงวัสดุบทเรียนและมีประสบการณ์เข้าเรียนหลักสูตรอย่างสมบูรณ์ นักเรียนไม่ได้รับหน่วยกิตวิชาอย่างเป็นทางการ

ที่มา: open access.nl. What kinds of educational resources are there?. Retrieved September 30, 2020, from https://www.openaccess.nl/en/what-is-open-access/open-education