ข้อเสียของ OA (open access, การเข้าถึงแบบเปิด)

1. จำนวนวารสารเข้าถึงแบบเปิดที่มีคุณภาพสูงแตกต่างอย่างมากในสาขาวิชาต่างๆ  บางสาขาวิชามีน้อยมาก
2. การตีพิมพ์ในวารสารเข้าถึงแบบเปิดบางครั้งต้องการการบริหารจัดการเพิ่มขึ้น ในขณะที่การตีพิมพ์ในวารสารแบบดั้งเดิมปกติสามารถทำได้ง่ายออนไลน์
3. ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสถาบันวิจัยยังไม่เตรียมสำหรับการจ่าย Author Processing Charges (APCs) ดังนั้นทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากมายที่เพิ่มขึ้นมากับนักวิจัย อย่างไรก็ตามหลายมหาวิทยาลัยปัจจุบันให้เงินสนับสนุนการเผยแพร่แบบเข้าถึงแบบเปิด
4. การนำเข้าข้อมูลและฉบับเต็มของผลงานไปยังคลังเป็นงานที่เพิ่มขึ้นพิเศษของนักวิจัย
5. บ่อยครั้งที่ไม่ชัดเจนว่าเนื้อหาของผลงานในคลังที่จริงสามารถเผยแพร่เป็นการเข้าถึงแบบเปิดหรือไม่ บางครั้งมีอุปสรรคเรื่องลิขสิทธิ์

ที่มา: open access.nl. Advantages & Disadvantages of open access. Retrieved September 29, 2020, from https://www.openaccess.nl/en/what-is-open-access/pros-and-cons

ข้อดีของ OA (open access, การเข้าถึงแบบเปิด)

OA เป็นประโยชน์มากคือทำให้ผลงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

1. มีคนมากกว่าที่จะสามารถอ่านผลงานวิจัย รวมถึงคนที่ไม่สามารถเข้าถึงผลงานวิจัยเพราะว่าไม่สามารถจ่ายค่าสมัครสมาชิกวารสารที่แพง
2. ความคิดใหม่ๆ สามารถถูกเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาวิจัยใหม่ๆ
3. งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงว่าการตีพิมพ์ใน OA เพราะว่าความสามารถที่จะมองเห็นได้ทั่วโลกโดยปราศจากอุปสรรค นำไปสู่การอ้างอิงเพิ่มขึ้นและผลกระทบมากขึ้น
4. ธุรกิจยังสามารถเข้าถึงอย่างกว้างขวางความคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ซึ่งดังนั้นสามารถใช้  OA ทำให้เกิดเศรษฐกิจฐานความรู้และการส่งเสริมเศรษฐกิจ
5. เนื่องจาก OA ยังมีความหมายถึงทำให้เกิดการใช้ซ้ำอย่างกว้างขวาง ความรู้ใหม่ๆ สามารถนำขึ้น OER (คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด) เพื่อการใช้ได้ทันทีในการสอน

ที่มา: open access.nl. Advantages & Disadvantages of open access. Retrieved September 29, 2020, from https://www.openaccess.nl/en/what-is-open-access/pros-and-cons

ประโยชน์หลักของ OA (open access, การเข้าถึงแบบเปิด)

– นักวิจัยและสถาบันได้ประโยชน์จากการมีผู้อ่านจำนวนมาก
นักวิจัยให้บทความแก่สำนักพิมพ์โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพราะการตอบแทนเป็นการค้นพบได้เป็นที่รู้จัก OA หมายถึงมีผู้อ่านมากขึ้น มีผู้ร่วมมือมากขึ้น มีการอ้างอิงงานเพิ่มขึ้น และเป็นที่รู้จักมากขึ้นของตัวนักวิจัยเองและสถาบัน OA ทำให้การเข้าถึงงานวิจัยดีขึ้นสำหรับทุกคน

– งานวิจัยได้ประโยชน์เมื่อเทคนิคล่าสุดสามารถใช้ได้ง่าย
เป็นเวลาหลายปีที่มีเครื่องมือ text and data mining ที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถวิเคราะห์งานเขียนเกี่ยวกับงานวิจัยทั้งหมด, บอกแนวโน้มและการเชื่อมต่อที่ผู้อ่านไม่สามารถทำได้ ในขณะที่อุปสรรคเกี่ยวกับกฎหมายและเทคนิคของสำนักพิมพ์จำกัดการใช้ในวงกว้าง OA ทำให้ใครก็ได้สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งมีศักยภาพทำให้เปลี่ยนการทำวิจัย

– ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาจากที่ที่ไม่คาดหวัง
OA เพิ่มจำนวนนักวิจัยทำวิจัยจากเพียงสถาบันที่สามารถจ่ายได้สำหรับการสมัครสมาชิกวารสารไปเป็นที่ที่มีเพียงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

– ผู้ให้ทุนลงทุนในงานวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้สำหรับคนทั่วไปและสุดท้ายทำให้ชีวิตดีขึ้น
OA เพิ่มผลตอบแทนจาการลงทุนโดยทำให้ผลจากงานวิจัยที่ได้รับทุนสามารถอ่านและใช้โดยใครก็ได้ รวมถึงอุตสาหกรรมและสังคม

– ความคิดที่ดีที่สุดสามารถถูกแบ่งปันและใช้โดยคนอื่น
ยิ่งมีคนจำนวนมากสามารถเข้าถึงและใช้งานวิจัยใหม่ๆ ทำให้งานวิจัยมีคุณค่ามากขึ้นและมีประโยชน์มากขึ้นต่อสังคม

ที่มา: SPARC Europe. Key OA benefits. Retrieved September 24, 2020, from https://sparceurope.org/what-we-do/open-access/oa-benefits/

สร้าง Mobile Application เก็บข้อมูลโดยไม่ต้องเขียนโค้ด

AppSheet เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนา Application Mobile เมื่อพัฒนาเสร็จเเล้ว สามารถ Upload ขึ้น Playstore หรือ Appstore เพือติดตั้งที่ Smartphone หรือจะใช้งานผ่านเว็บ browser  โดยที่ท่านไม่ต้องรู้การเขียนโปรแกรม เพียงมีความคิด สิ่งที่อยากทำ เเละการเชื่อมโยงข้อมูลการทำงาน  ก็สามารถสร้าง Application ใน Plateform AppSheet เพื่อนำไปใช้งานได้

appsheet Mobile Application

Continue reading “สร้าง Mobile Application เก็บข้อมูลโดยไม่ต้องเขียนโค้ด”

ข้อเสียของ OER (open educational resource, คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด)

– เรื่องคุณภาพ
เนื่องจากคลัง OER ปล่อยให้ผู้ใช้ใครก็ได้สามารถสร้าง account และ post วัสดุ บาง post อาจไม่เข้าประเด็นและหรือไม่ถูกต้อง

– เป็นอุปสรรคทางวัฒนธรรมและภาษา
ถึงแม้จะมีความตั้งใจสร้าง OER ให้มีหลายภาษา แต่ส่วนใหญ่จะมีเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นไม่มีประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ไม่ใช่ OER ทั้งหมดจะเหมาะสมต่อวัฒนธรรมของผู้นำไปใช้ทุกคน

– เรื่องเทคโนโลยี
OER ต้องการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มั่นคงและบางครั้งอาจต้องการซอฟต์แวร์ถึงจะใช้งานได้

– เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์
เนื้อหาทั้งหมดที่เผยแพร่ออนไลน์ต้องได้รับการตรวจสอบว่าไม่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์

– เรื่องความยั่งยืน
เนื่องจากผู้สร้างสรรค์ OER โดยปกติไม่ได้รับค่าตอบแทนสำหรับการสร้าง ดังนั้นอาจมีแรงจูงใจน้อยสำหรับการ update หรือทำให้ OER มีอยู่ออนไลน์

ที่มา: Felician University Libraries (April 22, 2020). Advantages & Disadvantages of OER. Retrieved September 24, 2020, from https://felician.libguides.com/OER/proscons

NSTDA Services : FOOD Industry

สวทช. กับการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยด้านอุตสาหกรรมอาหาร บริการด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม, บริการวิเคราะห์และทดสอบ, การถ่ายทอดเทคโนโลยี, การส่งเสริมธุรกิจ SMEs/Start-up, การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/อุตสาหกรรม, การเงิน ภาษีและมาตรการส่งเสริม และบริการประเมินจัดอันดับเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยด้านอุตสาหกรรมอาหาร สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัย พัฒนา และเข้าใจการทำธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้นขึ้น

nstda service booklet food industry

จัดการอ้างอิง และบรรณานุกรมอัตโนมัติด้วยโปรแกรม Mendeley

จัดการอ้างอิง และบรรณานุกรมอัตโนมัติด้วยโปรแกรม Mendeley

การเขียนงานวิจัยและวิชาการ เนื้อหาเป็นส่วนสำคัญในการที่จะนำเสนอผลงานเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร และเมื่องานเขียนเสร็จแล้ว ซึ่งสำคัญที่ผู้เขียนจะต้องมีในเอกสารก็คือ

การอ้างอิงเนื้อหาที่ผู้เขียนไปได้ศึกษามาเพื่อเป็นบรรณานุกรมให้กับผู้ที่สนใจเพิ่มเติมจะได้ศึกษาในเรื่องนั้นๆ ต่อไป และเป็นการให้เครดิตกับเอกสารของผู้เขียนท่านนั้นที่ได้ไปศึกษาหรือตัดข้อความบ้างส่วนมากประกอบในเอกสาร ซึ่งในการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรมนั้น ผู้เขียนก็ต้องทราบว่าจะใช้รูปแบบใดในการอ้างอิง เช่น APA, IEEE หรือ Vancouver เป็นต้น

ในปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยในการสร้างรายการอ้างอิง และบรรณานุกรมนั้นมีมากมายทั้งที่ต้องเสียเงินและสามารถใช้งานได้ฟรี ซึ่งในครั้งนี้ขอแนะนำโปรแกรมที่ชื่อว่า Mendeley เป็นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ฟรี ที่ทาง Elsevier ได้ซื้อมาจากผู้พัฒนา เพื่อให้นักวิจัยและนักวิชาการ สามารถสร้างรายการอ้างอิง และบรรณานุกรม ได้อย่างง่ายๆ และสะดวกรวดเร็วไม่ต้องจำรูปแบบหรือ Style ที่ใช้ในการอ้างอิง เพียงแค่เลือกชื่อ Style ที่ผู้เขียนต้องการ หรือสำนักพิมพ์ที่จะตีพิมพ์งานเขียนกำหนดมา

โปรแกรม Mendeley เป็นโปรแกรมที่ไว้ใช้บริหารจัดการบรรณนุกรมทั้งของหนังสือ และสื่อดิจิทัล เพื่อใช้ในการจัดทำบรรณานุกรมแบบอัตโนมัติรวมทั้งการอ้างอิง ให้กับเอกสารงานพิมพ์ต่างๆ หรือใช้ช่วยในการจัดทำบรรณานุกรมตามสไตล์ต่างๆ  อีกทั้งเป็นเครื่องมือช่วยให้กับนักวิจัย นักวิชาการ และอื่นๆ เพื่อช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลหนังสือ งานวิจัยต่างๆ ที่ได้ศึกษา เพื่อใช้ประกอบการอ้างอิง และสร้างบรรณานุกรมต่อไป โดยโปรแกรมนี้ยังสามารถใช้งานได้ฟรี ไม่ต้องเสียเงินซื้อเหมือนโปรแกรม ENDnote อีกด้วย แต่ด้วยความที่ว่าฟรีจึงให้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลไว้ที่ 2GB หากต้องการมากกว่านี้จะมีค่าใช้จ่ายตามความต้องการของผู้ใช้

โปรแกรม Mendeley มีความสามารถตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรม การจัดการหมวดหมู่ การอ้างอิง การแลกเปลี่ยนกับชุมชนออนไลน์ อย่างไรก็ดีการทำงานของ โปรแกรม Mendeley ต้องทำงานร่วมกับเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Firefox, Safari, Microsoft Edge เป็นต้น ในลักษณะของโปรแกรมเสริม (Extension) ที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลบรรณานุกรม การจัดเก็บ การแลกเปลี่ยน รวมทั้ง โปรแกรม Mendeley ยังได้พัฒนาโปรแกรมเสริมเพื่อการใช้งานร่วมกับ Word Processor ของ Microsoft Word ในลักษณะชุดเครื่องมือ (Toolbar) เพื่ออำนวยความสะดวกในการดึงข้อมูลบรรณานุกรมที่จัดเก็บมาจัดทำรายการอ้างอิง และรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม โดยสามารถศึกษาได้จากคู่มือที่ https://oer.learn.in.th/search_detail/result/166183

ข้อดีของ OER (open educational resource, คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด)

– ขยายการเข้าถึงการเรียนรู้
นักเรียนจากที่ไหนก็ได้ในโลกสามารถเข้าถึง OER ไม่จำกัดเวลา และสามารถใช้ทรัพยากรการศึกษาได้อย่างซ้ำๆ

– มีความสามารถในการขยายระบบเพื่อรองรับการใช้งาน (scalability)
OER เผยแพร่ไปกว้างได้ง่ายโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่มี

– เป็นส่วนขยายวัสดุการศึกษาในชั้นเรียน
OER สามารถเสริมตำราเรียนและการบรรยายการสอนซึ่งขาดรายละเอียดชัดเจน

– ทำให้เนื้อหาหลักสูตรตามปกติดีขึ้น
วัสดุสื่อมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอสามารถมีเนื้อหารวมด้วย การนำเสนอรายละเอียดในหลายรูปแบบอาจช่วยนักเรียนเรียนรู้วัสดุที่ใช้ในการสอนง่ายมากขึ้น

– การแพร่กระจายเร็ว
รายละเอียดอาจได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับรายละเอียดที่เผยแพร่ในตำราเรียนหรือวารสารซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีจึงจะมีให้ใช้ได้) การมีให้ใช้วัสดุที่รวดเร็วอาจเพิ่มความทันต่อเวลาและหรือการเข้าประเด็นของวัสดุที่จะถูกนำเสนอ

– ทำให้นักเรียนเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
การใช้ OER แทนตำราเรียนหรือหลักสูตรแบบดั้งเดิมสามารถทำให้นักเรียนเสียค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุในหลักสูตรน้อยกว่า

– เป็นที่แสดงนวัตกรรมและความสามารถพิเศษ
ผู้ใช้ที่กว้างอาจเรียนรู้ความสนใจงานวิจัยและความเชี่ยวชาญของคณะ

– ดีต่อศิษย์เก่า
OER ช่วยให้ศิษย์เก่ายังคงสามารถเชื่อมต่อกับสถาบันและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

– วัสดุการศึกษาได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไม่เหมือนตำราเรียนและแหล่งรายละเอียดที่อยู่นิ่งๆ อื่นๆ OER สามารถได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านการแก้ไขโดยตรงโดยผู้ใช้หรือผ่านการชักชวนและรวมตัวกันของการตอบกลับของผู้ใช้ ผู้สอนสามารถใช้ OER ที่มีอยู่โดยปรับให้เหมาะสมสำหรับชั้นเรียนและทำให้ผู้อื่นสามารถใช้

ที่มา: Felician University Libraries (April 22, 2020). Advantages & Disadvantages of OER. Retrieved September 24, 2020, from https://felician.libguides.com/OER/proscons

ประโยชน์หลักของ OER (Open educational resource, คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด)

1. ช่วยผู้เรียนประหยัดค่าใช้จ่าย
ราคาของตำราเรียนสูงขึ้นมากเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้นักเรียนไม่สามารถจ่ายเพื่อใช้ตำราเรียนในการศึกษาได้ OER สามารถแก้ปัญหานี้เนื่องจากเป็นแหล่งของทรัพยากรการศึกษาที่สามารถใช้ได้ฟรีผ่านออนไลน์ สามารถสั่งพิมพ์ได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และสามารถถูกเก็บรักษาตลอดไป

2. ช่วยผู้เรียนได้เรียนรู้มากกว่า ถ้าผู้เรียนเข้าถึงทรัพยากรการศึกษาที่มีคุณภาพ
ราคาตำราเรียนที่สูงขึ้นมากอย่างรวดเร็วในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยทำให้นักเรียนหลายคนไม่ใช้ตำราเรียนในการศึกษา มีหลายการศึกษาแสดงว่า 93% ของนักเรียนใช้ OER ทำได้ดีกว่านักเรียนที่ใช้ทรัพยากรการศึกษาแบบดั้งเดิม เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่ายเนื้อหาตั้งแต่เริ่มวันแรกของหลักสูตร

3. ช่วยให้เทคโนโลยีไร้ขอบเขตทำให้การสอนและการเรียนดีขึ้น
ลองนึกถึงภาพการสอนที่มีผู้เข้าร่วม 100,000 คนจากทั่วโลก เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเทคโนโลยีในการศึกษาเปิดโดยสิ้นเชิง

4. ช่วยให้การศึกษาดีขึ้นส่งผลให้อนาคตดีขึ้นด้วย
การศึกษาแบบเปิดมีประโยชน์สำหรับเราทุกคนโดยเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาและการสร้างระบบสำหรับการสอนและการเรียนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา: SPARC Europe. Key OER benefits. Retrieved September 24, 2020, from https://sparceurope.org/what-we-do/open-education/open-educational-resource-benefits/

6 การประชุมเกี่ยวกับยาของสหรัฐอเมริกาที่น่าเข้าร่วมมากที่สุดในปี 2020

1. Pharmaceutical Compliance Congress (จัดระหว่าง 29 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2020 ที่ Washington DC)
PCC2020 ได้รับการคาดว่าจะเป็นการประชุมเกี่ยวกับยาสำหรับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎระเบียบและกฎหมายที่ใหญ่ที่สุด เนื้อหาในการประชุมแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ Enforcement and Oversight, Leadership and Innovation และ Best Practices and Frameworks ผู้บรรยายในการประชุมเป็นผู้บริหารมาจากรัฐบาล, หน่วยงานกำกับดูแล และบางหน่วยงานเกี่ยวกับยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอยู่ระหว่าง 2,799 ถึง 3,199 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นอยู่กับมาจากบริษัทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, บริษัทกฎหมาย หรือเป็นที่ปรึกษา มีส่วนลดให้กับการลงทะเบียนเข้าร่วมล่วงหน้า

2. Interphex (จัดระหว่าง 28 ถึง 30 เมษายน 2020 ที่ New York, NY)
เป็นเวลามากกว่า 41 ปี ที่การประชุมนี้เป็นที่รู้จักและมีผู้เข้าร่วมมากที่สุดในอุตสาหกรรมยา, เทคโนโลยีชีวภาพ และเครื่องมือแพทย์ การประชุมเมื่อปีที่แล้วมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 10,000 คน และมี 625 vendors เป็นไปได้ว่าในการประชุมปี 2020 จะมีตัวเลขมากกว่านี้ เนื้อหาในการประชุมปีนี้ครอบคลุมเรื่อง Development, Compliance and Quality, Inspection and Distribution และ Data and Information Management คนในวงการอุตสาหกรรมเสียค่าลงทะเบียนเข้าร่วมเพียง 20 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าลงทะเบียนล่วงหน้าหลายสัปดาห์

3. International Conference on Medical, Biological and Pharmaceutical Sciences (ICMBPS, วันและสถานที่จัดการประชุม ICMBPS2020 จะประกาศต้นปี 2020)
ICMBPS ครั้งที่ 634 จัดขึ้นระหว่าง 27 ถึง 28 มิถุนายน 2019 ที่ Osaka ประเทศญี่ปุ่น การประชุม ICMBPS จัดโดย the International Academy of Science, Technology, Engineering, and Management (IASTEM) ด้วยจุดประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานวิจัยระหว่างสถานศึกษาและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ให้โอกาสกับนักวิจัย, ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนได้เผยแพร่ผลงานที่ได้รับการยอมรับจากการประชุม รายงานการประชุมได้รับการเผยแพร่โดย the World Research Library และนำเข้า Google Scholar เพื่อจัดทำดัชนี

4. Bio/pharmaceutical Product Launch Summit (การประชุมเป็นไปได้ว่าจะจัดในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2020 ที่ Eastern US)
การประชุมเมื่อปีที่แล้วนำเสนอประเด็นสำคัญและการอภิปรายระหว่างคนในวงการอุตสาหกรรม ผู้เข้าร่วมการประชุมยังได้มีส่วนร่วมในภาคปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมายของการประชุมคือคนที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์, การปล่อยผลิตภัณฑ์, การตลาด, การกระจาย และสาขาอื่นๆ ที่คล้ายกัน ปีที่แล้วค่าลงทะเบียนเข้าร่วมเป็น 1,699 ถึง 2,099 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรม มีส่วนลดสำหรับการลงทะเบียนล่วงหน้า

5. Pharma Forum 2020 (จัดระหว่าง 8 ถึง 11 มีนาคม 2020 ที่ New York, NY)
เจ้าภาพจัดการประชุมพูดว่าเป็นการประชุมวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ใหญ่และยอดเยี่ยมที่สุดในโลก จัดขึ้นทุกปีสำหรับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับยา, เทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ มีการประชุมเกี่ยวกับ compliance, customer experience และ events management ผู้บรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจเป็นผู้บริหารจาก the American Medical Association (AMA), Massachusetts General Hospital, Celgene และ Merck ได้รับการคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมระหว่าง 2,000 และ 5,000 คน และ 20 ถึง 50 ผู้จัดนิทรรศการ

6. PharmScience Research & Development (จัดระหว่าง 24 ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ Los Angeles, CA)
การประชุมจัดให้มีการอภิปรายที่เข้มข้นและงานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของยา (pharmaceutical sciences) ในหัวข้อ  Drug discovery and development, Safety, Nanotechnology และ Regulatory affairs ผู้บรรยายในการประชุมมาจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและสถานศึกษา ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมในส่วนของภาคธุรกิจอยู่ระหว่าง 999 ถึง 1,249 ดอลลาร์สหรัฐ มีส่วนลดอย่างมากสำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมที่เป็นนักเรียนและมาจากสถานศึกษา

ที่มา: Robert Fenton (February 20, 2020). The 6 Best US Pharmaceutical Conferences to Attend in 2020. Retrieved September 22, 2020, from https://www.qualio.com/blog/us-pharmaceutical-conferences-2020