4 ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์เปลี่ยนวิทยาศาสตร์ชีวภาพในปี 2020

ในปีนี้ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อแก้ปัญหาโรคโควิด 19 ตัวอย่างเช่น Johnson & Johnson และ Abbott Laboratories กำลังพัฒนา PPE (Personal protective equipment, อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล) เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพทั่วโลก

ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์อันดับต้นๆ มีแผนการจะทำอะไรบ้างในปีนี้

1. Johnson & Johnson
เป็น player หลักในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพเป็นเวลามากกว่า 130 ปี โดยมีพนักงานมากกว่า 130,000 คน และร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้นด้วยการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ
ด้วยกลัวว่าโรคโควิด 19 จะมีผลต่อการใช้ชีวิตของชาวอเมริกัน บริษัทจึงพัฒนาวัคซีนเพื่อต่อสู้และขจัดไวรัส เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทได้ร่วมมือกับกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐว่าจะผลิตและกระจาย 1 พันล้านวัคซีนทั่วโลก   

2. Abbott Laboratories
ทำธุรกิจเป็นเวลามากกว่า 130 ปี มีพนักงานมากกว่า 107,000 คน ใน 160 ประเทศ เป็นผู้นำตลาดเกี่ยวกับการตรวจติดตามกลูโคส, การตรวจเลือดและพลาสมา, อาหารเด็กและผู้ใหญ่, เครื่องปั้มสูบฉีดเลือด, การติดตามภาวะหัวใจล้มเหลวระยะไกล, การทดสอบ point of care และเครื่องมือการปวดเรื้อรัง บริษัทได้พัฒนาการทดสอบใหม่สำหรับโควิด 19 ที่ใช้เวลาเพียง 5 นาที

3. Novartis AG
ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ Novartis Pharmaceuticals และ Novartis Oncology ซึ่งทั้งสองบริษัทพัฒนายาเพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยและทำให้คุณภาพการดูแลดีขึ้น
มีทีมทำการทดสอบทางคลินิกเพื่อให้ได้การรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด 19 ขณะนี้กำลังทดสอบยา Jakavi (ruxolitinib) เพื่อช่วยผู้ป่วยด้วย cytokine storm (ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อไวรัสอย่างรุนแรงและทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคโควิด 19)

4. Medtronic
มีบริษัทมากกว่า 350 แห่งตั้งอยู่ในมากกว่า 150 ประเทศ โดยปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 86,000 คน บริษัทมุ่งไปที่การให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูงและมีค่าใช้จ่ายน้อย กำลังให้ความสนใจมากในการผลิตเครื่องช่วยหายใจ (ventilators), เครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (pulse oximeters) และผลิตภัณฑ์ ECMO นอกจากนี้บริษัทยังปรับการบริการจัดการการดูแล (Medtronic Care Management Services) เพื่อการติดตามและการดูแลผู้ป่วยในระยะไกล

ที่มา: Robert Fenton (September 8, 2020). 4 Medical Device Manufacturers Revolutionizing Life Sciences in 2020. Retrieved September 18, 2020, from https://www.qualio.com/blog/medical-device-manufacturers

แนวโน้มตลาดทั่วโลกของ in vitro diagnostics (IVD, การวินิจฉัยในหลอดทดลอง) ทำนายตั้งแต่ปี 2019 ถึง 2026

ขนาดตลาดทั่วโลกของ IVD มีมูลค่า 61.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 และคาดว่าจะมีมูลค่า 87.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2026 โดยมีค่า CAGR เท่ากับ 4.5% ระหว่างช่วงปีการทำนาย

IVD คือเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการทดสอบกับสิ่งส่งตรวจที่อาจเป็นปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อ เพื่อช่วยบ่งชี้การติดเชื้อ ติดตามการรักษาด้วยยา และวินิจฉัยภาวะเกี่ยวกับการแพทย์ต่างๆ

การนำเทคนิคใหม่มาใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วได้รับการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มความต้องการการบริการ IVD ส่งผลให้เกิดการขยายของธุรกิจในช่วงปีการทำนาย

ตลาด IVD ขยาย เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพ, เครื่องมือวินิจฉัยได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพ และมีการทดสอบเพิ่มขึ้น ตัวขับเคลื่อนตลาดคือ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของระบบวินิจฉัยที่รวดเร็ว, ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเฉพาะบุคคล

การให้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ในส่วนสุขภาพที่เพิ่มขึ้น เป็นหนึ่งปัจจัยที่อาจเพิ่มตลาดทั่วโลกระหว่างช่วงปีการทำนาย

การเกิดมากขึ้นของโรคติดเชื้อทำให้มีความต้องการการวินิจฉัยโรคเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่คาดว่าจะขับเคลื่อนการขยายตลาด การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความต้องการของเครื่องมือ IVD ทำให้เกิดการขับเคลื่อนการขยายตลาด

การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น, การใช้ชีวิตแบบอยู่นิ่งๆ (sedentary lifestyle) และการชอบอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหลักที่เพิ่มการเกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความต้องการของการทดสอบในหลอดทดลอง

การเพิ่มขึ้นของการนำมาใช้และความต้องการเครื่องมือ point of care (POC, ณ จุดดูแลผู้ป่วย) คาดว่าทำให้เกิดการขยายตลาด นอกจากนี้การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น biochips และเทคโนโลยีชีวภาพนาโน เป็นไปได้ว่าจะเพิ่มความต้องการเครื่องมือ POC ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยการเข้าถึงการทดสอบวินิจฉัย POC ง่ายขึ้นและทำให้เกิดผลการทดสอบที่ถูกต้องและรวดเร็ว ดังนั้นกระตุ้นความต้องการเครื่องมือวินิจฉัยในหลอดทดลอง ผลคือปัจจัยที่กล่าวมาได้รับการคาดการณ์ว่าจะทำให้เกิดการขยายตลาดระหว่างช่วงปีการทำนาย

การลงทุนเพิ่มขึ้นโดย player หลักของตลาด ในการพัฒนาเครื่องมือทดสอบที่รวดเร็วและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นไปได้ว่าจะทำให้เกิดการขยายตลาด

 

REPORT SCOPE & SEGMENTATION

ภาพด้านบนแสดงตลาด IVD สามารถแบ่งตามชนิดผลิตภัณฑ์ (by product type), เทคนิค (by technique), การประยุกต์ใช้ (by application), ผู้ใช้ (by end user) และภูมิภาค (by geography) โดยถ้าแบ่งตามชนิดผลิตภัณฑ์จะได้เป็นดังตารางด้านบนคือ instruments (เครื่องมือ) และ reagents and consumables (น้ำยาและวัสดุสิ้นเปลือง)

By product type analysis

ส่วน reagents and consumables เหนือกว่าในชนิดผลิตภัณฑ์เนื่องจากถูกใช้มากใน IVD การเพิ่มขึ้นของงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการวินิจฉัยโรคเรื้อรังเป็นปัจจัยหลักหนึ่งซึ่งกระตุ้นความต้องการ  reagents and consumables นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของความต้องการและการนำมาใช้ของการทดสอบด้วยตนเองและเครื่องมือ POC จะเพิ่มความต้องการของ reagents and consumables ด้วย การเพิ่มขึ้นของจำนวนการทดสอบ IVD เป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการขยายของส่วน reagents and consumables

ส่วน instruments คาดว่าจะขยายช้ากว่า เครื่องมือด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและการเกิดขึ้นของเครื่องมือทดสอบที่รวดเร็วเป็นบางปัจจัยขับเคลื่อนการขยายของส่วน instruments

By application analysis

Infectious diseases เหนือกว่าในการประยุกต์ใช้และคาดว่าจะขยายมากในช่วงปีการทำนาย การเกิดมากขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทั่วโลก เป็นไปได้ว่าจะเพิ่มความต้องการเครื่องมือ IVD ปัจจัยดังที่กล่าวมานี้คาดว่าจะทำให้เกิดการขยายของส่วน cardiology ผลคือจะเพิ่มตลาด IVD

ส่วน oncology มีส่วนแบ่งตลาดที่สำคัญและมีค่า CAGR ที่สำคัญระหว่างช่วงปีการทำนาย การลงทุนเพิ่มขึ้นโดยสถาบันวิจัยและ player หลักของตลาดในการพัฒนาเครื่องมือการทดสอบในหลอดทดลองที่ง่ายและรวดเร็วใน oncology เป็นปัจจัยหลักหนึ่งที่ขับเคลื่อนการขยายของส่วน oncology

By technique analysis

หลายเทคนิคใช้ใน IVD คือ immunodiagnostics, clinical chemistry, molecular diagnostics, POC, hematology และอื่นๆ ส่วน immunodiagnostics มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด การเกิดมากขึ้นของโรคเรื้อรังและโรคติดเชื้อ และความต้องการที่มากขึ้นของการวินิจฉัยแต่แรกเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการขยายของส่วน immunodiagnostics ส่วน molecular diagnostics ได้รับการคาดว่าจะขยายด้วยค่า CAGR ที่สำคัญในช่วงปีการทำนาย ส่วน clinical chemistry มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดเป็นอันดับ 2  ส่วน POC ได้รับการคาดว่าจะขยายด้วยค่า CAGR ที่สำคัญในช่วงปีการทำนาย เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นของการวินิจฉัยการทดสอบ POC ความต้องการการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วทั่วโลกเป็นปัจจัยหลักหนึ่งที่เป็นไปได้ว่าเร่งการขยายของส่วน POC

By end user analysis

ภาพด้านบนแสดงทั่วโลก clinical laboratories มีส่วนแบ่งตลาด IVD สูงที่สุดที่ 54.2% ในปี 2018

ถัดจาก clinical laboratories  hospitals ได้รับการคาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ความต้องการที่สูงของการทดสอบ IVD ที่เนื่องจากการเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนการใช้การทดสอบ IVD ในส่วน hospitals

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ biosensors, pregnancy kits และ glucose meters เพื่อผลที่ถูกต้องและรวดเร็วเป็นบางปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการขยายของส่วน physicians offices ด้วยอัตราเร็วกว่า

การเกิดมากขึ้นของโรคหัวใจและโรคเบาหวาน และการเกิดมากขึ้นของโรคติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนาเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนความต้องการการทดสอบ POC  การใช้ที่เพิ่มขึ้นของเครื่องมือ POC ภายใน hospitals และ physicians offices โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทและห่างไกล เป็นตัวกระตุ้นความต้องการการทดสอบ POC และดังนั้นทำให้เกิดการขยายของส่วน hospitals และ physicians offices

By geography analysis

อเมริกาเหนือสร้างรายได้เท่ากับ 23.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และได้รับการคาดว่าเด่นในตลาด IVD ทั่วโลกระหว่างช่วงปีการทำนาย ระเบียบรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับ, โครงสร้างพื้นฐานการวินิจฉัยที่มั่นคง, การนำเทคนิคการวินิจฉัยที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ และการมี players หลักที่โดดเด่นในตลาด เป็นบางปัจจัยที่สำคัญที่คาดว่าจะขับเคลื่อนตลาดในอเมริกาเหนือ

เอเชียแปซิฟิกได้รับการคาดว่าจะขยายด้วยค่า CAGR ที่สำคัญในระหว่างช่วงปีการทำนาย การเกิดเพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคติดเชื้อ และการพัฒนาเร็วของโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพของประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย และจีน ได้รับการคาดว่าจะเพิ่มความต้องการเครื่องมือ IVD ปัจจัยที่กล่าวมาได้รับการคาดว่าจะขับเคลื่อนการขยายตลาดในเอเชียแปซิฟิกที่เร็วกว่า

ส่วนยุโรปมีการขยายที่สำคัญในตลาดทั่วโลก ประเทศที่มีรายได้สูงได้แก่ เยอรมัน สหราชอาณาจักร และสเปน ได้รับการคาดว่าจะทำให้เกิดการขยายตลาดในยุโรป ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและการนำเครื่องมือการทดสอบ POC มาใช้เพิ่มขึ้นเป็นบางปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการขยายตลาดในยุโรป

ตะวันออกกลางและแอฟริกาได้รับการคาดว่าจะมีการขยายตลาดสูง เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยี, โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับโรงพยาบาลขยายอย่างรวดเร็ว และการเข้ามาของ players ทั่วโลก นอกจากนี้ลาตินอเมริกายังได้รับการคาดว่าจะขยายด้วยค่า CAGR ที่สำคัญในช่วงปีการทำนาย

Siemens Healthcare, Abbott Laboratories, F. HoffmannLa Roche Ltd และ Thermo Fischer Scientific Inc. มีส่วนแบ่งตลาดเด่นโดยมีเครื่องมือสำหรับการบ่งชี้และการวิเคราะห์โรคหลากหลาย

ที่มา: Fortune Business Insights. In Vitro Diagnostics Market Size, Share & Industry Analysis, By Product Type (Instruments, Reagents & Consumables), By Technique (Immunodiagnostics, Clinical Chemistry, Molecular Diagnostics, Point of Care, Hematology and Others), By Application (Infectious Diseases, Cardiology, Oncology, Gastroenterology, Others), By End User (Clinical Laboratories, Hospitals, Physicians Offices, Others) and Regional Forecast, 20192026. Retrieved August 14, 2020, from https://www.fortunebusinessinsights.com/industryreports/invitrodiagnosticsivdmarket101443

 

การแปลงภาพเป็นข้อความ (OCR) ด้วยโปรแกรม Line

ในหลายครั้งที่เราเจอข้อความดีๆ หรือมีประโยชน์ จากในอินเทอร์เน็ต เช่นใน Infographic อยากจะ copy นำมาใช้แต่ทำไม่ได้ เพราะเป็นข้อความในภาพหรือ PDF ที่ไม่สามารถ copy text ได้ วันนี้เรามีวิธีดีๆ มาบอก ในการดึงข้อความออกมาแถมยังแปลงภาษาไทยได้เก่งอีกด้วย เรียกว่าการ Optical character recognition (OCR)

โปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่มีความสามารถดังกล่าวนั่นคือ Line ที่เราใช้แชทคุยกับสังคมของเรานั่นเอง ทำได้ทั้งโปรแกรม Line บน PC และ Line ที่เป็นแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน


เรามาเริ่มจาก Line บน PC กันฃสมมติว่า นี่เป็นภาพที่เราต้องการจะดึงข้อความออกมา


เปิดโปรแกรม Line หน้าต่างลิสรายชื่อเพื่อน จะมีไอคอน Capture Screen อยู่ทางด้านซ้ายมือ


โปรแกรมจะให้เราตีกรอบรูปในส่วนที่ต้องการแปลงเป็นข้อความออกมา


แล้วจะมี Tools ขึ้นมาให้ใช้งานหลายอย่าง ให้คลิกไอคอน Scan text


โปรแกรมจะทำการ OCR อ่านภาพแล้วแปลให้เป็นข้อความ ดังจะเห็นได้ว่าจะมีไฮไลท์สีเขียวขึ้นมาที่ข้อความในภาพ และแปลออกมาเป็นตัวอักษรทางขวามือ เมื่อพิจารณาดูจะพบว่าข้อความค่อนข้างถูกต้องพร้อมใช้งานได้แล้ว และยังมี tools อื่นให้ใช้งานอีกด้วย


จะเห็นปุ่ม Translate สีเขียว เมื่อคลิกแล้ว โปรแกรมจะแปลงเป็นภาษาอังกฤษให้ด้วย
ในทางกลับกัน หาก OCR ภาษาอังกฤษมา แล้วกด translate โปรแกรมจะช่วยแปลเป็นไทยให้ได้


ในส่วนด้านซ้ายมีฟังก์ชัน Instant translation โปรแกรมจะแปลงส่วนไฟล์รูปที่จากเดิมที่เป็นภาษาไทย แปลงมาเป็นอักษรภาษาอังกฤษ โดยที่มีการตกแต่งรูปแบบและการวางตัวอักษรในแบบเดิมเพื่อจะสามารถ share ให้ผู้อื่นใน social media ได้ทันที สะดวกอย่างมาก

ยังมี Tools ที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ใช้อีก เช่น   คือปุ่ม copy และ share ข้อความให้ใช้ได้ทันที

โปรแกรมที่เราใช้คุยกับเพื่อนของเราทุกวันในยุคสมัยนี้ แอบซ่อนอะไรที่เก่งๆ เอาไว้ให้ใช้ โดยที่เราไม่ได้ต้องไปหาโปรแกรมอื่นมาใช้ให้ยุ่งยากเลย และนอกจากนี้แอพพลิเคชั่น Line ในสมาร์ทโฟนยังสามารถทำแบบนี้ได้เหมือนกัน หากเรานำเทคนิคนี้มาใช้ในการทำงานก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของเราได้มากขึ้นทีเดียว

แนวโน้มตลาดทั่วโลกของยาชีววัตถุทำนายตั้งแต่ปี 2020 ถึง 2025

ตลาดยาชีววัตถุ สามารถแบ่งตามชนิดของผลิตภัณฑ์เป็น monoclonal antibodies, recombinant growth factors, purified proteins, recombinant proteins, recombinant hormones, vaccines, recombinant enzymes, cell และ gene therapies, synthetic immunomodulators และผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ และยังสามารถแบ่งตามการใช้ในการรักษา (therapeutic application) และภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

ตลาดยาชีววัตถุทั่วโลกมีค่า CAGR เท่ากับ 7.32% (ปี 2020 ถึง 2025) ตัวขับเคลื่อนตลาดอย่างมากคือ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง และการเพิ่มขึ้นของการรักษาที่มีเป้าหมาย นอกจากนี้ความต้องการอย่างมากของยาชีววัตถุเกิดจากมีความสนใจมากในการศึกษาวิจัยและการลงทุน

ความสามารถของผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุในการแก้ปัญหาสภาพที่ไม่สามารถรักษาได้ทำให้เกิดยาใหม่ในตลาด ซึ่งประมาณ 70% ของยาเหล่านี้เป็นวิธีใหม่ในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ดังนั้นจะเห็นยาชีววัตถุลดจำนวนการเสียชีวิตเนื่องจากมะเร็งและเอดส์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการนำยาชีววัตถุไปใช้ในตลาดทั่วโลก

นอกจากนี้ความต้องการของตลาดยาชีววัตถุกำลังเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงทั้งผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วยโมเลกุลขนาดเล็กบางตัวและการผ่าตัด อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่สูงและการพัฒนายากของยาชีววัตถุเป็นปัจจัยที่จำกัดการเติบโต

จากผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุในตลาดทั้งหมด monoclonal antibodies ได้รับการคาดว่ามีขนาดตลาดใหญ่ที่สุดในช่วงปี 2020 ถึง 2025 ในขณะที่ recombinant enzymes คาดว่ามีการเติบโตของตลาดเร็ว

ปัจจุบันอเมริกาเหนือเป็นภูมิภาคนำในตลาดยาชีววัตถุและได้รับการคาดว่าจะยังคงรักษาตำแหน่งเดิมในอีกสองสามปีข้างหน้า สหรัฐอเมริกาแสดงการเติบโตอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นประเทศที่รู้จักดีว่าเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเกี่ยวข้องกับการลงทุนทั่วโลกในช่วงเริ่มต้นบริษัทยาชีววัตถุ

สหรัฐอเมริกาครองตลาดส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง นอกจากนี้มีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพต่อคนภายในประเทศซึ่งได้รับการคาดว่าจะเพิ่มในช่วงปี 2020 ถึง 2025 เนื่องจากการลดลงของอัตราการว่างงาน

 

ตลาดยาชีววัตถุแข่งขันกันสูงและประกอบด้วยหลาย players หลัก ในเรื่องของการแบ่งส่วนการตลาด มีสองสาม players หลักเด่นในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ บริษัทขนาดกลางและเล็กกำลังเพิ่มตลาดโดยนำเข้าผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีราคาถูกกว่า บริษัทได้แก่ Amgen Inc., Eli Lily & Company, Johnson & Johnson และ Pfizer Inc. ถือครองส่วนแบ่งตลาดยาชีววัตถุที่สำคัญ

ที่มา: Mordor Intelligence. Biopharmaceuticals Market Growth, Trends, and Forecast (2020 2025). Retrieved August 10, 2020, from https://www.mordorintelligence.com/industryreports/globalbiopharmaceuticalsmarketindustry

แนวโน้มตลาดทั่วโลกของเครื่องมือแพทย์ทำนายตั้งแต่ปี 2019 ถึง 2025

ภาพด้านบนแสดงขนาดตลาดทั่วโลกของเครื่องมือแพทย์เพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2025 โดยปี 2018 มีมูลค่า 425.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าเพิ่มขึ้นเป็น 612.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 มีค่า CAGR เท่ากับ 5.4% (ปี 2018 ถึง 2025)

เครื่องมือแพทย์มีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยโดยช่วยในการวินิจฉัยและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ตัวขับเคลื่อนให้ตลาดเครื่องมือแพทย์ขยายในช่วงปีการทำนายได้แก่ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ, การเกิดมากขึ้นของภาวะเรื้อรัง, การเพิ่มขึ้นของขั้นตอนการผ่าตัดและการผ่าตัดที่ซับซ้อน นอกจากนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการรักษาด้วยวิธีใหม่เพื่อแก้ปัญหาความต้องการที่แท้จริงในด้านสุขภาพเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้ตลาดเครื่องมือแพทย์ขยายในช่วงปีการทำนาย

 

ภาพด้านบนแสดงตลาดเครื่องมือแพทย์สามารถแบ่งตามชนิด (by type), ผู้ใช้ (by end user) และภูมิภาค (by geography) โดยถ้าแบ่งตามชนิดจะได้เป็นดังในตารางด้านบนตัวอย่างเช่น IVD (in vitro diagnostic), MIS (minimally invasive surgical devices), orthopedic devices, cardiovascular devices

ภาพด้านบนแสดงทั่วโลก IVD มีส่วนแบ่งตลาดเครื่องมือแพทย์สูงที่สุดที่ 12.9% ในปี 2018

IVD ใช้เพื่อบ่งชี้โรคหรือภาวะอื่นๆ และสามารถใช้เพื่อติดตามสุขภาพเพื่อช่วยในการรักษาหรือป้องกันโรค การทดสอบที่มีประสิทธิภาพและความถูกต้องของโรคเช่น เบาหวาน, มาลาเรีย, เอดส์ และมะเร็ง เป็นบางปัจจัยที่ขับเคลื่อนการขยายของ IVD ในตลาด

เมื่อพิจารณาตามผู้ใช้ hospitals & ambulatory surgical centers เป็นส่วนที่เด่นในตลาดเครื่องมือแพทย์ทั่วโลกในปี 2018 โครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพที่กำลังพัฒนา, การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ, การเน้นมากขึ้นของผลการรักษาที่ดีขึ้น และนโยบายการจ่ายค่าเสียหาย ได้รับการคาดว่าจะขับเคลื่อนส่วน hospitals & ambulatory surgical centers ให้ขยายในตลาดในช่วงปีการทำนาย

อเมริกาเหนือมีมูลค่าตลาดเครื่องมือแพทย์ที่ 169.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และได้รับการคาดว่าจะยังคงมีส่วนแบ่งที่สำคัญของตลาดเครื่องมือแพทย์ทั่วโลกระหว่างช่วงปีการทำนาย การขยายของตลาดเครื่องมือแพทย์ในภูมิภาคนี้เป็นไปได้ว่าถูกขับเคลื่อนโดยโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพที่ได้รับการพัฒนาอย่างดีและการนำเอาเทคโนโลยีด้านการแพทย์ใหม่มาใช้อย่างเร็ว ในขณะที่เอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดเกิดใหม่ที่แสดงการขยายในตลาดสูงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัว, การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ, การเพิ่มขึ้นของความตระหนักเรื่องโรค และการมีโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

จากการที่ player หลัก เช่น Medtronic มีนโยบายขยายธุรกิจไปยังประเทศเกิดใหม่เช่น จีน, อินเดีย และประเทศอื่นๆ จะเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดเครื่องมือแพทย์ของเอเชียแปซิฟิกในช่วงปีการทำนาย ในขณะที่ตลาดเครื่องมือแพทย์ในยุโรปได้รับการคาดว่าจะขยายที่ค่า CAGR ที่ต่ำกว่าระหว่างช่วงปีการทำนาย (ปี 2019 ถึง 2025) เนื่องจากมีตลาดที่สมบูรณ์และจำนวนผู้ป่วยที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเอเชียแปซิฟิก ตลาดในตะวันออกกลางและแอฟริกา และลาตินอเมริกามีส่วนแบ่งตลาดน้อยในปี 2018

Medtronic เป็น player ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องมือแพทย์ทั่วโลกสูงสุดในปี 2018 โดยบริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีความสนใจในการศึกษาวิจัยอย่างมาก และยังมีเครือข่ายของผู้แทนจำหน่ายและบริษัทสาขาในเอเชียแปซิฟิก, ลาตินอเมริกา และแอฟริกา

ที่มา: Fortune Business Insights. Medical Devices Market Size, Share and Industry Analysis By Type (Orthopedic Devices, Cardiovascular Devices, Diagnostic Imaging, IVD, MIS, Wound Management, Diabetes Care, Ophthalmic Devices, Dental & Nephrology), End User (Hospitals & Ambulatory Surgical Centers and Clinics) and Regional Forecast, 2019 2025. Retrieved August 14, 2020, from https://www.fortunebusinessinsights.com/industryreports/medicaldevicesmarket100085

 

พรรณไม้ป่าฮาลา-บาลา

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้สนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือพรรณไม้ป่าฮาลา-บาลา เพื่อใช้เป็นเอกสารทางวิชาการและเป็นพื้นฐานข้อมูลประกอบงานวิจัย และเพื่อเผยแพร่ในกิจการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เหมาะสำหรับนักวิจัย นักธรรมชาติวิทยา เยาวชน และผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาพรรณพืชในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนสืบไป

หนังสือ “พรรณไม้ในป่าฮาลา-บาลา” เล่มนี้ เป็นผลการศึกษาสำรวจทางด้านพฤกษศาสตร์และการรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก ตามโครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่าภาคใต้ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสาระสำคัญได้บรรยายถึงลักษณะของพรรณไม้แต่ละวงศ์พืชที่พบจำนวน 126 วงศ์ พร้อมแจกแจงภาพประกอบในแต่ละวงศ์ เช่น วงศ์กุหลาบป่า วงศ์โป้ยกั๊ก วงศ์พญาไม้ วงศ์โพธิ์สามหาง วงศ์ขิงข่า และวงศ์กล้วยไม้ เป็นต้น เพื่อความรู้และเข้าใจที่ถูกต้อง

 

รายงานการประชุมนานาชาติ เรื่อง The Ethics of Science & Technology and Sustainable Development

รายงานการประชุมนานาชาติ เรื่อง The Ethics of Science & Technology and Sustainable Development
ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

Open Access Publishing in European Networks (OAPEN)

OAPEN Online Library (OAPEN) แพลตฟอร์มเพื่อเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (OA books) ที่ผ่านการ peer-reviewed แล้ว แพลตฟอร์มนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ OAPEN Foundation ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจาก European Union’s Horizon 2020 research and innovation program และมีพันธมิตรจากหลายองค์กร อาทิ Open Edition Ubiquity Press OCLC Google Scholar SCOSS OASPA และ OA Books Network เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบน OAPEN เจ้าของผลงานสามารถเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบเปิดคือ Creative Commons (cc) ซึ่งผู้ใช้ปลายทาง (ผู้อ่าน) สามารถ อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ หรือทำสำเนาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของผลงานเลือก เงื่อนไขใดของ cc ด้วย ผลงานใดๆ ที่เจ้าของไม่ได้ระบุสัญญาอนุญาต cc ไว้ ให้ถือว่าผลงานนั้นๆ อยู่ภายใต้ OAPEN Deposit Licence คือ สงวนลิขสิทธิ์ ผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้อ่านงานออนไลน์ ดาวน์โหลด พิมพ์ และสำเนา เพื่อการใช้ส่วนตัว ภายใต้กรอบกฏหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศ
การสืบค้นหนังสือหรือบทในหนังสือสามารถทำได้ตั้งแต่หน้าแรก (ดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่างนี้) และสามารถไล่เรียงหนังสือจาก หัวเรื่อง สำนักพิมพ์ ภาษา และคอลเลคชั่น

หนังสือใน OAPEN แม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิด Creative Commons (cc) แต่เจ้าของผลงานอาจเลือกเงื่อนไขภายใต้ cc ไม่เหมือนกัน ซึ่งเจ้าของผลงานจะระบุไว้ชัดเจน หากไม่ได้กำหนดไว้ OAPEN กำหนดให้ใช้ OAPEN Deposit Licence ตัวอย่างเช่น

รูปภาพที่ 1 ตัวอย่าง cc แบบ CC BY 4.0 คืออนุญาตให้อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ ทำสำเนาหรือแก้ไขได้ แต่ควรใส่เครดิตเจ้าของผลงาน


รูปภาพที่ 2 ตัวอย่าง cc แบบ CC BY-NC-SA 3.0 คืออนุญาตให้อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ ทำสำเนาหรือแก้ไขได้ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อการค้า หรือแสวงหารายได้ เครดิตเจ้าของผลงาน และหากมีปรับแก้ ขอให้ใช้สัญญาอนุญาติเงื่อนไขแบบเดียวกัน

รูปภาพที่ 3 ตัวอย่างกรณีเจ้าของผลงานไม่ได้ระบุ หรือเลือกใช้ OAPEN Deposit Licence คือ สงวนลิขสิทธิ์ แต่ยังคงอนุญาตให้อ่าน ดาวน์โหลด พิมพ์ ทำสำเนาได้ แต่เพื่อการใช้ส่วนตัวเท่านั้น

บริการอื่นๆ ของ OAPEN

OAPEN ทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์เพื่อสร้างคอลเลคชั่นหนังสือแบบเปิดที่มีคุณภาพ และให้บริการแก่สำนักพิมพ์ ห้องสมุด และหน่วยงานให้ทุนวิจัยในด้านการเผยแพร่ การประกันคุณภาพ และการสงวนรักษาแบบดิจิทัล

การประกันคุณภาพ

OAPEN รีวิวสำนักพิมพ์เพื่อให้แน่ใจว่าหนังสือทั้งหมดผ่านกระบวนการพิจารณาบทความ (peer review)
OAPEN รีวิวสำนักพิมพ์เพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งพิมพ์ผ่านกระบวนการพิจารณาบทความตามมาตรฐานวิชาการ
OAPEN ตีพิมพ์/เผยแพร่กระบวนการพิจารณาบทความที่เว็บไซต์ของ OAPEN
OAPEN เป็นสมาชิกของ OASPA และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวเพื่อพัฒนาข้อกำหนดและมาตรฐานสำหรับหนังสือวิชาการ

บริการจัดเก็บสิ่งพิมพ์แบบเปิด
OAPEN รองรับนโยบายด้าน OA ของหน่วยงานผู้ให้ทุน เพื่อให้นักวิจัยและสำนักพิมพ์สามารถนำเข้าสิ่งพิมพ์ตามนโยบายของผู้ให้ทุน นอกจากนี้ ยังได้ปรับใช้มาตรฐานเมทาดาทา การจัดหมวดหมู่ และช่องทางการเผยแพร่เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทของสื่อที่จัดเก็บใน OAPEN Library เช่น หนังสือวิชาการ บทความ หรือบทของหนังสือ เป็นต้น

การเผยแพร่
OAPEN ได้จัดเตรียมเมทาดาทาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถเผยแพร่สื่อบน OAPEN ได้อย่างเหมาะสม
OAPEN ให้บริการเมทาดาหลากหลายรูปแบบ เช่น ONIX 3.0 MARC21 MARCXML CSV สำหรับห้องสมุดและผู้ให้บริการอื่นๆ
OAPEN ทำงานร่วมกับ ProQuest (Serial Solutions) ExLibris (Primo Central) และ EBSCO Discovery Service หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ยังสามารถสืบค้นได้ใน WorldCat และผ่าน search engine ชื่อ BASE (Bielefeld Academic Search Engine) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็น aggregator ให้กับ Europeana อีกด้วย
ห้องสมุดและ aggregators สามารถเก็บเกี่ยวเมทาดาทาโดยใช้โปรโตคอล OAI ได้
OAPEN.org ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับ search engines (โดยใช้ site map) และถูกทำดัชนีโดย Google Scholar

การสงวนรักษาแบบดิจิทัล
OAPEN Library เลือกใช้ OSS อย่าง DSpace ในการบริหารจัดการคอลเลคชั่น ซึ่งโฮสโดย Huma-Num และทำงานร่วมกับ Portico เพื่อการสงวนรักษาแบบดิจิทัล

OAPEN เป็นแพลตฟอร์มที่เน้น open content และ open access เน้นสิทธิ์การเข้าถึงและสิทธิ์การใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาต cc ที่มีหลากหลายเงื่อนไข ให้เจ้าของผลงานได้เลือกใช้ เพื่อสร้างคอลเลคชั่นแบบเปิดที่ผ่านการกระบวนการพิจารณาบทความหรือคุณภาพ (peer review) แล้ว นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยสนับสนุนการเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์แบบเปิด เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการค้นคืน (retrievability) และการกระจายความรู้สามารถไปได้กว้างไกลขึ้น

ที่มา

บทความนี้เรียบเรียงและสรุปเนื้อหา และรูปภาพจาก https://www.oapen.org/

 

 

 

 

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนมิถุนายน 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2563

อุปกรณ์ตรวจหาโคโรนาไวรัสด้วยตนเอง
COVID-19 เป็นโรคที่สามารถแพร่เชื้อและระบาดได้ง่าย เนื่องจากไวรัสสามารถถูกส่งผ่านละอองน้ำลาย และใช้เวลาหลายวันกว่าที่ผู้ติดเชื้อจะแสดง
อาการ มาตรการหนึ่งในการรับมือกับวิกฤตการระบาดครั้งนี้ คือ การตรวจหาผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด และแยกพวกเขาออกจากผู้อื่นก่อนที่
พวกเขาจะแพร่เชื้อให้แก่คนอื่นๆ ดังนั้น อุปกรณ์ตรวจหาเชื้อไวรัสจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลายบริษัทและหน่วยงานพยายามคิดค้นพัฒนาขึ้น
กฏ
Emergency use Authorization (EUA)
กฏ EUA เป็นกฏหมายที่ช่วยให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีความคล่องตัวในการรับมือความเสี่ยงต่อสาธารณะที่เกิดจากสารเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์
(Chemical, Biological, Radiological and Nuclear – CBRN) โดยเปิดให้มีการพัฒนาและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ อนุญาตการใช้ยาหรือ
อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติด้วยกระบวนการตรวจสอบปกติซึ่งใช้เวลายาวนาน เพื่อรับมือการระบาดของ
COVID-19

อุปกรณ์ตรวจหาไวรัสตามบ้าน
สิ่งสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจหาไวรัสคือ ความแม่นยำในการวิเคราะห์ โดยมีค่าวัด
2 อย่างคือ sensitivity และ specificity โดยอุปกรณ์ที่
ใช้ตามบ้านจะต้องมีความแม่นยำเช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่ใช้ที่โรงพยาบาลหรืออุปกรณ์ที่ใช้โดยผู้ให้บริการทางการแพทย์


อุปกรณ์ตรวจหาโคโรนาไวรัสด้วยตนเอง
การตรวจหาโคโรนาไวรัสมี
2 แบบ คือ การตรวจหาโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนประกอบของเชื้อ (Molecular testing) และ การตรวจสอบทางภูมิคุ้มกัน
ร่างกาย
(Serology test)
1. การตรวจหาโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนประกอบของเชื้อ (Molecular testing) ใช้วิธีเก็บตัวอย่างโดยเก็บจากน้ำลาย ตัวอย่างจากจมูก หรือในคอของ
ผู้้ใช้ เช่น อุปกรณ์
Pixel
2. การตรวจสอบทางภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology test) ใช้ตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะ โดยผู้ใช้จะใช้ก้านเก็บตัวอย่างเลือดโดยเจาะที่ปลายนิ้ว
หรือปัสสาวะ จากนั้นให้ผู้ใช้ถ่ายรูปผลแสดงจากก้านสำลีพันปลายไม้เก็บตัวอย่างและส่งรูปไปให้บริษัทวิเคราะห์ผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่งผลวิเคราะห์
จะถูกส่งกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง

อุปกรณ์ปกป้องอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment-PPE กับวิกฤตอุปกรณ์ขาดตลาดที่นำไปสู่นวัตกรรมการ
ผลิตตามบ้าน

อุปกรณ์ปกป้องอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment – PPE) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นโดยเฉพาะกับผู้ให้บริการทางการแพทย์ซึ่ง
ต้องเผชิญกับผู้ติดเชื้ออยู่ตลอดเวลา

ประเภทของอุปกรณ์ PPE
หน้ากาก เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ปลายประเทศทั่วโลกบังคับให้ประชาชนใช้เมื่อต้องออกจากบ้าน หน้ากากมีหลายประเภทและมีความสามารถในการ
ป้องกันเชื้อไวรัสได้แตกต่างกัน
หน้ากาก
N-95 เป็นหน้ากากที่สามารถป้องกันละอองฝุ่นที่อนุภาคเล็กถึง PM2.5 มากถึง 95% แม้ว่าจะเป็นหน้ากากที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูง
แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้บุคคลทั่วไปใส่หน้ากากชนิดนี้ เพราะทำให้หายใจได้ลำบากก่อให้เกิดอันตรายด้านอื่นหากไม่มีความจำเป็นต้องใช้
หน้ากากอนามัย สามารถป้องกันละอองน้ำลายออกจากหน้ากากมากกว่าการป้องกันไม่ให้ละอองน้ำลายเข้าสู่ปากและจมูก ซึ่งแม้ว่าหน้ากากอนามัย
จะเหมาะสำหรับผู้ที่ติดเชื้อมากกว่า แต่สำหรับผู้ที่แข็งแรงดีก็สามารถใช้ได้เพราะอย่างน้อยก็สามารถป้องกันละอองต่างๆ ได้บ้าง
หน้ากากผ้า จริงๆ แล้วหน้าการผ้าไม่สามารถป้องกันความชื้นได้และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่ติดค้างอยู่ในหน้ากาก อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถ
หาหน้ากากชนิดอื่นได้ การใช้หน้ากากผ้าก็ช่วยป้องกันฝุ่นละอองขนาดใหญ่ได้


นวัตกรรมกับหน้ากาก
แว่นป้องกันตาและ
Face shield หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าไวรัส Covid-19 สามารถติดต่อได้ทางดวงตาหากมีละอองน้ำลายเข้าดวงตา
แว่นป้องกันตาและ
Face shield กลายเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในช่วงวิกฤต แว่นตาป้องกันมีข้อดีคือสามารถปกป้องดวงตาได้อย่างดี แต่ไม่สามารถ
ป้องกันส่วนอื่นๆ ของใบหน้าและหากใส่นานๆ ทำให้เกิดการระคายเคืองของผิว ในขณะที่
face shield สามารถป้องกันส่วนอื่นๆ ของใบหน้าได้และ
สวมใส่สบายกว่า แต่ก็ไม่สามารถป้องกันละอองต่างๆ ได้เต็มที่  เมื่อแว่นป้องกันตาและ
Face shield เป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ยาก นักประดิษฐ์ทั่วโลก
จึงหาวิธีผลิตอุปกรณ์ด้วยเครื่องพิมพ์
3 มิติ ออกมาในรูปแบบต่างๆ ชุดป้องกันเชื้อแม้ว่าจะใช้กันเฉพาะในกลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์ แต่ชุดป้องกัน
เชื้อที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ ชุดป้องกันเชื้อสามารถทำเองโดยใช้แผ่นพลาสติกขนาดใหญ่ตัดเย็บตามแบบแพทเทิร์นชุดป้องกันเชื้อ

Surveillance tech เทคโนโลยีเพื่อการสอดส่องตรวจตรา กับการต่อสู้กับ COVID-19

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้เพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19
– Machine learning และเทคโนโลยีปีญญาประดิษฐ์ เช่น แอพพลิเคชั่น Alipay ในโทรศัพท์มือถือที่มี algorithm ในการระบุระดับความเสี่ยงของ
แต่ละบุคคลโดยใช้รหัสสีและกำหนดพื้นที่ที่บุคคลนั้นสามารถเดินทางต่อไปได้
– เทคโนโลยีติดตามตำแหน่งของบุคคล เทคโนโลยีบนโทรศัพท์มือถือหรือ
social media platform นี้จะติดตามตำแหน่งของผู้ใช้ โดยหากมีการ
เดินทางออกนอกเขตที่ได้รับอนุญาต ระบบจะส่งสัญญาณเตือนผู้ใช้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบเพื่อดำเนินการ
– การใช้โดรนบินลาดตระเวนเพื่อตรวจสอบว่ามีประชาชนเดินทางในช่วงเวลาเคอร์ฟิว หรือมีการจับกลุ่มกันมากกว่าจำนวนที่ทางการกำหนดหรือไม่
– การใช้
Bluetooth เพื่อตรวจสอบหากมีประชาชนอยู่ใกล้กันเกินกว่า 6 ฟุต เช่น TraceTogether ของประเทศสิงคโปร์


การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอดส่องตรวจตรากับประเด็นทางกฏหมาย

รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน บางครั้งจำเป็นต้องจำกัดสิทธิบางประการของประชาชนเพื่อให้การปฏิบัติงานของ
รัฐบาลเกิดผล การสอดส่อง ตรวจตรา และควบคุมพฤติกรรมประชาชน หากทำมากเกินไปก็จะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้อง
แสดงให้เห็นว่ามาตรการต่างๆ มีความจำเป็น ได้รับการรับรองทางกฎหมาย การดำเนินงานต้องมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ และเกิดผลดี
มากกว่าผลเสีย


การใช้ข้อมูลตำแหน่งส่วนบุคคลกับสิทธิส่วนบุคคล

หลายประเทศมีการใช้ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือในการตรวจสอบตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อลดการระบาดของ COVID-19 ประเทศ
ออสเตรเลีย เบลเยียม อิตาลี สหราชอาณาจักร และเยอรมนี รายงานว่ารัฐบาลมีการเก็บข้อมูลตำแหน่งส่วนบุคคลจากบริษัทด้านโทรคมนาคม โดยข้อมูล
ดังกล่าวไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้  แต่บางประเทศมีการใช้ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือโดยที่ไม่มีการป้องกันการระบุตัวตน เช่น รัฐบาลเอกวาดอร์ได้
อนุมัติให้มีการใช้ข้อมูล
GPS ในการบังคับให้ประชาชนกักตัวอยู่ในที่พัก ประเทศอิสราเอลมีการใช้ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือในการติดตามผู้ติดเชื้อไวรัส
และมีการส่งข้อความไปเตือนคนอื่นๆ หากมีการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ แม้ว่าตอนนี้จะมีเหตุผลเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่ในอนาคตข้อมูลเหล่านี้อาจถูกนำ
ไปใช้เพื่อเหตุผลอื่นๆ เช่น รัฐบาลสามารถใช้ข้อมูลนี้ตรวจสอบว่ามีการรวมตัวกันเพื่อประท้วงหรือไม่ หรือนำเอาข้อมูลระบุตำแหน่งใช้ร่วมกับเทคโนโลยี
face recognition เพื่อติดตามผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล


Survillance tech เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Big Data อำนาจควบคุมที่เกิดจากข้อมูล


AI และ Big Data เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่หลายประเทศนำไปใช้ในการต่อสู้กับ COVID-19 สาธารณรัฐประชาชนจีนมีการใช้เทคโนโลยีที่เกิดจากการ
รวมกันระหว่างเครื่องวัดอุณหภูมิกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าคนในที่สาธารณะ เพื่อตรวจจับการระบาดของไวรัส
Alibaba บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของ
จีน มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลมาวิเคราะห์และระบุสถานะทางสุขภาพของแต่ละบุคคลด้วยระบบสี เช่น สีเขียวหมายถึงปลอดภัย สีเหลืองหมายถึง
อยู่ระหว่างการดูอาการ
7 วัน และสีแดงคือคนที่อยู่ในช่วงการกักตัว 14 วัน เทคโนโลยี AI และ Big Data ก่อให้เกิดอำนาจที่ยากแก่การต้านทานแก่
รัฐบาล หน่วยงาน หรือบริษัทผู้ครอบครองข้อมูล ส่งผลให้ประชาชนสูญเสียสิทธิส่วนบุคคล เพราะเราไม่สามารถรู้เกี่ยวกับการนำเอาข้อมูลไปใช้หรือ
ควบคุมผู้ที่มีข้อมูลในมือได้ ซึ่งรัฐบาลควรที่จะให้ความสำคัญในการเก็บ การใช้ประโยชน์ และการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันสิทธิของ
ประชาชนทิ้งระหว่างและหลังเหตุการณ์ระบาดของไวรัส


บทบาทของบริษัทเอกชน

แม้ว่าบริษัทเอกชนจะมีเทคโนโลยีและบริการล้ำสมัยสามารถนำไปใช้ในการรับมือวิกฤตโรคระบาดได้ แต่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตัวอย่างเช่น บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งของอิสราเอล ชื่อ
NSO Group มีประวัติเคยขายข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าให้แก่รัฐบาลที่ฉ้อฉล ขณะนี้ได้โฆษณาขาย
เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของประชากร หากรัฐบาลเลือกใช้สินค้าและบริการของบริษัทนี้ เป็นที่กังวัลว่าบริษัทนี้จะใช้
ข้อมูลของประชาชนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจอย่างที่เคยทำอีกหรือไม่ สิ่งที่ควรพิจารณาในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้มีสองประการคือ
1. ต้องพยายามมงข้อจำกัดเช่นกัน เช่น หากเราไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ในมือ เรามีทางเลือกอื่นใดบ้าง และทางเลือกไหนมีประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคล
และสังคมส่วนรวมมากที่สุด
2. การเลือกใช้เทคโนโลยีต้องยึดเป้าหมายสร้างสรรค์ หรือเพื่อประโยชน์สุขเป็นสำคัญ เช่น ด้านการป้องกันโรคระบาด การรักษาความสงบเรียบร้อยของ
สังคม และการอำนวยประโยชน์ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เช่น การจ่ายเงินเยียวยา ลงทะเบียนคนจน/คนเดือดร้อน การให้ข้อมูลและการเก็บข้อมูล
ส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลทุกอย่างถูกโยงกันไว้ในระบบอภิมหาข้อมูล
(Big data) ที่ทำให้ข้อมูลมนุษย์สามารถเคลื่อนย้ายไปมาในระบบสืบค้นที่
เชื่อมต่อกันมากมายและหลากหลาย ที่มีอุปกรณ์คือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเมื่อตกไปในเงื้อมมือของผู้ไม่หวังดี ทั้งในระดับฮาร์ดแวร์ (แบบเอาไปทั้งเครื่อง)
หรือในระดับซอฟต์แวร์ (แฮกล้วงเอาข้อมูล) อาจทำให้ปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น กรณีมีคนแอบอ้างมาจากสถานกักตัว จะเอาโทรศัพท์มาให้ ซึ่งเพียง
เสียบซิมเข้าไป สักพักเงินก็ไหลไปและไม่ย้อนคืนมาอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้น ในความสะดวกสบาย จึงมีความวุ่นวายอยู่เช่นกัน

บทบาทของหุ่นยนต์ในยุคโควิด-19

แม้ว่าช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักับไวรัสโคโรนา เทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ แทนที่มนุษย์เพราะหุ่นยนต์สามารถทำงานได้แม่นยำกว่า
ทำงานได้ต่อเนื่องไม่เหนื่อย ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้แรงงานมนุษย์ เมื่อมนุษย์ถูกคุกคามด้วยไวรัสร้าย เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
เพราะสามารถทำงานหลายอย่างแทนได้ เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นในห้างสรรพสินค้า หุ่นยนต์คัดแยกขยะ หุ่นยนต์ส่งของ เป็นต้น

บทบาทของหุ่นยนต์ในยุคโควิด – 19
16 ประเทศ ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ เช่น การใช้โดรนและอุปกรณ์ภาคพื้นดินในการตรวจตรา
พฤติกรรมของประชาชน การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะต่างๆ การระบุหาตัว ผู้ติดเชื้อ ฯลฯ
7 ประเทศ มีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการให้บริการทางการแพทย์ เช่น การทำความสะอาดสถานที่ให้บริการทางการแพทย์ การให้บริการทาง
การแพทย์ทางไกล การจ่ายยาและส่งอาหารให้ผู้ป่วย ฯลฯ
7 ประเทศ ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อการทำงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการจัดส่งของ เพื่อการ
ติดต่อสื่อสาร และการค้าขายในระบบดิจิตอล
5 ประเทศ มีการใช้หุ่นยนต์ในป้องทดลองและห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) เช่น การจัดส่งสินค้าในโรงงานและบริษัทผู้จำหน่าย การขนส่ง
อุปกรณ์ติดเชื้อ หุ่นยนต์ในการผลิตอุปกรณ์
PPE ฯลฯ
3 ประเทศ ใช้หุ่นยนต์ในการให้การดูแลผู้ป่วยนอกสถานพยาบาล เช่น การจัดส่งยาให้แก่ผู้ที่อยู่ระหว่างการกักตัวดูอาการ และการตรวจสอบ
หาผู้ติดเชื้อ ฯลฯ ผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจในการนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ในช่วงวิกฤตการระบาดของโคโรนาไวรัส ไว้ดังนี้


หุ่นยนต์ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์แต่มาเป็นผู้ช่วย แม้ว่าหุ่นยนต์จะมีบทบาทมากขึ้นในช่วง
COVID-19 พบว่าหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในการทำ
ภารกิจที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การจัดส่งยา อาหาร และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการช่วย
ให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์สามารถรับมือกับโรคระบาดและจำนวนผู้ป่วยที่สูงมากขึ้นได้
เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ถูกใช้งานในช่วงวิกฤตมักเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วก่อนการระบาด ในช่วงที่มีการระบาดรุนแรงยอดผู้ป่วยสูงมาก
ผู้ให้บริการทางการแพทย์ไม่มีเวลาที่จะมาเรียนรู้และฝึกหัดการใช้เทคโนโลยีใหม่ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้จะเป็นเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่แล้ว
ผู้เคยผ่านการเรียนรู้และใช้งานมาบ้างแล้ว เช่น การประยุกต์ใช้โดรนที่ถูกใช้เพื่อการเกษตรกรรมมาใช้ในการตรวจตระเวนดูพฤติกรรมของผู้คนในที่
สาธารณะ
การกักตุนหุ่นยนต์ไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร เพื่อเตรียมรับมือกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต หลายคนได้มีการกักตุนอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง
เช่นหน้ากาก ถุงมือ ฯลฯ แต่การกักตุนหุ่นยนต์ที่ถูกออกมาเพื่อภารกิจในภาวะฉุกเฉินกลับไม่เป็นประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในมีอายุการใช้งานเสื่อมตามกาลเวลา ตัวอย่าง คือ ระหว่างภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะ
Japanese Atomic Energy Agency
ได้นำหุ่นยนต์ที่เก็บไว้มาใช้แทนที่มนุษย์ แต่ระบบของหุ่นยนต์กลับล้าสมัยและเกิดสนิมทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามที่คาดการณ์ไว้
สำหรับประเทศไทย หุ่นยนต์ที่มีการผลิตออกมาจากหน่วยงานองค์กร ทั้งของภาครัฐและเอกชนมีหลากหลายโดยเฉพาะหุ่นวัดอุณหภูมิร่างกาย อาทิ
โรบอตสวัสดี เฮลตี้บอต โรบอตสยาม สเต็มบอต ฯลฯ บางตัวมาพร้อมกับเสียงเพลง ดังวิบวับ วิบวับ ให้คนไข้ผ่อนคลายลง และนี่ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำ
ให้สาธารณสุขไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

COVID-19 กับเงินดิจิทัล
ที่ผ่านมา มีหลายฝ่ายพยายามพัฒนาและนำเงินในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดไปสู่ระบบ
เงินดิจิทัลไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายภายในและระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะต่างๆ การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค

เทคโนโลยีการสื่อสารที่เชี่อมโยงเราระหว่างโควิด-19

เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานทางไกลและการทำงานจากที่บ้าน
เทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น เครือข่ายส่วนตัวเสมือน
(Virtual Private Network : VPN) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
ระบบ
voice over internet protocols (VoIPs) หรือการสื่อสารด้วยเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบการประชุมทางไกล (virtual meetings)
เช่น การประชุมผ่านระบบ Zoom หรือ WebEx เทคโนโลยี Cloud และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดการทำงานเป็นทีม แม้ว่าในช่วงต้น
หลายคนประสบปัญหาต่างๆ ในการทำงานจากบ้าน แต่เมื่อได้เรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเทคโนโลยีแล้ว พบว่า การทำงานจากบ้าน
มีประโยชน์หลายประการ
– พนักงานสามารถทำงานในสิ่งแวดล้อมและเวลาที่เหมาะสมกับตนเองและรูปแบบการดำเนินชีวิต ทำให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ทำงาน
ได้เร็วขึ้นและผิดพลาดน้อยลง งานวิจัยหนึ่งจาก
Univisity of Illinois พบว่า เมื่อได้โอกาสให้ทำงานอยู่ที่บ้าน พนักงานมีความตั้งใจทำงานมากกว่า
เดิมด้วยตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– นอกจากประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นแล้ว บริษัทยังลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าดูแลอาคารสำนักงาน ค่าจ้างพนักงานบางตำแหน่ง ฯลฯ
– ผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม งานวิจัยพบว่า พนักงานทำงานจากที่บ้านมีความเครียดต่ำกว่าและสามารถรับประทานอาหารที่มีคุณภาพดีกว่า อีกทั้ง
การลดการเดินทางช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นเนื่องจากจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยานพาหนะมีจำนวนน้อยลง

ระบบการเรียนทางไกล
โรงเรียนจำนวนมากเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบทางไกลซึ่งสถานการณ์เช่นนี้อาจยืดเยื้อไปถึงปีหน้า ดังนั้น ระบบการเรียนการสอน
ทางไกลกลายเป็นสิ่งที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จากสถิติพบว่า ทั่วโลกมีนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการ
ปิดโรงเรียนถึง
1.38 พันล้านคน เทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนทางไกลไม่ต่างจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานจากบ้าน 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-jun2020.pdf

 

 

 

แนวปฏิบัติการพิจารณาทบทวนด้านจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. 2563

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำแนวปฏิบัติการพิจรณาทบทวนด้านจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ ของคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สวทช. (Operational Guideline) ฉบับ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นภาพรวมของขั้นตอนทั้งหมด โดยอ้างอิงแนวทางของซีออมส์ ฉบับ พ.ศ. 2559 (CIOMS’ Guidelines 2016) และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ซึ่งผู้วิจัยสามารถยึดเป็นแนวปฏิบัติในการยื่นขอรับการพิจารณาจากคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สวทช. และนำไปปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเมื่อโครงการวิจัยได้รับอนุติให้ทำการศึษาวิจัยแล้ว ผู้วิจัยจะมีการดำเนินการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

ดาวน์โหลดหนังสือ