รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนพฤษภาคม 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน พฤษภาคม 2563

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในลาตินอเมริกา

เมื่อช่วงปลายปี 2562 ต่อปีใหม่ 2563 โลกทั้งโลกจับตามองการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งเริ่มต้นจากนครอู่ฮั่นในจีน ในช่วยที่แผ่นดินจีน
อยู่ในช่วงฤดูหนาวแล้วค่อยๆ แพร่ระบาดผ่านเพื่อนบ้านในเอเชียอย่างไทย (13 มกราคม) ญี่ปุ่น (16 มกราคม) เกาหลี (20 มกราคม) ในขณะที่
นอกทวีปเอเชียอย่างทวีปยุโรป การแพร่ระบาดเริ่มแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ที่มีนักท่องเที่ยว หรือคนเชื้อชาติจีนเดินทางเข้าไป หรือมีคนชาตินั้นๆ
เดินทางกลับจากจีน อาทิ ฝรั่งเศส (17 มกราคม) รัสเซียและสหรัฐอเมริกา (21 มกราคม) จนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โควิด-19 ได้ค่อยๆ
เจาะเข้าไปในทวีปต่างๆ จนเกือบหมดสิ้น และเริ่มมีกระแสของการกลายพันธุ์ ที่ว่ากันว่าการระบาดที่หนักมากขึ้นในตอนเหนือของอิตาลีของ
ไวรัสที่กลายพันธุ์จะมีความรุนแรงกว่าต้นกว่าต้นตระกูลที่เกิดขึ้นในจีน การแพร่กระจายในยุโรปที่มีตัวเลขพุ่งอย่างน่าตกใจจนวันที่อิตาลีใกล้แซง
ยอดผู้ป่วยจีนขึ้นมาเป็นที่หนึ่ง ตัวเลขยอดผู้ป่วยในซีกโลกใหม่ โดยเฉพาะสหรัฐฯ พุ่งแรงแซงไม่มีประเทศไหนจะเทียบได้ในปัจจุบัน

มาตรการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ของรัฐบาลประเทศในลาตินอเมริกา

ประเทศในลาตินอเมริกาได้ดำเนินการใช้มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาด การตรวจหาเชื้อ การรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

1. มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ของประเทศในลาตินอเมริกา
ได้ใช้แนวทางในการป้องกันเช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยการป้องกันภายในสังคมที่ใช้มาตรการกักตัวอยู่กับบ้านและการรักษา
ระยะห่างทางสังคม การบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้านมาตรการห้ามการเดินทาง หลายประเทศในลาตินอเมริกา ได้ทยอยปิดสนามบิน
นานาชาติ ยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะลาตินอเมริกาที่มีเส้นทางการบินเชื่อมต่อกับอเมริกาเหนือและยุโรปใต้ที่เป็นแหล่งระบาดใหญ่
กรณีของเปรู สั่งปิดพรมแดนทุกช่องทาง รวมถึงประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้าน อนุญาตให้ออกนอกบ้านได้เฉพาะที่จำเป็น เช่น ซื้ออาหาร
ธนาคาร ไปได้ครั้งละ 1 คน/ครอบครัว ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และวันอาทิตย์ห้ามออกจากบ้าน กรณีรัฐบาลเม็กซิโก จัดทำโซนใน
ระบบฐานข้อมูลโดยใช้ระบบสีเป็นเครื่องหมายเริ่มใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2563 แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 พื้นที่สีแดง เมื่อมีระดับผู้เข้ารับการรักษาเนื่องจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ร้อยละหรือมากกว่าร้อยละ 65
ระยะที่ 2 พื้นที่สีส้ม เมื่อมีผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลลดต่ำลงน้อยกว่าร้อยละ 65
ระยะที่ 3 พื้นที่สีเหลือง เมื่อมีผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลลดต่ำลงน้อยกว่าร้อยละ 50 จะมีการผ่อนคลายการกักตัวในที่พักอาศัย
ระยะที่ 4 พื้นที่สีเขียว การกลับเข้าสู่ความปกติใหม่ (New normal) เต็มรูปแบบ เมื่อมีจำนวนผู้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน

2. มาตรการการตรวจและรักษา

การทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก
มาตรการตรวจเชื้อ
ชุดตรวจโควิด-19 ของลาตินอเมริกา ได้รับมาตรฐานของบราซิล สามารถตรวจหาเชื้อภายใน 1 นาที
มาตรการการรักษา
กระทรวงสาธารณสุขอาร์เจนตินาแถลงว่าจะมีการรักษาโรคติดเชื้อโควิด -19 โดยใช้พลาสมาจากผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วและบริจาคโลหิตให้แก่
ธนาคารโลหิตทั่วประเทศมาตรการที่เกี่ยวข้องกับโควิด – 19 ของรัฐบาลประเทศในลาตินอเมริกา
มีการศึกษาวิจัยการใช้วัคซีน BCG ซึ่งเป็นวัคซีนรักษาวัณโรค เพื่อต้านเชื้อโควิด – 19 มีการสกัดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และสารโปรตีนออกจาก
เชื้อโควิด – 19เพื่อพัฒนาในการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและเชื้อโควิด – 19 ในขณะเดียวกัน มาตรการต่อผู้ป่วยที่ปลอดเชื้อแล้ว
ชิลีมีแนวทางการดำเนินการสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีเชื้อโดยรัฐบาลชิลีได้ออกบัตร Discharged Card ให้แก่ผู้ติดเชื้อโควิดที่รักษาหายแล้ว
และ/หรือครบกำหนดกักตัว 14 หรือ 21 วันตามกรณี โดยเป็นบัตรยืนยันบุคคลดังกล่าวปลอดโรคแล้วออกให้สำหรับผู้ที่ออกจากโรงพยาบาล
หรือรักษาโรคหายแล้วเท่านั้น เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติได้

3. มาตรการการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ประเทศในลาตินอเมริกาเป็นกล่มประเทศที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจสูง ในส่วนของรัฐบาลเปรู ได้รับผลกระทบหนัก ได้มีกำหนดการ
เปิดเศรษฐกิจใหม่ 4 ระยะแต่ละระยะมีเวลา 1 เดือน ประเทศเอกวาดอร์ เป็นประเทศที่ลำบากจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้มากที่สุด รายได้หลักจากการ
ส่งออกน้ำมันดิบ ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบตกทำให้เอกวาดอร์ไม่มีเงินที่จะแก้ปัญหาโรคระบาดได้โดยลำพัง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ
IMF ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือฉุกเฉินแก่เอกวาดอร์จำนวน 643 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้รับมือกับการระบาดของโรค  การให้ความช่วยเหลือ
คนไทยในลาตินอเมริกา

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาด ของเชื้อโควิด – 19 ในชิลีและประเทศข้างเคียง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง
และให้กำลังใจพี่น้องชาวไทยในชิลีทุกคนให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด – 19 ไปด้วยกัน “มีสุขร่วมสุข มีทุกข์ร่วมต้าน เดินหน้าก้าวผ่าน ไม่ทอดทิ้งกัน”
สถานเอกอัครราชทูตฯ มอบถุงยังชีพและหน้ากากอนามัยให้แก่พี่น้องชาวไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 เริ่มจาก
ชุมชนคนไทยในกรุงซันติอาโกซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในชิลี และได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการสั่งปิดพื้นที่ การรักษาระยะห่างทางสังคม
และเคอร์ฟิวของรัฐบาล รวมถึงนักท่องเที่ยว และนักเรียนที่ยังกลับไทยไม่ได้

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส

ตั้งแต่พบการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ในช่วงต้นเดือน มีนาคม 2563 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในอาร์เจนตินา
และได้ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์มาตรการที่มีผลกระทบกับคนไทย ข้อควรปฏิบัติในช่วงการแพร่ระบาด และช่องทางการติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
มาอย่างต่อเนื่อง “เราอยู่บ้าน แต่เราไม่ทิ้งกัน” ในช่วงการบังคับใช้มาตรการกักตัว ได้ติดตามความเป็นอยู่ของนักเรียนแลกเปลี่ยนในอาร์เจนตินา
ปารากวัย และอุรุกวัยอย่างใกล้ชิด มีการนัดพบปะนักเรียนผ่านโปรแกรม Zoom ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนเป็นรายบุคคล รับฟังและให้คำปรึกษาแก่
ผู้ปกครองนักเรียนทุกท่านที่รอการเดินทางกลับไทย นอกจากนี้ ได้จัดส่งกล่องน้ำใจ ภายในประกอบด้วยอาหารแห้งและของใช้จำเป็นให้แก่นักเรียน
ที่ตกค้าง ในช่วงรอเดินทางกลับไทย ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง สถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS
ในอาร์เจนตินาและอุรุกวัยและคนไทยที่ตกค้างเดินทางกลับไทย โดยแวะต่อเครื่องที่นครเซาเปาลู ซึ่งประสานร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฯ
ณ กรุงบราซิเลีย ในการเดินทางในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย

สถานเอกอัครราชทูต ได้ติดตามสถานการณ์และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ มาตรการสำคัญในรูปแบบ Infographic และ
มาตรการของรัฐบาลไทย ผ่านทาง Facebook รวมถึงได้ตั้งกลุ่ม WhatsApp เพื่อให้กำลังใจและติดตามความเป็นอยู่ของคนไทยในบราซิล และ
การให้ความช่วยเหลือต่างๆ “น้ำใจเล็กน้อยเพื่อคนไทยสู้ภัย COVID-19” การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ในบราซิล ทำให้หลายรัฐประกาศ
ใช้มาตรการกักตัว รักษาระยะห่าง สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ร่วมกับชุมชนไทย จัดทำถุงยังชีพ ให้กับนักเรียนไทยและคนไทยที่ได้รับความ
เดือดร้อน นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ตระหนักถึงความเดือดร้อน ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชี และค่าเช่าที่พักอาศัย โดยร่วมกับ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล ระดมบริจาทุนทรัพย์ส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือคนไทย ตามแนวคิด “คนไทยไม่ทิ้งกัน”
ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง มีการประสานงานช่วยเหลือคนไทยที่ตกค้างที่แวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินเซาเปาโล
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 โดยร่วมช่วยเหลือนักเรียนและคนไทยที่ตกค้างในอาร์เจนตินาและอุรุกวัยเพื่อเดินทางกลับไทย

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา

สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดตามและรายงานพัฒนาการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในเปรู และประเทศในเขตอาณาของ
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ โบลิเวีย โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลาอย่างใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์มาตรการของแต่ละประเทศผ่านทาง
Facebook เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งมอบเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ได้แก่ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
และเจลแอลกอฮอล์ ให้แก่ชุมชนคนไทยในกรุงลิมา ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง นับตั้งแต่การประกาศปิดพรมแดนเข้า-ออก
ทุกช่องทางของเปรูในเดือนมีนาคม 2563 ส่งผลให้มีนักเรียนและนักท่องเที่ยวชาวไทยตกค้างในเปรู สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานหน่วยงาน
ทางการของเปรู ขออนุญาตเดินรถข้ามจังหวัดและการเดินทางออกนอกประเทศ โดยประสานงานร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงบราซิเลีย
และสถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงเม็กซิโก เพื่ออพยพคนไทยทึ่ตกค้างข้ามแดนให้ความช่วยเหลือในการเดินทางกลับไทย

– สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก

สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้อัพเดทคนไทยในไลน์และ Facebook ทราบทุกวัน และได้จัดส่งอุปกรณ์สำหรับป้องกันไวรัส อาหารแห้งให้แก่คนไทย
ในพื้นที่ด้วย จากการสำรวจพบว่ามีคนไทยตกค้างในเม็กซิโก ทั้งนักเรียนแลกเปลี่ยน นักท่องเที่ยว แรงงานตกงาน สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดส่ง
ถุงยังชีพ หน้ากากอนามัย และอาหารแห้งให้แก่นักเรียนและคนไทยที่ตกค้าง ภารกิจช่วยเหลือคนไทยและนักเรียนไทยที่ตกค้าง ได้ให้ความ
ช่วยเหลือนักเรียนแลกเปลี่ยนโครงการ AFS โดยได้ตั้งกลุ่มไลน์ แจ้งข่าวสาร จัดหาเที่ยวบิน นอกจานี้ได้ประสานงานจากสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงลิมา เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวตกค้างที่เปรู ในเวลานั้นเปรูได้ประกาศปิดพรมแดนทุกช่องทาง จึงได้อพยพนักท่องเที่ยวไทยที่ตกค้างมายัง
เม็กซิโกแทน เนื่องจากเม็กซิโกยังไม่มีนโยบายปิดน่านฟ้า สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ความช่วยเหลือและจัดหาเที่ยวบินเพื่อเดินทางกลับไทย
อีกทั้งเดือนพฤษภาคม 2563 ได้ประสานสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อส่งคนไทยที่ตกค้างกลับ ใส่วนคนไทยตกค้างคนอื่นยังพยายาม
หาเส้นทางที่เป็นไปได้ให้ โดยหวังว่าจะส่งทุกคนกลับได้ครบภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2563

– โควิด – 19 ในลาตินอเมริกากับเหตุปัจจัยที่หลากหลาย

1.นโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล

การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทั้วลาตินอเมริกาแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของรัฐบาลหลายประเทศ ที่มีขนาดใหญ่ลักษณะการปกครองปกครองแบบหลายรัฐ
เช่น สหพันธสาธารณรัฐบราซิล และสหรัฐเม็กซิโก ซึ่งมีความขัดแย้งในการจัดการในระดับรัฐบาลส่วนกลางและท้องถิ่นของแต่ละรัฐ ความขัดแย้งนี้
ทำให้การดำเนินมาตรการต่างๆ มีความยากลำบาก เนื่องจากไม่สามารถบังคับโดยเบ็ดเสร็จ มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีสาธารณสุข ทำให้การแพร่ระบาด
ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายจำนวนมาก

2.สถานะทางเศรษฐกิจ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่บีบคั้นการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาด เช่น เม็กซิโก ซึ่งผูกติดเศรษฐกิจไว้
กับอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกาและแคนาดา) และมีการหดตัวของเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยมาก่อนระบาดใหญ่ แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโก
ยอมรับว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงสูงกว่าสถิติที่มีการบันทึกหลายเท่า เนื่องจากอัตราการทดสอบของเม็กซิโกทำได้ต่ำกว่าประเทศขนาดใหญ่อื่นๆ
ในลาตินอเมริกา ในทางตรงกันข้ามประเทศที่ผ่านปัญหาทางเศรษฐกิจ และยังติดหนี้ IMF อย่างอาร์เจนตินา รัฐบาลมีความตระหนักในศักยภาพ
ของตนเอง จึงมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว และสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีกว่า ประเทศขนาดใหญ่อื่นๆ ในลาตินอเมริกา
แต่รัฐบาลอาร์เจนตินามีการบริหารจัดการนำเงินมาเยียวยาประชาชนที่ประสบความยากลำบาก รวมทั้งมีการผิดนัดชำระหนี้กับ IMF
ข้อดีของความมีหนี้สิน มีส่วนให้รัฐบาลไม่ประมาทในการวางแผนเศรษฐกิจ เนื่องจาก IMF ก็มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณอยู่เป็นระยะ

3.ศักยภาพและความพร้อมด้านสาธารณสุข

ในความเป็นจริงศักยภาพด้านสาธารณสุขภายในประเทศเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเป็นตัวชี้วัดการพัฒนาเท่าใดนัก การจัดอันดับ Global Health Security (GHS)
ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ ที่จัดอันดับความพร้อมของประเทศที่จะรับมือกับโรคระบาด ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนารายได้ปานกลาง
ประเทศเดียวที่อยู่ในลำดับ 6 จาก 15 ประเทศ ที่มีมาตรฐานระดับชั้นนำ แต่ลำดับประเทศที่แวดล้อมเป็นประเทศพัฒนารายได้สูงเกือบทุกประเทศกำลัง
ผ่านการเผชิญวิกฤตการณ์แพร่ระบาดไปค่อนข้างหนัก 1 สหรัฐอเมริกา 2 สหราชอาณาจักร อันดับ 3 เนเธอร์แลนด์ ลำดับ 4 แคนาดา สวีเดน ฝรั่งเศส
สเปน ประเทศที่มีนโยบายให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพด้านาธารณสุขเป็นพิเศษคือ คิวบา มีความพร้อมและความก้าวหน้าทางการแพทย์สูง
ระดับเยี่ยมของโลก ประชากรเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

4. การเปิดรับชาวต่างประเทศและการเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ลาตินอเมริกาเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชาวยุโรป มีสถานที่สำคัญอาทิ นครริโอ เดอจาเนโร  เปรู เป็นประเทศที่มีอารยธรรม
อินเดียนโบราณ และสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมาชูปิกชู เม็กซิโก เป็นแหล่งอารยธรรมอินเดียนโบราณอันยิ่งใหญ่ของอเมริกากลาง ดังนั้น การนำเข้า
เชื้อไวรัสโคโรนาไปยังลาตินอเมริกา ไม่ได้มาจากแหล่งเดียวในประเทศ แต่เกิดจากการเดินทางเข้าไปของชาวยุโรป หรือการเดินทางของ
คนท้องถิ่นที่กลับมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรปใต้ และสหรัฐอเมริกา

5. ภูมิคุ้มกันของสังคม

ภูมิคุ้มกันของสังคม (resilience) กับภูมิต้านทานโรค (immunity) เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันแต่มีประสิทธิภาพในทางเดียวกัน โรคอุบัติใหม่โควิด-19
ที่ไม่มีประชากรชาติใดมีภูมิต้านทาน ไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ การที่ประเทศหนึ่งจะรอดได้ ปัจจัยสำคัญคือ ภูมิคุ้มกันในสังคม ในฐานะคนไทย
เราคุ้นเคยกับคำว่าภูมิคุ้มกันมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะเมื่อรวมกับความพอประมาณ และความมีเหตุผล นั่นคือ 3 คุณสมบัติของหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงที่พระผู้สถิตอยู่บนฟ้า ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ให้กับพวกเราชาวไทย โดยต้องอาศัยเงื่อนไขประกอบอีก 2 ประการ คือ
ความรู้และคุณธรรม ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่คนไทยเองจะหันมาใส่ใจวัดการพัฒนาประเทศกันที่แก่นความเจริญที่แท้จริง รู้จักอดกลั้น แบ่งปัน
และร่วมมือกันฝ่าเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตผ่านพ้นไปได้ด้วยดีพร้อมกัน

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-may2020.pdf

 

 

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนเมษายน 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน เมษายน 2563

Advanced Scientific Equipment : อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ขั้นสูง
ความก้าวหน้าและวิวัฒนาการของเทคโนโลยีด้านต่างๆ ในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ได้นำมาใช้ในการผลิตเครื่องมือวิจัยที่ทันสมัย ด้วยเหตุผล
หลักคือ ต้องการผลการทดสอบที่แม่นยำ ให้ผลที่รวดเร็วสามารถรองรับการประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

1. Electron Microscope กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมี 2 ชนิด ได้แก่ Transmission Electron Microscope (TEM) และ Scanning Electron Microscope (SEM)

– Transmission Electron Microscope (TEM) เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน เครื่อง TEM เหมาะสำหรับศึกษา รายละเอียดของ
องค์ประกอบภายในของตัวอย่าง เช่น องค์ประกอบภายในเซลล์ ลักษณะของเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งจะให้รายละเอียดสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์ชนิดอื่นๆ
เนื่องจากมีกำลังขยายและประสิทธิภาพในการแจกแจงรายละเอียดสูงมาก (กำลังขยายสูงสุดประมาณ 0.1นาโนเมตร)

– Scanning Electron Microscope (SEM) เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ภาพที่ได้จากเครื่อง SEM นี้จะเป็นภาพลักษณะของ 3 มิติ
ดังนั้นเครื่อง SEM จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาสัณฐานและรายละเอียดของลักษณะพื้นผิวของตัวอย่าง เช่น ลักษณะพื้นผิวด้านนอกของเนื้อเยื่อและเซลล์
หน้าตัดของโลหะและวัสดุ

ข้อดีของเครื่อง SEM เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง TEM คือ ภาพโครงสร้างที่เห็นจากเครื่อง SEM จะเป็นภาพ
ลักษณะ 3 มิติ ในขณะที่ภาพจากเครื่อง TEM จะให้ภาพลักษณะ 2 มิติ อีกทั้งวิธีการใช้งานเครื่อง SEM มีความรวดเร็วและใช้งานง่ายกว่าเครื่อง TEM
มาก หลักการทำงานของเครื่องค่อนข้างคล้ายกัน คือ เครื่องจะประกอบด้วยแหล่งกำเนิดอิเล็กตรอน กลุ่มอิเล็กตรอนจะถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและจะ
ผ่านเลนส์รวบรวมรังสี (condenser lens) เพื่อให้กลุ่มอิเล็กตรอน กลายเป็นลำอิเล็กตรอน จากนั้นจะเคลื่อที่ไปที่ตัวอย่างที่จะศึกษา (specimen)
สำหรับกล้องแบบ TEM จะเกิดการกระเจิงอนุภาคขึ้นเมื่ออิเล็กตรอนทะลุผ่านตัวอย่างไปและอิเล็กตรอนจะถูกปรับโฟกัสของภาพ โดยเลนส์ใกล้วัตถุ
(objective lens) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ทำหน้าที่ขยายภาพให้ได้รายละเอียดมากที่สุด จากนั้นจะได้รับการขยายด้วยเลนส์ทอดภาพไปสู่จอรับ
(projector lens)และปรับโฟกัสอนุภาคอิเล็กตรอนให้ยาวพอดีที่จะปรากฏบนฉากเรืองแสง สุดท้ายจะเกิดการสร้างภาพขึ้นมาได้

ส่วนกล้องแบบ SEM อิเล็กตรอนจะถูกปรับระยะโฟกัสโดยเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) ลงไปบนผิวชิ้นงาน จะทำให้เกิดอิเล็กตรอนทุติยภูมิ
(secondary electron) ขึ้น ซึ่งสัญญานจากอิเล็กตรอนทุติยภูมินี้จะถูกบันทึกและแปลงไปเป็นสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์และถูกนำไปสร้าง
เป็นภาพบนจอโทรทัศน์ต่อไป และสามารถบันทึกภาพจากหน้าจอโทรทัศน์ได้เลย

2. Particle Size Analyzer

เป็นเครื่องสำหรับใช้วิเคราะห์ขนาดอนุภาคที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย มีหลากหลายรูปแบบที่ใช้หลักการแตกต่างกัน เช่น
– หลักการเลี้ยวเบนของแสง (Laser Diffraction) เช่น เครื่อง Partica LA-950V2 สามารถวิเคราะห์ขนาด
อนุภาคหรือวัตถุได้ตั้งแต่ขนาด 0.01-3,000 ไมครอน ซึ่งเป็นช่วงของขนาดที่ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ไวรัสที่มีขนาด 0.01-0.3 ไมครอน ที่ตาคนเรา
ไม่สามารถมองเห็น (ปกติสายตาคนเราจะสามารถเห็นสิ่งที่เล็กที่สุดได้ที่ 50 ไมครอน) ไปจนถึงขนาด 3 มิลลิเมตร หรือประมาณความหนาของ
บัตรเครดิต 3 ใบ
– หลักการ Dynamic Light Scattering (DLS) เช่น เครื่อง Malvern Model Zetasizer (ZS) เป็นเครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาคระดับนาโน
ใช้เทคนิค DLS เพื่อวัดขนาดอนุภาคที่แขวนลอยและเคลื่อนที่อยู่ภายในตัวกลางที่เป็นของเหลวโดยใช้แสงเลเซอร์ จะเกิดการแพร่กระจายอย่าง
ไร้ทิศทาง (randomly diffuse) ไปทั่วตัวกลาง

3. X-ray Spectrometer

X-ray Fluorescence (XRF) Spectroscopy เป็นเทคนิคที่นิยมใช้แพร่หลายในการวิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณและคุณภาพ งานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
การวิเคราะห์ธาตุที่มีความเป็นพิษที่อยู่ในอากาศ ด้านธรณีวิทยา เช่น การวิเคราะห์แร่ ดิน หิน โดยไม่ทำลายตัวอย่าง มีการเตรียมตัวอย่างเพียง
เล็กน้อย และให้ผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว ด้านชีววิทยา/ด้าน การแพทย์ เช่น การวิเคราะห์สารที่อยู่ในเส้นผมและเล็บ ด้านอุตสาหกรรม เช่น
ใช้ในการควบคุมกระบวนการและควบคุมคุณภาพการตรวจวัดตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นพิษในน้ำมันดิบ และอื่นๆอีกมากมาย

4. Thermogravimetric Analyzer

เป็นเครื่องที่ใช้วิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ ศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของสารโดยอาศัยคุณสมบัติทางความร้อน
(Thermogravimetric analysis : TGA) เพื่อตรวจหาคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุทางด้านกายภาพและด้านเคมี โดยตัวอย่างจะถูกทำให้ร้อนขึ้น
หรือเย็นลงในบรรยากาศที่กำหนดไว้ และจะมีการบันทึกน้ำหนักของวัสดุที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอุณหภูมิเครื่องชั่งที่มีความไวสูง
TGA เหมาะสำหรับการวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงสภาพของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับแก๊สหรือระเหยของน้ำ การตกผลึก (crystallization)
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนเฟส การแตกตัวของวัสดุ (decomposition) ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน หรือ ปริมาณสารสัมพันธ์
(stoichiometry) ในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เช่น ไนโตรเจน หรือแก๊สที่มีความว่องไว เช่น อากาศ หรือ ออกซิเจน การวิเคราะห์ลักษณะนี้
ใช้งานได้ในด้านต่างๆ เช่น ตัวอย่างพอลิเมอร์ โลหะและเซรามิก ตัวอย่างทางเคมีสีและพิกเมนต์ ตัวอย่างทางปิโตรเคมี และสารอินทรีย์ต่างๆ
ส่วนประกอบในอาหาร เครื่องสำอาง และยา

5. High Performance Liquid Chromatography (HPLC)

โครมาโทกราฟี (Chromatography) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารผสม วิชาวิทยาศาสตร์ คือ ใช้กระดาษกรองเป็นตัวดูดซับ
ตั้งวางเป็นแนวตั้ง 90 องศากับพื้นผิวภาชนะที่บรรจุตัวทำละลาย ตัวทำละลายจะค่อยๆ แพร่ขึ้นไปบนกระดาษและนำพาสารผสมที่ต้องการแยกขึ้น
ไปด้วยหากสารที่ผสมอยู่สารใดสามารถละลายได้ดีก็จะแพร่ไปได้ดีกับตัวทำละลาย และเคลื่อนที่ไปได้สูง ส่วนสารที่อยู่ในสารผสมละลายได้ไม่ดีกับ
ตัวทำละลายผสมก็จะถูกดูดซับไว้ที่กระดาษซึ่งจะแพร่ขึ้นไปได้ต่ำกว่า HPLC สามารถวิเคราะห์สารได้หลายชนิด เช่น สารอินทรีย์ สารประกอบทาง
ชีวภาพ โพลีเมอร์ สารประกอบที่เสียสภาพได้ง่าย สารประกอบที่ระเหยยาก ไอออนขนาดเล็ก ไมโครโมเลกุลตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ต้องเป็น
ของแข็งหรือของเหลวต้องละลายได้ 100% การแยกสารจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อสารมีอัตราการเคลื่อนที่ที่แตกต่าง ตัวอย่างการทดสอบ
ด้วย HPLC เช่น หาปริมาณวิตามินซี ในเลือด น้ำผลไม้ วิตามินอีในอาหารสัตว์ น้ำตาลในน้ำผลไม้ กลีเซอร์ไรด์ในน้ำมัน และอื่นๆ

6. Capillary Electrophoresis (CE)

Capillary Electrophoresis : CE เป็นการแยกสารโดยอาศัยสนามไฟฟ้า
Electrophoresis หมายถึง การเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุอยู่ในรูปของสารละลายหรือแขวนลอยอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ (อิเล็กโทรไลต์ คือ
สารที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนอิสระเมื่อละลายน้ำหรือหลอมเหลว ทำให้สามารถนำไฟฟ้าได้) เมื่อมีไฟฟ้าวิ่งผ่าน ประจุบวกในสารละลาย หรือ
แคตไอออน(Cation) จะวิ่งไปที่ขั้วแคโทดซึ่งเป็นขั้วลบ ส่วนประจุลบในสารละลายแอนไออน (anion) จะไปที่ขั้วแอโนดซึ่งเป็นขั้วบวก ส่วน
อนุภาคที่เป็นกลางจะไม่วิ่งเข้าสู่ขั้วใดเลย ปัจจุบัน capillary electrophoresis (CE) จะสามารถระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกทางหลอดรูเล็กได้
หลักการของ CE เกี่ยวข้องกับการให้ศักย์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 10 ถึง 30 กิโลโวลต์ แก่หลอดรูเล็ก (capillary tube) เมื่อมีการให้ศักย์ไฟฟ้าจะทำให้
ไอออนวิ่งไปที่ขั้วไฟฟ้า เรียกว่า electropherogramตัวอย่างการทดสอบด้วย CE เช่น การแยกกรดอะมิโน โปรตีน และ กรดนิวคลีอิก ให้บริสุทธิ์
การหาปริมาณสารกำจัดวัชพืช การตรวจสอบชิ้นส่วนของดีเอ็นเอใน polymerase chain reaction (PCR)

7. Total Organic Carbon (TOC) Analyzer

สารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำ น้ำที่มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์มาก จะส่งผลให้มีการละลายของออกซิเจน
น้อยลง ทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การปนเปื้อนของสารอินทรีย์อาจเกิดจากแหล่งกำเนิดหลากหลาย เนื่องจากสารอินทรีย์
เป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำตาลซูโครส แอลกอฮอล์ สารเคมี ปิโตรเลียม แป้งเซลลูโลส แบคทีเรีย หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก การหาปริมาณ
สารอินทรีย์ในน้ำมีหลายวิธี เช่น การตรวจวัดค่าบีโอดี (biochemical oxygen demand:Bod) ซีโอดี (chemical oxygen demand:COD)
และ ทีโอซี (total organic carbon:TOC) การตรวจวัดด้วย BOD ใช้เวลา 5 วันในการทราบผล ส่วน COD ต้องใช้สารเคมีที่รุนแรงใน
การออกซิไดซ์ ซึ่งเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น TOC จึงเป็นทางเลือกในการวิเคราะห์หาปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมด เพราะใช้เวลาน้อย
และไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ค่า TOC ยังถูกนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่ม ยา
และชิ้นส่วน อิเล็กโทรนิกส์ ควบคุมคุณภาพน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือใช้ในการวัดปริมาณ
อินทรีย์วัตถุในดินเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรโดยทั่วไปแล้ว สารอินทรีย์ปนเปื้อนไม่มีประจุ จึงไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการวัดค่าการนำ
ไฟฟ้ามาตรฐาน ดังนั้น การวัดค่าการนำไฟฟ้าในระบบน้ำบริสุทธิ์สูง อาจไม่สามารถตรวจพบ TOC ระดับสูงได้

8. Differential Scanning Calorimeter

เทคนิค Differential Scanning Calorimetry (DSC) เป็นเทคนิคที่นำมาใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อน (thermal transition)
ของสารตัวอย่าง วัดการเปลี่ยนแปลงพลังงาน (การดูดหรือคายพลังงาน) ของสารตัวอย่าง เมื่อถูกเพิ่มหรือลดอุณหภูมิในบรรยากาศที่ถูกควบคุม
DSC เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ในอุตสาหกรรมเคมี พลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อากาศยาน ไปจนถึง
อาหารและยา โดยถูกนำไปประยุกต์ใช้ ทั้งสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ และสำหรับงานวิจัย

9. DNA Thermal Cycler หรือ PCR machine

ดีเอ็นเอ หรือ Deoxyribonucleic (DNA) คลังข้อมูลพันธุกรรมทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต โดย
ดีเอ็นเอ จะประกอบด้วยหน่วยย่อยพื้นฐานที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งเป็นชุดโมเลกุลฟอสเฟต น้ำตาลเพนโตส และเบสหรือ
สารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง 1 ตัว ซึ่งเบสมีอยู่ 4 ประเภท คือ adenine (A), guanine (G), cytosine (C), thymine (T)
ลักษณะโครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบขึ้นจากสายชุดนิวคลีโอไทด์ 2 สายพันเข้าด้วยกันเป็นลักษณะเกลียวคู่ (double helix) หรือ
บันไดเวียน ทำหน้าที่ยึดจับระหว่างสายทั้งสอง สายส่วนที่มีเบส A จะจับคู่สร้างพันธะกับเบส T และส่วนที่มีเบส G จะจับคู่เบส C ซึ่งการ
จับคู่นี้เรียกว่าเป็นเบสคู่สม และแต่ละส่วนบนสายดีเอ็นเอนี้ที่เป็นที่อยู่ของยีน (gene) ซึ่งเป็นส่วนที่บรรจุข้อมูลสำหรับการสร้างโปรตีนชนิดใด
ชนิดหนึ่ง โดยยีนที่ต่างกันก็จะมีตำแหน่งที่อยู่และเรียงลำดับของเบสบนตัวมันแตกต่างกันไป Polymerase Chain Reaction หรือ (PCR)
เป็นเทคนิคสำหรับเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ อาศัยหลักการ DNA Replication ซึ่งเป็นการสังเคราะห์สายดีเอ็นเอสายใหม่จากดีเอ็นเอต้นแบบใน
หลอดทดลอง เทคนิคนี้พัฒนาเมื่อปี 2528 โดย Kary Mullis และคณะแห่งบริษัท Cetus Coporation จุดเด่นของเทคนิค PCR คือ สามารถ
เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้อย่างเฉพาะเจาะจงโดยมีขั้นตอนการทำงานน้อยและใช้เวลาน้อย การยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญมากต่องานด้าน
อณูชีวโมเลกุล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับงานวิจัยทางชีวโมเลกุลและพันธุวิศวกรรม เช่น การเพิ่มปริมาณยีน (gen cloning)
การวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน (gene sequencing)การสร้างดีเอ็นเอติดตาม (DNA probe) และการวิจัยประยุกต์

10. NMR Spectrometer

NMR (Nuclear Magnetic Resonance Spectroscopy) เป็นเทคนิคเกี่ยวข้องกับการวัดระดับพลังงานที่แตกต่างกันของนิวเคลียสที่อยู่
ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก ใช้ศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียสของธาตุที่มีสมบัติของแม่เหล็ก ตลอดจนสภาวะข้างเคียงรอบนิวเคลียสนั้นๆ
เทคนิคนี้มีประโยชน์มากในการศึกษาอะตอมในโมเลกุลสูตรโครงสร้างและพลวัตของสาร การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค NMR นั้น ตรวจวัดได้ง่าย
รวดเร็ว แม่นยำ และมีความจำเพาะเจาะจงสูง
– เทคนิค NMR ใช้ในงาน อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง มีการนำสารกลุ่มโพลีฟอสเฟตเข้ามาใช้ผสมเคลือบผิวของอาหารก่อนนำไปแช่แข็ง
เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำหนัก รักษาคุณภาพของเนื้อสัตว์ได้ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อ ช่วยให้เนื้อมีคุณภาพทาง
เนื้อสัมผัสและประสาทสัมผัสที่ดีขึ้น(ความนุ่ม ความฉ่ำน้ำ สี กลิ่น และรส) การอนุญาตให้ใช้สารประกอบฟอสเฟตในอุตสาหกรรมอาหาร
ให้ใช้ในระดับที่ไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค
– เทคนิค NMR ยังได้ใช้ในวงการแพทย์ที่รู้จักกันในชื่อว่า Magnetic Resonance Imaging (MRI) โดยอาศัยหลักที่ว่าเราสามารถ
สร้างภาพ 2 มิติ หรือ3 มิติของวัตถุโดยการปรับเปลี่ยนสนามแม่เหล็ก NMR ที่ระดับความลึกต่างๆ กันของวัตถุ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้
เทคนิค MRI นิยมใช้อย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ เพราะว่าเทคนิคนี้ใช้รังสีที่มีความถี่หรือพลังงานต่ำ จึงไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
หรืออวัยวะของสิ่งมีชีวิต

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-apr2020.pdf

 

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2563

สหภาพยุโรปเพิ่มการอัดฉีดงบสนับสนุนการวิจัยในการพัฒนาวัคซีน วิธีการรักษาและการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19
คณะกรรมาธิการยุโรปได้เพิ่มงบสนับสนุนโครงการวิจัยผ่านโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม
ของสหภาพยุโรป หรือ โครงการ Horizon 2020 โดยเปิดรับสมัครให้ทุนวิจัยเพื่อจัดการกับโรคโควิด-19 ใน
สาขาการศึกษากระบวนการเกิดโรค การตรวจวินิจฉัย การพัฒนาวัคซีน การพัฒนาวิธีการรักษา และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการระบาดของ
โรคโควิด-19

โครงการวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19

ในระหว่าง 2 สัปดาห์ ที่เปิดรับสมัครให้ทุนวิจัย มีการส่งข้อเสนอโครงการจำนวน 91 โครงการ และประกาศรายชื่อโครงการวิจัย 17 โครงการ
ที่ได้รับเลือกเพื่อสนับสนุนทุนวิจัย ในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้

การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว : การวิจัยมุ่งเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุขในการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19
ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
การพัฒนาวิธีการรักษา : การวิจัยมุ่งเน้นไปที่การรักษาแบบคู่ขนาน โดยแบบแรกเป็นการพัฒนาวิธีการรักษาชนิดใหม่ๆ ที่กำลังมีการศึกษาอยู่ใน
ปัจจุบัน เช่น Theapeutic peptides monoclonal antibodies และ Broad-spectrum antivirals สำหรับแบบที่สอง เป็นการใช้เทคนิคการสร้าง
แบบจำลองและวิทยาการการคำนวณมา วิจัยเพื่อคัดกรองและระบุหาโมเลกุลที่สามารถต้านเชื้อไวรันโคโรนา 2019 ได้
การพัฒนาวัคซีน : การวิจัยเน้นด้านการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคและวัคซีนเพื่อรักษาโรคโควิด-19
ระบาดวิทยาและสาธารณสุข : การวิจัยเน้นการเตรียมความพร้อมและการตั้งรับต่อการระบาดของโรคโควิด-19 โดยโครงการวิจัยจะพัฒนาระบบ
การติดตามการแพร่ระบาด
ของโรคเพื่อให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขและภาครัฐสามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของเชื้อโรคได้ดีขึ้น
– นอกจากนี้ยังมีการให้เงินสนับสนุนอีก 90 ล้านยูโรผ่านโครงการ Innovative Medicines Initiative ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพ
ยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม

 

สหภาพยุโรปออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือการวิจัยในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์โควิด-19

คณะกรรมาธิการยุโรปได้เพิ่มมาตรการเพื่อปรับตัวในการจัดการกับวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 และช่วยจัดหางบสนับสนุนสำหรับการพัฒนาวิธีการรักษา
และวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 สถานการณ์ปัจจุบัน นักวิจัยต้องทำงานในสภาวะกดดัน จากมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในการเดินทาง หรือ
การชะลอการทำงานที่ไม่มีความเร่งด่วนในห้องปฏิบัติการซึ่งล้วนแล้วมีสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่แพร่กระจายกว้างในเชิง
ภูมิศาสตร์ทั้งในยุโรปและทั่วโลก

มาตรการเพิ่มเติมจากสหภาพยุโรป

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศขยายเวลารับสมัครเพื่อขอรับทุนโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรป หรือ โครงการ
Horizon 2000 นอกจากนี้ยังให้งบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิธีการรักษาและวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 อีกด้วย

สภาวิจัยแห่งยุโรป

สภาวิจัยแห่งยุโรป (European Research Council, ERC) ได้สืบค้นทะเบียนผู้เคยได้รับทุนเพื่อค้นหางานวิจัยและนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
วิทยาศาสตร์กายภาพ และสังคมศาสตร์ เพื่อมาเข้าร่วมในคณะทำงานของโครงการ Horizon 2020 เพื่อช่วยในการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรค
โควิด-19 และศึกษาด้านระบาดวิทยา ซึ่งคาดว่าจะช่วยถ่ายทอดความเชี่ยวชาญเพื่อต่อสู้กับวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 ได้ นักวิจัยที่ชื่อ
Vittoria Colizza ได้รับทุนวิจัยในการศึกษาการระบาดและโมเดลการทำนายการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในช่วงปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ. 2013
ขณะที่นักวิจัยที่ชื่อ Marcin Nowotny ได้รับทุนวิจัยการศึกษาโครงสร้างโปรตีนของไวรัสชนิดนี้ ซึ่งงานของนักวิจัยทั้งสองจะมีส่วนสำคัญในการ
พัฒนาวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 ได้

 

กานสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่บริษัท CureVac

บริษัท CureVac บริษัทสัญชาติเยอรมัน กำลังทำวิจัย พัฒนา และคิดค้นวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 โดยวัคซีนถูกคิดค้นใกล้สำเร็จแล้ว จากนั้นจะขอ
อนุญาตรัฐบาลเพื่อทดลองกับมนุษย์ต่อไป หากประสบความสำเร็จก็จะสามารถผลิตปริมาณมากได้จากสถานที่ที่บริษัทมีอยู่ ซึ่งทำงานร่วมกับสถาบันวิจัย
Paul Ehrlich ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนี

 

ข้อมูลบริษัท CureVac

บริษัท CureVac เป็นบริษัทผลิตและค้นคว้าวิจัยด้านชีวเวชภัณฑ์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศเยอรมนี มีความเชียวชาญพิเศษสำหรับ
องค์ความรู้เรื่องการถอดรหัสพันธุกรรม DNA และการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัส มีการพัฒนาบนพื้นฐานของ messenger RNA หรือ (mRNA)
บริษัทได้ทำการพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคติดเชื้อ ยารักษาโรคมะเร็ง และยาสำหรับโรคที่หายาก
– ตุลาคม 2556 บริษัท ได้เปิดตัวความร่วมมือเพื่อพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
– ในปี 2556 บริษัท ร่วมมือกับสถาบันวิจัยมะเร็ง เพื่อทดสอบทางคลินิกในการหาทางเลือกใหม่ๆ ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน
– ในปี 2557 บริษัท ได้รับรางวัล 2 ล้านยูโร จากสหภาพยุโรปเพื่อกระตุ้นเทคโนโลยีวัคซีนใหม่ที่อาจช่วยประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากการวิจัย
ของบริษัท สามารถนำไปสู่วัคซีนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องแช่แข็ง และได้รับใบอนุญาตสำหรับการทดลองวัคซีน mRNA เพื่อศึกษาการกลายพันธ์ของมะเร็งปอด
– ในปี 2558 บริษัท ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาวัคซีนเอดส์โดยใช้ภูมิคุ้มกันผ่านเทคโนโลยี mRNA ของ CureVac

สรุปโครงการมอบทุนวิจัยจากสหภาพยุโรปเพื่อจัดการโรคโควิด-19

– เมื่อต้นเดือนมกราคมคณะกรรมาธิการยุโรปได้สนับสนุนงบวิจัยภายใต้โครงการ Horizon 2000 เป็นจำนวน 47.5 ล้านยูโร สำหรับการพัฒนาวัคซีนและ
ยารักษาโรคโควิด-19
– คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศสนับสนุนงบวิจัยและพัฒนาวัคซีนให้แก่บริษัท CureVac โดยอยู่ในรูปแบบเงินกู้จำนวน 80 ล้านยูโร ผ่านธนาคารเพื่อ
การลงทุนแห่งยุโรป
– นอกจากนี้ยังมีการให้เงินสนับสนุนอีก 90 ล้านยูโร ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม โดยสนับสนุน
45 ล้านยูโร จุดประสงค์หลักคือ การช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้งในระดับสหภาพยุโรปและระดับโลก
– คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้งบจำนวน 164 ล้านยูโร สำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (start-ups) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ทำหน้าที่พัฒนา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการตรวจทดสอบและติดตามการระบาดของโรคโควิด-19

สหภาพยุโรปพิจารณาปรับและจำแนกค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร 3-MCPD ในน้ำมัน

คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโภคกำลังพิจารณาปรับและแบ่งค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร 3-MCPD ในน้ำมันและไขมันพืช และน้ำมันปลา
ที่ใช้บริโภคหรือนำไปประกอบอาหาร 3-MCPD นั้นเป็นสารปนเปื้อนในกระบวนการแปรรูปอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพผู้บริโภคในเชิงการทำงานของไต
และการเจริญพันธ์ของเพศชาย โดยทั่วไปถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่ แต่มีความกังวลว่าผู้บริโภคกลุ่มอายุน้อยที่บริโภคสาร 3-MCPD
ในระดับสูงจะประสบปัญหาด้านสุขภาพ และกรณีที่แย่ที่สุดคือความเสี่ยงที่เด็กทารกจะได้รับสาร 3-MCPD ที่ปนเปื้อนในนมผง ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย

สาร 3-MCPD

สารเคมี 3-monochloropropane diol หรือ 3-MCPD เป็นสารปนเปื้อนในกระบวนการแปรรูปอาหารซึ่งสามารถพบได้ในอาหารแปรรูปและน้ำมันพืช
บางชนิด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม โดยสาร 3-MCPD และสารประกอบเอสเทอร์ของ 3-MCPD จะถูกผลิตขึ้นในกระบวนการแปรรูปอาหารโดยเฉพาะ
ระหว่างกระบวนการการน้ำมัน หรือการนำน้ำมันไปผ่านกรรมวิธีการผลิต ที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส

ข้อเสนอเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบควบคุมสาร 3-MCPD ในน้ำมันสำหรับการบริโภค

คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโคภกำลังพิจารณาปรับและแบ่งค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร 3-MCPD ในน้ำมันและไขมันพืช และน้ำมันปลา
ที่ใช้บริโภคโดยตรงหรือนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารอื่นๆ ออกเป็น 2 ระดับดังนี้
– 1,250 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อทำให้บริสุทธิ์ที่ผลิตจากมะพร้าว ข้าวโพด มะกอก ถั่วเหลือง ปาล์ม
และน้ำมันที่เกิดจาการผสมน้ำมันชนิดต่างๆ
– 2,500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อทำให้บริสุทธิ์รวมไปถึงน้ำมันปลา และน้ำมันที่ได้จากสัตว์ทะเล
และน้ำมันที่เกิดจากการผสมน้ำมันชนิดต่างๆ
องค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งสหภาพยุโรป พบว่าน้ำมันและไขมันปาล์มมีระดับการปนเปื้อนของสาร 3-MCPD และสาร GE สูงที่สุดเมื่อเทียบ
กับน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ปัจจุบันคณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโภคได้กำหนดค่าปนเปื้อนสูงสุดของสาร GE ในอาหารประเภทต่างๆ ไว้ดังนี้
– 1,000 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันและไขมันพืช
– 500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันและไขมันพืชใช้ในการผลิตอาหารสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
– 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม สำหรับน้ำมันและไขมันพืชที่ใช้ในการผลิตอาหารแบบผงที่มีวัตถุประสงค์ของการใช้ในการแพทย์สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก

อันตรายของสาร 3-MCPD และสารปนเปื้อนอื่น ๆ

องค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งสหภาพยุโรป ได้ประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคสาร 3-MCPD ในปี 2559 รวมไปถึงสารปนเปื้อนอื่นๆ
ในกระบวนการผลิตอาหารเช่น glycidyl fatty acid ester (GE) โดย EFSA ให้ข้อสรุปว่า สาร GE เป็นอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากสามารถทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปกำลังร่างกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีจุดประสงค์ในการลดและควบคุมปริมาณ
สาร GE ในน้ำมันพืชและอาหารให้อยู่ระดับที่ปลอดภัยสารนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อไตและระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย นอกจากนี้ EFSA รายงานว่ากลุ่มที่
มีความเสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มเด็กทารก มีโอกาสได้รับสารในปริมาณที่สูงสาเหตุเพราะการใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตนมผงสำหรับเด็กทารก

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200713-newsletter-brussels-no03-mar63.pdf

 

 

 

 

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2563

กฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law)

คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีการเสนอกฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law) ที่มีเป้าหมายปลอดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้
ภายในปี ค.ศ. 2050 เพื่อการปกป้องโลกและมนุษย์ กฎหมายสภาพภูมิอากาศของยุโรป (European Climate Law) ยังกำหนดทิศทางการ
ขับเคลื่อนนโยบายของสหภาพยุโรปทั้งหมดที่จะช่วยให้หน่วยงานสาธารณะ ภาคธุรกิจ และประชาชน สามารถคาดการณ์ได้ คณะกรรมาธิการได้มี
การเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะเพื่อร่วมกันออกแบบกฎหมายนี้ด้วย กฎหมายสภาพภูมิอากาศยังได้ครอบคลุมถึงมาตรการในการติดตามความ
คืบหน้าและการปรับการดำเนินการให้สอดคล้องกัน เช่น กระบวนการกำกับดูแลสำหรับแผนด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของแต่
ประเทศสมาชิก รายงานที่ออกเป็นประจำโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (European Environment Agency) และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศและผลกระทบ ทั้งนี้จะมีการครวจสอบความคืบหน้า ทุกๆ 5 ปี ที่สอดคล้องกับการตรวจสอบการบรรลุ
การลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศเพื่อให้ทราบถึงภาพรวมของทั่วโลกตามข้อตกลงปารีส กฎหมายสภาพภูมิอากาศ ยังได้ระบุเส้นทางสู่เป้าหมาย
ใน ค.ศ. 2050 ดังนี้

– โดยอาศัยการประเมินผลกระทบที่ครอบคลุม (comprehensive impact assessment) คณะกรรมาธิการยุโรปจะเสนอเป้าหมายใหม่ของการลดก๊าซ
เรือนกระจก ในปี ค.ศ. 2030 ทั้งนี้ เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมายสภาพภูมิอากาศจะได้รับการแก้ไขหลังจากการประเมิน
ผลกระทบเสร็จสมบูรณ์
– ภายในเดือนมิถุนายน 2564 (ค.ศ.2021) คณะกรรมาธิการยุโรป จะทบทวนและหากจำเป็นต้องเสนอให้แก้ไขเครื่องมือทางนโยบาย เพื่อให้บรรลุการลดการปล่อยก๊าซเพิ่มเติมในปี ค.ศ.2030
– คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอการตั้งค่าเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งสหภาพยุโรป สำหรับปี ค.ศ. 2030-2050 (ปี พ.ศ.2573-2593)
เพื่อวัดความก้าวหน้าและการคาดการณ์ต่อหน่วยงานสาธารณะ ภาคธุรกิจ และประชาชน
– ภายในเดือนกันยายน 2566 (ค.ศ. 2023) และทุกๆ 5ปีหลังจากนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจะประเมินความสอดคล้องในมาตรการของสหภาพยุโรปและ
ของระดับชาติของประเทศสมาชิกต่อเป้าหมายความเป็นกลางด้านสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายในปี 2573-2593 (ค.ศ. 2030-2050)
– คณะกรรมาธิการยุโรปจะมีอำนาจในการออกข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกที่มีการดำเนินการไม่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพอากาศที่เป็นกลาง
และประเทศสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ
– ประเทศสมาชิกต้องพัฒนาและใช้กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่น และลดความเสี่ยงต่อผลกระทบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ

การกำหนดนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ

คณะกรรมาธิการยุโรปได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะต่อข้อตกลงฉบับใหม่ ว่าด้วยสภาพภูมิอากาศยุโรป เพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มี
โอกาสแสดงความเห็นสาธารณะและมีบทบาทในการออกแบบดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่ มีการแบ่งปันข้อมูล การเปิดตัวกิจกรรมระดับ
รากหญ้าและการจัดแสดงแนวทางปฎิบัติที่ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ได้ ทั้งนี้ จะมีการเปิดการรับฟังความเห็นสาธารณะเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ข้อมูลที่ได้
จะนำไปใช้เพื่อปรับข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย

การประกาศใช้กฎหมาย European Climate Law ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมของกระบวนการผลิตสินค้า การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันสารตกค้างในผลผลิต และการผลักดัน
และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทอดแทนสารเคมี นอกจากนี้ประเทศไทยจะต้องแบกรับภาระเกี่ยวกับการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน
จะต้องเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการกำหนดนโยบายของประเทศ ภาคเอกชนไทยที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่อาจจะถูกกระทบโดย
มาตรการทางกฎหมายใหม่ได้เตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

สหภาพยุโรปอัดฉีดงบเพิ่มเติม 90 ล้านยูโรเพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนสู้ไวรัสโคโรนา

สหภาพยุโรปได้ประกาศเพิ่มเงินสนับสนุน 90 ล้านยูโร เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาวัคซีนเพื่อจัดการกับโรค
COVID-19ที่มีไวรัสโคโรนาเป็นสาเหตุหลักในการก่อโรค และมีการแพร่กระจายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะที่อิตาลี โดยสาขาที่ให้ทุนครอบคลุมทั้งการ
พัฒนาวิธีการรักษา การวินิจฉัยโรค การวิจัยทางคลินิกและระบาดวิทยา และการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ในขณะเงินสนับสนุน 90 ล้านยูโร ที่เพิ่มมาใหม่นี้
เป็นการสนับสนุนผ่านโครงการ Innovative Medicines Initiative ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและภาคเภสัชอุตสาหกรรม
จุดประสงค์หลักคือการช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้งในระดับสหภาพยุโรปและระดับโลก

การให้ความช่วยเหลือในระดับนานาชาติ
นอกจากงบสนับสนุนในสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปยังมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 114 ล้านยูโรให้กับองค์การอนามัยโลก
(World Health Organisation, WHO) เพื่อสนับสนุนแผนการรับมือการระบาดทั่วโลกในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
เช่น ประเทศในแถบแอฟริกา

 

การประชุม ASEAN Day: Business Opportunities between Luxembourg and ASEAN

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เข้าร่วมประชุม
ASEAN Day : Business Opportunities between Luxembourg and ASEAN งานประชุมดังกล่าว กล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล
ปัญญาประดิษฐ์ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ จะทำให้รูปแบบการค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นการสร้าง
โอกาสด้าการค้าระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียนในรูปแบบ FTA จากนั้นเอกอัครราชทูตประเทศในอาเซียน 10 ประเทศนำเสนอทางธุรกิจ
และการลงทุนในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ดร.มาณพ สิทธิเดช ได้ให้ข้อมูลนโยบายและโครงการสำคัญของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ประเด็นแรกคือ แนวทางการยกระดับและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (EECi) นวัตกรรมใหม่
ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมุ่งเน้น 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. เกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีชีวภาพ 2. เชื้อเพลิงชีวภาพและ
เคมีชีวภาพ 3. แบตเตอรีประสิทธิภาพสูงและขนส่งสมัยใหม่ 4. ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 5. เทคโนโลยีการบินและอวกาศ
และ 6. เครื่องมือทางการแพทย์ ประเด็นที่สองคือ การผลักดันโมเดล BCG ของประเทศไทย เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ
3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจ
สีเขียว (Green Economy) เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษา
สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ระดับโลก เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ข้อมูลที่น่าสนใจของประเทศลักเซมเบิร์ก

ประเทศลักเซมเบิร์กมีอุตสาหกรรมหลัก คือ การให้บริการทางด้านการเงินและธนาคาร มีนโยบายปกป้องความลับ และให้สิทธิประโยชน์อย่างมาก
กับเงินลงทุนจากต่างประเทศ เช่น การคิดภาษีที่ถูกกว่า แล้วสามารถโอนเงินกลับไปยังประเทศตัวเอง โดยหักภาษีในอัตราที่ต่ำมากจนถูกขนานนาม
ว่าเป็นดินแดนภาษีต่ำ ด้วยเหตุนี้เงินทุนจากต่างประเทศมากมายเข้ามาอย่างมหาศาล เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ Microsoft ลักเซมเบิร์ก
เป็นจุดศูนย์กลางของกองทุนขนาดใหญ่ทั่วโลก เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังโดดเด่นเรื่องระบบขนส่งทางอากาศ
บริษัทคาร์โกลักซ์ (Cargolux) เป็น 1 ใน 5 สายการบินขนส่งสินค้า (Cargo Airlines) ชั้นนำของโลก ขนส่งสินค้า ยา สารเคมี วัตถุอันตราย และสัตว์มี
ชีวิต มีเที่ยวบินกว่า 500 เที่ยวทั่วโลกต่อสัปดาห์ ขนส่งสินค้าปริมาณกว่า 1 ล้านต้นต่อปี โดยไทยเป็นจุดหมายสำคัญของคาร์โกลักซ์ ปัจจุบันมีเที่ยวบิน
ไปกรุงเทพฯ 5 เที่ยวต่อสัปดาห์

 

การประชุม ISO/TC 217 Cosmetics ครั้งที่ 18

ในระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2562 อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็น
หัวหน้าคณะผู้แทนไทยให้กับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เช้าร่วมประชุม ISO/TC 217 Cosmetics ครั้งที่ 18 ในการประชุม
Working group 3 Analytical methods, Working group 4 : Terminology และ Working group 7 : Protection test methods โดยมีผู้แทน
ไทยจากกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

 

ความเป็นมา

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization – ISO) ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการที่ 217
ด้านเครื่องสำอาง (ISO-TC 217 Cosmetics) เพื่อจัดทำมาตรฐานสากลด้านเครื่องสำอาง โดยประเทศไทยเป็นสมาชิก P-member ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
โครงสร้างของ ISO/TC 217 ประกอบด้วยคณะทำงานด้านต่างๆ 5 คณะ ประกอบด้วย

WG 1 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Microbiological standards and limits
WG 3 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Analytical Methods
WG 4 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Terminology
WG 7 – คณะทำงานร่างมาตรฐานด้าน Sun Protection Test Methods และ CAG – คณะทำงาน Chairman advisory group

 

ผลจากการประชุม

จากการประชุมพบว่า ประเทศไทยควรส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม ISO/TC 217 ทั้งในส่วนคณะทำงานต่างๆ และ Plenary meeting อย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนพิจารณาเข้าร่วมการทดสอบ ring test ของการพัฒนาวิธีทดสอบที่เกี่ยวข้องในเครื่องสำอาง เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์และวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตลอดจนได้รับทราบข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และติดตามการทำงานของคณะกรรมการ
ได้ทันเหตุการณ์ จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของประเทศ การดำเนิงานรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
และได้ข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเพื่อเสนอข้อคิดเห็นและคัดค้านการกำหนดมาตรฐาน ที่เข้มงวดไป หรือวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์
เครื่องสำอาง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุปสรรคในการส่งออกของผู้ประกอบการไทยในอนาคตได้

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

จากการเข้าร่วมประชุมดังกล่าวหน่วยงานไทยได้รับประโยชน์ดังนี้
1. ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว
และประเทศกำลังพัฒนา
2. ได้รับทราบถึง Harmonized rule การพัฒนามาตรฐานวิธีทดสอบ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพความปลอดภัย และการพัฒนาความสามารถในการ
แข่งขันของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก
3. ได้ร่วมเสนอความเห็นและคัดค้านการกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดเกินไป หรือทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงมากซึ่งอาจ
ก่อให้เกิดอุปสรรคในการส่งออกของผู้ประกอบการไทยในอนาคตได้ และ
4. มีโอกาสร่วมอยู่ในคณะทำงานของผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศต่างๆ ในการจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เกิดการสร้างมิตรภาพ
การพัฒนาความสามารถบุคลากรไทย สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างประเทศ

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200713-newsletter-brussels-no02-feb63.pdf

เทคนิคการ copy ชื่อไฟล์ทีเดียวพร้อมกันหลายไฟล์

ในการทำงานหลายครั้งเราต้องส่งข้อมูลไปพร้อมกับภาพหลายๆ ภาพ ซึ่งถ้าภาพมีจำนวนมากจะประสบปัญหาการระบุข้อมูลกับภาพที่จะใช้ให้ตรงกัน ในบทความนี้จะเป็นเทคนิคที่จะสามารถดึงชื่อไฟล์ภาพออกมาทีเดียวหลายไฟล์ เพื่อที่จะนำไปเขียนข้อมูลประกอบได้ง่ายขึ้น

ตั้งต้นว่ามีไฟล์ภาพที่ต้องนำไปใส่คำอธิบายใน excel อยู่จำนวนหนึ่ง ชื่อไฟล์มาจากกล้องที่ถ่าย โดยถ้าหากคัดเลือกภาพแล้วเลขชื่อไฟล์จะรันข้าม ดังภาพตัวอย่าง

.

ให้ทำการ select รูปที่ต้องการ แล้วไปที่เมนู Home ตรงช่วงแถบเครื่องมือ Clipboard ให้คลิกปุ่ม copy path เป็นการเก็บ path และชื่อไฟล์มาไว้ใน Clipboard แล้ว

.

ขั้นตอนต่อไปเราจะไปวางใน excel ให้เปิดโปรแกรม excel แล้ว paste หรือวาง ในตำแหน่งที่ต้องการได้เลย จะเห็นว่าชื่อไฟล์ทั้งหมดจะปรากฏแล้ว แต่มี path ของรูปติดมาด้วย

.

ให้ทำการเอาส่วน path ที่เราไม่ต้องการออก ในที่นี้คือ C:\Users\001274\Desktop\เครื่องแต่งกายและอาวุธ\ โดยวิธีการคือ ใช้เครื่องมือ Replace อยู่ในเมนู Home ช่วงแถบเครื่องมือ Editing คลิก Find & Select เลือก Replace หรืออาจใช้ short cut Ctrl+H

.

เมื่อมีหน้าต่าง Replace ขึ้นมา ให้ใส่คำที่เราต้องการลบ ลงไปในช่อง Find what
ส่วนในช่อง Replace with ไม่ใส่ข้อความใดๆ แล้วให้กดปุ่ม Replace All ได้เลย

.

ผลลัพธ์ที่ได้ จะเหลือแค่ชื่อไฟล์ที่เราต้องการใน excel นำไปใส่ข้อมูลต่อได้

Smithsonian Open Access

Smithsonian Open Access แหล่งรวบรวมและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้และการศึกษาวิจัยในรูปแบบดิจิทัลของ Smithsonian Institution สื่อฯ ส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้ Public domain ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด แชร์ และใช้งานตามต้องการ โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

Smithsonian Open Access แหล่งรวบรวมและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้และการศึกษาวิจัยในรูปแบบดิจิทัล จากพิธภัณฑ์ 19 แห่ง ศูนย์วิจัย 9 แห่ง ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และสวนสัตว์แห่งชาติของ Smithsonian Institution สื่อฯ ส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้ Public domain โดเมนสาธารณะหรือสาธารณะสมบัติ ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด แชร์ และใช้งานตามต้องการ โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ คอลเลคชันดิจิทัลที่รวบรวมและเผยแพร่นั้น สร้าง จัดเก็บหรือดูแล โดย Smithsonian Institution เช่น รูปภาพ โมเดล ข้อความ บันทึกเสียง วิดีโอ เว็บไซต์และชุดข้อมูลการวิจัย รวมมากว่า 2 ล้านรายการ (มีแผนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง)

ผู้ใช้สามารถเข้าไปที่ Smithsonian Open Access เพื่อค้นหาสื่อการเรียนรู้และการศึกษาวิจัยในรูปแบบดิจิทัลที่ต้องการ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.si.edu/openaccess จากนั้นพิมพ์คำค้นที่ต้องการให้ช่องค้นหา ดังภาพที่ปรากฎด้านล่าง

ระบบจะแสดงจำนวนผลการสืบค้นทั้งในภาพรวมและแบ่งตามประเภทของสื่อที่ตรงกับคำค้น พร้อมตัวอย่างผลการสืบค้น ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถกรองผลการสืบค้นด้วยประเภทของสื่อ สถาบันที่สร้าง จัดเก็บหรือดูแล หัวข้อ หัวเรื่อง และปีที่สื่อถูกสร้างสรรค์ ดังภาพที่ปรากฎด้านล่าง

จากนั้นคลิกเลือกรายการสื่อที่ต้องการ โดยระบบจะแสดงข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสื่อ และเงื่อนไขการนำไปใช้ ดังภาพที่ปรากฎด้านล่าง

ผู้ใช้สามารถคลิกที่ปุ่มดาวน์โหลดด้านล่างภาพของสื่อ เพื่อดาวน์โหลดสื่อที่ต้องการ และนำไปใช้งานภายใต้เงื่อนไขการใช้งานที่กำหนด

ภาพด้านล่างแสดงข้อมูลสถิติ จำนวนการเข้าชม จำนวนสื่อที่เผยแพร่และจำนวนการดาวน์โหลด สามารถเข้าดูได้ที่ https://www.si.edu/dashboard/virtual-smithsonian

Smithsonian Institution หรือ สถาบันสมิธโซเนียน เป็นกลุ่มสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษาและพิพิธภัณฑ์ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1846 บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่าย ออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา

ค่าดัชนี i10 index

ค่า i10 index คือ ค่าดัชนีที่ใช้ในการวิเคราะห์บทความวิชาการทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณของผู้เขียน ซึ่งให้ความสำคัญกับจำนวนการอ้างอิงบทความวิชาการโดยตรง พัฒนาโดย Google Scholar เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2011 เพื่อใช้วัดจํานวนบทความวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงอย่างน้อย 10 ครั้ง

การดูค่า i10 index จำเป็นต้องดูด้วย Google Scholar ดังตัวอย่างข้อมูลของ ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

จากภาพข้างต้น ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธฯ มีค่า i10-index เท่ากับ 125 หมายความว่า ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธฯ มีบทความวิชาการ จำนวน 125 รายการ (จากจำนวนผลงานทั้งหมด) ที่ได้รับการอ้างอิงอย่างน้อย 10 ครั้ง ทั้งนี้หากพิจารณา i10-index ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา พบว่า ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธฯ มีบทความวิชาการ จำนวน 54 รายการ ที่ได้รับการอ้างอิงอย่างน้อย 10 ครั้ง

จุดเด่นของ i10-index คือ ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย และตรงไปตรงมาในการคำนวณ สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จาก Google Scholar ขณะที่ข้อจำกัด คือ ใช้เฉพาะใน Google Scholar

กลยุทธ์ 3 รู้สู่ SEO

เว็บไซต์ใดที่สามารถติดอันดับการค้นหาผ่าน Google ได้ในหน้าแรก เปรียบเสมือนเป็นสุดยอดแห่งการสร้างมูลค่าของเว็บไซต์และการตอบโจทย์ทางธุรกิจ เนื่องจากจะได้เป็นเป้าหมายแรกๆ ของกลุ่มเป้าหมายที่เลือกเข้าถึงเว็บไซต์หรือบริการของคุณ แต่การที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาผ่าน Google ได้ เราต้องใช้หลักการหรือแนวทางในเชิงเทคนิคของการจัดทำอันดับบนเว็บไซต์ตามแนวทางหรือกติกาของ Google เราเรียกเทคนิคนี้ว่า Search Engine Optimize หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า SEO

การทำ SEO ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการ Social Marketing มีกระบวนการแนะนำหรือแนะแนวที่หลากหลายแตกต่างกันไปล้อตามแนวทางของ Google “ที่ปรับเปลี่ยนทุกปีหรือทุกไตรมาส” มีทั้งการแนะนำในแบบสายขาว หมายถึง ทำแบบโปร่งใสล้อตามกฎกติกาของ Google ตรงประเด็นแต่เห็นผลช้าไม่ทันใจ  และสายเทาดำ ที่เน้นกลยุทธ์ที่ไม่โปร่งใสเพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าย่อมไม่เป็นผลดีกับเว็บไซต์ที่เข้าสู่สายเทาดำอย่างแน่นอน เนื่องจากอาจจะทำให้ถูก Black List หรือส่งผลให้ไม่ถูกจัดอันดับบนหน้า Google เลยทีเดียว

บทความนี้ผู้เขียนจึงอยากจะขอแนะนำผู้อ่านให้เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำ SEO ที่อ้างอิงจากคำแนะนำของ Google  (https://support.google.com/webmasters/answer/7451184?hl=en)  เพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับมือใหม่ไปจนถึงผู้ที่ต้องการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ตนเองในแบบยั่งยืน พร้อมทั้งเพิ่มเติมสิ่งที่ควรเรียนรู้และคำนึงถึงจากประสบการณ์ของผู้เขียน ขอเรียกว่า “กลยุทธ์ 3 รู้สู่ SEO” ครับ แบ่งตามหัวข้อและรายละเอียด ดังนี้

1. เตรียมความพร้อมส่วนของเนื้อหาในเว็บไซต์ (รู้เรา)

สิ่งที่ Google ให้ความสำคัญที่สุดคือ “Content คุณภาพ”  หมายถึง บทความหรือข้อมูลบนเว็บไซต์ ที่สร้างคุณค่าให้กับผู้ชมที่เข้าถึงเว็บไซต์ของคุณ สิ่งเหล่านี้เป็นที่โปรดปรานของ Google Bot ให้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ของคุณเป็นอย่างมาก เนื่องจากค่าคะแนนที่ได้จะส่งผลให้อันดับของเว็บไซต์คุณสูงขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมในข้อ 1 เพื่อให้ได้ Content คุณภาพ มี 8 ข้อหลักที่ใช้ได้เสมอ มีดังนี้

1.1  ให้ความสำคัญกับ TAG  <title>  </title>  ใส่ให้ชัดเจนเหมือนพาดหัวข่าว และเนื้อหาภายในควรสอดคล้องกับ Title ดังกล่าว จะทำให้คะแนนเว็บไซต์ของคุณเพิ่มขึ้น ไม่ควรพาดหัวอย่างหนึ่งแต่เนื้อหาภายในกลับเป็นอีกอย่าง หากทำแบบนั้นคะแนนเว็บไซต์การจัดอันดับของคุณอาจถูกลด คุณค่าของ Content จากกลุ่มเป้าหมายของคุณก็ถูกมองให้ด้อยค่าลงด้วยเช่นกัน

1.2  ให้ความสำคัญกับ TAG <meta name =”Description”>  เปรียบเสมือนคำอธิบายสั้นๆ ของหน้า content ของคุณ Google Bot จะใช้ Description นี้เพื่อวางรายละเอียดสั้นๆ ของหน้าเว็บไซต์คุณบนการแสดงผลการค้นหา อย่าละเลยการให้รายละเอียดบน Description ที่เหมือนเป็นหัวใจของการจัดอันดับ สิ่งต้องห้ามของผู้ที่จัดทำ SEO ใน TAG ต่างๆ คือการ copy ข้อมูลชุดเดียวกัน ที่มี keyword ซ้ำๆ มาวางไว้ใน description ของแต่ละหน้า นั่นทำให้เว็บไซต์ของคุณด้อยค่าและไม่จริงใจกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3  ให้ความสำคัญกับ TAG <meta name=”keywords”>  เพราะเปรียบเสมือน index หรือสารบัญของเว็บไซต์ของคุณ ควรใช้คำที่สื่อความหมายและสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่คุณมีในเว็บไซต์นั้น เช่นคุณเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ คุณไม่ควรใช้ keyword ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น อาหาร,น้ำอัดลม, เชื้อชาติ, ความคิด   จากตัวอย่างคุณจะพบว่า แม้วิทยาศาสตร์จะครอบคลุมในหลาย keyword ก็จริง แต่ความสอดคล้องใน keyword พิจารณาแล้วดูไม่เป็นธรรมชาติ ส่อเจตนาที่ไม่โปร่งใสหรือไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร

1.4  อย่าใช้คำ title หรือ keyword ที่ซ้ำๆ เพื่อหวังอันดับที่เพิ่มขึ้น หรือใช้คำยาวๆ ที่มี keyword ของ title ปนอยู่ภายในหัวข้อบทความเป็นปริมาณมาก เพราะนั่นจะทำให้คุณเข้าข่ายเจตนา Spam คำเพื่อหวังอันดับและส่งผลร้ายต่อคะแนนการจัดอันดับของคุณ

1.5 จัดทำ Sitemap ให้กับเว็บไซต์ของคุณ   หลายคนมองข้ามการจัดทำ  Sitemap  แท้จริงแล้วสิ่งนี้เป็นการสร้างการเชื่อมโยง Content ภายในเว็บไซต์ เป็นการสร้าง Link ที่มีคุณภาพระหว่างหน้า เป็นการสร้างการเพิ่มปริมาณการ Click  อีกทั้งยังสร้างความรวดเร็วในการเก็บข้อมูลของ Google Bot ต่อเว็บไซต์ของคุณ สิ่งที่ไม่ควรทำโดยเด็ดขาดของ Site map คือการสร้าง link อย่างซับซ้อน เช่น ลิ้งก์ทุกๆ หน้าในเว็บไปยังหน้าอื่นๆ ทุกหน้า หรือแบ่งเนื้อหาจนละเอียดกว่าจะเข้าถึงเว็บไซต์ที่ต้องการ  ยกตัวอย่างเช่น ต้องคลิกกว่า 20 ครั้งเพื่อจะไปพบเนื้อหาที่ต้องการจากหน้าแรก เป็นต้น เหล่านี้เป็นการสร้างเจตนาที่ไม่ตรงไปตรงมากับการจัดอันดับในเว็บไซต์ของคุณ

1.6 จัดทำ Url ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านได้ในภาษามนุษย์หรือสอดคล้องกับหน้าที่สื่อสาร  เพราะ Url ของเว็บไซต์เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการบอกให้กับ Google Bot เรียนรู้รายละเอียดของ Content เป็นการเพิ่มคะแนนให้กับการจัดอันดับของคุณ ยกตัวอย่าง url ที่ google bot ยอมรับและนำมาประกอบการพิจารณาได้ดีกว่า เช่น http://www.sciencelab.con/2020/gravity-theory-2020.html  ส่วนที่ไม่ควรทำ เช่น http://www.sciencelab.con/scdgwc/site2.html  จะเห็นได้ว่า URL ไม่สื่อกับการทำความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายและ google bot

1.7  ถ้าหากใช้รูปภาพ อย่าลืมใช้ TAG alt   เพราะไฟล์รูปภาพไม่สื่อความหมายในการเก็บข้อมูลของ Google Bot โดยเฉพาะภาพที่อาจใช้ไฟล์เพียง img.jpg , pict1.jpg เหล่านี้ไม่สร้างคุณค่าหรืออันดับกับเว็บไซต์ จำไว้ครับว่า เมื่อใดก็ตามมีภาพ คุณควรใช้ชื่อภาพสื่อกับเนื้อหา  เช่น คุณมีภาพม้าสีน้ำตาล คุณควรตั้งชื่อว่า horse-brown.jpg และใช้ alt = ‘ม้าสีน้ำตาล’  <img src = ‘horse-brown.jpg’ alt = ‘ม้าสีน้ำตาล’>  จากตัวอย่างนี้ จะทำให้ Google bot รับรู้คำที่สื่อความหมาย สร้างคำใน index เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณมีคุณค่ามากขึ้นครับ

1.8  อย่ามีเนื้อหาเพียงหยิบมือแต่โฆษณาจนล้นหน้า   เราอาจเคยเจอเว็บไซต์ทีเขียนเนื้อหาพาดหัวเหมือนข่าวที่น่าสนใจจนอยากคลิกอ่าน แต่เมื่อมาถึงเว็บไซต์จริงพบว่าเนื้อหามีเพียงน้อยนิดหรืออาจลอกมาจากที่อื่น ที่สำคัญกลับมีโฆษณามากมายปรากฏอยู่เต็มเว็บไซต์ สิ่งเหล่านี้ทาง Google ถือว่าเป็นเจตนาแอบแฝงที่ส่งผลร้ายต่อผู้กลุ่มผู้ใช้งานและบั่นทอนคุณภาพของสังคมที่สร้าง Content คุณภาพให้เสียหาย คุณจะถูกลดอันดับการค้นหาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ข้อนี้ห้ามเด็ดขาดครับ ที่สำคัญหากเจอเว็บไซต์เหล่านี้คุณไม่ควรคลิกเข้าไปให้เปลืองอินเทอร์เน็ตหรือทรัพยากรใดๆ ของคุณ เพราะเป็นการส่งเสริมการสร้าง content ที่ผิด อาจมีไวรัสหรือโทรจันเป็นของแถมให้คุณอีกด้วย

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของเว็บไซต์ของคุณ จำกัดความด้วยคำว่า Content Is The King ครับ  และต้องเป็น Content ที่มีประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย ได้ใจความ มีเนื้อหาที่ไม่น้อยจนเกินไป จริงใจ และไม่หลอกลวงขายโฆษณา นี่คือสิ่งที่จะทำให้กลยุทธ์ รู้เรา ยั่งยืน และทำอันดับได้อย่างรวดเร็ว

2. เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (รู้เขา)

การทำ SEO จะประสบความสำเร็จไม่ได้ หากคุณไม่ทราบว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร มีสไตล์การอ่าน การเรียนรู้ content แบบใด เหมือนอยากขายเรือแต่ลูกค้าคุณอยู่ทะเลทราย ไม่มีวันที่คุณจะถึงเป้าหมายได้แน่นอน สิ่งที่คุณควรใส่ใจในประเด็นนี้ ได้แก่

2.1 เข้าใจกลุ่มเป้าหมายด้วยเนื้อหาที่ตรงใจ    เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากมายอาจมีเนื้อหาไม่มากนัก แต่ประกอบไปด้วย การเขียนที่ตอบโจทย์ วีดีโอที่สั้นกระชับ เนื้อหาตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสไตล์ของการนำเสนอที่คุณควรมองลูกค้าเป็นหลัก และเป็นสิ่งที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีเสน่ห์น่าติดตาม

2.2 นำเสนอแบบแปลกใหม่ตามกระแสบ้าง   เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว การนำเสนอของคุณแบบเดิมอาจไม่โดนใจลูกค้าหน้าใหม่หรือหน้าเดิม คุณควรใช้กระแสสังคมมาปรับเปลี่ยนการนำเสนอ สร้าง viral ยอดฮิตบ้าง เช่น  นักวิจัย สวทช. บางท่านก็ใช้การ Rap มาอธิบายกฎวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจอย่างง่ายๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สร้างความประทับใจใหม่ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ดีเสมอ

2.3  มีกิจกรรมหรือการ interactive กับสมาชิก   ยุคสมัยนี้การ interactive หรือการทำกิจกรรมออนไลน์ร่วมกัน เป็นการสร้างฐานหรืออันดับของเว็บไซต์ได้อย่างดี การแชร์กิจกรรมผ่านเว็บไซต์ เป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างช่องทางหรืออันดับให้กับเว็บไซต์ของคุณ ที่สำคัญคุณควรรับผิดชอบกิจกรรมนั้นอย่างตรงไปตรงมา มีหลายเว็บไซต์ ที่มีกิจกรรมแชร์หรือให้รางวัลแต่ท้ายสุดกลับยกเลิกหรือไม่ทำกิจกรรมต่อ ส่งผลร้ายแรงต่อความเชื่อถือและนำมาซึ่งผลลบต่ออันดับเว็บไซต์ของคุณ

2.4  วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ   เมื่อคุณสำรวจสถิติการเข้าถึงเว็บไซต์จากกลุ่มเป้าหมาย คุณจะพบกลุ่มลูกค้าและความต้องการที่หลากหลาย อย่าลืมเก็บสถิติเหล่านี้มาวิเคราะห์เพิ่มเติม เพราะนั่นคือสิ่งที่คุณจะได้เปรียบมากชึ้น ปัจจุบันมีเครื่องมือการเก็บสถิติที่หลากหลาย เช่น google analytic หรือ truehits เป็นต้น อย่าลืมนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์นะครับ

ในการรู้เขา ยังมีอีกหลายกลยุทธ์มากที่คุณสามารถประยุกต์ใช้ได้ หลักสำคัญคือ อย่าลืมใส่ใจกลุ่มลูกค้าและพลิกแพลงการนำเสนอให้ไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่าย นี่คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้อันดับเว็บไซต์ของคุณยั่งยืนจากสมาชิกของคุณที่จะทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆ ครับ

3. เข้าใจเทคนิคและคำศัพท์ในการทำ SEO (รู้กลยุทธ)

หัวข้อนี้จะเป็นส่วน Advance สำหรับผู้ทำ SEO ที่จะต้องเข้าใจคำศัพท์และเทคนิคที่เกี่ยวข้องสำหรับการทำ SEO โดยผู้เขียนจะเลือกสิ่งที่ควรทำและศัพท์ที่ควรจำมาไว้ในหัวข้อนี้ในแบบรวบรัด มีรายละเอียดดังนี้ครับ

3.1  Mobile Friendly & Access Time    เทคนิคสำคัญที่คุณควรออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับ Smart Device พร้อมทั้งคำนึงถึงการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่กินเวลานาน (โหลดเว็บเสร็จอ่าน content ได้ ควรไม่เกิน 3 วินาที ) เพราะเว็บไซต์ที่รองรับหลาย Device ที่สามารถโหลดได้รวดเร็ว ผู้ใช้งานได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยเร็ว จะสร้างความประทับใจและการเข้าถึงใหม่ๆ อยู่เสมอ มีหลายเว็บไซต์ที่ละเลยข้อนี้ ทำให้ฐานลูกค้าบน Smart Device หายไปมาก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ในยุคปัจจุบัน

3.2 ติดตั้ง google search console   ถ้าคุณมีสิทธิ์ในการติดตั้งบนเว็บไซต์ของคุณ ขอแนะนำให้ติดตั้ง Google Search Console ไว้บนเว็บไซต์ โดยการติดตั้งทำเพียงการสร้างไฟล์ที่ google แนะนำไว้บนเว็บไซต์ของคุณเท่านั้นครับ  ที่ต้องแนะนำกันก็เพราะ Google Search Console เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ Google เรียนรู้ข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณโดยตรงได้ง่ายขึ้น เราสามารถส่งข้อมูล Site Map โดยตรงไปหา Google Bot อีกทั้งยังมีข้อมูลวิเคราะห์ เทคนิคใหม่ ๆ ให้คุณได้นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้กับเว็บไซต์ของคุณได้ทันที  เหมาะอย่างยิ่งกับกลยุทธ์ รู้เขา ที่ผู้เขียนได้กล่าวมา ที่สำคัญ ปลอดภัย  เพราะมาจาก google เอง

3.3 การเข้าสู่ SEO เต็มตัวด้วยการโฆษณาแบบเสียเงินกับ Google   หากคุณสนใจข้อนี้ นั่นแปลว่าคุณเน้นทางลัดการติดอันดับโดยเลือกมีค่าใช้จ่ายการทำ SEO  ซึ่งจะต้องมีทุนในการโปรโมทธุรกิจ  คุณต้องเข้าใจการคำนวณหาราคาที่พร้อมจะจ่าย ต้องเรียนรู้ศัพท์และเทคนิคที่ควรรู้ก่อนการเข้าสู่การโปรโมทเว็บไซต์ของคุณ  หัวข้อนี้ผู้เขียนอยากแนะนำหลักการและศัพท์เทคนิคที่ควรรู้สำหร้บมือใหม่ที่สนใจจะทำ SEO ในหัวข้อนี้ ดังนี้ครับ

3.3.1  การกำหนด Keyword Difficult ผ่าน tool ต่างๆ  เพื่อประเมินว่า คำที่เราจะนำไปทำ SEO นั้น มีผลลัพธ์มากน้อยเพียงใด แล้วนำไปวิเคราะห์ต่อใน Google Adwords เพื่อวิเคราะห์ปริมาณการค้นหาและค่าใช้จ่าย คุณสามารถปรับปรุง keyword ให้มีปริมาณการแข่งขันที่น้อยลง เพิ่มหรือลดงบประมาณการโปรโมทพร้อมระยะเวลาในการโปรโมทเว็บไซต์ได้

3.3.2  การเข้าใจ Adtext และ Quality Score   เมื่อคุณตัดสินใจจ่ายเงินเพื่อการโปรโมท คุณจะได้ keyword ที่คุณต้องการ ผมแนะนำให้คุณใช้ keyword มาประกอบกับ Adtext (เป็นสิ่งที่ทาง Google Adwords มีให้เรากำหนด ) เพื่อให้การค้นหาสอดคล้องกับ Keywords ซึ่งนั้นจะเพิ่มค่า Quality Score ให้กับการโปรโมท ทำให้ค้นหาได้มากครั้งขึ้น ส่งผลให้ค่า CTR (Click Through Rate) สูงขึ้น ใช้วัดผลได้ว่า เราซื้อโฆษณาถูก Keyword ผู้ชมค้นหาเว็บไซต์เราตรงจุด และประหยัดค่าใช้จ่ายในการโปรโมทด้วย และยังมีคำศัพท์อื่นๆ ที่คุณต้องเรียนรู้อีกมากครับ เช่น impressions, Clicks,  CPC, CPL เป็นต้น แต่ขอไม่พูดถึงในที่นี้ เพราะสิ่งที่สำคัญสุดคือการกำหนด keywords ที่ดี จะนำมาซึ่งค่าต่าง ๆ ที่ดีครับ

3.3.3 เข้าใจศัพท์ที่เป็นตัวแปรส่งผลดีกับเว็บไซต์  แม้คุณจะเป็นสายใช้เงินหรือสายฟรีแบบถูกต้อง สิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญคือ ควรเข้าใจในคำศัพท์ที่เป็นตัวแปรหลักๆ  สำหรับการทำ SEO  ดังนี้ครับ

  • Organic Keywords  หมายถึง คำสำคัญหรือ Keyword ที่เป็นปลายเปิด เหมาะสำหรับการดึง traffic มากๆ เข้าสู่เว็บไซต์ เช่น หาก keyword เราคือ กล้วย  organic keyword อาจเป็น กิน กล้วย , ปลูก กล้วย,  กล้วย  น้ำว้า เป็นต้น คุณจะพบว่า มีคีย์เวิร์ดปนอยู่ในคำที่สอดคล้องในแนวทางเดียวกันโดยไม่เป็นเจตนาแสปม เหล่านี้จะสร้าง traffic การเข้าเว็บไซต์ของคุณ เมื่อมีการค้นหาผ่าน google
  • Organic Traffic  คือการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณจากการค้นหาผ่าน google  หรือการ link เข้าถึงเว็บไซต์โดยตรงผ่าน url ถือเป็นค่าคะแนนที่สำคัญสำหรับการเพิ่มอันดับของคุณ
  • Domain Authority (DA) เป็นค่าการวัดความนิยมของโดเมนเพื่อใช้ในการคิดคะแนนอันดับ ถึงแม้จะมีหลักการมากมายอธิบายว่าการวัด DA ต้องทำในหลายหมวดหมู่ แต่ผู้เขียนขอแนะนำว่า การทำ Content ที่ดี มีความเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ รวมถึงอายุโดเมนที่ยาวนาน คือปัจจัยสำคัญในการทำให้ค่า DA มีคะแนนสูง
  • Page Authority  (PA)  มีความคล้ายกับ DA แต่เป็นการวัดความนิยมของหน้าเพจแต่ละเพจในด้านการเข้าถึง การมีคุณภาพของ content และอีกหลายปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา สูตรสำเร็จคือการสร้าง Content ที่ดี จะทำให้ค่า PA มีคะแนนที่สูงเช่นกัน
  • Ahrefs Rank (AR)  คุณอาจจะเคยได้รับการแนะนำว่าควรแลก link ไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อการสร้าง back link และ Traffic ที่มากขึ้นให้กับเว็บไซต์ของคุณเพื่อการไต่อันดับบนหน้า google แต่ปัญหาคือ เว็บไซต์เหล่านั้นดีและมีคุณภาพพอในการนำมาพิจารณาคะแนนอันดับหรือไม่  มีหลายแห่งไม่สนใจ AR Traffic ที่มาจากแหล่งสีเทาหรือเว็บไซต์ที่ไม่ถูกต้อง เช่น เว็บไซต์ที่เปิดมาเพื่อการแลก Link หรือมีเจตนาเพียงหวังเพิ่ม traffic โดยไม่หวังด้านคุณภาพอื่นๆ  เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ google ลดทอนอันดับคุณภาพ link ของเว็บไซต์ของคุณ ต้องระวังนะครับ

คำศัพท์ต่างๆ ที่ยกมาเป็นเพียงส่วนย่อย แต่ต้องคำนึงถึงบ่อยๆ ครับ ทุกวันนี้การเพิ่มเติมตัวแปรหรือคำศัพท์เพื่อใช้ในการจัดอันดับมีมาก แต่สิ่งที่ผู้เขียนย้ำเสมอคือ หาก content คุณดีและมีคุณภาพ คุณไม่ต้องกังวลเรื่องเหล่านี้ให้มากนักครับ

3.3.4  การวัดผลเชิงสถิติหลังการโปรโมท   อย่าลืมใช้ google analytic หรือ google search console เพื่อการวัดสถิติหลังการทำ SEO  ทั้งแบบเสียเงินหรือแบบฟรี เพราะนี่เป็นสิ่งที่ใช้วัดความสำเร็จหลังจากการทุ่มเทอย่างหนักของคุณทั้งก่อนและหลังการเข้าสู่ SEO ครับ

บทสรุป   ถึงแม้ Google จะเปลี่ยนกฎกติกาหลายอย่างเพื่อการจัดอันดับ Ranking บนเว็บไซต์ ซึ่งโดยหลักการแล้วจะปรับเพื่อป้องกันการโกงหรือปรับให้มีความยุติธรรมในการจัดอันดับมากขึ้นผ่าน algorithm และกติกาใหม่ๆ แน่นอนว่าผู้ทำ SEO ต้องใส่ใจและศึกษาเป็นแนวทาง แต่สิ่งที่ทาง Google เองย้ำเสมอคือการสร้าง Content ที่ดี โปร่งใส เข้าถึงง่าย ปลอดภัย และมีคุณภาพ นั่นต่างหากครับเป็นแนวทางที่ถูกต้องและยั่งยืนเสมอ บทความนี้ผู้เขียนจึงอยากจะขอสรุปแนวทางที่ยั่งยืนมาเป็นแบบฉบับรวบรัดและหวังว่าผู้สนใจการทำ SEO ทั้งมือใหม่และมือเก่าจะได้นำไปพิจารณาเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ท้ายสุดนี้ผู้เขียนก็นึกถึงคำสุภาษิตของไทย ที่น่าจะใช้ได้กับโลก SEO ครับคือ “สวยแต่รูป จูบไม่หอม”  ย่อมไม่ยั่งยืน (อันนี้เติมเอง ^^)

ชัยวุฒิ สีทา

ภาพฟรีถูกลิขสิทธิ์จาก pixabay.com  https://pixabay.com/illustrations/seo-analysis-online-1327870/

คู่มือการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นวิศวกรรม

การจัดกิจกรรมการเรียนให้บรรดวัตถุประสงค์ตามแนวทางของหนังสือเล่มนี้ “ผู้สอนควรระลึกเสมอว่าป้าหมาย คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ขั้นตอน วิธีการ และมีประสบการณ์ การออกแบบและสร้างสิ่งใหม่หรือแปลกจากเดิมและมีคุณค่า ซึ่งเรียกว่า “นวัตกรรม” รวมทั้งเกิดแรงบันดาลใจที่จะมีอาชีพวิศวกรและอาชีพนวัตกรในอนาคต ด้วยเหตุนี้ การเรียนการสอนจึงควรนั้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ใน “กระบวนการพัฒนานวัตกรรม” อย่างครบถ้วน ผ่านกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงานจริง ที่เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงานระดับสูง เงินลงทุนมาก ใช้เวลานาน เกินศักยภาพของผู้เรียน จนเกิดปัญหาหรือความเครียดในระหว่างทำงาน ส่งผลให้ผู้เรียนเกิตความทรงจำด้านลบ”

ดาวน์โหลดหนังสือ 
 คลิกที่นี่เพื่อแสดงผลในรูปแบบ e-Book แบบ Flip

การจัดการคอลเลคชันของหอจดหมายเหตุในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

แนวทางการจัดการคอลเลคชันเอกสารจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหราชอาณาจักร (National Archives of UK) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

การรักษาความปลอดภัยและมั่นคงของคอลเลคชันจดหมายเหตุ

คำแนะนำเรื่องการรักษาความปลอดภัยและมั่นคงของคอลเลคชันจดหมายเหตุ ได้แก่

  1. ควรมีการตรวจสอบ ณ สถานที่ที่ดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอเท่าที่จะทำได้ รวมถึง digital storage หากไม่สามารถโฮสต์จากระยะไกลได้ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลเกี่ยวกับการเดินทางด้วยการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและงานที่จำเป็น
  2. สร้างการเชื่อมโยงและการเตรียมการการทำงานกับทีมจัดการสถานที่และ/หรืออุปกรณ์และความมั่นคง รวมถึงผู้ให้บริการไอที ในกรณีที่จำเป็น
  3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัญญาณเตือนต่างๆ ทำงาน และ สังเกตและตรวจสอบ (ควัน/ไฟไหม้/ผู้บุกรุก/การรั่วไหล) ด้วยขั้นตอนการตอบสนองที่เหมาะสม รวมถึงดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องว่าระบบตรวจจับและสัญญาณเตือนต่างๆ ทำงานอยู่ ยังคงเชื่อมต่อกับหน่วยงานที่ถูกต้อง และกระตุ้นการตอบสนอง เมื่อจำเป็น
  4. สังเกตและตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการจัดการอาคารจากระยะไกล หากเป็นไปได้
  5. อัพเดทแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน
  6. สร้างความตระหนักภายในหน่วยงานแม่เรื่องความเสี่ยงและการบรรเทา
  7. ติดต่อกับผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็นบุคคลที่สามและประเมินความเหมาะสมของกระบวนของผู้ให้บริการดังกล่าว รวมถึงการรักษาความมั่นคงและการเตรียมความต่อเนื่องทางธุรกิจ

National Archives ไม่สนับสนุนการเคลื่อนย้ายเอกสารจดหมายเหตุจากสถานที่ที่ใช้ดำเนินการจัดเก็บเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานที่บ้าน เนื่องจากมีความเสี่ยงมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายเอกสารไปยังสถานที่ที่ไม่เหมาะสม ความเสี่ยงจากการสูญเสียหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากไฟไหม้ น้ำท่วม ศัตรูพืช การจัดการที่ไม่ถูกต้อง การแยกตัวการดำเนินการ และเงื่อนไขสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูลที่ละเอียดอ่อน และการเคลื่อนย้ายอาจขัดแย้งกับข้อตกลงการฝาก เงื่อนไขการให้และการประกันเอกสาร

คอลเลคชันดิจิทัล

การตรวจสอบอัตโนมัติเกี่ยวกับความถูกต้องของเอกสารดิจิทัลควรดำเนินการต่อเนื่อง ในวิกฤตนี้นับเป็นโอกาสที่หน่วยงานจะได้พิจารณานโยบายและการปฏิบัติเกี่ยวกับคอลเลคชันดิจิทัล ทั้งในแง่ของการเข้าถึงไฟล์จากระยะไกล การแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปดิจิทัล และ ไฟล์ที่เกิดจากและอยู่ในรูปแบบของดิจิทัลตั้งแต่แรก (born-digital files รวมถึงกระบวนการเกี่ยวกับไฟล์ดิจิทัล (เช่น การขาย สิทธิ์ใช้งาน และการเข้าถึง) อาจต้องการทดสอบด้วยเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ การขยายกิจกรรมโซเชียลมีเดียของหน่วยงานและการเปลี่ยนวิธีที่อธิบายและสำรวจคอลเล็คชันในพื้นที่ออนไลน์ ผ่านช่องทางที่มีอยู่หรือช่องทางใหม่

การลาพักของพนักงาน

หน่วยงานอาจกำลังพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้พนักงานลาพักภายใต้การคุ้มครองในช่วงสถานการณ์ของ COVID-19 ทั้งนี้มีปัจจัยที่ควรพิจารณา ได้แก่

  1. ข้อกำหนดที่กำลังดำเนินการเพื่อความมั่นคงและการสงวนรักษาของคอลเลคชันในช่วงระยะเวลาลาพัก
  2. การให้พนักงานมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการเตรียมการชั่วคราวก่อนการลาพัก
  3. ความพร้อมอย่างต่อเนื่องของพนักงานเชี่ยวชาญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เช่น นักอนุรักษ์) เพื่อดูแลคอลเลคชันอย่างต่อเนื่อง
  4. การรักษาความสามารถของหน่วยงานในการตอบสนองฉุกเฉินและการกู้คืนจากความเสียหาย
  5. ขอบเขตที่ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์
  6. ข้อกำหนดภายในหน่วยงานสำหรับการตอบข้อซักถามภายใต้กฎหมายข้อมูล

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำเรื่องการคำนึงถึงสวัสดิภาพของพนักงานเกี่ยวกับการลาพักและวิธีที่พนักงานสามารถถูกเรียกตัวกลับคืนได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีผลกระทบต่อคอลเลคชัน อีกทั้งหน่วยงานควรพิจารณาการตั้งค่าการตอบกลับอัตโนมัติเพื่อนำผู้สอบถามไปยังแหล่งข้อมูลออนไลน์และข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของหอจดหมายเหตุ

Places of deposit หรือ local archive services

Places of deposit หรือ local archive services อาจปิดหรือลดบริการเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากคำแนะนำด้านสาธารณสุขหรือการตัดสินใจในการจัดการความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ National Archives ยังคงขอให้ Places of deposit ดูแลเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและมั่นคงของคอลเลคชั่นในช่วงเวลาปิดทำการ รวมถึงการขอให้ Places of deposit แจ้งให้ทราบถึงแผนการปิดหรือการแก้ไขเพื่อดำเนินงานล่วงหน้าหากเป็นไปได้ ทั้งนี้ยังคงรักษาการติดต่อสื่อสารและการให้คำแนะนำตามปกติแก่หน่วยงานบริการเอกสารจดหมายเหตุ ผ่านอีเมล

การโอนย้ายเอกสารกระดาษ

การโอนย้ายเอกสารกระดาษไปยัง National Archives ถูกระงับจนกว่าจะมีการแจ้งให้ทราบ โดย Transferring body ไม่ถูกคาดหวังให้ส่ง deposit ไปยังหอจดหมายเหตุจนกว่าสถานการณ์นี้จะเปลี่ยนไป และ Places of deposit ก็ไม่ถูกคาดหวังว่าจะต้องยอมรับ

การส่งคืนเอกสารราชการชั่วคราว

การเข้าถึงสามารถดำเนินการได้สำหรับการร้องขอฉุกเฉินถ้าหากปลอดภัยที่จะดำเนินการ หาก Places of deposit ประสบปัญหากับคำร้องการส่งคืนเอกสารราชการ เรื่องนี้ควรถูกนำเสนอเพื่อการดูแลของ National Archives และการค้นหาวิธีแก้ปัญหา

การยืมเอกสารราชการ

Places of deposit ที่มีเอกสารอยู่ระหว่างการยืมกับสถาบันอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ เช่น การจัดแสดงนิทรรศการ หรือการสนับสนุนการสอบถามข้อมูลทางกฎหมาย ควรรักษาการติดต่อกับสถาบันที่ยืมเอกสาร ผู้ให้ยืมเอกสารควรขอคำรับรองเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม และขอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการใดๆ ทั้งนี้ในกรณีที่เอกสารถูกยืมไปเพื่อการจัดแสดงนิทรรศการ เอกสารดังกล่าวควรถูกยกเลิกการติดตั้งจัดแสดงและเก็บไว้ในสถานที่เก็บที่ปลอดภัย แต่หากเป็นไปไม่ได้ เอกสารดังกล่าวสามารถเก็บไว้ในตู้จัดแสดงนิทรรศการได้ โดยมีเงื่อนไขเรื่องความปลอดภัยและการจัดการระดับแสง ไม่ควรพยายามนำเอกสารที่อยู่ระหว่างการยืมกลับคืนสถาบันที่ให้ยืม จนกว่าสถาบันที่ให้ยืมและสถาบันที่ยืมมั่นใจในการดำเนินการและมีการขนส่งที่เหมาะสม

การดูแลรักษาเอกสารกระดาษ

National Archives ไม่ได้ให้คำแนะนำแก่ Transferring bodies ในการดำเนินการดูแลรักษา หรือ Treatment เอกสารกระดาษเป็นพิเศษหรือเฉพาะ เช่น การทำความสะอาดที่มากกว่าแบบปกติก่อนการถ่ายโอนเอกสาร เอกสารที่อยู่ใน Deposit สามารถถูกจัดการในวิธีปกติ

อัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 สำหรับหน่วยงานรัฐบาล

National Archives ผลิตคำแนะนำและแนวทางสำหรับหน่วยงานรัฐบาล องค์กรอื่นๆ ที่ครอบคลุมโดย Public Records Act ในรูปแบบของ FAQ ซึ่งคำแนะนำนี้ปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ และอาจเป็นที่สนใจของ Places of deposit และจดหมายเหตุอื่นๆ

ที่มา