เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการที่ยอมรับได้

ในการตรวจสอบความคล้ายคลึงกันของผลงานเขียนทางวิชาการ เช่น บทความวิจัย บทความวิชาการ ไปจนถึงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อช่วยในการตรวจสอบนั้น คำถามหนึ่งที่มักพบ คือ มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานเขียนที่เป็นมาตรฐานหรือเป็นที่ยอมรับร่วมกันหรือไม่ และ เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันควรมีค่าสูงและต่ำที่เท่าไหร่จึงจะถือว่าผ่านหรือไม่ผ่านการพิจารณาว่าคัดลอกหรือลอกเลียนแบบผลงานเขียนของคนอื่น…ในบทความนี้ขอเสนอข้อมูลเรื่องนี้จากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่า ฝั่งที่หนึ่ง ระบุว่า ไม่มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการที่แน่นอน ที่กำหนดว่าเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่จึงจะถือว่าเป็นการคัดลอกหรือลอกเลียนแบบผลงานของคนอื่น เช่น

  • School of Public Health ของ University of Texas ที่ระบุในเอกสารแนะนำการใช้งานโปรแกรม Turnitin สำหรับนักศึกษาภายในสถาบันว่า ไม่มีการกำหนดเปอร์เซ็นต์การจับคู่หรือเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานในโปรแกรม Turnitin ที่สถาบันใช้ เพื่อระบุว่างานใดคัดลอกหรือไม่คัดลอกงานคนอื่นๆ ความคล้ายคลึงกันของผลงานที่ 40% อาจเป็นที่ยอมรับได้ ตราบใดที่งานนั้นนำเสนอและอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง ในทางตรงกันข้าม ความคล้ายคลึงกันของผลงานเพียง 4% อาจเป็นการคัดลอกงานคนอื่นๆ หากไม่มีการอ้างอิงที่ถูกต้องและเหมาะสม อ้างอิง
  • ในทำนองเดียวกัน La Trobe University ระบุในคำแนะนำสำหรับการอ่านรายงานของโปรแกรม iThenticate ที่ใช้ในสถาบันว่า ไม่มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันที่สูงสุดหรือต่ำสุดของผลงานเขียนที่เป็นมาตรฐานหรือยอมรับร่วมกัน เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันที่สูงไม่จำเป็นต้องบ่งชี้ถึงการลอกเลียนผลงานหรือรูปแบบอื่น ๆ ของความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ และ เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันที่ต่ำก็ไม่จำเป็นต้องบ่งชี้ว่าผลงานเขียนนั้นจะไม่มีปัญหาเรื่องการลอกเลียนผลงาน ทั้งนี้สาขาวิชาและประเภทของการเขียนเชิงวิชาการที่แตกต่างกันอาจมีความคาดหวังที่แตกต่างกันและมีข้อตกลงเกี่ยวกับการอ้างอิงที่แตกต่างกัน อ้างอิง
  • เช่นเดียวกัน University of Reading อ้างอิง และ University of Brighton อ้างอิง ที่ระบุว่า ไม่มีการกำหนดความเหมาะสมสำหรับเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงาน งานของนักศึกษาจะต้องมีคำบางคำจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทและความยาวของงานที่ได้รับมอบหมายและข้อกำหนดของงานที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบความคล้ายคลึงกันแม้จะมีโปรแกรม Turnitin เข้ามาช่วย แต่จะต้องได้รับการตรวจสอบโดยการเปิดผลงานของนักศึกษาเพื่อพิจารณาทั้งโดยรวมและรายละเอียด
  • ในส่วนของสำนักพิมพ์ เช่น Springer ได้ระบุในจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานประเภทวารสารว่า การพิจารณาและการตัดสินใจเกี่ยวกับการคัดลอกหรือลอกเลียนแบบผลงานจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี โดยทิ้งคำถามไว้ให้ผู้เขียนพิจารณาว่า การคัดลอกหรือลอกเลียนนั้นเกี่ยวข้องกับความผิดพลาดอย่างสุจริต หรือ มีความพยายามในการเบี่ยงเบนโดยเจตนา อ้างอิง
  • ในบทความวิชาการที่ศึกษาเรื่อง การวัดความคล้ายคลึงกันในบริบททางวิชาการ ก็ได้ระบุว่า ปัจจุบันมีสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก ใช้บริการโปรแกรมเพื่อช่วยตรวจสอบอัตราความคล้ายคลึงกันของเอกสารทางวิทยาศาสตร์ วิทยานิพนธ์ และงานเขียนที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่กับผลงานที่มีอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนทั่วไปในกระบวนการตีพิมพ์ผลงานปัจจุบัน แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยวัดหรือมาตรฐานทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันในชุมชนวิทยาศาสตร์สำหรับอัตราความคล้ายคลึงกันของผลงานที่เป็นที่ยอมรับหรือได้รับอนุญาต อ้างอิง

มีความพยายามของบางชุมชนในการเสนอเครื่องมือและมาตรฐานทั่วไปที่เหมาะสมสำหรับการวัดความคล้ายคลึงของผลงานเขียนเชิงวิชาการ โดยยังคงเปิดช่องให้สามารถปรับได้โดยพิจารณาจากสาขาการวิจัยที่แตกต่างกัน และการชั่งน้ำหนักความคล้ายคลึงกันที่ยอมรับได้แตกต่างกันในบางส่วนของบทความ เช่น บทนำและวิธีการศึกษาวิจัยที่นำเสนอในบทความซึ่งอาจมีตัวเลขเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันที่ยอมรับได้สูงกว่า ผลลัพธ์และการอภิปรายรวมถึงข้อสรุปในบทความ

  • สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้กำหนดเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา จากโปรแกรมที่ใช้งาน เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น กรณีที่ผลงานมีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงรวมเกิน 70 % ต้องเขียนชี้แจงเหตุผลการซ้ำซ้อน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หรือ การตรวจสอบและรับรองโดยอาจารย์ที่ปรึกษา และถ้าพบการคัดลอกเป็นที่ประจักษ์ จะไม่เสนอขออนุมัติปริญญา หรือถ้าอนุมติปริญญาไปแล้ว อาจถอดถอนปริญญาได้ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

แต่ทั้งนี้ก็มีอีกฝั่งระบุที่ระบุเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการที่แน่นอน เช่น

  • Pharmaceutical and Biosciences Journal อ้างอิง และ สำนักพิมพ์ Bentham Science อ้างอิง ที่ระบุในเงื่อนไขการรับบทความวารสารต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ว่า อนุญาตให้มีความคล้ายคลึงกันโดยรวม 20% สำหรับต้นฉบับที่จะพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ทั้งนี้เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันจะถูกตรวจสอบเพิ่มเติม โดยมีการระบุเพิ่มเติมสำหรับ
    • ความคล้ายคลึงกันของข้อความที่ต่ำ ข้อความของทุกต้นฉบับที่ส่งจะถูกตรวจสอบโดยใช้โหมด Content Tracking ในโปรแกรม iThenticate เพื่อทำให้แน่ใจได้ว่าต้นฉบับที่มีเปอร์เซ็นต์คล้ายคลึงกันของเนื้อหาโดยรวมต่ำ (แต่อาจมีความคล้ายคลึงสูงจากแหล่งเดียว) จะไม่ถูกมองข้าม โดยกำหนดให้ ความคล้ายคลึงกันของข้อความจากแหล่งเดียวที่ยอมรับได้คือ 5% ถ้าสูงกว่า 5% ต้นฉบับจะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อปรับสำนวนและสไตล์การเขียน (paraphrase) และอ้างถึงแหล่งต้นฉบับของเนื้อหาที่คัดลอก อีกทั้ง ข้อความที่นำมาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงต่ำ อาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นเป็นการคัดลอกหรือลอกเลียนแบบผลงานอืน่ได้ ถ้าเนื้อหาส่วนใหญ่ของบทความนั้นเกิดจากการคัดลอกเนื้อหาของหลายๆ แหล่งมารวมกัน
    • ความคล้ายคลึงกันของข้อความที่สูง อาจมีบทความต้นฉบับบางบทความที่มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันโดยรวมต่ำ แต่มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันจากแหล่งข้อมูลเดียวที่สูง ต้นฉบับนั้นอาจมีความคล้ายคลึงโดยรวมน้อยกว่า 20% แต่อาจมีข้อความที่คล้ายคลึงกันกับแหล่งข้อมูลเดียว 15% กรณีนี้ถือว่าดัชนีความคล้ายคลึงกันสูงกว่าที่จำกัดอนุมัติสำหรับแหล่งข้อมูลเดียว ดังนั้นทางสำนักพิมพ์จะแนะนำผู้เขียนเรียบเรียงข้อความที่คล้ายกันอีกครั้งอย่างละเอียดและอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบและการละเมิดลิขสิทธิ์
  • สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีบางมหาวิทยาลัยที่กำหนดเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงาน เช่น เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานรวมต้องไม่เกิน 25% โดยที่ส่วนของผลการวิจัยและอภิปรายผลต้องมีค่าไม่เกิน 10%

จากเนื้อหาที่นำเสนอข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การกำหนดเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการที่ชัดเจน เพื่อระบุว่างานใดคัดลอกหรือไม่คัดลอกงานอื่นๆ นั้น มีความซับซ้อนในการพิจารณาและกำหนด เช่น

  • เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันที่ต่ำไม่จำเป็นต้องบ่งชี้ว่าผลงานนั้นจะไม่มีปัญหาเรื่องการลอกเลียนผลงานเสมอไป
  • ความแตกต่างในสาขาวิชา ประเภทของการเขียน ความยาวของงานเขียน ข้อตกลงเกี่ยวกับการอ้างอิง ส่วนที่นำเสนอในเอกสาร (เช่น บทนำ วิธีวิจัย ผลลัพธ์ และการอภิปรายผลการศึกษา) และข้อกำหนดของงานที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้จำเป็นต้องพิจารณาความคล้ายคลึงกันของผลงานแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี

ขณะที่บางหน่วยงานได้กำหนดเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันโดยรวมที่ยอมรับได้ เช่น 20% และ เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันของข้อความจากแหล่งข้อมูลเดียวที่ยอมรับได้ เช่น 5% แต่ก็ยังคงต้องอาศัยการตรวจสอบเพิ่มเติมโดยคน เช่น บรรณาธิการ ผู้ประเมิน อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อทำให้มั่นใจในการลดความเสี่ยงการคัดลอกผลงานและการละเมิดลิขสิทธิ์

รูบริคสำหรับประเมินคลัง OER (Open Education Resource Repository)

BCOER Librarians Working Group พัฒนารูบริค (Rubric) หรือเกณฑ์ประเมินเพื่อใช้ในกระบวนการประเมินคลังของแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource Repository : OERR) โดยครอบคลุม 8 ประเด็น ได้แก่

  1. การตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
  2. การรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย
  3. การเข้าถึงและความหลากหลาย
  4. การใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
  5. ความครอบคลุมด้านเนื้อหา
  6. การรองรับฟังก์ชั่นการค้นหาและการไล่เรียงดู
  7. ความหลากหลายของประเภทสื่อ
  8. การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน

โดยแต่ละประเด็นจะแบ่งการประเมินเป็น 3 ระดับ

1. การตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ความรู้และความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง และความสัมพันธ์ที่ผู้สร้างสรรค์หรือสถาบันมีต่อ OER และ เนื้อหาสาระที่ครอบคลุมใน OERR แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ 3
    • เนื้อหา OERR ถูกตรวจสอบ peer reviewed โดยผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาหรือหัวข้อนั้นๆ
    • OERR มีส่วนเกี่ยวข้องกับหรือร่วมกันกับสถาบันอุดมศึกษา
  • ระดับ 2
    • เนื้อหา OERR ถูกตรวจสอบโดยผู้ที่มีประสบการณ์ในสาขาหรือหัวข้อนั้นๆ เช่น บรรณาธิการวารสาร
    • OERR มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้บริการด้านการศึกษา
  • ระดับ 1
    • เนื้อหา OERR ไม่มีมาตรฐานการตรวจสอบที่เห็นได้
    • OERR ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันหรือองค์กรที่คุณสมบัติ

2. การรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาและรวบรวม OER ใน OERR ที่รองรับกลุ่มผู้ใช้งาน ตามอายุ ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญ

  • ระดับ 3
    • เนื้อหา OERR ถูกจัดระเบียบและสามารถเข้าถึงได้ตามประเภทหรือกลุ่มผู้ใช้
    • เนื้อหา OERR ประกอบด้วย OER ส่วนใหญ่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการในระดับอุดมศึกษา
  • ระดับ 2
    • เนื้อหา OERR จัดหมวดหมู่ตามประเภทหรือกลุ่มผู้ใช้ แต่การเข้าถึงมีข้อจำกัด เช่น OERR รองรับการไล่เรียงดู OER และเนื้อหาในระดับปริญญาตรี แต่ไม่รองรับการค้นหาโดยจำกัดกลุ่มผู้ใช้ได้
    • เนื้อหา OERR ประกอบด้วย OER ที่พัฒนาขึ้นสำหรับทุกระดับการศึกษา
  • ระดับ 1
    • เนื้อหา OERR ไม่มีการจัดการหมวดหมู่ตามประเภทหรือกลุ่มผู้ใช้
    • เนื้อหา OERR ประกอบด้วย OER ส่วนน้อยที่พัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการในระดับอุดมศึกษา

3. การเข้าถึงและความหลากหลาย
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ความพร้อมใช้งานและการจัดเตรียม OER และเนื้อหา สำหรับสไตล์และความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างและหลากหลายของผู้ใช้

  • ระดับ 3
    • OERR มีรูปแบบทางเลือกอื่นสำหรับ OER ที่อัพโหลด เช่น วิดีโอและการถอดเสียงเป็นตัวหนังสือเพื่ออ่าน
    • OERR มี OER และเนื้อหาที่รองรับความหลากหลายของเพศ ภาษา การแสดงออกทางวัฒนธรรม และแนวทางการศึกษาของผู้ใช้
  • ระดับ 2
    • OERR มีรูปแบบทางเลือกอื่นบางส่วนสำหรับ OER ที่อัพโหลด
    • OERR มี OER และเนื้อหาที่รองรับความหลากหลายของเพศ ภาษา การแสดงออกทางวัฒนธรรม และแนวทางการศึกษาของผู้ใช้ เพียงส่วนน้อย
  • ระดับ 1
    • OERR ไม่รูปแบบทางเลือกอื่นสำหรับ OER ที่อัพโหลด
    • OERR ไม่มี OER และเนื้อหาที่รองรับความหลากหลายของเพศ ภาษา การแสดงออกทางวัฒนธรรม และแนวทางการศึกษาของผู้ใช้

4. การใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ อุปสรรคในการเข้าถึงและใช้ OER

  • ระดับ 3
    • ไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ เพื่อเข้าถึง OER และเนื้อหาใน OERR
    • OERR ทำงานได้กับทุกระบบปฏิบัติการและเว็บเบราว์เซอร์ที่หลากหลาย
    • OERR ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้งาน
    • การนำทาง (Navigation) ใช้งานง่าย
  • ระดับ 2
    • ต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าถึง OER และเนื้อหาบางส่วนใน OERR
    • OERR มี OER และเนื้อหาบางอย่างที่จำกัดสำหรับบางระบบปฏิบัติการหรือเว็บเบราว์เซอร์
    • OERR มีค่าธรรมเนียมการเข้าถึง OER และเนื้อหาบางอย่าง
    • การนำทาง (Navigation) ต้องการการทดลองใช้งานและมีข้อผิดพลาดในการใช้งาน
  • ระดับ 1
    • ต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าถึง OER และเนื้อหาใน OERR
    • ERR จำกัดอยู่ที่ระบบปฏิบัติการหรือเว็บเบราว์เซอร์ที่เฉพาะเจาะจง
    • OERR มีค่าธรรมเนียมการเข้าถึง OER และเนื้อหา
    • การนำขัดข้อง (Navigation) และ/หรือต้องการคำแนะนำปรับปรุงเพิ่มเติม

5. ความครอบคลุมด้านเนื้อหา
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ความลึกของความครอบคลุมด้านเนื้อหาของ OER

  • ระดับ 3
    • OERR มีเนื้อหาที่ครอบคลุมภายในสาขาวิชานั้นๆ
    • OERR เชื่อมโยงแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องภายในหัวข้อและสาขาวิชานั้นๆ หมายความถึง เมื่อค้นหา OER ในหัวข้อหนึ่ง OERR จะมีการเชื่อมโยงไป OER อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในผลการค้นหา
  • ระดับ 2
    • OERR มีเนื้อหาที่ครอบคลุมบางส่วนในสาขาวิชานั้นๆ เช่น มี OER เรื่องชีววิทยาของเซลล์ แต่มีเนื้อหาเรื่องชีววิทยาโมเลกุลน้อย
    • OERR เชื่อมโยงแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องบางส่วนภายในหัวข้อและสาขาวิชานั้นๆ
  • ระดับ 1
    • OERR ไม่มีเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องใดๆ ในเชิงลึก
    • OERR ไม่เชื่อมโยงแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องภายในหัวข้อและสาขาวิชานั้นๆ

6. การรองรับฟังก์ชั่นการค้นหาและการไล่เรียงดู
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ฟังก์ชั่นการค้นหาของ OERR เช่น การค้นหาขั้นสูง (Advanced search) การค้นหาขั้นพื้นฐาน (Basic search) และการตัดทอน (Truncation) เพื่อช่วยผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลามากเกินไปในการไล่เรียงดู

  • ระดับ 3
    • OERR มีฟังก์ชั่นการค้นหาขั้นสูงพร้อมตัวจำกัดสำหรับประเภทของกลุ่มผู้ใช้ หัวเรื่อง ประเภทของสื่อ และการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน
    • OERR มีฟังก์ชันการไล่เรียงดูสำหรับประเภทของกลุ่มผู้ใช้ หัวเรื่อง ประเภทของสื่อ และการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน
    • การค้นหาและเรียกดู OERR ให้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ระดับ 2
    • OERR มีฟังก์ชันการค้นหาขั้นสูงและตัวจำกัดให้เลือกได้
    • OERR มีฟังก์ชันการไล่เรียงดูแต่อาจจำกัด เช่น สามารถเลือกไล่เรียงดูตามประเภทของกลุ่มผู้ใช้ แต่ไม่สามารถเลือกไล่เรียงดูตามประเภทของสื่อ
    • การค้นหาและเรียกดู OERR ให้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องบางส่วน
  • ระดับ 1
    • OERR ไม่มีฟังก์ชั่นการค้นหาขั้นสูง แต่อาจมีฟังก์ชันการค้นหาขั้นพื้นฐาน
    • OERR ไม่มีฟังก์ชั่นการไล่เรียงดูตามหมวดหมู่
    • การค้นหาและเรียกดู OERR ให้ผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง

7. ความหลากหลายของประเภทสื่อ
เกณฑ์ข้อนี้มุ่งเน้นไปที่ ประเภทของสื่อ (เช่น วิดีโอ เสียง ข้อความ ภาพ และอื่นๆ) ใน OERR

  • ระดับ 3
    • OERR มีความหลากหลายของประเภทของสื่ออย่างมาก
  • ระดับ 2
    • OERR มีความหลากหลายของประเภทของสื่อบ้างบางส่วน
  • ระดับ 1
    • OERR มีความหลากหลายของประเภทของสื่อน้อย

8. การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และการอนุญาตให้ใช้งาน

  • ระดับ 3
    • OERR อนุญาตให้แชร์ แก้ไข และปรับเปลี่ยน OER ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ เช่น
      • ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน (CC-BY-SA) หรือ
      • ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
    • OERR ได้รับการคุ้มครองโดยสัญญาอนุญาตที่เข้มแข็งและเข้าใจง่าย (เช่น Creative Commons หรือ GNU)
  • ระดับ 2
    • OERR อนุญาตให้แชร์ แต่ไม่อนุญาตให้ดัดแปลงหรือแก้ได้ เช่น
      • ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND) หรือ
      • ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC-ND)
    • OERR ได้รับการคุ้มครองโดยสัญญาอนุญาตที่เข้มแข็งและเข้าใจง่าย (เช่น Creative Commons หรือ GNU)
  • ระดับ 1
    • OERR อนุญาตให้แชร์เพื่อการศึกษาเท่านั้น
    • OERR ไม่อนุญาตให้แก้ไขหรือดัดแปลง
    • OERR อยู่ภายใต้ข้อกำหนดการใช้งานที่คลุมเครือหรือไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ข้อกำหนดเว็บไซต์ในการให้บริการ

ที่มา

BCOER Librarians Working Group. (2015). Open Education Resource Repository (OERR) Rubric.
https://open.bccampus.ca/files/2014/07/OERR-Rubric.pdf

การประชุมออนไลน์ : e-Meeting/Online Meeting

จากสภาวะ Covid-19 ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐ/เอกชนหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ การประชุมของหน่วยงาน ซึ่งมีข้อกังวลอย่างมากกว่าผิดระเบียบหรือไม่ อย่างไร ทำได้มากน้อยเพียงใด ในที่สุดก็มีประกาศ … พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ออกมาในวันที่ 18 เมษา 2563 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประชุมที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุมที่ได้กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ร่วมประชุมมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันและสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด ทั้งนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้จัดทำ คู่มือมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อธิบายและอ้างอิงเกี่ยวกับประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2557 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ลงวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

โดยมีประเด็นน่าสนใจทางเทคนิคที่หน่วยงานต้องพิจารณาให้เหมาะสมคือ

(1) จัดให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณี ของผู้ร่วมประชุมทุกคน ตลอดระยะเวลาที่มีการประชุมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่เป็นการประชุมลับ

(2) จัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ร่วมประชุมทุกคนไว้เป็นหลักฐาน

โดยทั้งสองรายการให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุม

นอกจากนี้หน่วยงานที่จัดการประชุมควรพิจารณาเพิ่มเติมในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. การใส่ Password ในเอกสารลับ และแจ้งรหัสต่อผู้ร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
  2. แจ้งผู้ร่วมประชุมงดการจับจอภาพ หรือบันทึกภาพ/เสียง/VDO สำหรับการประชุมลับ รวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประชุมลับ
  3. ผู้ดำเนินการประชุมควรทำความเข้าใจโปรแกรม VDO Conference ที่ใช้ให้เข้าใจก่อน เช่น วิธีการแชร์หน้าจอของผู้เข้าร่วมประชุม วิธีแทรกไฟล์นำเสนอ รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของโปรแกรม หากผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นใช้โปรแกรมไม่เป็น ผู้ดำเนินการประชุมควรจัดเตรียมเอกสาร สื่อ แนะนำขั้นตอนการประชุม รวมทั้งการใช้งานเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการประชุมต่อผู้ร่วมประชุม
  4. ระมัดระวังการผยแพร่ Meeting Id/Personal Link Name ผ่าน Social Media ซึ่งอาจทำให้บุคคลที่ไม่ได้รับเชิญสามารถ Copy รหัสและนำไปใช้ เพื่อเข้าร่วมประชุมได้อีกด้วย
  5. ควบคุม/กำกับให้ผู้ร่วมประชุมปิดระบบของตนเอง โดยเฉพาะระบบเสียงเพื่อป้องกันเสียงรบกวนระหว่างประชุม และเปิดระบบเมื่อต้องการแสดงความเห็นเท่านั้น
  6. ควบคุมการเปิดโปรแกรม VDO Conference ของผู้ร่วมประชุมที่อยู่ในห้องเดียวกัน โดยให้แต่ละเครื่องต้องใช้หูฟังเท่านั้น เพื่อป้องกันการกวนของสัญญาณเสียง
  7. จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ให้พร้อม และแยกหน้าที่ เช่น เจ้าหน้าที่ติดตามการสื่อสารแบบ Chat เพราะหลายครั้งที่เกิดข้อขัดข้องในการพูด หรือสัญญาณ ส่งผลให้ผู้ร่วมประชุมต้องเลือกพิมพ์แทนการพูด … เจ้าหน้าที่ควรติดตามและตอบสนองโดยเร็ว และจัดเก็บข้อความผ่านระบบ Chat เป็นความเห็นประกอบการประชุม รวมทั้งจัดเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์เอกสารที่ผู้ร่วมประชุมจัดส่งผ่านระบบ Chat ในขณะที่เจ้าหน้าที่หลักก็ดำเนินการประชุมตามปกติ
  8. ทบทวนการสร้างสไลด์ประกอบการประชุมออนไลน์ โดยอาจจะต้องกำหนดแนวปฏิบัติการสร้างสไลด์รูปแบบใหม่ เนื่องจากต้องการความกระชับ ขนาดตัวอักษร ขนาดสี การใช้เทคนิคการนำเสนอ ที่แตกต่างไปจากการออกแบบการสร้างในสภาวะปกติ
  9. ปิดระบบเตือนของ Apps ต่างๆ เช่่น Line, Facebook, Messenger ระหว่างประชุม โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ดำเนินการนำเสนอข้อมูล รวมทั้งการปรับเปลี่ยน Desktop ของ MS Windows ให้เหมาะสมกับองค์ประชุม

ชุดหนังสือเศรษฐกิจแห่งอนาคต 7 เล่ม เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมจัดทำ eBook ชุดหนังสือเศรษฐกิจแห่งอนาคต 7 เล่ม เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี

1. หนังสือเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ เป็นระบบเศรษฐกิจที่นำความรู้และนวัตกรรมทางด้านชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่นๆ มาช่วยพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ เช่น การเกษตร อาหาร สุขภาพ การแพทย์ และพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง จึงนับเป็นจุดแข็งในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพได้เป็นอย่างดี

2. หนังสือเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้มากที่สุด โดยการลดของเสียและการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ ก่อให้เกิดวงรอบของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้ได้มากที่สุด

3. หนังสือเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เศรษฐกิจสีเขียว เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่คำนึงถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพื่อสร้างให้เกิด “การเติบโตสีเขียว” การใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและรู้คุณค่า ลดการใช้พลังงาน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน

4. หนังสือเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์เป็นแนวคิดใหม่ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยกร ผ่านกระบวนการจัดสรรทรัพยกรที่มีประสิทธิภาพ ทั้งบริการเช่ารถ เช่าที่พัก เช่าอุปกรณ์ เช่าพื้นที่ทำงาน เมกเกอร์สเปซ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น โมเดลเศรษฐกิจรูปแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปในทิศทางไหน แนวโน้มเศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้างสามารถค้นหาคำตอบได้จากหนังสือเล่มนี้

5. หนังสือเศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) การเตรียมการรับมือกับวัยชรา เมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว การมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าวัยแรงงานจะส่งผลทางบวกหรือทางลบต่อประเทศไทยอย่างไร ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือในเรื่องใดบ้าง หนังสือเล่มนี้อธิบายแนวคิดและการเตรียมตัวของประเทศเพื่อรองรองเศรษฐกิจผู้สูงวัย

6. หนังสือเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) มุ่งให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ AI ที่อยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน และที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันสะดวกสบายยิ่งขึ้น อาทิ ในภาคธุรกิจ AI มีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดดิจิทัล ช่วยผู้ประกอบการวางแผนธุรกิจไปในทิศทางที่เหมาะสม และทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

7. หนังสือเทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology) สร้างความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมเยาวชนไทยและคนไทยทั่วไปให้พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้คำศัพท์และแนวคิดมุมมอง โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ซึ่งใกล้ตัวคนไทย และจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับระบบเศรษจูกิจประเทศในอนาคตอันใกล้นี้

การถ่ายรูปเด็กกับสิทธิส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว

การถ่ายรูปเด็กมักเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างมาก ในบทความนี้ขอนำเสนอ เรื่อง การถ่ายและใช้รูปถ่ายเด็ก กับ ประเด็นกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว รวมถึงปัจจัยหลักที่ควรคำนึงถึง จากการทบทวนบทความออนไลน์ของช่างภาพ นักกฎหมาย และอื่นๆ ในต่างประเทศ

  • กฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

สิทธิส่วนบุคคล (Right to Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่โดยลำพัง หรือ สิทธิที่จะได้อยู่โดยลำพังโดยปราศจากการรบกวน (The Right to Be Left Alone) ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติถึงการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของไทยคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 32 ดังนี้

“บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใดๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2560)

ส่งผลให้ประชาชนทุกคนต้องเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น เพื่อยับยั้งการกระทำที่คุกคามหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคล

ในกฎหมายสากลก็ได้บัญญัติเรื่องการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล เช่นใน UN Universal Declaration of Human Rights 1948 มาตรา 12 บัญญัติว่า “ไม่มีบุคคลใดที่จะถูกแทรกแซงในความเป็นส่วนตัว ครอบครัวบ้านหรือการติดต่อระหว่างกันหรือทั้งสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของเขา ทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายหากมีการถูกแทรกแซงเช่นว่านั้น” (บุญยศิษย์, 2553)

นโยบายทางกฎหมายร่วมสมัยที่สุดเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลคือการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Information Privacy) ซึ่งนำมาสู่การมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) สัมพันธ์กับข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือ ความเป็นส่วนตัว เช่น สิทธิที่จะอยู่โดยลำพัง หรือ สิทธิที่จะได้อยู่โดยลำพังโดยปราศจากการรบกวน (The Right to Be Left Alone) ส่วนข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (ศุภวัชร์, 2562)

เด็กก็มีสิทธิ์ในความเป็นส่วนตัวเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ มีกฎหมายสำคัญจำนวนหนึ่งที่ปกป้องสิทธิ์ของเด็กในความเป็นส่วนตัว เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (UN Convention on the Rights of the Child : UNCRC) มาตรา 16 การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ซึ่งระบุว่า “เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นส่วนตัว กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น” (กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ, 2562)

  • ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรูปถ่าย

ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรูปถ่ายบุคคลรวมถึงเด็ก ได้แก่ 1. สถานที่ที่ถ่ายรูป และ 2. จุดประสงค์ของการถ่ายรูป

สถานที่ที่ถ่ายรูป : สถานที่สาธารณะ VS สถานที่ส่วนบุคคล โดยทั่วไปการถ่ายรูปบุคคลในสถานที่สาธารณะสามารถกระทำได้อย่างถูกกฎหมายโดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะ หรือชายหาด หากไม่ได้ถ่ายรูปคนเหล่านั้นเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ขณะที่การถ่ายรูปบุคคลในสถานที่ส่วนบุคคล ผู้ถ่ายภาพต้องได้รับอนุญาตในการเข้าสถานที่จากเจ้าของสถานที่ก่อน (ไม่เช่นนั้นอาจโดยข้อหาบุกรุกสถานที่) และการถ่ายรูปก็ต้องขออนุญาตและได้รับความยินยอมจากเจ้าของก่อน เพราะการได้รับอนุญาตให้เข้าสู่สถานที่ไม่ได้หมายความว่าผู้ถ่ายภาพจะมีสิทธิ์ถ่ายและเผยแพร่รูปถ่ายได้ตามต้องการ ดังนั้น แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่มีการแนะนำสำหรับช่างภาพ คือ เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังสถานที่ส่วนบุคคลแล้ว ควรถามว่า “คุณรังเกียจไหมถ้าฉันจะขอถ่ายรูปคุณ และ/หรือ ครอบครัวของคุณ?”

ทั้งนี้ มีข้อควรตระหนักถึงคำว่า “สถานที่สาธารณะ” เพราะบางสถานที่ดูเหมือนจะเป็นสถานที่สาธารณะแต่ในความเป็นจริงแล้วส่วนใหญ่เป็นของเอกชนหรือสถานที่ส่วนบุคคล เช่น สวนสาธารณะในศูนย์การค้า คอนเสิร์ตฮอลล์ หรือ สนามกีฬา ซึ่งสองสถานที่หลังนั้นโดยทั่วไปจะเข้าไปได้จะต้องซื้อตั๋ว มีเงื่อนไขของสัญญากับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ และเงื่อนไขเหล่านั้นอาจรวมถึงการห้ามถ่ายรูป หรือสถานที่สาธารณะบางแห่งมีข้อบังคับป้องกันการถ่ายรูปเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า เช่นใน Trafalgar Square และ Parliament Square ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ดังนั้นก่อนจะถ่ายรูปใดๆ จะต้องเข้าใจนโยบายและเงื่อนไขของแต่ละสถานที่ที่เข้าไปเสียก่อน

จุดประสงค์ของการถ่ายรูป : เพื่อการค้า VS เพื่อการใช้งานส่วนตัว การถ่ายรูปที่มีจุดประสงค์เชิงพาณิชย์หรือเพื่อการค้าใดๆ ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าเสมอ

  • การถ่ายรูปเด็กและคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

การถ่ายรูปเด็กและคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ในที่สาธารณะ สามารถกระทำได้อย่างถูกกฎหมายโดยไม่ต้องขออนุญาต หากการถ่ายรูปนั้นไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า (Bottoms, 2018; Vishneski, 2018; Krages, 2016; Meyer, 2012) ส่วนการถ่ายรูปเด็กเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตามกฎหมายเสมอ (Meyer, 2012) ตัวอย่างเช่น หากเด็กอยู่ในสวนสาธารณะที่เป็นของสาธารณะ ช่างภาพสามารถถ่ายรูปของเด็กได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหากการถ่ายรูปนั้นไม่ได้กระทำขึ้นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ แต่หากเด็กอยู่ในสวนหลังบ้าน ช่างภาพไม่สามารถถ่ายรูปของเด็กได้ เพราะจะละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของเด็ก (Farkas, n.d.)

ในสหราชอาณาจักรพบว่าไม่มีกฎหมายใดที่ระบุว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายสำหรับคนแปลกหน้าที่ถ่ายรูปเด็ก โดยกฎหมายของสหราชอาณาจักรครอบคลุมเฉพาะภาพลามกอนาจารของเด็กเท่านั้น โดยกฎหมายระบุว่า “การถ่าย ทำ แบ่งปัน และมีรูปลามกอนาจารของเด็ก และการตัดต่อรูป การทำรูปด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกหรืออื่นๆ ที่ดูเหมือนจะเป็นรูปถ่ายของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย” (Davies, 2019 ; GOV.UK, 2019)

การถ่ายรูปเด็กเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างหนัก เพราะนอกจากการหยิบยกกฎหมายขึ้นมาถกเถียงกันแล้ว ยังมีประเด็นทางศีลธรรมและจริยธรรมที่มักถูกยกมาประกอบ โดยเฉพาะการเสนอให้พิจารณาในมุมของการเป็นผู้ปกครองของเด็ก หรือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา คงไม่มีใครต้องการให้ใครสักคนมาถ่ายรูปลูกของเราโดยไม่ถามเราก่อน (Krages, 2016)

อ้างอิง

การออกแบบห้องสมุดสำหรับ Social distancing

คำแนะนำแนวทางการออกแบบห้องสมุดสำหรับ Social distancing ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดย รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์ และ ผศ.นพ. อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช ในการเสวนาออนไลน์ เรื่อง ความท้าทายในการออกแบบห้องสมุดสำหรับ Social distancing เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563 จัดโดยสำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์

การแพร่ระบาดของ COVID-19 สร้างความท้าทายให้แก่ห้องสมุดในการบริหารจัดการในหลากหลายด้าน เช่น พื้นที่ทำงาน พื้นที่ให้บริการ รูปแบบและช่องทางในการให้บริการ และทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ ที่สำคัญคือมีความไม่แน่นอนและความไม่รู้ที่แน่ชัดเกี่ยวกับ COVID-19 เนื่องจากการเกิดขึ้นและการพัฒนาตัวเองของไวรัส ยิ่งเพิ่มความท้าทายอีกเท่าตัว

รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์ แนะนำว่าการออกแบบสามารถแบ่งมี 2 แนวคิดหลัก คือ

  1. Design for isolation คือ การออกแบบเพื่อแยกคนออกจากกัน เช่น การออกแบบเพื่อแยกผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อออกจากผู้ป่วยคนอื่นๆ หรือคนปกติคนอื่นๆ ซึ่งการออกแบบนี้มักใช้และพบในสถานพยาบาล
  2. Design for distancing คือ การออกแบบเพื่อให้คนอยู่ห่างกัน ซึ่งการนำแนวคิดนี้มาใช้ในอาคารทั่วไปรวมถึงห้องสมุดพบว่าติดปัญหาเรื่องการใช้ระบบแอร์หรือเครื่องปรับอากาศแบบรวม เนื่องจาก COVID-19 มักติดต่อและแพร่กระจายในพื้นที่แคบ ดังนั้นการใช้ระบบแอร์หรือเครื่องปรับอากาศแบบรวมเป็นอุปสรรคต่อการถ่ายเทอากาศและสนับสนุนการหมุนเวียนของละอองไวรัสในพื้นที่ ตัวอย่างที่คุ้นเคยกันคือเมื่อมีเพื่อนพนักงานป่วยเป็นหวัด 1 คน แล้วเพื่อนคนอื่นๆ ในชั้นหรือในห้องนั้นก็ติดหวัดกันไปด้วย ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือปัญหาการระบายและถ่ายเทอากาศภายในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับห้องสมุด คือ การออกแบบพื้นที่ให้อากาศสามารถถ่ายเทและระบายได้สะดวกและรวดเร็วมากที่สุด จากประตูหรือหน้าต่างด้านหนึ่ง ออกสู่ประตูหรือหน้าต่างอีกด้านหนึ่ง ดังเช่นการออกแบบบ้านเรือนไทยในสมัยโบราณที่ไม่มีแอร์หรือเครื่องปรับอากาศแต่อาศัยการมีหน้าต่างบ้านด้านซ้ายและด้านขวาในทางตรงข้ามกัน เพื่อเปิดรับและระบายออกของอากาศ

ทั้งนี้ ศ.นพ. อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช และ รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการของห้องสมุดเพื่อลดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้แก่

  1. สวมหน้ากากทุกคน จากการศึกษาวิจัยพบว่าหน้ากากที่สามารถป้องกัน COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ หน้ากากอนามัย N95 รองลงมาคือ หน้ากากอนามัย และหน้ากากผ้า
  2. ตรวจคัดกรองอุณหภูมิของทุกคนก่อนเข้าพื้นที่ห้องสมุด (ยังมีประเด็นเรื่องความเที่ยงตรงและแม่นยำของเครื่องวัดอุณหภูมิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคาลิเบรท (Calibration) หรือการสอบเทียบเครื่องมือวัด)
  3. จัดให้มีอ่างล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์ 70% ณ จุดทางเข้า-ออกห้องสมุด รวมถึงจุดอื่นๆ ที่สามารถทำได้ภายในอาคาร
  4. จัดให้มีการบันทึกชื่อ เบอร์โทร วันเวลาของผู้มาใช้บริการทุกคนเพื่อให้สามารถติดตามตัวได้กรณีต้องมีการสอบสวนโรค เช่น แอปพลิเคชันไทยชนะ
  5. ไม่ควรให้ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ และมีน้ำมูกเข้าห้องสมุด เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย COVID-19
  6. หมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือ สบู่กับน้ำเปล่าแล้วเช็ดมือให้แห้ง
  7. เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  8. การใช้สารทำความสะอาด คือ แอลกอฮอล์ 70% ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือน้ำยาฟอกขาว ทำความสะอาดพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น พื้น ทางเดิน ราวบันได ลูกบิดจับประตู เคาท์เตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์
  9. เปิดประตูหรือหน้าต่างเพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก
  10. พักหนังสือหรือสื่ออื่นๆ ที่ได้รับคืนก่อนออกให้บริการอีกครั้ง โดย COVID-19 สามารถตรวจพบบนกระดาษแข็ง 1 วัน และบนพลาสติก 2-3 วัน ดังนั้นจึงควรพิจารณาระยะเวลาการพักให้สัมพันธ์กับระยะเวลาของไวรัสที่สามารถอยู่บนพื้นผิว
  11. ไม่แนะนำให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดสวมถุงมือ เพราะอาจไปสัมผัสสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของ COVID-19 แต่แนะนำให้หมั่นล้างมือ
  12. พิจารณาความเป็นไปได้ในการแยกพื้นที่ชั้นหนังสือกับพื้นที่นั่งอ่านของผู้ใช้บริการ
  13. พิจารณาการจัดสัดส่วนจำนวนคนกับพื้นที่ เช่น 1 คน ต่อ 4 ตารางเมตร
  14. มีมาตราการการจัดการขยะปนเปื้อนเพื่อความปลอดภัยของทุกคนโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ต้องจัดเก็บขยะ

ส่วนการใช้ UVC นั้น พบว่าจะทำงานได้ผลเมื่อแสงสัมผัสกับอากาศอย่างน้อย 20 นาที หากไม่สามารถค้างอากาศให้โดนแสงสัมผัสได้ และแสงไม่สัมผัสหรือกระทบผิววัสดุ ก็ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสอย่างได้ผล อีกทั้ง UVC มีผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์ที่สัมผัส คือ กระจกตาอักเสบ ผิวหนังอักเสบ และเป็นสาเหตุมะเร็งผิวหนัง รวมถึงการใช้ UVC ซ้ำๆ ในพื้นที่เดิมก็จะทำลายพื้นผิววัสดุในพื้นที่นั้นๆ ได้ ดังนั้นเครื่อง UVC ควรเป็นอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเสริม (Supplementary technology) มากกว่า

เนื่องจาก COVID-19 เป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ต่างเร่งศึกษาที่มาและแนวทางการป้องกัน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในขณะนี้สำหรับทุกคนบนฐานของความไม่แน่นอนและความไม่รู้ที่ชัดเจน คือ การหมั่นติดต่อข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องและการปฏิบัติตามหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแนะนำ

สร้างคลิปการสอนด้วย Open Broadcaster Software (OBS)

ในกลุ่มผู้สร้างบทเรียน e-learning นั้น ในหลายๆ ครั้ง บทเรียนที่ทำมีลักษณะการสอนในแบบ การบรรยายตามสไลด์ หรือสอนตัวอย่างการใช้โปรแกรมหรือระบบ ในลักษณะเช่นนี้จำเป็นต้องใช้โปรแกรมที่สามารถบันทึกหน้าจอและเสียงบรรยายได้ แล้ว Export เป็นไฟล์ VDO ที่ถูกต้อง เพื่อนำมาเข้าระบบ โปรแกรม OBS เป็นโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับและใช้งานง่าย จึงแนะนำให้เป็นโปรแกรมหนึ่งสำหรับใช้สร้างบทเรียนได้

Open Broadcaster Software หรือ OBS เป็นโปรแกรม Open-Source สำหรับใช้บันทึกหน้าจอเป็น VDO ได้ จึงถูกนำไปใช้ในการสตรีม (Live Stream) อยู่บ่อยครั้ง เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถสูง ใช้งานได้ฟรี และทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์ม

วิธีการติดตั้งโปรแกรม OBS

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://obsproject.com/download  คลิกที่ Download Installer

เมื่อ Download ได้แล้ว ให้คลิกทำการ Install และติดตั้งไปตามขั้นตอนจนสำเร็จ
เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

ส่วนประกอบของโปรแกรม

ในโปรแกรมประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

  • Menu bar เป็นเมนูคำสั่งทั้งหมด
  • Monitor เป็นตัวอย่างการแสดงผล

(1) Scene คือ การจัดฉากที่ใช้บันทึก โดยในฉากนึงจะประกอบไปด้วย source หลายๆชิ้นรวมกัน สามารถบันทึกได้หลาย scene และสลับไปมาระหว่างบันทึกได้
(2) Source คือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในฉากหนึ่ง อาจเป็นรูป เสียง webcam หรือโปรแกรมในเครื่องที่กำลังใช้งานอื่น ๆ
(3) Audio Mixer เป็นส่วนจัดการเรื่องเสียง ให้ปิดในส่วนที่ไม่ใช้ได้
(4) Scene Transitions คือการกำหนดรูปแบบการเปลี่ยน Scene
(5) Control ส่วนเริ่ม record , stop และการตั้งค่าส่วนต่างๆ

หลักการทำงานของโปรแกรม

ทำความรู้จัก Scene และ Source

Scene หนึ่ง scene คือ Source หลายชิ้นประกอบกัน เราเริ่มด้วยการเพิ่ม source ที่ต้องการในฉากนั้นเข้าไปใน scene แล้วจัดตำแหน่งตามที่ต้องการได้


ตัวอย่างจากภาพข้างบน เป็นการแสดงภาพจาก scene ที่1 (กรอบเลข 1) โดยใน scene นั้นประกอบด้วย source หลายอย่าง(กรอบเลข 2) คือ

  • Text คือ ตัวหนังสือที่เขียนว่า สอนการใช้งาน OBS
  • Video Capture Device คือ  ภาพจากกล้อง webcam
  • Display Capture คือ ภาพที่จับหน้าจอทั้งหมด (ในที่นี้ ปิดการการมองเห็นไว้ได้)
  • Image คือ ภาพที่เราเลือกให้แสดง ในที่นี้คือภาพที่ใช้เป็น Background
  • Audio input capture คือ แหล่งเสียงที่ต้องการ

ตัวอย่างการตั้งค่า scene ที่ 2

การกำหนด Scene

ในการเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม จะมี Scene ตั้งต้นให้แล้ว 1 Scene ซึ่งยังไม่มี source ใดๆ

การเพิ่ม scene ให้กดที่เครื่องหมาย + แล้วทำการตั้งชื่อ scene หากต้องการลบให้กดปุ่มลบ

หากคลิกขวาที่ชื่อ Scene สามารถเปลี่ยนชื่อ Scene ได้ ด้วยการเลือก Rename

สามารถเลื่อนลำดับของ scene ได้ โดยใช้ปุ่มลูกศรขึ้น-ลง

การเพิ่ม Source ใน Scene

Source ของโปรแกรมที่สำคัญ แบ่งได้ตามนี้

– Audio Input Capture สำหรับแหล่งเสียงขาเข้าในการบันทึก เช่น ไมโครโฟน
– Audio Output Capture คือแหล่งเสียงขาออกที่ออกจากอุปกรณ์ Output ประเภทเสียง เช่น เสียงโปรแกรมที่เปิดออกลำโพง หูฟัง
– Browser ใช้แสดงผลเว็บไซต์จาก Browser
– Color Source เป็นการเติมพื้นสี
– Display Capture ใช้แสดงหน้าจอของเราโดยการจับภาพทั้งหน้าจอ
– Game Capture แสดงภาพจากการเล่นเกม
– Image นำรูปที่ต้องการมาแสดง
– Image Slide show การแสดงชุดภาพตามลำดับนำเสนอ
– Media Source ใช้เปิดไฟล์ media ที่อยู่ในเครื่อง เช่น ไฟล์เสียง ไฟล์วีดีโอ เป็นต้น
– Scene การเพิ่ม scene อื่นเข้ามาใน scene นี้
– Text (GDI+) ใช้สร้างตัวอักษรได้ตามที่ต้องการ
– VLC Video Source ภาพจากโปรแกรม VLC เล่นไฟล์ VDO
– Video Capture Device สัญญาณภาพจากอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น กล้อง webcam
– Window Capture แสดงหน้าจอโปรแกรมที่ต้องการ เช่น PowerPoint , PDF

การจัดลำดับ Source

Source ลำดับบนจะแสดงอยู่เหนือ Source ลำดับล่าง จัดลำดับได้โดยการกดลูกศรขึ้น-ลง ที่ปุ่มด้านล่าง
Source ที่ไม่ได้ใช้งานหรือยังไม่ใช้สามารถ disable ไม่ให้โชว์ก่อนได้ โดยการคลิกที่รูปดวงตา
เพิ่มและลด source ได้โดยใช้ปุ่ม + และ – ที่อยู่ด้านล่าง
เครื่องหมาย Lock คือจะไม่มีอนุญาตเปลี่ยนแปลงใดๆ ใน source ตัวนี้

การแสดงผลเมื่อจัดตำแหน่งและลำดับของ source

.

แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

หนังสืองานวิจัยสู่นวัตกรรมรับมือ
COVID-19

ดาวน์โหลดหนังสือ 

 คลิกที่นี่เพื่อแสดงผลในรูปแบบ e-Book แบบ Flip

หนังสือ งานวิจัยสวทช.สู่นวัตกรรมรับมือ COVID-19

ผลงานนวัตกรรม/บริการ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

    • DDC-Care ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19
    • Traffy Fondue
    • NIEMS-Care ระบบจัดการสถานการณ์โควิด-19 ในระดับชุมชน ระบบติดตามการกระจายหน้ากากอนามัย
    • หน้ากากอนามัย N-Breeze
    • หน้ากากอนามัย Safie Plus
    • Face Shield from FabLab
    • หมวกแรงดันลบ Negative Pressure Helmet
    • Germ Saber UVC Sterilizer
    • Germ ZerO3 Sterilizer ตู้อบโอโซนเพื่อฆ่าเชื้อโรค
    • MagikTuch ลิฟต์ไร้สัมผัส ขจัดโควิด-19
    • BodiiRay S เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก
    • AI วินิจฉัยภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก
    • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อรับมือการระบาดของโควิด-19
    • MuTherm-FaceSense
    • การสกัด RNA เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิค RT-PCR
    • ชุดตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิคแลมป์ (LAMP)
    • ชุดตรวจเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แบบรวดเร็วด้วยเทคนิค LFIA
    • การคัดแยกผู้ป่วยด้วยลายพิมพ์เปปไทด์ (Peptide barcode)
    • วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
    • ห้องกักตัวภาคสนามจากตู้คอนเทนเนอร์
    • ต้นแบบเปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบความดันลบ
    • ต้นแบบอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจแบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ (PAPR) อย่างง่าย
    • ต้นแบบรถเข็นควบคุมระยะไกล
    • Research Gap Fund fights COVID-19
    • บริการคำบรรยายแทนเสียงแบบสด
    • Fun Science @ Home by NSTDA

ผลงานนวัตกรรมที่ร่วมพัฒนากับหน่วยงานภาคี

  • Medical Devices Demand-Supply Matching
  • EP Kare หน้ากากเอนกประสงค์
  • HAPYBOT หุ่นยนต์ขนส่งในโรงพยาบาล
  • Wristband ติดตามตำแหน่งผู้กักตัว
  • เครื่องทดแทนเครื่องช่วยหายใจ Chula-PRANA

รวมงานวิจัย สวทช. สู้ภัยโควิด-19

 

โลกเปลี่ยน คนปรับ : หลุดจากกับดัก..ขยับสู่ความยั่งยืน (e-book ฉบับสมบูรณ์)

โลกเปลี่ยน คนปรับ : หลุดจากกับดัก..ขยับสู่ความยั่งยืน โดย ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์

ในสถานการณ์โรคโควิด-19 ผมได้นำเสนอแนวความคิดในการขับเคลื่อนประเทศไทย เป็นหนังสือสั้น ๆ จำนวนสามเล่ม หนังสือเล่มแรกคือ ความพอเพียงในโลกหลังโควิด อธิบายความเชื่อมโยงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในโลกหลังโควิด หนังสือเล่มที่สองคือ เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด อธิบายโมเดลการเรียนรู้และการพัฒนาคนในโลกหลังโควิด และหนังสือเล่มที่สามคือ “สังคมของพวกเรา” ในโลกหลังโควิด อธิบายสัญญาประชาคมใหม่เพื่อสร้างสังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน

หนังสือทั้ง 3 เล่ม ได้ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ และเพิ่มเนื้อหาวาระขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกหลังโควิด เป็นหนังสือ “โลกเปลี่ยน คนปรับ : หลุดจากกับดัก ขยับสู่ความยั่งยืน” โดยผมขอมอบหนังสือเล่มนี้เป็นของขวัญให้แก่ทุกท่านเนื่องในโอกาสที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาปนาครบรอบ 1 ปี (วันที่ 2 พฤษภาคม 2563) ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยจุดประกายให้ทุกท่านได้ช่วยกันใช้ปัญญาและแสวงหาโอกาสเพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่อนาคตในโลกหลังโควิดครับ

Download หนังสือโลกเปลี่ยน คนปรับ : หลุดจากกับดัก..ขยับสู่ความยั่งยืน (e-book ฉบับสมบูรณ์)

คลิกที่นี่เพื่อแสดงผลในรูปแบบ e-Book แบบ Flip

รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนมีนาคม 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มีนาคม 2563

พัฒนาการด้านระบาดวิทยาในโลกของ COVID-19 และแนวทางรับมือของประเทศต่างๆ

การระบาดของ Coronavirus หรือ COVID-19 เริ่มต้นในจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 แต่เพิ่งมีการรายงานอย่างเป็นทางการและเก็บข้อมูลใน
เดือนมกราคม 2563 ทั้งนี้ ได้มีผู้เชี่ยวชาญได้ทำสรุปการระบาดของไวรัสเป็นภาพในช่วงเวลาหนึ่งได้ดังนี้

ปลายเดือน มกราคม 2563
พบว่า ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 COVID-19 ได้มีการระบาดไปแล้วในประเทศที่มีคนจีนและนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางไปมาก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหรัฐฯ จากนั้นได้มีการระบาดเพิ่มไปในประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา อิตาลี สหราชอาณาจักร และหลายประเทศใน
ยุโรปในช่วงนี้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า COVID-19 ไม่ถูกกับอากาศร้อน ทำให้การระบาดที่แพร่ขยายเร็ว อาทิ ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และทวีปยุโรป
ที่เริ่มมีการติดเชื้อในบางประเทศ เขตร้อนอย่างเช่น ในเอเชียใต้ และเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ดังเช่นประเทศไทย ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
กลับมีการแพร่กระจายที่น้อยมาก เช่นเดียวกับประเทศที่มีประชากรมาก และสาธารณสุขไม่ทันสมัยนัก เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2563
ในช่วงกุมภาพันธ์ เริ่มมีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในประเทศต่างๆ และมีการระบาดในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในแคว้นลอมบาร์ดี ของอิตาลี
ที่มีจำนวนคนติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มอย่างรวดเร็วและแพร่ไปในประเทศกลุ่ม EU รวมทั้งมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศที่ได้คาดการณ์มาก่อน
เช่น อิหร่าน ซึ่งไม่น่าจะมีนักท่องเที่ยวมากนัก และเริ่มมีการข้ามไปยังประเทศในทวีปอเมริกาใต้เริ่มจากบราซิล

ปลายเดือน มีนาคม 2563
ช่วงเดือนมีนาคม COVID-19 ได้ระบาดไปยังหลายๆ ประเทศแม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีการปฏิสัมพันธ์กับต่างชาติน้อย หรือประเทศที่เป็นเกาะ
ก็หนีไม่รอดไปจากการระบาดได้ และปรากฎการณ์น่ากลัวยิ่งขึ้น คือยอดผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีน ได้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และแซงหน้าประเทศจีน

จากยอดสถิติจำนวนผู้ป่วย COVID-19 สะสมในประเทศต่างๆ พบว่า หลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริการมีอัตราการระบาดที่ใกล้เคียงกัน โดยมีการ
ตรวจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในทุกวัน อย่างไรก็ตาม มี 3 ประเทศที่ดูเหมือนจะมีอัตราการระบาดที่ช้ากว่าประเทศอื่นๆ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง
โดยไทยอยู่ระหว่างกลางของประเทศทั้งสองกลุ่ม ซึ่งจุดนี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น และระดับการพัฒนาเช่นเดียวกับยุโรป
กลับมีการแพร่ระบาดที่ควบคุมได้

สัดส่วนของผู้ติดเชื้อ COVID-19 กรณีของสหรัฐอเมริกา
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่เริ่มต้นระบาดอย่างหนักที่ประเทศจีน และลุกลามจนถึง 225 ประเทศ และดินแดน ในทั่วโลกขณะนี้
มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก 1,803,091 ราย และมีผู้เสียชีวิต 119,617 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 14 เมษายน 2563) โดยสหรัฐฯ ซึ่งได้กลายมาเป็นประเทศ
ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมสูงที่สุด ทั้งๆ ที่ได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีระบบการสาธารณสุขและการค้นคว้าวิจัยที่ดีที่สุดในโลก ในช่วงนี้
เราลองมาดูรายละเอียดของสถิติการป่วยและติดเชื้อในสหรัฐฯ กัน
สถิติการป่วย แบ่งตามรัฐ (ณ วันที่ 14 เมษายน 2563)

นิวยอร์ก
New York มหานครที่รุ่งเรืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความบันเทิง แต่ในตอนนี้กลับเป็นเมืองที่ต้องเฝ้าระวังที่สุด เนื่องจากมี
ยอดผู้ป่วยติดเชื้อCOVID-19 สูงที่สุดในสหรัฐฯ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 200,000 ราย
แต่ทั้งนี้ โรงพยาบาลใน New York สามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 50,000 ราย รองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ราว 3,000 ราย ซึ่งการระบาดที่รุนแรง
ในตอนนี้ เกินความสามารถของโรงพยาบาลที่จะสามารถรองรับได้

นิวเจอร์ซี
New Jersey รัฐอันดับ 2 ที่มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรองจาก New York ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 68,400 ราย ซึ่งโรงพยาบาลใน New Jersey
สามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 18,000 ราย รองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ราว 2,000 ราย

แคลิฟอร์เนีย
California ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 25,500 ราย และคาดว่าจะมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
จากข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2563 ของสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า
– กลุ่มรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospitalizations) ผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป
มีสัดส่วน 90%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 65-84 ปี มี 36%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 55-64 ปี มี 17%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 45-54 ปี มี 18%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่
20-44 ปี มี 20%, และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 0-19 ปี มี 1%
– กลุ่มรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนัก (Intensive care unit) ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงและเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน (ICU) โดยกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่
85 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 70%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 65-84 ปี มี 46%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 20-64 ปี มี 47%, และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 0-19 ปี
ไม่มีรายงานการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
– กลุ่มเสียชีวิต (Deaths) ผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 34%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 65-84 ปี มี 46%, กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่
20-64 ปี มี 20%, และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 0-19 ปีไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
จากข้อมูล ช่วงอายุของผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ สูงที่สุด คือ ช่วง 50-59 ปี มี 18.3%, จีน ช่วงอายุของผู้ติดเชื้อสูงที่สุด คือ ช่วง 50-59 ปี มี 22.4%
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสหรัฐฯ แต่ทั้งนี้ สเปนพบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป มี 32%
สำหรับอิตาลี ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ และผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกในขณะนี้ พบว่า ช่วงอายุของผู้ติดเชื้อสูงที่สุด
คือ ช่วง 51-70 ปี มี 37.3%

Virus กับเชื้อโรค (bacteria) ต่างกันอย่างไร?

Bacteria เป็นสิ่งมีชีวิต มี nucleus ที่มี DNA อยู่ข้างใน ล้อมรอบโดย cytoplasm และหุ้มด้วย membrane ส่วน virus เป็นแค่ DNA หรือ RNA
หุ้มด้วยไขมันบางๆ คือเป็นแค่รหัสของสิ่งมีชีวิต แต่ตัวมันเองไม่มีชีวิต เป็นเหมือนกาฝากที่ต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ขยายพันธุ์โดยการฉีดตัวเอง
เข้าไปและหลอกให้เซลล์ผลิตก็อปปี้ของตัวมันเองออกมา (replicate) โดย Covid-19 นี้ เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสชื่อ SARS CoV2 คือ ตระกูลเดียวกับ
SARS และ MERS หรือ โรคที่เกี่ยวกับ ทางเดินหายใจอื่นๆ อีก 2-3 อย่าง
Coronavirus ตัวนี้เป็น RNA คือ เป็นรหัสเส้นเดียว ต่างจาก DNA ซึ่งเป็นรหัสที่มี 2 เส้น ไขว้กันเป็น helix การที่มีเส้นเดียว ทำให้มันกลายพันธุ์ง่าย
(mutate) ลักษณะของ coronavirus เป็น RNA ที่ล้อมรอบด้วยโปรตีน (spike protein) ที่เหมือนกุญแจเซลล์ปอดของเรามี ACE2 Receptor
ที่เป็นเหมือนรูกุญแจที่ไวรัสนี้มาไขได้พอดี ไวรัสเลยฉีดตัวเองเข้าไปและเริ่มหลอกให้เซลล์ของเราก็อปปี้ตัวมันออกมา เพราะเซลล์ของเรา
โดยปกติจะส่งmRNA (messenger RNA) ออกมาจาก nucleus ออกมาใน cytoplasm เพื่อเป็นแบบกรรมพันธุ์ ให้เซลล์ของเราสร้างต่อๆ ไป
ต่อพอเจอ RNA ของไวรัส เซลล์ก็เหมือนถูกหลอก ให้เป็นเครื่อง Xerox ก๊อปปี้มันออกมาเต็มไปหมด และ การก็อปปี้ของมัน (replicates)
ก็จะออกมาโจมตีเซลล์ตัวอื่นๆ ต่อไป ร่างกายของมนุษย์ภูมิคุ้มกัน โดยมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่จะสร้าง antibody ออกมาเมื่อเจอสิ่งแปลกปลอม
(antigen) Antibody เปรียบเสมือนกับตัวปิดหัวกุญแจ ที่จะล็อกกับ spike protein ของไวรัส ทำให้ไวรัสเกาะกับเซลล์ไม่ได้ แต่เพราะ
SARS CoV2 นี้เป็นตัวใหม่ ร่างกายของเราไม่เคยรู้จักเพราะเพิ่งโดดข้ามสายพันธุ์ ร่างกายจึงไม่สามารถสร้าง antibody ได้ทัน
ทำให้ไวรัสขยายพันธุ์เร็ว ร่างกายกำจัดมันไม่ทัน ก็เลยทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดก่อน

แนวทางการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่ใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ของสหรัฐอเมริกามี 2 วิธี คือ
1. การตรวจหาเชื้อในทางเดนหายใจ (Real-time-Polymerase Chain Reaction : RT-PCR)
โดยการป้ายเนื้อเยื่อโพรงจมูก หรือเยื่อบุในคอ เพื่อตรวจหากรดนิวคลีอิก (nucleic acid) ซึ่งเป็นสารประกอบในเซลล์สิ่งมีชีวิต
วิธีการนี้จะตรวจหาเชื้อไวรัสที่อาศัยอยู่ในเซลล์บริเวณทางเดินหายใจ ผู้รับการตรวจจะต้องเริ่มมีอาการของการติดเชื้อ
เนื่องจากนับจากวันแรกที่มีการติดเชื้อไปจนถึงวันที่แสดงอาการ เป็นระยะฟักตัวของเชื้อ หากตรวจในช่วงนี้จะแปลผล
ค่อนข้างยากและโอกาสเจอเชื้อค่อนข้างน้อยหรืออาจตรวจไม่พบเชื้อ

2. การตรวจหาเชื้อโดยการเจาะเลือด (Rapid test)
การเจาะเลือดไม่ใช่วิธีที่ตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังการติดเชื้อ การตรวจด้วยวิธีนี้
ควรตรวจหลังจากที่เริ่มแสดงอาการติดเชื้อเช่นเดียวกัน เนื่องจากในระยะฟักตัวของเชื้อ ร่างกายจะยังไม่สร้างภูมิคุ้มกันเชื้อนี้ขึ้นมา
ผลที่ได้อาจจะแสดงผลว่าไม่มีการติดเชื้อใดๆ การตรวจหาเชื้อจากการตรวจภูมิต้านทาน หรือ Antibody นี้ เป็นการตรวจที่มี
พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง นิยมตรวจกับผู้ป่วยที่เกิดจากการติดไวรัสตับอักเสบ

มาตรการรับมือ COVID-19 ของประเทศต่างๆ ที่น่าสนใจ

1. จีน มังกรป่วย ฟื้นทะยาน
ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่พบการระบาดของ COVID-19 ในช่วงปลายปี 2562 และมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมากมาถึงกลางเดือนมีนาคม 2563
การระบาดที่เริ่มต้นจากจีน ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะตะวันตกวิพากษ์วิจารณ์ ระบบสาธารณสุข และรสนิยมการบริโภคของจีน มีการตอกย้ำจีนเป็น
The Real Sick Man of Asia มีรายงานเรื่องการถูกทำร้ายและการรังเกียจคนผิวเหลืองในประเทศตะวันตกหลายครั้ง
ด้วยรูปแบบการปกครองของจีนทำให้ประเทศสามารถบังคับใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการรับมือการระบาดของโรคได้ จีนมีความชัดเจนและมีความคิดเห็น
ไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศ แนวทางการดำเนินงานของภาครัฐ และการบังคับใช้กฏหมาย มาตรการต่างๆ “ทุกคนรู้หน้าที่ของตน”

2. สหรัฐอเมริกา อินทรียโส ผู้เพลี้ยงพล้ำ
สหรัฐฯ ประเทศยักษ์คู่ปรับของจีน หนีไม่พ้นการถูกจับตามองว่าจะรับมือกับปัญหาการระบาดนี้อย่างไร ในขณะที่จีนเริ่มฟื้นตัวจาก COVID-19 แล้ว
สหรัฐฯกลับมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะรัฐ New York, New Jersey, California, Washington และ Florida
ซึ่งเป็นรัฐที่คนต่างชาติและนักท่องเที่ยวอยู่จำนวนมาก

3. อิตาลี หมาป่าเฒ่า ผู้หายใจรวยริน
อิตาลีเป็นประเทศที่ประสบกับสภาวะที่หนักหนาสาหัสจากปรากฏการณ์แพร่ระบาดครั้งนี้ที่สุด สาเหตุที่ทำให้มีการระบาดรุนแรงของ COVID-19
ในอิตาลีเกิดจากวัฒนธรรมและพฤติกรรมของชาวอิตาเลียน ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยการกอดหอม การชอบเข้าสังคมและรักสนุก ปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้อิตาลีไม่สามารถรับมือกับการระบาดได้คือนโยบายของภาครัฐไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของไวรัส อิตาลีเน้นการตรวจหาผู้ติดเชื้อไป
ที่มีอาการรุนแรงแล้ว ทำให้ไม่มีการหยุดระบาด เพราะผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ กว่าจะได้รับการตรวจและรักษาก็มักมีอาการหนักแล้ว

ประเทศไทย…ช้างน้อยที่ไม่ธรรมดา
ภาครัฐของไทยให้ความร่วมมือในการวางมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขพบยาต้านไวรัส
ที่อาจจะใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อได้ ประเทศต้องเจอกับปัญหาด้านบริหารต่างๆ เช่น การเปิดรับและการกักตัวคนไทยจากต่างประเทศกลับไทย
การแจกหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือให้กับประชาชน การให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่กำลังเดือดร้อน รวมถึง มาตรการควบคุมการเดินทาง
และกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน จากสถานการณ์ตึงเครียดที่ทั่วโลกต่างหวาดกลัว หากมองในการจัดการในภาพรวมของไทยแล้ว ไทยได้รับการ
ชื่นชมจากนานาชาติ ในการจัดการควบคุมเชื้อไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพ ไทยสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยให้มีจำนวนน้อยลงในแต่ละวัน

COVID-19 กับผลกระทบโอกาสในวิกฤต และโลกหลังโควิด

COVID-19 ความท้าทายต่อการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุค Globalization และสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)
อาการป่วยจาก COVID-19 อาจจะไม่รุนแรงสำหรับคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81) แต่กลับเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง
เช่น โรคหัวใจ โรคหอบ ฯลฯ และสิ่งที่จะช่วยลดหรือป้องกันการระบาดของไวรัสเพื่อมิให้ระบาดไปถึงกลุ่มเสี่ยง คือ การหลีกเลี่ยงการปฎิสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมด้วยความสามารถในการปฎิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของมนุษย์ ทำให้สังคมมนุษย์มีการพัฒนา
ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพบปะหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและเจรจาต่อรอง การรวมตัวเพื่อถ่ายทอดความรู้เช่นในห้องเรียน และการ
เดินทางข้ามรัฐข้ามแดนด้วยเทคโนโลยีคมนาคมต่างๆ โดยเฉพาะในยุค globalization ที่มนุษย์ทั่วโลกเชื่อมต่อกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ตอนนี้
กิจกรรมทางสังคมได้กลายเป็นการสนับสนุนการระบาด รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกขอความร่วมมือให้งดการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ
งดการออกจากบ้าน งดการรวมกลุ่ม ทำให้การดำเนินชีวิตและการเข้าสังคมของมนุษย์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

อาชีพที่จำเป็นในช่วงวิกฤต
อาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในช่วงวิกฤตการระบาดของ coronavirus แพทย์ พยาบาล และผู้ให้บริการทางการแพทย์ในส่วนต่างๆ เป็นกลุ่มแรก
ที่ทุกคนนึกถึงเพราะเป็นสายอาชีพที่เป็นด่านหน้าในการรับมือกับไวรัสและผู้ป่วย ในขณะที่คนส่วนใหญ่สามารถเก็บตัวในบ้านหรือทำงานจากที่บ้าน
เพื่อป้องกันตัวเองจากการระบาด ยังมีหลายอาชีพที่ต้องทำงานเผชิญความเสี่ยง เช่น พนักงานในห้างสรรพสินค้าแผนกอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ต
พนักงานทำความสะอาดและเก็บขยะ คนขับรถแท็กซี่และบริษัทขนส่งต่างๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วน
ที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลให้ความช่วยเหลือประชาชน ในขณะเดียวกัน มีหลายอาชีพที่เป็นยอมรับกันว่าสามารถทำเงินได้มากกว่าอาชีพอื่นๆ หรือมี
ความมั่นคงแต่กลับเป็นอาชีพแรกๆ ที่ถูกกระทบโดยวิกฤตCOVID-19 ก่อนใคร เช่น นักบินสายการบินพาณิชย์ซึ่งจะมีนักบินจำนวนมากต้องตกงาน
เนื่องจากสายการบินไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ วิกฤติครั้งนี้ทำให้เห็นว่าอาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่และความอยู่รอดของมนุษย์เป็นอาชีพที่
จะยังอยู่ต่อไปได้โดยเฉพาะในสถานการณ์ไม่ปกติ

เมื่อความตระหนักกลายเป็นความตระหนก
ประชาชนต้องปรับตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างเพื่อป้องกันตัวเองและช่วยลดการระบาดจนก่อให้กลายเป็นความตระหนกและก่อให้เกิด
ความวุ่นวายในสังคม ปรากฏการแรกคือการเหยียดเชื้อชาติในสถานการณ์ COVID-19 การเกลียดกลัวชาวต่างชาติหรือคนจีน (Xenophobia)
เกิดจากความไม่รู้ ความกลัว และการตัดสินคนที่ stereotype ซึ่งชาวตะวันตกมองว่า COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากคนจีนจึงเกิดความกลัว
และเกลียดชังคนเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นคนเอเชียเริ่มกลัวฝรั่งบ้างเพราะการแพร่ระบาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

โลกหลังโควิด

ในช่วงการระบาดของ coronavirus ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและการดำเนินธุรกิจหลายอย่าง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง
จะยังคงอยู่แม้การระบาดจะสิ้นสุดลง

การทำงานที่บ้านและวัฒนธรรมการทำงานที่ให้ความไว้วางใจพนักงาน
การทำงานที่บ้าน แม้ว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีข้อดีหลายประการ ทั้งการประหยัดเวลาการเดินทาง
และลดรายจ่ายบางประการของบริษัท และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นจากการให้อิสรภาพการทำงานแก่พนักงาน แต่ในองค์กรจำนวนมาก
การทำงานที่บ้านยังถือเป็นเรื่องใหม่เพราะขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการยึดติดกับวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม การระบาดของ coronavirus
จึงเป็นสถานการณ์บังคับให้บริษัทส่วนใหญ่ต้องปรับตัวนำเอาวัฒนธรรมใหม่นี้มาใช้ คาดว่าหลังจากการระบาด แนวทางการทำงานจากที่บ้านน่าจะ
เป็นที่ปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และการปฎิสัมพันธ์แบบ face-to-face จะมีความสำคัญน้อยลงเพราะหลายคนได้มีประสบการณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียน
การสอนการประชุม ผ่านระบบ teleconference หรือ การแสดงคอนเสริตผ่านระบบ live video วิกฤตการณ์ครั้งนี้ ได้สอนให้บุคลากรของรัฐทั้ง
ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา หันมาศึกษาเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนน้อยลง

ความตระหนักรู้ด้านสุขอนามัยและสภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป
การระบาดของ COVID-19 ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสุขอนามัยมากขึ้นและตระหนักสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น แบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่อยู่รอบตัวเรา
มีการระมัดระวังตัวมากขึ้น การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย เป็นต้น

ความสำคัญของ data science
สิ่งสำคัญในสถานการณ์ระบาดครั้งนี้คือ ข้อมูลผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต และกลุ่มเสี่ยง รวมถึงข้อมูลการกระจายสินค้าและบริการบางอย่าง การเก็บข้อมูลเหล่านี้
ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการนำเสนอข้อมูลให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์จริง สาขา data science
จะกลายเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในอนาคต

การเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ และคำว่า “ความดี” จะมีนิยามที่ชัดเจนขึ้น
ยุคหลังการระบาดของ COVID-19 ผู้คนในหลายประเทศคงได้ตระหนักและสนใจในการทำความดีและร่วมด้วยช่วยกันมากขึ้นทำความดีได้มากมาย
หากเป็นคนพุทธ ก็ตั้งสติ คิดดี แผ่เมตตา ฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน = สิ่งที่ไม่เห็น ไม่ใช่ไม่มี สำหรับโลกนั้น การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มนุษย์ได้รับ
โอกาสจากธรรมชาติ ให้ปรับเปลี่ยนสรรพสิ่งบนโลกให้เป็นไปตามความต้องการของตน แต่มนุษย์ไม่สามารถมีอำนาจเหนือธรรมชาติได้ทั้งหมดเพราะ
เมื่อเราทำร้ายธรรมชาติก็เหมือนเราทำร้ายตัวเอง เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติบนโลกใบนี้

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-mar2020.pdf